ณ สิ้นปี 2549 ประเทศไทยมีเงินสำรองทางการรวม 67 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยแยกเป็นส่วนที่ ธปท. ดูแล 29 พันล้านดอลลาร์ สรอ. และส่วนของทุนสำรองเงินตรา 36.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนที่เหลือเป็นของทุนรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา
ผลการขาดทุนของ ธปท.และทุนสำรองเงินตรา ที่เกิดขึ้นจำนวนมากถึงประมาณ 174 พันล้านบาทในปี 2549 (ตัวเลขเบื้องต้น) นั้น เป็นการขาดทุนจากการตีราคาเงินสำรองในรูปของบาท
เมื่อค่าเงินบาทแข็งขึ้นถึงจำนวน 173 พันล้านบาท
แม้ ธปท. จะได้กระจายความเสี่ยงไปยังเงินสกุลต่าง ๆ แต่การที่ค่าเงินบาทแข็งขึ้นมากเมื่อเทียบกับทุกสกุล การตีราคาเงินสำรองทางการในรูปของบาทก็ทำให้เกิดการขาดทุนได้เช่นเดียวกัน
เงินสำรองทางการที่เพิ่มขึ้นประมาณ 15 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เกิดจากการเข้าดูแลค่าเงินบาท เนื่องจากมีความจำเป็นที่จะต้องชะลอการแข็งค่าอย่างรวดเร็วของค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับค่าเงินของประเทศที่เป็นคู่แข่งและคู่ค้าของไทยการเข้าดูแลค่าเงินดังกล่าวมิได้แตกต่างไปจากการดำเนินการของธนาคารกลางอื่น ๆ ในภูมิภาค
หาก ธปท. มิได้ดำเนินการใด ๆ และปล่อยให้ค่าเงินบาทแข็งขึ้นมากอย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับเงินสกุลต่าง ๆ
- จะมีผลทำให้ประเทศไทยสูญเสียความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งมีผลต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการจ้างงานโดยรวม ซึ่งจะมีผลกระทบต่อประชาชนโดยทั่วไปในที่สุด
- เงินสำรองทางการที่มีอยู่เมื่อต้นปี 2549 จำนวนประมาณ 52 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ก็จะมีมูลค่าลดลงในรูปของบาทอยู่ดี และอาจจะมีผลขาดทุนมากกว่าผลขาดทุน ที่เกิดขึ้นจริง
อย่างไรก็ดี ผลขาดทุนที่เกิดขึ้นนี้ไม่ได้เกิดจากความไม่มีประสิทธิภาพในการดำเนินการ เพราะเป็นเพียงตัวเลขขาดทุนที่เกิดขึ้นจากการตีราคาเงินสำรองทางการตามมาตรฐานบัญชีเท่านั้น (Valuation Loss) สินทรัพย์ต่างประเทศซึ่งเป็นองค์ประกอบของเงินสำรองทางการ ท ธปท. ดูแลยังคงมีอยู่ครบถ้วน และมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเมื่อวัดในรูปของเงินตราต่างประเทศ
ผลการขาดทุนดังกล่าวไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายแต่อย่างใด ธปท. ยังคงสามารถทำหน้าที่ในการดูแลเสถียรภาพทางการเงินได้ต่อไป
ธนาคารแห่งประเทศไทย
23 กุมภาพันธ์ 2550
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
ผลการขาดทุนของ ธปท.และทุนสำรองเงินตรา ที่เกิดขึ้นจำนวนมากถึงประมาณ 174 พันล้านบาทในปี 2549 (ตัวเลขเบื้องต้น) นั้น เป็นการขาดทุนจากการตีราคาเงินสำรองในรูปของบาท
เมื่อค่าเงินบาทแข็งขึ้นถึงจำนวน 173 พันล้านบาท
แม้ ธปท. จะได้กระจายความเสี่ยงไปยังเงินสกุลต่าง ๆ แต่การที่ค่าเงินบาทแข็งขึ้นมากเมื่อเทียบกับทุกสกุล การตีราคาเงินสำรองทางการในรูปของบาทก็ทำให้เกิดการขาดทุนได้เช่นเดียวกัน
เงินสำรองทางการที่เพิ่มขึ้นประมาณ 15 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เกิดจากการเข้าดูแลค่าเงินบาท เนื่องจากมีความจำเป็นที่จะต้องชะลอการแข็งค่าอย่างรวดเร็วของค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับค่าเงินของประเทศที่เป็นคู่แข่งและคู่ค้าของไทยการเข้าดูแลค่าเงินดังกล่าวมิได้แตกต่างไปจากการดำเนินการของธนาคารกลางอื่น ๆ ในภูมิภาค
หาก ธปท. มิได้ดำเนินการใด ๆ และปล่อยให้ค่าเงินบาทแข็งขึ้นมากอย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับเงินสกุลต่าง ๆ
- จะมีผลทำให้ประเทศไทยสูญเสียความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งมีผลต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการจ้างงานโดยรวม ซึ่งจะมีผลกระทบต่อประชาชนโดยทั่วไปในที่สุด
- เงินสำรองทางการที่มีอยู่เมื่อต้นปี 2549 จำนวนประมาณ 52 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ก็จะมีมูลค่าลดลงในรูปของบาทอยู่ดี และอาจจะมีผลขาดทุนมากกว่าผลขาดทุน ที่เกิดขึ้นจริง
อย่างไรก็ดี ผลขาดทุนที่เกิดขึ้นนี้ไม่ได้เกิดจากความไม่มีประสิทธิภาพในการดำเนินการ เพราะเป็นเพียงตัวเลขขาดทุนที่เกิดขึ้นจากการตีราคาเงินสำรองทางการตามมาตรฐานบัญชีเท่านั้น (Valuation Loss) สินทรัพย์ต่างประเทศซึ่งเป็นองค์ประกอบของเงินสำรองทางการ ท ธปท. ดูแลยังคงมีอยู่ครบถ้วน และมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเมื่อวัดในรูปของเงินตราต่างประเทศ
ผลการขาดทุนดังกล่าวไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายแต่อย่างใด ธปท. ยังคงสามารถทำหน้าที่ในการดูแลเสถียรภาพทางการเงินได้ต่อไป
ธนาคารแห่งประเทศไทย
23 กุมภาพันธ์ 2550
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--