กรุงเทพ--26 เม.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
ในวันนี้ พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และ The Right Honourable Helen Clark นายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ ประกาศว่าไทยและนิวซีแลนด์ได้ลงนามความตกลงว่าด้วยการเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นระหว่างไทย —นิวซีแลนด์ (Closer Economic Partnership: CEP) ซึ่งความตกลง ดังกล่าวลงนามโดย ดร. ทนง พิทยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และนาย Jim Sutton รัฐมนตรีเจรจาการค้านิวซีแลนด์ โดยมีนายกรัฐมนตรีของทั้งสองประเทศร่วมเป็นสักขีพยาน
ไทยและนิวซีแลนด์ยังมีการลงนามข้อตกลงด้านแรงงานและข้อตกลงด้านสิ่งแวดล้อม โดยนาย Sutton และนายสรอรรถ กลิ่นประทุม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และนายยงยุทธ ติยะไพรัช
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตามลำดับ ความตกลงดังกล่าวเป็นการ
แสดงถึงพันธะสัญญาทางการเมืองและสร้างกลไกสำหรับความร่วมมือในประเด็นดังกล่าวต่อไป
นาย Sutton และ นายกันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทวงการต่างประเทศยังได้ลงนาม ในข้อตกลงโครงการตรวจลงตราทำงานและท่องเที่ยว (Arrangement on Working Holiday Scheme) ซึ่งจะเปิดโอกาสให้เยาวชนไทยและนิวซีแลนด์ฝ่ายละ 100 คน ไปทำงานและพำนักในอีกประเทศเป็นเวลา 12 เดือน
นายกรัฐมนตรีทั้งสองได้รับทราบถึงความก้าวหน้าอย่างยิ่งในความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์
ระหว่างทั้งสองประเทศที่มีความแข็งแกร่งมากขึ้นโดยมีการพบหารือระหว่างนายกรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์อีกครั้งในช่วงระยะเวลาไม่ถึง 1 ปี ภายหลังจากนายกรัฐมนตรีไปเยือนนิวซีแลนด์อย่างเป็นทางการเมื่อเดือนกรกฎาคม 2547 นายกรัฐมนตรีทั้งสองได้กล่าวถึงคำมั่นของทั้งสองฝ่ายระหว่างการประชุมผู้นำเขต
เศรษฐกิจเอเปคที่กรุงเทพฯ ในปี 2546 ที่จะเจรจาจัดทำความตกลง CEP และยินดีที่ไทยและนิวซีแลนด์สามารถบรรลุความตกลง CEP ระหว่างกันได้ และจะมีการบังคับใช้ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2548
ทั้งสองประเทศเห็นว่า ความตกลง CEP ไม่เพียงแต่มีความสำคัญด้านเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังมีความสำคัญในเชิงยุทธศาสตร์ด้วย โดยจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยและนิวซีแลนด์
ในตลาดโลกจากการกระตุ้นให้มีการรวบรวมและประสานความรู้ความชำนาญ แนวความคิด เทคโนโลยี และทรัพยากรของทั้งสองฝ่ายเข้าด้วยกัน นอกจากนี้ ยังจะส่งเสริมการเชื่อมโยงระหว่างนักธุรกิจของทั้งสองประเทศ รวมทั้งสนับสนุนเป้าหมายร่วมกันในกรอบความร่วมมือเอเปคและองค์การการค้าโลกอีกด้วย
นายกรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ยินดีต่อผลการเจรจาความตกลง CEP ซึ่งในด้านเศรษฐกิจ จะเปิดเสรีแบบครอบคลุมในด้านการค้าสินค้า ซึ่งจะมีการลดภาษีระหว่างกันเป็นจำนวนมาก
เมื่อมีการบังคับใช้ความตกลงฯ และในส่วนที่เหลือได้มีการกำหนดระยะเวลาของการลดภาษีไว้ด้วย
