1. การผลิตในประเทศ
ยาแผนปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นยาที่ได้รับการวิจัยและพัฒนาจากผู้ผลิตยาชั้นนำในต่างประเทศและนำเข้ามาจำหน่าย ทำให้ยามีราคาแพง ส่วน
ยาที่ผลิตในประเทศ ต้องรอจนกว่ายาตัวนั้นหมดสิทธิบัตรแล้ว จึงจะสามารถผลิตออกมาจำหน่ายได้ โดยการผลิตยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในไตรมาสสุด
ท้ายของปี 2549 มีปริมาณ 6,295.0 ตัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 1.6 และภาพรวมตลอดทั้งปี 2549 มีปริมาณการผลิต
26,097.2 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 2.1 ซึ่งการผลิตที่ขยายตัว เป็นผลจากปริมาณคำสั่งซื้อจากโรงพยาบาล ร้านขายยา รวมทั้งการรับจ้างผลิต
เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถหาลูกค้ารายใหม่ ๆ ได้เพิ่มขึ้นด้วย
อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนปริมาณการผลิตลดลงร้อยละ 13.5 ซึ่งเป็นไปตามรอบการผลิตของยา จากการที่ยามีอายุในการ
ใช้งาน การผลิตจึงทำตามคำสั่งซื้อ โดยคำสั่งซื้อจะสูงในช่วงไตรมาสที่ 2 และ ไตรมาสที่ 3 ของปี เพื่อผู้สั่งซื้อจะได้ทยอยระบายสินค้าที่ซื้อมา ซึ่งเป็น
การบริหารสินค้าคงคลังไม่ให้เหลือสูงมากในไตรมาสสุดท้ายของปี ประกอบกับมีวันหยุดยาวในช่วงปลายปี ทำให้ผู้ผลิตบางรายปิดโรงงานเพื่อปรับปรุง
เครื่องจักร
2. การจำหน่ายในประเทศ
ช่องทางการจำหน่ายหลักของผู้ประกอบการ คือ สถานพยาบาล โดยเฉพาะโรงพยาบาลของรัฐ โดยการจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์
เภสัชกรรมในไตรมาสสุดท้ายของปี 2549 มีปริมาณ 6,616.8 ตัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 4.5 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนร้อย
ละ 4.3 ซึ่งปริมาณการจำหน่ายที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้ผลิตสามารถประมูลงานจากโรงพยาบาลทั้งของรัฐและเอกชนได้มากขึ้น นอกจากนี้การจัดรายการ
ส่งเสริมการขาย ทำให้ปริมาณการจำหน่ายสินค้าเพิ่มขึ้นด้วย และมีข้อสังเกตว่ายาครีมมีอัตราการเติบโตที่สูงมาก มีปริมาณการจำหน่ายขยายตัวเมื่อ
เทียบกับไตรมาสก่อนและช่วงเดียวกันของปีก่อนถึงร้อยละ 55.5 และ 42.6 ตามลำดับ ซึ่งเป็นผลจากเหตุการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่ทำให้มีความต้อง
การยาครีม เช่น ยาทาแก้น้ำกัดเท้า ยาทาแก้อักเสบ และยาแก้แผลติดเชื้อ เพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตามปริมาณการจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรม ในปี 2549 มีจำนวน 24,520.9 ตัน ลดลงจากปีก่อนเล็กน้อยร้อยละ
0.5 เนื่องจากตลาดยาในประเทศมีการแข่งขันสูงประกอบกับปริมาณการผลิตยาน้ำลดลงมาก โดยเฉพาะในไตรมาสสุดท้าย เป็นผลจากผู้ผลิตบางราย
หยุดผลิตยาน้ำบางประเภทลง เพราะไม่สามารถแข่งขันด้านราคาได้ ส่งผลให้ปริมาณการจำหน่ายยาน้ำ และในภาพรวมลดลงด้วย
3. การนำเข้า
การนำเข้าผลิตภัณฑ์เภสัชกรรม ไตรมาสสุดท้ายของปี 2549 มีมูลค่า 7,825.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อย
ละ 10.3 โดยตลาดนำเข้าสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส เยอรมนี สหราชอาณาจักร และอิตาลี ซึ่งการนำเข้าจากประเทศดังกล่าวมีมูลค่า
รวม 3,765.8 ล้านบาท หรือร้อยละ 48.1 ของมูลค่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมทั้งหมด โดยตลอดทั้งปี 2549 มีมูลค่าการนำเข้า 31,898.7
ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 16.5 ตลาดนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ และ สหราช
อาณาจักร ซึ่งการนำเข้าจากประเทศดังกล่าวมีมูลค่ารวม 15,319.7 ล้านบาท หรือร้อยละ 48.0 ของมูลค่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมทั้งหมด
ประเภทของยารักษาโรคที่มีมูลค่าการนำเข้าสูงสุด คือ ยาสำเร็จรูป โดยจะมีการนำเข้าทั้งยาต้นตำรับ และยาที่มีสิทธิบัตรซึ่งไม่สามารถ
