แท็ก
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
บัญญัติ บรรทัดฐาน
พรรคประชาธิปัตย์
รัฐธรรมนูญ 2550
ร่างรัฐธรรมนูญ
โรงแรมคอนราด
วันนี้ (8 ก.ค.50) ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ พร้อมด้วยคณะทำงานพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญพรรคประชาธิปัตย์ แถลงข่าว ภายหลังการประชุมว่าพรรคประชาธิปัตย์ได้ติดตามเรื่องของการร่างรัฐธรรมนูญมาตั้งแต่ต้น และได้มีคณะทำงานที่ได้ศึกษาเกี่ยวกับการจัดทำรัฐธรรมนูญมา โดยมี นายบัญญัติ บรรทัดฐาน เป็นประธาน ซึ่งหลังจากที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้ผ่านความเห็นชอบแล้ว คณะทำงานก็ได้มีการประชุมทันที ซึ่งได้มีความเห็นเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญดังต่อไปนี้
ประเด็นที่หนึ่ง เห็นว่ารัฐธรรมนูญฉบับร่างไม่ได้มีความแตกต่างจากรัฐธรรมนูญปี 2540 ในโครงสร้างภาพรวม ซึ่งหลักสำคัญในการบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพ การมีองค์กรอิสระ การใช้ระบบรัฐสภา ยังมีความคล้ายคลึงกับรัฐธรรมนูญ ปี2540 ดังนั้นคณะทำงานจึงมีความเห็นว่า มีบทบัญญัติหลายเรื่อง ที่รัฐธรรมนูญได้ปรับปรุงจากรัฐธรรมนูญฉบับ ปี 2540 โดยคำนึงถึงสภาพการเมืองหลัง ปี 2540 เป็นต้นมา เช่น เรื่องสิทธิเสรีภาพ ที่ฉบับ 2540 จะมีการกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการตรากฎหมาย เพื่อจะรับรองสิทธิเสรีภาพนั้น แต่ฉบับนี้ได้เขียนให้สิทธิเสรีต่างๆมีผลทันที อันนี้ถือว่าการให้การคุ้มครอง และการให้สิทธิมีความกว้างขวางและมีผลในทางปฏิบัติมากขึ้น
ประเด็นที่สอง คณะทำงานฯเห็นว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ จะเป็นฉบับที่ทำให้การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐทำได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการตรวจสอบผ่านกลไกรัฐสภา ไม่ว่าจะเป็นการที่ประชาชนจะมีโอกาสในการรวบรวมชื่อเพื่อให้มีการตรวจสอบ หรือถอดถอน นอกจากนั้นการตรวจสอบในรายละเอียดอีกหลายเรื่องว เช่น การตรวจสอบการไปทำสัญญากับต่างชาติ ก็ทำให้กระบวนการของการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐเข้มแข็งขึ้น ซึ่งก็สอดคล้องกับหลักประชาธิปไตย
ประเด็นที่สาม คือการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยเฉพาะกรณีการลดจำนวนการเข้าชื่อ ในการเสนอกฎหมาย รวมถึงการมีส่วนร่วมในการปกครองส่วนท้องถิ่น ก็มีการอำนวยความสะดวก คือทำให้ประชาชนสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมกับกระบวนการทางการเมืองมากขึ้น ตรงนี้ถือเป็นการเสริมความเข้มแข็งทางการเมืองของภาคประชาชน
ประเด็นที่สี่ คณะทำงานเห็นว่าร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวยังมีจุดอ่อนในบางเรื่องที่เกี่ยวข้องกับระบบรัฐสภา หรือสิทธิของคนในการมีส่วนร่วมทางการเมืองก็ได้มีการแก้ไข เช่นไม่ได้ปิดกั้นผู้ที่ไม่ได้จบปริญญา ในการสมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือ กรณี ส.ส.ที่ไปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ก็ไม่ต้องพ้นจากตำแหน่ง ส.ส. ซึ่งจะทำให้ความรับผิดชอบต่อสภาฯของรัฐมนตรี และรัฐบาลโดยรวมดีขึ้น ซึ่งก็จะแก้ปัญหาในช่วงที่ผ่านมา ที่รัฐบาลมีความรับผิดต่อสภาค่อนข้างน้อย
นอกจากนั้นก็จะมีรายละเอียดที่มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ในอีกหลายเรื่อง เช่น เรื่องของงบประมาณในการนำเสนอที่ต้องมีเอกสารข้อมูลที่ทำให้การติดตามตรวจสอบ หรือการพิจารณางบประมาณมีความเข้มข้นมากขึ้น มีเรื่องการปกครองส่วนท้องถิ่นที่ต้องมีการรายงาน หรือมีความรับผิดชอบต่อประชาชนในระดับที่มากขึ้น สิ่งเหล่านี้ พรรคประชาธิปัตย์ เห็นว่าเป็นจุดเด่นของรัฐธรรมนูญฉบับร่างที่จะไปทำประชามติ
