1. การผลิต
การผลิตเซรามิก ไตรมาสที่ 4 ปี 2549 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 33.83 ล้านตารางเมตร เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบ
กับระยะเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 5.03 และ 6.23 ตามลำดับ สำหรับเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณ 1.97 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และ
เทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 7.03 และ 9.98 ตามลำดับ (ดังตารางที่ 1 และ 2)
การผลิตเซรามิกได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่องจากการชะลอตัวลงของอสังหาริมทรัพย์ ในประเทศ รวมทั้งราคาวัตถุดิบที่สูงขึ้นอย่างต่อ
เนื่อง ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตเซรามิกจนผู้ผลิตต้องปรับแผนการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดเพื่อลดภาระต้นทุน จึงทำให้การผลิต
เซรามิก ลดลง โดยในปี 2549 การผลิตกระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 145.46 ล้านตารางเมตร และการผลิต เครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณ 8.40
ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับปี 2548 ลดลงร้อยละ 4.91 และ 8.78 ตามลำดับ
2. การตลาด
2.1 ตลาดในประเทศ
การจำหน่ายเซรามิก ไตรมาสที่ 4 ปี 2549 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 35.67 ล้านตารางเมตร เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และ
เทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 6.40 และ 5.56 ตามลำดับ สำหรับเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณ 1.20 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน
และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขี้นร้อยละ 1.49 และ 3.43 ตามลำดับ (ดังตารางที่ 1 และ 2)
การจำหน่ายเซรามิกได้รับผลกระทบจากปัญหาต่าง ๆ ทั้งราคาน้ำมัน และอัตราดอกเบี้ย ที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ผู้บริโภคชะลอการตัดสินใจซื้อ
ส่งผลให้การจำหน่ายเซรามิกในประเทศขยายตัวลดลง โดยในปี 2549 การจำหน่ายกระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 158.00 ล้านตารางเมตร และ
การจำหน่ายเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณ 4.82 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับปี 2548 ลดลงร้อยละ 3.52 และ 4.80 ตามลำดับ
2.2 การส่งออก
การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก ไตรมาสที่ 4 ปี 2549 มีมูลค่ารวม 163.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ลดลงร้อยละ
8.58 ซึ่งเป็นผลจากการลดลงของผลิตภัณฑ์เซรามิกเกือบทุกผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ที่ได้รับผลกระทบโดย
ตรงจาก การชะลอตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในตลาดสหรัฐอเมริกา ทำให้การส่งออกลดลงอย่างเห็นได้ชัด และ เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของ
ปีก่อน การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.00 โดยผลิตภัณฑ์ ส่วนใหญ่มีการส่งออกเพิ่มขึ้น ยกเว้น กระเบื้องปูพื้น บุผนัง ที่ลดลงในตลาด
หลัก คือ สหรัฐอเมริกา และเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร ที่ลดลงในตลาดหลัก คือ สภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา (ดังตารางที่ 3)
การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกจะส่งไปยังประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลียสหราชอาณาจักร ไต้หวัน แคนาดา เยอรมนี และ
ประเทศในกลุ่มอาเซียน เป็นต้น ในปี 2549 การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกมีมูลค่ารวม 669.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับปี 2548 เพิ่มขึ้นร้อยละ
6.05 ซึ่งเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของผลิตภัณฑ์ลูกถ้วยไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น ๆ และเครื่องสุขภัณฑ์ ในขณะที่การส่งออกผลิตภัณฑ์หลักทั้งกระเบื้องปูพื้น
บุผนัง เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร และของชำร่วยเครื่องประดับกลับลดลงทั้งในตลาดสหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป
2.3 การนำเข้า
การนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกส่วนใหญ่จากประเทศ จีน ญี่ปุ่น มาเลเซีย และ อินโดนีเซีย เป็นต้น โดยไตรมาสที่ 4 ปี 2549 การนำเข้า
ผลิตภัณฑ์เซรามิกมีมูลค่า 43.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.08 และ
