บริษัท คามาราร์ต สตูดิโอ จำกัด เคยได้ชื่อว่าเป็นยักษ์ใหญ่อันดับต้นๆ ของเมืองไทย ในเรื่องของการแต่งฟิล์มด้วยคอมพิวเตอร์ส่งให้กับเอเยนซี่ด้านโฆษณา งานออกแบบสิ่งพิมพ์ เคยตกอยู่ในมือของบริษัทนี้อย่างมากมาย รถยนต์เกือบทุกยี่ห้อไว้ใจให้คามาราร์ตออกแบบแทบทั้งสิ้น งานโฆษณาบ้านจัดสรรต่างเทงานให้แก่คามาราร์ตเกือบทุกเจ้า เพราะสามารถออกแบบโฆษณาบ้านให้สวยได้ทั้งที่เจ้าของโครงการยังสร้างบ้านไม่เสร็จ
ไม่มีใครคาดคิดว่า ความสำเร็จที่กำลังรุ่งโรจน์อย่างมหาศาลบนเส้นทางธุรกิจโฆษณาต้องล้มทั้งยืนอย่างไม่ทันตั้งตัวการบาดเจ็บในทางธุรกิจครั้งนั้นทำให้ทุกชีวิตภายใต้คามาราร์ตต้องเก็บตัวเงียบๆ พร้อมกับชื่อเสียงที่ค่อยๆเลือนหายไป ทิ้งคราบน้ำตาและความทรงจำเหลือไว้เป็นความหลัง
มาบัดนี้ คามาราร์ตกลับมาผงาดบนเส้นทางธุรกิจออกแบบอีกครั้ง โดยมี คุณอโณทัย พุฒิกุลางกูร ก้าวขึ้นมาเป็นเสาหลักของบริษัท แทนคุณวีระ พุฒิกุลางกูร ซึ่งเปลี่ยนสภาพอยู่ที่ต่างจังหวัด เขาจะต้อนรับอย่างดี เขาจะแสดงความจริงใจผู้ผลิตสินค้าโอท็อป เพียงแค่เห็นสายตาที่เต็มไปด้วยความหวังของชาวบ้านที่ถือขวดน้ำปลาเดินมาหาแล้วถามว่า "จะทำมะนาวดองใส่ขวดแบบนี้ จะคิดค่าออกแบบเท่าไหร่"
นั่นคือสิ่งที่จุดประกายให้ คุณอโณทัย พุฒิกุลางกูร หวนคืนสู่เวทีธุรกิจออกแบบสิ่งพิมพ์อีกครั้ง เพื่ออวดฝีมือการออกแบบในราคาชาวบ้าน หวังช่วยให้สินค้าโอท็อปมีสีสันและมีรูปแบบที่เป็นสากลมากขึ้น
จุดหักเหธุรกิจของชีวิตคืนสู่ธุรกิจการออกแบบ
"เราเปิดตัวครั้งแรกที่ห้างเดอะมอลล์ บางกะปิ หลังจากที่ปิดตัวเงียบมานาน ตอนนั้นเป็นงานขนมไทยซึ่งกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมจัดขึ้นร่วมกับห้างเดอะมอลล์ จำได้ว่ามีลุงแก่ๆถือขวดน้ำปลาเดินเข้ามาหาเราแล้วถามว่า จะทำมะนาวดองใส่ขวดนี้จะคิดค่าออกแบบเท่าไหร่ ตอนนั้นเราอึ้งแล้วเงียบไปเลย เพราะคิดราคาไม่ถูก ไม่รู้จะคิดเท่าไหร่ จากนั้นก็มีชาวบ้านถือขนมมาหาเราด้วยความหวัง เขาอยากทำกล่องใส่ขนม อยากทำยี่ห้อติดขนม เราจะคิดราคาเท่าไหร่ เลิกงานคืนนั้นเราประชุมทีมงานกันทันที เรายอมรับว่าคิดราคากันไม่ออกจริงๆ เพราะเมื่อก่อนเราทำงานกับลูกค้าระดับยักษ์ใหญ่ของเมืองไทยทั้งนั้น ค่าออกแบบอย่างธรรมดาก็ 4-5 หมื่นบาท พอมาทำกับระดับชาวบ้านมันเป็นอีกแบบหนึ่งที่แตกต่างกันสิ้นเชิง" คุณอโณทัยกล่าวถึงจุดเริ่มต้น
"เมื่อก่อนเราออกแบบแล้วได้เงินเยอะก็จริง แต่เราไม่มีความสุขอย่างนี้ เราทำงานให้สินค้าโอท็อปของชาวบ้าน ค่าจ้างได้น้อย บางครั้งออกแบบไปแล้วเงินยังไม่ได้ก็มี แต่สิ่งที่เราได้มาคือ ความสุขใจ ความจริงใจ เวลาเราไปพบลูกค้าซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่บนรถเข็นสองล้อ เธอมาพร้อมกับความหวังของชาวบ้านอย่างมาก ให้ความเอ็นดูเราเหมือนลูกหลาน" คุณอโณทัยกล่าวเสริมถึงวิถีธุรกิจและลูกค้าที่เปลี่ยนไป
