วันที่ 13 พ.ค. 50 นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงที่พรรคประชาธิปัตย์เกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญว่า ในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ต้องการเห็นบรรยากาศของการยกร่างรัฐธรรมนูญซึ่งอยู่ในช่วงของการรับฟังความคิดเห็นเป็นบรรยากาศที่เป็นประชาธิปไตยอย่างเปิดเผย และเป็นบรรยากาศของการแสดงความจริงใจในการที่ต้องการจะเห็นประเทศชาติบ้านเมืองเดินไปข้างหน้าอย่างแท้จริง เพราะฉะนั้นการแสดงความคิดเห็นของบุคคล คณะบุคคล หรือกลุ่มองค์กรใด ตนคิดว่าเป็นความคิดเห็นที่ไม่ว่าจะมาจากรูปแบบใด เป็นความคิดเห็นที่ คณะกรรมาธิการยกร่าง (สสร.) ต้องรับฟัง เพราะได้ระบุไว้อย่างชัดเจนแล้วในร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับรับฟังความคิดเห็น
นายองอาจกล่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมาพบว่า มีหลายครั้งหลายหน ที่คณะกรรมาธิการยกร่าง (สสร.) เป็นผู้ที่สร้างบรรยากาศของการไม่รับฟังความคิดเห็นมากกว่า ดังนั้นตนจึงต้องการฝากประเด็นนี้ไปถึงคณะสสร. และผู้ยกร่างรัฐธรรมนูญด้วย
“กรณีสนช. ได้แสดงความคิดเห็นในรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ออกมาในรูปแบบของการยกร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาอีกฉบับหนึ่ง ปรากฎว่าบางท่านใน สสร. บางท่านในคณะกรรมาธิการยกร่างแสดงความรู้สึก แสดงความคิดเห็นว่าอาจจะเป็นร่างรัฐธรรมนูญของ สนช. นั้นเป็นฉบับร่างทรง เป็นต้น หรือบางท่านบอกว่าเป็นฉบับสำรอง ผมคิดว่านี่คือบรรยากาศของการไม่เปิดกว้าง และไม่รับฟัง” นายองอาจ กล่าว
นอกจากนี้ นายองอาจยังกล่าวอีกว่า ไม่ว่าองค์กร กลุ่มบุคคล คณะบุคคลจะเสนอความคิดเห็นออกมาในรูปแบบของเนื้อหาสาระหลัก ๆ หรือในรูปแบบของการยกร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาก็ตาม ตนคิดว่าเป็นสิทธิ อันชอบธรรมของกลุ่มบุคคล และคณะบุคคลที่จะดำเนินการในส่วนนั้น ภาระหน้าที่ของ สสร. มีอย่างเดียวคือภาระหน้าที่ที่ท่านเขียนไว้ในหน้าปกร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับนี้คือ รับฟังความคิดเห็น
“ท่านไม่มีหน้าที่ที่จะไปกระแนะกระแหน ไปกล่าวให้ร้าย ไปกล่าวโทษ หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ในการสร้างบรรยากาศของการไม่พร้อมที่จะรับฟังความคิดเห็น” นายองอาจกล่าวในที่สุด
สำหรับการเคลื่อนไหวทางการเมืองหลายรูปแบบ ซึ่งการเคลื่อนไหวหลายครั้งนั้นสร้างความกังขา และความไม่เข้าใจให้กับสังคมไทย และประชาชนโดยทั่วไป นายองอาจเห็นว่าการเคลื่อนไหวต่าง ๆ นั้น หากเป็นไปด้วยความบริสุทธิ์ใจ และเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม หรือเพื่อเรียกร้องสิทธิประโยชน์อันพึงมีพึงได้ จะไม่เป็นปัญหาอุปสรรคใด ๆ และทุกคนมีสิทธิ์ที่จะดำเนินการได้ แต่หากการเคลื่อนไหวใด ๆ ที่เป็นไปโดยมีวาระซ่อนเร้น คำนึงถึงประโยชน์ส่วนตนมากกว่าประโยชน์ส่วนรวม และการเคลื่อนไหวที่มีจุดประสงค์เคลือบแฝงต่าง ๆ นั้น พรรคประชาธิปัตย์ ไม่เห็นด้วย และอยากเรียกร้องให้คณะบุคคล กลุ่มบุคคล ได้คำนึงถึงประโยชน์ของประเทศชาติบ้านเมืองมากกว่าประโยชน์ส่วนตน