17.57 ตามลำดับ (ดังตารางที่ 4) สำหรับการนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก ในปี 2549 มีมูลค่ารวม 162.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
เมื่อเทียบกับปี 2548 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.63 ซึ่งการนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกสำหรับใช้ตามห้องปฏิบัติการ ต้องนำเข้าสินค้าคุณภาพสูงจากญี่ปุ่น และ
มาเลเซีย และการนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่นส่วนใหญ่จะเป็นการนำเข้ากระเบื้องปูพื้น บุผนัง ที่มีราคาถูกจากจีน
3. สรุป
การผลิตและจำหน่ายเซรามิกที่ใช้เป็นวัสดุก่อสร้าง ซึ่งได้แก่ กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ ไตรมาสที่ 4 ปี 2549 ลดลงอย่าง
ต่อเนื่องจากภาวะซบเซาของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาหลัก ๆ ได้แก่ ราคาน้ำมัน และอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้น ทำ
ให้ผู้บริโภคชะลอการตัดสินใจซื้อ นอกจากนี้ผลกระทบจากปัญหาหลักดังกล่าว รวมทั้งการที่ราคาวัตถุดิบสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องยังส่งผลให้ต้นทุนการผลิต
เซรามิกเพิ่มสูงขึ้น จนทำให้บริษัทต่าง ๆ ต้องปรับแผนการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดเพื่อลดภาระต้นทุน สำหรับแนวโน้มในปี 2550
การผลิต เซรามิกน่าจะเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น เนื่องจากภาวะราคาน้ำมัน และอัตราดอกเบี้ยเริ่มทรงตัว สำหรับ การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกใน
ปี 2550 จะขึ้นอยู่กับการขยายตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในตลาดสหรัฐอเมริกาเป็นสำคัญ ซึ่งหากสถานการณ์สามารถคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้นจะส่งผล
ให้การส่งออกผลิตภัณฑ์กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ของไทยมีการขยายตัวได้เพิ่มขึ้น
ตารางที่ 1 การผลิต และจำหน่ายกระเบื้องปูพื้น บุผนัง
ปริมาณ (ตารางเมตร) ไตรมาส ปี 2548 ปี 2549 *
Apr-48 Mar-49 4/2549 *
การผลิต 36,081,592 35,624,415 33,833,114 152,979,168 145,461,978
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -5.03
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -6.23 -4.91
การจำหน่ายในประเทศ 37,775,610 38,112,860 35,674,570 163,764,112 158,004,161
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -6.4
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -5.56 -3.52
ที่มา: ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : 1. จากการสำรวจโรงงานกระเบื้องปูพื้น บุผนัง จำนวน 11 โรงงาน
2. ไตรมาส 4/2549 และ ปี 2549 เป็นตัวเลขประมาณการ
ตารางที่ 2 การผลิต และจำหน่ายเครื่องสุขภัณฑ์
ปริมาณ (ชิ้น) ไตรมาส ปี 2548 ปี 2549
Apr-48 Mar-49 Apr-49
การผลิต 2,192,575 2,123,038 1,973,807 9,205,872 8,397,153
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -7.03
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -9.98 -8.78
การจำหน่ายในประเทศ 1,156,769 1,178,907 1,196,431 5,059,009 4,816,245
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 1.49
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 3.43 -4.8
ที่มา: ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : จากการสำรวจโรงงานเครื่องสุขภัณฑ์ จำนวน 6 โรงงาน
ตารางที่ 3 แสดงมูลค่าส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก
มูลค่า:ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ช่วงเวลาไตรมาส ปี 2548 ปี 2549
ผลิตภัณฑ์ 44/2548 Mar-49 Apr-49
กระเบื้องปูพื้น บุผนัง 26.9 28.7 20.9 105 101.6
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -27.18
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -22.3 -3.24
เครื่องสุขภัณฑ์ 29.3 38.6 29.5 110.4 121.4
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -23.58
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 0.68 9.96
เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร 43.6 46.1 41.1 180.6 172.1
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -10.85
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -5.73 -4.71
ของชำร่วยเครื่องประดับ 7.2 7.3 7.3 32.6 28.3
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 0
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 1.39 -13.19
ลูกถ้วยไฟฟ้า 5.2 6.1 5.6 17.3 23.3
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -8.2