ไทยและนิวซีแลนด์ได้ตกลงที่จะมีการเปิดเสรีด้านการค้าบริการ โดยจะเริ่มการเจรจาภายใน 3 ปี
นอกจากนี้ จะมีการจัดตั้งกลไกเพื่ออำนวยความสะดวกด้านการค้าและความร่วมมือสาขาต่างๆ ที่
เกี่ยวข้องอีกหลายสาขาระหว่างกัน
นายกรัฐมนตรียินดีที่นิวซีแลนด์ได้แสดงความพร้อมในหลักการที่จะให้ความช่วยเหลือด้านความรู้ความชำนาญเพื่อรัฐบาลไทยนำไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินยุทธศาสตร์ด้านอุตสาหกรรมนมเนยของไทย
นายกรัฐมนตรีทั้งสองฝ่ายได้สรุปว่า ความตกลง CEP รวมทั้งความตกลงทวิภาคีอื่นๆ ที่ได้เจรจาคู่ขนานกับความตกลง CEP เป็นความก้าวหน้าที่สำคัญของพัฒนาการความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างไทย — นิวซีแลนด์
นายกรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์เล็งเห็นว่า ความตกลง CEP จะเป็นกรอบความตกลง
ที่ช่วยเชื่อมโยงนำไปสู่การจัดทำความตกลงเขตการค้าเสรีในระดับภูมิภาคระหว่างอาเซียน ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ (ASEAN/Australia/New Zealand FTA Initiative) อันจะเป็นการขยายความเชื่อมโยงระหว่างเอเชียและแปซิฟิก ซึ่งการเข้าเป็นสมาชิกใน Pacific Islands Forum ของไทยเป็นการชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงดังกล่าวรวมทั้งสะท้อนประวัติความสัมพันธ์ที่ยาวนานกว่า 30 ปี ระหว่างนิวซีแลนด์กับอาเซียน
นายกรัฐมนตรีทั้งสองสนับสนุนการเสริมสร้างความเข้าใจอันดีในด้านสังคมและวัฒนธรรมระหว่างเยาวชนของทั้งสองประเทศ รวมทั้งส่งเสริมภาคการท่องเที่ยวและการศึกษาของทั้งสองฝ่ายผ่านโครงการตรวจลงตราทำงานและท่องเที่ยว ซึ่งจักได้นำไปสู่การขยายโอกาสทางธุรกิจและการค้าต่อไป
นายกรัฐมนตรีทั้งสองมุ่งที่จะดำเนินการต่อไปเพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างทั้งสองประเทศอย่างเป็นรูปธรรมในปี 2549 ในโอกาสครบรอบ 50 ปีความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยและนิวซีแลนด์ ซึ่งจะมีการเฉลิมฉลองโดยการจัดกิจกรรมต่างๆ ทั้งด้านธุรกิจและวัฒนธรรม ในการนี้ นายกรัฐมนตรีทั้งสองได้ตกลงจะจัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วมโดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของทั้งสองประเทศเป็นประธาน เพื่อเป็นกรอบในการติดตามและดูแลความร่วมมือในภาพรวมที่ไม่เกี่ยวกับด้านการค้า
รวมทั้งยังได้แถลงถึงการจัดให้มีการแลกเปลี่ยนการเยือนภายใต้โครงการ Prime Ministers’ Fellows อันจะช่วยส่งเสริมและปลูกฝังความเข้าใจระหว่างกันให้กับนักการเมืองรุ่นใหม่ของทั้งสองประเทศ
นายกรัฐมนตรีทั้งสองยังเห็นควรให้เพิ่มพูนความร่วมมือภายใต้กรอบอาเซียนและคงการร่วมมือเชิงรุกในระดับภูมิภาคต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโครงการภายใต้สถาบันลุ่มน้ำโขง (Mekong Institute) และยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (Ayeyawdy-Chao Phraya-Mekong Economic Cooperation Strategy: ACMECS) เพื่อช่วยส่งเสริมสันติภาพ ความมั่นคง และความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศ และของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกโดยรวม.
