ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ก.คลัง-ธปท.ร่วมหามาตรการรับมือกรณีเงินบาทแข็งค่า รมว.คลังเปิดเผยภายหลังการหารือร่วมกับผู้ว่าการธนาคาร
แห่งประเทศไทย เพื่อหามาตรการรับมือเงินบาทแข็งค่าว่า รัฐบาลให้ความสำคัญในเรื่องนี้ เนื่องจากมีผลกระทบทำให้โรงงานเลิกจ้างแรงงาน
ทันที และจากการหารือพบว่าเครื่องมือรับมือกับความผันผวนของเงินไหลเข้าของ ธปท.ยังมีพอสามารถรับมือได้ แต่คลังต้องหามาตรการเสริม
เพื่อลดแรงกดดันจากอัตราแลกเปลี่ยน โดยเร่งให้หน่วยงานรัฐที่มีแผนกู้เงิน เร่งแผนกู้เงินและเปลี่ยนจากที่จะกู้เป็นเงินต่างประเทศให้เป็น
กู้เงินบาทแทน จากนั้นจึงนำเงินบาทซื้อเงินตราต่างประเทศเพื่อเพิ่มความต้องการเงินต่างประเทศ ด้านผู้ว่าการ ธปท.กล่าวว่า เพื่อสร้าง
ความมั่นใจให้กับผู้ส่งออก จะเสนอให้ รมว.คลังพิจารณาเร็วๆ นี้ ในการอนุญาตให้บริษัทจดทะเบียน (บจ.) ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ซึ่งจะไปลงทุนโดยตรงในต่างประเทศนำเงินไปลงทุนโดยไม่จำกัดจำนวน รวมถึงเพิ่มเพดานเงินลงทุนในกองทุนรวมในตลาดหลักทรัพย์ฯ และ
หาช่องทางเพิ่มเติมเพื่อสนับสนุนการนำเงินไปลงทุนในต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น (ข่าวสด, กรุงเทพธุรกิจ)
2. กนส.เห็นชอบจัดทำแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินระยะที่ 2 นายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์
สถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า คณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงิน (กนส.) มีมติเห็นชอบการจัดทำแผนพัฒนาระบบ
สถาบันการเงินระยะที่ 2 ซึ่งมีระยะเวลาดำเนินงาน 5 ปี (2552-2557) เพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
และความแข็งแกร่งของระบบการเงินไทย โดยให้ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย (ธย.) สามารถยกระดับเป็นธนาคารพาณิชย์ได้ ขณะเดียวกัน
จะเปิดโอกาสให้สถาบันการเงินทั้งในและต่างประเทศมีการแข่งขันกันอย่างเสรีมากขึ้น โดยที่ประชุมได้แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนพัฒนา
ระบบสถาบันการเงิน (กผส.) จำนวน 9 คน มีนายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการ ธปท. เป็นประธาน ทำหน้าที่ดูแลกระบวนการศึกษาและ
จัดทำแผนดังกล่าว คาดว่าจะแล้วเสร็จเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากภายนอกได้ในไตรมาส 1 ปี 2551 ทั้งนี้ เป็นการดำเนินการต่อเนื่องจากแผนฯ
ระยะแรกที่ได้ดำเนินการตั้งแต่ต้นปี 47 และเสร็จเมื่อช่วงเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา (ข่าวสด)
3. ธปท.เตรียมปรับประมาณการจีดีพีปี 50 ในสัปดาห์หน้า นางอัจนา ไวความดี รองผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
เปิดเผยว่า ในสัปดาห์หน้า ธปท.จะมีการทบทวนตัวเลขอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ใหม่ จากประมาณการเดิมที่คาดว่าจีดีพีในปี 50
