ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ปี 49 ธปท.ขาดทุนเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.ได้รายงาน
ตัวเลขผลกำไรขาดทุนในปี 49 พบว่า ธปท.ขาดทุนสุทธิ 102,287.12 ล.บาท เพิ่มขึ้น 100,544.39 ล.บาท เมื่อเทียบกับปี 48 ที่ขาดทุนสุทธิ
1,742.72 ล.บาท เนื่องจากมีรายจ่ายสูงกว่ารายได้ที่ได้รับ โดยมีรายได้รวม 68,073.94 ล.บาท เพิ่มขึ้น 30,527.98 ล.บาท หรือ 81.30%
แต่มีค่าใช้จ่ายรวมสูงถึง 170,361.06 ล.บาท เพิ่มขึ้น 131,072.38 ล.บาท หรือ 333.61% เป็นรายจ่ายที่เกิดจากการขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยน
99,727.45 ล.บาท จากดอกเบี้ยจ่าย 62,110.93 ล.บาท ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพนักงาน 3,198.34 ล.บาท และค่าใช้จ่ายอื่นๆ 5,324.33 ล.บาท
ทั้งนี้ การขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนมีสาเหตุ 2 ประการ คือ เงินบาทแข็งค่าขึ้นมากเมื่อเทียบกับเงินตราต่างประเทศทุกสกุลที่เป็นส่วนประกอบ
ของสินทรัพย์ต่างประเทศ โดยแข็งค่าขึ้น 13.9% เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ. และแข็งค่าขึ้น 15.1% เมื่อเทียบกับเงินเยนญี่ปุ่น ส่วนประการ
ที่สอง เป็นผลจากสินทรัพย์ต่างประเทศสุทธิเพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับสินทรัพย์ช่วงสิ้นปี 48 อย่างไรก็ตาม การขาดทุนสุทธิต่ำกว่าที่ ธปท.เคยคาดการณ์
ไว้เมื่อเดือน ก.พ.50 ว่าจะขาดทุน 173,000 ล.บาท (โลกวันนี้, มติชน, เดลินิวส์)
2. ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือน พ.ค.50 ปรับตัวเพิ่มขึ้นที่ระดับ 86.1 รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
(ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจความเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรมไทยในเดือน พ.ค.50 ที่ได้จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างจำนวน 478 ตัวอย่าง
ครอบคลุม 35 กลุ่มอุตสาหกรรม พบว่า ค่าดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 86.1 จาก 77.0 ในเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา
แต่ยังคงอยู่ต่ำกว่าระดับ 100 แสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นต่อภาวการณ์อุตสาหกรรมในระดับที่ไม่แข็งแกร่งนัก สำหรับสาเหตุที่ทำให้
ดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องมาจากยอดคำสั่งซื้อและยอดขายมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ ส่งผลให้ดัชนีผลประกอบการปรับตัว
ดีขึ้นตามไปด้วย รวมทั้งมีปัจจัยบวกด้านอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง ทำให้ต้นทุนทางการเงินของการประกอบการปรับตัวลดลง นอกจากนี้ การที่ภาครัฐ
มีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ มีการเร่งเบิกจ่าย งปม. และปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่อง ล้วนเป็นปัจจัยที่สร้างความเชื่อมั่นให้กับ
ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมมากยิ่งขึ้น ซึ่งหากค่าดัชนีความเชื่อมั่นปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจะถือเป็นสัญญาณที่ดีมากต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในช่วง
ครึ่งปีหลัง (โลกวันนี้, ผู้จัดการรายวัน, ข่าวสด, ไทยโพสต์ )
3. ยอดการผลิตรถยนต์ในเดือน พ.ค.50 เพิ่มขึ้น 3.24% โฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
เปิดเผยว่า จำนวนการผลิตรถยนต์เดือน พ.ค.50 มีจำนวน 111,585 คัน เพิ่มขึ้น 3.24% โดยเป็นการผลิตเพื่อการส่งออก 56,932 คัน
และผลิตเพื่อขายในประเทศ 54,653 คัน ขณะที่ยอดผลิตรถยนต์ 5 เดือนแรกปีนี้ มีจำนวน 488,200 คัน ลดลง 1.9% เป็นการผลิตเพื่อส่งออก
251,924 คัน เพิ่มขึ้น 12.68% และผลิตเพื่อขายในประเทศ 236,276 คัน ลดลง 13.8% (เดลินิวส์)
4. ครม.มีมติเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ นายอารีพงษ์ ภู่ชอุ่ม ผอ.สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ
(สคร.) เปิดเผยว่า ที่ประชุม ครม. (วันที่ 19 มิ.ย.50) ได้เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.การกำหนดกิจการ หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขการแปรรูป
รัฐวิสาหกิจ โดยหลังจากนี้จะส่งร่างดังกล่าวให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจสอบรายละเอียดภายใน 30 วัน ก่อนจะเสนอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
(สนช.) พิจารณาในสัปดาห์ที่ 3 ของเดือน ก.ค.50 (โลกวันนี้, เดลินิวส์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ยอดก่อสร้างบ้านใหม่ของ สรอ. ในเดือน พ.ค. ลดลงร้อยละ 2.1 รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 20มิ.ย. 50 ก.พาณิชย์
สรอ. เปิดเผยว่าในเดือน พ.ค. ยอดก่อสร้างบ้านใหม่มีจำนวน 1.474 ล้านหลัง ลดลงจาก 1.506 ล้านหลังในเดือน เม.ย. หรือลดลงร้อยละ
2.1 และลดลงมากกว่าที่นักนักเศรษฐศาสตร์ได้คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะลดลงอยู่ที่ 1.480 ล้านหลังจาก 1.528 ล้านหลัง (ตัวเลขเบื้องต้น)
ในเดือน เม.ย. ส่วนใบอนุญาตการก่อสร้างบ้านซึ่งบ่งชี้ถึงแผนการก่อสร้างในอนาคตในเดือน พ.ค. เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 อยู่ที่ 1.501 ล้านหลัง
มากกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์ได้คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านั้นว่าจะเพิ่มขึ้นที่ 1.471 ล้านหลัง โดยใบอนุญาตก่อสร้างบ้านเดี่ยวลดลงร้อยละ 1.8 อยู่ใน
ระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือน ก.ค. 40 ขณะที่ใบอนุญาตก่อสร้างบ้านสำหรับครอบครัวหลายคนเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 16.5 โดยข้อมูลการก่อสร้างบ้าน
เปิดเผยก่อนที่จะมีรายงานว่าความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ในเดือน มิ.ย. อยู่ที่ระดับ 28 ต่ำที่สุดในรอบเกือบ 16 ปีนับตั้งแต่
ปี 34 ที่ดัชนีอยู่ที่ระดับ 27 ทั้งนี้ดัชนีที่ต่ำกว่าระดับ 50 บ่งชี้ว่าผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์มองภาวะตลาดอสังหาริมทรัพย์ว่าไม่สดใส (รอยเตอร์)
2. ความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ของญี่ปุ่นในไตรมาสที่ 2 ลดลง รายงานจากโตเกียว เมื่อวันที่ 20 มิ.ย. 50
ทางการญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ในไตรมาสที่ 2 ความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ของญี่ปุ่น (Business Survey Index - BSI)
ลดลงอยู่ที่ -2.2 จาก +1.0 ในไตรมาสแรก เช่นเดียวกับความเชื่อมั่นในภาคบริการลดลงอยู่ที่ -0.2 จาก +9.8 ในไตรมาสแรก อย่างไร
ก็ตามพวกเขาคาดว่าภาวะธุรกิจจะดีขึ้นในไตรมาสหน้า ทั้งนี้นักเศรษฐศาสตร์เห็นว่าข้อมูลจากผลการสำรวจดังกล่าวอาจทำให้ตัวเลข Diffusion
Index (DI) ในรายงานรายไตรมาสของ ธ.กลางญี่ปุ่นที่จะเผยแพร่ในวันที่ 2 ก.ค. คงที่หรือแย่ลง อย่างไรก็ตามตัวเลขดัชนีความเชื่อมั่นดังกล่าว
มิได้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินนโยบายการเงินของ ธ.กลางโดยตรง รวมทั้งตลาดก็ไม่ได้ให้ความสนใจมากนัก (รอยเตอร์)
3. ความเชื่อมั่นของนักลงทุนในเยอรมนีลดลงในเดือน มิ.ย.50 ผิดจากที่คาดไว้ รายงานจากเมนเฮล์ม เมื่อ 19 มิ.ย.50
ดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของนักลงทุนในเยอรมนีจากผลสำรวจความเห็นของนักวิเคราะห์และนักลงทุนสถาบัน 293 คนโดย ZEW ลดลงมาอยู่ที่ระดับ
20.3 ในเดือน มิ.ย.50 จากระดับ 24.0 ในเดือน พ.ค.50 จากที่คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 29.0 ชี้ให้เห็นว่านักลงทุนกังวลว่าเศรษฐกิจ
ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้อาจชะลอตัวลงจากผลกระทบของราคาน้ำมันและอัตราดอกเบี้ยที่คาดว่าจะสูงขึ้นอีก หลังจากเมื่อต้นเดือน มิ.ย.50 ที่ผ่านมา
ธ.กลางยุโรปหรือ ECB ได้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 เป็นร้อยละ 4.0 ต่อปีสูงสุดในรอบเกือบ 6 ปี แต่อย่างไรก็ดี ดัชนีในส่วน