ผลิตได้ในประเทศ ยาเหล่านี้เป็นยาสำหรับโรคที่ต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง เช่น โรคความดัน เบาหวาน หัวใจ ไขมันในเส้นเลือด ข้อและกระดูก ซึ่งนำ
เข้าจากประเทศที่เป็นผู้ผลิตเวชภัณฑ์ชั้นนำของโลก เช่น สหรัฐอเมริกา และกลุ่มประเทศในยุโรป ทั้งนี้การนำเข้ายารักษาโรคมีมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างต่อ
เนื่อง ส่วนหนึ่งเป็นผลจากธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนมีแนวโน้มการขยายตัวที่ดี ส่งผลให้ความต้องการยาที่เป็นที่ยอมรับจากต่างประเทศของผู้ป่วยที่มีราย
ได้สูงเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญ มีจำนวนเพิ่มสูงขึ้น และให้ความสำคัญต่อสุขภาพมากขึ้น รวมทั้งบริษัทผู้นำเข้าได้ให้ความ
สำคัญกับกิจกรรมส่งเสริมการตลาด เช่น การประชาสัมพันธ์ให้ตระหนักถึงการรักษาสุขภาพ การเป็นพันธมิตรที่ดีกับแพทย์และโรงพยาบาล การพัฒนา
สินค้าใหม่ ๆ การขยายช่องทางการตลาด ตลอดจนการสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับสุขภาพ เพื่อสนองความต้องการของลูกค้า และรองรับการแข่ง
ขันที่มีเพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตามหากเทียบกับไตรมาสก่อน มูลค่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมลดลงร้อยละ 5.0 ซึ่งประเภทผลิตภัณฑ์ที่ลดลงมาก ได้แก่
วัคซีน เนื่องจากปริมาณการใช้ในประเทศช่วงนี้ไม่มากนัก ประกอบกับเป็นการบริหารสินค้าคงคลังของผู้นำเข้าในช่วงปลายปี
4. การส่งออก
การส่งออกผลิตภัณฑ์เภสัชกรรม ไตรมาสสุดท้ายของปี 2549 มีมูลค่า 1,889.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อย
ละ 14.1 โดยตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ เบลเยียม เวียดนาม เมียนมาร์ กัมพูชา และมาเลเซีย ซึ่งการส่งออกไปประเทศดังกล่าวมีมูลค่ารวม
1,073.0 ล้านบาท หรือร้อยละ 56.8 ของมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมทั้งหมด สำหรับการส่งออกในปี 2549 มีมูลค่ารวม 6,958.5 ล้าน
บาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 12.3 ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ เวียดนาม เบลเยียม เมียนมาร์ กัมพูชา และมาเลเซีย โดยการส่ง
ออกไปประเทศดังกล่าวมีมูลค่ารวม 3,755.1 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 54.0 ของมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมทั้งหมด
ประเภทผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุด คือ ยารักษาโรคที่เป็นยาสำเร็จรูป ประเภทยาสามัญ แต่มีอัตราการขยายตัวไม่มาก
นัก ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากธุรกิจยาในตลาดโลกมีการแข่งขันสูงด้านราคา และมีการผลิตยาเลียนแบบ ยาปลอม กระจายอยู่ในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก
โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา นอกจากนี้ยังมีมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย เข้ามาเป็นคู่แข่งในตลาดส่งออกหลักของไทยมากขึ้น รวมทั้งการส่ง
ออกยาของไทยยังมีข้อจำกัดด้านมาตรฐานการผลิต ทำให้ตลาดส่งออกส่วนใหญ่กระจุกตัวในกลุ่มประเทศอาเซียน
อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน มูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 1.8 สาเหตุหลัก มาจากการส่งออกวัคซีนลดลง เนื่องจากมีคำสั่ง
ซื้อปริมาณมากจากประเทศศรีลังกาในไตรมาสที่ 3 และได้ทำการส่งมอบสินค้าแล้ว นอกจากนี้มูลค่าการส่งออกยาสำเร็จรูปได้ลดลงด้วย โดยเฉพาะใน
เวียดนาม เมียนมาร์ และกัมพูชา ซึ่งเป็นผลจากการแข่งขันสูงในตลาดต่างประเทศ ทำให้ผู้ส่งออกต้องลดราคาสินค้า เพื่อแข่งขันกับคู่แข่ง
5. นโยบายรัฐ
กระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายใช้มาตรการบังคับใช้สิทธิ ตามมาตรา 51 แห่ง พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.
