เมื่อวันที่ 11 มกราคม นี้ นายอภิชาต ศักดิเศรษฐ์ รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ อดีตส.ส.นครศรีธรรมราช กล่าวถึงกรณีคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) เข้มงวดกับการทำหน้าที่ของสื่อโทรทัศน์และวิทยุบางรายการที่ทำตัวเป็นกระบอกเสียงกลุ่มอำนาจเก่าสร้างความสับสนในสังคมว่า นับเป็นครั้งแรกหลังการยึดอำนาจที่คมช. ใช้ไม้แข็งกับสื่อมวลชนดังกล่าว แม้จะถูกวิจารณ์จากบางฝ่ายว่าเป็นการแทรกแซงสื่อมวลชน แต่ถือเป็นความจำเป็นสำหรับสถานการณ์ที่สังคมเผชิญกับภาวะไม่ปกติ เนื่องจากสื่อมวลชนเหล่านั้นมีพฤติกรรมที่น่าสงสัยตลอดมา ทั้งที่แสดงตนอย่างโจ่งแจ้งในการต่อต้านอำนาจรัฐและทั้งที่มีแฝงวาระซ่อนเร้นโดยใช้วิชาชีพสื่อสารมวลชนไปรับใช้กลุ่มอำนาจเก่า
นายอภิชาต กล่าวว่า การเสนอข่าวความเคลื่อนไหว หรือปฏิกิริยาของอดีตนายกฯทักษิณ ถือเป็นหน้าที่ที่จะต้องรายงานให้ประชาชนรับทราบ ซึ่งสื่อจะต้องยืนหยัดในเสรีภาพตรงนี้ แต่ท่วงทำนองการนำเสนอ การให้พื้นที่ เวลา หรือการวางน้ำหนัก เป็นเรื่องที่จะต้องใคร่ครวญอย่างถี่ถ้วน โดยยึดหลักการแห่งวิชาชีพในเรื่องความเป็นกลางและความเที่ยงธรรมอย่างเคร่งครัด ไม่ใช่จงใจโน้มเอียงจนกลายเป็นกระบอกเสียงเหมือนที่เป็นอยู่ ส่วนคมช.เองก็ต้องตระหนักด้วยว่าหากปิดกั้นจนเกินไปก็อาจจะเกิดปฏิกริยาคลื่นใต้น้ำที่รุนแรงขึ้นได้
“การเข้มงวดกับสื่อครั้งนี้ อีกด้านหนึ่งถือเป็นโอกาสสำหรับผู้คนในวิชาชีพสื่อสารมวลชน ที่จะได้ช่วยกันทบทวนบทบาทและพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของคนบางกลุ่ม เพื่อจะได้ชำระล้างวงการสื่อมวลชนให้สะอาด สดใสเป็นที่น่าเชื่อถือของประชาชนมากขึ้น” รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าว
นายอภิชาต กล่าวต่อไปว่า จากการที่สื่อมวลชนถูกครอบงำและถูกแทรกแซงอย่างหนักมาตลอดเกือบ 6 ปี ในรัฐบาลทักษิณ ทำให้คนในวงการสื่อจำนวนหนึ่งตกเป็นทาสรับใช้กลุ่มอำนาจเก่าจนถอนตัวไม่ขึ้น ซึ่งไม่ต่างจากกลไกราชการบางส่วนที่เต็มไปด้วยเครือข่ายกลุ่มอำนาจเก่า จนรัฐบาลสั่งการอะไรไม่ได้ในขณะนี้
“ถ้ายังจำกันได้ เมื่อตอนที่มีการชุมนุมขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ตั้งแต่ต้นปี 2549 เรื่อยมา ได้มีความพยายามจัดตั้งสื่อมวลชนในสังกัดอำนาจของรัฐบาลและกลุ่มบริวารแวดล้อม ก่อกระแสตอบโต้ผู้ชุมนุมอย่างเป็นกระบวนการ จนมีการตั้งสมญาสื่อเหล่านั้นว่า “สื่อเทียม” แฝงตัวอยู่ในองค์กรสื่อหลากหลายแขนง มาถึงวันนี้คนเหล่านั้นก็ยังแสดงบทบาทผ่านทางสื่อ เพื่อบรรลุเป้าหมายในการสนับสนุนกลุ่มอำนาจเก่าอยู่เหมือนเดิม โดยไม่ได้ตระหนักถึงศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพของตนเอง” นายอภิชาต กล่าว