คุณอโณทัย พุฒิกุลางกูร สตรีเหล็กผู้พลิกบทบาทจากงานบัญชีมาคุมบังเหียนของคามาราร์ตอย่างเต็มตัว โดยมีคุณวีระคู่ใจเคียงคู่ไปตลอดบนเส้นทางโอท็อปทุกสาย คุณวีระเผยเรื่องราวในอดีตว่า เมื่อโรคภัยจู่โจมกะทันหันทำให้เส้นโลหิตในสมองแตก หมอบอกว่า 95 เปอร์เซ็นต์ไม่รอด ถ้ารอดก็ปาฏิหาริย์ หลังผ่าตัดสมองหลายระลอก เขารอดมาอย่างปาฏิหาริย์ แต่ว่าร่างกายบางส่วนใช้การไม่ได้ ความทรงจำสูญหายไปเกือบหมดต้องเริ่มหัดอ่านและหัดเขียนกอไก่ขอไข่ใหม่ ความรู้เกี่ยวกับสีหายไปจากสมองหมดเลย ได้อาศัยภรรยาคู่ชีวิตคอยสอนและป้อนข้อมูลความรู้เข้าไปในสมองให้ใหม่
"แรกๆผมยอมรับไม่ได้เลย เราเคยยิ่งใหญ่ เคยได้รางวัลเกี่ยวกับถ่ายภาพ ผมเคยกวาดรางวัลมามากมาย เรามีเครื่องมือที่ทันสมัยที่สุด แต่กลับต้องมาอยู่ในสภาพที่ทำอะไรไม่ได้เลยเพราะต้องอยู่บนรถเข็น เราเสียใจมาก ผิดหวังมาก นอนร้องไห้กันทุกคืน ก่อนหน้านี้เราตกลงกันว่าจะเลิกงานด้านออกแบบไปขายขนมกัน พอดีได้ไปรู้จักผอ.ที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมซึ่งชวนออกบู๊ธที่เดอะมอลล์ ทำให้เรากล้าลุกขึ้นมาสู้อีกครั้ง" คุณวีระกล่าวถึงความหลัง
ออกแบบบรรจุภัณฑ์ สร้างสีสันให้โอท็อป
การออกแบบบรรจุภัณฑ์ถือเป็นงานสร้างสรรค์ของมืออาชีพที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำนาญในการตีโจทย์ปัญหาของสินค้าตัวหนึ่ง เพื่อดึงเอาความโดดเด่นมาเป็นคำตอบที่โดนใจผู้บริโภคให้มากที่สุด ด้วยการถ่ายทอดงานศิลปะผสมผสานกับหลักจิตวิทยาด้านการตลาดบนหีบห่อบรรจุภัณฑ์ที่ใช้บรรจุสินค้า โดยบรรจุภัณฑ์มีหน้าที่ให้ตนเอง"เตะตา โดนใจ" ผู้บริโภคเลือกหยิบสินค้าของเราแทนสินค้าชิ้นอื่นที่วางประชันโฉมกันอยู่รอบด้าน ว่ากันว่า บรรจุภัณฑ์ที่ดีนั้นต้องสามารถขายสินค้าด้วยตัวของมันเอง โดยที่พนักงานขายไม่จำเป็นต้องอธิบายอะไรมาก
การที่จะมีบรรจุภัณฑ์สวยงามดึงดูดผู้ซื้อ จำเป็นต้องใช้เงินทุนสูง จะเห็นได้ว่าบริษัทใหญ่ๆจำเป็นต้องจ้างนักออกแบบบรรจุภัณฑ์มืออาชีพเพื่อสร้างบรรจุภัณฑ์ห่อหุ้มสินค้าก่อนนำออกวางตลาด แต่สำหรับผู้ประกอบการรายย่อยที่มีเงินทุนจำกัดคงเป็นไปได้ยากหากจะลงทุนพัฒนาหรือซื้อบรรจุภัณฑ์ดีไซน์สวยงามดังเช่นบริษัทใหญ่ เหตุนี้จึงทำให้บรรจุภัณฑ์ของผู้ประกอบการรายย่อยส่วนใหญ่จึงเป็นเพียงแผ่นกระดาษสติอกเกอร์คุณภาพต่ำพิมพ์ชื่อสินค้าและสถานที่ติดต่อ แปะลงบนถุงพลาสติกที่ใช้บรรจุสินค้าง่ายๆ ซึ่งไม่สอดคล้องกับทั้งหลักการตลาดและกฎหมายที่ว่าด้วยการติดฉลากสินค้าให้ถูกต้องตามที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้กำหนดไว้
ไขปัญหาสินค้ารากหญ้า ช่วยเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์
บริษัท คามาราร์ต สตูดิโอ จำกัด เข้ามาเติมช่องว่างทางการตลาดของธุรกิจการออกแบบบรรจุภัณฑ์ในกลุ่มผู้ประกอบการรายย่อย ประกอบกับความตั้งใจที่จะเห็นสินค้าในระดับรากหญ้าของไทยได้มีโอกาสบรรจุลงในหีบห่อที่ได้รับการพัฒนาแบบมืออาชีพเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ โดยวางตำแหน่งของตนเองให้เป็นผู้บริการทางด้านสตูดิโอ ถ่ายภาพงานตกแต่งสร้างภาพเพื่อการตลาดและการโฆษณา (Retouching)และการออกแบบกราฟิกดีไซน์ในงานสื่อสิ่งพิมพ์สำหรับ ผู้ประกอบการรายย่อยด้วยราคาที่ผู้ประกอบการรายย่อย โดย ผลงานที่ออกมานั้นมีความโดดเด่นสวยงามเป็นมืออาชีพ ไม่แพ้บรรจุภัณฑ์บริษัทใหญ่ๆ
