บันทึกการประชุมร่วมกันของรัฐสภา
ครั้งที่ ๗ (สมัยสามัญทั่วไป)
วันพุธที่ ๘ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๔๘
ณ ตึกรัฐสภา
--------------------------
เริ่มประชุมเวลา ๐๙.๓๕ นาฬิกา
เมื่อครบองค์ประชุมแล้ว นายโภคิน พลกุล ประธานรัฐสภา และนายสุชน ชาลีเครือ
รองประธานรัฐสภาขึ้นบัลลังก์ ประธานรัฐสภากล่าวเปิดประชุมและแจ้งให้ ที่ประชุมรับทราบเรื่อง
การถ่ายทอดการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช ….
ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย และสถานีวิทยุกระจายเสียงรัฐสภาตามปกติแล้ว ประธานรัฐสภา
ได้อนุญาตให้มีการ ถ่ายทอดการประชุมทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง ๑๑ กรมประชาสัมพันธ์
จนกว่าการพิจารณาจะแล้วเสร็จ
ที่ประชุมรับทราบ
จากนั้น ประธานรัฐสภาได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาเรื่องด่วน คือ
ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช ….
(แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา ๑๓๘ (๑) (๒) (๔) มาตรา ๒๕๗ (๑) และมาตรา ๒๙๗ วรรคสาม)
ซึ่ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวน ๑๑๖ คน เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑)
โดยที่ประชุมเห็นชอบให้นำร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติมทำนองเดียวกันอีก ๑ ฉบับ
ขึ้นมาพิจารณารวมกันไป คือ ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช ….
(แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา ๒๙๗) ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๒)
เมื่อพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และนายอภิสิทธิ์
เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรได้แถลงหลักการและเหตุผล ตามลำดับ
มีสมาชิกฯ อภิปราย และรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) ตอบชี้แจง
โดยมีประธานรัฐสภาและรองประธานรัฐสภาได้ผลัดเปลี่ยนกันดำเนินการประชุม และเมื่อ
การอภิปรายดำเนินมาจนได้เวลาพอสมควรแล้วที่ประชุมได้มีมติให้ปิดอภิปราย ต่อมาประธาน
รัฐสภาได้อนุญาตให้ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรอภิปรายสรุป และก่อนที่
ที่ประชุมจะลงมติ ประธานรัฐสภาได้ปรึกษาที่ประชุมเพื่อขอให้ลงมติแห่งร่างรัฐธรรมนูญฯ
ทั้งสองฉบับในคราวเดียวกัน โดยวิธีเรียกชื่อสมาชิกตามลำดับอักษร
ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช …. (แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา ๑๓๘ (๑)
(๒) (๔) มาตรา ๒๕๗ (๑) และมาตรา ๒๙๗ วรรคสาม) รับหลักการ ๒๑๓ เสียง
ไม่รับหลักการ ๒๑ เสียง และงดออกเสียง ๔๒๒ เสียง และลงมติในวาระที่ ๑
ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช ….
(แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา ๒๙๗) รับหลักการ ๕๐๙ เสียง ไม่รับหลักการ ๑๓๔ เสียง
และงดออกเสียง ๑๓ เสียง
จึงถือว่าที่ประชุมมีมติรับหลักการแห่งร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม
(ฉบับที่ ..) พุทธศักราช …. (แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา ๒๙๗) เพราะมีคะแนนเสียงเห็นชอบ
กับหลักการมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา (จำนวนสมาชิกของ
ทั้งสองสภามี ๗๐๐ คน โดยมีสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎร จำนวน ๕๐๐ คน
และมีสมาชิกวุฒิสภามี ๒๐๐ คน) และมีมติให้ ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๔๕ คน
เพื่อพิจารณา คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
๐๑. นายสัก กอแสงเรือง ๐๒. นายสุนทร จินดาอินทร์
๐๓. นายทองใบ ทองเปาด์ ๐๔. นายชุมพล ศิลปอาชา
๐๕. นายประสิทธิ์ ปทุมารักษ์ ๐๖. นายณรงค์ นุ่นทอง
๐๗. นายนิวัฒน์ พ้นชั่ว ๐๘. นายพิเชฐ พัฒนโชติ
๐๙. พลตำรวจเอก วิรุฬห์ พื้นแสน ๑๐. นายสุรสิทธิ์ ฉัตรชัยเดช
๑๑. นายสุรชัย ดนัยตั้งตระกูล ๑๒. นายถวิล ไพรสณฑ์
๑๓. นายการุณ ใสงาม ๑๔. นายอำนวย คลังผา
๑๕. นายจำลอง ครุฑขุนทด ๑๖. ศาสตราจารย์ลิขิต ธีรเวคิน
๑๗. นายสุขุมพงศ์ โง่นคำ ๑๘. นายสามารถ แก้วมีชัย
๑๙. นายวุฒิพงศ์ ฉายแสง ๒๐. นายวีระ มุสิกพงศ์
๒๑. รองศาสตราจารย์ชูศักดิ์ ศิรินิล ๒๒. นายประชาธิปไตย คำสิงห์นอก