โดยนายองอาจ เชื่อมั่นว่าการเคลื่อนไหวใด ๆ ก็ตามที่ไม่เป็นไปตามความเรียกร้องต้องการของมวลชน การเคลื่อนไหวที่ล้ำหน้ามวลชนนั้นก็ไม่สามารถที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ได้ และนอกจากจะไม่บรรลุวัตถุประสงค์แล้วก็อาจจะทำให้ประเทศชาติบ้านเมืองบอบช้ำมากไปกว่าเดิม
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 13 พ.ค. 2550--จบ--
นายองอาจกล่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมาพบว่า มีหลายครั้งหลายหน ที่คณะกรรมาธิการยกร่าง (สสร.) เป็นผู้ที่สร้างบรรยากาศของการไม่รับฟังความคิดเห็นมากกว่า ดังนั้นตนจึงต้องการฝากประเด็นนี้ไปถึงคณะสสร. และผู้ยกร่างรัฐธรรมนูญด้วย
“กรณีสนช. ได้แสดงความคิดเห็นในรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ออกมาในรูปแบบของการยกร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาอีกฉบับหนึ่ง ปรากฎว่าบางท่านใน สสร. บางท่านในคณะกรรมาธิการยกร่างแสดงความรู้สึก แสดงความคิดเห็นว่าอาจจะเป็นร่างรัฐธรรมนูญของ สนช. นั้นเป็นฉบับร่างทรง เป็นต้น หรือบางท่านบอกว่าเป็นฉบับสำรอง ผมคิดว่านี่คือบรรยากาศของการไม่เปิดกว้าง และไม่รับฟัง” นายองอาจ กล่าว
นอกจากนี้ นายองอาจยังกล่าวอีกว่า ไม่ว่าองค์กร กลุ่มบุคคล คณะบุคคลจะเสนอความคิดเห็นออกมาในรูปแบบของเนื้อหาสาระหลัก ๆ หรือในรูปแบบของการยกร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาก็ตาม ตนคิดว่าเป็นสิทธิ อันชอบธรรมของกลุ่มบุคคล และคณะบุคคลที่จะดำเนินการในส่วนนั้น ภาระหน้าที่ของ สสร. มีอย่างเดียวคือภาระหน้าที่ที่ท่านเขียนไว้ในหน้าปกร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับนี้คือ รับฟังความคิดเห็น
“ท่านไม่มีหน้าที่ที่จะไปกระแนะกระแหน ไปกล่าวให้ร้าย ไปกล่าวโทษ หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ในการสร้างบรรยากาศของการไม่พร้อมที่จะรับฟังความคิดเห็น” นายองอาจกล่าวในที่สุด
สำหรับการเคลื่อนไหวทางการเมืองหลายรูปแบบ ซึ่งการเคลื่อนไหวหลายครั้งนั้นสร้างความกังขา และความไม่เข้าใจให้กับสังคมไทย และประชาชนโดยทั่วไป นายองอาจเห็นว่าการเคลื่อนไหวต่าง ๆ นั้น หากเป็นไปด้วยความบริสุทธิ์ใจ และเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม หรือเพื่อเรียกร้องสิทธิประโยชน์อันพึงมีพึงได้ จะไม่เป็นปัญหาอุปสรรคใด ๆ และทุกคนมีสิทธิ์ที่จะดำเนินการได้ แต่หากการเคลื่อนไหวใด ๆ ที่เป็นไปโดยมีวาระซ่อนเร้น คำนึงถึงประโยชน์ส่วนตนมากกว่าประโยชน์ส่วนรวม และการเคลื่อนไหวที่มีจุดประสงค์เคลือบแฝงต่าง ๆ นั้น พรรคประชาธิปัตย์ ไม่เห็นด้วย และอยากเรียกร้องให้คณะบุคคล กลุ่มบุคคล ได้คำนึงถึงประโยชน์ของประเทศชาติบ้านเมืองมากกว่าประโยชน์ส่วนตน
โดยนายองอาจ เชื่อมั่นว่าการเคลื่อนไหวใด ๆ ก็ตามที่ไม่เป็นไปตามความเรียกร้องต้องการของมวลชน การเคลื่อนไหวที่ล้ำหน้ามวลชนนั้นก็ไม่สามารถที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ได้ และนอกจากจะไม่บรรลุวัตถุประสงค์แล้วก็อาจจะทำให้ประเทศชาติบ้านเมืองบอบช้ำมากไปกว่าเดิม
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 13 พ.ค. 2550--จบ--