แท็ก
มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
กระทรวงการต่างประเทศ
สุรยุทธ์ จุลานนท์
กระทรวงพาณิชย์
กระทรวงพลังงาน
นายกรัฐมนตรี
กรุงเทพ--27 มิ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
1. พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทย ได้เดินทางเยือนอินเดียอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 25-27 มิถุนายน 2550 โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ร่วมเดินทางไปในการเยือนครั้งนี้ด้วย
2. ในระหว่างการเยือน นายกรัฐมนตรีได้หารือทวิภาคีกับ นายมานโมฮัน ซิงห์ นายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐอินเดีย เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2550 ซึ่งนายกรัฐมนตรีอินเดียได้เป็นเจ้าภาพจัดงานเลี้ยงอาหารค่ำเพื่อเป็นเกียรติแก่นายกรัฐมนตรีและคณะในเย็นวันเดียวกัน ทั้งนี้ ผู้แทนระดับสูงของรัฐบาลอินเดีย อันประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์และอุตสาหกรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานใหม่และพลังงานหมุนเวียน ได้เข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2550 และหัวหน้าพรรคฝ่ายค้านในโลกสภา (สภาผู้แทนราษฎร) ของอินเดียจะเข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรีไทยในวันที่ 27 มิถุนายน 2550 นอกจากนั้น นายกรัฐมนตรียังได้กล่าวถ้อยแถลงต่อที่ประชุมสุดยอดภาคธุรกิจ ซึ่งจัดโดยสมาคมหอการค้าและอุตสาหกรรมของอินเดีย 3 สมาคม คือ CII FICCI และ ASSOCHAM เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2550
3. ในวันที่ 26 มิถุนายน 2550 นายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทยได้เข้าเยี่ยมคารวะประธานาธิบดีแห่งอินเดีย
4. ในวันที่ 27 มิถุนายน 2550 นายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทยจะเดินทางเยือนเมือง
พาราณสีและสารนารถ
5. ในระหว่างการเยือนของนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทย ได้มีการลงนามความตกลงที่สำคัญสองฉบับ โดยมีนายกรัฐมนตรีของทั้งสองประเทศเป็นสักขีพยาน กล่าวคือ บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านพลังงานหมุนเวียนระหว่างกระทรวงพลังงานของไทยและอินเดีย และแผนปฏิบัติการว่าด้วยโครงการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม
6. ในระหว่างการหารือของนายกรัฐมนตรีไทยและอินเดีย ทั้งสองได้แสดงความพอใจเกี่ยวกับความคืบหน้าของความสัมพันธ์ทวิภาคีไทย-อินเดีย และตระหนักถึงคุณค่าของความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศ ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของสายสัมพันธ์ด้านประวัติศาสตร์ อารยธรรม และวัฒนธรรม ที่ได้พัฒนาจากความร่วมมือด้านวัฒนธรรมและการค้า ไปเป็นความสัมพันธ์ที่ครอบคลุมความร่วมมือในทุกสาขาที่สำคัญ กล่าวคือ ด้านความมั่นคง การทหาร การบิน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การปฏิสัมพันธ์ระดับประชาชนที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งความพยายามพัฒนาไปสู่การค้าเสรี โดยนายกรัฐมนตรีทั้งสองได้ย้ำถึงความสำคัญของการใช้ประโยชน์และการขยายผลกรอบโครงสร้างความสัมพันธ์ทวิภาคีต่างๆ เพื่อเสริมสร้างและขยายความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศ
7. นายกรัฐมนตรีทั้งสองได้แสดงความพอใจที่มูลค่าการค้าระหว่างทั้งสองประเทศได้เพิ่มขึ้นจนผ่านหลัก 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ อันเป็นผลจากการอนุวัติการเร่งลดภาษีสินค้ารายการต่างๆ ภายใต้กรอบความตกลงจัดตั้งเขตการค้าเสรีไทย-อินเดีย นายกรัฐมนตรีทั้งสองได้แสดงความมั่นใจว่า การเจรจาความตกลงจัดตั้งเขตการค้าเสรีจะสามารถดำเนินการให้เสร็จสิ้นได้ภายในปีนี้ และเชื่อมั่นว่า จะสามารถบรรลุเป้าหมายในการขยายมูลค่าการค้าระหว่างกันให้ถึง 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐภายในสิ้นปี 2550 (TBC)
