หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ‘อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ’ พร้อม ‘ส.ส.หญิง’ แถลงเนื่องในวัน ‘สตรีสากล’ เรียกร้องสิทธิสตรีในประเทศ พร้อมเตรียมเสนอ 2 พรบ. เพื่อสิทธิสตรีต่อรัฐบาล ระบุ จะนำพิจารณาเป็นฉบับแรกเมื่อเปิดสภาพิจารณากฎหมาย
วันนี้(8 มี.ค.48) เวลา 10.30น. ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ พร้อมด้วยส.ส.หญิงของพรรคประชาธิปัตย์ เช่น นางนิภา พริ้งศุลกะ นางกันตวรรณ กุลจรรยาวิวัฒน์ นางเฉลิมลักษณ์ เก็บทรัพย์ นางสาวนริศา อดิเทพวรพันธ์ นางเจิมมาศ จึงเลิศศิริ นอกจากนี้ยังมีอดีตผู้สมัครและอดีตส.ส.ของพรรค เช่น นางฮูวัยดิย๊ะ พิศสุวรรณ อุเซ็ง ดร.เดือนเต็มดวง ณ เชียงใหม่ ร่วมแถลงเนื่องในวัน ‘สตรีสากล’ โดยเรียกร้องทุกฝ่ายเข้ามาช่วยเหลือ 3 ประการดังนี้คือ 1. ความเสมอภาค โดยในปัจจุบันพบความเสมอภาคเกิดขึ้นกับสตรีเป็นจำนวนมาก ทั้งเรื่องโอกาสทางการศึกษา หรือหน้าที่งานในระดับสูงที่ส่วนใหญ่ยังคงเป็นผู้ชาย ทั้งนี้จากการสำรวจยังพบว่าผู้หญิงมีรายได้น้อยกว่าผู้ชายถึงร้อยละ 17 ประการที่ 2 การให้สตรีเข้ามามีส่วนร่วมในด้านต่างๆ ให้มากขึ้น และประการที่ 3 ปัญหาเรื่องความุรนแรง โดยที่พบมากที่สุดคือความรุนแรงในครอบครัว
นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า จากปัญหาเรื่องความรุนแรง พรรคประชาธิปัตย์จะเสนอร่างพระราชบัญญัติขจัดปัญหาความรุนแรงในครอบครัวต่อรัฐบาล เป็นฉบับแรกทันที่ที่สภาฯมีการพิจารณาร่างกฎหมาย ซึ่งกฎหมายฉบับนี้พรรคประชาธิปัตย์ได้เสนอไว้ตั้งสภาชุดที่แล้ว แต่ก็ไม่ได้มีการหยิบยกขึ้นมาพิจารณา โดยสาระสำคัญคือ ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในครอบครัว ไม่ควรพึ่งพากฎหมายตามปกติ เพราะถือเป็นเรื่องละเอียดอ่อน เกี่ยวกับความสัมพันธ์ในครอบครัว ดังนั้นการเสนอกฎหมายพิเศษจึงเกิดขึ้นเพื่อความเหมาะสม นอกจากนี้จะมีการเสนอร่างพระราชบัญญัติอนามัยเจริญพันธ์ โดยนางนิภา พริ้งศุลกะ ส.ส.สุราษฎร์ธานี ผู้เสนอร่างดังกล่าว ระบุว่า ร่างดังกล่าวจะให้ความคุ้มครองดูแลตั้งแต่การปฏิสนธิ การตั้งครรภ์ คลอดบุตร ตลอดไปจนถึงการเสียชีวิต
