ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.ร่วมกับ ปปง. ลงนามบันทึกความตกลงส่งเสริมความร่วมมือกำกับดูแลสถาบันการเงิน ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.และสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ได้ร่วมลงนามบันทึกความตกลงส่งเสริมความร่วมมือกำกับ
ดูแลสถาบันการเงินเพื่อป้องกันการฟอกเงินและต่อต้านการสนับสนุนการเงินแก่การก่อการร้าย ซึ่งความร่วมมือนี้จะทำให้การประสานงานของ
ธปท. และ ปปง. มีความชัดเจนและโปร่งใสเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนข้อมูลในการดำเนินคดีและการพัฒนาบุคลากรเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล
(กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้, ไทยรัฐ, เดลินิวส์, แนวหน้า, ข่าวสด)
2. ธปท.เผยถึงสาเหตุที่ ธปท.ต้องออกพันธบัตรจำนวนมาก ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงกรณีที่ ธปท.
ต้องออกพันธบัตร ธปท.จำนวนมากเพื่อใช้ในการดูดซับสภาพคล่องในระบบการเงินที่มีจำนวนมาก ซึ่งหากไม่ออกพันธบัตรเพื่อดูดสภาพคล่องออก
จะทำให้เกิดเป็นแรงกดดันด้านเงินเฟ้อได้ โดยจำนวนของพันธบัตรที่ออกไปก็เป็นจำนวนที่ได้ขออนุมัติวงเงินมาจาก ก.คลังแล้ว ซึ่งวงเงินที่ขอไว้
มีจำนวนประมาณ 1.4 ล้านล้านบาท โดยขณะนี้ก็ได้ออกพันธบัตรไปบางส่วน และยังมีวงเงินเหลืออยู่ อย่างไรก็ตาม ในร่าง พ.ร.บ. ธปท.
ฉบับใหม่ได้มีการแก้ไขโดยอนุญาตให้ ธปท.สามารถรับฝากเงินจาก ธพ. โดยจ่ายดอกเบี้ยได้ ซึ่งหากร่างกฎหมายดังกล่าวมีผลบังคับใช้ ธปท.
ก็จะไม่ต้องออกพันธบัตรเพื่อดูดซับสภาพคล่องมากเช่นปัจจุบัน ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการออกพันธบัตรหรือรับฝากเงินจาก ธพ. ธปท.ก็จะต้องมีต้นทุน
ดอกเบี้ยจ่ายให้กับสถาบันการเงินทั้งสิ้น (กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, โพสต์ทูเดย์, มติชน, สยามรัฐ, แนวหน้า, ข่าวสด)
3. ครม.อนุมัติต่ออายุมาตรการให้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีกับ บจ. ผู้ช่วยโฆษก สำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุม ครม.
มีมติเห็นชอบตามข้อเสนอของ ก.คลังเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ จูงใจให้บริษัทนำหลักทรัพย์ที่ได้
ออกไปขายในตลาดหลักทรัพย์เพื่อกระตุ้นให้เกิดการลงทุนในตลาดทุน โดยจะลดอัตราภาษีเงินได้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นบริษัท
จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยตลาดหลักทรัพย์ ระหว่างวันที่ 1 ม.ค.-31 ธ.ค.50 จากอัตราร้อยละ 30 ของกำไรสุทธิ เป็นอัตราร้อยละ
25 ของกำไรสุทธิ กรณีจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และอัตราร้อยละ 20 ของกำไรสุทธิ กรณีบริษัทจดทะเบียนกับบริษัทหลักทรัพย์ MAI
เป็นระยะเวลาไม่เกิน 3 รอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกัน (กรุงเทพธุรกิจ, โลกวันนี้, ไทยรัฐ, บ้านเมือง, มติชน)
4. ครม.อนุมัติแผนก่อหนี้ผูกพันสำหรับรายจ่ายประจำปี งปม.50 จำนวน 1.18 หมื่นล้านบาท โฆษประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
เปิดเผยว่า ที่ประชุม ครม.มีมติอนุมัติแผนก่อหนี้ผูกพันข้ามปี งปม.สำหรับรายการรายจ่ายประจำปี งปม.50 โดยอนุมัติให้ส่วนราชการก่อหนี้ผูกพัน
รายการใหม่ที่มีวงเงินไม่เกิน 1 พันล้านบาทจำนวน 816 รายการ โดยให้ใช้เงินจาก งปม.ปี 50 จำนวน 1.18 หมื่นล้านบาท สำหรับรายการ
การกู้ยืมเงินที่มีเกิน 1 พันล้านบาทให้ส่วนราชการเสนอ ครม.พิจารณาเป็นกรณีไป นอกจากนี้ ยังอนุมัติให้ส่วนราชการที่ไม่อาจดำเนินการตามมติ
ครม.เมื่อวันที่ 18 ส.ค.41 สามารถก่อหนี้ผูกพันได้ (โพสต์ทูเดย์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คาดว่าอัตราเงินเฟ้อของสรอ. ในเดือน ม.ค. 50 จะเพิ่มขึ้นเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือน ธ.ค. 49รายงานจากนิวยอร์ก เมื่อวันที่
20 ก.พ. 50 ผลการสำรวจนักเศรษฐศาสตร์โดยรอยเตอร์คาดว่า อัตราเงินเฟ้อ (CPI) ของ สรอ. ในเดือน ม.ค. จะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ
0.1 จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ในเดือน ธ.ค. เนื่องจากราคาน้ำมันลดลง ขณะที่เมื่อเทียบต่อปีอัตราเงินเฟ้อในเดือน ม.ค. คาดว่าจะเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 2.0 หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 ในเดือนธ.ค. ส่วน core CPI ที่ไม่นับรวมราคาอาหารและพลังงานในเดือน ม.ค.คาดว่าจะเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 0.2 หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ในเดือน ธ.ค. ขณะที่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน ในเดือน ม.ค. อยู่ที่
ระดับร้อยละ 2.6 ไม่เปลี่ยนแปลง(รอยเตอร์)
2. คาดว่าจีดีพีของจีนปีนี้จะขยายตัวร้อยละ 9 รายงานจากกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน เมื่อวันที่ 20 ก.พ.50 สำนักข่าว Xinhua
ของจีน เปิดเผยคำให้สัมภาษณ์ของ Liu Shijin รองผู้อำนวยการ ศูนย์วิจัยพัฒนาของรัฐสภา คาดการณ์ว่า อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของ
จีนในปีนี้จะชะลอตัวลงอยู่ที่ประมาณร้อยละ 9 และคาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวต่อเนื่องประมาณร้อยละ 7 — 8 ต่อปีในช่วง 10 ปีข้างหน้า ด้วย
แรงขับเคลื่อนจากภาคอสังหาริมทรัพย์และยานยนต์ ส่วนในปี 49 ที่ผ่านมาจากตัวเลขประมาณการของทางการคาดว่าเศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ
10.7 ทั้งนี้ อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ค่อนข้างสูงของจีนปกติจะมีวงจรสิ้นสุดทุกรอบ 5 ปี นอกจากนี้ Liu ยังเตือนให้ระวังเกี่ยวกับสภาพคล่อง
ที่มากเกินไป ตลอดจนความเป็นไปได้ที่กำลังเกิดภาวะฟองสบู่ในตลาดหลักทรัพย์และภาคอสังหาริมทรัพย์ ในขณะที่หลายฝ่ายกล่าวว่าอัตราการ
เติบโตทางเศรษฐกิจของจีนได้ถูกกำหนดให้ชะลอตัว และรัฐบาลควรจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อควบคุมปริมาณเงินหมุนเวียนและสภาพคล่องใน
ระบบที่มากเกินไป ด้านศูนย์ข้อมูลของรัฐคาดว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนเทียบต่อปีในปีนี้อาจจะลดลงเหลือร้อยละ 10.2 ในช่วง
ไตรมาสแรก และร้อยละ 10 ในไตรมาส 2 ซึ่งมีแนวโน้มลดลงหลังจากที่ขยายตัวร้อยละ 10.4 ในไตรมาสสุดท้ายของปี 49 (รอยเตอร์)
3. ธ.กลางญี่ปุ่นเพิ่มเงินสดเข้าในระบบธพ.เป็นจำนวนมากเพื่อชะลอการสูงขึ้นของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระหว่างธพ. รายงานจาก
โตเกียว เมื่อวันที่ 20 ก.พ. 50 นักค้าเงิน กล่าวว่าธ.กลางญี่ปุ่นใส่เงินเข้าในระบบธพ.เป็นจำนวนมากเพื่อชะลอการเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ย
เงินกู้ระหว่างธพ. ที่ยังคงสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เนื่องจากความวิตกว่าธ.กลางจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุม
นโยบายการเงินสัปดาห์นี้ ทั้งนี้ธ.กลางญี่ปุ่นได้นำเงินเข้าระบบสูงถึง 2.3 ล้าน ล้าน เยน (19.23 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ.) เพื่อต่อต้านการ
กู้ยืมที่มีจำนวนมหาศาลจนทำให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ข้ามคืนของธพ. สูงเกินกว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธ.กลางญี่ปุ่นที่อยู่ที่ระดับร้อยละ
0.25 ต่อเนื่องเป็นเวลา 2 วันแล้ว อย่างไรก็ตามแม้ว่า ธ.กลางญี่ปุ่นจะเพิ่มเงินเป็นจำนวนมากเข้าสู่ระบบการเงินติดต่อกันเป็นวันที่ 3 แล้วก็ตาม
อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ข้ามคืนระหว่างธพ. ถัวเฉลี่ยเมื่อวันจันทร์ก็ยังเพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 0.358 แต่ก็ยังลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับวันศุกร์ที่อยู่ที่ระดับ
ร้อยละ 0.362 ซึ่งเป็นระดับสูงที่สุดนับตั้งแต่เดือน ก.ย. 41 ทั้งนี้นักค้าเงินกล่าวว่าที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากความวิตกว่าธ.กลางจะปรับเพิ่มอัตรา