8. นายกรัฐมนตรีทั้งสองได้แสดงความพอใจที่ความร่วมมือสาขาการทหารและความมั่นคงระหว่างทั้งสองประเทศที่กำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และได้แสดงความยินดีต่อผลการดำเนินงานของคณะทำงานร่วมเพื่อขยายความร่วมมือด้านความมั่นคง พร้อมกันนี้ ได้สนับสนุนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งการเจรจาความตกลงและบันทึกความเข้าใจด้านการทหารและความมั่นคงที่ค้างอยู่เพื่อให้เสร็จสิ้นและนำไป อนุวัติได้โดยเร็ว นอกจากนั้น โดยที่นายกรัฐมนตรีทั้งสองตระหนักว่า การก่อการร้ายเป็นภัยคุกคามร้ายแรงต่อสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ นายกรัฐมนตรีทั้งสองจึงได้ร่วมกันประณามการก่อการร้ายในทุกรูปแบบว่า เป็นอาชญากรรมที่ไร้เหตุผลและมิใช่สิ่งที่ถูกต้อง ไม่ว่าจะกระทำเพื่อวัตถุประสงค์ใดก็ตาม ในการนี้ นายกรัฐมนตรีทั้งสองจึงมุ่งมั่นที่จะเสริมสร้างความร่วมมือทวิภาคีในการต่อต้านการก่อการร้ายและจะประสานงานกันเพื่อดำเนินมาตรการต่าง ๆ อย่างครอบคลุมและยั่งยืน
9. นายกรัฐมนตรีทั้งสองได้หารือเกี่ยวกับการเสริมสร้างความร่วมมือด้านอื่นที่มีศักยภาพ โดยได้ตกลงที่จะเสริมสร้างความพยายามในการขยายความร่วมมือด้านการบิน และสนับสนุนให้หน่วยงานและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องพิจารณาแนวทางการสร้างความร่วมมือด้านการประมงที่เป็นไปได้ โดยคำนึงถึงกฎและระเบียบภายในประเทศด้วย
10. นายกรัฐมนตรีทั้งสองเห็นชอบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศอยู่ในขั้นที่พร้อมจะยกระดับไปสู่ความเป็นหุ้นส่วนที่แน่นแฟ้นขึ้น โดยนโยบาย “มองตะวันตก” ของไทย และนโยบาย “มองตะวันออก” ของอินเดีย ได้เสริมสร้างกันและกันอย่างสมบรูณ์ และความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศได้ก้าวหน้าไปทั้งในระดับทวิภาคีและระดับภูมิภาค เช่น ในกรอบ ASEAN ARF BIMSTEC MGC ACD และ EAS
11. นายกรัฐมนตรีอินเดียได้แสดงความซาบซึ้งต่อความพยายามของรัฐบาลไทยในการตอบสนองคำเชิญของรัฐบาลอินเดียในการเสาะหาช่องทางเพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจและสังคมที่ใกล้ชิดขึ้นกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย ในบริบทนี้ ในระหว่างการหารือ นายกรัฐมนตรีทั้งสองได้กล่าวถึงเรื่องการเยือนกรุงนิวเดลีเพื่อเข้าร่วมการประชุมสุดยอดทางธุรกิจของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย ครั้งที่ 3 รวมทั้งการเยือนภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดียของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ของไทยในระหว่างวันที่ 21-24 มิถุนายน 2550 ด้วย
12. นายกรัฐมนตรีอินเดียได้ประกาศให้การสนับสนุนเงินจำนวน 10 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างอาคารศูนย์สันสกฤตศึกษา ที่มหาวิทยาลัยศิลปากร อันเนื่องมาจากการที่ศูนย์ฯ ได้มีบทบาทสำคัญในการสร้างเสริมการศึกษาภาษาสันสฤต วัฒนธรรมอินเดีย และสายสัมพันธ์ด้านวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ระหว่างไทยและอินเดีย ในการนี้ นายกรัฐมนตรีไทยได้แสดงความขอบคุณต่อการสนับสนุนของอินเดีย ซึ่งแสดงให้เห็นถึงสายใยความสัมพันธ์ด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของทั้งสองประเทศ ซึ่งมีคุณค่าและความสำคัญยิ่ง
13. การเยือนของนายกรัฐมนตรี มีขึ้นในโอกาสของการครบรอบ 60 ปีความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยและอินเดีย และเป็นสัญลักษณ์ของความสำคัญที่ทั้งสองประเทศให้ต่อความสัมพันธ์อันดีที่ใกล้ชิดระหว่างกันในโอกาสนี้ ทั้งสองประเทศจะจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองโอกาสครบรอบ 60 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างต่อเนื่อง
14. นายกรัฐมนตรีไทยแสดงความขอบคุณต่อนายกรัฐมนตรีอินเดีย สำหรับการต้อนรับที่อบอุ่นและเป็นมิตรอย่างยิ่ง และได้แสดงความขอบคุณสำหรับการเตรียมอย่างดียิ่งสำหรับการเยือนอย่างเป็นทางการครั้งนี้
