คำต่อคำรายการตรงไปตรงมากับอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ทางสถานีวิทยุ 101 ช่วงเวลา 08.00 — 08.30 น.
วันศุกร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2550
ผู้ดำเนินรายการ สวัสดีค่ะ คุณอภิสิทธิ์คะ
คุณอภิสิทธิ์ สวัสดีครับ คุณอวัสดา
ผู้ดำเนินรายการ ครับ สวัสดีครับ คุณอภิสิทธิ์ครับ
คุณอภิสิทธิ์ สวัสดีครับ คุณเติมศักดิ์ครับ
ผู้ดำเนินรายการ ค่ะ คุณอภิสิทธิ์ ช่วงนี้บ้านเมืองยุ่งเหยิงนิดนึงนะคะ ทั้งเรื่องภาคใต้ก็เกิดเหตุรุนแรง และก็เรื่องรัฐธรรมนูญเห็นจะมีนักวิชาการลงชื่อคัดค้ากันแล้ว ตั้งแต่กำลังอยู่ระหว่างช่วงยกร่างค่ะเลยขอความเห็น 2 เรื่องแล้วกันนะคะวันนี้
คุณอภิสิทธิ์ ผมคิดว่าสถานการณ์ของบ้านเมืองนะครับ ไม่ได้อยู่นอกเหนือความคาดหมาย ผมมีโอกาสได้พูดหลายครั้งและก็รวมทั้งที่เขียนไว้ในหนังสือก็บ่งชัดอยู่แล้วว่าสถานการณ์หลังการรัฐประหารมานั้นจะมีความละเอียดอ่อนมาก แล้วก็กระบวนการที่จะกลับคืนสู่ประชาธิปไตยหรือภาวะปกติ มันจะมีความคิดเห็นที่แตกต่างหลากหลายมาก แต่ว่าเรื่องใต้เป็นเรื่องที่หลายคนเคยตั้งความหวังไว้สูงว่าเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลแล้วน่าจะมีความชัดเจนในแง่ของการเปลี่ยนแปลงนโยบายและก็มีผลตามมานะครับ
ทีนี้ในเชิงสัญญาณเชิงนโยบาย ผมคิดว่าในช่วงแรกเนี่ย รัฐบาลก็พูดค่อนข้างชัดนะครับ โดยเฉพาะท่านนายกฯว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร คงจำได้ว่าท่านก็ได้เดินทางไปลงพื้นที่หลายครั้ง พยายามสื่อสารกับคนในพื้นที่ผู้นำชุมชน ผู้นำทางศาสนา รวมไปถึงว่าก็มีการผลักดันในเรื่องกดหมายที่จะรื้อฟื้น ศอ.บต.ขึ้นมา แต่พอถึงนาทีนี้รู้สึกว่าเมื่อวานท่านเองก็ยอมรับ ว่ามันไม่คืบหน้าเท่าที่ควร ผมก็ยังยืนยันนะครับว่าที่จริงสัญญาณที่ส่งในเบื้องต้นตอนแรก รวมทั้งทิศทางนโยบายที่ท่านนายกฯและรัฐบาลหรือ คมช. ได้เคยพูดถึงก็น่าจะเป็นทิศทางที่ถูกต้อง แต่น่าจะต้องมาทบทวนประเมินดูว่าในช่วง 4-5 เดือนที่ผ่านมา เหตุใดการผลักดันทิศทางหรือนโยบายนี้ยังไม่ได้รับการตอบสนอง เท่าที่ผมสดับตรับฟังมานั้น ก็มีหลายปัจจัยด้วยกัน ปัจจัยที่หนึ่งก็คือ ความเป็นเอกภาพและความชัดเจนในการขับเคลื่อนหน่วยงานต่างๆในฝ่ายปฎิบัติ ยังไม่มีความชัดเจนเท่าที่ควร หมายความว่าแม้จะมีการจัดตั้ง ศอ.บต.ขึ้นมา แม้จะมีการพูดถึงนโยบายในเรื่องของความสมานฉันท์หรืออะไรก็แล้วแต่ แต่ว่าในระดับของพื้นที่ ทางอดีต ส.ส.ของพรรคที่ผมพูดคุยด้วยอยู่เป็นระยะ ๆ ก็บอกว่ายังไม่ได้มีทิศทางที่ประชาชนสัมผัสได้ชัดเจนว่าได้มีการเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะที่จะช่วยแก้ไขปัญหาเท่าที่ควรนะครับ เพราะฉะนั้นอันนี้ก็เป็นภาระในเรื่องของการบริหารจัดการ ภาระหนักก็คงจะไปตกอยู่ที่ท่านผู้อำนวยการ ศอ.บต. และท่านนายกฯ เองที่จะต้องขับเคลื่อน ที่นี้ถัดมา ประเด็นที่สอง ก็คือว่า มันคงจะไป บอกว่าเป็นเรื่องของการปฎิบัติอย่างเดียวก็คงไม่ได้ ทิศทางหลายอย่างที่ได้มีการพูดเอาไว้มันจำเป็นจะต้องมีนโยบายที่นำไปสู่ผลในทางปฎิบัติที่เป็นรูปธรรมอย่างชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น เวลาพูดถึงเรื่องการที่เรายอมรับว่ามันเคยมีการกระทำความผิดของเจ้าหน้าที่ของฝ่ายรัฐ ก็ต้องมีความชัดเจนว่าเราจริงจังกับเรื่องนี้ พูดกันตรงๆ ก็หมายความว่า เหตุการณ์ซึ่งเคยมีเครื่องหมายคำถามอยู่ วันนี้ก็ยังมีเครื่องหมายคำถามอยู่ แม้ว่าท่านนายกฯ อาจจะไปเอ่ยคำขอโทษแล้วก็ตาม แต่ว่าไม่ได้หมายความว่า เขามองว่ามีการแสดงออกถึงความรับผิดชอบอย่างชัดเจน เพื่อที่จะเป็นการส่งสัญญาณว่า ว่าเราจริงจังในเรื่องนี้