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
ในวันนี้ พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และ The Right Honourable Helen Clark นายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ ประกาศว่าไทยและนิวซีแลนด์ได้ลงนามความตกลงว่าด้วยการเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นระหว่างไทย —นิวซีแลนด์ (Closer Economic Partnership: CEP) ซึ่งความตกลง ดังกล่าวลงนามโดย ดร. ทนง พิทยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และนาย Jim Sutton รัฐมนตรีเจรจาการค้านิวซีแลนด์ โดยมีนายกรัฐมนตรีของทั้งสองประเทศร่วมเป็นสักขีพยาน
ไทยและนิวซีแลนด์ยังมีการลงนามข้อตกลงด้านแรงงานและข้อตกลงด้านสิ่งแวดล้อม โดยนาย Sutton และนายสรอรรถ กลิ่นประทุม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และนายยงยุทธ ติยะไพรัช
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตามลำดับ ความตกลงดังกล่าวเป็นการ
แสดงถึงพันธะสัญญาทางการเมืองและสร้างกลไกสำหรับความร่วมมือในประเด็นดังกล่าวต่อไป
นาย Sutton และ นายกันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทวงการต่างประเทศยังได้ลงนาม ในข้อตกลงโครงการตรวจลงตราทำงานและท่องเที่ยว (Arrangement on Working Holiday Scheme) ซึ่งจะเปิดโอกาสให้เยาวชนไทยและนิวซีแลนด์ฝ่ายละ 100 คน ไปทำงานและพำนักในอีกประเทศเป็นเวลา 12 เดือน
นายกรัฐมนตรีทั้งสองได้รับทราบถึงความก้าวหน้าอย่างยิ่งในความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์
ระหว่างทั้งสองประเทศที่มีความแข็งแกร่งมากขึ้นโดยมีการพบหารือระหว่างนายกรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์อีกครั้งในช่วงระยะเวลาไม่ถึง 1 ปี ภายหลังจากนายกรัฐมนตรีไปเยือนนิวซีแลนด์อย่างเป็นทางการเมื่อเดือนกรกฎาคม 2547 นายกรัฐมนตรีทั้งสองได้กล่าวถึงคำมั่นของทั้งสองฝ่ายระหว่างการประชุมผู้นำเขต
เศรษฐกิจเอเปคที่กรุงเทพฯ ในปี 2546 ที่จะเจรจาจัดทำความตกลง CEP และยินดีที่ไทยและนิวซีแลนด์สามารถบรรลุความตกลง CEP ระหว่างกันได้ และจะมีการบังคับใช้ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2548
ทั้งสองประเทศเห็นว่า ความตกลง CEP ไม่เพียงแต่มีความสำคัญด้านเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังมีความสำคัญในเชิงยุทธศาสตร์ด้วย โดยจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยและนิวซีแลนด์
ในตลาดโลกจากการกระตุ้นให้มีการรวบรวมและประสานความรู้ความชำนาญ แนวความคิด เทคโนโลยี และทรัพยากรของทั้งสองฝ่ายเข้าด้วยกัน นอกจากนี้ ยังจะส่งเสริมการเชื่อมโยงระหว่างนักธุรกิจของทั้งสองประเทศ รวมทั้งสนับสนุนเป้าหมายร่วมกันในกรอบความร่วมมือเอเปคและองค์การการค้าโลกอีกด้วย
นายกรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ยินดีต่อผลการเจรจาความตกลง CEP ซึ่งในด้านเศรษฐกิจ จะเปิดเสรีแบบครอบคลุมในด้านการค้าสินค้า ซึ่งจะมีการลดภาษีระหว่างกันเป็นจำนวนมาก
เมื่อมีการบังคับใช้ความตกลงฯ และในส่วนที่เหลือได้มีการกำหนดระยะเวลาของการลดภาษีไว้ด้วย
ไทยและนิวซีแลนด์ได้ตกลงที่จะมีการเปิดเสรีด้านการค้าบริการ โดยจะเริ่มการเจรจาภายใน 3 ปี