ด้าน นายเทพไท เสนพงศ์ อดีต ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชา ธิปัตย์ แถลงว่ากรณีที่ คมช. ได้เรียกบรรณาธิการข่าวและผู้บริหารสถานีวิทยุ โทรทัศน์จากทุกสถานีมาเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการนำเสนอข่าวของสถานี วิทยุและโทรทัศน์ นั้น มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ตามมาว่า เป็นการปิดกั้นสิทธิ เสรีภาพในการทำหน้าที่ของสื่อ ซึ่งความเป็นจริงแล้วต้องเข้าใจ คมช.ที่ได้รับ แรงกดดันจากหลายฝ่ายให้ใช้ความเด็ดขาดกับกลุ่มอำนาจเก่า และคลื่นใต้น้ำที่ก่อ กวนสร้างสถานการณ์อยู่ในขณะนี้ เพราะมีสื่อบางสื่อยังให้โอกาสเสนอข่าวของ กลุ่มอำนาจเก่ามากกว่าข่าวของ คมช.และรัฐบาล เสียอีก โทรทัศน์บาง ช่องเสนอข่าว คมช.เพียงแค่ภาพข่าว โดยใช้ผู้ประกาศข่าวเป็นผู้อ่านคำสัมภาษณ์ แต่สำหรับข่าวของ พ.ต.ท.ทักษิณ และกลุ่มอำนาจเก่า กลับปล่อยเสียง สัมภาษณ์ออกมาจนจบ กระบวนความ สำหรับในสื่อหน้าหนังสือพิมพ์ ก็ยังเห็นการเสนอข่าวของสมาชิกพรรคไทยรักไทยเคลื่อนไหวทางการเมืองทุกวันเปิด พื้นที่ข่าวให้กับกลุ่มอำนาจเก่ามากเกินไป แต่ท่าทีของ คมช. ต่อเรื่องนี้ควรจะ มีวิธีการที่นุ่มนวลและแนบเนียนกว่านี้จะดีกว่า เช่น เชิญบรรณาธิการข่าวและผู้ อำนวยการสถานีวิทยุและโทรทัศน์ของแต่ละแห่งมาทานกาแฟ และพูดคุยขอความร่วมมือใน การนำเสนอข่าวจะเป็นการดีที่สุด ไม่อยากจะเห็นท่าทีของ คมช.ที่แข็งกร้าวจนเกิน ไป การเรียกบรรณาธิการข่าวและผู้บริหารสถานีวิทยุโทรทัศน์มาประชุมกันอย่างเปิด เผย เป็นภาพที่ไม่สามารถยอมรับได้ และยิ่งมีโฆษก คมช. ออกมาแถลงว่าถ้าหาก สถานีวิทยุโทรทัศน์ ไม่สามารถใช้ดุลยพินิจในการนำเสนอข่าวได้ คมช. ก็จะขอใช้ ดุลยพินิจแทนเองนั้น เป็นท่าทีและท่วงทำนองส่อไปในทางข่มขู่ สื่อสารมวลชน ซึ่งไม่น่าจะมีท่าทีแบบนี้ให้ขัดกับความรู้สึกของกลุ่มคนที่รัก ประชาธิปไตย และการหยิบยกประกาศ คปค.ฉบับที่ 10 เรื่องกฎอัยการศึก มาตรา 11 มา กล่าวอ้างยิ่งทำให้บรรยากาศของบ้านเมืองเหมือนตกอยู่ในสถานการณ์ปฏิวัติยึดอำนาจ ใหม่ ๆ นายเทพไท กล่าวต่อไปว่า ต่อกรณีนี้ คมช.ไม่ควรที่จะทำให้เป็นเรื่องเอิกเกริก เพราะมีสื่อส่วนน้อยที่ยังคอยเป็นกระบอกเสียงให้กับกลุ่มอำนาจเก่า น่าจะ จับตามองอย่างเงียบ ๆ และเชิญมาทำความเข้าใจเป็นรายบุคคลจะดีกว่า คมช.จะต้องทำ ความเข้าใจและศึกษาให้ลึกซึ่งเกี่ยวกับระบอบทักษิณ ว่าได้หยั่งรากลึกในกลไกของ ราชการและเอกชนมากมายแค่ไหน และต้องรู้ว่าในยุคนี้ อำนาจปืน อำนาจรถถัง ไม่ สามารถที่จะสู้อำนาจเงินได้ เพียงระยะเวลา 6 ปี ในการครองอำนาจของระบอบทักษิณ อยากที่จะทำลายล้างให้หมดสิ้นจากสังคมไทยได้ ถ้าหาก พ.ต.ท.ทักษิณ ได้ครอง อำนาจ 20 ปี ตามที่ได้ประกาศไว้ ก็ไม่แน่ใจว่าบ้านเมืองเราจะปกครองด้วยระบอบ อะไร ท่ามกลางความโชคร้ายก็มีความโชคดีที่ระบอบทักษิณ ไม่สามารถปกครองประเทศได้ ตามที่ได้ประกาศไว้