หรืออีกเรื่องหนึ่งซึ่งตอนแรกที่เป็นนโยบายที่ฮือฮามากนั้นก็คือเรื่องของเศรษฐกิจพิเศษนึกออกไม๊ครับ หน่วยพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ แต่ว่าขณะนี้หนึ่งความชัดเจนในเรื่องสิทธิต่างๆที่จะเกิดขึ้น การกระตุ้นเศรษฐกิจนักธุรกิจก็ยังมีปัญหาอยู่มาก ยังขาดความชัดเจนว่าการสนับสนุนที่บอกว่าจะเป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจะเป็นอย่างไร กับอีกด้านหนึ่ง ก็คือสิ่งที่ผมเคยเสนอไปก่อนหน้านี้แล้ว ว่าเขตเศรษฐกิจพิเศษ ถ้าจะช่วยแก้ไขปัญหาความไม่สงบนั้นต้องมีความหมายลึกลงไปถึงกลุ่มพี่น้องประชาชนจะเป็นเกษตรกรหรือจะเป็นผู้ใช้แรงงานหรืออะไรก็ตาม เพราะฉะนั้นตรงนี้ก็น่าจะเร่งระดมความคิดเห็นว่า อะไรที่จะทำให้เศรษฐกิจในพื้นที่ตรงนั้น เดินไปได้
ประการถัดมาก็คือ คงต้องประเมินในเรื่องของประสิทธิภาพของเจ้าหน้าที่ที่รักษาความสงบเรียบร้อยนะครับ ทั้งคือ ปัญหาขณะนี้ก็ แม้กระทั่งพอเรามาเปรียบเทียบกับเรื่องของปัญหาที่เกิดขึ้นในกรุงเทพฯ คือ เหมือนกับว่าบางทีการข่าวใกล้เคียงแล้ว ผมจำได้ว่าก่อนปีใหม่ก็ดี หรือแม้กระทั่งก่อนเหตุการณ์ครั้งล่าสุดก็มีการพูดเป็นนัย ๆโดยทางการว่ามันกำลังจะมีเหตุอะไรหรือเปล่า กำลังป้องกันกันอยู่ แต่ในที่สุดแล้วก็ยังไม่สามารถที่จะป้องกันได้เพราะฉะนั้นประสิทธิภาพตรงนี้ เป็นเรื่องที่มีความสำคัญจะต้องเร่งปรับปรุงแก้ไขด้วย ทั้งหมดนี้ผมคิดว่ามันก็จะไปผูกกับนโยบายที่ย้อนกลับมาตรงนี้ด้วยที่ยังมีความสับสน อย่างเช่น บทบาทของความร่วมมือกับต่างประเทศ ซึ่งเป็นเรื่องที่มีความละเอียดอ่อน แล้วก็ต้องทำด้วยความรอบคอบ
แต่ว่าหลักใหญ่จริงๆ ผมอยากจะเสนอว่า เมื่อพูดถึงเรื่องการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษแล้ว ถ้าเราทำให้รัฐบาลของต่างประเทศ ซึ่งจะอยู่ในสถานภาพที่จะช่วยเราแก้ไขปัญหานี้เขาก็มีผลประโยชน์รวมกับเราในการพัฒนาพื้นที่ตรงนั้นให้เป็นพื้นที่ที่มีความสงบสุข มันจะเป็นหลักประกันที่ดีที่สุดในแง่ของความยั่งยืนในความร่วมมือและก็ความจริงใจและทุ่มเทให้แก่กันและกัน เพราะฉะนั้น ผมยังคิดว่าตรงนี้ยังเป็นสิ่งซึ่งจะบอกว่าเป็นเรื่องของฝ่ายปฎิบัติอย่างเดียวคงไม่ใช่นะครับ ในเชิงนโยบายการตัดสินใจสำคัญๆ ที่จะติดตามในแนวทางที่รัฐบาลได้พูดมาเป็นเรื่องที่สำคัญ
ท้ายที่สุดในเรื่องนี้ผมคงจะต้องบอกว่า คงต้องระมัดระวังว่าถ้าสถานการณ์เป็นอย่างนี้ต่อไปเรื่อยๆ ทิศทางนโยบายหรือกรอบความคิดของรัฐบาล ที่ผมมองว่าน่าจะเป็นทิศทางที่ถูก มันจะถูกตั้งคำถามมากขึ้นเรื่อยๆ เหมือนกับเวลาเราพูดเรื่องความสมานฉันท์แรก ๆ แล้วผมก็ย้ำว่า ต้องไม่ให้เกิดความเข้าใจกับฝ่ายใดเลย ว่าสมานฉันท์แปลว่าไม่บังคับใช้กฎหมาย แต่ถ้าสถานการณ์เป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ แล้วก็กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบก็ท้าทายมากขึ้นเรื่อยๆ แรงกดดันว่า หันไปใช้ความรุนแรงไม๊ มันจะมีมากขึ้น ซึ่งอันนี้เป็นเรื่องที่อันตรายที่สุด เพราะอันนี้ก็เป็นข้อคิดที่อยากจะให้ทางรัฐบาลลองไปพิจารณาว่าจะเดินหน้ากันอย่างไร
ส่วนเรื่องรัฐธรรมนูญ อันนี้ก็ได้คาดหมายตั้งแต่ต้นแล้ว ไม่มีการแก้ไขเพิ่มเติมหรือจัดทำรัฐธรรมนูญครั้งไหนที่จะมีความเห็นที่ตรงกันหรอก แต่จริงๆแล้ว มาถึงนาทีนี้ ผมคิดว่าสิ่งที่หลายฝ่ายมองตรงกัน คือว่า เราคงจะไปคาดหวังหรือไปตั้งใจว่าจะได้รัฐธรรมนูญที่ดีเลิศหรือดีที่สุดหรือสมบูรณ์ คงเป็นไปไม่ได้ แต่ว่าสิ่งที่สำคัญคือทำอย่างไรเราจะมีรัฐธรรมนูญที่ดีเพียงพอให้เป็นที่ยอมรับ ที่จะให้กระบวนการประชาธิปไตยมันเดินต่อได้ เพราะถ้ากระบวนการตรงนี้เดินต่อ วันข้างหน้า การแก้ไขรัฐธรรมนูญเพิ่มเติมโดยผู้แทนที่มาจากประชาชนมันทำได้อยู่แล้ว