จะขยายตัว 3.8-4.8% โดยจะนำประเด็นเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นมาประกอบการประมาณการ ส่วนกรณีที่มีหลายฝ่ายมองว่า ธปท.ควรจะลดดอกเบี้ย
เพื่อดูแลค่าเงินบาทและกระตุ้นเศรษฐกิจนั้น ในขณะนี้ซึ่งเป็นช่วงก่อนการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท.ไม่สามารถแสดงความ
คิดเห็นได้ และพร้อมรับฟังความเห็นจากทุกฝ่าย (มติชน)
4. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน มิ.ย.50 ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้า ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน มิ.ย.50 ว่า ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบัน
ทุกรายการลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับสถานการณ์ในอนาคตปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยเป็นครั้งแรกในรอบ 8 เดือน
ส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคโดยรวมปรับลดลงที่ระดับ 76.8 จากระดับ 76.9 ในเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ แม้ดัชนีฯ ในอนาคตจะหยุด
การทรุดตัว แต่มีปัจจัยลบใหม่ในเรื่องของเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นทุก 1 บาท จะทำให้รายได้จากการส่งออก
หายไปประมาณ 10,000-15,000 ล.บาท รวมทั้งกรณีโรงงานสิ่งทอไทยศิลป์อาคเนย์ อิมปอร์ต เอ็กซ์ปอร์ต ที่ปิดกิจการลงเมื่อวันที่ 11 ก.ค.
จะเป็นปัจจัยบั่นทอนความเชื่อมั่นผู้บริโภค อาจทำให้การบริโภคซบเซาไปจนถึงสิ้นปี ซึ่งศูนย์พยากรณ์ฯ เตรียมปรับประมาณการการเติบโตทาง
เศรษฐกิจใหม่ปลายเดือนนี้ จากเดิมที่คาดว่าจะเพิ่มเป็น 4-4.5% เนื่องจากโครงสร้างเศรษฐกิจเปลี่ยนไป (ข่าวสด, มติชน, ผู้จัดการรายวัน,
โลกวันนี้)
5. อัตราการว่างงานเดือน พ.ค.50 เพิ่มขึ้นที่ระดับ 1.6% จากระดับ 1.4% ในช่วงเดียวกันของปีก่อน รายงานข่าวจาก
สำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) เปิดเผยถึงผลการสำรวจแรงงานทั่วประเทศประจำเดือน พ.ค.2550 ว่า จากจำนวนประชากรทั่วประเทศ
65.68 ล้านคน มีผู้อยู่ในกำลังแรงงาน 36.28 ล้านคน ส่วนผู้ที่ไม่อยู่กำลังแรงงานมีจำนวน 14.69 ล้านคน และเป็นผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี
จำนวน 14.71 ล้านคน สำหรับกลุ่มผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงานพบว่า ผู้มีงานทำมีประมาณ 35.22 ล้านคน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2549
ที่มีจำนวน 35.79 ล้านคน หรือลดลง 5.7 แสนคน ส่วนผู้ว่างงานมีประมาณ 5.8 แสนคน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 49 ประมาณ 8 หมื่นคน
หรือคิดเป็นอัตราการว่างงาน 1.6% เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่อัตราการว่างงานคิดเป็น 1.4% (มติชน, กรุงเทพธุรกิจ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. สรอ. ขาดดุลการค้าในเดือน พ.ค.50 จำนวน 60 พันล้านดอลลาร์ สรอ. รายงานจากกรุงวอชิงตัน ประเทศ สรอ.