2542 เพื่อใช้สิทธิตามสิทธิบัตรยาที่มีชื่อการค้าว่า สต็อคคริน (Stocrin) หรือมีชื่อสามัญ คือ เอฟฟาไวเรนซ์ (Efavirenz) ซึ่งเป็นยาต้านไวรัส
HIV ที่ได้รับการพิสูจน์ว่ามีศักยภาพสูงในการรักษา ก่อนจะพิจารณาขยายสู่ยาราคาแพงชนิดอื่น เช่น ยาสำหรับโรคไต และโรคหัวใจต่อไป ทั้งนี้ ให้กรม
ควบคุมโรคออกประกาศเรื่อง การใช้สิทธิตามสิทธิบัตรด้านยาและเวชภัณฑ์ ผลิตยาต้านไวรัสเอชไอวี "เอฟฟาไวเรนซ์" และแจ้งให้เจ้าของสิทธิบัตร
ทราบ พร้อมทั้งจ่ายค่าตอบแทนให้เจ้าของสิทธิบัตรร้อยละ 0.5 ของยอดจำหน่ายออกจากคลังขององค์การเภสัชกรรม ซึ่งจะมีอายุของการบังคับใช้สิทธิ
5 ปี และเริ่มมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 29 พฤศจิกายน 2549 โดยองค์การเภสัชกรรมจะเป็นผู้ผลิตหรือนำเข้ายาชื่อสามัญตามสิทธิบัตรยาดังกล่าว เพื่อ
จำหน่ายแก่หน่วยบริการในระบบของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ระบบประกันสังคม และระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ และคาดว่า
องค์การเภสัชกรรมจะสามารถผลิตยา เอฟฟาไวเรนซ์ ได้ประมาณเดือนมิถุนายน 2550 โดยในระหว่างนี้องค์การเภสัชกรรมจะนำเข้ายาชื่อสามัญจาก
อินเดียมาจำหน่ายชั่วคราวก่อน สำหรับการออกมาตรการดังกล่าวจะช่วยทำให้ราคายาถูกลง ซึ่งจะช่วยให้รัฐประหยัดงบประมาณ และทำให้จำนวนผู้ติด
เชื้อ HIV ในประเทศสามารถเข้าถึงยาที่มีประสิทธิภาพสูงในการรักษาได้มากขึ้น
6. สรุปและแนวโน้ม
ปริมาณการผลิตยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในไตรมาสสุดท้ายของปี 2549 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน จากปริมาณคำสั่งซื้อจาก
โรงพยาบาล ร้านขายยา รวมทั้งการรับจ้างผลิตและการหาลูกค้ารายใหม่ ๆ ได้เพิ่มขึ้น สำหรับปริมาณการจำหน่ายปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน โดย
เฉพาะเหตุการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่ทำให้มีความต้องการยาแก้น้ำกัดเท้า ยาแก้อักเสบ ซึ่งเป็นยาครีมเพิ่มขึ้นมาก ด้านมูลค่าการนำเข้าและการส่งออกมี
การขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยส่วนใหญ่เป็นการนำเข้ายาต้นตำรับและยาที่มีสิทธิบัตร และส่งออกยาสามัญซึ่งเป็นยาที่หมดสิทธิบัตรแล้ว
ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2550 คาดว่าการผลิตยาจะหดตัวลงจากไตรมาสสุดท้ายของปี 2549 เล็กน้อย เนื่องจากผู้สั่งซื้อทยอยระบาย
สินค้าที่ซื้อจำนวนมากในไตรมาสที่ 2 และ 3 เพื่อบริหารสินค้าคงคลัง ไม่ให้เหลือมากในไตรมาสที่ 4 ซึ่งหากสินค้าคงคลังมีเหลือจำนวนมาก อาจส่งผล
ต่อเนื่องถึงไตรมาสที่ 1 ทำให้การผลิตในไตรมาสแรกต่ำกว่าไตรมาสสุดท้ายของปีได้ สำหรับการจำหน่ายยาในประเทศ คาดว่าจะหดตัวลงเล็กน้อยเช่น
กัน เนื่องจากผู้ผลิตจะจัดรายการส่งเสริมการขายในช่วงปลายปี ในด้านแนวโน้มการส่งออกของไทยขึ้นอยู่กับมาตรฐานของยาที่ผลิตได้ ดังนั้นผู้ผลิตใน
ประเทศจำเป็นต้องผลิตสินค้าให้ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ส่วนมูลค่าการนำเข้าคาดว่าจะขยายตัว จากการนำเข้ายาต้นตำรับและยาสิทธิ
บัตร
ตารางที่ 1 ปริมาณการผลิตยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในประเทศแยกตามรายผลิตภัณฑ์
หน่วย : ตัน
ประเภท ไตรมาส 2548 2549
44/2548 Mar-49 Apr-49
ยาเม็ด 1,275.70 1,490.50 1,403.80 4,788.60 5,545.80
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -5.8
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 10 15.8
ยาน้ำ 3,122.70 3,789.30 3,133.60 13,412.40 13,203.70
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -17.3
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 0.3 -1.5
ยาแคปซูล 141.9 163.6 162.4 677.8 603.9
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -0.7
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 14.4 -10.9
ยาฉีด 129.2 104.4 118.1 456 447.3
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 13.1
