เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์นี้ นายอภิชาต ศักดิเศรษฐ์ รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ อดีตส.ส.นครศรีธรรมราช กล่าวถึงการจัดตั้งสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมพีทีวี ว่า เป็นเรื่องที่แยกไม่ออกจากพรรคไทยรักไทย เพราะสมาชิกระดับนำคือนายวีระ มุสิกพงศ์ ประธานคณะทำงานด้านประชาสัมพันธ์ของพรรค รวมทั้งสมาชิกประเภทออกหน้าหลายคน เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการจัดตั้งสถานีโทรทัศน์แห่งนี้ ทั้งนี้เชื่อว่าเป็นความพยายามของแกนนำพรรคไทยรักไทยที่ต้องการแสวงหากระบอกเสียงใหม่ของตนเอง หลังจากที่สถานีโทรทัศน์ไอทีวีประสบปัญหาจนอาจจะถูกรัฐยึดคืนเนื่องจากทำผิดสัญญาสัมปทาน นอกจากนี้เป็นไปได้ว่าการทำทีวีผ่านดาวเทียม เป็นธุรกิจที่คนกลุ่มนี้มองเห็นว่าจะเป็นเครื่องมือทำมาหาเลี้ยงชีพได้ เพราะจะมีรายได้จากโฆษณาหรือการสนับสนุนทางการเงินจากเครือข่ายเข้ามาจุนเจือปีละไม่น้อย
อย่างไรก็ตาม นายอภิชาต กล่าวว่า เป็นสิทธิของกลุ่มคนดังกล่าวที่จะตั้งสถานีโทรทัศน์ ถือเป็นเสรีภาพในการแสดงออกเพื่อการสื่อสารในระบอบประชาธิปไตย แต่ต้องระวังไม่ให้ไปละเมิดกฎหมาย โดยเฉพาะ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม เมื่อยังไม่มีคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ (กสช.) การตั้งสถานีโทรทัศน์ขึ้นมาใหม่อาจจะต้องเลี่ยงไปยิงสัญญาณขึ้นดาวเทียมในต่างประเทศ
เตือนสื่อแท้ต้องทำหน้าที่เป็นกลาง-เที่ยงธรรม
รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า หากสถานีโทรทัศน์แห่งนี้ออกอากาศได้โดยไม่ขัดต่อกฎหมาย ก็เป็นเรื่องที่น่าติดตามต่อไปว่า เนื้อหาสาระจะออกมาอย่างไร จะทำหน้าที่เป็นสื่อมวลชน สมกับชื่อที่ตั้งว่า พีทีวี หรือทีวีประชาชน หรือจะเป็นเพียงกระบอกเสียงส่วนตัวรับใช้ คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง จึงอยากจะฝากบอกว่า การจะทำธุรกิจสื่อไม่ใช่เรื่องยาก แต่การเป็นสื่อมวลชนนั้นไม่ง่าย เพราะต้องทำหน้าที่อย่างเป็นกลางและเที่ยงธรรมตามหลักการวิชาชีพสื่อสารมวลชน ถ้าทำไม่ได้หรือไม่มีจิตสำนึกที่จะเป็นสื่อมวลชนที่แท้จริงแล้ว ก็อย่าเข้ามาสร้างความแปดเปื้อนให้กับวิชาชีพนี้เลย
“ในอดีตสื่อประเภทรับใช้บุคคลหรือพรรคการเมืองไม่เคยประสบความสำเร็จในวิชาชีพ ตั้งขึ้นมาก็ล้มหายตายจากไม่ว่า จะเป็นหนังสือพิมพ์สารเสรีของจอมพลฤษดิ์ ธนะรัชต์, หนังสือพิมพ์เจ้าพระยา ของรัฐบาลหอยหลัง 6 ตุลาฯ, หนังสือพิมพ์เดลิมิเรอร์ ของนายสมัคร สุนทรเวช หรืออีกหลายฉบับในปัจจุบันที่ได้รับเงินอุดหนุนจากนักการเมือง รวมทั้งวิทยุชุมชนหลายสิบคลื่นของบรรดาแนวร่วมพิทักษ์ระบอบทักษิณทั้งหลายในช่วงปลายรัฐบาลทักษิณ สุดท้ายก็ไม่ได้รับความเชื่อถือจากประชาชน และมีสถานะเพียงสื่อเทียมเท่านั้น” นายอภิชาต กล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 21 ก.พ. 2550--จบ--
อย่างไรก็ตาม นายอภิชาต กล่าวว่า เป็นสิทธิของกลุ่มคนดังกล่าวที่จะตั้งสถานีโทรทัศน์ ถือเป็นเสรีภาพในการแสดงออกเพื่อการสื่อสารในระบอบประชาธิปไตย แต่ต้องระวังไม่ให้ไปละเมิดกฎหมาย โดยเฉพาะ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม เมื่อยังไม่มีคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ (กสช.) การตั้งสถานีโทรทัศน์ขึ้นมาใหม่อาจจะต้องเลี่ยงไปยิงสัญญาณขึ้นดาวเทียมในต่างประเทศ
เตือนสื่อแท้ต้องทำหน้าที่เป็นกลาง-เที่ยงธรรม
รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า หากสถานีโทรทัศน์แห่งนี้ออกอากาศได้โดยไม่ขัดต่อกฎหมาย ก็เป็นเรื่องที่น่าติดตามต่อไปว่า เนื้อหาสาระจะออกมาอย่างไร จะทำหน้าที่เป็นสื่อมวลชน สมกับชื่อที่ตั้งว่า พีทีวี หรือทีวีประชาชน หรือจะเป็นเพียงกระบอกเสียงส่วนตัวรับใช้ คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง จึงอยากจะฝากบอกว่า การจะทำธุรกิจสื่อไม่ใช่เรื่องยาก แต่การเป็นสื่อมวลชนนั้นไม่ง่าย เพราะต้องทำหน้าที่อย่างเป็นกลางและเที่ยงธรรมตามหลักการวิชาชีพสื่อสารมวลชน ถ้าทำไม่ได้หรือไม่มีจิตสำนึกที่จะเป็นสื่อมวลชนที่แท้จริงแล้ว ก็อย่าเข้ามาสร้างความแปดเปื้อนให้กับวิชาชีพนี้เลย
“ในอดีตสื่อประเภทรับใช้บุคคลหรือพรรคการเมืองไม่เคยประสบความสำเร็จในวิชาชีพ ตั้งขึ้นมาก็ล้มหายตายจากไม่ว่า จะเป็นหนังสือพิมพ์สารเสรีของจอมพลฤษดิ์ ธนะรัชต์, หนังสือพิมพ์เจ้าพระยา ของรัฐบาลหอยหลัง 6 ตุลาฯ, หนังสือพิมพ์เดลิมิเรอร์ ของนายสมัคร สุนทรเวช หรืออีกหลายฉบับในปัจจุบันที่ได้รับเงินอุดหนุนจากนักการเมือง รวมทั้งวิทยุชุมชนหลายสิบคลื่นของบรรดาแนวร่วมพิทักษ์ระบอบทักษิณทั้งหลายในช่วงปลายรัฐบาลทักษิณ สุดท้ายก็ไม่ได้รับความเชื่อถือจากประชาชน และมีสถานะเพียงสื่อเทียมเท่านั้น” นายอภิชาต กล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 21 ก.พ. 2550--จบ--