สัปดาห์ที่แล้วได้เสนอให้วุฒิสภาเป็นพื้นที่สำหรับนักการเมืองภาคประชาชนที่ไม่สังกัดพรรค ทำหน้าที่กลั่นกรอง ยับยั้ง และสามารถริเริ่มเสนอกฎหมายได้ สัปดาห์นี้จะขอชี้ประเด็นที่เป็นหัวใจเกี่ยวกับสภาผู้แทนราษฎรบ้าง โดยเฉพาะขณะนี้มีข้อเสนอมากมาย เกี่ยวกับจำนวนและประเภทของ สส. ระบบเลือกตั้ง และ ความสัมพันธ์ระหว่าง สส.กับพรรคการเมือง สิ่งที่เห็นได้ชัดคือ ข้อเสนอส่วนใหญ่มุ่งแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากกรณีของพรรคไทยรักไทย และ ระบอบทักษิณ แต่หลายข้อเสนอขาดหลักการพื้นฐานรองรับ และไม่สอดคล้องกับระบบรัฐสภา
ประเทศไทยใช้ระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา เพราะเรามีสถาบันพระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นประมุขของรัฐ
ในระบบรัฐสภา หัวหน้ารัฐบาลมักจะไม่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง แต่มาจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้ง รัฐบาลจึงก่อกำเนิดมาจากสภาผู้แทนราษฎร รับผิดชอบต่อสภาผู้แทนราษฎร และมีเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปอย่างราบรื่น
เจตนารมณ์ของประชาชนในการชี้นำทิศทางของประเทศจึงต้องสะท้อนผ่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.)
ทำไมสส.ต้องสังกัดพรรค
ในระบบรัฐสภาทั่วโลก พรรคการเมืองจะเป็นสถาบันหรือแกนหลักของระบบ เพราะพรรคการเมืองทำหน้าที่เป็นผู้รวบรวม สส.ที่มีแนวคิดตรงกัน แสดงออกถึงทางเลือกที่มีอยู่ของสังคมผ่านการนำเสนอนโยบาย ประชาชนที่ไปลงคะแนนจะสามารถทราบได้ว่า ผู้สมัครสส. แต่ละคน จะไปสนับสนุนใครเป็นผู้นำประเทศ จะผลักดันนโยบายในเรื่องใด และมีจุดยืนต่อประเด็นปัญหาสำคัญต่างๆอย่างไร การสังกัดพรรคของสส. จึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ของประชาชนในการเลือกตั้งและเป็นข้อผูกมัด สส.ให้ดำเนินงานทางการเมืองในสภาให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของผู้เลือกสส.
แน่นอนที่สุด ประโยชน์เหล่านี้ก็ต้องแลกกับความอิสระส่วนหนึ่งที่เสียไปของสส. แต่ละคน เพราะกรอบมติพรรคจะเป็นข้อจำกัด
แต่เป็นข้อจำกัดที่ทำให้รัฐบาลมีเสถียรภาพที่จะทำงานได้
ความคิดที่จะให้สส. ไม่ต้องสังกัดพรรค คิดเพียงแต่จะทำลายข้อจำกัดนี้ แต่มองข้ามผลเสียต่อระบบโดยรวม
หากสส.จำนวนมากทำงานโดยไม่มีใครทราบล่วงหน้า ว่าจะลงมติกันอย่างไรในแต่ละเรื่อง นอกจากจะสร้างความโกลาหลได้ง่ายๆแล้ว ยังทำให้การนำเจตนารมณ์ของประชาชนในเรื่องการกำหนดทิศทางอนาคตของประเทศเป็นเรื่องยาก หรือเป็นไปไม่ได้ เพราะอำนาจของประชาชนถูกโอนไปอยู่ที่สส. แต่ละคนที่จะตัดสินใจอย่างไรก็ได้หลังการเลือกตั้ง
การวิเคราะห์ข้างต้นได้รับการยืนยันจากประสบการณ์ในอดีตที่เคยเปิดโอกาสให้มีสส.อิสระ แล้วพบว่า สส.เหล่านี้สามารถใช้อำนาจต่อรองอย่างมากมายเพื่อประโยชน์ของตนเองจนวุ่นวาย ไม่ต่างจากบทบาทของสมาชิกสภาจังหวัด (สจ.) หรือ สมาชิกสภาเทศบาล(สท.)ที่ไม่สังกัดกลุ่มในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะในยุคที่ผู้บริหารท้องถิ่นยังไม่ได้มาจากการเลือกตั้งโดยตรง