คุณอโณทัย พุฒิกุลางกูร ผู้บริหารบริษัทคามาราร์ต สตูดิโอ จำกัด เล่าถึงความเป็นมาว่าคุณวีระ (คู่ชีวิต) เป็นผู้ที่สนใจด้านการถ่ายภาพและกราฟิก จึงได้ไปศึกษาต่อด้านการถ่ายภาพและการตกแต่งภาพ (Retouching) ที่ประเทศญี่ปุ่นในระหว่างที่ใช้ชีวิตอยู่ที่ดินแดนอาทิตย์อุทัยนั้นก็ได้ศึกษางานด้านบรรจุภัณฑ์ด้วยความสนใจที่มีอยู่เดิม ประกอบกับได้สัมผัสกับความพิถีพิถันในการห่อบรรจุภัณฑ์ของชาวญี่ปุ่น ซึ่งเป็นชาติที่ได้ชื่อว่าให้ความสำคัญกับการบรรจุหีบห่อมากที่สุด วิทยาการและศิลปะทางด้านบรรจุภัณฑ์ของญี่ปุ่นจึงมีความก้าวหน้า ประณีตสวยงาม หลากหลาย และโดดเด่นกว่าชนชาติอื่น
หลังจากเรียนจบ คุณวีระจึงได้จัดตั้งบริษัท คามาราร์ตสตูดิโอ จำกัด ขึ้นในปี 2535 เพื่อให้บริการด้านการถ่ายภาพและงานออกแบบกราฟิกดีไซน์ โดยลูกค้าส่วนมากจะเป็นบริษัทขนาดกลางและขนาดใหญ่ โดยเฉพาะบริษัทข้ามชาติที่มีบริษัทแม่อยู่ในประเทศญี่ปุ่นที่ถือเป็นลูกค้าสำคัญ
"ในช่วง 2-3 ปีก่อนหน้านี้ ในขณะที่กระแสการพัฒนา SMEs และสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ กำลังร้อนแรง ซึ่งเป็นช่วงที่บริษัทคามาราร์ตฯเองกำลังคิดว่าควรจะต้องปรับกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับงานกราฟิกและงานด้านสื่อให้ครอบคลุมหรือแตกต่างจากการให้บริการรายอื่นด้วย และบังเอิญในช่วงนั้นได้มีโอกาสรู้จักกับ ผอ.มนูญ จันทร์ประสิทธิ์ จากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ที่กำลังมุ่งส่งเสริมผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารและสมุนไพร ท่านได้ให้ข้อคิดเกี่ยวกับศักยภาพและโอกาสของหลายประการที่เป็นประโยชน์ และเป็นแรงบันดาลใจให้เราขยายการให้บริการด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้ผู้ประกอบการรายย่อยด้วยราคาที่เขาสามารถรองรับได้ คุณอโณทัยกล่าว
สร้างความโดดเด่นให้ปรากฏเสริมคุณค่าของสินค้าให้ชัดเจน
เมื่อได้มีโอกาสเข้ามาสัมผัสกับกลุ่มผู้ผลิตรายย่อย ทำให้ทั้งคุณวีระและคุณอโณทัยได้ตระหนักว่า ศักยภาพของผู้ประกอบการเล็กๆ เหล่านี้ไม่ได้เล็กอย่างที่คิด สินค้าทุกตัวเกิดมาจากภูมิปัญญา มีเรื่องราวของวัฒนธรรม ตำนานและวิวัฒนาการที่น่าสนใจ เมื่อนำสิ่งเหล่านี้ออกมาผ่านมาทางกระบวนการทางความคิดสร้างสรรค์ ผสมผสานกับแนวคิดทางด้านการตลาด ดึงเอาจุดเด่นของสินค้าออกมาสร้างเป็นคุณค่าหุ้มห่อผลิตภัณฑ์ที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นเฉพาะตัว เต็มไปด้วยเรื่องราวอันทรงคุณค่าที่น่าสนใจ สามารถจูงใจและโน้มน้าวให้ผู้บริโภคหยิบสินค้าขึ้นมาชมให้ความสนใจกับรูปลักษณ์สีสัน ที่สื่อด้วยวัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่นรายละเอียดที่บ่งชัดถึงวิธีใช้และความปลอดภัยต่างๆ มีแหล่งที่มาน่าเชื่อถือ บอกถึงความเป็นมืออาชีพของผู้ผลิต ชนิดที่ผู้บริโภคต้องยอมรับ
"งานออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่เราทำให้ลูกค้ากลุ่มนี้เรียกได้ว่าต้องเริ่มต้นใหม่ทุกอย่าง บางรายมีเพียงสินค้าชิ้นเดียวใส่ถุงพลาสติกมาให้เราดู ไม่มีหีบห่อ ไม่มีตราสินค้า ไม่มีแนวคิดหรือรูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่ต้องการอะไรทั้งสิ้น เราจะต้องคุยกับผู้ประกอบการถึงที่มาของสินค้า กระบวนการผลิต คุณลักษณะอายุการใช้งาน ราคา ตลาดที่เขาจะวางขาย กลุ่มเป้าหมายเป็นใครแล้วนำข้อมูลที่ได้มาผ่านกระบวนการคิดแบบการตลาด เพื่อดึงอะไรออกมาเป็นจุดขายได้บ้าง จะใช้วัสดุอะไรจึงจะเหมาะสมกับราคา และนำจุดขายที่ได้มาออกแบบดีไซน์เป็นงานศิลปะสื่อลงบนบรรจุภัณฑ์ที่สวยงามที่ตรงกับพฤติกรรมและรสนิยมของกลุ่มเป้าหมาย เราทำให้หมดตั้งแต่การถ่ายภาพสินค้า ออกแบบโลโก้เขียนรายละเอียดคำบรรยายต่างๆ อย่างครบถ้วน ถูกต้อง ตามที่กฎหมายกำหนด จัดพิมพ์จนออกมาเป็นบรรจุภัณฑ์ที่สมบูรณ์แบบพร้อมบรรจุ ทั้งหมดนี้รวมอยู่ในค่าบริการก้อนเดียวที่นับว่าต่ำมาก้ ผู้บริหารคามาราร์ตฯ กล่าว
ออกแบบให้ชาวบ้าน เงินน้อยแต่สุขใจ
จุดที่เป็นหัวใจสำคัญของการดีไซน์สินค้าสำหรับผู้ผลิตซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากภูมิปัญญาคือ การดึงเอาวัฒนธรรมท้องถิ่นเข้าไปมีส่วนร่วมอยู่ในบรรจุภัณฑ์ทำให้เกิดเรื่องราวที่มีคุณค่าน่าสนใจ สื่อถึงความเป็น ไทยได้ชัดเจน ขณะเดียวกัน ก็มีรูปแบบที่เป็นสากล ซึ่งทางบริษัทพยายามดึงเอาหลักสากลของการจัดทำบรรจุภัณฑ์ผสมผสานกับวัฒนธรรมท้องถิ่นให้มีความลงตัว เป็นที่ยอมรับได้ทั้งในตลาดไทยและตลาดต่างประเทศ
"จากการที่เราผ่านการทำงานกับลูกค้าหลายระดับ มีทั้งระดับบริษัทข้ามชาติ อุตสาห- กรรมขนาดใหญ่ SMEs หรือชุมชน ทำให้เราได้เรียนรู้ว่า เราสามารถให้บริการลูกค้าเหล่านี้ได้อย่างเต็มศักยภาพและเท่าเทียมกันได้ เพียงแต่เรารู้จักวิธีจัดการขั้นตอนการทำงานให้กระชับขึ้นรู้วิธีการปรับตัวที่จะให้ผลงานออกมาสำเร็จตรง ตามความต้องการของลูกค้า แม้การทำงานกับ SMEs หรือกลุ่มชุมชนจะได้เม็ดเงินที่น้อยกว่าแต่เราก็ทำงานเพียงช่วงสั้นๆ เพราะอำนาจการตัดสินใจไม่ซับซ้อน เราคุยกันง่ายๆ สร้างความเข้าใจและเรียนรู้ร่วมกัน ทุกวันนี้กลายเป็นว่าเรามีความสุขกับการทำงานร่วมกับผู้ประกอบการรายเล็ก ได้มีโอกาสเดินทางไปสัมผัสกับผู้ผลิตในแหล่งชุมชนด้วยตัวเอง ได้พูดคุย ได้เปิดวิสัยทัศน์อีกด้านหนึ่งซึ่งแต่ก่อนเราไม่เคยได้มีโอกาสได้สัมผัสอย่างลึกซึ้ง ที่สำคัญได้มีโอกาสช่วยเหลือ ให้ความรู้ แนะนำ ว่าสินค้าแบบนี้ควรจะต้องลงทุนการบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะสมกับราคาสินค้า ทำอย่างไรสินค้าถึงจะขายได้ บางรายเราต้องพัฒนาไปทีละขั้นตอน ได้เห็นวิวัฒนาการด้านการตลาดของผู้ประกอบการรายย่อยค่อยๆดีขึ้น โดยเรามีส่วนได้ผลักดันก็รู้สึกภาคภูมิใจเหมือนกัน"
บริษัท คามาราร์ต สตูดิโอ จำกัด ใช้วิธีการหาตลาดลูกค้ารายเล็กเหล่านี้ด้วยการลงพื้นที่ออกบูธแสดงสินค้าของ SMEs และสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ต่างๆ โดยออกเยี่ยมลูกค้า รายเก่าและไปทำความรู้จักกับลูกค้ารายใหม่ที่ได้รับการแนะนำติดต่อกันมาปากต่อปาก พยายามลงพื้นที่ไปดูแหล่งผลิต ไปสัมผัสกับความเป็นรากหญ้ากับผู้ประกอบการโดยตรง ทำให้ได้รับทราบปัญหา ข้อจำกัด และได้ให้ข้อเสนอแนะเท่าที่สามารถจะทำได้ นอกจากนี้ ทางบริษัทยังวางแผนไว้ว่า ในอนาคตจะพยายามเชื่อมโยงเป็นตัวกลางระหว่างผู้ประกอบการ แนะนำผู้ผลิตให้รู้จักกับผู้ขายเพื่อขยายโอกาสทางการตลาดร่วมกันเป็นการช่วยทำการตลาดให้ลูกค้าในทางอ้อมด้วย