ที่ชี้วัดสถานการณ์ธุรกิจในปัจจุบันกลับสูงขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 88.7 จากระดับ 88.0 ในเดือน พ.ค.50 สูงกว่าที่คาดไว้ว่าจะอยู่ที่ระดับ 87.5
สอดคล้องกับความเห็นของนักวิเคราะห์ที่คาดว่าดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจโดย Ifo ซึ่งมีกำหนดจะเผยแพร่ในวันที่ 22 มิ.ย.50 นี้
จะยังคงอยู่ในระดับใกล้เคียงกับเดือน ธ.ค.49 ซึ่งดัชนีอยู่ในระดับสูงสุดนับตั้งแต่มีการรวมประเทศเป็นต้นมา ทั้งนี้ ในไตรมาสแรกปี 50 ที่ผ่านมา
เศรษฐกิจเยอรมนีขยายตัวร้อยละ 0.5 แม้ว่าจะมีการขึ้นอัตราภาษี VAT อีกร้อยละ 3.0 ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์จึงคาดว่า
อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 50 จะอยู่ในระดับใกล้เคียงกับปี 49 ซึ่งเศรษฐกิจขยายตัวถึงร้อยละ 2.8 ต่อปี สูงสุดในรอบ 6 ปี(รอยเตอร์)
4. คาดว่าอัตราเงินเฟ้อของมาเลเซียในเดือน พ.ค.50 จะปรับเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลง รายงานจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศ
มาเลเซีย เมื่อวันที่ 20 มิ.ย.50 สำนักข่าวรอยเตอร์เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นนักเศรษฐศาสตร์คาดว่า อัตราเงินเฟ้อของมาเลเซียเทียบ
ต่อปีในเดือน พ.ค.50 อาจจะปรับเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 1.6 จากปีก่อน สูงกว่าระดับร้อยละ 1.5 ในเดือน มี.ค. และ เม.ย.50 ซึ่งเป็นระดับ
ต่ำสุดในรอบ 2 ปีครึ่ง และคาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไปตลอดปีนี้ ทำให้ ธ.กลางมาเลเซียมีโอกาสที่จะพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ย
เพื่อกระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจ ทั้งนี้ แรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อเริ่มลดลงนับตั้งแต่เดือน ส.ค.49 โดยตรวจสอบได้จากเงินริงกิตที่แข็งค่าขึ้น
แต่อาจจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยหากมีการปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการและส่งผลให้มีการใช้จ่ายเพิ่มขึ้น แต่จะไม่เป็นสาเหตุให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นอย่าง
รวดเร็ว โดยอัตราเงินเฟ้อในปีนี้จะเฉลี่ยอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.2 ลดลงจากร้อยละ 3.6 ในปี 49 และดีกว่าที่ ธ.กลางมาเลเซียคาดการณ์ไว้ที่
ประมาณร้อยละ 2.0 — 2.5 ขณะที่ ธ.กลางมาเลเซียอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงเหลือร้อยละ 3.25 ในบางช่วงเวลาที่เหลือของปีนี้
ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยนโยบายของมาเลเซียอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.50 ซึ่ง ธ.กลางมาเลเซียได้คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเดิมมาตั้งแต่การประชุม
เมื่อเดือน ก.ค.49 สำหรับอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของมาเลเซียในปีนี้คาดว่าจะเติบโตร้อยละ 6 แต่นักวิเคราะห์อิสระหลายคนคาดว่า
จะเติบโตเพียงร้อยละ 5.5 เนื่องจากการส่งออกชะลอตัวลง (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 20 มิ.ย. 50 19 มิ.ย. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 34.589 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 34.3663/34.7101 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.66953 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 736.78/16.83 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,750/10,850 10,700/10,800 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 67.32 67.59 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 29.99*/25.34** 29.99*/25.34** 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเลดเมื่อ 2 มิ.ย. 50 , ** ปรับเพิ่มเมื่อ 26 เม.ย. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ปี 49 ธปท.ขาดทุนเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.ได้รายงาน