หากรัฐธรรมนูญใหม่ไม่กำหนดให้สส.สังกัดพรรค
ประชาธิปไตยจะก้าวถอยหลังก้าวใหญ่
แต่หากอยากเพิ่มสมาชิกรัฐสภาที่เป็นอิสระ ก็น่าจะอยู่ในพื้นที่ของวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้ง โดยไม่ให้เกี่ยวข้องกับพรรคการเมือง
การย้ายพรรคของสส. กับข้อกำหนด ๙๐ วันที่ควรคงไว้
หากการสังกัดพรรคช่วยให้ สส.ต้องผูกมัด และรับผิดชอบต่อประชาชนที่เลือกตนเข้ามา การย้ายพรรคในอดีตส่วนใหญ่ คือการหนีความรับผิดชอบ เมื่อมีการเลือกตั้งครั้งต่อไป
เพราะการย้ายพรรค ตั้งพรรค เลิกพรรค อย่างไร้ขอบเขต ทำให้พรรคการเมืองไร้ความหมายในการเป็นตัวแทนของอุดมการณ์ ความคิด และกลายเป็นเพียงการรวมตัวของนักการเมืองเพื่อชัยชนะ และก้าวสู่อำนาจในการเลือกตั้งแต่ละครั้ง
หลายครั้ง การย้ายพรรค ทำให้นักการเมือง ฟอกตัวจากการทำงานในอดีตได้อย่างสิ้นเชิง และการย้ายพรรค คือ อุปสรรคสำคัญของการพัฒนาพรรคการเมืองไทยให้เป็นสถาบันมาโดยตลอด
ยิ่งระยะหลัง อำนาจทุนเข้ามาครอบงำการเมืองมากขึ้น มีการซื้อ-ขาย สส. ปัญหานี้ก็ยิ่งรุนแรงทับถมทวีคูณ
ผู้เขียนรัฐธรรมนูญปี๒๕๔๐จึงเอามาตรการ ๙๐ วัน มาต่อสู้กับการย้ายพรรค แต่โชคไม่ดี การบิดเบือนเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ โดยการยุบรวมพรรค การเกิดพรรคใหญ่ที่เป็นเพียงสมบัติส่วนตัวของนายทุนใหญ่ ผนวกกับบทบัญญัติอื่นๆ ที่ไปเสริมอำนาจของนายกรัฐมนตรี ( ห้ามสส.ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ระบบบัญชีรายชื่อ ข้อกำหนดเรื่องจำนวนสส. ที่ใช้ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ และ การถอดถอน) ทำให้ข้อกำหนด ๙๐ วัน ถูกมองแต่ในด้านลบ
แต่ปัญหาเหล่านั้น ควรได้รับการแก้ไขให้ถูกจุด เช่น ยกเลิกการห้ามสส. ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี จัดระเบียบระบบการเงินของพรรคการเมืองและนักการเมืองทั้งรายรับและรายจ่าย การห้ามควบรวมพรรค การเลิกเงื่อนไขกำหนดจำนวนสส. ที่ใช้ในการตรวจสอบ แต่มาตรการไม่ให้ย้ายพรรคกันง่ายๆ ควรคงไว้
เพื่อพัฒนาความเป็นสถาบันและความรับผิดชอบของพรรคการเมือง
เพื่อให้นักการเมืองมีความรับผิดชอบในการตัดสินใจสังกัดพรรค
ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นไปเพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางของประเทศได้อย่างมีประสิทธิผลมากขึ้น
เพราะหากพรรคการเมืองอ่อนแอ รัฐบาลอ่อนแอเพราะสส.ต่อรองกับพรรคได้มากขึ้น
อำนาจก็จะหลุดลอยไปจากประชาชน ไปอยู่ในมือ สส.มากขึ้น
ปรับปรุงข้อกำหนด ๙๐ วัน เพื่อรองรับบางกรณี
อย่างไรก็ตามข้อกำหนด ๙๐ วัน ก็ควรมีข้อยกเว้นอยู่บ้าง อย่างน้อยๆที่พบเห็นจากประสบการณ์ ก็มี ๓ กรณี