ถ้าเกิดรัฐธรรมนูญมีหลักสำคัญๆ ที่เป็นประชาธิปไตย ก็คือมีเรื่องของสิทธิเสรีภาพแล้วก็ไม่ถอยหลัง ย้อนกลับไปที่จะไม่เอาเจตนารมณ์ของประชาชน หรือไม่เอาความต้องการของประชาชนมาเป็นตัวกำหนดในการเดินหน้า เช่น ไปถอยหลังว่านายกฯ ไม่ต้องมาจากการเลือกตั้งหรือไปทำให้ ไปจงใจทำให้พรรคการเมืองต่างๆ อ่อนแอเป็นรัฐบาล ซึ่งประชาชนไม่มีความรู้สึกว่าได้มีส่วนการกำหนดทิศทางของการบริหารอย่างชัดเจน คือถ้าเป็นอย่างนั้นแล้วมันจะกิดปัญหา แต่ถ้าหากว่าเรายึดหลักประชาธิปไตย หลักเสรีภาพ ส่วนบทบัญญัติต่างๆซึ่งอาจจะมีจุดอ่อนข้อบกพร่อง ซึ่งเป็นเรื่องปกติธรรมดา อันนั้นไม่เป็นไรครับ เพระว่าหลังจากการเลือกตั้ง สมมติว่าจะเป็นปลายปีนี้ไปแล้ว มันก็จะมีการแก้ไขเพิ่มเติมได้ ฉะนั้นตรงนี้เป็นสิ่งที่สำคัญมาก แล้วก็ก่อนที่จะไปถึงตรงนั้นด้วยซ้ำ การพิจารณาในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวทางการเมือง ผมก็ยังยืนยันว่า ต้องยึดแนวทางของความเป็นประชาธิปไตยไว้
ผมก็ยังยืนยันว่า ปัญหาคำสั่งห้ามการเคลื่อนไหวของพรรคการเมือง นับวันมันจะไม่ได้เป็นปัญหาสำหรับพรรคการเมืองมันจะเป็นปัญหาสำหรับรัฐบาลกับคมช.เอง ผมเชื่อว่าจะมีการท้าทายคำสั่งนี้ แล้วก็จะทำให้รัฐบาลและคมช.ตกเป็นฝ่ายที่อยู่ในฐานะตั้งรับหรือกลืนไม่เข้าคลายไม่ออก ผมยกตัวอย่างนะครับว่า พอไปเคลื่อนไหว แต่จริงๆ เนี่ยก็เป็นการเคลื่อนไหวที่เห็นได้ชัด ว่าไม่ได้กระทบกับความมั่นคง สมมตินะครับ รัฐบาล หรือคมช. ถ้าแบบเคร่งครัด เคร่งครัดเลยว่าคำสั่งนี้ต้องใช้บังคับ สมมติไปลงโทษไปจับกุม ไปปรับ ไปอะไร นึกออกไม๊ครับว่าอะไรจะเกิดขึ้น มันก็จะเกิดเรื่องของมวลชนประชาธิปไตยขัดแย้งกับรัฐบาลกับ คมช. ในขณะเดียวกัน พอรัฐบาลกับคมช.จะไม่ใช้บังคับ มันก็จะมีการท้าทายมากขึ้นๆ ก็ทำแล้วในที่สุดคุณก็ไม่บังคับ ก็จะมีการทำแบบเข้มข้นขึ้น มากขึ้น วงกว้างมากขึ้น แล้วจะขีดเส้นกันตรงไหน เพราะฉะนั้นวันนี้ ผมยืนยันเลยว่ากฎหมายเครื่องมือที่จะดูแลรักษาความมั่นคงโดยปกติมันมีความเพียงพอดีอยู่แล้ว ท่านอย่าไปกังวลในส่วนที่เป็นคำสั่งในเรื่องของการเคลื่อนไหวของพรรคการเมือง แล้วก็ถ้าจะมีการยังคงโดยการแก้ไข หรือการผ่อนคลาย ผมคิดว่าทุกฝ่ายจะรับได้ เช่น อย่างสมมติว่าพูดถึงพรรคประชาธิปัตย์ เราจะเข้าใจได้เลยว่าถ้ายังบอกกับเราว่า อย่าเพิ่งไปทำกิจกรรมในลักษณะที่เป็นการระดมประชาชนหรือมวลชนมาจำนวนมากๆ ในเรื่องอะไรก็ตาม อย่างนี้เข้าใจได้ แล้วเราก็พร้อมจะปฎิบัติ แต่ว่าการที่ประชุมต่างๆแม้กระทั่งประชุมทางกฎหมายก็ไม่ได้ แม้กระทั่งจัดกิจกรรมในเชิงวิชาการก็ไม่ได้ แม้กระทั่งการเริ่มที่จะสื่อสารกับประชาชนถึงทิศทางอนาคตของประเทศก็ไม่ได้ อันนี้มันไม่เป็นผลดีกับใครทั้งสิ้น
ผู้ดำเนินรายการ ครับ ขออนุญาตชวนคุยอีกเรื่องนะครับ เรื่องชินแซทเนี่ย ไปๆมาๆปรากฎว่าเทมาเส็กจะขายยกเข่งเลยแสนล้านไม่ใช่แค่เจ็ดหมื่นสามพันล้านที่ได้ไปด้วยนะฮะ จะขายแสนล้านและขายหมดเลยฮะ ทั้งเครือเลย คุณอภิสิทธิ์ มองเรื่องนี้ว่าอย่างไร
คุณอภิสิทธิ์ ผมคิดว่าเราคงต้องแยกเป้าหมาย คือในส่วนเทมาเส็กเขาต้องมองผลประโยชน์ในทางธุรกิจ ขณะนี้ พูดตรงๆ ก็คือเขาก็เจ็บตัวมากอยู่แล้ว เพราะว่าขาดทุนจากมูลค่าของหุ้นที่ตกลงไปแล้วก็บริษัทที่อยู่ในเครือ ก็อยู่ในจุดซึ่งมีปัญหาเยอะมากถูกไม๊ครับ เช่น ชินแซทก็มีการถกเถียงกันอย่างที่ว่าอยู่ในปัจจุบันเกี่ยวกับเรื่องของดาวเทียม ไอทีวี ใช่ไม๊ครับ ก็มีปัญหาอยู่ รวมไปถึงแม้กระทั่งว่า ธุรกิจโทรศัพท์ ก็ยังมีจะมีการเปลี่ยนแปลงกติกา มีอะไรต่างๆ อีกมากมาย เพราะฉะนั้นเขามองในมุมธุรกิจ