เมื่อวันที่ 12 ก.ค.50 ก.พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า ยอดขาดดุลการค้าของ สรอ. ในเดือน พ.ค.50 มีจำนวนทั้งสิ้น 60 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 จาก 58.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งเป็นตัวเลขที่ปรับปรุงแล้วในเดือน เม.ย.50 โดยยอดรวมของการส่งออกสินค้าและ
บริการเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 คิดเป็นมูลค่า 132.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ทั้งนี้ การส่งออกที่เพิ่มขึ้นช่วยทำให้การขาดดุลการค้าของ สรอ. ลดลง
และเป็นปัจจัยสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจของ สรอ. สำหรับตัวเลขขาดดุลการค้าของ สรอ. ในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้มีจำนวนทั้งสิ้น
295.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจาก 317.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ยอดขาดดุลการค้าของ สรอ. ใน
ปี 49 มีจำนวนทั้งสิ้น 758.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ด้านการนำเข้าในเดือน พ.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 มูลค่ารวม 192.1 พันล้านดอลลาร์
สรอ. โดยการนำเข้าน้ำมันมีมูลค่า 19.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ. สูงสุดนับตั้งแต่เดือน ก.ย.49 และการนำเข้าสินค้าทุน เช่น อุปกรณ์การ
สื่อสารโทรคมนาคมและคอมพิวเตอร์ก็เพิ่มขึ้นเป็นสถิติเช่นกัน ส่วนการขาดดุลการค้าของ สรอ. ต่อจีนในเดือน พ.ค. เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3
มูลค่ารวม 20.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ. และคาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้นในเดือน มิ.ย. โดยจีนได้เปรียบดุลการค้าในช่วง 6 เดือนแรกปีนี้
112.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 83 จากระยะเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นการได้เปรียบดุลการค้ากับ สรอ. 73.9 พันล้านดอลลาร์
สรอ. หรือประมาณ 2 ใน 3 ของยอดรวมทั้งหมด (รอยเตอร์)
2. คาดว่าจีดีพีของเยอรมนีในปี 50 จะขยายตัวร้อยละ 2.6 ขณะที่ปี 51 จะชะลอลงที่ร้อยละ 2.5รายงานจากเบอร์ลิน
เมื่อ 12 ก.ค.50 The Halle-based IWH Economic Institute คาดการณ์ว่า ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ของเยอรมนีในปี 50
จะขยายตัวร้อยละ 2.6 หลังจากที่เคยขยายตัวสูงสุดในรอบ 6 ปีที่ร้อยละ 2.8 ในปี 49 ขณะที่เคยประมาณการเบื้องต้นก่อนหน้านี้เมื่อเดือน
มี.ค.50 ว่าทั้งปี 50 จะขยายตัวร้อยละ 2.0 นอกจากนี้ ยังคาดว่าปี 51 จะชะลอลงอยู่ที่ร้อยละ 2.5 เนื่องจากค่าเงินยูโรที่แข็งแกร่ง
ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยและต้นทุนแรงงานที่เพิ่มสูงขึ้นจะส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจของเยอรมนี อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์สถาบัน
IWH กล่าวว่า ธ.กลางยุโรปอาจปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 2 ครั้งให้อยู่ที่ร้อยละ 4.5 ภายในสิ้นปี 50 หลังจากที่คงระดับอัตราดอกเบี้ย
นโยบายไว้ที่ระดับเดิม คือ ร้อยละ 4.0 ในการประชุมครั้งล่าสุด นอกจากนี้ IWH ยังเปิดเผยตัวเลขการคาดการณ์เกี่ยวกับการบริโภคภาคเอกชน
ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 ในปี 51 หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 ในปีนี้ ส่วนจำนวนผู้ว่างงานเฉลี่ยของประเทศคาดว่าจะอยู่ที่จำนวน
3.45 ล้านคนในปี 51 หลังจากที่ลดลงอยู่ที่จำนวน 3.78 ล้านคนในปีนี้ (รอยเตอร์)
3. ธ. กลางญี่ปุ่นคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ในระดับเดิมที่ร้อยละ 0.50 พร้อมส่งสัญญานว่ามีโอกาสที่จะปรับเพิ่มขึ้นในอนาคต
รายงานจากโตเกียว เมื่อวันที่ 12 ก.ค. 50 ในการประชุมนโยบายการเงินของ ธ.กลางญี่ปุ่นเมื่อวานนี้ ที่ประชุมมีมติ 8 ต่อ 1 เสียงให้คง
อัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.50 เป็นไปตามการคาดการณ์ของตลาด อย่างไรก็ตามนาย Toshihiko Fukui ผวก. ธ.กลางญี่ปุ่น
กล่าวว่ามีความเป็นไปได้ที่จะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมนโยบายการเงินครั้งหน้าในเดือน ส.ค. หากภาวะเศรษฐกิจเอื้ออำนวย
ทั้งนี้ ผวก.ธ.กลาง กล่าวว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ในไตรมาสที่ 2 ที่มีกำหนดจะเปิดเผยในเดือนหน้า จะไม่ได้รับผลกระทบ
จากการดำเนินนโยบายการเงินของธ.กลาง แต่มีหลายปัจจัยทั้งในประเทศ และต่างประเทศ อาทิ สินค้าคงคลังประเภท high-tech
และแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจสรอ. ที่มีความจำเป็นต้องตรวจสอบก่อนการตัดสินใจเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงิน อย่างไรก็ตามที่ผ่านมา
คณะกรรมาธิการนโยบายการเงินมีความเห็นไปในทิศทางเดียวกันกับความเห็นของ ธ.กลาง จึงมีความเป็นไปได้ว่าจะมีการปรับเพิ่มอัตรา
ดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมนโยบายการเงินในคราวหน้าเนื่องจากแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจฟื้นตัว และมีแรงกดดันด้านราคาเพิ่มขึ้น(รอยเตอร์)
4. ธ.กลางเกาหลีใต้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 เป็นร้อยละ 4.75 ต่อปีสูงสุดในรอบ 6 ปี รายงานจากโซล
เมื่อ 12 ก.ค.50 ธ.กลางเกาหลีใต้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 เป็นร้อยละ 4.75 ต่อปี สูงสุดในรอบ 6 ปี เป็นไปตามที่
ตลาดคาดไว้ นับเป็นการขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบ 11 เดือนและเป็นการขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งที่ 6 นับตั้งแต่เดือน ต.ค.48 ทั้งนี้
เพื่อลดแรงกดดันเงินเฟ้อจากปริมาณเงินหมุนเวียนในเดือน พ.ค.50 ที่เพิ่มขึ้นหลังจากชะลอตัวชั่วคราวในเดือน เม.ย.50 ในขณะที่ดัชนีราคา
ผู้ผลิตเพิ่มขึ้นมาอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 9 เดือนเมื่อเดือน มิ.ย.50 ที่ผ่านมา นอกจากนี้สินเชื่อที่ปล่อยให้ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมใน
เดือน มิ.ย.50 ที่ผ่านมายังเพิ่มขึ้นในอัตราสูงสุดในรอบเกือบ 7 ปี สอดคล้องกับคำกล่าวของ ผวก. ธ.กลางเกาหลีใต้ที่ออกมาเตือนว่า
อัตราเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าเป้าที่ ธ.กลางเกาหลีใต้กำหนดไว้ที่ระหว่างร้อยละ 2.5 — 3.5 ต่อปีในขณะนี้ มีโอกาสที่จะสูงขึ้นจาก
ปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวข้างต้น จากคำกล่าวของ ผวก.ธ.กลางเกาหลีใต้ ทำให้นักเศรษฐศาสตร์คาดว่า ธ.กลางเกาหลีใต้อาจขึ้นอัตราดอกเบี้ย