๒๓. นายสัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์ ๒๔. นายอรรถสิทธิ์ (คันคาย) ทรัพยสิทธิ์
๒๕. นายปวีณ แซ่จึง ๒๖. นายวัฒนา เซ่งไพเราะ
๒๗. นางสาวสุณีย์ เหลืองวิจิตร ๒๘. นางสาวปารีณา ไกรคุปต์
๒๙. นายภิมุข สิมะโรจน์ ๓๐. นายสุทิน คลังแสง
๓๑. นายประเวช รัตนเพียร ๓๒. นายนพคุณ รัฐผไท
๓๓. นายเอกธนัช อินทร์รอด ๓๔. นายทวีศักดิ์ อนรรฆพันธ์
๓๕. นางบุญรื่น ศรีธเรศ ๓๖. นายเรวัต แสงวิจิตร
๓๗. นายพินิจ จันทรสุรินทร์ ๓๘. นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์
๓๙. นายชำนิ ศักดิเศรษฐ์ ๔๐. นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ
๔๑. นายวิทยา แก้วภราดัย ๔๒. นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค
๔๓. นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ๔๔. นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล
๔๕. นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๓ วัน
เลิกประชุมเวลา ๒๓.๑๐ นาฬิกา
(นายพิทูร พุ่มหิรัญ)
เลขาธิการรัฐสภา
สำนักรายงานการประชุมและชวเลข
กลุ่มงานรายงานการประชุม
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒ - ๓
โทรสาร ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒
สรุปผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
รับหลักการแห่งร่างรัฐธรรมนูญ จำนวน ๑ ฉบับ คือ
- รับหลักการแห่งร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..)
พุทธศักราช ….
******************************
ครั้งที่ ๗ (สมัยสามัญทั่วไป)
วันพุธที่ ๘ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๔๘
ณ ตึกรัฐสภา
--------------------------
เริ่มประชุมเวลา ๐๙.๓๕ นาฬิกา
เมื่อครบองค์ประชุมแล้ว นายโภคิน พลกุล ประธานรัฐสภา และนายสุชน ชาลีเครือ
รองประธานรัฐสภาขึ้นบัลลังก์ ประธานรัฐสภากล่าวเปิดประชุมและแจ้งให้ ที่ประชุมรับทราบเรื่อง
การถ่ายทอดการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช ….
ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย และสถานีวิทยุกระจายเสียงรัฐสภาตามปกติแล้ว ประธานรัฐสภา
ได้อนุญาตให้มีการ ถ่ายทอดการประชุมทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง ๑๑ กรมประชาสัมพันธ์
จนกว่าการพิจารณาจะแล้วเสร็จ
ที่ประชุมรับทราบ
จากนั้น ประธานรัฐสภาได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาเรื่องด่วน คือ
ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช ….
(แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา ๑๓๘ (๑) (๒) (๔) มาตรา ๒๕๗ (๑) และมาตรา ๒๙๗ วรรคสาม)
ซึ่ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวน ๑๑๖ คน เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑)
โดยที่ประชุมเห็นชอบให้นำร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติมทำนองเดียวกันอีก ๑ ฉบับ
ขึ้นมาพิจารณารวมกันไป คือ ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช ….
(แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา ๒๙๗) ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๒)
เมื่อพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และนายอภิสิทธิ์
เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรได้แถลงหลักการและเหตุผล ตามลำดับ
มีสมาชิกฯ อภิปราย และรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) ตอบชี้แจง
โดยมีประธานรัฐสภาและรองประธานรัฐสภาได้ผลัดเปลี่ยนกันดำเนินการประชุม และเมื่อ
การอภิปรายดำเนินมาจนได้เวลาพอสมควรแล้วที่ประชุมได้มีมติให้ปิดอภิปราย ต่อมาประธาน
รัฐสภาได้อนุญาตให้ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรอภิปรายสรุป และก่อนที่
ที่ประชุมจะลงมติ ประธานรัฐสภาได้ปรึกษาที่ประชุมเพื่อขอให้ลงมติแห่งร่างรัฐธรรมนูญฯ
ทั้งสองฉบับในคราวเดียวกัน โดยวิธีเรียกชื่อสมาชิกตามลำดับอักษร
ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช …. (แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา ๑๓๘ (๑)
(๒) (๔) มาตรา ๒๕๗ (๑) และมาตรา ๒๙๗ วรรคสาม) รับหลักการ ๒๑๓ เสียง
ไม่รับหลักการ ๒๑ เสียง และงดออกเสียง ๔๒๒ เสียง และลงมติในวาระที่ ๑
ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช ….
(แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา ๒๙๗) รับหลักการ ๕๐๙ เสียง ไม่รับหลักการ ๑๓๔ เสียง
และงดออกเสียง ๑๓ เสียง
จึงถือว่าที่ประชุมมีมติรับหลักการแห่งร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม
(ฉบับที่ ..) พุทธศักราช …. (แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา ๒๙๗) เพราะมีคะแนนเสียงเห็นชอบ
กับหลักการมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา (จำนวนสมาชิกของ
ทั้งสองสภามี ๗๐๐ คน โดยมีสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎร จำนวน ๕๐๐ คน
และมีสมาชิกวุฒิสภามี ๒๐๐ คน) และมีมติให้ ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๔๕ คน
เพื่อพิจารณา คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
๐๑. นายสัก กอแสงเรือง ๐๒. นายสุนทร จินดาอินทร์
๐๓. นายทองใบ ทองเปาด์ ๐๔. นายชุมพล ศิลปอาชา
๐๕. นายประสิทธิ์ ปทุมารักษ์ ๐๖. นายณรงค์ นุ่นทอง
๐๗. นายนิวัฒน์ พ้นชั่ว ๐๘. นายพิเชฐ พัฒนโชติ
๐๙. พลตำรวจเอก วิรุฬห์ พื้นแสน ๑๐. นายสุรสิทธิ์ ฉัตรชัยเดช
๑๑. นายสุรชัย ดนัยตั้งตระกูล ๑๒. นายถวิล ไพรสณฑ์
๑๓. นายการุณ ใสงาม ๑๔. นายอำนวย คลังผา
๑๕. นายจำลอง ครุฑขุนทด ๑๖. ศาสตราจารย์ลิขิต ธีรเวคิน
๑๗. นายสุขุมพงศ์ โง่นคำ ๑๘. นายสามารถ แก้วมีชัย
๑๙. นายวุฒิพงศ์ ฉายแสง ๒๐. นายวีระ มุสิกพงศ์
๒๑. รองศาสตราจารย์ชูศักดิ์ ศิรินิล ๒๒. นายประชาธิปไตย คำสิงห์นอก
๒๓. นายสัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์ ๒๔. นายอรรถสิทธิ์ (คันคาย) ทรัพยสิทธิ์
๒๕. นายปวีณ แซ่จึง ๒๖. นายวัฒนา เซ่งไพเราะ
๒๗. นางสาวสุณีย์ เหลืองวิจิตร ๒๘. นางสาวปารีณา ไกรคุปต์
๒๙. นายภิมุข สิมะโรจน์ ๓๐. นายสุทิน คลังแสง
๓๑. นายประเวช รัตนเพียร ๓๒. นายนพคุณ รัฐผไท
๓๓. นายเอกธนัช อินทร์รอด ๓๔. นายทวีศักดิ์ อนรรฆพันธ์
๓๕. นางบุญรื่น ศรีธเรศ ๓๖. นายเรวัต แสงวิจิตร
๓๗. นายพินิจ จันทรสุรินทร์ ๓๘. นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์
๓๙. นายชำนิ ศักดิเศรษฐ์ ๔๐. นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ
๔๑. นายวิทยา แก้วภราดัย ๔๒. นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค
๔๓. นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ๔๔. นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล
๔๕. นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๓ วัน
เลิกประชุมเวลา ๒๓.๑๐ นาฬิกา
(นายพิทูร พุ่มหิรัญ)
เลขาธิการรัฐสภา
สำนักรายงานการประชุมและชวเลข
กลุ่มงานรายงานการประชุม
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒ - ๓
โทรสาร ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒
สรุปผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
รับหลักการแห่งร่างรัฐธรรมนูญ จำนวน ๑ ฉบับ คือ
- รับหลักการแห่งร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..)
พุทธศักราช ….
******************************