ที่นี้ประเด็นของเรา คำว่าเรานี้คือจะเป็นประเทศไทยหรือรัฐบาลไทยนะครับ คงต้องมาดูอย่างนี้ก่อนว่าอะไรซึ่งเป็นเรื่องที่กระทบกับความมมั่นคง ผลประโยชน์ส่วนรวม กฎหมายของเรา มันจะต้องมีการคุ้มครองอยู่แล้ว เช่น ธุรกิจบางธุรกิจ กฎหมายไม่อนุญาตให้อยู่ในมือของต่างชาติ ถ้าไปอยู่ในมือของต่างชาติ ต้องดำเนินการทางกฎหมาย ต้องตั้งโจทย์อย่างนี้ก่อนนะครับ และทุกอย่างต้องเป็นไปตามกฎหมาย ถ้าทุกอย่างเป็นไปตามกฎหมายบังคับใช้ตรงไปตรงมา ผมไม่ค่อยวิตกกังวลในเรื่องที่บอกว่าต่างชาติจะตกใจไม๊ เพราะว่าเราพูดได้เต็มปากเต็มคำว่า เราไม่ได้ต่อต้านธุรกิจของต่างชาติ แต่ธุรกิจของต่างชาติที่เข้ามาก็ต้องเคารพกฎหมายไทย ถ้าคุณเข้ามาทำผิดกฎหมายไทย คุณก็ต้องมีความยอมรับผิดชอบในสิ่งที่จะเกิดขึ้นนะครับ มิฉะนั้นเราก็จะกลายเป็นปัญหาว่ามีตัวประกันตลอดเวลาว่า เราจะบังคับใช้กฎหมายเราและเราก็ถูกบอกว่าไม่ได้นะจะไปกระกระเทือนสิ่งนั้นสิ่งนี้ คือตราบเท่าที่เราเห็นชัดเจน อธิบายได้ชัดเจนว่ามีการกระผิดกฎหมาย เราก็ต้องดำเนินการ
อย่างเช่นกรณีนี้ เป็นปัญหาของบริษัทชินคอร์ป เรื่องกุหลาบแก้วกับการที่ชินคอร์ปเป็นผู้รับสัมปทาน ชินคอร์ปนะครับ ไม่ใช่ชินแซท อย่างนี้เป็นต้น ไอทีวีเอง มันเป็นเรื่องของการบังคับใช้สัญญาก็ว่ากันไปตามกระบวนการตรงนั้นนะครับ คือสิ่งต่างๆเหล่านี้จะเป็นคำตอบสำหรับโจทย์เราเอง ทีนี้ถ้าเราไปสับสนนะครับ เช่น เราเกิดจะไม่ได้ไปดูแค่ในแง่ความมั่นคง แต่เกิดอยากจะบอกว่าไม่อยากให้คนนั้นเป็นเจ้าของ อยากให้คนนี้เป็นเจ้าของและทำไปทำมาบอกจะไปซื้อหรือจะไปอะไรนั้น มันก็จะเจอโจทย์อย่างงี้แหละครับ พอเราจะไปซื้อปั๊ปมันเป็นเรื่องธุรกิจ พอเป็นเรื่องธุรกิจ เขาก็ต้องมีผลประโยชน์ทางธุรกิจของเขาที่นี้จะเจรจาต่อรองกันอย่างไร
ฉะนั้นเบื้องต้นสิ่งที่ผมแนะ น่าจะดูในเรื่องของข้อกฎหมายต่างๆและก็ดำเนินการอย่างตรงไปตรงมาเสียก่อน อย่าเพิ่งไปไกลถึงขั้นว่าจะไปเจรจาซื้อขายอะไรแล้ว เพราะว่าผมก็มาแน่ใจว่าเป้าหมายจริงๆถ้าบอกว่าจะซื้อขายนี่มันคืออะไร ถ้าสมมติว่าเราดำเนินการทางกฎหมายแล้วเราได้ความเชื่อมั่นกลับคืนมาในเรื่องของความมั่นคงในเรื่องของความถูกต้องในการประกอบธุรกิจที่ไม่ขัดผลประโยชน์ส่วนรวมอยู่แล้ว
ซ๋
ผู้ดำเนินรายการ ครับ ก็ตั้งโจทย์เหมือนกันว่าถ้าจะซื้อมาจะซื้อมาเพื่อแก้ปัญหาอะไรครับ / ก็มีการพูดกันบอกว่า ถ้าเรารีบร้อนจะซื้อมาก คนขายก็ขึ้นราคา ต้องดูจังหวะ
คุณอภิสิทธิ์ แน่นอนครับ ก็ผมก็มีความรู้สึกว่า คนไทยก็เลยเสียหลายต่อ ต้องเสียสตางค์ใช่ไม๊ครับ เพราะว่าจริงๆ แล้วปัญหาพื้นฐานก็คือว่าถ้าธุรกิจไหนไม่ควรอยู่ในมือของต่างชาติและกฎหมายห้ามอยู่แล้วไปบังคับใช่กฎหมายสิครับ
ผู้ดำเนินรายการ อ๋อ คุณอภิสิทธิ์มองอย่างนั้นเลย
คุณอภิสิทธิ์ ใช่ไม๊ครับ หรือว่าอย่างนั้นก็ต้องเจรจากับเขา แต่ถ้าเกิดกลัวจะรุนแรงไปก็ต้องบอกให้เขารู้ว่าขณะนี้เกิดปัญหาการละเมิดกฎหมายแล้ว ไม่ใช่ว่าแปลว่าคนจะต้องไปยึดเลย แต่ว่าเขาต้องไปแก้ไขให้ถูกต้อง เขาต้องเป็นฝ่ายที่จะต้องบอกเราให้ได้ว่าถูกต้องตามกฎหมายได้อย่างไร แต่ถ้าเราเริ่มต้นจากการบอกว่า ผมอยากซื้อของคุณและคราวนี้เขาก็ถือไพ่เหนือกว่าเราแล้ว แล้วเขาก็บอกว่า เอาหล่ะเขาจะขายไม่ขาย ขายด้วยเงื่อนไขอะไร
ผู้ดำเนินรายการ เพราะฉะนั้น คุณอภิสิทธิ์เห็นด้วยกับการเรื่องจะออกบอนด์กู้ชาติอะไรประมาณนี้ไม๊คะ
คุณอภิสิทธิ์ ผมยังไม่เห็นด้วยนะครับ ผมยังไปไม่ถึงขั้นนั้น คือผู้เสนอรวมทั้งท่านรองอลงกรณ์ก็มีเจตนาที่ดีในแง่ที่ว่าอยากจะปลุกให้คนมีส่วนร่วมในการหวงแหนสมบัติของชาติในมุมนั้น แต่ว่าถ้าถามในเชิงเทคนิคขณะนี้ ผมคิดว่ามันเร็วเกินไปที่เราจะไปตั้งป้อมบอกว่าเรากำลังจะขอซื้อ เพราะถ้าเราพูดว่าเราจะขอซื้อปั๊ปเนี่ย เขาก็อยู่ในฐานะที่จะเจรจาหรือต่อรองกับเราทันทีว่าเอ๊ะ ! จะให้เขาขาย เมื่อบังคับเขาขายก็ไม่ได้ ถ้าไปในรูปนี้เขาก็จะขายก็ได้ ไม่ขายก็ได้ ขายในเงื่อนไขอะไรอย่างไรก็ได้ ถูกไม๊ครับ
ผู้ดำเนินรายการ เอาล่ะครับ ขอบพระคุณมากนะครับคุณอภิสิทธิ์ครับ
คุณอภิสิทธิ์ ครับ ขอบคุณครับ
ผู้ดำเนินรายการ สวัสดีค่ะ
******************************************
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 23 ก.พ. 2550--จบ--
ทางสถานีวิทยุ 101 ช่วงเวลา 08.00 — 08.30 น.
