ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.เปิดเผยแนวทางการดำเนินนโยบายการเงินภายใต้ภาวะเศรษฐกิจผันผวน ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
เปิดเผยถึงเป้าหมายการดำเนินนโยบายการเงินของ ธปท.ภายใต้ภาวะเศรษฐกิจผันผวนว่า ธปท.มีระบบติดตามกำกับดูแลสถานการณ์ต่างๆ
อย่างใกล้ชิดเพื่อป้องกันปัญหา โดยตัวอย่างหนึ่งคือ การกระจายการถือสินทรัพย์ในเงินสำรองระหว่างประเทศด้วยการถือสินทรัพย์สกุลดอลลาร์
สรอ.ลดลงมาตั้งแต่ปี 45 ปัจจุบัน ธปท.มีสินทรัพย์สกุลดอลลาร์ สรอ. ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของ ธ.กลางทั่วโลก โดยอยู่ที่ประมาณ 66% ของสินทรัพย์
ทั้งหมด นอกจากนี้ การออกมาตรการกันสำรอง 30% ของ ธปท. ก็เป็นอีกหนึ่งมาตรการที่ ธปท.ออกมาเพื่อบริหารความเสี่ยงจากความผันผวน
ของภาวะการเงินโลก รวมถึงการป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อด้วยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจนทำให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงเป็นบวกในช่วงปีที่
ผ่านมา ขณะเดียวกันในด้านบริหารความเสี่ยงของสถาบันการเงินก็ได้เตรียมการล่วงหน้าในการกันสำรองตามมาตรฐานบัญชีใหม่ IAS39 ตั้งแต่
ปลายปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม นอกจากการดำเนินนโยบายการเงินของ ธปท.แล้ว ประเทศไทยควรต้องบริหารความเสี่ยงด้วยการลดการพึ่งพา
การส่งออกและหันมาพึ่งพาอุปสงค์ในประเทศให้มากขึ้น (กรุงเทพธุรกิจ)
2. ธปท.เตรียมตรวจสอบสาขาธนาคารพาณิชย์ไทยในต่างประเทศ นายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) เปิดเผยว่า ภายในเดือน มี.ค.นี้ ธปท.จะส่งเจ้าหน้าที่ออกตรวจสอบการดำเนินธุรกิจของสาขา ธพ.ไทยในต่างประเทศ เพื่อให้
สอดคล้องกับแนวทางการปฏิบัติของสากลมากขึ้น และให้สอดคล้องกับข้อแนะนำของ ธ.โลกและไอเอ็มเอฟ ที่ได้เข้ามาประเมินภาคการกำกับดูแล
สถาบันการเงินของไทยภายในโครงการ FSAP (โครงการประเมินความพร้อมการกำกับดูแลภาคการเงิน) โดยที่ผ่านมา ธปท.จะตรวจสอบจาก
เอกสารที่สำนักงานใหญ่รายงานมาเท่านั้น ทั้งนี้ ธปท.กำหนดไว้ว่าในปี 50 จะดำเนินการตรวจสอบ 6-7 สาขา จากจำนวนทั้งสิ้น 41 สาขาของ
ธพ. 8 ราย โดยเลือกตรวจสอบสาขาในประเทศที่มีปริมาณธุรกรรมจำนวนมากเป็นลำดับแรกทั้งในเอเชียและยุโรป อนึ่ง ปัจจุบันสินทรัพย์ของสาขา
ธพ.ไทยในต่างประเทศมีมูลค่าทั้งสิ้น 481,433 ล.บาท คิดเป็นสัดส่วน 7.3% ของสินทรัพย์รวมของ ธพ.ทั้งหมด (มติชน, โลกวันนี้ ,
กรุงเทพธุรกิจ, ไทยโพสต์)
3. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน ก.พ.50 ปรับตัวลดลงต่ำสุดในรอบ 60 เดือน ผอ.ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ
ม.หอการค้าไทย เปิดเผยผลการสำรวจความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยเดือน ก.พ.50 ว่า ดัชนีความเชื่อมั่นทุกรายการปรับตัวลดลงอย่าง
ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 และเฉลี่ยต่ำสุดในรอบ 5 ปี โดยดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสในการ
หางานทำ และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตอยู่ที่ระดับ 73.4 74.4 และ 89.2 ลดลงจาก 74.2 75.4 และ 90.2 ในเดือนก่อน
หน้าตามลำดับ ทำให้ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลงที่ระดับ 79.0 จากระดับ 79.9 ในเดือนก่อนหน้า รวมถึงดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคใน
ปัจจุบันและดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในอนาคตซึ่งลดลงที่ระดับ 76.8 และ 77.1 จากระดับ 77.7 และ 78.0 ในเดือนก่อนหน้า โดยปัจจัยลบ
ที่ทำให้ดัชนีฯ ปรับตัวลดลง ได้แก่ ราคาน้ำมันในประเทศที่ปรับตัวสูงขึ้นตามระดับราคาน้ำมันในตลาดโลก สถานการณ์การเมืองขาดเสถียรภาพ
จากกรณีที่ รมว.คลังลาออกจากตำแหน่ง เหตุการณ์ระเบิดในภาคใต้ ส่งผลต่อจิตวิทยาในการชะลอการซื้อและการลงทุน ประกอบกับการแข็งค่า