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-
ไม่มีใครคาดคิดว่า ความสำเร็จที่กำลังรุ่งโรจน์อย่างมหาศาลบนเส้นทางธุรกิจโฆษณาต้องล้มทั้งยืนอย่างไม่ทันตั้งตัวการบาดเจ็บในทางธุรกิจครั้งนั้นทำให้ทุกชีวิตภายใต้คามาราร์ตต้องเก็บตัวเงียบๆ พร้อมกับชื่อเสียงที่ค่อยๆเลือนหายไป ทิ้งคราบน้ำตาและความทรงจำเหลือไว้เป็นความหลัง
มาบัดนี้ คามาราร์ตกลับมาผงาดบนเส้นทางธุรกิจออกแบบอีกครั้ง โดยมี คุณอโณทัย พุฒิกุลางกูร ก้าวขึ้นมาเป็นเสาหลักของบริษัท แทนคุณวีระ พุฒิกุลางกูร ซึ่งเปลี่ยนสภาพอยู่ที่ต่างจังหวัด เขาจะต้อนรับอย่างดี เขาจะแสดงความจริงใจผู้ผลิตสินค้าโอท็อป เพียงแค่เห็นสายตาที่เต็มไปด้วยความหวังของชาวบ้านที่ถือขวดน้ำปลาเดินมาหาแล้วถามว่า "จะทำมะนาวดองใส่ขวดแบบนี้ จะคิดค่าออกแบบเท่าไหร่"
นั่นคือสิ่งที่จุดประกายให้ คุณอโณทัย พุฒิกุลางกูร หวนคืนสู่เวทีธุรกิจออกแบบสิ่งพิมพ์อีกครั้ง เพื่ออวดฝีมือการออกแบบในราคาชาวบ้าน หวังช่วยให้สินค้าโอท็อปมีสีสันและมีรูปแบบที่เป็นสากลมากขึ้น
จุดหักเหธุรกิจของชีวิตคืนสู่ธุรกิจการออกแบบ
"เราเปิดตัวครั้งแรกที่ห้างเดอะมอลล์ บางกะปิ หลังจากที่ปิดตัวเงียบมานาน ตอนนั้นเป็นงานขนมไทยซึ่งกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมจัดขึ้นร่วมกับห้างเดอะมอลล์ จำได้ว่ามีลุงแก่ๆถือขวดน้ำปลาเดินเข้ามาหาเราแล้วถามว่า จะทำมะนาวดองใส่ขวดนี้จะคิดค่าออกแบบเท่าไหร่ ตอนนั้นเราอึ้งแล้วเงียบไปเลย เพราะคิดราคาไม่ถูก ไม่รู้จะคิดเท่าไหร่ จากนั้นก็มีชาวบ้านถือขนมมาหาเราด้วยความหวัง เขาอยากทำกล่องใส่ขนม อยากทำยี่ห้อติดขนม เราจะคิดราคาเท่าไหร่ เลิกงานคืนนั้นเราประชุมทีมงานกันทันที เรายอมรับว่าคิดราคากันไม่ออกจริงๆ เพราะเมื่อก่อนเราทำงานกับลูกค้าระดับยักษ์ใหญ่ของเมืองไทยทั้งนั้น ค่าออกแบบอย่างธรรมดาก็ 4-5 หมื่นบาท พอมาทำกับระดับชาวบ้านมันเป็นอีกแบบหนึ่งที่แตกต่างกันสิ้นเชิง" คุณอโณทัยกล่าวถึงจุดเริ่มต้น
"เมื่อก่อนเราออกแบบแล้วได้เงินเยอะก็จริง แต่เราไม่มีความสุขอย่างนี้ เราทำงานให้สินค้าโอท็อปของชาวบ้าน ค่าจ้างได้น้อย บางครั้งออกแบบไปแล้วเงินยังไม่ได้ก็มี แต่สิ่งที่เราได้มาคือ ความสุขใจ ความจริงใจ เวลาเราไปพบลูกค้าซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่บนรถเข็นสองล้อ เธอมาพร้อมกับความหวังของชาวบ้านอย่างมาก ให้ความเอ็นดูเราเหมือนลูกหลาน" คุณอโณทัยกล่าวเสริมถึงวิถีธุรกิจและลูกค้าที่เปลี่ยนไป
คุณอโณทัย พุฒิกุลางกูร สตรีเหล็กผู้พลิกบทบาทจากงานบัญชีมาคุมบังเหียนของคามาราร์ตอย่างเต็มตัว โดยมีคุณวีระคู่ใจเคียงคู่ไปตลอดบนเส้นทางโอท็อปทุกสาย คุณวีระเผยเรื่องราวในอดีตว่า เมื่อโรคภัยจู่โจมกะทันหันทำให้เส้นโลหิตในสมองแตก หมอบอกว่า 95 เปอร์เซ็นต์ไม่รอด ถ้ารอดก็ปาฏิหาริย์ หลังผ่าตัดสมองหลายระลอก เขารอดมาอย่างปาฏิหาริย์ แต่ว่าร่างกายบางส่วนใช้การไม่ได้ ความทรงจำสูญหายไปเกือบหมดต้องเริ่มหัดอ่านและหัดเขียนกอไก่ขอไข่ใหม่ ความรู้เกี่ยวกับสีหายไปจากสมองหมดเลย ได้อาศัยภรรยาคู่ชีวิตคอยสอนและป้อนข้อมูลความรู้เข้าไปในสมองให้ใหม่