วันศุกร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2550
ผู้ดำเนินรายการ สวัสดีค่ะ คุณอภิสิทธิ์คะ
คุณอภิสิทธิ์ สวัสดีครับ คุณอวัสดา
ผู้ดำเนินรายการ ครับ สวัสดีครับ คุณอภิสิทธิ์ครับ
คุณอภิสิทธิ์ สวัสดีครับ คุณเติมศักดิ์ครับ
ผู้ดำเนินรายการ ค่ะ คุณอภิสิทธิ์ ช่วงนี้บ้านเมืองยุ่งเหยิงนิดนึงนะคะ ทั้งเรื่องภาคใต้ก็เกิดเหตุรุนแรง และก็เรื่องรัฐธรรมนูญเห็นจะมีนักวิชาการลงชื่อคัดค้ากันแล้ว ตั้งแต่กำลังอยู่ระหว่างช่วงยกร่างค่ะเลยขอความเห็น 2 เรื่องแล้วกันนะคะวันนี้
คุณอภิสิทธิ์ ผมคิดว่าสถานการณ์ของบ้านเมืองนะครับ ไม่ได้อยู่นอกเหนือความคาดหมาย ผมมีโอกาสได้พูดหลายครั้งและก็รวมทั้งที่เขียนไว้ในหนังสือก็บ่งชัดอยู่แล้วว่าสถานการณ์หลังการรัฐประหารมานั้นจะมีความละเอียดอ่อนมาก แล้วก็กระบวนการที่จะกลับคืนสู่ประชาธิปไตยหรือภาวะปกติ มันจะมีความคิดเห็นที่แตกต่างหลากหลายมาก แต่ว่าเรื่องใต้เป็นเรื่องที่หลายคนเคยตั้งความหวังไว้สูงว่าเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลแล้วน่าจะมีความชัดเจนในแง่ของการเปลี่ยนแปลงนโยบายและก็มีผลตามมานะครับ
ทีนี้ในเชิงสัญญาณเชิงนโยบาย ผมคิดว่าในช่วงแรกเนี่ย รัฐบาลก็พูดค่อนข้างชัดนะครับ โดยเฉพาะท่านนายกฯว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร คงจำได้ว่าท่านก็ได้เดินทางไปลงพื้นที่หลายครั้ง พยายามสื่อสารกับคนในพื้นที่ผู้นำชุมชน ผู้นำทางศาสนา รวมไปถึงว่าก็มีการผลักดันในเรื่องกดหมายที่จะรื้อฟื้น ศอ.บต.ขึ้นมา แต่พอถึงนาทีนี้รู้สึกว่าเมื่อวานท่านเองก็ยอมรับ ว่ามันไม่คืบหน้าเท่าที่ควร ผมก็ยังยืนยันนะครับว่าที่จริงสัญญาณที่ส่งในเบื้องต้นตอนแรก รวมทั้งทิศทางนโยบายที่ท่านนายกฯและรัฐบาลหรือ คมช. ได้เคยพูดถึงก็น่าจะเป็นทิศทางที่ถูกต้อง แต่น่าจะต้องมาทบทวนประเมินดูว่าในช่วง 4-5 เดือนที่ผ่านมา เหตุใดการผลักดันทิศทางหรือนโยบายนี้ยังไม่ได้รับการตอบสนอง เท่าที่ผมสดับตรับฟังมานั้น ก็มีหลายปัจจัยด้วยกัน ปัจจัยที่หนึ่งก็คือ ความเป็นเอกภาพและความชัดเจนในการขับเคลื่อนหน่วยงานต่างๆในฝ่ายปฎิบัติ ยังไม่มีความชัดเจนเท่าที่ควร หมายความว่าแม้จะมีการจัดตั้ง ศอ.บต.ขึ้นมา แม้จะมีการพูดถึงนโยบายในเรื่องของความสมานฉันท์หรืออะไรก็แล้วแต่ แต่ว่าในระดับของพื้นที่ ทางอดีต ส.ส.ของพรรคที่ผมพูดคุยด้วยอยู่เป็นระยะ ๆ ก็บอกว่ายังไม่ได้มีทิศทางที่ประชาชนสัมผัสได้ชัดเจนว่าได้มีการเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะที่จะช่วยแก้ไขปัญหาเท่าที่ควรนะครับ เพราะฉะนั้นอันนี้ก็เป็นภาระในเรื่องของการบริหารจัดการ ภาระหนักก็คงจะไปตกอยู่ที่ท่านผู้อำนวยการ ศอ.บต. และท่านนายกฯ เองที่จะต้องขับเคลื่อน ที่นี้ถัดมา ประเด็นที่สอง ก็คือว่า มันคงจะไป บอกว่าเป็นเรื่องของการปฎิบัติอย่างเดียวก็คงไม่ได้ ทิศทางหลายอย่างที่ได้มีการพูดเอาไว้มันจำเป็นจะต้องมีนโยบายที่นำไปสู่ผลในทางปฎิบัติที่เป็นรูปธรรมอย่างชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น เวลาพูดถึงเรื่องการที่เรายอมรับว่ามันเคยมีการกระทำความผิดของเจ้าหน้าที่ของฝ่ายรัฐ ก็ต้องมีความชัดเจนว่าเราจริงจังกับเรื่องนี้ พูดกันตรงๆ ก็หมายความว่า เหตุการณ์ซึ่งเคยมีเครื่องหมายคำถามอยู่ วันนี้ก็ยังมีเครื่องหมายคำถามอยู่ แม้ว่าท่านนายกฯ อาจจะไปเอ่ยคำขอโทษแล้วก็ตาม แต่ว่าไม่ได้หมายความว่า เขามองว่ามีการแสดงออกถึงความรับผิดชอบอย่างชัดเจน เพื่อที่จะเป็นการส่งสัญญาณว่า ว่าเราจริงจังในเรื่องนี้