ของเงินบาทซึ่งส่งผลกระทบต่อการส่งออกและการขยายตัวของเศรษฐกิจ (ผู้จัดการรายวัน , มติชน, โลกวันนี้, กรุงเทพธุรกิจ, ข่าวสด,)
4. ผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลเดือน ก.พ.50 สูงกว่าประมาณการ 0.1% นายสมชัย สัจจพงษ์ รอง ผอ.สำนักงานเศรษฐกิจการ
คลัง (สศค.) เปิดเผยว่า ผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลเดือน ก.พ.50 จัดเก็บได้สุทธิ 103,115 ล.บาท สูงกว่าประมาณการ 66 ล.บาท
หรือคิดเป็น 0.1% เนื่องจากกรมสรรพสามิตและกรมศุลกากรจัดเก็บรายได้สูงกว่าประมาณการ โดยกรมสรรพสามิตจัดเก็บรายได้สูงกว่า
ประมาณการ 1.9% ส่วนกรมศุลกากรจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 2.8% ขณะที่กรมสรรพากรจัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 0.7% สาเหตุการ
จัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มต่ำกว่าประมาณการอันเป็นผลจากการนำเข้าสินค้าลดลง ประกอบกับเงินบาทแข็งค่าขึ้น (โลกวันนี้, กรุงเทพธุรกิจ, ข่าวสด)
5. เงินบาทแข็งค่าสูงสุดในรอบ 9 ปีหลังการรับตำแหน่ง รมว.คลังคนใหม่ ผู้สื่อข่าวรายงานการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทเมื่อ
เทียบกับดอลลาร์ สรอ. หลังนายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รับตำแหน่ง รมว.คลังคนใหม่ว่า ค่าเงินบาททำสถิติแข็งค่าสุดในรอบ 9 ปี นับตั้งแต่เดือน
ก.ย.40 โดยพุ่งขึ้นถึง 35.10 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ณ วันที่ 8 มี.ค.49 เนื่องจากคาดกันว่าอาจมีการยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% เนื่อง
จากก่อนหน้านี้นายฉลองภพเคยเรียกร้องให้มีการผ่อนปรนมาตรการดังกล่าว ด้านนางสาวนิตยา พิบูลย์รัตนกิจ ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท. กล่าวถึง
ทิศทางค่าเงินบาทว่า ขณะนี้อยู่ในระดับคงที่ และคงจะไม่หลุดออกจากระดับ 35 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากผู้ส่งออกชะลอการขายดอลลาร์
สรอ. จากที่ก่อนหน้านี้เกิดความเข้าใจผิดว่าการให้ป้องกันความเสี่ยงจะทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้น นอกจากนี้ ผู้ว่าการ ธปท.กล่าวว่า หลังวันที่
15 มี.ค. ธปท.จะทำการสุ่มตรวจสอบสถาบันการเงินว่า มีสภาพคล่องสามารถรองรับมาตรการป้องกันความเสี่ยงหรือไม่ หากมีความพร้อม
ธปท.จะยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% ทันที และใช้มาตรการป้องกันความเสี่ยงอย่างเดียว โดยจะหารือกับผู้ส่งออกก่อน (ข่าวสด,
ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ยอดผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานของ สรอ. เมื่อสัปดาห์ที่แล้วลดลง รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 8 มี.ค. 50 ก.แรงงาน
สรอ. เปิดเผยว่า เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ยอดผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงานเป็นครั้งแรกลดลง 10,000 คนอยู่ที่ระดับ 328,000 คน (ตัวเลขหลัง
ปรับฤดูกาล) ต่ำกว่าที่ Wall Street คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านั้นเล็กน้อย ทั้งนี้สภาพภูมิอากาศที่หนาวผิดปรกติและมีพายุจัดนอกจากจะส่งผลกระทบ
ต่อยอดขายปลีกในเดือน ก.พ. ยังส่งผลกระทบต่อจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงานครั้งแรกด้วย โดยเมื่อต้นเดือน ก.พ. ยอดผู้ขอรับสวัสดิการ
ว่างงานเพิ่มขึ้น 46,000 คนแต่หลังจากนั้น 3 สัปดาห์กลับลดลงอยู่ที่ 31,000 คน นาย Michelle Meyer นักเศรษฐศาสตร์จาก
Lehman Brothers ในนิวยอร์กกล่าวว่าตลาดแรงงาน สรอ.ยังคงแข็งแกร่งแม้ว่าจะมีความเสี่ยงบ้างก็ตาม สำหรับยอดผู้ขอรับสวัสดิการการ
ว่างงานเฉลี่ย 4 สัปดาห์เพิ่มขึ้นอยู่ที่ 339,000 คนสูงที่สุดนับตั้งแต่เดือน ต.ค. 48 ที่อยู่เคยที่ระดับนี้ แต่คาดว่าจะลดลงอีกในสัปดาห์หน้า
เนื่องจากยอดขอรับสวัสดิการเมื่อสัปดาห์ที่แล้วลดลงมากจึงส่งผลให้ยอดเฉลี่ยลดลงไปด้วย ขณะที่ยอดขายของ chain-store ในเดือน ก.พ.
เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้วเพียงร้อยละ 2.5 เนื่องจากอากาศหนาวจัดและพายุส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายของผู้บริโภค (รอยเตอร์)
2. ธ.กลางสหภาพยุโรปปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นไปอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.75 สูงสุดในรอบ 5 ปี รายงานจากเมืองแฟรงเฟิร์ต
ประเทศเยอรมนี เมื่อวันที่ 8 มี.ค.50 ธ.กลางของสหภาพยุโรป (ECB) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ขึ้นไปอยู่ที่ระดับร้อยละ
3.75 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบกว่า 5 ปี คือนับตั้งแต่เดือน พ.ย.44 และเป็นสัญญาณแสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจของประเทศที่ใช้เงินสกุลยูโรยัง
คงแข็งแกร่ง ทั้งนี้ ประธาน ธ.กลางสหภาพยุโรปได้กล่าวไว้เมื่อเดือนก่อนว่าต้องมีการดูแลอย่างเข้มงวดในเรื่องความเสี่ยงเกี่ยวกับอัตรา
เงินเฟ้อ ทำให้นักเศรษฐศาสตร์ที่ตอบผลสำรวจของสำนักข่าวรอยเตอร์ทั้งหมดคาดว่าจะมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือน มี.ค.นี้ ทั้งนี้ นับตั้งแต่
เดือน ธ.ค.48 ธ.กลางสหภาพยุโรปได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมาแล้ว รวม 7 ครั้ง จากระดับร้อยละ 2.0 จนปัจจุบันมาอยู่ที่ร้อยละ 3.75
ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อในปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 1.8 ซึ่งอยู่ในระดับที่ ธ.กลางสหภาพยุโรปตั้งเป้าหมายไว้ที่ร้อยละ 2.0 อย่างไรก็ตาม ธ.กลาง
สหภาพยุโรปยังคงมีความกังวลเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงหลายอย่างทั้งจากราคาน้ำมัน การเติบโตอย่างรวดเร็วของปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบ
และแรงกดดันจากราคาสินค้าและค่าจ้างแรงงานที่ปรับตัวสูงขึ้นเนื่องจากการขยายตัวของเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ธ.กลางสหภาพยุโรปยังได้ปรับขึ้น
อัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝากอีกร้อยละ 0.25 ไปอยู่ที่ระดับร้อยละ 4.75 และร้อยละ 2.75 ตามลำดับ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 14 มี.ค.50 (รอยเตอร์)
3. ธ.กลางอังกฤษตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 5.25 ต่อปีเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน รายงานจากลอนดอน เมื่อ
8 มี.ค.50 ธ.กลางอังกฤษตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 5.25 ต่อปีเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน หลังจากขึ้นอัตราดอกเบี้ยมาแล้ว
3 ครั้งนับตั้งแต่เดือน ส.ค.49 ที่ผ่านมา โดยอัตราเงินเฟ้อในเดือน ม.ค.50 ชะลอตัวลงมาอยู่ที่ร้อยละ 2.7 จากระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์
ร้อยละ 3.0 ในเดือน ธ.ค.49 แต่อย่างไรก็ดี ธ.กลางอังกฤษคาดว่าอัตราเงินเฟ้ออาจเพิ่มสูงขึ้นอีกหากไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยให้สูงกว่าระดับปัจจุบัน
นักวิเคราะห์จึงคาดว่าอาจมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกร้อยละ 0.25 ในเดือน เม.ย.50 ที่จะถึงนี้ ทั้งนี้ตัวเลขทางเศรษฐกิจเมื่อเร็ว ๆ นี้ส่งสัญญาณ
ที่สับสน โดยราคาบ้านเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 1.8 ในเดือน ก.พ.50 เพียงเดือนเดียว เช่นเดียวกับคำสั่งซื้อสินค้าโรงงานที่เพิ่มสูงขึ้นอันเป็นผลจาก
เศรษฐกิจโลกขยายตัว ในขณะที่ผู้บริโภคที่แม้ว่าจะมีภาระดอกเบี้ยมากขึ้นก็ยังคงใช้จ่ายในระดับเดิม แต่อัตราเงินเฟ้อกลับชะลอตัวลงมาอยู่ที่ร้อยละ