กรณีแรก ข้อกำหนดนี้ไม่ควรใช้กับบุคคลที่ไม่ได้เป็น สส. หรือ สังกัดพรรคมาก่อน เพราะเป็นการปิดกั้นคนจำนวนไม่น้อยที่สมัคร สส. ไม่ได้ เพราะเตรียมตัวไม่ทัน ในกรณีที่มีการยุบสภา ทำให้วงการเมืองยิ่งแคบ และมีการผูกขาดในกลุ่มนักการเมืองมากขึ้น
กรณีที่สอง หากสส. คนใดขัดแย้งทางความคิดกับพรรคอย่างรุนแรง แต่พรรคไม่มีมติขับออก (เพราะจะทำให้ย้ายพรรคได้ หากศาลรัฐธรรมนูญตีความว่ามตินั้นไม่ชอบ) เดิม สส.คนดังกล่าวไม่มีทางเลือก เพราะหากลาออกจากพรรคก็ต้องสูญเสียทั้งสถานภาพ สส. และพื้นที่เขตเลือกตั้งของตน จึงทำให้ สส. อยู่ในสภาพจำยอมที่ต้องอยู่ในพรรคต่อไป จึงควรอนุญาตให้ สส.ที่พร้อมจะลาออกเพื่อประท้วงพรรค ย้ายพรรคได้ทันที เพื่อจะสมัครเลือกตั้งซ่อมแข่งกับพรรคเดิม โดยให้ประชาชนจะเป็นผู้ตัดสิน
กรณีที่สาม คือกรณีที่ สส. อาจถูกหัวหน้าพรรค กลั่นแกล้ง ไม่ส่งลงสมัครรับเลือกตั้ง โดยไม่ให้เวลาในการย้ายพรรค กรณีนี้อาจแก้ได้โดยในกรณีที่มีการยุบสภา พรรคการเมืองจะต้องมีมติเกี่ยวกับการส่งอดีตสส.ลงสมัครโดยพลัน หากไม่ส่งอดีตสส.คนใด ก็เปิดโอกาสให้ผู้นั้นย้ายพรรคได้
มาตรการเหล่านี้ น่าจะเพียงพอต่อการคุ้มครองสิทธิของสส. โดยไม่กระทบกระเทือนพัฒนาการของระบบพรรคการเมือง
ที่เสนอทั้งหมดนี้ก็ด้วยหลักคิดง่ายๆว่า การปกครองในระบอบประชาธิปไตย คือ การยึดเจตนารมณ์ของประชาชนเป็นใหญ่ ประชาธิปไตยควรเดินไปข้างหน้า อย่าย้อนกลับไปอยู่ในสภาพที่อำนาจตกอยู่ในมือของนักการเมืองกลุ่มหนึ่งที่จะต่อรองกัน
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 4 ก.พ. 2550--จบ--
ประเทศไทยใช้ระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา เพราะเรามีสถาบันพระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นประมุขของรัฐ
ในระบบรัฐสภา หัวหน้ารัฐบาลมักจะไม่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง แต่มาจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้ง รัฐบาลจึงก่อกำเนิดมาจากสภาผู้แทนราษฎร รับผิดชอบต่อสภาผู้แทนราษฎร และมีเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปอย่างราบรื่น
เจตนารมณ์ของประชาชนในการชี้นำทิศทางของประเทศจึงต้องสะท้อนผ่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.)
ทำไมสส.ต้องสังกัดพรรค
ในระบบรัฐสภาทั่วโลก พรรคการเมืองจะเป็นสถาบันหรือแกนหลักของระบบ เพราะพรรคการเมืองทำหน้าที่เป็นผู้รวบรวม สส.ที่มีแนวคิดตรงกัน แสดงออกถึงทางเลือกที่มีอยู่ของสังคมผ่านการนำเสนอนโยบาย ประชาชนที่ไปลงคะแนนจะสามารถทราบได้ว่า ผู้สมัครสส. แต่ละคน จะไปสนับสนุนใครเป็นผู้นำประเทศ จะผลักดันนโยบายในเรื่องใด และมีจุดยืนต่อประเด็นปัญหาสำคัญต่างๆอย่างไร การสังกัดพรรคของสส. จึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ของประชาชนในการเลือกตั้งและเป็นข้อผูกมัด สส.ให้ดำเนินงานทางการเมืองในสภาให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของผู้เลือกสส.