นอกจากนี้ จะมีการจัดตั้งกลไกเพื่ออำนวยความสะดวกด้านการค้าและความร่วมมือสาขาต่างๆ ที่
เกี่ยวข้องอีกหลายสาขาระหว่างกัน
นายกรัฐมนตรียินดีที่นิวซีแลนด์ได้แสดงความพร้อมในหลักการที่จะให้ความช่วยเหลือด้านความรู้ความชำนาญเพื่อรัฐบาลไทยนำไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินยุทธศาสตร์ด้านอุตสาหกรรมนมเนยของไทย
นายกรัฐมนตรีทั้งสองฝ่ายได้สรุปว่า ความตกลง CEP รวมทั้งความตกลงทวิภาคีอื่นๆ ที่ได้เจรจาคู่ขนานกับความตกลง CEP เป็นความก้าวหน้าที่สำคัญของพัฒนาการความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างไทย — นิวซีแลนด์
นายกรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์เล็งเห็นว่า ความตกลง CEP จะเป็นกรอบความตกลง
ที่ช่วยเชื่อมโยงนำไปสู่การจัดทำความตกลงเขตการค้าเสรีในระดับภูมิภาคระหว่างอาเซียน ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ (ASEAN/Australia/New Zealand FTA Initiative) อันจะเป็นการขยายความเชื่อมโยงระหว่างเอเชียและแปซิฟิก ซึ่งการเข้าเป็นสมาชิกใน Pacific Islands Forum ของไทยเป็นการชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงดังกล่าวรวมทั้งสะท้อนประวัติความสัมพันธ์ที่ยาวนานกว่า 30 ปี ระหว่างนิวซีแลนด์กับอาเซียน
นายกรัฐมนตรีทั้งสองสนับสนุนการเสริมสร้างความเข้าใจอันดีในด้านสังคมและวัฒนธรรมระหว่างเยาวชนของทั้งสองประเทศ รวมทั้งส่งเสริมภาคการท่องเที่ยวและการศึกษาของทั้งสองฝ่ายผ่านโครงการตรวจลงตราทำงานและท่องเที่ยว ซึ่งจักได้นำไปสู่การขยายโอกาสทางธุรกิจและการค้าต่อไป
นายกรัฐมนตรีทั้งสองมุ่งที่จะดำเนินการต่อไปเพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างทั้งสองประเทศอย่างเป็นรูปธรรมในปี 2549 ในโอกาสครบรอบ 50 ปีความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยและนิวซีแลนด์ ซึ่งจะมีการเฉลิมฉลองโดยการจัดกิจกรรมต่างๆ ทั้งด้านธุรกิจและวัฒนธรรม ในการนี้ นายกรัฐมนตรีทั้งสองได้ตกลงจะจัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วมโดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของทั้งสองประเทศเป็นประธาน เพื่อเป็นกรอบในการติดตามและดูแลความร่วมมือในภาพรวมที่ไม่เกี่ยวกับด้านการค้า
รวมทั้งยังได้แถลงถึงการจัดให้มีการแลกเปลี่ยนการเยือนภายใต้โครงการ Prime Ministers’ Fellows อันจะช่วยส่งเสริมและปลูกฝังความเข้าใจระหว่างกันให้กับนักการเมืองรุ่นใหม่ของทั้งสองประเทศ
นายกรัฐมนตรีทั้งสองยังเห็นควรให้เพิ่มพูนความร่วมมือภายใต้กรอบอาเซียนและคงการร่วมมือเชิงรุกในระดับภูมิภาคต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโครงการภายใต้สถาบันลุ่มน้ำโขง (Mekong Institute) และยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (Ayeyawdy-Chao Phraya-Mekong Economic Cooperation Strategy: ACMECS) เพื่อช่วยส่งเสริมสันติภาพ ความมั่นคง และความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศ และของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกโดยรวม.
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-