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -8.6 -1.9
ยาแดงทิงเจอร์ไอโอดีน 23.8 34.6 34.1 122.6 122.5
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -1.4
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 43.3 -0.1
ยาครีม 509.9 583.1 632.9 2,107.10 2,106.80
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 8.5
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 24.1 0
ยาผง 990.2 1,110.60 810.1 3,991.80 4,067.20
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -27
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -18.2 1.9
รวม 6,193.40 7,276.10 6,295.00 25,556.30 26,097.20
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -13.5
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 1.6 2.1
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : จำนวนโรงงานที่สำรวจรวมทั้งสิ้น 34 โรงงาน (ยาเม็ด 30 โรงงาน, ยาน้ำ 29 โรงงาน, ยาแคปซูล 26 โรงงาน,
ยาฉีด 9 โรงงาน, ยาแดงทิงเจอร์ไอโอดีน 4 โรงงาน, ยาครีม 17 โรงงาน และยาผง 17 โรงงาน)
: ไตรมาส 4/2549 และปี 2549 เป็นตัวเลขเบื้องต้น
ตารางที่ 2 ปริมาณการจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในประเทศแยกตามรายผลิตภัณฑ์
หน่วย : ตัน
ประเภท ไตรมาส 2548 2549
44/2548 Mar-49 Apr-49
ยาเม็ด 1,437.00 1,403.60 1,367.50 5,104.30 5,349.80
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -2.6
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -4.8 4.8
ยาน้ำ 3,821.70 4,024.80 4,062.60 15,607.50 15,121.70
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 0.9
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 6.3 -3.1
ยาแคปซูล 236.4 169.1 194.3 761.6 708.2
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 14.9
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -17.8 -7
ยาฉีด 86.3 82.9 86.6 338.2 347.8
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 4.5
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 0.3 2.8
ยาแดงทิงเจอร์ไอโอดีน 27.5 35.7 34.4 122.5 122.9
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -3.6
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 25.1 0.3
ยาครีม 515.5 473 735.4 2,025.20 2,164.50
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 55.5
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 42.6 6.9
ยาผง 205 157 136 688.6 706
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -13.4
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -33.6 2.5
รวม 6,329.40 6,346.10 6,616.80 24,647.90 24,520.90
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 4.3
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 4.5 -0.5
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : จำนวนโรงงานที่สำรวจรวมทั้งสิ้น 34 โรงงาน (ยาเม็ด 30 โรงงาน, ยาน้ำ 29 โรงงาน, ยาแคปซูล 26 โรงงาน,
ยาฉีด 9 โรงงาน, ยาแดงทิงเจอร์ไอโอดีน 4 โรงงาน, ยาครีม 17 โรงงาน และยาผง 17 โรงงาน)
: ปริมาณการจำหน่ายยาผงในประเทศน้อยกว่าปริมาณการผลิตมาก เนื่องจากมีผู้ประกอบการที่ทำการสำรวจ
ผลิตเพื่อการส่งออกมากกว่าการจำหน่ายในประเทศ
: ไตรมาส 4/2549 และปี 2549 เป็นตัวเลขเบื้องต้น
ตารางที่ 3 มูลค่าการนำเข้า — ส่งออกผลิตภัณฑ์เภสัชกรรม
มูลค่า (ล้านบาท) ไตรมาส 2548 2549
44/2548 Mar-49 Apr-49
มูลค่าการนำเข้า 7,093.70 8,235.10 7,825.70 27,386.90 31,898.70
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -5
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 10.3 16.5
มูลค่าการส่งออก 1,655.00 1,923.20 1,889.10 6,198.90 6,958.50
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -1.8