หรืออีกเรื่องหนึ่งซึ่งตอนแรกที่เป็นนโยบายที่ฮือฮามากนั้นก็คือเรื่องของเศรษฐกิจพิเศษนึกออกไม๊ครับ หน่วยพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ แต่ว่าขณะนี้หนึ่งความชัดเจนในเรื่องสิทธิต่างๆที่จะเกิดขึ้น การกระตุ้นเศรษฐกิจนักธุรกิจก็ยังมีปัญหาอยู่มาก ยังขาดความชัดเจนว่าการสนับสนุนที่บอกว่าจะเป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจะเป็นอย่างไร กับอีกด้านหนึ่ง ก็คือสิ่งที่ผมเคยเสนอไปก่อนหน้านี้แล้ว ว่าเขตเศรษฐกิจพิเศษ ถ้าจะช่วยแก้ไขปัญหาความไม่สงบนั้นต้องมีความหมายลึกลงไปถึงกลุ่มพี่น้องประชาชนจะเป็นเกษตรกรหรือจะเป็นผู้ใช้แรงงานหรืออะไรก็ตาม เพราะฉะนั้นตรงนี้ก็น่าจะเร่งระดมความคิดเห็นว่า อะไรที่จะทำให้เศรษฐกิจในพื้นที่ตรงนั้น เดินไปได้
ประการถัดมาก็คือ คงต้องประเมินในเรื่องของประสิทธิภาพของเจ้าหน้าที่ที่รักษาความสงบเรียบร้อยนะครับ ทั้งคือ ปัญหาขณะนี้ก็ แม้กระทั่งพอเรามาเปรียบเทียบกับเรื่องของปัญหาที่เกิดขึ้นในกรุงเทพฯ คือ เหมือนกับว่าบางทีการข่าวใกล้เคียงแล้ว ผมจำได้ว่าก่อนปีใหม่ก็ดี หรือแม้กระทั่งก่อนเหตุการณ์ครั้งล่าสุดก็มีการพูดเป็นนัย ๆโดยทางการว่ามันกำลังจะมีเหตุอะไรหรือเปล่า กำลังป้องกันกันอยู่ แต่ในที่สุดแล้วก็ยังไม่สามารถที่จะป้องกันได้เพราะฉะนั้นประสิทธิภาพตรงนี้ เป็นเรื่องที่มีความสำคัญจะต้องเร่งปรับปรุงแก้ไขด้วย ทั้งหมดนี้ผมคิดว่ามันก็จะไปผูกกับนโยบายที่ย้อนกลับมาตรงนี้ด้วยที่ยังมีความสับสน อย่างเช่น บทบาทของความร่วมมือกับต่างประเทศ ซึ่งเป็นเรื่องที่มีความละเอียดอ่อน แล้วก็ต้องทำด้วยความรอบคอบ
แต่ว่าหลักใหญ่จริงๆ ผมอยากจะเสนอว่า เมื่อพูดถึงเรื่องการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษแล้ว ถ้าเราทำให้รัฐบาลของต่างประเทศ ซึ่งจะอยู่ในสถานภาพที่จะช่วยเราแก้ไขปัญหานี้เขาก็มีผลประโยชน์รวมกับเราในการพัฒนาพื้นที่ตรงนั้นให้เป็นพื้นที่ที่มีความสงบสุข มันจะเป็นหลักประกันที่ดีที่สุดในแง่ของความยั่งยืนในความร่วมมือและก็ความจริงใจและทุ่มเทให้แก่กันและกัน เพราะฉะนั้น ผมยังคิดว่าตรงนี้ยังเป็นสิ่งซึ่งจะบอกว่าเป็นเรื่องของฝ่ายปฎิบัติอย่างเดียวคงไม่ใช่นะครับ ในเชิงนโยบายการตัดสินใจสำคัญๆ ที่จะติดตามในแนวทางที่รัฐบาลได้พูดมาเป็นเรื่องที่สำคัญ
ท้ายที่สุดในเรื่องนี้ผมคงจะต้องบอกว่า คงต้องระมัดระวังว่าถ้าสถานการณ์เป็นอย่างนี้ต่อไปเรื่อยๆ ทิศทางนโยบายหรือกรอบความคิดของรัฐบาล ที่ผมมองว่าน่าจะเป็นทิศทางที่ถูก มันจะถูกตั้งคำถามมากขึ้นเรื่อยๆ เหมือนกับเวลาเราพูดเรื่องความสมานฉันท์แรก ๆ แล้วผมก็ย้ำว่า ต้องไม่ให้เกิดความเข้าใจกับฝ่ายใดเลย ว่าสมานฉันท์แปลว่าไม่บังคับใช้กฎหมาย แต่ถ้าสถานการณ์เป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ แล้วก็กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบก็ท้าทายมากขึ้นเรื่อยๆ แรงกดดันว่า หันไปใช้ความรุนแรงไม๊ มันจะมีมากขึ้น ซึ่งอันนี้เป็นเรื่องที่อันตรายที่สุด เพราะอันนี้ก็เป็นข้อคิดที่อยากจะให้ทางรัฐบาลลองไปพิจารณาว่าจะเดินหน้ากันอย่างไร
ส่วนเรื่องรัฐธรรมนูญ อันนี้ก็ได้คาดหมายตั้งแต่ต้นแล้ว ไม่มีการแก้ไขเพิ่มเติมหรือจัดทำรัฐธรรมนูญครั้งไหนที่จะมีความเห็นที่ตรงกันหรอก แต่จริงๆแล้ว มาถึงนาทีนี้ ผมคิดว่าสิ่งที่หลายฝ่ายมองตรงกัน คือว่า เราคงจะไปคาดหวังหรือไปตั้งใจว่าจะได้รัฐธรรมนูญที่ดีเลิศหรือดีที่สุดหรือสมบูรณ์ คงเป็นไปไม่ได้ แต่ว่าสิ่งที่สำคัญคือทำอย่างไรเราจะมีรัฐธรรมนูญที่ดีเพียงพอให้เป็นที่ยอมรับ ที่จะให้กระบวนการประชาธิปไตยมันเดินต่อได้ เพราะถ้ากระบวนการตรงนี้เดินต่อ วันข้างหน้า การแก้ไขรัฐธรรมนูญเพิ่มเติมโดยผู้แทนที่มาจากประชาชนมันทำได้อยู่แล้ว