"แรกๆผมยอมรับไม่ได้เลย เราเคยยิ่งใหญ่ เคยได้รางวัลเกี่ยวกับถ่ายภาพ ผมเคยกวาดรางวัลมามากมาย เรามีเครื่องมือที่ทันสมัยที่สุด แต่กลับต้องมาอยู่ในสภาพที่ทำอะไรไม่ได้เลยเพราะต้องอยู่บนรถเข็น เราเสียใจมาก ผิดหวังมาก นอนร้องไห้กันทุกคืน ก่อนหน้านี้เราตกลงกันว่าจะเลิกงานด้านออกแบบไปขายขนมกัน พอดีได้ไปรู้จักผอ.ที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมซึ่งชวนออกบู๊ธที่เดอะมอลล์ ทำให้เรากล้าลุกขึ้นมาสู้อีกครั้ง" คุณวีระกล่าวถึงความหลัง
ออกแบบบรรจุภัณฑ์ สร้างสีสันให้โอท็อป
การออกแบบบรรจุภัณฑ์ถือเป็นงานสร้างสรรค์ของมืออาชีพที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำนาญในการตีโจทย์ปัญหาของสินค้าตัวหนึ่ง เพื่อดึงเอาความโดดเด่นมาเป็นคำตอบที่โดนใจผู้บริโภคให้มากที่สุด ด้วยการถ่ายทอดงานศิลปะผสมผสานกับหลักจิตวิทยาด้านการตลาดบนหีบห่อบรรจุภัณฑ์ที่ใช้บรรจุสินค้า โดยบรรจุภัณฑ์มีหน้าที่ให้ตนเอง"เตะตา โดนใจ" ผู้บริโภคเลือกหยิบสินค้าของเราแทนสินค้าชิ้นอื่นที่วางประชันโฉมกันอยู่รอบด้าน ว่ากันว่า บรรจุภัณฑ์ที่ดีนั้นต้องสามารถขายสินค้าด้วยตัวของมันเอง โดยที่พนักงานขายไม่จำเป็นต้องอธิบายอะไรมาก
การที่จะมีบรรจุภัณฑ์สวยงามดึงดูดผู้ซื้อ จำเป็นต้องใช้เงินทุนสูง จะเห็นได้ว่าบริษัทใหญ่ๆจำเป็นต้องจ้างนักออกแบบบรรจุภัณฑ์มืออาชีพเพื่อสร้างบรรจุภัณฑ์ห่อหุ้มสินค้าก่อนนำออกวางตลาด แต่สำหรับผู้ประกอบการรายย่อยที่มีเงินทุนจำกัดคงเป็นไปได้ยากหากจะลงทุนพัฒนาหรือซื้อบรรจุภัณฑ์ดีไซน์สวยงามดังเช่นบริษัทใหญ่ เหตุนี้จึงทำให้บรรจุภัณฑ์ของผู้ประกอบการรายย่อยส่วนใหญ่จึงเป็นเพียงแผ่นกระดาษสติอกเกอร์คุณภาพต่ำพิมพ์ชื่อสินค้าและสถานที่ติดต่อ แปะลงบนถุงพลาสติกที่ใช้บรรจุสินค้าง่ายๆ ซึ่งไม่สอดคล้องกับทั้งหลักการตลาดและกฎหมายที่ว่าด้วยการติดฉลากสินค้าให้ถูกต้องตามที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้กำหนดไว้
ไขปัญหาสินค้ารากหญ้า ช่วยเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์
บริษัท คามาราร์ต สตูดิโอ จำกัด เข้ามาเติมช่องว่างทางการตลาดของธุรกิจการออกแบบบรรจุภัณฑ์ในกลุ่มผู้ประกอบการรายย่อย ประกอบกับความตั้งใจที่จะเห็นสินค้าในระดับรากหญ้าของไทยได้มีโอกาสบรรจุลงในหีบห่อที่ได้รับการพัฒนาแบบมืออาชีพเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ โดยวางตำแหน่งของตนเองให้เป็นผู้บริการทางด้านสตูดิโอ ถ่ายภาพงานตกแต่งสร้างภาพเพื่อการตลาดและการโฆษณา (Retouching)และการออกแบบกราฟิกดีไซน์ในงานสื่อสิ่งพิมพ์สำหรับ ผู้ประกอบการรายย่อยด้วยราคาที่ผู้ประกอบการรายย่อย โดย ผลงานที่ออกมานั้นมีความโดดเด่นสวยงามเป็นมืออาชีพ ไม่แพ้บรรจุภัณฑ์บริษัทใหญ่ๆ
