การผลิต
ในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2550 ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอาหาร (ไม่รวมผลิตภัณฑ์ น้ำตาลทราย) ลดลงร้อยละ 17.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสแรก เนื่องจากการผลิตในกลุ่มผักผลไม้ ธัญพืชและแป้ง ปศุสัตว์ และประมง ลดลงร้อยละ 85.9 50.4 10 และ 5.9 ตามลำดับ (ตารางที่ 1) และหากพิจารณารวมการผลิตผลิตภัณฑ์น้ำตาลทรายจะทำให้ภาพรวมของภาวะการผลิตอุตสาหกรรมอาหาร เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนปรับตัวลดลงอย่างมาก ประมาณร้อยละ 59.1 เนื่องจากเป็นช่วงปิดหีบการผลิต สำหรับภาวะการผลิตผลิตภัณฑ์น้ำตาลทราย เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2549 พบว่าอัตราการผลิตเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 130.1 ตามการเพิ่มขึ้นของผลผลิตอ้อย
การผลิตในอุตสาหกรรมอาหารที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากภาวะภัยธรรมชาติ
ทำให้ผลผลิตพืชผลซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักลดลง ได้แก่ กลุ่มแปรรูปผักผลไม้ แม้ว่าการผลิตจะลดลงจาก
ไตรมาสก่อน แต่เมื่อเทียบกับปีก่อน ปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.9 เป็นผลจากผลผลิตผลไม้ออกสู่ตลาดจำนวนมาก ในส่วนกลุ่มผลิตภัณฑ์จากแป้งมันสำปะหลัง และธัญพืช การผลิตลดลงจากไตรมาสก่อน และไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 50.4 และ 8.7 จากระดับราคาที่สูงขึ้นตามการแข็งค่าของเงินบาท ทำให้ส่งออกได้ลดลง สำหรับการผลิตสินค้าแปรรูปปศุสัตว์ ลดลงจากไตรมาสก่อนและปีก่อน ร้อยละ 10.0 และ 11.3 เนื่องจากความกังวลในภาวะเศรษฐกิจของผู้บริโภค จึงชะลอการบริโภคลง ส่งผลให้การผลิตอาหารสัตว์ลดลงจากไตรมาสก่อนและปีก่อน ร้อยละ 1.5 และ 8.1
นอกจากนี้สินค้าอาหารกลุ่มแปรรูปประมง พบว่า มีการผลิตลดลงร้อยละ 5.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แม้ว่าค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นจะส่งผลดีต่อการนำเข้า แต่เนื่องจากวัตถุดิบปลาทูน่าในตลาดโลกลดลง ทำให้ราคาวัตถุดิบแพงขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากปัญหาโลกร้อน และได้ส่งผลกระทบต่อปริมาณวัตถุดิบนำเข้าอีกหลายชนิดลดลงด้วย เช่น นม และธัญพืช โดยการผลิตสินค้าอาหารเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบและบริโภคในประเทศ มีการผลิตเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนเล็กน้อย ได้แก่ น้ำมันพืชและผลิตภัณฑ์จากพืชน้ำมัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 ผลิตภัณฑ์นม เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2549 ปริมาณการผลิตน้ำมันพืชและผลิตภัณฑ์จากพืชน้ำมันลดลงร้อยละ 16.5 เป็นผลจากปาล์มน้ำมันมีผลผลิตลดลง และผลิตภัณฑ์นมขยายตัวเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.1 เนื่องจากเป็นช่วงเปิดภาคเรียนทำให้ความต้องการบริโภคนมเพิ่มขึ้น
ในส่วนภาพรวมการผลิตในอุตสาหกรรมอาหารครึ่งปี 2550 มีการขยายตัวลดลงในเกือบทุกกลุ่มสินค้า (ยกเว้นน้ำตาล) ประมาณร้อยละ 4.1 เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อส่งออก ส่วนหนึ่งมาจากการแข็งค่าของเงินบาท ทำให้การผลิตชะลอตัวลงทุกกลุ่ม เช่น ประมง ร้อยละ 8.3 ปศุสัตว์ร้อยละ 5.8 ผักผลไม้ ร้อยละ 9.7 แต่หากรวมการผลิตน้ำตาล ที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 30 ทำให้การผลิตในภาพรวมขยายตัวถึงร้อยละ 15.2 เมื่อเทียบกับปีก่อน นอกจากนี้การผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 เมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ถึงภาวะเศรษฐกิจที่อยู่ในช่วงชะลอตัว
2. การตลาด
2.1 ตลาดในประเทศ
ในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2550 ปริมาณการจำหน่ายสินค้าอาหารภายในประเทศ (ไม่รวมผลิตภัณฑ์น้ำตาลทราย) ลดลงร้อยละ 9.8 จากไตรมาสก่อน และร้อยละ 4.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (ตารางที่ 2) เป็นผลมาจากความกังวลในภาวะเศรษฐกิจและการเมืองของผู้บริโภคที่ชะลอการจับจ่ายใช้สอย ทำให้ความต้องการลดลงในเกือบทุกกลุ่มสินค้าเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ได้แก่ ผักผลไม้ ร้อยละ 82.3 ผลิตภัณฑ์จากแป้งมันสำปะหลัง และธัญพืช ร้อยละ 24.2 ปศุสัตว์ ร้อยละ 8.2 และประมง ร้อยละ 6.9
สำหรับสินค้าอาหารอื่นๆ ที่มีการจำหน่ายเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนตามปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ น้ำมันพืช ร้อยละ 9.9 ผลิตภัณฑ์นม ร้อยละ 7.2 และบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ร้อยละ 6.7 ส่วนหนึ่งเป็นสินค้าพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต และราคาไม่เปลี่ยนแปลงจากการกำหนดราคาขั้นสูงของรัฐ
เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบการจำหน่ายในช่วงครึ่งปี 2549 และ 2550 พบว่า ภาพรวมการจำหน่ายในประเทศลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อนร้อยละ 3.4 และเมื่อพิจารณาเป็นหมวดสินค้าผลิตภัณฑ์ผักผลไม้ลดลงมากที่สุดร้อยละ 18.8 รองลงมา ได้แก่ น้ำมันพืช ร้อยละ 8.7 ปศุสัตว์ ร้อยละ 5.3 ธัญพืชและแป้ง ร้อยละ 3.8 และอาหารสัตว์ ร้อยละ 1.7 เนื่องจากประชาชนยังมีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจไม่ดีนัก จากปัจจัยด้านราคาน้ำมันเป็นสำคัญที่ส่งผลต่อต้นทุนและราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้น
2.2 ตลาดต่างประเทศ
1) การส่งออก
ในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2550 การส่งออกอุตสาหกรรมอาหาร มีมูลค่ารวม 3,544.8 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 145,002.1 ล้านบาท โดยขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.3 ในรูปเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 3.7 ในรูปของเงินบาท จากไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.8 ในรูปเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 11.5 ในรูปของเงินบาท จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (ตารางที่ 3-4) ซึ่งหากพิจารณาเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 พบว่า ภาวะการส่งออกในรูปของมูลค่ามีการขยายตัวเพิ่มขึ้นในทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์ ขณะที่ปริมาณส่งออกเพิ่มขึ้นในอัตราที่มากกว่า โดยสรุปจะเห็นได้ว่าค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น จะทำให้ราคาเปรียบเทียบสูงขึ้น แต่ในความเป็นจริง ผู้ส่งออกกลับไม่สามารถปรับเพิ่มราคาได้ และค่าเงินของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคได้ปรับเพิ่มขึ้นเช่นกัน อย่างไรก็ตามคุณภาพของสินค้าอาหารไทยยังเป็นที่น่าเชื่อถือซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญ ทำให้การส่งออกยังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แต่ผู้ส่งออกจะไม่ได้กำไรเพิ่มขึ้นมากนัก โดยเมื่อเทียบระหว่างครึ่งปี 2550 และ 2549 จะเห็นว่าอุตสาหกรรมอาหารโดยรวมมีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.1 ในรูปเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 17.0 ในรูปของเงินบาท สำหรับการส่งออกในแต่ละกลุ่มผลิตภัณฑ์ มีดังนี้
- กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูป มีมูลค่าการส่งออก 703.9 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 45,468.9 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 ในรูปเหรียญสหรัฐ และร้อยละ 3.4 ในรูปเงินบาท จากไตรมาสก่อน โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของอาหารทะเลสดแช่เย็นแช่แข็ง ร้อยละ 17.5 ในรูปเหรียญสหรัฐ และร้อยละ 6.1 ในรูปเงินบาท ส่วนอาหารทะเลกระป๋อง เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.7 ในรูปเหรียญสหรัฐ และร้อยละ 7.5 ในรูปเงินบาท และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน พบว่า การส่งออกในกลุ่มดังกล่าวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 ในรูปเหรียญสหรัฐ และร้อยละ 0.3 ในรูปเงินบาท สำหรับมูลค่าการส่งออกโดยเปรียบเทียบครึ่งปี 2550 มีมูลค่าการส่งออก 1,398.9 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 89,451.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2549 ร้อยละ 7.9 ในรูปเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 2.0 ในรูปเงินบาท ซึ่งหากพิจารณาการส่งออกสินค้าสำคัญในกลุ่ม คือ กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง และปลาทูน่ากระป๋อง พบว่า สามารถส่งออกได้เพิ่มขึ้นทั้งในเชิงปริมาณและมูลค่าในรูปเหรียญสหรัฐ และเงินบาท โดยสามารถเจาะตลาดใหม่ๆ ในอาฟริกาได้เพิ่มขึ้น ทดแทนตลาดหลักอย่างสหรัฐอเมริกาที่ขยายตัวในอัตราลดลง
- กลุ่มผลิตภัณฑ์ผักผลไม้แปรรูป มีมูลค่าการส่งออก 531.2 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 18,594.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.4 ในรูปเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 5.7 ในรูปเงินบาท จากไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.5 ในรูปเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 5.1 ในรูปเงินบาท จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เป็นผลมาจากการขยายตลาดส่งออกได้มากขึ้น ประกอบกับราคาส่งออกที่สูงขึ้น โดยเฉพาะผักผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็ง เนื่องจากผลผลิตในตลาดโลกลดลง และหากเปรียบเทียบระหว่างครึ่งปี 2550 และ 2549 พบว่า มูลค่าส่งออกผักผลไม้แปรรูปในภาพรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.5 และ 2.9 ในรูปเหรียญสหรัฐ และเงินบาท ตามลำดับ