ถ้าเกิดรัฐธรรมนูญมีหลักสำคัญๆ ที่เป็นประชาธิปไตย ก็คือมีเรื่องของสิทธิเสรีภาพแล้วก็ไม่ถอยหลัง ย้อนกลับไปที่จะไม่เอาเจตนารมณ์ของประชาชน หรือไม่เอาความต้องการของประชาชนมาเป็นตัวกำหนดในการเดินหน้า เช่น ไปถอยหลังว่านายกฯ ไม่ต้องมาจากการเลือกตั้งหรือไปทำให้ ไปจงใจทำให้พรรคการเมืองต่างๆ อ่อนแอเป็นรัฐบาล ซึ่งประชาชนไม่มีความรู้สึกว่าได้มีส่วนการกำหนดทิศทางของการบริหารอย่างชัดเจน คือถ้าเป็นอย่างนั้นแล้วมันจะกิดปัญหา แต่ถ้าหากว่าเรายึดหลักประชาธิปไตย หลักเสรีภาพ ส่วนบทบัญญัติต่างๆซึ่งอาจจะมีจุดอ่อนข้อบกพร่อง ซึ่งเป็นเรื่องปกติธรรมดา อันนั้นไม่เป็นไรครับ เพระว่าหลังจากการเลือกตั้ง สมมติว่าจะเป็นปลายปีนี้ไปแล้ว มันก็จะมีการแก้ไขเพิ่มเติมได้ ฉะนั้นตรงนี้เป็นสิ่งที่สำคัญมาก แล้วก็ก่อนที่จะไปถึงตรงนั้นด้วยซ้ำ การพิจารณาในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวทางการเมือง ผมก็ยังยืนยันว่า ต้องยึดแนวทางของความเป็นประชาธิปไตยไว้
ผมก็ยังยืนยันว่า ปัญหาคำสั่งห้ามการเคลื่อนไหวของพรรคการเมือง นับวันมันจะไม่ได้เป็นปัญหาสำหรับพรรคการเมืองมันจะเป็นปัญหาสำหรับรัฐบาลกับคมช.เอง ผมเชื่อว่าจะมีการท้าทายคำสั่งนี้ แล้วก็จะทำให้รัฐบาลและคมช.ตกเป็นฝ่ายที่อยู่ในฐานะตั้งรับหรือกลืนไม่เข้าคลายไม่ออก ผมยกตัวอย่างนะครับว่า พอไปเคลื่อนไหว แต่จริงๆ เนี่ยก็เป็นการเคลื่อนไหวที่เห็นได้ชัด ว่าไม่ได้กระทบกับความมั่นคง สมมตินะครับ รัฐบาล หรือคมช. ถ้าแบบเคร่งครัด เคร่งครัดเลยว่าคำสั่งนี้ต้องใช้บังคับ สมมติไปลงโทษไปจับกุม ไปปรับ ไปอะไร นึกออกไม๊ครับว่าอะไรจะเกิดขึ้น มันก็จะเกิดเรื่องของมวลชนประชาธิปไตยขัดแย้งกับรัฐบาลกับ คมช. ในขณะเดียวกัน พอรัฐบาลกับคมช.จะไม่ใช้บังคับ มันก็จะมีการท้าทายมากขึ้นๆ ก็ทำแล้วในที่สุดคุณก็ไม่บังคับ ก็จะมีการทำแบบเข้มข้นขึ้น มากขึ้น วงกว้างมากขึ้น แล้วจะขีดเส้นกันตรงไหน เพราะฉะนั้นวันนี้ ผมยืนยันเลยว่ากฎหมายเครื่องมือที่จะดูแลรักษาความมั่นคงโดยปกติมันมีความเพียงพอดีอยู่แล้ว ท่านอย่าไปกังวลในส่วนที่เป็นคำสั่งในเรื่องของการเคลื่อนไหวของพรรคการเมือง แล้วก็ถ้าจะมีการยังคงโดยการแก้ไข หรือการผ่อนคลาย ผมคิดว่าทุกฝ่ายจะรับได้ เช่น อย่างสมมติว่าพูดถึงพรรคประชาธิปัตย์ เราจะเข้าใจได้เลยว่าถ้ายังบอกกับเราว่า อย่าเพิ่งไปทำกิจกรรมในลักษณะที่เป็นการระดมประชาชนหรือมวลชนมาจำนวนมากๆ ในเรื่องอะไรก็ตาม อย่างนี้เข้าใจได้ แล้วเราก็พร้อมจะปฎิบัติ แต่ว่าการที่ประชุมต่างๆแม้กระทั่งประชุมทางกฎหมายก็ไม่ได้ แม้กระทั่งจัดกิจกรรมในเชิงวิชาการก็ไม่ได้ แม้กระทั่งการเริ่มที่จะสื่อสารกับประชาชนถึงทิศทางอนาคตของประเทศก็ไม่ได้ อันนี้มันไม่เป็นผลดีกับใครทั้งสิ้น
ผู้ดำเนินรายการ ครับ ขออนุญาตชวนคุยอีกเรื่องนะครับ เรื่องชินแซทเนี่ย ไปๆมาๆปรากฎว่าเทมาเส็กจะขายยกเข่งเลยแสนล้านไม่ใช่แค่เจ็ดหมื่นสามพันล้านที่ได้ไปด้วยนะฮะ จะขายแสนล้านและขายหมดเลยฮะ ทั้งเครือเลย คุณอภิสิทธิ์ มองเรื่องนี้ว่าอย่างไร
คุณอภิสิทธิ์ ผมคิดว่าเราคงต้องแยกเป้าหมาย คือในส่วนเทมาเส็กเขาต้องมองผลประโยชน์ในทางธุรกิจ ขณะนี้ พูดตรงๆ ก็คือเขาก็เจ็บตัวมากอยู่แล้ว เพราะว่าขาดทุนจากมูลค่าของหุ้นที่ตกลงไปแล้วก็บริษัทที่อยู่ในเครือ ก็อยู่ในจุดซึ่งมีปัญหาเยอะมากถูกไม๊ครับ เช่น ชินแซทก็มีการถกเถียงกันอย่างที่ว่าอยู่ในปัจจุบันเกี่ยวกับเรื่องของดาวเทียม ไอทีวี ใช่ไม๊ครับ ก็มีปัญหาอยู่ รวมไปถึงแม้กระทั่งว่า ธุรกิจโทรศัพท์ ก็ยังมีจะมีการเปลี่ยนแปลงกติกา มีอะไรต่างๆ อีกมากมาย เพราะฉะนั้นเขามองในมุมธุรกิจ