แน่นอนที่สุด ประโยชน์เหล่านี้ก็ต้องแลกกับความอิสระส่วนหนึ่งที่เสียไปของสส. แต่ละคน เพราะกรอบมติพรรคจะเป็นข้อจำกัด
แต่เป็นข้อจำกัดที่ทำให้รัฐบาลมีเสถียรภาพที่จะทำงานได้
ความคิดที่จะให้สส. ไม่ต้องสังกัดพรรค คิดเพียงแต่จะทำลายข้อจำกัดนี้ แต่มองข้ามผลเสียต่อระบบโดยรวม
หากสส.จำนวนมากทำงานโดยไม่มีใครทราบล่วงหน้า ว่าจะลงมติกันอย่างไรในแต่ละเรื่อง นอกจากจะสร้างความโกลาหลได้ง่ายๆแล้ว ยังทำให้การนำเจตนารมณ์ของประชาชนในเรื่องการกำหนดทิศทางอนาคตของประเทศเป็นเรื่องยาก หรือเป็นไปไม่ได้ เพราะอำนาจของประชาชนถูกโอนไปอยู่ที่สส. แต่ละคนที่จะตัดสินใจอย่างไรก็ได้หลังการเลือกตั้ง
การวิเคราะห์ข้างต้นได้รับการยืนยันจากประสบการณ์ในอดีตที่เคยเปิดโอกาสให้มีสส.อิสระ แล้วพบว่า สส.เหล่านี้สามารถใช้อำนาจต่อรองอย่างมากมายเพื่อประโยชน์ของตนเองจนวุ่นวาย ไม่ต่างจากบทบาทของสมาชิกสภาจังหวัด (สจ.) หรือ สมาชิกสภาเทศบาล(สท.)ที่ไม่สังกัดกลุ่มในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะในยุคที่ผู้บริหารท้องถิ่นยังไม่ได้มาจากการเลือกตั้งโดยตรง
หากรัฐธรรมนูญใหม่ไม่กำหนดให้สส.สังกัดพรรค
ประชาธิปไตยจะก้าวถอยหลังก้าวใหญ่
แต่หากอยากเพิ่มสมาชิกรัฐสภาที่เป็นอิสระ ก็น่าจะอยู่ในพื้นที่ของวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้ง โดยไม่ให้เกี่ยวข้องกับพรรคการเมือง
การย้ายพรรคของสส. กับข้อกำหนด ๙๐ วันที่ควรคงไว้
หากการสังกัดพรรคช่วยให้ สส.ต้องผูกมัด และรับผิดชอบต่อประชาชนที่เลือกตนเข้ามา การย้ายพรรคในอดีตส่วนใหญ่ คือการหนีความรับผิดชอบ เมื่อมีการเลือกตั้งครั้งต่อไป
เพราะการย้ายพรรค ตั้งพรรค เลิกพรรค อย่างไร้ขอบเขต ทำให้พรรคการเมืองไร้ความหมายในการเป็นตัวแทนของอุดมการณ์ ความคิด และกลายเป็นเพียงการรวมตัวของนักการเมืองเพื่อชัยชนะ และก้าวสู่อำนาจในการเลือกตั้งแต่ละครั้ง
หลายครั้ง การย้ายพรรค ทำให้นักการเมือง ฟอกตัวจากการทำงานในอดีตได้อย่างสิ้นเชิง และการย้ายพรรค คือ อุปสรรคสำคัญของการพัฒนาพรรคการเมืองไทยให้เป็นสถาบันมาโดยตลอด
ยิ่งระยะหลัง อำนาจทุนเข้ามาครอบงำการเมืองมากขึ้น มีการซื้อ-ขาย สส. ปัญหานี้ก็ยิ่งรุนแรงทับถมทวีคูณ
ผู้เขียนรัฐธรรมนูญปี๒๕๔๐จึงเอามาตรการ ๙๐ วัน มาต่อสู้กับการย้ายพรรค แต่โชคไม่ดี การบิดเบือนเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ โดยการยุบรวมพรรค การเกิดพรรคใหญ่ที่เป็นเพียงสมบัติส่วนตัวของนายทุนใหญ่ ผนวกกับบทบัญญัติอื่นๆ ที่ไปเสริมอำนาจของนายกรัฐมนตรี ( ห้ามสส.ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ระบบบัญชีรายชื่อ ข้อกำหนดเรื่องจำนวนสส. ที่ใช้ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ และ การถอดถอน) ทำให้ข้อกำหนด ๙๐ วัน ถูกมองแต่ในด้านลบ