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 11 ม.ค. 2550--จบ--
นายอภิชาต กล่าวว่า การเสนอข่าวความเคลื่อนไหว หรือปฏิกิริยาของอดีตนายกฯทักษิณ ถือเป็นหน้าที่ที่จะต้องรายงานให้ประชาชนรับทราบ ซึ่งสื่อจะต้องยืนหยัดในเสรีภาพตรงนี้ แต่ท่วงทำนองการนำเสนอ การให้พื้นที่ เวลา หรือการวางน้ำหนัก เป็นเรื่องที่จะต้องใคร่ครวญอย่างถี่ถ้วน โดยยึดหลักการแห่งวิชาชีพในเรื่องความเป็นกลางและความเที่ยงธรรมอย่างเคร่งครัด ไม่ใช่จงใจโน้มเอียงจนกลายเป็นกระบอกเสียงเหมือนที่เป็นอยู่ ส่วนคมช.เองก็ต้องตระหนักด้วยว่าหากปิดกั้นจนเกินไปก็อาจจะเกิดปฏิกริยาคลื่นใต้น้ำที่รุนแรงขึ้นได้
“การเข้มงวดกับสื่อครั้งนี้ อีกด้านหนึ่งถือเป็นโอกาสสำหรับผู้คนในวิชาชีพสื่อสารมวลชน ที่จะได้ช่วยกันทบทวนบทบาทและพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของคนบางกลุ่ม เพื่อจะได้ชำระล้างวงการสื่อมวลชนให้สะอาด สดใสเป็นที่น่าเชื่อถือของประชาชนมากขึ้น” รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าว
นายอภิชาต กล่าวต่อไปว่า จากการที่สื่อมวลชนถูกครอบงำและถูกแทรกแซงอย่างหนักมาตลอดเกือบ 6 ปี ในรัฐบาลทักษิณ ทำให้คนในวงการสื่อจำนวนหนึ่งตกเป็นทาสรับใช้กลุ่มอำนาจเก่าจนถอนตัวไม่ขึ้น ซึ่งไม่ต่างจากกลไกราชการบางส่วนที่เต็มไปด้วยเครือข่ายกลุ่มอำนาจเก่า จนรัฐบาลสั่งการอะไรไม่ได้ในขณะนี้
“ถ้ายังจำกันได้ เมื่อตอนที่มีการชุมนุมขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ตั้งแต่ต้นปี 2549 เรื่อยมา ได้มีความพยายามจัดตั้งสื่อมวลชนในสังกัดอำนาจของรัฐบาลและกลุ่มบริวารแวดล้อม ก่อกระแสตอบโต้ผู้ชุมนุมอย่างเป็นกระบวนการ จนมีการตั้งสมญาสื่อเหล่านั้นว่า “สื่อเทียม” แฝงตัวอยู่ในองค์กรสื่อหลากหลายแขนง มาถึงวันนี้คนเหล่านั้นก็ยังแสดงบทบาทผ่านทางสื่อ เพื่อบรรลุเป้าหมายในการสนับสนุนกลุ่มอำนาจเก่าอยู่เหมือนเดิม โดยไม่ได้ตระหนักถึงศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพของตนเอง” นายอภิชาต กล่าว