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 14.1 12.3
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
หมายเหตุ : ปี 2549 เป็นตัวเลขเบื้องต้น
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ยาแผนปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นยาที่ได้รับการวิจัยและพัฒนาจากผู้ผลิตยาชั้นนำในต่างประเทศและนำเข้ามาจำหน่าย ทำให้ยามีราคาแพง ส่วน
ยาที่ผลิตในประเทศ ต้องรอจนกว่ายาตัวนั้นหมดสิทธิบัตรแล้ว จึงจะสามารถผลิตออกมาจำหน่ายได้ โดยการผลิตยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในไตรมาสสุด
ท้ายของปี 2549 มีปริมาณ 6,295.0 ตัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 1.6 และภาพรวมตลอดทั้งปี 2549 มีปริมาณการผลิต
26,097.2 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 2.1 ซึ่งการผลิตที่ขยายตัว เป็นผลจากปริมาณคำสั่งซื้อจากโรงพยาบาล ร้านขายยา รวมทั้งการรับจ้างผลิต
เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถหาลูกค้ารายใหม่ ๆ ได้เพิ่มขึ้นด้วย
อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนปริมาณการผลิตลดลงร้อยละ 13.5 ซึ่งเป็นไปตามรอบการผลิตของยา จากการที่ยามีอายุในการ
ใช้งาน การผลิตจึงทำตามคำสั่งซื้อ โดยคำสั่งซื้อจะสูงในช่วงไตรมาสที่ 2 และ ไตรมาสที่ 3 ของปี เพื่อผู้สั่งซื้อจะได้ทยอยระบายสินค้าที่ซื้อมา ซึ่งเป็น
การบริหารสินค้าคงคลังไม่ให้เหลือสูงมากในไตรมาสสุดท้ายของปี ประกอบกับมีวันหยุดยาวในช่วงปลายปี ทำให้ผู้ผลิตบางรายปิดโรงงานเพื่อปรับปรุง
เครื่องจักร
2. การจำหน่ายในประเทศ
ช่องทางการจำหน่ายหลักของผู้ประกอบการ คือ สถานพยาบาล โดยเฉพาะโรงพยาบาลของรัฐ โดยการจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์
เภสัชกรรมในไตรมาสสุดท้ายของปี 2549 มีปริมาณ 6,616.8 ตัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 4.5 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนร้อย
ละ 4.3 ซึ่งปริมาณการจำหน่ายที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้ผลิตสามารถประมูลงานจากโรงพยาบาลทั้งของรัฐและเอกชนได้มากขึ้น นอกจากนี้การจัดรายการ
ส่งเสริมการขาย ทำให้ปริมาณการจำหน่ายสินค้าเพิ่มขึ้นด้วย และมีข้อสังเกตว่ายาครีมมีอัตราการเติบโตที่สูงมาก มีปริมาณการจำหน่ายขยายตัวเมื่อ
เทียบกับไตรมาสก่อนและช่วงเดียวกันของปีก่อนถึงร้อยละ 55.5 และ 42.6 ตามลำดับ ซึ่งเป็นผลจากเหตุการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่ทำให้มีความต้อง
การยาครีม เช่น ยาทาแก้น้ำกัดเท้า ยาทาแก้อักเสบ และยาแก้แผลติดเชื้อ เพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตามปริมาณการจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรม ในปี 2549 มีจำนวน 24,520.9 ตัน ลดลงจากปีก่อนเล็กน้อยร้อยละ
0.5 เนื่องจากตลาดยาในประเทศมีการแข่งขันสูงประกอบกับปริมาณการผลิตยาน้ำลดลงมาก โดยเฉพาะในไตรมาสสุดท้าย เป็นผลจากผู้ผลิตบางราย
หยุดผลิตยาน้ำบางประเภทลง เพราะไม่สามารถแข่งขันด้านราคาได้ ส่งผลให้ปริมาณการจำหน่ายยาน้ำ และในภาพรวมลดลงด้วย
3. การนำเข้า
การนำเข้าผลิตภัณฑ์เภสัชกรรม ไตรมาสสุดท้ายของปี 2549 มีมูลค่า 7,825.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อย
ละ 10.3 โดยตลาดนำเข้าสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส เยอรมนี สหราชอาณาจักร และอิตาลี ซึ่งการนำเข้าจากประเทศดังกล่าวมีมูลค่า
รวม 3,765.8 ล้านบาท หรือร้อยละ 48.1 ของมูลค่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมทั้งหมด โดยตลอดทั้งปี 2549 มีมูลค่าการนำเข้า 31,898.7
ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 16.5 ตลาดนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ และ สหราช
อาณาจักร ซึ่งการนำเข้าจากประเทศดังกล่าวมีมูลค่ารวม 15,319.7 ล้านบาท หรือร้อยละ 48.0 ของมูลค่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมทั้งหมด