ดอกเบี้ยนโยบายจากที่ปรับเพิ่มขึ้นเมื่อเดือนก.ค. 49 อยู่ที่ระดับร้อยละ 0.25 นับเป็นครั้งแรกในรอบ 6 ปี อย่างไรก็ตามตลาดยังคงคาดการณ์
เป็น 2 ฝ่ายว่า ธ.กลางญี่ปุ่นจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายหรือคงเดิมไม่เปลี่ยนแปลงที่ร้อยละ 0.25 หลังจากที่เมื่อเดือนที่แล้ว
คณะกรรมาธิการนโยบายการเงินธ.กลางญี่ปุ่นลงมติอย่างไม่เป็นเอกฉันท์ 6-3 ที่จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับเดิมต่อไป (รอยเตอร์)
4. รอยเตอร์คาดว่าความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจในเยอรมนีอาจลดลงเล็กน้อยในเดือน ก.พ.50 เมื่อเทียบกับเดือน ม.ค.50
รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ 20 ก.พ.50 ผลสำรวจความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์โดยรอยเตอร์คาดว่าดัชนีชี้วัดบรรยากาศทางธุรกิจซึ่งสำรวจโดย
Ifo และมีกำหนดจะเผยแพร่อย่างเป็นทางการในวันที่ 23 ก.พ.50 นี้อาจลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ระดับ 107.5 ในเดือน ก.พ.50 จากระดับ
107.9 ในเดือน ม.ค.50 ซึ่งนับเป็นการลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน แต่อย่างไรก็ดี ความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจยังนับว่าอยู่ในเกณฑ์ดี
สอดคล้องกับผลสำรวจความเห็นของธุรกิจประมาณ 25,000 แห่งโดยหอการค้าและอุตสาหกรรมของเยอรมนีเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาที่ชี้ว่าความเชื่อมั่น
ของภาคธุรกิจอยู่ในเกณฑ์ดีโดยมีการวางแผนที่จะลงทุนและจ้างงานเพิ่มอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 16 ปี ทั้งนี้อัตราว่างงานที่ลดลงและตำแหน่งงานที่
เพิ่มขึ้นหลายพันตำแหน่งในรอบปีที่ผ่านมามีส่วนช่วยลดผลกระทบจากการขึ้นอัตราภาษีที่เรียกเก็บจากผู้บริโภคหรือ VAT อีกร้อยละ 3.0 เป็นร้อยละ
19.0 นับตั้งแต่ต้นปี 50 ที่ผ่านมา แต่อย่างไรก็ตามในขณะที่คาดว่าผลสำรวจความเชื่อมั่นของธุรกิจจะอยู่ในเกณฑ์ดี แต่ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นจากการ
สำรวจครั้งก่อนและค่าเงินยูโรที่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ.อาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกของเยอรมนีไปยังตลาดหลักอย่าง สรอ.ได้
(รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 21 ก.พ. 50 20 ก.พ. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 35.66 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 35.4575/35.7819 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.86375 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 690.67/6.59 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 11,050/11,150 n.a. 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 54.51 55.64 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 25.59*/22.94** 25.59*/23.34 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 3 ก.พ. 50
** ปรับลดลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 21 ก.พ. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.ร่วมกับ ปปง. ลงนามบันทึกความตกลงส่งเสริมความร่วมมือกำกับดูแลสถาบันการเงิน ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.และสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ได้ร่วมลงนามบันทึกความตกลงส่งเสริมความร่วมมือกำกับ
ดูแลสถาบันการเงินเพื่อป้องกันการฟอกเงินและต่อต้านการสนับสนุนการเงินแก่การก่อการร้าย ซึ่งความร่วมมือนี้จะทำให้การประสานงานของ
ธปท. และ ปปง. มีความชัดเจนและโปร่งใสเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนข้อมูลในการดำเนินคดีและการพัฒนาบุคลากรเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล
(กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้, ไทยรัฐ, เดลินิวส์, แนวหน้า, ข่าวสด)
2. ธปท.เผยถึงสาเหตุที่ ธปท.ต้องออกพันธบัตรจำนวนมาก ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงกรณีที่ ธปท.