- กลุ่มผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์แปรรูป มีมูลค่าการส่งออก 210.3 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 7,369.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.5 ในรูปเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 2.2 ในรูปเงินบาท จากไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.7 ในรูปเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 6.6 ในรูปเงินบาท เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะไก่แปรรูปที่มีการขยายตัวสูงขึ้น และได้มีการรับรองโรงงานแปรรูปเพิ่มขึ้นจากประเทศผู้นำเข้าหลัก คือ ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ประกอบกับได้เกิดการระบาดของโรคไข้หวัดนกในเวียดนาม รวมทั้งสหภาพยุโรปเร่งทำประวัติสั่งซื้อไก่จากไทยเพิ่มขึ้น เนื่องจากการเปลี่ยนระบบการนำเข้าเป็นระบบโควตา นอกจากนี้หากพิจารณาเปรียบเทียบระหว่างครึ่งปี 2550 และ 2549 มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.2 ในรูปเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 2.4 ในรูปเงินบาท โดยที่เป็นการขยายตัวของการส่งออกไก่สดแช่เย็นแช่แข็งเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 100
- กลุ่มผลิตภัณฑ์จากข้าว แป้ง และธัญพืช มีมูลค่าการส่งออก 1,281.2 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 44,919.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.2 ในรูปเหรียญสหรัฐ แต่ลดลงร้อยละ 2.2 ในรูปเงินบาท จากไตรมาสก่อน เป็นผลจากการปรับราคาส่งออกสูงขึ้นของผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง และความต้องการในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะประเทศจีน ซึ่งเป็นตลาดหลักในการส่งออกมันเส้นและแป้งมันสำปะหลัง รวมทั้งมีตลาดรองรับอื่นๆ ที่สำคัญ เช่น ญี่ปุ่น ไต้หวัน และมาเลเซีย และหากเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน พบว่า การส่งออกผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.0 ในรูปเหรียญสหรัฐ และร้อยละ 5.4 ในรูปเงินบาท โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของการส่งออกสินค้า เช่น ข้าว และผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง นอกจากนี้หากเปรียบเทียบระหว่างครึ่งปี 2550 และ 2549 มูลค่าการส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.6 ในรูปเหรียญสหรัฐ และร้อยละ 20.2 ในรูปเงินบาท
- กลุ่มผลิตภัณฑ์น้ำตาลทราย มีมูลค่าการส่งออก 458.6 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 16,029.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 157.9 ในรูปเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 134.4 ในรูปเงินบาท จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากปัจจัยด้านปริมาณวัตถุดิบที่ผลิตได้มากเป็นประวัติการณ์ ส่งผลให้ปริมาณน้ำตาลในตลาดโลกอยู่ในระดับสูง ราคาจึงลดลง และเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน พบว่า มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.3 ในรูปเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 29.7 ในรูปเงินบาท ขณะที่หากเปรียบเทียบระหว่างครึ่งปี 2550 และ 2549 พบว่า มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 180.7 ในรูปเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 154.4 ในรูปเงินบาท
- กลุ่มผลิตภัณฑ์อื่นๆ มีมูลค่าการส่งออก 359.7 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ12,620.4 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 0.4 ทั้งในรูปเหรียญสหรัฐ และในรูปเงินบาท จากไตรมาสก่อน และหากเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.6 ในรูปเหรียญสหรัฐ และร้อยละ 18.4 ในรูปเงินบาท โดยหากเปรียบเทียบระหว่างครึ่งปี 2550 และ 2549 มูลค่าการส่งออกในภาพรวมของกลุ่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 42.9 ในรูปเหรียญสหรัฐ และร้อยละ 29.3 ในรูปเงินบาท เป็นผลจากการส่งออกเพิ่มขึ้นในกลุ่มสินค้าประเภทไขมันพืชและสัตว์ ซุปและอาหารปรุงแต่ง เครื่องดื่ม และสิ่งปรุงรสอาหาร
2) การนำเข้า