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 7.69 34.68
ผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น ๆ 47.7 51.6 58.7 185.3 222.7
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 13.76
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 23.06 20.18
รวมผลิตภัณฑ์เซรามิก 159.9 178.4 163.1 631.2 669.4
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -8.58
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 2 6.05
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
ตารางที่ 4 แสดงมูลค่านำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก
ช่วงเวลาไตรมาส ปี 2548 ปี 2549
ผลิตภัณฑ์ 44/2548 Mar-49 Apr-49
ผลิตผลิตภัณฑ์เซรามิกสำหรับใช้ตามห้องปฏิบัติการ 14.4 13 15.7 61.2 56.3
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 20.77
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 9.03 -8.01
ผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น 22.6 24.8 27.8 98.7 106.2
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 12.1
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 23.01 7.6
รวมผลิตภัณฑ์เซรามิก 37 37.8 43.5 159.9 162.5
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 15.08
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 17.57 1.63
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
หมายเหตุ : 1. กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ได้ปรับโครงสร้างสินค้านำเข้าใหม่ โดยแบ่งผลิตภัณฑ์เซรามิกเป็นผลิตภัณฑ์
เซรามิกสำหรับใช้ตามห้องปฏิบัติการ และผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น
2. การนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก ไม่นับรวมผลิตภัณฑ์เซรามิกทนไฟ ในพิกัด 6903 ที่จัดอยู่ในหมวดสินค้าทุนอื่น ๆ
เครื่องสุขภัณฑ์ ในพิกัด 6910 เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร ในพิกัด 6911 และพิกัด 6912 เครื่องใช้และเครื่องตกแต่ง
ในบ้านเรือน พิกัด 6913 และผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น ๆ ในพิกัด 6914 ที่จัดอยู่ในหมวดสินค้าอุปโภคบริโภค
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
การผลิตเซรามิก ไตรมาสที่ 4 ปี 2549 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 33.83 ล้านตารางเมตร เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบ
กับระยะเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 5.03 และ 6.23 ตามลำดับ สำหรับเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณ 1.97 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และ
เทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 7.03 และ 9.98 ตามลำดับ (ดังตารางที่ 1 และ 2)
การผลิตเซรามิกได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่องจากการชะลอตัวลงของอสังหาริมทรัพย์ ในประเทศ รวมทั้งราคาวัตถุดิบที่สูงขึ้นอย่างต่อ
เนื่อง ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตเซรามิกจนผู้ผลิตต้องปรับแผนการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดเพื่อลดภาระต้นทุน จึงทำให้การผลิต
เซรามิก ลดลง โดยในปี 2549 การผลิตกระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 145.46 ล้านตารางเมตร และการผลิต เครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณ 8.40
ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับปี 2548 ลดลงร้อยละ 4.91 และ 8.78 ตามลำดับ
2. การตลาด
2.1 ตลาดในประเทศ
การจำหน่ายเซรามิก ไตรมาสที่ 4 ปี 2549 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 35.67 ล้านตารางเมตร เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และ
เทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 6.40 และ 5.56 ตามลำดับ สำหรับเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณ 1.20 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน
และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขี้นร้อยละ 1.49 และ 3.43 ตามลำดับ (ดังตารางที่ 1 และ 2)
การจำหน่ายเซรามิกได้รับผลกระทบจากปัญหาต่าง ๆ ทั้งราคาน้ำมัน และอัตราดอกเบี้ย ที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ผู้บริโภคชะลอการตัดสินใจซื้อ
ส่งผลให้การจำหน่ายเซรามิกในประเทศขยายตัวลดลง โดยในปี 2549 การจำหน่ายกระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 158.00 ล้านตารางเมตร และ