ดังนั้นโดยภาพรวมคณะทำงานฯเห็นว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ เป็นร่างที่รับได้และประชาชนก็น่าที่จะรับ เพื่อให้กระบวนการการฟื้นฟูประชาธิปไตยให้เดินหน้าต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากได้รับความเห็นชอบจากประชาชนก็จะเข้าสู่กระบวนการของการเลือกตั้ง ซึ่งก็จะทำให้ปัญหาของประชาชนในหลายๆเรื่องได้รับการคลี่คลายต่อไปโดยเร็ว
หากถามว่าพรรคประชาธิปัตย์ เห็นว่ารัฐธรรมนูญสมบูรณ์ หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า พรรคยังมองเห็นจุดด้อยของรัฐธรรมนูญอยู่ในบางเรื่อง เช่น เรื่องวุฒิสภา คือการที่วุฒิสภาไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ตรงนี้พรรคเห็นว่าเป็นจุดด้อยของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ รวมทั้งเรื่องที่รัฐธรรมนูญเขียนในเรื่องแนวนโยบายของรัฐไว้ละเอียดเกินไปอาจจมีผลต่อการทำงานของพรรคการเมือง ในแง่ของการกำหนดแนวนโยบายต่างๆที่จะเข้ามาบริหารประเทศ แต่เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว จุดเด่นมีมากกว่าจุดด้อย เพราะฉะนั้นพรรคจึงมีจุดยืนแนวคิดว่าสมควรที่จะรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้
อย่างไรก็ตามกระบวนการประชามติพรรคฯก็ถือว่าเป็นกระบวนการสำคัญที่จะทำให้ประชาชนสามารถใช้สิทธิในแนวทางประชาธิปไตย พรรคจึงขอเรียกร้องให้การจัดมติเป็นการจัดมติที่เปิดโอกาสให้กับทุกฝ่ายที่มีความคิดหลากหลายสามารถที่จะสื่อสารให้กับประชาชนได้ทราบถึงจุดเด่น จุดด้อย ข้อดี และข้อเสีย เพื่อที่จะตัดสินใจได้อย่างสมบูรณ์ที่สุด
ในส่วนของพรรคฯก็จะมีการรวบรวมประเด็นที่เห็นว่าเป็นจุดเด่น จุดด้อย เพื่อเผยแพร่ให้ประชาชนรับทราบ แต่จะเน้นเรื่องการมีให้ข้อมูลเป็นหลัก ซึ่งอาจจะเป็นเผยแพร่ผ่านกลไกที่พรรคมีอยู่ เช่น สาขาพรรค สมาชิกพรรค เป็นต้น
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 8 ก.ค. 2550--จบ--
ประเด็นที่หนึ่ง เห็นว่ารัฐธรรมนูญฉบับร่างไม่ได้มีความแตกต่างจากรัฐธรรมนูญปี 2540 ในโครงสร้างภาพรวม ซึ่งหลักสำคัญในการบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพ การมีองค์กรอิสระ การใช้ระบบรัฐสภา ยังมีความคล้ายคลึงกับรัฐธรรมนูญ ปี2540 ดังนั้นคณะทำงานจึงมีความเห็นว่า มีบทบัญญัติหลายเรื่อง ที่รัฐธรรมนูญได้ปรับปรุงจากรัฐธรรมนูญฉบับ ปี 2540 โดยคำนึงถึงสภาพการเมืองหลัง ปี 2540 เป็นต้นมา เช่น เรื่องสิทธิเสรีภาพ ที่ฉบับ 2540 จะมีการกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการตรากฎหมาย เพื่อจะรับรองสิทธิเสรีภาพนั้น แต่ฉบับนี้ได้เขียนให้สิทธิเสรีต่างๆมีผลทันที อันนี้ถือว่าการให้การคุ้มครอง และการให้สิทธิมีความกว้างขวางและมีผลในทางปฏิบัติมากขึ้น
ประเด็นที่สอง คณะทำงานฯเห็นว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ จะเป็นฉบับที่ทำให้การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐทำได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการตรวจสอบผ่านกลไกรัฐสภา ไม่ว่าจะเป็นการที่ประชาชนจะมีโอกาสในการรวบรวมชื่อเพื่อให้มีการตรวจสอบ หรือถอดถอน นอกจากนั้นการตรวจสอบในรายละเอียดอีกหลายเรื่องว เช่น การตรวจสอบการไปทำสัญญากับต่างชาติ ก็ทำให้กระบวนการของการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐเข้มแข็งขึ้น ซึ่งก็สอดคล้องกับหลักประชาธิปไตย