2.7 ในเดือน ม.ค.50 จากร้อยละ 3.0 ในเดือน ธ.ค.49 และคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะลดลงอีกในเดือนต่อ ๆ ไปอันเป็นผลจากราคาน้ำมันใน
ตลาดโลกที่ชะลอตัวลง (รอยเตอร์)
4. คำสั่งซื้อเครื่องจักรของญี่ปุ่นในเดือน ม.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 เทียบต่อเดือน รายงานจากโตเกียว เมื่อ 9 มี.ค.50
The Cabinet Office เปิดเผยว่า คำสั่งซื้อเครื่องจักรของภาคเอกชนญี่ปุ่น (ซึ่งเป็นเครื่องชี้วัดการใช้จ่ายเงินทุนของภาคธุรกิจ และไม่นับรวม
คำสั่งซื้อสินค้าประเภทชิปและเครื่องจักรของธุรกิจกลุ่มพลังงานไฟฟ้า) ในเดือน ม.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 เทียบต่อเดือน ซึ่งสูงกว่าที่
นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.5 หลังจากที่ลดลงร้อยละ 0.7 ในเดือน ธ.ค.49 และหากเทียบต่อปีเพิ่มขึ้นร้อยละ
2.6 สวนทางกับที่ประมาณการไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะลดลงร้อยละ 0.8 นอกจากนี้ จากผลสำรวจผู้ประกอบการโดย The Cabinet Office
ยังคาดการณ์ว่า ดัชนีคำสั่งซื้อที่แสดงถึงการใช้จ่ายเงินทุนของภาคธุรกิจในรอบ 6-9 เดือนข้างหน้าในไตรมาส 1 ปี 50 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2
จากไตรมาสก่อน (รอยเตอร์)
5. ผลผลิตอุตสาหกรรมของมาเลเซียในเดือน ม.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 เทียบต่อปี ขณะที่เทียบต่อเดือนลดลงร้อยละ 3.8
รายงานจากกัวลาลัมเปอร์ เมื่อ 8 มี.ค.50 รัฐบาลมาเลเซีย เปิดเผยว่า ผลผลิตอุตสาหกรรมของมาเลเซีย (ซึ่งบ่งชี้ถึงผลผลิตของ
อุตสาหกรรมการผลิต อุตสาหกรรมเหมืองแร่ และผลผลิตที่เกี่ยวกับไฟฟ้า) ในเดือน ม.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 เทียบต่อปี ต่ำกว่าที่ตลาด
คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ว่าขยายตัวร้อยละ 5.5 เนื่องจากผลผลิตอุตสาหกรรมการผลิตในเดือน ม.ค.50 (ซึ่งมีสัดส่วนประมาณ 2 ใน 3 ของ
ดัชนีผลผลิตโดยรวม) ลดลงอย่างมากโดยขยายตัวเพียงร้อยละ 2.3 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ ผลผลิตอุตสาหกรรมของมาเลเซีย
เคยอยู่ในระดับต่ำที่สุดที่ร้อยละ 1.6 เมื่อเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา และหากเทียบต่อเดือนแล้ว ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือน ม.ค.50 ลดลง
ร้อยละ 3.8 (ตัวเลขก่อนปรับปัจจัยทางฤดูกาล) (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 9 มี.ค. 50 8 มี.ค. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 35.196 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 34.9756/35.2974 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.63625 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 671.98/6.81 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,800/10,900 10,800/10,900 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 57.63 57.96 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 27.19*/23.34** 27.19*/23.34** 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 8 มี.ค. 50
** ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 1 มี.ค. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.เปิดเผยแนวทางการดำเนินนโยบายการเงินภายใต้ภาวะเศรษฐกิจผันผวน ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
เปิดเผยถึงเป้าหมายการดำเนินนโยบายการเงินของ ธปท.ภายใต้ภาวะเศรษฐกิจผันผวนว่า ธปท.มีระบบติดตามกำกับดูแลสถานการณ์ต่างๆ
อย่างใกล้ชิดเพื่อป้องกันปัญหา โดยตัวอย่างหนึ่งคือ การกระจายการถือสินทรัพย์ในเงินสำรองระหว่างประเทศด้วยการถือสินทรัพย์สกุลดอลลาร์