อีกครั้งภายในปีนี้หรืออย่างช้าสุดภายในต้นปีหน้า (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 13 ก.ค. 50 12 ก.ค. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 33.328 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 33.1178/33.4621 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.63641 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 843.87/31.67 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,450/10,550 10,450/10,550 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 70.61 69.81 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 30.39*/25.74** 30.39*/25.74** 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเลดเมื่อ 7 ก.ค. 50 , ** ปรับเพิ่มเมื่อ 11 ก.ค. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ก.คลัง-ธปท.ร่วมหามาตรการรับมือกรณีเงินบาทแข็งค่า รมว.คลังเปิดเผยภายหลังการหารือร่วมกับผู้ว่าการธนาคาร
แห่งประเทศไทย เพื่อหามาตรการรับมือเงินบาทแข็งค่าว่า รัฐบาลให้ความสำคัญในเรื่องนี้ เนื่องจากมีผลกระทบทำให้โรงงานเลิกจ้างแรงงาน
ทันที และจากการหารือพบว่าเครื่องมือรับมือกับความผันผวนของเงินไหลเข้าของ ธปท.ยังมีพอสามารถรับมือได้ แต่คลังต้องหามาตรการเสริม
เพื่อลดแรงกดดันจากอัตราแลกเปลี่ยน โดยเร่งให้หน่วยงานรัฐที่มีแผนกู้เงิน เร่งแผนกู้เงินและเปลี่ยนจากที่จะกู้เป็นเงินต่างประเทศให้เป็น
กู้เงินบาทแทน จากนั้นจึงนำเงินบาทซื้อเงินตราต่างประเทศเพื่อเพิ่มความต้องการเงินต่างประเทศ ด้านผู้ว่าการ ธปท.กล่าวว่า เพื่อสร้าง
ความมั่นใจให้กับผู้ส่งออก จะเสนอให้ รมว.คลังพิจารณาเร็วๆ นี้ ในการอนุญาตให้บริษัทจดทะเบียน (บจ.) ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ซึ่งจะไปลงทุนโดยตรงในต่างประเทศนำเงินไปลงทุนโดยไม่จำกัดจำนวน รวมถึงเพิ่มเพดานเงินลงทุนในกองทุนรวมในตลาดหลักทรัพย์ฯ และ
หาช่องทางเพิ่มเติมเพื่อสนับสนุนการนำเงินไปลงทุนในต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น (ข่าวสด, กรุงเทพธุรกิจ)
2. กนส.เห็นชอบจัดทำแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินระยะที่ 2 นายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์
สถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า คณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงิน (กนส.) มีมติเห็นชอบการจัดทำแผนพัฒนาระบบ
สถาบันการเงินระยะที่ 2 ซึ่งมีระยะเวลาดำเนินงาน 5 ปี (2552-2557) เพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
และความแข็งแกร่งของระบบการเงินไทย โดยให้ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย (ธย.) สามารถยกระดับเป็นธนาคารพาณิชย์ได้ ขณะเดียวกัน
จะเปิดโอกาสให้สถาบันการเงินทั้งในและต่างประเทศมีการแข่งขันกันอย่างเสรีมากขึ้น โดยที่ประชุมได้แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนพัฒนา
ระบบสถาบันการเงิน (กผส.) จำนวน 9 คน มีนายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการ ธปท. เป็นประธาน ทำหน้าที่ดูแลกระบวนการศึกษาและ
จัดทำแผนดังกล่าว คาดว่าจะแล้วเสร็จเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากภายนอกได้ในไตรมาส 1 ปี 2551 ทั้งนี้ เป็นการดำเนินการต่อเนื่องจากแผนฯ
ระยะแรกที่ได้ดำเนินการตั้งแต่ต้นปี 47 และเสร็จเมื่อช่วงเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา (ข่าวสด)