คุณอโณทัย พุฒิกุลางกูร ผู้บริหารบริษัทคามาราร์ต สตูดิโอ จำกัด เล่าถึงความเป็นมาว่าคุณวีระ (คู่ชีวิต) เป็นผู้ที่สนใจด้านการถ่ายภาพและกราฟิก จึงได้ไปศึกษาต่อด้านการถ่ายภาพและการตกแต่งภาพ (Retouching) ที่ประเทศญี่ปุ่นในระหว่างที่ใช้ชีวิตอยู่ที่ดินแดนอาทิตย์อุทัยนั้นก็ได้ศึกษางานด้านบรรจุภัณฑ์ด้วยความสนใจที่มีอยู่เดิม ประกอบกับได้สัมผัสกับความพิถีพิถันในการห่อบรรจุภัณฑ์ของชาวญี่ปุ่น ซึ่งเป็นชาติที่ได้ชื่อว่าให้ความสำคัญกับการบรรจุหีบห่อมากที่สุด วิทยาการและศิลปะทางด้านบรรจุภัณฑ์ของญี่ปุ่นจึงมีความก้าวหน้า ประณีตสวยงาม หลากหลาย และโดดเด่นกว่าชนชาติอื่น
หลังจากเรียนจบ คุณวีระจึงได้จัดตั้งบริษัท คามาราร์ตสตูดิโอ จำกัด ขึ้นในปี 2535 เพื่อให้บริการด้านการถ่ายภาพและงานออกแบบกราฟิกดีไซน์ โดยลูกค้าส่วนมากจะเป็นบริษัทขนาดกลางและขนาดใหญ่ โดยเฉพาะบริษัทข้ามชาติที่มีบริษัทแม่อยู่ในประเทศญี่ปุ่นที่ถือเป็นลูกค้าสำคัญ
"ในช่วง 2-3 ปีก่อนหน้านี้ ในขณะที่กระแสการพัฒนา SMEs และสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ กำลังร้อนแรง ซึ่งเป็นช่วงที่บริษัทคามาราร์ตฯเองกำลังคิดว่าควรจะต้องปรับกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับงานกราฟิกและงานด้านสื่อให้ครอบคลุมหรือแตกต่างจากการให้บริการรายอื่นด้วย และบังเอิญในช่วงนั้นได้มีโอกาสรู้จักกับ ผอ.มนูญ จันทร์ประสิทธิ์ จากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ที่กำลังมุ่งส่งเสริมผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารและสมุนไพร ท่านได้ให้ข้อคิดเกี่ยวกับศักยภาพและโอกาสของหลายประการที่เป็นประโยชน์ และเป็นแรงบันดาลใจให้เราขยายการให้บริการด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้ผู้ประกอบการรายย่อยด้วยราคาที่เขาสามารถรองรับได้ คุณอโณทัยกล่าว
สร้างความโดดเด่นให้ปรากฏเสริมคุณค่าของสินค้าให้ชัดเจน
เมื่อได้มีโอกาสเข้ามาสัมผัสกับกลุ่มผู้ผลิตรายย่อย ทำให้ทั้งคุณวีระและคุณอโณทัยได้ตระหนักว่า ศักยภาพของผู้ประกอบการเล็กๆ เหล่านี้ไม่ได้เล็กอย่างที่คิด สินค้าทุกตัวเกิดมาจากภูมิปัญญา มีเรื่องราวของวัฒนธรรม ตำนานและวิวัฒนาการที่น่าสนใจ เมื่อนำสิ่งเหล่านี้ออกมาผ่านมาทางกระบวนการทางความคิดสร้างสรรค์ ผสมผสานกับแนวคิดทางด้านการตลาด ดึงเอาจุดเด่นของสินค้าออกมาสร้างเป็นคุณค่าหุ้มห่อผลิตภัณฑ์ที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นเฉพาะตัว เต็มไปด้วยเรื่องราวอันทรงคุณค่าที่น่าสนใจ สามารถจูงใจและโน้มน้าวให้ผู้บริโภคหยิบสินค้าขึ้นมาชมให้ความสนใจกับรูปลักษณ์สีสัน ที่สื่อด้วยวัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่นรายละเอียดที่บ่งชัดถึงวิธีใช้และความปลอดภัยต่างๆ มีแหล่งที่มาน่าเชื่อถือ บอกถึงความเป็นมืออาชีพของผู้ผลิต ชนิดที่ผู้บริโภคต้องยอมรับ
"งานออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่เราทำให้ลูกค้ากลุ่มนี้เรียกได้ว่าต้องเริ่มต้นใหม่ทุกอย่าง บางรายมีเพียงสินค้าชิ้นเดียวใส่ถุงพลาสติกมาให้เราดู ไม่มีหีบห่อ ไม่มีตราสินค้า ไม่มีแนวคิดหรือรูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่ต้องการอะไรทั้งสิ้น เราจะต้องคุยกับผู้ประกอบการถึงที่มาของสินค้า กระบวนการผลิต คุณลักษณะอายุการใช้งาน ราคา ตลาดที่เขาจะวางขาย กลุ่มเป้าหมายเป็นใครแล้วนำข้อมูลที่ได้มาผ่านกระบวนการคิดแบบการตลาด