สรอ.ลดลงมาตั้งแต่ปี 45 ปัจจุบัน ธปท.มีสินทรัพย์สกุลดอลลาร์ สรอ. ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของ ธ.กลางทั่วโลก โดยอยู่ที่ประมาณ 66% ของสินทรัพย์
ทั้งหมด นอกจากนี้ การออกมาตรการกันสำรอง 30% ของ ธปท. ก็เป็นอีกหนึ่งมาตรการที่ ธปท.ออกมาเพื่อบริหารความเสี่ยงจากความผันผวน
ของภาวะการเงินโลก รวมถึงการป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อด้วยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจนทำให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงเป็นบวกในช่วงปีที่
ผ่านมา ขณะเดียวกันในด้านบริหารความเสี่ยงของสถาบันการเงินก็ได้เตรียมการล่วงหน้าในการกันสำรองตามมาตรฐานบัญชีใหม่ IAS39 ตั้งแต่
ปลายปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม นอกจากการดำเนินนโยบายการเงินของ ธปท.แล้ว ประเทศไทยควรต้องบริหารความเสี่ยงด้วยการลดการพึ่งพา
การส่งออกและหันมาพึ่งพาอุปสงค์ในประเทศให้มากขึ้น (กรุงเทพธุรกิจ)
2. ธปท.เตรียมตรวจสอบสาขาธนาคารพาณิชย์ไทยในต่างประเทศ นายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) เปิดเผยว่า ภายในเดือน มี.ค.นี้ ธปท.จะส่งเจ้าหน้าที่ออกตรวจสอบการดำเนินธุรกิจของสาขา ธพ.ไทยในต่างประเทศ เพื่อให้
สอดคล้องกับแนวทางการปฏิบัติของสากลมากขึ้น และให้สอดคล้องกับข้อแนะนำของ ธ.โลกและไอเอ็มเอฟ ที่ได้เข้ามาประเมินภาคการกำกับดูแล
สถาบันการเงินของไทยภายในโครงการ FSAP (โครงการประเมินความพร้อมการกำกับดูแลภาคการเงิน) โดยที่ผ่านมา ธปท.จะตรวจสอบจาก
เอกสารที่สำนักงานใหญ่รายงานมาเท่านั้น ทั้งนี้ ธปท.กำหนดไว้ว่าในปี 50 จะดำเนินการตรวจสอบ 6-7 สาขา จากจำนวนทั้งสิ้น 41 สาขาของ
ธพ. 8 ราย โดยเลือกตรวจสอบสาขาในประเทศที่มีปริมาณธุรกรรมจำนวนมากเป็นลำดับแรกทั้งในเอเชียและยุโรป อนึ่ง ปัจจุบันสินทรัพย์ของสาขา
ธพ.ไทยในต่างประเทศมีมูลค่าทั้งสิ้น 481,433 ล.บาท คิดเป็นสัดส่วน 7.3% ของสินทรัพย์รวมของ ธพ.ทั้งหมด (มติชน, โลกวันนี้ ,
กรุงเทพธุรกิจ, ไทยโพสต์)
3. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน ก.พ.50 ปรับตัวลดลงต่ำสุดในรอบ 60 เดือน ผอ.ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ
ม.หอการค้าไทย เปิดเผยผลการสำรวจความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยเดือน ก.พ.50 ว่า ดัชนีความเชื่อมั่นทุกรายการปรับตัวลดลงอย่าง
ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 และเฉลี่ยต่ำสุดในรอบ 5 ปี โดยดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสในการ
หางานทำ และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตอยู่ที่ระดับ 73.4 74.4 และ 89.2 ลดลงจาก 74.2 75.4 และ 90.2 ในเดือนก่อน
หน้าตามลำดับ ทำให้ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลงที่ระดับ 79.0 จากระดับ 79.9 ในเดือนก่อนหน้า รวมถึงดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคใน
ปัจจุบันและดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในอนาคตซึ่งลดลงที่ระดับ 76.8 และ 77.1 จากระดับ 77.7 และ 78.0 ในเดือนก่อนหน้า โดยปัจจัยลบ
ที่ทำให้ดัชนีฯ ปรับตัวลดลง ได้แก่ ราคาน้ำมันในประเทศที่ปรับตัวสูงขึ้นตามระดับราคาน้ำมันในตลาดโลก สถานการณ์การเมืองขาดเสถียรภาพ
จากกรณีที่ รมว.คลังลาออกจากตำแหน่ง เหตุการณ์ระเบิดในภาคใต้ ส่งผลต่อจิตวิทยาในการชะลอการซื้อและการลงทุน ประกอบกับการแข็งค่า
ของเงินบาทซึ่งส่งผลกระทบต่อการส่งออกและการขยายตัวของเศรษฐกิจ (ผู้จัดการรายวัน , มติชน, โลกวันนี้, กรุงเทพธุรกิจ, ข่าวสด,)
4. ผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลเดือน ก.พ.50 สูงกว่าประมาณการ 0.1% นายสมชัย สัจจพงษ์ รอง ผอ.สำนักงานเศรษฐกิจการ