การนำเข้าสินค้าอาหารของไทย ในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2550 มีมูลค่ารวม 1,196.5 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 42,754.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 6.4 ในรูปเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 4.8 ในรูปเงินบาท จากไตรมาสก่อน โดยเป็นการลดลงของการนำเข้าปลาทูน่าสดแช่เย็นแช่แข็ง ร้อยละ 8.0 ในรูปเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 6.1 ในรูปเงินบาท (ตารางที่ 5) และหากเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน จะพบว่า มูลค่าการนำเข้าสินค้าอาหารโดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.2 ในรูปเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 3.6 ในรูปเงินบาท จากการเพิ่มขึ้นของการนำเข้านมและผลิตภัณฑ์นม กากพืชน้ำมัน และเมล็ดพืชน้ำมันในอัตราร้อยละ 38.3 28.7 และ 18.5 ในรูปเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 24.6 17.4 และ 9.3 ในรูปเงินบาท ตามลำดับ
เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบระหว่างครึ่งปี 2549 และ 2550 จะพบว่า มูลค่าการนำเข้าสินค้าอาหารโดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.1 ในรูปเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 7.8 ในรูปเงินบาท โดยเป็นการนำเข้าเมล็ดพืชน้ำมันมากที่สุด ร้อยละ 84.6 ในรูปเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 68.8 ในรูปเงินบาท รองลงมา คือ กากพืชน้ำมัน ร้อยละ 43.3 ในรูปเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 30.0 ในรูปเงินบาท และนมและผลิตภัณฑ์นม ร้อยละ 29.5 ในรูปเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 16.8 ในรูปเงินบาท เป็นผลจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้การนำเข้าได้รับผลดีจากราคาเปรียบเทียบที่ลดลง
3. นโยบายของภาครัฐ
ในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2550 รัฐบาลได้ดำเนินนโยบายและมาตรการต่าง ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมอาหาร ส่วนใหญ่เป็นการให้ความช่วยเหลือกับเกษตรกรที่เป็นผู้ผลิตวัตถุดิบ เนื่องจากประสบปัญหาภัยธรรมชาติ ได้แก่
3.1 คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2550 รับทราบสถานการณ์ภัยแล้งและมาตรการการแก้ไขและช่วยเหลือผู้ประสบภัย ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ โดยเน้นให้การช่วยเหลือเกษตรกรในเรื่องน้ำเพื่อการบริโภคและการทำกิน เช่น การจัดหา ปรับปรุง ซ่อมแซมภาชนะเก็บกักน้ำ และการแจกจ่ายน้ำ
3.2 คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2550 รับทราบการช่วยเหลือและฟื้นฟูความเสียหายจากอุทกภัยใน 47 จังหวัด ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ โดยเฉพาะการฟื้นฟูสาธารณูปโภคพื้นฐานและเกษตรกร ทั้งนี้ จะนำข้อมูลระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์และเทคโนโลยีภาพถ่ายทางอากาศมาใช้ประกอบการพิจารณา เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นและป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นซ้ำในอนาคต
4. สรุปและแนวโน้ม
ภาวะอุตสาหกรรมอาหารโดยรวมในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2550 จัดอยู่ในช่วงชะลอตัวลงเล็กน้อย โดยภาคการผลิตบางส่วนจะได้รับผลกระทบจากการขาดแคลนวัตถุดิบจากภาวะภัยแล้งหรืออุทกภัยอยู่บ้าง ประกอบกับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคอยู่ในระดับชะลอตัวจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และการแข็งค่าขึ้นของเงินบาทในระยะที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามภาพรวมด้านการผลิตเพื่อการส่งออกยังสามารถสร้างความเชื่อถือในตัวสินค้าจากประเทศผู้นำเข้าได้เป็นอย่างดี ประกอบกับอุปทานในตลาดโลกลดลง เพราะประเทศผู้ผลิตที่สำคัญประสบปัญหาภัยธรรมชาติ และโรคระบาด รวมทั้งผู้ประกอบการสามารถปรับกลยุทธ์ด้านการตลาดในการเพิ่มช่องทางการค้า และแสวงหาตลาดใหม่ๆ ส่งผลให้การส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้น
สำหรับแนวโน้มของการผลิตและการส่งออกอุตสาหกรรมอาหาร ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 คาดว่า จะยังคงมีทิศทางการผลิต การจำหน่ายในประเทศและส่งออกที่ทรงตัวต่อเนื่องจากไตรมาสที่ผ่านมา ซึ่งผลของมาตรการรองรับปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่างๆ ทั้งในเรื่องของค่าเงินบาทที่แข็งค่า และภาวะเศรษฐกิจและการเมืองที่ไม่แน่นอน ยังต้องใช้ระยะเวลาเพื่อให้มาตรการเกิดประสิทธิผล ทำให้ผู้บริโภคอาจมีความกังวลและระมัดระวังในเรื่องการจับจ่ายใช้สอย นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงภายนอกอื่นๆ เช่น การแพร่ระบาดของเชื้อไข้หวัดนกรอบใหม่ ภัยธรรมชาติที่ไม่อาจคาดการณ์ได้จากภาวะโลกร้อน และมาตรการกีดกันการค้ารูปแบบต่างๆ ที่ประเทศผู้นำเข้าจะประกาศใช้ในอนาคต เช่น การประกาศมาตรการ IRA ต่อการนำเข้ากุ้งของออสเตรเลีย การประกาศมาตรการเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์สัมผัสอาหารของยุโรป มาตรการการบังคับปิดฉลากเพิ่มเติมของสหรัฐฯ และการประกาศเกณฑ์ขั้นต่ำของสารตกค้างในอาหารที่เข้มงวดมากขึ้นในหลายสินค้าของจีน ญี่ปุ่น และประเทศอื่นๆ
