1. การผลิต
การผลิตเซรามิก ไตรมาสที่ 1 ปี 2550 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 33.17 ล้านตารางเมตร และเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณ 2.07
ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนการผลิตกระเบื้องปูพื้น บุผนังและเครื่องสุขภัณฑ์เพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.65 และ 4.82 ตามลำดับ เนื่องจากไตรมาสนี้เป็น
ช่วงฤดูกาลขาย จึงมีการผลิตเพื่อรองรับความต้องการของตลาด แต่เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนการผลิตกระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่อง
สุขภัณฑ์ ลดลงร้อยละ 10.98 และ 3.93 ตามลำดับ (ดังตาราง ที่ 1 และ 2) ซึ่งการผลิตเซรามิกยังคงลดลงตามภาวะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ซบ
เซาอย่างต่อเนื่อง
2. การตลาด
2.1 ตลาดในประเทศ
การจำหน่ายเซรามิก ไตรมาสที่ 1 ปี 2550 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 40.28 ล้านตารางเมตร เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เพิ่ม
ขึ้น ร้อยละ 13.58 ซึ่งเป็นไปตามตลาดในช่วงฤดูกาลขาย แม้ว่าตลาดบ้านใหม่จะขยายตัวน้อย มีเพียงเฉพาะที่อยู่อาศัยประเภทคอนโดมีเนียม แต่ตลาด
หลักของกระเบื้องปูพื้น บุผนัง เป็นตลาดบ้านเก่าที่ต้องการปรังปรุงซ่อมแซม จึงทำให้มีปริมาณการจำหน่ายกระเบื้องปูพื้น บุผนัง เพิ่มขึ้น สำหรับการ
จำหน่ายเครื่องสุขภัณฑ์ ในไตรมาสนี้ มีปริมาณ 1.14 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนลดลง ร้อยละ 5.03 ซึ่งการจำหน่ายเครื่องสุขภัณฑ์ยังคงต้องพึ่ง
ตลาดบ้านใหม่เป็นส่วนใหญ่ จึงยังคงได้รับผลกระทบจากภาวะซบเซาของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ แต่การจำหน่ายเครื่องสุขภัณฑ์เริ่มมีแนวโน้มที่
จะเน้นตลาดบ้านเก่าที่ต้องปรับปรุงซ่อมแซมเพิ่มมากขึ้น สำหรับการจำหน่ายกระเบื้องปูพื้นบุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ และเทียบกับระยะเดียวกันของปี
ก่อน ลดลง ร้อยละ 8.42 และ 7.87 ตามลำดับ (ดังตารางที่ 1 และ 2) ซึ่งยังคงได้รับผลกระทบจากภาวะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ ที่ซบ
เซา ทำให้ผู้บริโภคชะลอการตัดสินใจซื้อ
การแข่งขันของตลาดเซรามิกในประเทศมีการแข่งขันที่รุนแรงทั้งจากสินค้าที่ผลิตในประเทศและสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ ทำให้ผู้
ประกอบการหลายรายต้องใช้กลยุทธ์ด้านต่าง ๆ ในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าด้วยดีไซน์ นวัตกรรม และเทคโนโลยีการผลิต โดยผู้ผลิตหลายรายได้
เตรียมเปิดตัวสินค้าในงานสถาปนิก’ 50 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 1 - 6 พฤษภาคม 2550 นอกจากนี้ยังเน้นกลยุทธ์ทางการตลาดโดยโฆษณาผ่านสื่อต่าง
ๆ สร้างความสัมพันธ์กับตัวแทนจำหน่าย และการพัฒนารูปแบบการให้บริการที่ครบวงจร ทั้งนี้เพื่อสนองความต้องการของลูกค้าและรักษาส่วนแบ่งทางการ
ตลาดให้กับสินค้า
2.2 การนำเข้า - ส่งออก
ไม่สามารถวิเคราะห์สถานการณ์นำเข้า-ส่งออกในช่วงนี้ได้ เนื่องจากกรมศุลกากร ได้นำพิกัดศุลกากรฮาร์โมไนซ์ ฉบับปี 2007 มาใช้
ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2550 ทำให้การจัดเก็บสถิตินำเข้า-ส่งออก ต้องจัดทำโปรแกรมใหม่ทั้งระบบ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการ
3. สรุปและแนวโน้ม
การผลิตเซรามิกทั้ง กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2550เพิ่มขึ้นตามตลาดในช่วงฤดูกาลขาย สำหรับการ
จำหน่ายเซรามิกในประเทศ แม้ว่ากระเบื้องปูพื้น บุผนัง จะเพิ่มขึ้นจากตลาดปรับปรุงและซ่อมแซมบ้านเก่า แต่การจำหน่ายเครื่องสุขภัณฑ์ยังคงลด
ลง เนื่องจากตลาดหลักของเครื่องสุขภัณฑ์ยังคงเป็นตลาดบ้านใหม่ซึ่งมีการขยายตัวไม่มากนัก สำหรับแนวโน้มการ ผลิตและจำหน่ายเซรามิกในประเทศ
ในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 ยังคงได้รับผลกระทบจากภาวะซบเซาของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ ทำให้ผู้ประกอบการที่ผลิตทั้งกระเบื้องปูพื้น บุผนัง
และเครื่องสุขภัณฑ์ ส่วนใหญ่เน้นตลาดปรับปรุงและซ่อมแซมบ้านเก่ามากขึ้น รวมทั้งมีการปรับกลยุทธ์ในการสร้างมูลค่าเพิ่ม ให้สินค้าด้วยดี
ไซน์ นวัตกรรม และเทคโนโลยี และบริการต่าง ๆ เพื่อสนองความต้องการของลูกค้าและรักษาส่วนแบ่งทางการตลาดให้กับสินค้า
ตารางที่ 1 การผลิต และจำหน่ายกระเบื้องปูพื้น บุผนัง
ปริมาณ (ตารางเมตร) ไตรมาส
Jan-49 Apr-49 Jan-50
การผลิต 37,259,571 32,955,100 33,168,859
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 0.65
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -10.98
การจำหน่ายในประเทศ 43,987,229 35,466,220 40,282,918
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 13.58
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -8.42
ที่มา: ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : จากการสำรวจโรงงานกระเบื้องปูพื้น บุผนัง จำนวน 10 โรงงาน
ตารางที่ 2 การผลิต และจำหน่ายเครื่องสุขภัณฑ์
ปริมาณ (ชิ้น) ไตรมาส
Jan-49 Apr-49 Jan-50
การผลิต 2,153,637 1,973,807 2,068,936
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 4.82
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -3.93
การจำหน่ายในประเทศ 1,233,284 1,196,431 1,136,264
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -5.03
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -7.87
ที่มา: ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : จากการสำรวจโรงงานเครื่องสุขภัณฑ์ จำนวน 6 โรงงาน
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
การผลิตเซรามิก ไตรมาสที่ 1 ปี 2550 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 33.17 ล้านตารางเมตร และเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณ 2.07
ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนการผลิตกระเบื้องปูพื้น บุผนังและเครื่องสุขภัณฑ์เพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.65 และ 4.82 ตามลำดับ เนื่องจากไตรมาสนี้เป็น
ช่วงฤดูกาลขาย จึงมีการผลิตเพื่อรองรับความต้องการของตลาด แต่เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนการผลิตกระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่อง
สุขภัณฑ์ ลดลงร้อยละ 10.98 และ 3.93 ตามลำดับ (ดังตาราง ที่ 1 และ 2) ซึ่งการผลิตเซรามิกยังคงลดลงตามภาวะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ซบ
เซาอย่างต่อเนื่อง
2. การตลาด
2.1 ตลาดในประเทศ
การจำหน่ายเซรามิก ไตรมาสที่ 1 ปี 2550 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 40.28 ล้านตารางเมตร เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เพิ่ม
ขึ้น ร้อยละ 13.58 ซึ่งเป็นไปตามตลาดในช่วงฤดูกาลขาย แม้ว่าตลาดบ้านใหม่จะขยายตัวน้อย มีเพียงเฉพาะที่อยู่อาศัยประเภทคอนโดมีเนียม แต่ตลาด
หลักของกระเบื้องปูพื้น บุผนัง เป็นตลาดบ้านเก่าที่ต้องการปรังปรุงซ่อมแซม จึงทำให้มีปริมาณการจำหน่ายกระเบื้องปูพื้น บุผนัง เพิ่มขึ้น สำหรับการ
จำหน่ายเครื่องสุขภัณฑ์ ในไตรมาสนี้ มีปริมาณ 1.14 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนลดลง ร้อยละ 5.03 ซึ่งการจำหน่ายเครื่องสุขภัณฑ์ยังคงต้องพึ่ง
ตลาดบ้านใหม่เป็นส่วนใหญ่ จึงยังคงได้รับผลกระทบจากภาวะซบเซาของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ แต่การจำหน่ายเครื่องสุขภัณฑ์เริ่มมีแนวโน้มที่