ตัวเลขผลกำไรขาดทุนในปี 49 พบว่า ธปท.ขาดทุนสุทธิ 102,287.12 ล.บาท เพิ่มขึ้น 100,544.39 ล.บาท เมื่อเทียบกับปี 48 ที่ขาดทุนสุทธิ
1,742.72 ล.บาท เนื่องจากมีรายจ่ายสูงกว่ารายได้ที่ได้รับ โดยมีรายได้รวม 68,073.94 ล.บาท เพิ่มขึ้น 30,527.98 ล.บาท หรือ 81.30%
แต่มีค่าใช้จ่ายรวมสูงถึง 170,361.06 ล.บาท เพิ่มขึ้น 131,072.38 ล.บาท หรือ 333.61% เป็นรายจ่ายที่เกิดจากการขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยน
99,727.45 ล.บาท จากดอกเบี้ยจ่าย 62,110.93 ล.บาท ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพนักงาน 3,198.34 ล.บาท และค่าใช้จ่ายอื่นๆ 5,324.33 ล.บาท
ทั้งนี้ การขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนมีสาเหตุ 2 ประการ คือ เงินบาทแข็งค่าขึ้นมากเมื่อเทียบกับเงินตราต่างประเทศทุกสกุลที่เป็นส่วนประกอบ
ของสินทรัพย์ต่างประเทศ โดยแข็งค่าขึ้น 13.9% เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ. และแข็งค่าขึ้น 15.1% เมื่อเทียบกับเงินเยนญี่ปุ่น ส่วนประการ
ที่สอง เป็นผลจากสินทรัพย์ต่างประเทศสุทธิเพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับสินทรัพย์ช่วงสิ้นปี 48 อย่างไรก็ตาม การขาดทุนสุทธิต่ำกว่าที่ ธปท.เคยคาดการณ์
ไว้เมื่อเดือน ก.พ.50 ว่าจะขาดทุน 173,000 ล.บาท (โลกวันนี้, มติชน, เดลินิวส์)
2. ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือน พ.ค.50 ปรับตัวเพิ่มขึ้นที่ระดับ 86.1 รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
(ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจความเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรมไทยในเดือน พ.ค.50 ที่ได้จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างจำนวน 478 ตัวอย่าง
ครอบคลุม 35 กลุ่มอุตสาหกรรม พบว่า ค่าดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 86.1 จาก 77.0 ในเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา
แต่ยังคงอยู่ต่ำกว่าระดับ 100 แสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นต่อภาวการณ์อุตสาหกรรมในระดับที่ไม่แข็งแกร่งนัก สำหรับสาเหตุที่ทำให้
ดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องมาจากยอดคำสั่งซื้อและยอดขายมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ ส่งผลให้ดัชนีผลประกอบการปรับตัว
ดีขึ้นตามไปด้วย รวมทั้งมีปัจจัยบวกด้านอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง ทำให้ต้นทุนทางการเงินของการประกอบการปรับตัวลดลง นอกจากนี้ การที่ภาครัฐ
มีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ มีการเร่งเบิกจ่าย งปม. และปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่อง ล้วนเป็นปัจจัยที่สร้างความเชื่อมั่นให้กับ
ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมมากยิ่งขึ้น ซึ่งหากค่าดัชนีความเชื่อมั่นปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจะถือเป็นสัญญาณที่ดีมากต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในช่วง
ครึ่งปีหลัง (โลกวันนี้, ผู้จัดการรายวัน, ข่าวสด, ไทยโพสต์ )
3. ยอดการผลิตรถยนต์ในเดือน พ.ค.50 เพิ่มขึ้น 3.24% โฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
เปิดเผยว่า จำนวนการผลิตรถยนต์เดือน พ.ค.50 มีจำนวน 111,585 คัน เพิ่มขึ้น 3.24% โดยเป็นการผลิตเพื่อการส่งออก 56,932 คัน
และผลิตเพื่อขายในประเทศ 54,653 คัน ขณะที่ยอดผลิตรถยนต์ 5 เดือนแรกปีนี้ มีจำนวน 488,200 คัน ลดลง 1.9% เป็นการผลิตเพื่อส่งออก
251,924 คัน เพิ่มขึ้น 12.68% และผลิตเพื่อขายในประเทศ 236,276 คัน ลดลง 13.8% (เดลินิวส์)
4. ครม.มีมติเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ นายอารีพงษ์ ภู่ชอุ่ม ผอ.สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ
(สคร.) เปิดเผยว่า ที่ประชุม ครม. (วันที่ 19 มิ.ย.50) ได้เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.การกำหนดกิจการ หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขการแปรรูป
รัฐวิสาหกิจ โดยหลังจากนี้จะส่งร่างดังกล่าวให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจสอบรายละเอียดภายใน 30 วัน ก่อนจะเสนอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
(สนช.) พิจารณาในสัปดาห์ที่ 3 ของเดือน ก.ค.50 (โลกวันนี้, เดลินิวส์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ยอดก่อสร้างบ้านใหม่ของ สรอ. ในเดือน พ.ค. ลดลงร้อยละ 2.1 รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 20มิ.ย. 50 ก.พาณิชย์
สรอ. เปิดเผยว่าในเดือน พ.ค. ยอดก่อสร้างบ้านใหม่มีจำนวน 1.474 ล้านหลัง ลดลงจาก 1.506 ล้านหลังในเดือน เม.ย. หรือลดลงร้อยละ
2.1 และลดลงมากกว่าที่นักนักเศรษฐศาสตร์ได้คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะลดลงอยู่ที่ 1.480 ล้านหลังจาก 1.528 ล้านหลัง (ตัวเลขเบื้องต้น)
ในเดือน เม.ย. ส่วนใบอนุญาตการก่อสร้างบ้านซึ่งบ่งชี้ถึงแผนการก่อสร้างในอนาคตในเดือน พ.ค. เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 อยู่ที่ 1.501 ล้านหลัง
มากกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์ได้คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านั้นว่าจะเพิ่มขึ้นที่ 1.471 ล้านหลัง โดยใบอนุญาตก่อสร้างบ้านเดี่ยวลดลงร้อยละ 1.8 อยู่ใน
ระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือน ก.ค. 40 ขณะที่ใบอนุญาตก่อสร้างบ้านสำหรับครอบครัวหลายคนเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 16.5 โดยข้อมูลการก่อสร้างบ้าน
เปิดเผยก่อนที่จะมีรายงานว่าความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ในเดือน มิ.ย. อยู่ที่ระดับ 28 ต่ำที่สุดในรอบเกือบ 16 ปีนับตั้งแต่
ปี 34 ที่ดัชนีอยู่ที่ระดับ 27 ทั้งนี้ดัชนีที่ต่ำกว่าระดับ 50 บ่งชี้ว่าผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์มองภาวะตลาดอสังหาริมทรัพย์ว่าไม่สดใส (รอยเตอร์)
2. ความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ของญี่ปุ่นในไตรมาสที่ 2 ลดลง รายงานจากโตเกียว เมื่อวันที่ 20 มิ.ย. 50
ทางการญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ในไตรมาสที่ 2 ความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ของญี่ปุ่น (Business Survey Index - BSI)
ลดลงอยู่ที่ -2.2 จาก +1.0 ในไตรมาสแรก เช่นเดียวกับความเชื่อมั่นในภาคบริการลดลงอยู่ที่ -0.2 จาก +9.8 ในไตรมาสแรก อย่างไร
ก็ตามพวกเขาคาดว่าภาวะธุรกิจจะดีขึ้นในไตรมาสหน้า ทั้งนี้นักเศรษฐศาสตร์เห็นว่าข้อมูลจากผลการสำรวจดังกล่าวอาจทำให้ตัวเลข Diffusion
Index (DI) ในรายงานรายไตรมาสของ ธ.กลางญี่ปุ่นที่จะเผยแพร่ในวันที่ 2 ก.ค. คงที่หรือแย่ลง อย่างไรก็ตามตัวเลขดัชนีความเชื่อมั่นดังกล่าว
มิได้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินนโยบายการเงินของ ธ.กลางโดยตรง รวมทั้งตลาดก็ไม่ได้ให้ความสนใจมากนัก (รอยเตอร์)
3. ความเชื่อมั่นของนักลงทุนในเยอรมนีลดลงในเดือน มิ.ย.50 ผิดจากที่คาดไว้ รายงานจากเมนเฮล์ม เมื่อ 19 มิ.ย.50
ดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของนักลงทุนในเยอรมนีจากผลสำรวจความเห็นของนักวิเคราะห์และนักลงทุนสถาบัน 293 คนโดย ZEW ลดลงมาอยู่ที่ระดับ
20.3 ในเดือน มิ.ย.50 จากระดับ 24.0 ในเดือน พ.ค.50 จากที่คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 29.0 ชี้ให้เห็นว่านักลงทุนกังวลว่าเศรษฐกิจ
ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้อาจชะลอตัวลงจากผลกระทบของราคาน้ำมันและอัตราดอกเบี้ยที่คาดว่าจะสูงขึ้นอีก หลังจากเมื่อต้นเดือน มิ.ย.50 ที่ผ่านมา
ธ.กลางยุโรปหรือ ECB ได้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 เป็นร้อยละ 4.0 ต่อปีสูงสุดในรอบเกือบ 6 ปี แต่อย่างไรก็ดี ดัชนีในส่วน