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2550 ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอาหาร (ไม่รวมผลิตภัณฑ์ น้ำตาลทราย) ลดลงร้อยละ 17.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสแรก เนื่องจากการผลิตในกลุ่มผักผลไม้ ธัญพืชและแป้ง ปศุสัตว์ และประมง ลดลงร้อยละ 85.9 50.4 10 และ 5.9 ตามลำดับ (ตารางที่ 1) และหากพิจารณารวมการผลิตผลิตภัณฑ์น้ำตาลทรายจะทำให้ภาพรวมของภาวะการผลิตอุตสาหกรรมอาหาร เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนปรับตัวลดลงอย่างมาก ประมาณร้อยละ 59.1 เนื่องจากเป็นช่วงปิดหีบการผลิต สำหรับภาวะการผลิตผลิตภัณฑ์น้ำตาลทราย เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2549 พบว่าอัตราการผลิตเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 130.1 ตามการเพิ่มขึ้นของผลผลิตอ้อย
การผลิตในอุตสาหกรรมอาหารที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากภาวะภัยธรรมชาติ
ทำให้ผลผลิตพืชผลซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักลดลง ได้แก่ กลุ่มแปรรูปผักผลไม้ แม้ว่าการผลิตจะลดลงจาก
ไตรมาสก่อน แต่เมื่อเทียบกับปีก่อน ปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.9 เป็นผลจากผลผลิตผลไม้ออกสู่ตลาดจำนวนมาก ในส่วนกลุ่มผลิตภัณฑ์จากแป้งมันสำปะหลัง และธัญพืช การผลิตลดลงจากไตรมาสก่อน และไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 50.4 และ 8.7 จากระดับราคาที่สูงขึ้นตามการแข็งค่าของเงินบาท ทำให้ส่งออกได้ลดลง สำหรับการผลิตสินค้าแปรรูปปศุสัตว์ ลดลงจากไตรมาสก่อนและปีก่อน ร้อยละ 10.0 และ 11.3 เนื่องจากความกังวลในภาวะเศรษฐกิจของผู้บริโภค จึงชะลอการบริโภคลง ส่งผลให้การผลิตอาหารสัตว์ลดลงจากไตรมาสก่อนและปีก่อน ร้อยละ 1.5 และ 8.1
นอกจากนี้สินค้าอาหารกลุ่มแปรรูปประมง พบว่า มีการผลิตลดลงร้อยละ 5.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แม้ว่าค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นจะส่งผลดีต่อการนำเข้า แต่เนื่องจากวัตถุดิบปลาทูน่าในตลาดโลกลดลง ทำให้ราคาวัตถุดิบแพงขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากปัญหาโลกร้อน และได้ส่งผลกระทบต่อปริมาณวัตถุดิบนำเข้าอีกหลายชนิดลดลงด้วย เช่น นม และธัญพืช โดยการผลิตสินค้าอาหารเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบและบริโภคในประเทศ มีการผลิตเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนเล็กน้อย ได้แก่ น้ำมันพืชและผลิตภัณฑ์จากพืชน้ำมัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 ผลิตภัณฑ์นม เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2549 ปริมาณการผลิตน้ำมันพืชและผลิตภัณฑ์จากพืชน้ำมันลดลงร้อยละ 16.5 เป็นผลจากปาล์มน้ำมันมีผลผลิตลดลง และผลิตภัณฑ์นมขยายตัวเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.1 เนื่องจากเป็นช่วงเปิดภาคเรียนทำให้ความต้องการบริโภคนมเพิ่มขึ้น
ในส่วนภาพรวมการผลิตในอุตสาหกรรมอาหารครึ่งปี 2550 มีการขยายตัวลดลงในเกือบทุกกลุ่มสินค้า (ยกเว้นน้ำตาล) ประมาณร้อยละ 4.1 เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อส่งออก ส่วนหนึ่งมาจากการแข็งค่าของเงินบาท ทำให้การผลิตชะลอตัวลงทุกกลุ่ม เช่น ประมง ร้อยละ 8.3 ปศุสัตว์ร้อยละ 5.8 ผักผลไม้ ร้อยละ 9.7 แต่หากรวมการผลิตน้ำตาล ที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 30 ทำให้การผลิตในภาพรวมขยายตัวถึงร้อยละ 15.2 เมื่อเทียบกับปีก่อน นอกจากนี้การผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 เมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ถึงภาวะเศรษฐกิจที่อยู่ในช่วงชะลอตัว
2. การตลาด
2.1 ตลาดในประเทศ
ในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2550 ปริมาณการจำหน่ายสินค้าอาหารภายในประเทศ (ไม่รวมผลิตภัณฑ์น้ำตาลทราย) ลดลงร้อยละ 9.8 จากไตรมาสก่อน และร้อยละ 4.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (ตารางที่ 2) เป็นผลมาจากความกังวลในภาวะเศรษฐกิจและการเมืองของผู้บริโภคที่ชะลอการจับจ่ายใช้สอย ทำให้ความต้องการลดลงในเกือบทุกกลุ่มสินค้าเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ได้แก่ ผักผลไม้ ร้อยละ 82.3 ผลิตภัณฑ์จากแป้งมันสำปะหลัง และธัญพืช ร้อยละ 24.2 ปศุสัตว์ ร้อยละ 8.2 และประมง ร้อยละ 6.9
สำหรับสินค้าอาหารอื่นๆ ที่มีการจำหน่ายเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนตามปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ น้ำมันพืช ร้อยละ 9.9 ผลิตภัณฑ์นม ร้อยละ 7.2 และบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ร้อยละ 6.7 ส่วนหนึ่งเป็นสินค้าพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต และราคาไม่เปลี่ยนแปลงจากการกำหนดราคาขั้นสูงของรัฐ
เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบการจำหน่ายในช่วงครึ่งปี 2549 และ 2550 พบว่า ภาพรวมการจำหน่ายในประเทศลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อนร้อยละ 3.4 และเมื่อพิจารณาเป็นหมวดสินค้าผลิตภัณฑ์ผักผลไม้ลดลงมากที่สุดร้อยละ 18.8 รองลงมา ได้แก่ น้ำมันพืช ร้อยละ 8.7 ปศุสัตว์ ร้อยละ 5.3 ธัญพืชและแป้ง ร้อยละ 3.8 และอาหารสัตว์ ร้อยละ 1.7 เนื่องจากประชาชนยังมีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจไม่ดีนัก จากปัจจัยด้านราคาน้ำมันเป็นสำคัญที่ส่งผลต่อต้นทุนและราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้น
2.2 ตลาดต่างประเทศ
1) การส่งออก
ในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2550 การส่งออกอุตสาหกรรมอาหาร มีมูลค่ารวม 3,544.8 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 145,002.1 ล้านบาท โดยขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.3 ในรูปเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 3.7 ในรูปของเงินบาท จากไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.8 ในรูปเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 11.5 ในรูปของเงินบาท จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (ตารางที่ 3-4) ซึ่งหากพิจารณาเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 พบว่า ภาวะการส่งออกในรูปของมูลค่ามีการขยายตัวเพิ่มขึ้นในทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์ ขณะที่ปริมาณส่งออกเพิ่มขึ้นในอัตราที่มากกว่า โดยสรุปจะเห็นได้ว่าค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น จะทำให้ราคาเปรียบเทียบสูงขึ้น แต่ในความเป็นจริง ผู้ส่งออกกลับไม่สามารถปรับเพิ่มราคาได้ และค่าเงินของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคได้ปรับเพิ่มขึ้นเช่นกัน อย่างไรก็ตามคุณภาพของสินค้าอาหารไทยยังเป็นที่น่าเชื่อถือซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญ ทำให้การส่งออกยังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แต่ผู้ส่งออกจะไม่ได้กำไรเพิ่มขึ้นมากนัก โดยเมื่อเทียบระหว่างครึ่งปี 2550 และ 2549 จะเห็นว่าอุตสาหกรรมอาหารโดยรวมมีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.1 ในรูปเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 17.0 ในรูปของเงินบาท สำหรับการส่งออกในแต่ละกลุ่มผลิตภัณฑ์ มีดังนี้
- กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูป มีมูลค่าการส่งออก 703.9 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 45,468.9 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 ในรูปเหรียญสหรัฐ และร้อยละ 3.4 ในรูปเงินบาท จากไตรมาสก่อน โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของอาหารทะเลสดแช่เย็นแช่แข็ง ร้อยละ 17.5 ในรูปเหรียญสหรัฐ และร้อยละ 6.1 ในรูปเงินบาท ส่วนอาหารทะเลกระป๋อง เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.7 ในรูปเหรียญสหรัฐ และร้อยละ 7.5 ในรูปเงินบาท และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน พบว่า การส่งออกในกลุ่มดังกล่าวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 ในรูปเหรียญสหรัฐ และร้อยละ 0.3 ในรูปเงินบาท สำหรับมูลค่าการส่งออกโดยเปรียบเทียบครึ่งปี 2550 มีมูลค่าการส่งออก 1,398.9 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 89,451.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2549 ร้อยละ 7.9 ในรูปเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 2.0 ในรูปเงินบาท ซึ่งหากพิจารณาการส่งออกสินค้าสำคัญในกลุ่ม คือ กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง และปลาทูน่ากระป๋อง พบว่า สามารถส่งออกได้เพิ่มขึ้นทั้งในเชิงปริมาณและมูลค่าในรูปเหรียญสหรัฐ และเงินบาท โดยสามารถเจาะตลาดใหม่ๆ ในอาฟริกาได้เพิ่มขึ้น ทดแทนตลาดหลักอย่างสหรัฐอเมริกาที่ขยายตัวในอัตราลดลง
- กลุ่มผลิตภัณฑ์ผักผลไม้แปรรูป มีมูลค่าการส่งออก 531.2 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 18,594.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.4 ในรูปเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 5.7 ในรูปเงินบาท จากไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.5 ในรูปเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 5.1 ในรูปเงินบาท จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เป็นผลมาจากการขยายตลาดส่งออกได้มากขึ้น ประกอบกับราคาส่งออกที่สูงขึ้น โดยเฉพาะผักผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็ง เนื่องจากผลผลิตในตลาดโลกลดลง และหากเปรียบเทียบระหว่างครึ่งปี 2550 และ 2549 พบว่า มูลค่าส่งออกผักผลไม้แปรรูปในภาพรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.5 และ 2.9 ในรูปเหรียญสหรัฐ และเงินบาท ตามลำดับ