การจำหน่ายเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณ 4.82 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับปี 2548 ลดลงร้อยละ 3.52 และ 4.80 ตามลำดับ
2.2 การส่งออก
การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก ไตรมาสที่ 4 ปี 2549 มีมูลค่ารวม 163.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ลดลงร้อยละ
8.58 ซึ่งเป็นผลจากการลดลงของผลิตภัณฑ์เซรามิกเกือบทุกผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ที่ได้รับผลกระทบโดย
ตรงจาก การชะลอตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในตลาดสหรัฐอเมริกา ทำให้การส่งออกลดลงอย่างเห็นได้ชัด และ เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของ
ปีก่อน การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.00 โดยผลิตภัณฑ์ ส่วนใหญ่มีการส่งออกเพิ่มขึ้น ยกเว้น กระเบื้องปูพื้น บุผนัง ที่ลดลงในตลาด
หลัก คือ สหรัฐอเมริกา และเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร ที่ลดลงในตลาดหลัก คือ สภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา (ดังตารางที่ 3)
การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกจะส่งไปยังประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลียสหราชอาณาจักร ไต้หวัน แคนาดา เยอรมนี และ
ประเทศในกลุ่มอาเซียน เป็นต้น ในปี 2549 การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกมีมูลค่ารวม 669.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับปี 2548 เพิ่มขึ้นร้อยละ
6.05 ซึ่งเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของผลิตภัณฑ์ลูกถ้วยไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น ๆ และเครื่องสุขภัณฑ์ ในขณะที่การส่งออกผลิตภัณฑ์หลักทั้งกระเบื้องปูพื้น
บุผนัง เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร และของชำร่วยเครื่องประดับกลับลดลงทั้งในตลาดสหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป
2.3 การนำเข้า
การนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกส่วนใหญ่จากประเทศ จีน ญี่ปุ่น มาเลเซีย และ อินโดนีเซีย เป็นต้น โดยไตรมาสที่ 4 ปี 2549 การนำเข้า
ผลิตภัณฑ์เซรามิกมีมูลค่า 43.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.08 และ
17.57 ตามลำดับ (ดังตารางที่ 4) สำหรับการนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก ในปี 2549 มีมูลค่ารวม 162.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
เมื่อเทียบกับปี 2548 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.63 ซึ่งการนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกสำหรับใช้ตามห้องปฏิบัติการ ต้องนำเข้าสินค้าคุณภาพสูงจากญี่ปุ่น และ
มาเลเซีย และการนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่นส่วนใหญ่จะเป็นการนำเข้ากระเบื้องปูพื้น บุผนัง ที่มีราคาถูกจากจีน
3. สรุป
การผลิตและจำหน่ายเซรามิกที่ใช้เป็นวัสดุก่อสร้าง ซึ่งได้แก่ กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ ไตรมาสที่ 4 ปี 2549 ลดลงอย่าง
ต่อเนื่องจากภาวะซบเซาของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาหลัก ๆ ได้แก่ ราคาน้ำมัน และอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้น ทำ
ให้ผู้บริโภคชะลอการตัดสินใจซื้อ นอกจากนี้ผลกระทบจากปัญหาหลักดังกล่าว รวมทั้งการที่ราคาวัตถุดิบสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องยังส่งผลให้ต้นทุนการผลิต
เซรามิกเพิ่มสูงขึ้น จนทำให้บริษัทต่าง ๆ ต้องปรับแผนการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดเพื่อลดภาระต้นทุน สำหรับแนวโน้มในปี 2550
การผลิต เซรามิกน่าจะเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น เนื่องจากภาวะราคาน้ำมัน และอัตราดอกเบี้ยเริ่มทรงตัว สำหรับ การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกใน
ปี 2550 จะขึ้นอยู่กับการขยายตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในตลาดสหรัฐอเมริกาเป็นสำคัญ ซึ่งหากสถานการณ์สามารถคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้นจะส่งผล
ให้การส่งออกผลิตภัณฑ์กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ของไทยมีการขยายตัวได้เพิ่มขึ้น
ตารางที่ 1 การผลิต และจำหน่ายกระเบื้องปูพื้น บุผนัง
ปริมาณ (ตารางเมตร) ไตรมาส ปี 2548 ปี 2549 *
Apr-48 Mar-49 4/2549 *
การผลิต 36,081,592 35,624,415 33,833,114 152,979,168 145,461,978
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -5.03
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -6.23 -4.91