กรุงนิวเดลี
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
1. พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทย ได้เดินทางเยือนอินเดียอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 25-27 มิถุนายน 2550 โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ร่วมเดินทางไปในการเยือนครั้งนี้ด้วย
2. ในระหว่างการเยือน นายกรัฐมนตรีได้หารือทวิภาคีกับ นายมานโมฮัน ซิงห์ นายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐอินเดีย เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2550 ซึ่งนายกรัฐมนตรีอินเดียได้เป็นเจ้าภาพจัดงานเลี้ยงอาหารค่ำเพื่อเป็นเกียรติแก่นายกรัฐมนตรีและคณะในเย็นวันเดียวกัน ทั้งนี้ ผู้แทนระดับสูงของรัฐบาลอินเดีย อันประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์และอุตสาหกรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานใหม่และพลังงานหมุนเวียน ได้เข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2550 และหัวหน้าพรรคฝ่ายค้านในโลกสภา (สภาผู้แทนราษฎร) ของอินเดียจะเข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรีไทยในวันที่ 27 มิถุนายน 2550 นอกจากนั้น นายกรัฐมนตรียังได้กล่าวถ้อยแถลงต่อที่ประชุมสุดยอดภาคธุรกิจ ซึ่งจัดโดยสมาคมหอการค้าและอุตสาหกรรมของอินเดีย 3 สมาคม คือ CII FICCI และ ASSOCHAM เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2550
3. ในวันที่ 26 มิถุนายน 2550 นายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทยได้เข้าเยี่ยมคารวะประธานาธิบดีแห่งอินเดีย
4. ในวันที่ 27 มิถุนายน 2550 นายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทยจะเดินทางเยือนเมือง
พาราณสีและสารนารถ
5. ในระหว่างการเยือนของนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทย ได้มีการลงนามความตกลงที่สำคัญสองฉบับ โดยมีนายกรัฐมนตรีของทั้งสองประเทศเป็นสักขีพยาน กล่าวคือ บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านพลังงานหมุนเวียนระหว่างกระทรวงพลังงานของไทยและอินเดีย และแผนปฏิบัติการว่าด้วยโครงการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม
6. ในระหว่างการหารือของนายกรัฐมนตรีไทยและอินเดีย ทั้งสองได้แสดงความพอใจเกี่ยวกับความคืบหน้าของความสัมพันธ์ทวิภาคีไทย-อินเดีย และตระหนักถึงคุณค่าของความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศ ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของสายสัมพันธ์ด้านประวัติศาสตร์ อารยธรรม และวัฒนธรรม ที่ได้พัฒนาจากความร่วมมือด้านวัฒนธรรมและการค้า ไปเป็นความสัมพันธ์ที่ครอบคลุมความร่วมมือในทุกสาขาที่สำคัญ กล่าวคือ ด้านความมั่นคง การทหาร การบิน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การปฏิสัมพันธ์ระดับประชาชนที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งความพยายามพัฒนาไปสู่การค้าเสรี โดยนายกรัฐมนตรีทั้งสองได้ย้ำถึงความสำคัญของการใช้ประโยชน์และการขยายผลกรอบโครงสร้างความสัมพันธ์ทวิภาคีต่างๆ เพื่อเสริมสร้างและขยายความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศ
7. นายกรัฐมนตรีทั้งสองได้แสดงความพอใจที่มูลค่าการค้าระหว่างทั้งสองประเทศได้เพิ่มขึ้นจนผ่านหลัก 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ อันเป็นผลจากการอนุวัติการเร่งลดภาษีสินค้ารายการต่างๆ ภายใต้กรอบความตกลงจัดตั้งเขตการค้าเสรีไทย-อินเดีย นายกรัฐมนตรีทั้งสองได้แสดงความมั่นใจว่า การเจรจาความตกลงจัดตั้งเขตการค้าเสรีจะสามารถดำเนินการให้เสร็จสิ้นได้ภายในปีนี้ และเชื่อมั่นว่า จะสามารถบรรลุเป้าหมายในการขยายมูลค่าการค้าระหว่างกันให้ถึง 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐภายในสิ้นปี 2550 (TBC)