- กลุ่มผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์แปรรูป มีมูลค่าการส่งออก 210.3 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 7,369.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.5 ในรูปเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 2.2 ในรูปเงินบาท จากไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.7 ในรูปเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 6.6 ในรูปเงินบาท เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะไก่แปรรูปที่มีการขยายตัวสูงขึ้น และได้มีการรับรองโรงงานแปรรูปเพิ่มขึ้นจากประเทศผู้นำเข้าหลัก คือ ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ประกอบกับได้เกิดการระบาดของโรคไข้หวัดนกในเวียดนาม รวมทั้งสหภาพยุโรปเร่งทำประวัติสั่งซื้อไก่จากไทยเพิ่มขึ้น เนื่องจากการเปลี่ยนระบบการนำเข้าเป็นระบบโควตา นอกจากนี้หากพิจารณาเปรียบเทียบระหว่างครึ่งปี 2550 และ 2549 มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.2 ในรูปเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 2.4 ในรูปเงินบาท โดยที่เป็นการขยายตัวของการส่งออกไก่สดแช่เย็นแช่แข็งเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 100
- กลุ่มผลิตภัณฑ์จากข้าว แป้ง และธัญพืช มีมูลค่าการส่งออก 1,281.2 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 44,919.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.2 ในรูปเหรียญสหรัฐ แต่ลดลงร้อยละ 2.2 ในรูปเงินบาท จากไตรมาสก่อน เป็นผลจากการปรับราคาส่งออกสูงขึ้นของผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง และความต้องการในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะประเทศจีน ซึ่งเป็นตลาดหลักในการส่งออกมันเส้นและแป้งมันสำปะหลัง รวมทั้งมีตลาดรองรับอื่นๆ ที่สำคัญ เช่น ญี่ปุ่น ไต้หวัน และมาเลเซีย และหากเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน พบว่า การส่งออกผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.0 ในรูปเหรียญสหรัฐ และร้อยละ 5.4 ในรูปเงินบาท โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของการส่งออกสินค้า เช่น ข้าว และผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง นอกจากนี้หากเปรียบเทียบระหว่างครึ่งปี 2550 และ 2549 มูลค่าการส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.6 ในรูปเหรียญสหรัฐ และร้อยละ 20.2 ในรูปเงินบาท
- กลุ่มผลิตภัณฑ์น้ำตาลทราย มีมูลค่าการส่งออก 458.6 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 16,029.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 157.9 ในรูปเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 134.4 ในรูปเงินบาท จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากปัจจัยด้านปริมาณวัตถุดิบที่ผลิตได้มากเป็นประวัติการณ์ ส่งผลให้ปริมาณน้ำตาลในตลาดโลกอยู่ในระดับสูง ราคาจึงลดลง และเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน พบว่า มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.3 ในรูปเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 29.7 ในรูปเงินบาท ขณะที่หากเปรียบเทียบระหว่างครึ่งปี 2550 และ 2549 พบว่า มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 180.7 ในรูปเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 154.4 ในรูปเงินบาท
- กลุ่มผลิตภัณฑ์อื่นๆ มีมูลค่าการส่งออก 359.7 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ12,620.4 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 0.4 ทั้งในรูปเหรียญสหรัฐ และในรูปเงินบาท จากไตรมาสก่อน และหากเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.6 ในรูปเหรียญสหรัฐ และร้อยละ 18.4 ในรูปเงินบาท โดยหากเปรียบเทียบระหว่างครึ่งปี 2550 และ 2549 มูลค่าการส่งออกในภาพรวมของกลุ่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 42.9 ในรูปเหรียญสหรัฐ และร้อยละ 29.3 ในรูปเงินบาท เป็นผลจากการส่งออกเพิ่มขึ้นในกลุ่มสินค้าประเภทไขมันพืชและสัตว์ ซุปและอาหารปรุงแต่ง เครื่องดื่ม และสิ่งปรุงรสอาหาร
2) การนำเข้า
การนำเข้าสินค้าอาหารของไทย ในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2550 มีมูลค่ารวม 1,196.5 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 42,754.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 6.4 ในรูปเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 4.8 ในรูปเงินบาท จากไตรมาสก่อน โดยเป็นการลดลงของการนำเข้าปลาทูน่าสดแช่เย็นแช่แข็ง ร้อยละ 8.0 ในรูปเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 6.1 ในรูปเงินบาท (ตารางที่ 5) และหากเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน จะพบว่า มูลค่าการนำเข้าสินค้าอาหารโดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.2 ในรูปเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 3.6 ในรูปเงินบาท จากการเพิ่มขึ้นของการนำเข้านมและผลิตภัณฑ์นม กากพืชน้ำมัน และเมล็ดพืชน้ำมันในอัตราร้อยละ 38.3 28.7 และ 18.5 ในรูปเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 24.6 17.4 และ 9.3 ในรูปเงินบาท ตามลำดับ
เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบระหว่างครึ่งปี 2549 และ 2550 จะพบว่า มูลค่าการนำเข้าสินค้าอาหารโดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.1 ในรูปเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 7.8 ในรูปเงินบาท โดยเป็นการนำเข้าเมล็ดพืชน้ำมันมากที่สุด ร้อยละ 84.6 ในรูปเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 68.8 ในรูปเงินบาท รองลงมา คือ กากพืชน้ำมัน ร้อยละ 43.3 ในรูปเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 30.0 ในรูปเงินบาท และนมและผลิตภัณฑ์นม ร้อยละ 29.5 ในรูปเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 16.8 ในรูปเงินบาท เป็นผลจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้การนำเข้าได้รับผลดีจากราคาเปรียบเทียบที่ลดลง
3. นโยบายของภาครัฐ
ในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2550 รัฐบาลได้ดำเนินนโยบายและมาตรการต่าง ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมอาหาร ส่วนใหญ่เป็นการให้ความช่วยเหลือกับเกษตรกรที่เป็นผู้ผลิตวัตถุดิบ เนื่องจากประสบปัญหาภัยธรรมชาติ ได้แก่
3.1 คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2550 รับทราบสถานการณ์ภัยแล้งและมาตรการการแก้ไขและช่วยเหลือผู้ประสบภัย ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ โดยเน้นให้การช่วยเหลือเกษตรกรในเรื่องน้ำเพื่อการบริโภคและการทำกิน เช่น การจัดหา ปรับปรุง ซ่อมแซมภาชนะเก็บกักน้ำ และการแจกจ่ายน้ำ
3.2 คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2550 รับทราบการช่วยเหลือและฟื้นฟูความเสียหายจากอุทกภัยใน 47 จังหวัด ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ โดยเฉพาะการฟื้นฟูสาธารณูปโภคพื้นฐานและเกษตรกร ทั้งนี้ จะนำข้อมูลระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์และเทคโนโลยีภาพถ่ายทางอากาศมาใช้ประกอบการพิจารณา เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นและป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นซ้ำในอนาคต
4. สรุปและแนวโน้ม
ภาวะอุตสาหกรรมอาหารโดยรวมในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2550 จัดอยู่ในช่วงชะลอตัวลงเล็กน้อย โดยภาคการผลิตบางส่วนจะได้รับผลกระทบจากการขาดแคลนวัตถุดิบจากภาวะภัยแล้งหรืออุทกภัยอยู่บ้าง ประกอบกับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคอยู่ในระดับชะลอตัวจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และการแข็งค่าขึ้นของเงินบาทในระยะที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามภาพรวมด้านการผลิตเพื่อการส่งออกยังสามารถสร้างความเชื่อถือในตัวสินค้าจากประเทศผู้นำเข้าได้เป็นอย่างดี ประกอบกับอุปทานในตลาดโลกลดลง เพราะประเทศผู้ผลิตที่สำคัญประสบปัญหาภัยธรรมชาติ และโรคระบาด รวมทั้งผู้ประกอบการสามารถปรับกลยุทธ์ด้านการตลาดในการเพิ่มช่องทางการค้า และแสวงหาตลาดใหม่ๆ ส่งผลให้การส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้น
สำหรับแนวโน้มของการผลิตและการส่งออกอุตสาหกรรมอาหาร ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 คาดว่า จะยังคงมีทิศทางการผลิต การจำหน่ายในประเทศและส่งออกที่ทรงตัวต่อเนื่องจากไตรมาสที่ผ่านมา ซึ่งผลของมาตรการรองรับปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่างๆ ทั้งในเรื่องของค่าเงินบาทที่แข็งค่า และภาวะเศรษฐกิจและการเมืองที่ไม่แน่นอน ยังต้องใช้ระยะเวลาเพื่อให้มาตรการเกิดประสิทธิผล ทำให้ผู้บริโภคอาจมีความกังวลและระมัดระวังในเรื่องการจับจ่ายใช้สอย นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงภายนอกอื่นๆ เช่น การแพร่ระบาดของเชื้อไข้หวัดนกรอบใหม่ ภัยธรรมชาติที่ไม่อาจคาดการณ์ได้จากภาวะโลกร้อน และมาตรการกีดกันการค้ารูปแบบต่างๆ ที่ประเทศผู้นำเข้าจะประกาศใช้ในอนาคต เช่น การประกาศมาตรการ IRA ต่อการนำเข้ากุ้งของออสเตรเลีย การประกาศมาตรการเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์สัมผัสอาหารของยุโรป มาตรการการบังคับปิดฉลากเพิ่มเติมของสหรัฐฯ และการประกาศเกณฑ์ขั้นต่ำของสารตกค้างในอาหารที่เข้มงวดมากขึ้นในหลายสินค้าของจีน ญี่ปุ่น และประเทศอื่นๆ
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-