ด้าน นายเทพไท เสนพงศ์ อดีต ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชา ธิปัตย์ แถลงว่ากรณีที่ คมช. ได้เรียกบรรณาธิการข่าวและผู้บริหารสถานีวิทยุ โทรทัศน์จากทุกสถานีมาเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการนำเสนอข่าวของสถานี วิทยุและโทรทัศน์ นั้น มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ตามมาว่า เป็นการปิดกั้นสิทธิ เสรีภาพในการทำหน้าที่ของสื่อ ซึ่งความเป็นจริงแล้วต้องเข้าใจ คมช.ที่ได้รับ แรงกดดันจากหลายฝ่ายให้ใช้ความเด็ดขาดกับกลุ่มอำนาจเก่า และคลื่นใต้น้ำที่ก่อ กวนสร้างสถานการณ์อยู่ในขณะนี้ เพราะมีสื่อบางสื่อยังให้โอกาสเสนอข่าวของ กลุ่มอำนาจเก่ามากกว่าข่าวของ คมช.และรัฐบาล เสียอีก โทรทัศน์บาง ช่องเสนอข่าว คมช.เพียงแค่ภาพข่าว โดยใช้ผู้ประกาศข่าวเป็นผู้อ่านคำสัมภาษณ์ แต่สำหรับข่าวของ พ.ต.ท.ทักษิณ และกลุ่มอำนาจเก่า กลับปล่อยเสียง สัมภาษณ์ออกมาจนจบ กระบวนความ สำหรับในสื่อหน้าหนังสือพิมพ์ ก็ยังเห็นการเสนอข่าวของสมาชิกพรรคไทยรักไทยเคลื่อนไหวทางการเมืองทุกวันเปิด พื้นที่ข่าวให้กับกลุ่มอำนาจเก่ามากเกินไป แต่ท่าทีของ คมช. ต่อเรื่องนี้ควรจะ มีวิธีการที่นุ่มนวลและแนบเนียนกว่านี้จะดีกว่า เช่น เชิญบรรณาธิการข่าวและผู้ อำนวยการสถานีวิทยุและโทรทัศน์ของแต่ละแห่งมาทานกาแฟ และพูดคุยขอความร่วมมือใน การนำเสนอข่าวจะเป็นการดีที่สุด ไม่อยากจะเห็นท่าทีของ คมช.ที่แข็งกร้าวจนเกิน ไป การเรียกบรรณาธิการข่าวและผู้บริหารสถานีวิทยุโทรทัศน์มาประชุมกันอย่างเปิด เผย เป็นภาพที่ไม่สามารถยอมรับได้ และยิ่งมีโฆษก คมช. ออกมาแถลงว่าถ้าหาก สถานีวิทยุโทรทัศน์ ไม่สามารถใช้ดุลยพินิจในการนำเสนอข่าวได้ คมช. ก็จะขอใช้ ดุลยพินิจแทนเองนั้น เป็นท่าทีและท่วงทำนองส่อไปในทางข่มขู่ สื่อสารมวลชน ซึ่งไม่น่าจะมีท่าทีแบบนี้ให้ขัดกับความรู้สึกของกลุ่มคนที่รัก ประชาธิปไตย และการหยิบยกประกาศ คปค.ฉบับที่ 10 เรื่องกฎอัยการศึก มาตรา 11 มา กล่าวอ้างยิ่งทำให้บรรยากาศของบ้านเมืองเหมือนตกอยู่ในสถานการณ์ปฏิวัติยึดอำนาจ ใหม่ ๆ นายเทพไท กล่าวต่อไปว่า ต่อกรณีนี้ คมช.ไม่ควรที่จะทำให้เป็นเรื่องเอิกเกริก เพราะมีสื่อส่วนน้อยที่ยังคอยเป็นกระบอกเสียงให้กับกลุ่มอำนาจเก่า น่าจะ จับตามองอย่างเงียบ ๆ และเชิญมาทำความเข้าใจเป็นรายบุคคลจะดีกว่า คมช.จะต้องทำ ความเข้าใจและศึกษาให้ลึกซึ่งเกี่ยวกับระบอบทักษิณ ว่าได้หยั่งรากลึกในกลไกของ ราชการและเอกชนมากมายแค่ไหน และต้องรู้ว่าในยุคนี้ อำนาจปืน อำนาจรถถัง ไม่ สามารถที่จะสู้อำนาจเงินได้ เพียงระยะเวลา 6 ปี ในการครองอำนาจของระบอบทักษิณ อยากที่จะทำลายล้างให้หมดสิ้นจากสังคมไทยได้ ถ้าหาก พ.ต.ท.ทักษิณ ได้ครอง อำนาจ 20 ปี ตามที่ได้ประกาศไว้ ก็ไม่แน่ใจว่าบ้านเมืองเราจะปกครองด้วยระบอบ อะไร ท่ามกลางความโชคร้ายก็มีความโชคดีที่ระบอบทักษิณ ไม่สามารถปกครองประเทศได้ ตามที่ได้ประกาศไว้
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 11 ม.ค. 2550--จบ--