8. นายกรัฐมนตรีทั้งสองได้แสดงความพอใจที่ความร่วมมือสาขาการทหารและความมั่นคงระหว่างทั้งสองประเทศที่กำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และได้แสดงความยินดีต่อผลการดำเนินงานของคณะทำงานร่วมเพื่อขยายความร่วมมือด้านความมั่นคง พร้อมกันนี้ ได้สนับสนุนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งการเจรจาความตกลงและบันทึกความเข้าใจด้านการทหารและความมั่นคงที่ค้างอยู่เพื่อให้เสร็จสิ้นและนำไป อนุวัติได้โดยเร็ว นอกจากนั้น โดยที่นายกรัฐมนตรีทั้งสองตระหนักว่า การก่อการร้ายเป็นภัยคุกคามร้ายแรงต่อสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ นายกรัฐมนตรีทั้งสองจึงได้ร่วมกันประณามการก่อการร้ายในทุกรูปแบบว่า เป็นอาชญากรรมที่ไร้เหตุผลและมิใช่สิ่งที่ถูกต้อง ไม่ว่าจะกระทำเพื่อวัตถุประสงค์ใดก็ตาม ในการนี้ นายกรัฐมนตรีทั้งสองจึงมุ่งมั่นที่จะเสริมสร้างความร่วมมือทวิภาคีในการต่อต้านการก่อการร้ายและจะประสานงานกันเพื่อดำเนินมาตรการต่าง ๆ อย่างครอบคลุมและยั่งยืน
9. นายกรัฐมนตรีทั้งสองได้หารือเกี่ยวกับการเสริมสร้างความร่วมมือด้านอื่นที่มีศักยภาพ โดยได้ตกลงที่จะเสริมสร้างความพยายามในการขยายความร่วมมือด้านการบิน และสนับสนุนให้หน่วยงานและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องพิจารณาแนวทางการสร้างความร่วมมือด้านการประมงที่เป็นไปได้ โดยคำนึงถึงกฎและระเบียบภายในประเทศด้วย
10. นายกรัฐมนตรีทั้งสองเห็นชอบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศอยู่ในขั้นที่พร้อมจะยกระดับไปสู่ความเป็นหุ้นส่วนที่แน่นแฟ้นขึ้น โดยนโยบาย “มองตะวันตก” ของไทย และนโยบาย “มองตะวันออก” ของอินเดีย ได้เสริมสร้างกันและกันอย่างสมบรูณ์ และความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศได้ก้าวหน้าไปทั้งในระดับทวิภาคีและระดับภูมิภาค เช่น ในกรอบ ASEAN ARF BIMSTEC MGC ACD และ EAS
11. นายกรัฐมนตรีอินเดียได้แสดงความซาบซึ้งต่อความพยายามของรัฐบาลไทยในการตอบสนองคำเชิญของรัฐบาลอินเดียในการเสาะหาช่องทางเพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจและสังคมที่ใกล้ชิดขึ้นกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย ในบริบทนี้ ในระหว่างการหารือ นายกรัฐมนตรีทั้งสองได้กล่าวถึงเรื่องการเยือนกรุงนิวเดลีเพื่อเข้าร่วมการประชุมสุดยอดทางธุรกิจของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย ครั้งที่ 3 รวมทั้งการเยือนภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดียของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ของไทยในระหว่างวันที่ 21-24 มิถุนายน 2550 ด้วย
12. นายกรัฐมนตรีอินเดียได้ประกาศให้การสนับสนุนเงินจำนวน 10 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างอาคารศูนย์สันสกฤตศึกษา ที่มหาวิทยาลัยศิลปากร อันเนื่องมาจากการที่ศูนย์ฯ ได้มีบทบาทสำคัญในการสร้างเสริมการศึกษาภาษาสันสฤต วัฒนธรรมอินเดีย และสายสัมพันธ์ด้านวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ระหว่างไทยและอินเดีย ในการนี้ นายกรัฐมนตรีไทยได้แสดงความขอบคุณต่อการสนับสนุนของอินเดีย ซึ่งแสดงให้เห็นถึงสายใยความสัมพันธ์ด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของทั้งสองประเทศ ซึ่งมีคุณค่าและความสำคัญยิ่ง
13. การเยือนของนายกรัฐมนตรี มีขึ้นในโอกาสของการครบรอบ 60 ปีความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยและอินเดีย และเป็นสัญลักษณ์ของความสำคัญที่ทั้งสองประเทศให้ต่อความสัมพันธ์อันดีที่ใกล้ชิดระหว่างกันในโอกาสนี้ ทั้งสองประเทศจะจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองโอกาสครบรอบ 60 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างต่อเนื่อง
14. นายกรัฐมนตรีไทยแสดงความขอบคุณต่อนายกรัฐมนตรีอินเดีย สำหรับการต้อนรับที่อบอุ่นและเป็นมิตรอย่างยิ่ง และได้แสดงความขอบคุณสำหรับการเตรียมอย่างดียิ่งสำหรับการเยือนอย่างเป็นทางการครั้งนี้
กรุงนิวเดลี
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-