1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (19 — 25 ก.ค. 2550) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,205.68 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 740.97 ตัน สัตว์น้ำจืด 464.70 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 3.53 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.10 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 169.14 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 49.86 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 92.87 ตัน
การตลาด
กระทรวงเกษตรฯ ดึงสวทช.ผลักดันผลิตกุ้งกุลาดำส่งออก
นายธีระ สูตะบุตร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ปัจจุบันประเทศไทยกำลังจะเสียสถานภาพประเทศผู้ส่งออกกุ้งอันดับ 1 ของโลกไป หลังจากในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งกุลาดำจำนวนมากได้หันไปเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้สัดส่วนการเลี้ยงกุ้งกุลาดำในขณะนี้เหลือเพียง 5% จากเดิม 20% ในขณะที่กุ้งขาวแวนนาไม สัดส่วนการผลิตขณะนี้ 95% เพิ่มขึ้นจากเดิม 80% การที่ไทยผลิตกุ้งกุลาดำลดลงดังกล่าว ส่งผลให้อินเดียและเวียดนาม สามารถเจาะตลาดกุ้งกุลาดำของไทย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นตลาด ที่มีกำลังซื้อสูง เช่น ญี่ปุ่น จีน ขณะที่การผลิตกุ้งขาวแวนนาไมในสัดส่วนที่สูงขึ้นทำให้ไทยต้องเผชิญกับภาวะการ แข่งขันที่รุนแรงจากประเทศผู้ผลิตรายอื่น รวมทั้งเป็นที่มาของปัญหาราคากุ้งตกต่ำที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ดังนั้น เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น จึงได้มอบหมายให้กรมประมง เร่งหารือกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี่แห่งชาติ(สวทช.) จัดทำแผนปฏิบัติการโครงการผลักดันการผลิตกุ้งกุลาดำ เพื่อการส่งออกทั้งระบบให้มีความชัดเจนเป็นรูปธรรม ตั้งแต่แผนการวิจัย การผลิต การตลาดและมาตรการสร้างแรงจูงใจให้กับเกษตรกร โดยเบื้องต้นตั้งเป้าที่จะเพิ่มสัดส่วนการผลิตกุ้งกุลาดำทั่วประเทศเป็น 30% จากกำลังการผลิตกุ้งทั้งหมด ที่ผ่านมาสาเหตุที่สำคัญที่ทำให้เกษตรกรเลิกเลี้ยงกุ้งกุลาดำ เกิดจากปัญหาเรื่องโรคระบาดที่รุนแรง โดยเฉพาะเชื้อไวรัสที่ติดมากับพ่อแม่พันธุ์ที่จับจากธรรมชาติ รวมทั้งกระบวนการผลิตพ่อแม่พันธุ์ที่มีคุณภาพปลอดจากเชื้อไวรัสยังไม่เพียงพอกับความต้องการของเกษตรกร และที่สำคัญกุ้งกุลาดำที่มีต้นทุนการผลิตที่สูงกว่าในเรื่องของระยะเวลาในการเลี้ยง และค่าอาหาร จากปัญหาที่เกิดขึ้นจึงได้กำชับให้กรมประมง เร่งหารือกับ สวทช. จัดทำแผนการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยเฉพาะการพัฒนาพ่อแม่พันธุ์กุ้งกุลาดำคุณภาพให้เพียงพอกับกำลังการผลิตของเกษตรกรในอนาคต
นายพินิจ กอศรีพร ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรฯ กล่าวว่า ตลาดกุ้งกุลาดำเป็นตลาดเฉพาะ ซึ่ง ผู้บริโภคส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มประเทศที่มีกำลังซื้อสูง และมีแนวโน้มการแข่งขันที่ไม่รุนแรงเหมือนกุ้งขาวแวนนาไม เนื่องจากมีประเทศผู้ผลิตน้อยรายกว่า ในเบื้องต้นคาดว่าหากสามารถพัฒนามาตรฐานการผลิตพ่อแม่พันธุ์คุณภาพ และสร้างแรงจูงใจที่ดีพอให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยง โดยเฉพาะเรื่องผลตอบแทน เพื่อเพิ่มสัดส่วนการผลิตกุ้งกุลาดำ ทั่วประเทศเป็น 30% ตามเป้าหมายได้ คาดว่าจะช่วยผลักดันปริมาณการส่งออกกุ้งให้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในตลาดของประเทศญี่ปุ่น นอกจากนี้ยังจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาราคากุ้งตกต่ำในระยะยาวอีกด้วย
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.06 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 28.31 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.75 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 54.14 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์เฉลี่ยกิโลกรัมละ 100.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 92.86 บาท ของสัปดาห์ก่อน 7.14 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 82.28 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 85.54 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.26 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 88.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 83.33 บาท ของสัปดาห์ก่อน 5.33 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.98 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 40.10 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.12 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์เฉลี่ยกิโลกรัมละ 53.57 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 55.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.43 บาท
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์เฉลี่ยกิโลกรัมละ 100.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 101.43 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.43 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.56 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 5.61 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.05 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 4 — 10 ส.ค. 2550) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 17.73 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 18.30 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.57 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 6-12 ส.ค. 2550--
-พห-
การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (19 — 25 ก.ค. 2550) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,205.68 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 740.97 ตัน สัตว์น้ำจืด 464.70 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 3.53 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.10 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 169.14 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 49.86 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 92.87 ตัน
การตลาด
กระทรวงเกษตรฯ ดึงสวทช.ผลักดันผลิตกุ้งกุลาดำส่งออก
นายธีระ สูตะบุตร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ปัจจุบันประเทศไทยกำลังจะเสียสถานภาพประเทศผู้ส่งออกกุ้งอันดับ 1 ของโลกไป หลังจากในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งกุลาดำจำนวนมากได้หันไปเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้สัดส่วนการเลี้ยงกุ้งกุลาดำในขณะนี้เหลือเพียง 5% จากเดิม 20% ในขณะที่กุ้งขาวแวนนาไม สัดส่วนการผลิตขณะนี้ 95% เพิ่มขึ้นจากเดิม 80% การที่ไทยผลิตกุ้งกุลาดำลดลงดังกล่าว ส่งผลให้อินเดียและเวียดนาม สามารถเจาะตลาดกุ้งกุลาดำของไทย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นตลาด ที่มีกำลังซื้อสูง เช่น ญี่ปุ่น จีน ขณะที่การผลิตกุ้งขาวแวนนาไมในสัดส่วนที่สูงขึ้นทำให้ไทยต้องเผชิญกับภาวะการ แข่งขันที่รุนแรงจากประเทศผู้ผลิตรายอื่น รวมทั้งเป็นที่มาของปัญหาราคากุ้งตกต่ำที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ดังนั้น เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น จึงได้มอบหมายให้กรมประมง เร่งหารือกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี่แห่งชาติ(สวทช.) จัดทำแผนปฏิบัติการโครงการผลักดันการผลิตกุ้งกุลาดำ เพื่อการส่งออกทั้งระบบให้มีความชัดเจนเป็นรูปธรรม ตั้งแต่แผนการวิจัย การผลิต การตลาดและมาตรการสร้างแรงจูงใจให้กับเกษตรกร โดยเบื้องต้นตั้งเป้าที่จะเพิ่มสัดส่วนการผลิตกุ้งกุลาดำทั่วประเทศเป็น 30% จากกำลังการผลิตกุ้งทั้งหมด ที่ผ่านมาสาเหตุที่สำคัญที่ทำให้เกษตรกรเลิกเลี้ยงกุ้งกุลาดำ เกิดจากปัญหาเรื่องโรคระบาดที่รุนแรง โดยเฉพาะเชื้อไวรัสที่ติดมากับพ่อแม่พันธุ์ที่จับจากธรรมชาติ รวมทั้งกระบวนการผลิตพ่อแม่พันธุ์ที่มีคุณภาพปลอดจากเชื้อไวรัสยังไม่เพียงพอกับความต้องการของเกษตรกร และที่สำคัญกุ้งกุลาดำที่มีต้นทุนการผลิตที่สูงกว่าในเรื่องของระยะเวลาในการเลี้ยง และค่าอาหาร จากปัญหาที่เกิดขึ้นจึงได้กำชับให้กรมประมง เร่งหารือกับ สวทช. จัดทำแผนการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยเฉพาะการพัฒนาพ่อแม่พันธุ์กุ้งกุลาดำคุณภาพให้เพียงพอกับกำลังการผลิตของเกษตรกรในอนาคต
นายพินิจ กอศรีพร ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรฯ กล่าวว่า ตลาดกุ้งกุลาดำเป็นตลาดเฉพาะ ซึ่ง ผู้บริโภคส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มประเทศที่มีกำลังซื้อสูง และมีแนวโน้มการแข่งขันที่ไม่รุนแรงเหมือนกุ้งขาวแวนนาไม เนื่องจากมีประเทศผู้ผลิตน้อยรายกว่า ในเบื้องต้นคาดว่าหากสามารถพัฒนามาตรฐานการผลิตพ่อแม่พันธุ์คุณภาพ และสร้างแรงจูงใจที่ดีพอให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยง โดยเฉพาะเรื่องผลตอบแทน เพื่อเพิ่มสัดส่วนการผลิตกุ้งกุลาดำ ทั่วประเทศเป็น 30% ตามเป้าหมายได้ คาดว่าจะช่วยผลักดันปริมาณการส่งออกกุ้งให้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในตลาดของประเทศญี่ปุ่น นอกจากนี้ยังจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาราคากุ้งตกต่ำในระยะยาวอีกด้วย
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.06 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 28.31 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.75 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 54.14 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์เฉลี่ยกิโลกรัมละ 100.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 92.86 บาท ของสัปดาห์ก่อน 7.14 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 82.28 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 85.54 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.26 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 88.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 83.33 บาท ของสัปดาห์ก่อน 5.33 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.98 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 40.10 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.12 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์เฉลี่ยกิโลกรัมละ 53.57 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 55.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.43 บาท
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์เฉลี่ยกิโลกรัมละ 100.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 101.43 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.43 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.56 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 5.61 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.05 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 4 — 10 ส.ค. 2550) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 17.73 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 18.30 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.57 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 6-12 ส.ค. 2550--
-พห-