คลัง (สศค.) เปิดเผยว่า ผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลเดือน ก.พ.50 จัดเก็บได้สุทธิ 103,115 ล.บาท สูงกว่าประมาณการ 66 ล.บาท
หรือคิดเป็น 0.1% เนื่องจากกรมสรรพสามิตและกรมศุลกากรจัดเก็บรายได้สูงกว่าประมาณการ โดยกรมสรรพสามิตจัดเก็บรายได้สูงกว่า
ประมาณการ 1.9% ส่วนกรมศุลกากรจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 2.8% ขณะที่กรมสรรพากรจัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 0.7% สาเหตุการ
จัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มต่ำกว่าประมาณการอันเป็นผลจากการนำเข้าสินค้าลดลง ประกอบกับเงินบาทแข็งค่าขึ้น (โลกวันนี้, กรุงเทพธุรกิจ, ข่าวสด)
5. เงินบาทแข็งค่าสูงสุดในรอบ 9 ปีหลังการรับตำแหน่ง รมว.คลังคนใหม่ ผู้สื่อข่าวรายงานการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทเมื่อ
เทียบกับดอลลาร์ สรอ. หลังนายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รับตำแหน่ง รมว.คลังคนใหม่ว่า ค่าเงินบาททำสถิติแข็งค่าสุดในรอบ 9 ปี นับตั้งแต่เดือน
ก.ย.40 โดยพุ่งขึ้นถึง 35.10 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ณ วันที่ 8 มี.ค.49 เนื่องจากคาดกันว่าอาจมีการยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% เนื่อง
จากก่อนหน้านี้นายฉลองภพเคยเรียกร้องให้มีการผ่อนปรนมาตรการดังกล่าว ด้านนางสาวนิตยา พิบูลย์รัตนกิจ ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท. กล่าวถึง
ทิศทางค่าเงินบาทว่า ขณะนี้อยู่ในระดับคงที่ และคงจะไม่หลุดออกจากระดับ 35 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากผู้ส่งออกชะลอการขายดอลลาร์
สรอ. จากที่ก่อนหน้านี้เกิดความเข้าใจผิดว่าการให้ป้องกันความเสี่ยงจะทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้น นอกจากนี้ ผู้ว่าการ ธปท.กล่าวว่า หลังวันที่
15 มี.ค. ธปท.จะทำการสุ่มตรวจสอบสถาบันการเงินว่า มีสภาพคล่องสามารถรองรับมาตรการป้องกันความเสี่ยงหรือไม่ หากมีความพร้อม
ธปท.จะยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% ทันที และใช้มาตรการป้องกันความเสี่ยงอย่างเดียว โดยจะหารือกับผู้ส่งออกก่อน (ข่าวสด,
ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ยอดผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานของ สรอ. เมื่อสัปดาห์ที่แล้วลดลง รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 8 มี.ค. 50 ก.แรงงาน
สรอ. เปิดเผยว่า เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ยอดผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงานเป็นครั้งแรกลดลง 10,000 คนอยู่ที่ระดับ 328,000 คน (ตัวเลขหลัง
ปรับฤดูกาล) ต่ำกว่าที่ Wall Street คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านั้นเล็กน้อย ทั้งนี้สภาพภูมิอากาศที่หนาวผิดปรกติและมีพายุจัดนอกจากจะส่งผลกระทบ
ต่อยอดขายปลีกในเดือน ก.พ. ยังส่งผลกระทบต่อจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงานครั้งแรกด้วย โดยเมื่อต้นเดือน ก.พ. ยอดผู้ขอรับสวัสดิการ
ว่างงานเพิ่มขึ้น 46,000 คนแต่หลังจากนั้น 3 สัปดาห์กลับลดลงอยู่ที่ 31,000 คน นาย Michelle Meyer นักเศรษฐศาสตร์จาก
Lehman Brothers ในนิวยอร์กกล่าวว่าตลาดแรงงาน สรอ.ยังคงแข็งแกร่งแม้ว่าจะมีความเสี่ยงบ้างก็ตาม สำหรับยอดผู้ขอรับสวัสดิการการ
ว่างงานเฉลี่ย 4 สัปดาห์เพิ่มขึ้นอยู่ที่ 339,000 คนสูงที่สุดนับตั้งแต่เดือน ต.ค. 48 ที่อยู่เคยที่ระดับนี้ แต่คาดว่าจะลดลงอีกในสัปดาห์หน้า
เนื่องจากยอดขอรับสวัสดิการเมื่อสัปดาห์ที่แล้วลดลงมากจึงส่งผลให้ยอดเฉลี่ยลดลงไปด้วย ขณะที่ยอดขายของ chain-store ในเดือน ก.พ.
เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้วเพียงร้อยละ 2.5 เนื่องจากอากาศหนาวจัดและพายุส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายของผู้บริโภค (รอยเตอร์)
2. ธ.กลางสหภาพยุโรปปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นไปอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.75 สูงสุดในรอบ 5 ปี รายงานจากเมืองแฟรงเฟิร์ต
ประเทศเยอรมนี เมื่อวันที่ 8 มี.ค.50 ธ.กลางของสหภาพยุโรป (ECB) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ขึ้นไปอยู่ที่ระดับร้อยละ
3.75 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบกว่า 5 ปี คือนับตั้งแต่เดือน พ.ย.44 และเป็นสัญญาณแสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจของประเทศที่ใช้เงินสกุลยูโรยัง
คงแข็งแกร่ง ทั้งนี้ ประธาน ธ.กลางสหภาพยุโรปได้กล่าวไว้เมื่อเดือนก่อนว่าต้องมีการดูแลอย่างเข้มงวดในเรื่องความเสี่ยงเกี่ยวกับอัตรา
เงินเฟ้อ ทำให้นักเศรษฐศาสตร์ที่ตอบผลสำรวจของสำนักข่าวรอยเตอร์ทั้งหมดคาดว่าจะมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือน มี.ค.นี้ ทั้งนี้ นับตั้งแต่
เดือน ธ.ค.48 ธ.กลางสหภาพยุโรปได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมาแล้ว รวม 7 ครั้ง จากระดับร้อยละ 2.0 จนปัจจุบันมาอยู่ที่ร้อยละ 3.75
ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อในปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 1.8 ซึ่งอยู่ในระดับที่ ธ.กลางสหภาพยุโรปตั้งเป้าหมายไว้ที่ร้อยละ 2.0 อย่างไรก็ตาม ธ.กลาง
สหภาพยุโรปยังคงมีความกังวลเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงหลายอย่างทั้งจากราคาน้ำมัน การเติบโตอย่างรวดเร็วของปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบ
และแรงกดดันจากราคาสินค้าและค่าจ้างแรงงานที่ปรับตัวสูงขึ้นเนื่องจากการขยายตัวของเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ธ.กลางสหภาพยุโรปยังได้ปรับขึ้น
อัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝากอีกร้อยละ 0.25 ไปอยู่ที่ระดับร้อยละ 4.75 และร้อยละ 2.75 ตามลำดับ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 14 มี.ค.50 (รอยเตอร์)
3. ธ.กลางอังกฤษตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 5.25 ต่อปีเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน รายงานจากลอนดอน เมื่อ
8 มี.ค.50 ธ.กลางอังกฤษตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 5.25 ต่อปีเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน หลังจากขึ้นอัตราดอกเบี้ยมาแล้ว
3 ครั้งนับตั้งแต่เดือน ส.ค.49 ที่ผ่านมา โดยอัตราเงินเฟ้อในเดือน ม.ค.50 ชะลอตัวลงมาอยู่ที่ร้อยละ 2.7 จากระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์
ร้อยละ 3.0 ในเดือน ธ.ค.49 แต่อย่างไรก็ดี ธ.กลางอังกฤษคาดว่าอัตราเงินเฟ้ออาจเพิ่มสูงขึ้นอีกหากไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยให้สูงกว่าระดับปัจจุบัน
นักวิเคราะห์จึงคาดว่าอาจมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกร้อยละ 0.25 ในเดือน เม.ย.50 ที่จะถึงนี้ ทั้งนี้ตัวเลขทางเศรษฐกิจเมื่อเร็ว ๆ นี้ส่งสัญญาณ
ที่สับสน โดยราคาบ้านเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 1.8 ในเดือน ก.พ.50 เพียงเดือนเดียว เช่นเดียวกับคำสั่งซื้อสินค้าโรงงานที่เพิ่มสูงขึ้นอันเป็นผลจาก