เมื่อถามว่าร่างกฎหมายที่จะนำเสนอจะมีร่างของรัฐบาลประกบด้วยหรือไม่ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กล่าวว่า ตนเข้าใจว่าคณะรัฐมนตรียังไม่ได้เสนอร่างนี้ แต่จะมีร่างของสมาชิกทุกพรรคการเมือง เพราะฉะนั้นตนคิดว่ากฎหมายลักษณะนี้ รัฐบาลควรจะให้ฝ่ายนิติบัญญัติเดินหน้าทำต่อ และในกระบวนการของสภาเอง ตนก็เชื่อว่ารัฐบาลจะสามารถปรับปรุงแก้ไขให้เกิดการปฏิบัติได้ เพราะเป็นเรื่องที่ไม่ลึกลับและไม่ยากอะไร ทั้งนี้ตนอยากเห็นการบังคับใช้กฎหมายทั้ง 2 ฉบับภายในปีนี้ เพราะวันสตรีสากลปีหน้าตนจะได้ไม่ต้องพูดถึงเรื่องนี้อีกครั้ง
‘เราเห็นว่าจังหวะนี้รัฐบาลเองต้องไปทบทวนเรื่องการหยิบยกกฎหมายในหลายฉบับ ว่าจะนำมายืนยันหรือไม่อย่างไร ซึ่งจะเกี่ยวกับนโยบายเรื่องการจัดลำดับความสำคัญของรัฐบาล แต่ผมคิดว่าจังหวะที่สภายังไม่มีกฎหมายเข้าสู่การพิจารณามาก ประเด็นอย่างนี้ทุกพรรคน่าจะเห็นตรงกัน และน่าจะเร่งผลักดันให้มีความก้าวหน้าไป สำหรับในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์เอง วันนี้ส.ส.หญิงทุกท่านและที่เพิ่มเติมมาคือ วันนี้คุณฮูวัยดิย๊ะ และ ดร.เดือนเต็มดวง จะมาเดินหน้าทำงานต่อไป ซึ่งจะรวมกับส.ส.ที่เป็นผู้ชาย ที่มีความสนใจในเรื่องนี้ก็จะติดตามเพื่อผลักดันนโยบายหรือกฎหมายต่างๆ และพร้อมที่จะเปิดกว้างในการรับฟังข้อเสนอแนะจากองค์กรต่างๆด้วย อย่างกรณีของดร.ดือนเต็มดวงก็คิดว่าจะให้มาอยู่ในทีมงานโฆษกฯ คงจะเป็นรองโฆษกฯคนหนึ่งด้วย เพื่อจะให้มีตัวแทนของสตรีในการทำหน้าที่ตรงนี้ด้วย’ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 8 มี.ค. 2548--จบ--
-ดท-
วันนี้(8 มี.ค.48) เวลา 10.30น. ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ พร้อมด้วยส.ส.หญิงของพรรคประชาธิปัตย์ เช่น นางนิภา พริ้งศุลกะ นางกันตวรรณ กุลจรรยาวิวัฒน์ นางเฉลิมลักษณ์ เก็บทรัพย์ นางสาวนริศา อดิเทพวรพันธ์ นางเจิมมาศ จึงเลิศศิริ นอกจากนี้ยังมีอดีตผู้สมัครและอดีตส.ส.ของพรรค เช่น นางฮูวัยดิย๊ะ พิศสุวรรณ อุเซ็ง ดร.เดือนเต็มดวง ณ เชียงใหม่ ร่วมแถลงเนื่องในวัน ‘สตรีสากล’ โดยเรียกร้องทุกฝ่ายเข้ามาช่วยเหลือ 3 ประการดังนี้คือ 1. ความเสมอภาค โดยในปัจจุบันพบความเสมอภาคเกิดขึ้นกับสตรีเป็นจำนวนมาก ทั้งเรื่องโอกาสทางการศึกษา หรือหน้าที่งานในระดับสูงที่ส่วนใหญ่ยังคงเป็นผู้ชาย ทั้งนี้จากการสำรวจยังพบว่าผู้หญิงมีรายได้น้อยกว่าผู้ชายถึงร้อยละ 17 ประการที่ 2 การให้สตรีเข้ามามีส่วนร่วมในด้านต่างๆ ให้มากขึ้น และประการที่ 3 ปัญหาเรื่องความุรนแรง โดยที่พบมากที่สุดคือความรุนแรงในครอบครัว
นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า จากปัญหาเรื่องความรุนแรง พรรคประชาธิปัตย์จะเสนอร่างพระราชบัญญัติขจัดปัญหาความรุนแรงในครอบครัวต่อรัฐบาล เป็นฉบับแรกทันที่ที่สภาฯมีการพิจารณาร่างกฎหมาย ซึ่งกฎหมายฉบับนี้พรรคประชาธิปัตย์ได้เสนอไว้ตั้งสภาชุดที่แล้ว แต่ก็ไม่ได้มีการหยิบยกขึ้นมาพิจารณา โดยสาระสำคัญคือ ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในครอบครัว ไม่ควรพึ่งพากฎหมายตามปกติ เพราะถือเป็นเรื่องละเอียดอ่อน เกี่ยวกับความสัมพันธ์ในครอบครัว ดังนั้นการเสนอกฎหมายพิเศษจึงเกิดขึ้นเพื่อความเหมาะสม นอกจากนี้จะมีการเสนอร่างพระราชบัญญัติอนามัยเจริญพันธ์ โดยนางนิภา พริ้งศุลกะ ส.ส.สุราษฎร์ธานี ผู้เสนอร่างดังกล่าว ระบุว่า ร่างดังกล่าวจะให้ความคุ้มครองดูแลตั้งแต่การปฏิสนธิ การตั้งครรภ์ คลอดบุตร ตลอดไปจนถึงการเสียชีวิต
เมื่อถามว่าร่างกฎหมายที่จะนำเสนอจะมีร่างของรัฐบาลประกบด้วยหรือไม่ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กล่าวว่า ตนเข้าใจว่าคณะรัฐมนตรียังไม่ได้เสนอร่างนี้ แต่จะมีร่างของสมาชิกทุกพรรคการเมือง เพราะฉะนั้นตนคิดว่ากฎหมายลักษณะนี้ รัฐบาลควรจะให้ฝ่ายนิติบัญญัติเดินหน้าทำต่อ และในกระบวนการของสภาเอง ตนก็เชื่อว่ารัฐบาลจะสามารถปรับปรุงแก้ไขให้เกิดการปฏิบัติได้ เพราะเป็นเรื่องที่ไม่ลึกลับและไม่ยากอะไร ทั้งนี้ตนอยากเห็นการบังคับใช้กฎหมายทั้ง 2 ฉบับภายในปีนี้ เพราะวันสตรีสากลปีหน้าตนจะได้ไม่ต้องพูดถึงเรื่องนี้อีกครั้ง
‘เราเห็นว่าจังหวะนี้รัฐบาลเองต้องไปทบทวนเรื่องการหยิบยกกฎหมายในหลายฉบับ ว่าจะนำมายืนยันหรือไม่อย่างไร ซึ่งจะเกี่ยวกับนโยบายเรื่องการจัดลำดับความสำคัญของรัฐบาล แต่ผมคิดว่าจังหวะที่สภายังไม่มีกฎหมายเข้าสู่การพิจารณามาก ประเด็นอย่างนี้ทุกพรรคน่าจะเห็นตรงกัน และน่าจะเร่งผลักดันให้มีความก้าวหน้าไป สำหรับในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์เอง วันนี้ส.ส.หญิงทุกท่านและที่เพิ่มเติมมาคือ วันนี้คุณฮูวัยดิย๊ะ และ ดร.เดือนเต็มดวง จะมาเดินหน้าทำงานต่อไป ซึ่งจะรวมกับส.ส.ที่เป็นผู้ชาย ที่มีความสนใจในเรื่องนี้ก็จะติดตามเพื่อผลักดันนโยบายหรือกฎหมายต่างๆ และพร้อมที่จะเปิดกว้างในการรับฟังข้อเสนอแนะจากองค์กรต่างๆด้วย อย่างกรณีของดร.ดือนเต็มดวงก็คิดว่าจะให้มาอยู่ในทีมงานโฆษกฯ คงจะเป็นรองโฆษกฯคนหนึ่งด้วย เพื่อจะให้มีตัวแทนของสตรีในการทำหน้าที่ตรงนี้ด้วย’ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 8 มี.ค. 2548--จบ--
-ดท-