การจำหน่ายในประเทศ 37,775,610 38,112,860 35,674,570 163,764,112 158,004,161
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -6.4
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -5.56 -3.52
ที่มา: ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : 1. จากการสำรวจโรงงานกระเบื้องปูพื้น บุผนัง จำนวน 11 โรงงาน
2. ไตรมาส 4/2549 และ ปี 2549 เป็นตัวเลขประมาณการ
ตารางที่ 2 การผลิต และจำหน่ายเครื่องสุขภัณฑ์
ปริมาณ (ชิ้น) ไตรมาส ปี 2548 ปี 2549
Apr-48 Mar-49 Apr-49
การผลิต 2,192,575 2,123,038 1,973,807 9,205,872 8,397,153
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -7.03
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -9.98 -8.78
การจำหน่ายในประเทศ 1,156,769 1,178,907 1,196,431 5,059,009 4,816,245
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 1.49
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 3.43 -4.8
ที่มา: ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : จากการสำรวจโรงงานเครื่องสุขภัณฑ์ จำนวน 6 โรงงาน
ตารางที่ 3 แสดงมูลค่าส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก
มูลค่า:ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ช่วงเวลาไตรมาส ปี 2548 ปี 2549
ผลิตภัณฑ์ 44/2548 Mar-49 Apr-49
กระเบื้องปูพื้น บุผนัง 26.9 28.7 20.9 105 101.6
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -27.18
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -22.3 -3.24
เครื่องสุขภัณฑ์ 29.3 38.6 29.5 110.4 121.4
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -23.58
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 0.68 9.96
เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร 43.6 46.1 41.1 180.6 172.1
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -10.85
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -5.73 -4.71
ของชำร่วยเครื่องประดับ 7.2 7.3 7.3 32.6 28.3
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 0
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 1.39 -13.19
ลูกถ้วยไฟฟ้า 5.2 6.1 5.6 17.3 23.3
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -8.2
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 7.69 34.68
ผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น ๆ 47.7 51.6 58.7 185.3 222.7
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 13.76
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 23.06 20.18
รวมผลิตภัณฑ์เซรามิก 159.9 178.4 163.1 631.2 669.4
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -8.58
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 2 6.05
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
ตารางที่ 4 แสดงมูลค่านำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก
ช่วงเวลาไตรมาส ปี 2548 ปี 2549
ผลิตภัณฑ์ 44/2548 Mar-49 Apr-49
ผลิตผลิตภัณฑ์เซรามิกสำหรับใช้ตามห้องปฏิบัติการ 14.4 13 15.7 61.2 56.3
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 20.77
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 9.03 -8.01
ผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น 22.6 24.8 27.8 98.7 106.2
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 12.1
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 23.01 7.6
รวมผลิตภัณฑ์เซรามิก 37 37.8 43.5 159.9 162.5
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 15.08
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 17.57 1.63
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
หมายเหตุ : 1. กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ได้ปรับโครงสร้างสินค้านำเข้าใหม่ โดยแบ่งผลิตภัณฑ์เซรามิกเป็นผลิตภัณฑ์
เซรามิกสำหรับใช้ตามห้องปฏิบัติการ และผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น
2. การนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก ไม่นับรวมผลิตภัณฑ์เซรามิกทนไฟ ในพิกัด 6903 ที่จัดอยู่ในหมวดสินค้าทุนอื่น ๆ
เครื่องสุขภัณฑ์ ในพิกัด 6910 เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร ในพิกัด 6911 และพิกัด 6912 เครื่องใช้และเครื่องตกแต่ง
ในบ้านเรือน พิกัด 6913 และผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น ๆ ในพิกัด 6914 ที่จัดอยู่ในหมวดสินค้าอุปโภคบริโภค
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-