ประเภทของยารักษาโรคที่มีมูลค่าการนำเข้าสูงสุด คือ ยาสำเร็จรูป โดยจะมีการนำเข้าทั้งยาต้นตำรับ และยาที่มีสิทธิบัตรซึ่งไม่สามารถ
ผลิตได้ในประเทศ ยาเหล่านี้เป็นยาสำหรับโรคที่ต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง เช่น โรคความดัน เบาหวาน หัวใจ ไขมันในเส้นเลือด ข้อและกระดูก ซึ่งนำ
เข้าจากประเทศที่เป็นผู้ผลิตเวชภัณฑ์ชั้นนำของโลก เช่น สหรัฐอเมริกา และกลุ่มประเทศในยุโรป ทั้งนี้การนำเข้ายารักษาโรคมีมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างต่อ
เนื่อง ส่วนหนึ่งเป็นผลจากธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนมีแนวโน้มการขยายตัวที่ดี ส่งผลให้ความต้องการยาที่เป็นที่ยอมรับจากต่างประเทศของผู้ป่วยที่มีราย
ได้สูงเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญ มีจำนวนเพิ่มสูงขึ้น และให้ความสำคัญต่อสุขภาพมากขึ้น รวมทั้งบริษัทผู้นำเข้าได้ให้ความ
สำคัญกับกิจกรรมส่งเสริมการตลาด เช่น การประชาสัมพันธ์ให้ตระหนักถึงการรักษาสุขภาพ การเป็นพันธมิตรที่ดีกับแพทย์และโรงพยาบาล การพัฒนา
สินค้าใหม่ ๆ การขยายช่องทางการตลาด ตลอดจนการสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับสุขภาพ เพื่อสนองความต้องการของลูกค้า และรองรับการแข่ง
ขันที่มีเพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตามหากเทียบกับไตรมาสก่อน มูลค่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมลดลงร้อยละ 5.0 ซึ่งประเภทผลิตภัณฑ์ที่ลดลงมาก ได้แก่
วัคซีน เนื่องจากปริมาณการใช้ในประเทศช่วงนี้ไม่มากนัก ประกอบกับเป็นการบริหารสินค้าคงคลังของผู้นำเข้าในช่วงปลายปี
4. การส่งออก
การส่งออกผลิตภัณฑ์เภสัชกรรม ไตรมาสสุดท้ายของปี 2549 มีมูลค่า 1,889.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อย
ละ 14.1 โดยตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ เบลเยียม เวียดนาม เมียนมาร์ กัมพูชา และมาเลเซีย ซึ่งการส่งออกไปประเทศดังกล่าวมีมูลค่ารวม
1,073.0 ล้านบาท หรือร้อยละ 56.8 ของมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมทั้งหมด สำหรับการส่งออกในปี 2549 มีมูลค่ารวม 6,958.5 ล้าน
บาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 12.3 ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ เวียดนาม เบลเยียม เมียนมาร์ กัมพูชา และมาเลเซีย โดยการส่ง
ออกไปประเทศดังกล่าวมีมูลค่ารวม 3,755.1 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 54.0 ของมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมทั้งหมด
ประเภทผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุด คือ ยารักษาโรคที่เป็นยาสำเร็จรูป ประเภทยาสามัญ แต่มีอัตราการขยายตัวไม่มาก
นัก ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากธุรกิจยาในตลาดโลกมีการแข่งขันสูงด้านราคา และมีการผลิตยาเลียนแบบ ยาปลอม กระจายอยู่ในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก
โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา นอกจากนี้ยังมีมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย เข้ามาเป็นคู่แข่งในตลาดส่งออกหลักของไทยมากขึ้น รวมทั้งการส่ง
ออกยาของไทยยังมีข้อจำกัดด้านมาตรฐานการผลิต ทำให้ตลาดส่งออกส่วนใหญ่กระจุกตัวในกลุ่มประเทศอาเซียน
อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน มูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 1.8 สาเหตุหลัก มาจากการส่งออกวัคซีนลดลง เนื่องจากมีคำสั่ง
ซื้อปริมาณมากจากประเทศศรีลังกาในไตรมาสที่ 3 และได้ทำการส่งมอบสินค้าแล้ว นอกจากนี้มูลค่าการส่งออกยาสำเร็จรูปได้ลดลงด้วย โดยเฉพาะใน
เวียดนาม เมียนมาร์ และกัมพูชา ซึ่งเป็นผลจากการแข่งขันสูงในตลาดต่างประเทศ ทำให้ผู้ส่งออกต้องลดราคาสินค้า เพื่อแข่งขันกับคู่แข่ง
5. นโยบายรัฐ
กระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายใช้มาตรการบังคับใช้สิทธิ ตามมาตรา 51 แห่ง พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.