จะเน้นตลาดบ้านเก่าที่ต้องปรับปรุงซ่อมแซมเพิ่มมากขึ้น สำหรับการจำหน่ายกระเบื้องปูพื้นบุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ และเทียบกับระยะเดียวกันของปี
ก่อน ลดลง ร้อยละ 8.42 และ 7.87 ตามลำดับ (ดังตารางที่ 1 และ 2) ซึ่งยังคงได้รับผลกระทบจากภาวะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ ที่ซบ
เซา ทำให้ผู้บริโภคชะลอการตัดสินใจซื้อ
การแข่งขันของตลาดเซรามิกในประเทศมีการแข่งขันที่รุนแรงทั้งจากสินค้าที่ผลิตในประเทศและสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ ทำให้ผู้
ประกอบการหลายรายต้องใช้กลยุทธ์ด้านต่าง ๆ ในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าด้วยดีไซน์ นวัตกรรม และเทคโนโลยีการผลิต โดยผู้ผลิตหลายรายได้
เตรียมเปิดตัวสินค้าในงานสถาปนิก’ 50 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 1 - 6 พฤษภาคม 2550 นอกจากนี้ยังเน้นกลยุทธ์ทางการตลาดโดยโฆษณาผ่านสื่อต่าง
ๆ สร้างความสัมพันธ์กับตัวแทนจำหน่าย และการพัฒนารูปแบบการให้บริการที่ครบวงจร ทั้งนี้เพื่อสนองความต้องการของลูกค้าและรักษาส่วนแบ่งทางการ
ตลาดให้กับสินค้า
2.2 การนำเข้า - ส่งออก
ไม่สามารถวิเคราะห์สถานการณ์นำเข้า-ส่งออกในช่วงนี้ได้ เนื่องจากกรมศุลกากร ได้นำพิกัดศุลกากรฮาร์โมไนซ์ ฉบับปี 2007 มาใช้
ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2550 ทำให้การจัดเก็บสถิตินำเข้า-ส่งออก ต้องจัดทำโปรแกรมใหม่ทั้งระบบ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการ
3. สรุปและแนวโน้ม
การผลิตเซรามิกทั้ง กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2550เพิ่มขึ้นตามตลาดในช่วงฤดูกาลขาย สำหรับการ
จำหน่ายเซรามิกในประเทศ แม้ว่ากระเบื้องปูพื้น บุผนัง จะเพิ่มขึ้นจากตลาดปรับปรุงและซ่อมแซมบ้านเก่า แต่การจำหน่ายเครื่องสุขภัณฑ์ยังคงลด
ลง เนื่องจากตลาดหลักของเครื่องสุขภัณฑ์ยังคงเป็นตลาดบ้านใหม่ซึ่งมีการขยายตัวไม่มากนัก สำหรับแนวโน้มการ ผลิตและจำหน่ายเซรามิกในประเทศ
ในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 ยังคงได้รับผลกระทบจากภาวะซบเซาของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ ทำให้ผู้ประกอบการที่ผลิตทั้งกระเบื้องปูพื้น บุผนัง
และเครื่องสุขภัณฑ์ ส่วนใหญ่เน้นตลาดปรับปรุงและซ่อมแซมบ้านเก่ามากขึ้น รวมทั้งมีการปรับกลยุทธ์ในการสร้างมูลค่าเพิ่ม ให้สินค้าด้วยดี
ไซน์ นวัตกรรม และเทคโนโลยี และบริการต่าง ๆ เพื่อสนองความต้องการของลูกค้าและรักษาส่วนแบ่งทางการตลาดให้กับสินค้า
ตารางที่ 1 การผลิต และจำหน่ายกระเบื้องปูพื้น บุผนัง
ปริมาณ (ตารางเมตร) ไตรมาส
Jan-49 Apr-49 Jan-50
การผลิต 37,259,571 32,955,100 33,168,859
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 0.65
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -10.98
การจำหน่ายในประเทศ 43,987,229 35,466,220 40,282,918
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 13.58
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -8.42
ที่มา: ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : จากการสำรวจโรงงานกระเบื้องปูพื้น บุผนัง จำนวน 10 โรงงาน
ตารางที่ 2 การผลิต และจำหน่ายเครื่องสุขภัณฑ์
ปริมาณ (ชิ้น) ไตรมาส
Jan-49 Apr-49 Jan-50
การผลิต 2,153,637 1,973,807 2,068,936
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 4.82
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -3.93
การจำหน่ายในประเทศ 1,233,284 1,196,431 1,136,264
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -5.03
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -7.87
ที่มา: ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : จากการสำรวจโรงงานเครื่องสุขภัณฑ์ จำนวน 6 โรงงาน
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-