เพื่อดึงอะไรออกมาเป็นจุดขายได้บ้าง จะใช้วัสดุอะไรจึงจะเหมาะสมกับราคา และนำจุดขายที่ได้มาออกแบบดีไซน์เป็นงานศิลปะสื่อลงบนบรรจุภัณฑ์ที่สวยงามที่ตรงกับพฤติกรรมและรสนิยมของกลุ่มเป้าหมาย เราทำให้หมดตั้งแต่การถ่ายภาพสินค้า ออกแบบโลโก้เขียนรายละเอียดคำบรรยายต่างๆ อย่างครบถ้วน ถูกต้อง ตามที่กฎหมายกำหนด จัดพิมพ์จนออกมาเป็นบรรจุภัณฑ์ที่สมบูรณ์แบบพร้อมบรรจุ ทั้งหมดนี้รวมอยู่ในค่าบริการก้อนเดียวที่นับว่าต่ำมาก้ ผู้บริหารคามาราร์ตฯ กล่าว
ออกแบบให้ชาวบ้าน เงินน้อยแต่สุขใจ
จุดที่เป็นหัวใจสำคัญของการดีไซน์สินค้าสำหรับผู้ผลิตซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากภูมิปัญญาคือ การดึงเอาวัฒนธรรมท้องถิ่นเข้าไปมีส่วนร่วมอยู่ในบรรจุภัณฑ์ทำให้เกิดเรื่องราวที่มีคุณค่าน่าสนใจ สื่อถึงความเป็น ไทยได้ชัดเจน ขณะเดียวกัน ก็มีรูปแบบที่เป็นสากล ซึ่งทางบริษัทพยายามดึงเอาหลักสากลของการจัดทำบรรจุภัณฑ์ผสมผสานกับวัฒนธรรมท้องถิ่นให้มีความลงตัว เป็นที่ยอมรับได้ทั้งในตลาดไทยและตลาดต่างประเทศ
"จากการที่เราผ่านการทำงานกับลูกค้าหลายระดับ มีทั้งระดับบริษัทข้ามชาติ อุตสาห- กรรมขนาดใหญ่ SMEs หรือชุมชน ทำให้เราได้เรียนรู้ว่า เราสามารถให้บริการลูกค้าเหล่านี้ได้อย่างเต็มศักยภาพและเท่าเทียมกันได้ เพียงแต่เรารู้จักวิธีจัดการขั้นตอนการทำงานให้กระชับขึ้นรู้วิธีการปรับตัวที่จะให้ผลงานออกมาสำเร็จตรง ตามความต้องการของลูกค้า แม้การทำงานกับ SMEs หรือกลุ่มชุมชนจะได้เม็ดเงินที่น้อยกว่าแต่เราก็ทำงานเพียงช่วงสั้นๆ เพราะอำนาจการตัดสินใจไม่ซับซ้อน เราคุยกันง่ายๆ สร้างความเข้าใจและเรียนรู้ร่วมกัน ทุกวันนี้กลายเป็นว่าเรามีความสุขกับการทำงานร่วมกับผู้ประกอบการรายเล็ก ได้มีโอกาสเดินทางไปสัมผัสกับผู้ผลิตในแหล่งชุมชนด้วยตัวเอง ได้พูดคุย ได้เปิดวิสัยทัศน์อีกด้านหนึ่งซึ่งแต่ก่อนเราไม่เคยได้มีโอกาสได้สัมผัสอย่างลึกซึ้ง ที่สำคัญได้มีโอกาสช่วยเหลือ ให้ความรู้ แนะนำ ว่าสินค้าแบบนี้ควรจะต้องลงทุนการบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะสมกับราคาสินค้า ทำอย่างไรสินค้าถึงจะขายได้ บางรายเราต้องพัฒนาไปทีละขั้นตอน ได้เห็นวิวัฒนาการด้านการตลาดของผู้ประกอบการรายย่อยค่อยๆดีขึ้น โดยเรามีส่วนได้ผลักดันก็รู้สึกภาคภูมิใจเหมือนกัน"
บริษัท คามาราร์ต สตูดิโอ จำกัด ใช้วิธีการหาตลาดลูกค้ารายเล็กเหล่านี้ด้วยการลงพื้นที่ออกบูธแสดงสินค้าของ SMEs และสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ต่างๆ โดยออกเยี่ยมลูกค้า รายเก่าและไปทำความรู้จักกับลูกค้ารายใหม่ที่ได้รับการแนะนำติดต่อกันมาปากต่อปาก พยายามลงพื้นที่ไปดูแหล่งผลิต ไปสัมผัสกับความเป็นรากหญ้ากับผู้ประกอบการโดยตรง ทำให้ได้รับทราบปัญหา ข้อจำกัด และได้ให้ข้อเสนอแนะเท่าที่สามารถจะทำได้ นอกจากนี้ ทางบริษัทยังวางแผนไว้ว่า ในอนาคตจะพยายามเชื่อมโยงเป็นตัวกลางระหว่างผู้ประกอบการ แนะนำผู้ผลิตให้รู้จักกับผู้ขายเพื่อขยายโอกาสทางการตลาดร่วมกันเป็นการช่วยทำการตลาดให้ลูกค้าในทางอ้อมด้วย
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-