1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
จัดระบบการตรวจสอบย้อนกลับกุ้งไทย
นางประจวบ หลำอุบล ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงเรื่องระบบตรวจสอบย้อนกลับกุ้งไทยด้วยคอมพิวเตอร์ตลอดสายการผลิต Trace Shrimp ว่ากรมประมงได้ดำเนินงาน โครงการจัดทำระบบดังกล่าวภายใต้ความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและสหภาพยุโรป เพื่อเป็นโครงการนำร่อง และใช้เป็นต้นแบบของระบบตรวจสอบย้อนกลับกุ้งของไทย ระบบ Trace Shrimp เป็นระบบ Inter Traceabillity ที่เชื่อมโยงข้อมูลการตรวจสอบย้อนกลับตลอดสายการผลิต สามารถสืบย้อนกลับจากรุ่นการผลิตของผลิตภัณฑ์กุ้งไปยังมาตรฐานการผลิตโรงงาน สืบค้นรุ่นการผลิตของกุ้งจากฟาร์มและโรงเพาะฟักมาตรฐานของกุ้งและลูกกุ้งที่ผลิตและทราบถึงอาหารกุ้งที่ใช้ในการเลี้ยงในรุ่นการผลิตนั้น เพื่อให้ผู้ประกอบการตลอดสายการผลิตสามารถเข้าร่วมโครงการและใช้โปรแกรมได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด พร้อมกันนี้ก็ยังมีการจัดทำเว็บไซต์ของระบบตรวจสอบย้อนกลับกุ้ง เพื่อให้กลุ่มลูกค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในต่างประเทศสามารถตรวจสอบและสืบค้นแหล่ง ที่มาของกุ้งได้ตลอดเวลา เชื่อว่าระบบนำร่องเป็นระบบแรกของไทยที่สามารถสืบย้อนข้อมูลในแต่ละส่วนการผลิตได้อย่างสมบูรณ์ตลอดสายการผลิต จะเป็นต้นแบบระบบสำหรับประเทศไทยและสามารถนำไปสู่การขยายผล ต่อไปให้ดียิ่งขึ้นเรื่อยๆ และจะเอื้อต่อการขยายผลถึงการตรวจสอบย้อนกลับกุ้ง GAP และผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำอื่นๆ ในวงที่กว้างขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ด้วย นอกจากนี้ โครงการดังกล่าวยังถือเป็นการดำเนินการในเชิงรุก เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ของไทยต่อประเทศผู้ซื้อและผู้จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์สินค้ากุ้งในสหภาพยุโรป และประเทศผู้ซื้ออื่นๆ รวมทั้งเพื่อเป็นข้อมูลแก่ผู้บริโภคให้เกิดความมั่นใจในกระบวนการผลิตกุ้ง จะส่งผลให้ขีดความสามารถในการแข่งขันของสินค้ากุ้งไทยในอนาคตเพิ่มมากขึ้นด้วย เพราะประเทศไทยมีระบบตรวจสอบที่ทันสมัย
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (12 - 21 ม.ค. 2550) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,991.62 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 894.17 ตัน สัตว์น้ำจืด 1,097.45 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 6.44 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 8.09 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 147.66 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 62.56 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 112.27 ตัน
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.65 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 29.37 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.28 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.68 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 53.85 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.17 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 89.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 85.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 4.00 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 134.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 133.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 133.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 132.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.00 บาท
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 116.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 115.66 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.84 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 113.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 115.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.07 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 47.01 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.06 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.25 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 29 ม.ค.- 2 ก.พ. 2550) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 20.90 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 20.30 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.60 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 29 มกราคม - 4 กุมภาพันธ์ 2550--
-พห-
การผลิต
จัดระบบการตรวจสอบย้อนกลับกุ้งไทย
นางประจวบ หลำอุบล ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงเรื่องระบบตรวจสอบย้อนกลับกุ้งไทยด้วยคอมพิวเตอร์ตลอดสายการผลิต Trace Shrimp ว่ากรมประมงได้ดำเนินงาน โครงการจัดทำระบบดังกล่าวภายใต้ความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและสหภาพยุโรป เพื่อเป็นโครงการนำร่อง และใช้เป็นต้นแบบของระบบตรวจสอบย้อนกลับกุ้งของไทย ระบบ Trace Shrimp เป็นระบบ Inter Traceabillity ที่เชื่อมโยงข้อมูลการตรวจสอบย้อนกลับตลอดสายการผลิต สามารถสืบย้อนกลับจากรุ่นการผลิตของผลิตภัณฑ์กุ้งไปยังมาตรฐานการผลิตโรงงาน สืบค้นรุ่นการผลิตของกุ้งจากฟาร์มและโรงเพาะฟักมาตรฐานของกุ้งและลูกกุ้งที่ผลิตและทราบถึงอาหารกุ้งที่ใช้ในการเลี้ยงในรุ่นการผลิตนั้น เพื่อให้ผู้ประกอบการตลอดสายการผลิตสามารถเข้าร่วมโครงการและใช้โปรแกรมได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด พร้อมกันนี้ก็ยังมีการจัดทำเว็บไซต์ของระบบตรวจสอบย้อนกลับกุ้ง เพื่อให้กลุ่มลูกค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในต่างประเทศสามารถตรวจสอบและสืบค้นแหล่ง ที่มาของกุ้งได้ตลอดเวลา เชื่อว่าระบบนำร่องเป็นระบบแรกของไทยที่สามารถสืบย้อนข้อมูลในแต่ละส่วนการผลิตได้อย่างสมบูรณ์ตลอดสายการผลิต จะเป็นต้นแบบระบบสำหรับประเทศไทยและสามารถนำไปสู่การขยายผล ต่อไปให้ดียิ่งขึ้นเรื่อยๆ และจะเอื้อต่อการขยายผลถึงการตรวจสอบย้อนกลับกุ้ง GAP และผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำอื่นๆ ในวงที่กว้างขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ด้วย นอกจากนี้ โครงการดังกล่าวยังถือเป็นการดำเนินการในเชิงรุก เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ของไทยต่อประเทศผู้ซื้อและผู้จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์สินค้ากุ้งในสหภาพยุโรป และประเทศผู้ซื้ออื่นๆ รวมทั้งเพื่อเป็นข้อมูลแก่ผู้บริโภคให้เกิดความมั่นใจในกระบวนการผลิตกุ้ง จะส่งผลให้ขีดความสามารถในการแข่งขันของสินค้ากุ้งไทยในอนาคตเพิ่มมากขึ้นด้วย เพราะประเทศไทยมีระบบตรวจสอบที่ทันสมัย
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (12 - 21 ม.ค. 2550) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,991.62 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 894.17 ตัน สัตว์น้ำจืด 1,097.45 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 6.44 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 8.09 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 147.66 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 62.56 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 112.27 ตัน
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.65 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 29.37 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.28 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.68 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 53.85 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.17 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 89.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 85.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 4.00 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 134.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 133.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 133.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 132.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.00 บาท
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 116.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 115.66 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.84 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 113.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 115.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.07 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 47.01 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.06 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.25 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 29 ม.ค.- 2 ก.พ. 2550) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 20.90 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 20.30 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.60 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 29 มกราคม - 4 กุมภาพันธ์ 2550--
-พห-