3. ธปท.เตรียมปรับประมาณการจีดีพีปี 50 ในสัปดาห์หน้า นางอัจนา ไวความดี รองผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
เปิดเผยว่า ในสัปดาห์หน้า ธปท.จะมีการทบทวนตัวเลขอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ใหม่ จากประมาณการเดิมที่คาดว่าจีดีพีในปี 50
จะขยายตัว 3.8-4.8% โดยจะนำประเด็นเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นมาประกอบการประมาณการ ส่วนกรณีที่มีหลายฝ่ายมองว่า ธปท.ควรจะลดดอกเบี้ย
เพื่อดูแลค่าเงินบาทและกระตุ้นเศรษฐกิจนั้น ในขณะนี้ซึ่งเป็นช่วงก่อนการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท.ไม่สามารถแสดงความ
คิดเห็นได้ และพร้อมรับฟังความเห็นจากทุกฝ่าย (มติชน)
4. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน มิ.ย.50 ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้า ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน มิ.ย.50 ว่า ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบัน
ทุกรายการลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับสถานการณ์ในอนาคตปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยเป็นครั้งแรกในรอบ 8 เดือน
ส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคโดยรวมปรับลดลงที่ระดับ 76.8 จากระดับ 76.9 ในเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ แม้ดัชนีฯ ในอนาคตจะหยุด
การทรุดตัว แต่มีปัจจัยลบใหม่ในเรื่องของเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นทุก 1 บาท จะทำให้รายได้จากการส่งออก
หายไปประมาณ 10,000-15,000 ล.บาท รวมทั้งกรณีโรงงานสิ่งทอไทยศิลป์อาคเนย์ อิมปอร์ต เอ็กซ์ปอร์ต ที่ปิดกิจการลงเมื่อวันที่ 11 ก.ค.
จะเป็นปัจจัยบั่นทอนความเชื่อมั่นผู้บริโภค อาจทำให้การบริโภคซบเซาไปจนถึงสิ้นปี ซึ่งศูนย์พยากรณ์ฯ เตรียมปรับประมาณการการเติบโตทาง
เศรษฐกิจใหม่ปลายเดือนนี้ จากเดิมที่คาดว่าจะเพิ่มเป็น 4-4.5% เนื่องจากโครงสร้างเศรษฐกิจเปลี่ยนไป (ข่าวสด, มติชน, ผู้จัดการรายวัน,
โลกวันนี้)
5. อัตราการว่างงานเดือน พ.ค.50 เพิ่มขึ้นที่ระดับ 1.6% จากระดับ 1.4% ในช่วงเดียวกันของปีก่อน รายงานข่าวจาก
สำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) เปิดเผยถึงผลการสำรวจแรงงานทั่วประเทศประจำเดือน พ.ค.2550 ว่า จากจำนวนประชากรทั่วประเทศ
65.68 ล้านคน มีผู้อยู่ในกำลังแรงงาน 36.28 ล้านคน ส่วนผู้ที่ไม่อยู่กำลังแรงงานมีจำนวน 14.69 ล้านคน และเป็นผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี
จำนวน 14.71 ล้านคน สำหรับกลุ่มผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงานพบว่า ผู้มีงานทำมีประมาณ 35.22 ล้านคน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2549
ที่มีจำนวน 35.79 ล้านคน หรือลดลง 5.7 แสนคน ส่วนผู้ว่างงานมีประมาณ 5.8 แสนคน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 49 ประมาณ 8 หมื่นคน
หรือคิดเป็นอัตราการว่างงาน 1.6% เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่อัตราการว่างงานคิดเป็น 1.4% (มติชน, กรุงเทพธุรกิจ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. สรอ. ขาดดุลการค้าในเดือน พ.ค.50 จำนวน 60 พันล้านดอลลาร์ สรอ. รายงานจากกรุงวอชิงตัน ประเทศ สรอ.