ที่นี้ประเด็นของเรา คำว่าเรานี้คือจะเป็นประเทศไทยหรือรัฐบาลไทยนะครับ คงต้องมาดูอย่างนี้ก่อนว่าอะไรซึ่งเป็นเรื่องที่กระทบกับความมมั่นคง ผลประโยชน์ส่วนรวม กฎหมายของเรา มันจะต้องมีการคุ้มครองอยู่แล้ว เช่น ธุรกิจบางธุรกิจ กฎหมายไม่อนุญาตให้อยู่ในมือของต่างชาติ ถ้าไปอยู่ในมือของต่างชาติ ต้องดำเนินการทางกฎหมาย ต้องตั้งโจทย์อย่างนี้ก่อนนะครับ และทุกอย่างต้องเป็นไปตามกฎหมาย ถ้าทุกอย่างเป็นไปตามกฎหมายบังคับใช้ตรงไปตรงมา ผมไม่ค่อยวิตกกังวลในเรื่องที่บอกว่าต่างชาติจะตกใจไม๊ เพราะว่าเราพูดได้เต็มปากเต็มคำว่า เราไม่ได้ต่อต้านธุรกิจของต่างชาติ แต่ธุรกิจของต่างชาติที่เข้ามาก็ต้องเคารพกฎหมายไทย ถ้าคุณเข้ามาทำผิดกฎหมายไทย คุณก็ต้องมีความยอมรับผิดชอบในสิ่งที่จะเกิดขึ้นนะครับ มิฉะนั้นเราก็จะกลายเป็นปัญหาว่ามีตัวประกันตลอดเวลาว่า เราจะบังคับใช้กฎหมายเราและเราก็ถูกบอกว่าไม่ได้นะจะไปกระกระเทือนสิ่งนั้นสิ่งนี้ คือตราบเท่าที่เราเห็นชัดเจน อธิบายได้ชัดเจนว่ามีการกระผิดกฎหมาย เราก็ต้องดำเนินการ
อย่างเช่นกรณีนี้ เป็นปัญหาของบริษัทชินคอร์ป เรื่องกุหลาบแก้วกับการที่ชินคอร์ปเป็นผู้รับสัมปทาน ชินคอร์ปนะครับ ไม่ใช่ชินแซท อย่างนี้เป็นต้น ไอทีวีเอง มันเป็นเรื่องของการบังคับใช้สัญญาก็ว่ากันไปตามกระบวนการตรงนั้นนะครับ คือสิ่งต่างๆเหล่านี้จะเป็นคำตอบสำหรับโจทย์เราเอง ทีนี้ถ้าเราไปสับสนนะครับ เช่น เราเกิดจะไม่ได้ไปดูแค่ในแง่ความมั่นคง แต่เกิดอยากจะบอกว่าไม่อยากให้คนนั้นเป็นเจ้าของ อยากให้คนนี้เป็นเจ้าของและทำไปทำมาบอกจะไปซื้อหรือจะไปอะไรนั้น มันก็จะเจอโจทย์อย่างงี้แหละครับ พอเราจะไปซื้อปั๊ปมันเป็นเรื่องธุรกิจ พอเป็นเรื่องธุรกิจ เขาก็ต้องมีผลประโยชน์ทางธุรกิจของเขาที่นี้จะเจรจาต่อรองกันอย่างไร
ฉะนั้นเบื้องต้นสิ่งที่ผมแนะ น่าจะดูในเรื่องของข้อกฎหมายต่างๆและก็ดำเนินการอย่างตรงไปตรงมาเสียก่อน อย่าเพิ่งไปไกลถึงขั้นว่าจะไปเจรจาซื้อขายอะไรแล้ว เพราะว่าผมก็มาแน่ใจว่าเป้าหมายจริงๆถ้าบอกว่าจะซื้อขายนี่มันคืออะไร ถ้าสมมติว่าเราดำเนินการทางกฎหมายแล้วเราได้ความเชื่อมั่นกลับคืนมาในเรื่องของความมั่นคงในเรื่องของความถูกต้องในการประกอบธุรกิจที่ไม่ขัดผลประโยชน์ส่วนรวมอยู่แล้ว
ซ๋
ผู้ดำเนินรายการ ครับ ก็ตั้งโจทย์เหมือนกันว่าถ้าจะซื้อมาจะซื้อมาเพื่อแก้ปัญหาอะไรครับ / ก็มีการพูดกันบอกว่า ถ้าเรารีบร้อนจะซื้อมาก คนขายก็ขึ้นราคา ต้องดูจังหวะ
คุณอภิสิทธิ์ แน่นอนครับ ก็ผมก็มีความรู้สึกว่า คนไทยก็เลยเสียหลายต่อ ต้องเสียสตางค์ใช่ไม๊ครับ เพราะว่าจริงๆ แล้วปัญหาพื้นฐานก็คือว่าถ้าธุรกิจไหนไม่ควรอยู่ในมือของต่างชาติและกฎหมายห้ามอยู่แล้วไปบังคับใช่กฎหมายสิครับ
ผู้ดำเนินรายการ อ๋อ คุณอภิสิทธิ์มองอย่างนั้นเลย
คุณอภิสิทธิ์ ใช่ไม๊ครับ หรือว่าอย่างนั้นก็ต้องเจรจากับเขา แต่ถ้าเกิดกลัวจะรุนแรงไปก็ต้องบอกให้เขารู้ว่าขณะนี้เกิดปัญหาการละเมิดกฎหมายแล้ว ไม่ใช่ว่าแปลว่าคนจะต้องไปยึดเลย แต่ว่าเขาต้องไปแก้ไขให้ถูกต้อง เขาต้องเป็นฝ่ายที่จะต้องบอกเราให้ได้ว่าถูกต้องตามกฎหมายได้อย่างไร แต่ถ้าเราเริ่มต้นจากการบอกว่า ผมอยากซื้อของคุณและคราวนี้เขาก็ถือไพ่เหนือกว่าเราแล้ว แล้วเขาก็บอกว่า เอาหล่ะเขาจะขายไม่ขาย ขายด้วยเงื่อนไขอะไร
ผู้ดำเนินรายการ เพราะฉะนั้น คุณอภิสิทธิ์เห็นด้วยกับการเรื่องจะออกบอนด์กู้ชาติอะไรประมาณนี้ไม๊คะ
คุณอภิสิทธิ์ ผมยังไม่เห็นด้วยนะครับ ผมยังไปไม่ถึงขั้นนั้น คือผู้เสนอรวมทั้งท่านรองอลงกรณ์ก็มีเจตนาที่ดีในแง่ที่ว่าอยากจะปลุกให้คนมีส่วนร่วมในการหวงแหนสมบัติของชาติในมุมนั้น แต่ว่าถ้าถามในเชิงเทคนิคขณะนี้ ผมคิดว่ามันเร็วเกินไปที่เราจะไปตั้งป้อมบอกว่าเรากำลังจะขอซื้อ เพราะถ้าเราพูดว่าเราจะขอซื้อปั๊ปเนี่ย เขาก็อยู่ในฐานะที่จะเจรจาหรือต่อรองกับเราทันทีว่าเอ๊ะ ! จะให้เขาขาย เมื่อบังคับเขาขายก็ไม่ได้ ถ้าไปในรูปนี้เขาก็จะขายก็ได้ ไม่ขายก็ได้ ขายในเงื่อนไขอะไรอย่างไรก็ได้ ถูกไม๊ครับ
ผู้ดำเนินรายการ เอาล่ะครับ ขอบพระคุณมากนะครับคุณอภิสิทธิ์ครับ
คุณอภิสิทธิ์ ครับ ขอบคุณครับ
ผู้ดำเนินรายการ สวัสดีค่ะ
******************************************
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 23 ก.พ. 2550--จบ--