ประเด็นที่สาม คือการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยเฉพาะกรณีการลดจำนวนการเข้าชื่อ ในการเสนอกฎหมาย รวมถึงการมีส่วนร่วมในการปกครองส่วนท้องถิ่น ก็มีการอำนวยความสะดวก คือทำให้ประชาชนสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมกับกระบวนการทางการเมืองมากขึ้น ตรงนี้ถือเป็นการเสริมความเข้มแข็งทางการเมืองของภาคประชาชน
ประเด็นที่สี่ คณะทำงานเห็นว่าร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวยังมีจุดอ่อนในบางเรื่องที่เกี่ยวข้องกับระบบรัฐสภา หรือสิทธิของคนในการมีส่วนร่วมทางการเมืองก็ได้มีการแก้ไข เช่นไม่ได้ปิดกั้นผู้ที่ไม่ได้จบปริญญา ในการสมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือ กรณี ส.ส.ที่ไปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ก็ไม่ต้องพ้นจากตำแหน่ง ส.ส. ซึ่งจะทำให้ความรับผิดชอบต่อสภาฯของรัฐมนตรี และรัฐบาลโดยรวมดีขึ้น ซึ่งก็จะแก้ปัญหาในช่วงที่ผ่านมา ที่รัฐบาลมีความรับผิดต่อสภาค่อนข้างน้อย
นอกจากนั้นก็จะมีรายละเอียดที่มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ในอีกหลายเรื่อง เช่น เรื่องของงบประมาณในการนำเสนอที่ต้องมีเอกสารข้อมูลที่ทำให้การติดตามตรวจสอบ หรือการพิจารณางบประมาณมีความเข้มข้นมากขึ้น มีเรื่องการปกครองส่วนท้องถิ่นที่ต้องมีการรายงาน หรือมีความรับผิดชอบต่อประชาชนในระดับที่มากขึ้น สิ่งเหล่านี้ พรรคประชาธิปัตย์ เห็นว่าเป็นจุดเด่นของรัฐธรรมนูญฉบับร่างที่จะไปทำประชามติ
ดังนั้นโดยภาพรวมคณะทำงานฯเห็นว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ เป็นร่างที่รับได้และประชาชนก็น่าที่จะรับ เพื่อให้กระบวนการการฟื้นฟูประชาธิปไตยให้เดินหน้าต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากได้รับความเห็นชอบจากประชาชนก็จะเข้าสู่กระบวนการของการเลือกตั้ง ซึ่งก็จะทำให้ปัญหาของประชาชนในหลายๆเรื่องได้รับการคลี่คลายต่อไปโดยเร็ว
หากถามว่าพรรคประชาธิปัตย์ เห็นว่ารัฐธรรมนูญสมบูรณ์ หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า พรรคยังมองเห็นจุดด้อยของรัฐธรรมนูญอยู่ในบางเรื่อง เช่น เรื่องวุฒิสภา คือการที่วุฒิสภาไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ตรงนี้พรรคเห็นว่าเป็นจุดด้อยของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ รวมทั้งเรื่องที่รัฐธรรมนูญเขียนในเรื่องแนวนโยบายของรัฐไว้ละเอียดเกินไปอาจจมีผลต่อการทำงานของพรรคการเมือง ในแง่ของการกำหนดแนวนโยบายต่างๆที่จะเข้ามาบริหารประเทศ แต่เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว จุดเด่นมีมากกว่าจุดด้อย เพราะฉะนั้นพรรคจึงมีจุดยืนแนวคิดว่าสมควรที่จะรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้
อย่างไรก็ตามกระบวนการประชามติพรรคฯก็ถือว่าเป็นกระบวนการสำคัญที่จะทำให้ประชาชนสามารถใช้สิทธิในแนวทางประชาธิปไตย พรรคจึงขอเรียกร้องให้การจัดมติเป็นการจัดมติที่เปิดโอกาสให้กับทุกฝ่ายที่มีความคิดหลากหลายสามารถที่จะสื่อสารให้กับประชาชนได้ทราบถึงจุดเด่น จุดด้อย ข้อดี และข้อเสีย เพื่อที่จะตัดสินใจได้อย่างสมบูรณ์ที่สุด
ในส่วนของพรรคฯก็จะมีการรวบรวมประเด็นที่เห็นว่าเป็นจุดเด่น จุดด้อย เพื่อเผยแพร่ให้ประชาชนรับทราบ แต่จะเน้นเรื่องการมีให้ข้อมูลเป็นหลัก ซึ่งอาจจะเป็นเผยแพร่ผ่านกลไกที่พรรคมีอยู่ เช่น สาขาพรรค สมาชิกพรรค เป็นต้น
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 8 ก.ค. 2550--จบ--