ต้องออกพันธบัตร ธปท.จำนวนมากเพื่อใช้ในการดูดซับสภาพคล่องในระบบการเงินที่มีจำนวนมาก ซึ่งหากไม่ออกพันธบัตรเพื่อดูดสภาพคล่องออก
จะทำให้เกิดเป็นแรงกดดันด้านเงินเฟ้อได้ โดยจำนวนของพันธบัตรที่ออกไปก็เป็นจำนวนที่ได้ขออนุมัติวงเงินมาจาก ก.คลังแล้ว ซึ่งวงเงินที่ขอไว้
มีจำนวนประมาณ 1.4 ล้านล้านบาท โดยขณะนี้ก็ได้ออกพันธบัตรไปบางส่วน และยังมีวงเงินเหลืออยู่ อย่างไรก็ตาม ในร่าง พ.ร.บ. ธปท.
ฉบับใหม่ได้มีการแก้ไขโดยอนุญาตให้ ธปท.สามารถรับฝากเงินจาก ธพ. โดยจ่ายดอกเบี้ยได้ ซึ่งหากร่างกฎหมายดังกล่าวมีผลบังคับใช้ ธปท.
ก็จะไม่ต้องออกพันธบัตรเพื่อดูดซับสภาพคล่องมากเช่นปัจจุบัน ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการออกพันธบัตรหรือรับฝากเงินจาก ธพ. ธปท.ก็จะต้องมีต้นทุน
ดอกเบี้ยจ่ายให้กับสถาบันการเงินทั้งสิ้น (กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, โพสต์ทูเดย์, มติชน, สยามรัฐ, แนวหน้า, ข่าวสด)
3. ครม.อนุมัติต่ออายุมาตรการให้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีกับ บจ. ผู้ช่วยโฆษก สำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุม ครม.
มีมติเห็นชอบตามข้อเสนอของ ก.คลังเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ จูงใจให้บริษัทนำหลักทรัพย์ที่ได้
ออกไปขายในตลาดหลักทรัพย์เพื่อกระตุ้นให้เกิดการลงทุนในตลาดทุน โดยจะลดอัตราภาษีเงินได้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นบริษัท
จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยตลาดหลักทรัพย์ ระหว่างวันที่ 1 ม.ค.-31 ธ.ค.50 จากอัตราร้อยละ 30 ของกำไรสุทธิ เป็นอัตราร้อยละ
25 ของกำไรสุทธิ กรณีจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และอัตราร้อยละ 20 ของกำไรสุทธิ กรณีบริษัทจดทะเบียนกับบริษัทหลักทรัพย์ MAI
เป็นระยะเวลาไม่เกิน 3 รอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกัน (กรุงเทพธุรกิจ, โลกวันนี้, ไทยรัฐ, บ้านเมือง, มติชน)
4. ครม.อนุมัติแผนก่อหนี้ผูกพันสำหรับรายจ่ายประจำปี งปม.50 จำนวน 1.18 หมื่นล้านบาท โฆษประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
เปิดเผยว่า ที่ประชุม ครม.มีมติอนุมัติแผนก่อหนี้ผูกพันข้ามปี งปม.สำหรับรายการรายจ่ายประจำปี งปม.50 โดยอนุมัติให้ส่วนราชการก่อหนี้ผูกพัน
รายการใหม่ที่มีวงเงินไม่เกิน 1 พันล้านบาทจำนวน 816 รายการ โดยให้ใช้เงินจาก งปม.ปี 50 จำนวน 1.18 หมื่นล้านบาท สำหรับรายการ
การกู้ยืมเงินที่มีเกิน 1 พันล้านบาทให้ส่วนราชการเสนอ ครม.พิจารณาเป็นกรณีไป นอกจากนี้ ยังอนุมัติให้ส่วนราชการที่ไม่อาจดำเนินการตามมติ
ครม.เมื่อวันที่ 18 ส.ค.41 สามารถก่อหนี้ผูกพันได้ (โพสต์ทูเดย์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คาดว่าอัตราเงินเฟ้อของสรอ. ในเดือน ม.ค. 50 จะเพิ่มขึ้นเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือน ธ.ค. 49รายงานจากนิวยอร์ก เมื่อวันที่
20 ก.พ. 50 ผลการสำรวจนักเศรษฐศาสตร์โดยรอยเตอร์คาดว่า อัตราเงินเฟ้อ (CPI) ของ สรอ. ในเดือน ม.ค. จะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ
0.1 จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ในเดือน ธ.ค. เนื่องจากราคาน้ำมันลดลง ขณะที่เมื่อเทียบต่อปีอัตราเงินเฟ้อในเดือน ม.ค. คาดว่าจะเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 2.0 หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 ในเดือนธ.ค. ส่วน core CPI ที่ไม่นับรวมราคาอาหารและพลังงานในเดือน ม.ค.คาดว่าจะเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 0.2 หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ในเดือน ธ.ค. ขณะที่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน ในเดือน ม.ค. อยู่ที่
ระดับร้อยละ 2.6 ไม่เปลี่ยนแปลง(รอยเตอร์)
2. คาดว่าจีดีพีของจีนปีนี้จะขยายตัวร้อยละ 9 รายงานจากกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน เมื่อวันที่ 20 ก.พ.50 สำนักข่าว Xinhua
ของจีน เปิดเผยคำให้สัมภาษณ์ของ Liu Shijin รองผู้อำนวยการ ศูนย์วิจัยพัฒนาของรัฐสภา คาดการณ์ว่า อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของ
จีนในปีนี้จะชะลอตัวลงอยู่ที่ประมาณร้อยละ 9 และคาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวต่อเนื่องประมาณร้อยละ 7 — 8 ต่อปีในช่วง 10 ปีข้างหน้า ด้วย
แรงขับเคลื่อนจากภาคอสังหาริมทรัพย์และยานยนต์ ส่วนในปี 49 ที่ผ่านมาจากตัวเลขประมาณการของทางการคาดว่าเศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ
10.7 ทั้งนี้ อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ค่อนข้างสูงของจีนปกติจะมีวงจรสิ้นสุดทุกรอบ 5 ปี นอกจากนี้ Liu ยังเตือนให้ระวังเกี่ยวกับสภาพคล่อง
ที่มากเกินไป ตลอดจนความเป็นไปได้ที่กำลังเกิดภาวะฟองสบู่ในตลาดหลักทรัพย์และภาคอสังหาริมทรัพย์ ในขณะที่หลายฝ่ายกล่าวว่าอัตราการ
เติบโตทางเศรษฐกิจของจีนได้ถูกกำหนดให้ชะลอตัว และรัฐบาลควรจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อควบคุมปริมาณเงินหมุนเวียนและสภาพคล่องใน
ระบบที่มากเกินไป ด้านศูนย์ข้อมูลของรัฐคาดว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนเทียบต่อปีในปีนี้อาจจะลดลงเหลือร้อยละ 10.2 ในช่วง
ไตรมาสแรก และร้อยละ 10 ในไตรมาส 2 ซึ่งมีแนวโน้มลดลงหลังจากที่ขยายตัวร้อยละ 10.4 ในไตรมาสสุดท้ายของปี 49 (รอยเตอร์)
3. ธ.กลางญี่ปุ่นเพิ่มเงินสดเข้าในระบบธพ.เป็นจำนวนมากเพื่อชะลอการสูงขึ้นของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระหว่างธพ. รายงานจาก
โตเกียว เมื่อวันที่ 20 ก.พ. 50 นักค้าเงิน กล่าวว่าธ.กลางญี่ปุ่นใส่เงินเข้าในระบบธพ.เป็นจำนวนมากเพื่อชะลอการเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ย
เงินกู้ระหว่างธพ. ที่ยังคงสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เนื่องจากความวิตกว่าธ.กลางจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุม
นโยบายการเงินสัปดาห์นี้ ทั้งนี้ธ.กลางญี่ปุ่นได้นำเงินเข้าระบบสูงถึง 2.3 ล้าน ล้าน เยน (19.23 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ.) เพื่อต่อต้านการ
กู้ยืมที่มีจำนวนมหาศาลจนทำให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ข้ามคืนของธพ. สูงเกินกว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธ.กลางญี่ปุ่นที่อยู่ที่ระดับร้อยละ
0.25 ต่อเนื่องเป็นเวลา 2 วันแล้ว อย่างไรก็ตามแม้ว่า ธ.กลางญี่ปุ่นจะเพิ่มเงินเป็นจำนวนมากเข้าสู่ระบบการเงินติดต่อกันเป็นวันที่ 3 แล้วก็ตาม
อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ข้ามคืนระหว่างธพ. ถัวเฉลี่ยเมื่อวันจันทร์ก็ยังเพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 0.358 แต่ก็ยังลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับวันศุกร์ที่อยู่ที่ระดับ