เมื่อวันที่ 12 ก.ค.50 ก.พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า ยอดขาดดุลการค้าของ สรอ. ในเดือน พ.ค.50 มีจำนวนทั้งสิ้น 60 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 จาก 58.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งเป็นตัวเลขที่ปรับปรุงแล้วในเดือน เม.ย.50 โดยยอดรวมของการส่งออกสินค้าและ
บริการเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 คิดเป็นมูลค่า 132.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ทั้งนี้ การส่งออกที่เพิ่มขึ้นช่วยทำให้การขาดดุลการค้าของ สรอ. ลดลง
และเป็นปัจจัยสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจของ สรอ. สำหรับตัวเลขขาดดุลการค้าของ สรอ. ในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้มีจำนวนทั้งสิ้น
295.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจาก 317.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ยอดขาดดุลการค้าของ สรอ. ใน
ปี 49 มีจำนวนทั้งสิ้น 758.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ด้านการนำเข้าในเดือน พ.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 มูลค่ารวม 192.1 พันล้านดอลลาร์
สรอ. โดยการนำเข้าน้ำมันมีมูลค่า 19.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ. สูงสุดนับตั้งแต่เดือน ก.ย.49 และการนำเข้าสินค้าทุน เช่น อุปกรณ์การ
สื่อสารโทรคมนาคมและคอมพิวเตอร์ก็เพิ่มขึ้นเป็นสถิติเช่นกัน ส่วนการขาดดุลการค้าของ สรอ. ต่อจีนในเดือน พ.ค. เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3
มูลค่ารวม 20.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ. และคาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้นในเดือน มิ.ย. โดยจีนได้เปรียบดุลการค้าในช่วง 6 เดือนแรกปีนี้
112.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 83 จากระยะเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นการได้เปรียบดุลการค้ากับ สรอ. 73.9 พันล้านดอลลาร์
สรอ. หรือประมาณ 2 ใน 3 ของยอดรวมทั้งหมด (รอยเตอร์)
2. คาดว่าจีดีพีของเยอรมนีในปี 50 จะขยายตัวร้อยละ 2.6 ขณะที่ปี 51 จะชะลอลงที่ร้อยละ 2.5รายงานจากเบอร์ลิน
เมื่อ 12 ก.ค.50 The Halle-based IWH Economic Institute คาดการณ์ว่า ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ของเยอรมนีในปี 50
จะขยายตัวร้อยละ 2.6 หลังจากที่เคยขยายตัวสูงสุดในรอบ 6 ปีที่ร้อยละ 2.8 ในปี 49 ขณะที่เคยประมาณการเบื้องต้นก่อนหน้านี้เมื่อเดือน
มี.ค.50 ว่าทั้งปี 50 จะขยายตัวร้อยละ 2.0 นอกจากนี้ ยังคาดว่าปี 51 จะชะลอลงอยู่ที่ร้อยละ 2.5 เนื่องจากค่าเงินยูโรที่แข็งแกร่ง
ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยและต้นทุนแรงงานที่เพิ่มสูงขึ้นจะส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจของเยอรมนี อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์สถาบัน
IWH กล่าวว่า ธ.กลางยุโรปอาจปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 2 ครั้งให้อยู่ที่ร้อยละ 4.5 ภายในสิ้นปี 50 หลังจากที่คงระดับอัตราดอกเบี้ย
นโยบายไว้ที่ระดับเดิม คือ ร้อยละ 4.0 ในการประชุมครั้งล่าสุด นอกจากนี้ IWH ยังเปิดเผยตัวเลขการคาดการณ์เกี่ยวกับการบริโภคภาคเอกชน
ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 ในปี 51 หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 ในปีนี้ ส่วนจำนวนผู้ว่างงานเฉลี่ยของประเทศคาดว่าจะอยู่ที่จำนวน
3.45 ล้านคนในปี 51 หลังจากที่ลดลงอยู่ที่จำนวน 3.78 ล้านคนในปีนี้ (รอยเตอร์)
3. ธ. กลางญี่ปุ่นคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ในระดับเดิมที่ร้อยละ 0.50 พร้อมส่งสัญญานว่ามีโอกาสที่จะปรับเพิ่มขึ้นในอนาคต