2542 เพื่อใช้สิทธิตามสิทธิบัตรยาที่มีชื่อการค้าว่า สต็อคคริน (Stocrin) หรือมีชื่อสามัญ คือ เอฟฟาไวเรนซ์ (Efavirenz) ซึ่งเป็นยาต้านไวรัส
HIV ที่ได้รับการพิสูจน์ว่ามีศักยภาพสูงในการรักษา ก่อนจะพิจารณาขยายสู่ยาราคาแพงชนิดอื่น เช่น ยาสำหรับโรคไต และโรคหัวใจต่อไป ทั้งนี้ ให้กรม
ควบคุมโรคออกประกาศเรื่อง การใช้สิทธิตามสิทธิบัตรด้านยาและเวชภัณฑ์ ผลิตยาต้านไวรัสเอชไอวี "เอฟฟาไวเรนซ์" และแจ้งให้เจ้าของสิทธิบัตร
ทราบ พร้อมทั้งจ่ายค่าตอบแทนให้เจ้าของสิทธิบัตรร้อยละ 0.5 ของยอดจำหน่ายออกจากคลังขององค์การเภสัชกรรม ซึ่งจะมีอายุของการบังคับใช้สิทธิ
5 ปี และเริ่มมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 29 พฤศจิกายน 2549 โดยองค์การเภสัชกรรมจะเป็นผู้ผลิตหรือนำเข้ายาชื่อสามัญตามสิทธิบัตรยาดังกล่าว เพื่อ
จำหน่ายแก่หน่วยบริการในระบบของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ระบบประกันสังคม และระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ และคาดว่า
องค์การเภสัชกรรมจะสามารถผลิตยา เอฟฟาไวเรนซ์ ได้ประมาณเดือนมิถุนายน 2550 โดยในระหว่างนี้องค์การเภสัชกรรมจะนำเข้ายาชื่อสามัญจาก
อินเดียมาจำหน่ายชั่วคราวก่อน สำหรับการออกมาตรการดังกล่าวจะช่วยทำให้ราคายาถูกลง ซึ่งจะช่วยให้รัฐประหยัดงบประมาณ และทำให้จำนวนผู้ติด
เชื้อ HIV ในประเทศสามารถเข้าถึงยาที่มีประสิทธิภาพสูงในการรักษาได้มากขึ้น
6. สรุปและแนวโน้ม
ปริมาณการผลิตยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในไตรมาสสุดท้ายของปี 2549 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน จากปริมาณคำสั่งซื้อจาก
โรงพยาบาล ร้านขายยา รวมทั้งการรับจ้างผลิตและการหาลูกค้ารายใหม่ ๆ ได้เพิ่มขึ้น สำหรับปริมาณการจำหน่ายปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน โดย
เฉพาะเหตุการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่ทำให้มีความต้องการยาแก้น้ำกัดเท้า ยาแก้อักเสบ ซึ่งเป็นยาครีมเพิ่มขึ้นมาก ด้านมูลค่าการนำเข้าและการส่งออกมี
การขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยส่วนใหญ่เป็นการนำเข้ายาต้นตำรับและยาที่มีสิทธิบัตร และส่งออกยาสามัญซึ่งเป็นยาที่หมดสิทธิบัตรแล้ว
ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2550 คาดว่าการผลิตยาจะหดตัวลงจากไตรมาสสุดท้ายของปี 2549 เล็กน้อย เนื่องจากผู้สั่งซื้อทยอยระบาย
สินค้าที่ซื้อจำนวนมากในไตรมาสที่ 2 และ 3 เพื่อบริหารสินค้าคงคลัง ไม่ให้เหลือมากในไตรมาสที่ 4 ซึ่งหากสินค้าคงคลังมีเหลือจำนวนมาก อาจส่งผล
ต่อเนื่องถึงไตรมาสที่ 1 ทำให้การผลิตในไตรมาสแรกต่ำกว่าไตรมาสสุดท้ายของปีได้ สำหรับการจำหน่ายยาในประเทศ คาดว่าจะหดตัวลงเล็กน้อยเช่น
กัน เนื่องจากผู้ผลิตจะจัดรายการส่งเสริมการขายในช่วงปลายปี ในด้านแนวโน้มการส่งออกของไทยขึ้นอยู่กับมาตรฐานของยาที่ผลิตได้ ดังนั้นผู้ผลิตใน
ประเทศจำเป็นต้องผลิตสินค้าให้ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ส่วนมูลค่าการนำเข้าคาดว่าจะขยายตัว จากการนำเข้ายาต้นตำรับและยาสิทธิ
บัตร
ตารางที่ 1 ปริมาณการผลิตยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในประเทศแยกตามรายผลิตภัณฑ์
หน่วย : ตัน
ประเภท ไตรมาส 2548 2549
44/2548 Mar-49 Apr-49
ยาเม็ด 1,275.70 1,490.50 1,403.80 4,788.60 5,545.80
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -5.8
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 10 15.8
ยาน้ำ 3,122.70 3,789.30 3,133.60 13,412.40 13,203.70
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -17.3
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 0.3 -1.5
ยาแคปซูล 141.9 163.6 162.4 677.8 603.9
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -0.7
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 14.4 -10.9
ยาฉีด 129.2 104.4 118.1 456 447.3
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 13.1
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -8.6 -1.9