ร้อยละ 0.362 ซึ่งเป็นระดับสูงที่สุดนับตั้งแต่เดือน ก.ย. 41 ทั้งนี้นักค้าเงินกล่าวว่าที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากความวิตกว่าธ.กลางจะปรับเพิ่มอัตรา
ดอกเบี้ยนโยบายจากที่ปรับเพิ่มขึ้นเมื่อเดือนก.ค. 49 อยู่ที่ระดับร้อยละ 0.25 นับเป็นครั้งแรกในรอบ 6 ปี อย่างไรก็ตามตลาดยังคงคาดการณ์
เป็น 2 ฝ่ายว่า ธ.กลางญี่ปุ่นจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายหรือคงเดิมไม่เปลี่ยนแปลงที่ร้อยละ 0.25 หลังจากที่เมื่อเดือนที่แล้ว
คณะกรรมาธิการนโยบายการเงินธ.กลางญี่ปุ่นลงมติอย่างไม่เป็นเอกฉันท์ 6-3 ที่จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับเดิมต่อไป (รอยเตอร์)
4. รอยเตอร์คาดว่าความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจในเยอรมนีอาจลดลงเล็กน้อยในเดือน ก.พ.50 เมื่อเทียบกับเดือน ม.ค.50
รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ 20 ก.พ.50 ผลสำรวจความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์โดยรอยเตอร์คาดว่าดัชนีชี้วัดบรรยากาศทางธุรกิจซึ่งสำรวจโดย
Ifo และมีกำหนดจะเผยแพร่อย่างเป็นทางการในวันที่ 23 ก.พ.50 นี้อาจลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ระดับ 107.5 ในเดือน ก.พ.50 จากระดับ
107.9 ในเดือน ม.ค.50 ซึ่งนับเป็นการลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน แต่อย่างไรก็ดี ความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจยังนับว่าอยู่ในเกณฑ์ดี
สอดคล้องกับผลสำรวจความเห็นของธุรกิจประมาณ 25,000 แห่งโดยหอการค้าและอุตสาหกรรมของเยอรมนีเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาที่ชี้ว่าความเชื่อมั่น
ของภาคธุรกิจอยู่ในเกณฑ์ดีโดยมีการวางแผนที่จะลงทุนและจ้างงานเพิ่มอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 16 ปี ทั้งนี้อัตราว่างงานที่ลดลงและตำแหน่งงานที่
เพิ่มขึ้นหลายพันตำแหน่งในรอบปีที่ผ่านมามีส่วนช่วยลดผลกระทบจากการขึ้นอัตราภาษีที่เรียกเก็บจากผู้บริโภคหรือ VAT อีกร้อยละ 3.0 เป็นร้อยละ
19.0 นับตั้งแต่ต้นปี 50 ที่ผ่านมา แต่อย่างไรก็ตามในขณะที่คาดว่าผลสำรวจความเชื่อมั่นของธุรกิจจะอยู่ในเกณฑ์ดี แต่ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นจากการ
สำรวจครั้งก่อนและค่าเงินยูโรที่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ.อาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกของเยอรมนีไปยังตลาดหลักอย่าง สรอ.ได้
(รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 21 ก.พ. 50 20 ก.พ. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 35.66 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 35.4575/35.7819 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.86375 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 690.67/6.59 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 11,050/11,150 n.a. 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 54.51 55.64 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 25.59*/22.94** 25.59*/23.34 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 3 ก.พ. 50
** ปรับลดลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 21 ก.พ. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--