รายงานจากโตเกียว เมื่อวันที่ 12 ก.ค. 50 ในการประชุมนโยบายการเงินของ ธ.กลางญี่ปุ่นเมื่อวานนี้ ที่ประชุมมีมติ 8 ต่อ 1 เสียงให้คง
อัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.50 เป็นไปตามการคาดการณ์ของตลาด อย่างไรก็ตามนาย Toshihiko Fukui ผวก. ธ.กลางญี่ปุ่น
กล่าวว่ามีความเป็นไปได้ที่จะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมนโยบายการเงินครั้งหน้าในเดือน ส.ค. หากภาวะเศรษฐกิจเอื้ออำนวย
ทั้งนี้ ผวก.ธ.กลาง กล่าวว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ในไตรมาสที่ 2 ที่มีกำหนดจะเปิดเผยในเดือนหน้า จะไม่ได้รับผลกระทบ
จากการดำเนินนโยบายการเงินของธ.กลาง แต่มีหลายปัจจัยทั้งในประเทศ และต่างประเทศ อาทิ สินค้าคงคลังประเภท high-tech
และแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจสรอ. ที่มีความจำเป็นต้องตรวจสอบก่อนการตัดสินใจเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงิน อย่างไรก็ตามที่ผ่านมา
คณะกรรมาธิการนโยบายการเงินมีความเห็นไปในทิศทางเดียวกันกับความเห็นของ ธ.กลาง จึงมีความเป็นไปได้ว่าจะมีการปรับเพิ่มอัตรา
ดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมนโยบายการเงินในคราวหน้าเนื่องจากแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจฟื้นตัว และมีแรงกดดันด้านราคาเพิ่มขึ้น(รอยเตอร์)
4. ธ.กลางเกาหลีใต้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 เป็นร้อยละ 4.75 ต่อปีสูงสุดในรอบ 6 ปี รายงานจากโซล
เมื่อ 12 ก.ค.50 ธ.กลางเกาหลีใต้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 เป็นร้อยละ 4.75 ต่อปี สูงสุดในรอบ 6 ปี เป็นไปตามที่
ตลาดคาดไว้ นับเป็นการขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบ 11 เดือนและเป็นการขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งที่ 6 นับตั้งแต่เดือน ต.ค.48 ทั้งนี้
เพื่อลดแรงกดดันเงินเฟ้อจากปริมาณเงินหมุนเวียนในเดือน พ.ค.50 ที่เพิ่มขึ้นหลังจากชะลอตัวชั่วคราวในเดือน เม.ย.50 ในขณะที่ดัชนีราคา
ผู้ผลิตเพิ่มขึ้นมาอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 9 เดือนเมื่อเดือน มิ.ย.50 ที่ผ่านมา นอกจากนี้สินเชื่อที่ปล่อยให้ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมใน
เดือน มิ.ย.50 ที่ผ่านมายังเพิ่มขึ้นในอัตราสูงสุดในรอบเกือบ 7 ปี สอดคล้องกับคำกล่าวของ ผวก. ธ.กลางเกาหลีใต้ที่ออกมาเตือนว่า
อัตราเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าเป้าที่ ธ.กลางเกาหลีใต้กำหนดไว้ที่ระหว่างร้อยละ 2.5 — 3.5 ต่อปีในขณะนี้ มีโอกาสที่จะสูงขึ้นจาก
ปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวข้างต้น จากคำกล่าวของ ผวก.ธ.กลางเกาหลีใต้ ทำให้นักเศรษฐศาสตร์คาดว่า ธ.กลางเกาหลีใต้อาจขึ้นอัตราดอกเบี้ย
อีกครั้งภายในปีนี้หรืออย่างช้าสุดภายในต้นปีหน้า (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 13 ก.ค. 50 12 ก.ค. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 33.328 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 33.1178/33.4621 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.63641 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 843.87/31.67 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,450/10,550 10,450/10,550 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 70.61 69.81 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 30.39*/25.74** 30.39*/25.74** 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเลดเมื่อ 7 ก.ค. 50 , ** ปรับเพิ่มเมื่อ 11 ก.ค. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--