ยาแดงทิงเจอร์ไอโอดีน 23.8 34.6 34.1 122.6 122.5
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -1.4
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 43.3 -0.1
ยาครีม 509.9 583.1 632.9 2,107.10 2,106.80
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 8.5
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 24.1 0
ยาผง 990.2 1,110.60 810.1 3,991.80 4,067.20
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -27
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -18.2 1.9
รวม 6,193.40 7,276.10 6,295.00 25,556.30 26,097.20
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -13.5
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 1.6 2.1
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : จำนวนโรงงานที่สำรวจรวมทั้งสิ้น 34 โรงงาน (ยาเม็ด 30 โรงงาน, ยาน้ำ 29 โรงงาน, ยาแคปซูล 26 โรงงาน,
ยาฉีด 9 โรงงาน, ยาแดงทิงเจอร์ไอโอดีน 4 โรงงาน, ยาครีม 17 โรงงาน และยาผง 17 โรงงาน)
: ไตรมาส 4/2549 และปี 2549 เป็นตัวเลขเบื้องต้น
ตารางที่ 2 ปริมาณการจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในประเทศแยกตามรายผลิตภัณฑ์
หน่วย : ตัน
ประเภท ไตรมาส 2548 2549
44/2548 Mar-49 Apr-49
ยาเม็ด 1,437.00 1,403.60 1,367.50 5,104.30 5,349.80
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -2.6
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -4.8 4.8
ยาน้ำ 3,821.70 4,024.80 4,062.60 15,607.50 15,121.70
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 0.9
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 6.3 -3.1
ยาแคปซูล 236.4 169.1 194.3 761.6 708.2
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 14.9
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -17.8 -7
ยาฉีด 86.3 82.9 86.6 338.2 347.8
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 4.5
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 0.3 2.8
ยาแดงทิงเจอร์ไอโอดีน 27.5 35.7 34.4 122.5 122.9
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -3.6
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 25.1 0.3
ยาครีม 515.5 473 735.4 2,025.20 2,164.50
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 55.5
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 42.6 6.9
ยาผง 205 157 136 688.6 706
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -13.4
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -33.6 2.5
รวม 6,329.40 6,346.10 6,616.80 24,647.90 24,520.90
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 4.3
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 4.5 -0.5
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : จำนวนโรงงานที่สำรวจรวมทั้งสิ้น 34 โรงงาน (ยาเม็ด 30 โรงงาน, ยาน้ำ 29 โรงงาน, ยาแคปซูล 26 โรงงาน,
ยาฉีด 9 โรงงาน, ยาแดงทิงเจอร์ไอโอดีน 4 โรงงาน, ยาครีม 17 โรงงาน และยาผง 17 โรงงาน)
: ปริมาณการจำหน่ายยาผงในประเทศน้อยกว่าปริมาณการผลิตมาก เนื่องจากมีผู้ประกอบการที่ทำการสำรวจ
ผลิตเพื่อการส่งออกมากกว่าการจำหน่ายในประเทศ
: ไตรมาส 4/2549 และปี 2549 เป็นตัวเลขเบื้องต้น
ตารางที่ 3 มูลค่าการนำเข้า — ส่งออกผลิตภัณฑ์เภสัชกรรม
มูลค่า (ล้านบาท) ไตรมาส 2548 2549
44/2548 Mar-49 Apr-49
มูลค่าการนำเข้า 7,093.70 8,235.10 7,825.70 27,386.90 31,898.70
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -5
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 10.3 16.5
มูลค่าการส่งออก 1,655.00 1,923.20 1,889.10 6,198.90 6,958.50
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -1.8
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 14.1 12.3
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
หมายเหตุ : ปี 2549 เป็นตัวเลขเบื้องต้น
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-