ที่ชี้วัดสถานการณ์ธุรกิจในปัจจุบันกลับสูงขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 88.7 จากระดับ 88.0 ในเดือน พ.ค.50 สูงกว่าที่คาดไว้ว่าจะอยู่ที่ระดับ 87.5
สอดคล้องกับความเห็นของนักวิเคราะห์ที่คาดว่าดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจโดย Ifo ซึ่งมีกำหนดจะเผยแพร่ในวันที่ 22 มิ.ย.50 นี้
จะยังคงอยู่ในระดับใกล้เคียงกับเดือน ธ.ค.49 ซึ่งดัชนีอยู่ในระดับสูงสุดนับตั้งแต่มีการรวมประเทศเป็นต้นมา ทั้งนี้ ในไตรมาสแรกปี 50 ที่ผ่านมา
เศรษฐกิจเยอรมนีขยายตัวร้อยละ 0.5 แม้ว่าจะมีการขึ้นอัตราภาษี VAT อีกร้อยละ 3.0 ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์จึงคาดว่า
อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 50 จะอยู่ในระดับใกล้เคียงกับปี 49 ซึ่งเศรษฐกิจขยายตัวถึงร้อยละ 2.8 ต่อปี สูงสุดในรอบ 6 ปี(รอยเตอร์)
4. คาดว่าอัตราเงินเฟ้อของมาเลเซียในเดือน พ.ค.50 จะปรับเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลง รายงานจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศ
มาเลเซีย เมื่อวันที่ 20 มิ.ย.50 สำนักข่าวรอยเตอร์เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นนักเศรษฐศาสตร์คาดว่า อัตราเงินเฟ้อของมาเลเซียเทียบ
ต่อปีในเดือน พ.ค.50 อาจจะปรับเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 1.6 จากปีก่อน สูงกว่าระดับร้อยละ 1.5 ในเดือน มี.ค. และ เม.ย.50 ซึ่งเป็นระดับ
ต่ำสุดในรอบ 2 ปีครึ่ง และคาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไปตลอดปีนี้ ทำให้ ธ.กลางมาเลเซียมีโอกาสที่จะพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ย
เพื่อกระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจ ทั้งนี้ แรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อเริ่มลดลงนับตั้งแต่เดือน ส.ค.49 โดยตรวจสอบได้จากเงินริงกิตที่แข็งค่าขึ้น
แต่อาจจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยหากมีการปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการและส่งผลให้มีการใช้จ่ายเพิ่มขึ้น แต่จะไม่เป็นสาเหตุให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นอย่าง
รวดเร็ว โดยอัตราเงินเฟ้อในปีนี้จะเฉลี่ยอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.2 ลดลงจากร้อยละ 3.6 ในปี 49 และดีกว่าที่ ธ.กลางมาเลเซียคาดการณ์ไว้ที่
ประมาณร้อยละ 2.0 — 2.5 ขณะที่ ธ.กลางมาเลเซียอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงเหลือร้อยละ 3.25 ในบางช่วงเวลาที่เหลือของปีนี้
ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยนโยบายของมาเลเซียอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.50 ซึ่ง ธ.กลางมาเลเซียได้คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเดิมมาตั้งแต่การประชุม
เมื่อเดือน ก.ค.49 สำหรับอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของมาเลเซียในปีนี้คาดว่าจะเติบโตร้อยละ 6 แต่นักวิเคราะห์อิสระหลายคนคาดว่า
จะเติบโตเพียงร้อยละ 5.5 เนื่องจากการส่งออกชะลอตัวลง (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 20 มิ.ย. 50 19 มิ.ย. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 34.589 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 34.3663/34.7101 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.66953 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 736.78/16.83 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,750/10,850 10,700/10,800 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 67.32 67.59 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 29.99*/25.34** 29.99*/25.34** 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเลดเมื่อ 2 มิ.ย. 50 , ** ปรับเพิ่มเมื่อ 26 เม.ย. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--