เศรษฐกิจโลกขยายตัว ในขณะที่ผู้บริโภคที่แม้ว่าจะมีภาระดอกเบี้ยมากขึ้นก็ยังคงใช้จ่ายในระดับเดิม แต่อัตราเงินเฟ้อกลับชะลอตัวลงมาอยู่ที่ร้อยละ
2.7 ในเดือน ม.ค.50 จากร้อยละ 3.0 ในเดือน ธ.ค.49 และคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะลดลงอีกในเดือนต่อ ๆ ไปอันเป็นผลจากราคาน้ำมันใน
ตลาดโลกที่ชะลอตัวลง (รอยเตอร์)
4. คำสั่งซื้อเครื่องจักรของญี่ปุ่นในเดือน ม.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 เทียบต่อเดือน รายงานจากโตเกียว เมื่อ 9 มี.ค.50
The Cabinet Office เปิดเผยว่า คำสั่งซื้อเครื่องจักรของภาคเอกชนญี่ปุ่น (ซึ่งเป็นเครื่องชี้วัดการใช้จ่ายเงินทุนของภาคธุรกิจ และไม่นับรวม
คำสั่งซื้อสินค้าประเภทชิปและเครื่องจักรของธุรกิจกลุ่มพลังงานไฟฟ้า) ในเดือน ม.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 เทียบต่อเดือน ซึ่งสูงกว่าที่
นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.5 หลังจากที่ลดลงร้อยละ 0.7 ในเดือน ธ.ค.49 และหากเทียบต่อปีเพิ่มขึ้นร้อยละ
2.6 สวนทางกับที่ประมาณการไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะลดลงร้อยละ 0.8 นอกจากนี้ จากผลสำรวจผู้ประกอบการโดย The Cabinet Office
ยังคาดการณ์ว่า ดัชนีคำสั่งซื้อที่แสดงถึงการใช้จ่ายเงินทุนของภาคธุรกิจในรอบ 6-9 เดือนข้างหน้าในไตรมาส 1 ปี 50 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2
จากไตรมาสก่อน (รอยเตอร์)
5. ผลผลิตอุตสาหกรรมของมาเลเซียในเดือน ม.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 เทียบต่อปี ขณะที่เทียบต่อเดือนลดลงร้อยละ 3.8
รายงานจากกัวลาลัมเปอร์ เมื่อ 8 มี.ค.50 รัฐบาลมาเลเซีย เปิดเผยว่า ผลผลิตอุตสาหกรรมของมาเลเซีย (ซึ่งบ่งชี้ถึงผลผลิตของ
อุตสาหกรรมการผลิต อุตสาหกรรมเหมืองแร่ และผลผลิตที่เกี่ยวกับไฟฟ้า) ในเดือน ม.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 เทียบต่อปี ต่ำกว่าที่ตลาด
คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ว่าขยายตัวร้อยละ 5.5 เนื่องจากผลผลิตอุตสาหกรรมการผลิตในเดือน ม.ค.50 (ซึ่งมีสัดส่วนประมาณ 2 ใน 3 ของ
ดัชนีผลผลิตโดยรวม) ลดลงอย่างมากโดยขยายตัวเพียงร้อยละ 2.3 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ ผลผลิตอุตสาหกรรมของมาเลเซีย
เคยอยู่ในระดับต่ำที่สุดที่ร้อยละ 1.6 เมื่อเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา และหากเทียบต่อเดือนแล้ว ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือน ม.ค.50 ลดลง
ร้อยละ 3.8 (ตัวเลขก่อนปรับปัจจัยทางฤดูกาล) (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 9 มี.ค. 50 8 มี.ค. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 35.196 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 34.9756/35.2974 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.63625 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 671.98/6.81 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,800/10,900 10,800/10,900 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 57.63 57.96 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 27.19*/23.34** 27.19*/23.34** 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 8 มี.ค. 50
** ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 1 มี.ค. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--