แต่ปัญหาเหล่านั้น ควรได้รับการแก้ไขให้ถูกจุด เช่น ยกเลิกการห้ามสส. ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี จัดระเบียบระบบการเงินของพรรคการเมืองและนักการเมืองทั้งรายรับและรายจ่าย การห้ามควบรวมพรรค การเลิกเงื่อนไขกำหนดจำนวนสส. ที่ใช้ในการตรวจสอบ แต่มาตรการไม่ให้ย้ายพรรคกันง่ายๆ ควรคงไว้
เพื่อพัฒนาความเป็นสถาบันและความรับผิดชอบของพรรคการเมือง
เพื่อให้นักการเมืองมีความรับผิดชอบในการตัดสินใจสังกัดพรรค
ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นไปเพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางของประเทศได้อย่างมีประสิทธิผลมากขึ้น
เพราะหากพรรคการเมืองอ่อนแอ รัฐบาลอ่อนแอเพราะสส.ต่อรองกับพรรคได้มากขึ้น
อำนาจก็จะหลุดลอยไปจากประชาชน ไปอยู่ในมือ สส.มากขึ้น
ปรับปรุงข้อกำหนด ๙๐ วัน เพื่อรองรับบางกรณี
อย่างไรก็ตามข้อกำหนด ๙๐ วัน ก็ควรมีข้อยกเว้นอยู่บ้าง อย่างน้อยๆที่พบเห็นจากประสบการณ์ ก็มี ๓ กรณี
กรณีแรก ข้อกำหนดนี้ไม่ควรใช้กับบุคคลที่ไม่ได้เป็น สส. หรือ สังกัดพรรคมาก่อน เพราะเป็นการปิดกั้นคนจำนวนไม่น้อยที่สมัคร สส. ไม่ได้ เพราะเตรียมตัวไม่ทัน ในกรณีที่มีการยุบสภา ทำให้วงการเมืองยิ่งแคบ และมีการผูกขาดในกลุ่มนักการเมืองมากขึ้น
กรณีที่สอง หากสส. คนใดขัดแย้งทางความคิดกับพรรคอย่างรุนแรง แต่พรรคไม่มีมติขับออก (เพราะจะทำให้ย้ายพรรคได้ หากศาลรัฐธรรมนูญตีความว่ามตินั้นไม่ชอบ) เดิม สส.คนดังกล่าวไม่มีทางเลือก เพราะหากลาออกจากพรรคก็ต้องสูญเสียทั้งสถานภาพ สส. และพื้นที่เขตเลือกตั้งของตน จึงทำให้ สส. อยู่ในสภาพจำยอมที่ต้องอยู่ในพรรคต่อไป จึงควรอนุญาตให้ สส.ที่พร้อมจะลาออกเพื่อประท้วงพรรค ย้ายพรรคได้ทันที เพื่อจะสมัครเลือกตั้งซ่อมแข่งกับพรรคเดิม โดยให้ประชาชนจะเป็นผู้ตัดสิน
กรณีที่สาม คือกรณีที่ สส. อาจถูกหัวหน้าพรรค กลั่นแกล้ง ไม่ส่งลงสมัครรับเลือกตั้ง โดยไม่ให้เวลาในการย้ายพรรค กรณีนี้อาจแก้ได้โดยในกรณีที่มีการยุบสภา พรรคการเมืองจะต้องมีมติเกี่ยวกับการส่งอดีตสส.ลงสมัครโดยพลัน หากไม่ส่งอดีตสส.คนใด ก็เปิดโอกาสให้ผู้นั้นย้ายพรรคได้
มาตรการเหล่านี้ น่าจะเพียงพอต่อการคุ้มครองสิทธิของสส. โดยไม่กระทบกระเทือนพัฒนาการของระบบพรรคการเมือง
ที่เสนอทั้งหมดนี้ก็ด้วยหลักคิดง่ายๆว่า การปกครองในระบอบประชาธิปไตย คือ การยึดเจตนารมณ์ของประชาชนเป็นใหญ่ ประชาธิปไตยควรเดินไปข้างหน้า อย่าย้อนกลับไปอยู่ในสภาพที่อำนาจตกอยู่ในมือของนักการเมืองกลุ่มหนึ่งที่จะต่อรองกัน
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 4 ก.พ. 2550--จบ--