นายอภิชาต ศักดิเศรษฐ์ รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ อดีตส.ส.นครศรีธรรมราช กล่าวเมื่อวันที่ 16 มีนาคมนี้ว่า การที่รัฐบาลจะให้กรมประชาสัมพันธ์ใช้รูปแบบการบริหารที่แยกอิสระมาในรูปหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ หรือเอสดียู กับสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี เป็นทางออกที่เหมาะสม และน่าจะสอดคล้องกับทิศทางที่จะให้สถานีโทรทัศน์แห่งนี้เป็นสถานีโทรทัศน์เพื่อประโยชน์สาธารณะในอนาคต แต่วันนี้ยังไม่มั่นใจว่ารัฐบาลจะให้ทีไอทีวีเป็นทีวีเพื่อประโยชน์สาธารณะจริงๆหรือไม่ เพราะยังไม่เคยประกาศและที่ผ่านมาเห็นแต่แก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปวันๆเพื่อให้สถานีออกอากาศต่อเนื่องตามรูปแบบและเนื้อหาเดิมๆเท่านั้น
นายอภิชาต กล่าวว่า สิ่งที่อยากให้สังคมถกเถียงกันต่อจากนี้ก็คือ ทำอย่างไรที่จะผลักดันให้ทีไอทีวีเป็นทีวีสาธารณะ ซึ่งคงไม่ใช่เรื่องที่จะเกิดขึ้นแบบฉับพลันทันที แต่ต้องมีระยะผ่านที่แน่นอน ภายใต้นโยบายของรัฐที่แน่วแน่มั่นคงด้วย ดังนั้นภาคประชาชนในฐานะผู้บริโภคจะต้องแสดงบทบาทเรียกร้องอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
นายอภิชาตกล่าวว่า โดยหลักการแล้วทีวีสาธารณะต้องมีความหลากหลายในมิติต่างๆ เช่น รูปแบบการนำเสนอ ที่มีทั้งรายการ ข่าว สารคดี เพลง เกมโชว์ สนทนา ละคร ภายใต้สัดส่วนที่เหมาะสม สนองตอบความหลากหลายของกลุ่มเป้าหมาย เช่น ความแตกต่างด้านศาสนา วัฒนธรรม เชื้อชาติ เพศ ความรู้ อุดมการณ์ทางการเมือง รายได้ สภาพพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ ฯลฯ มีเนื้อหาที่มีคุณภาพ มีสาระส่งเสริมการพัฒนาประเทศในทุกด้าน และสื่อถึงคนทุกระดับ ต้องปรับเนื้อหาให้หลากหลาย สอดคล้องกับรสนิยมและความสนใจของคนทุกกลุ่ม นำเสนอรายการอย่างเป็นกลาง ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ต้องให้ความสำคัญกับกลุ่มคนที่ถูกละเลยจากสื่อเชิงพาณิชย์ทั่วไป เช่น เด็ก ผู้สูงอายุ ผู้มีรายได้ ผู้พิการ เป็นพิเศษ รวมทั้งต้องมีบทบาทในการสนับสนุนการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
“หลักการสำคัญสูงสุดของทีวีสาธารณะก็คือ ต้องปลอดจากการควบคุม เซ็นเซอร์ จากรัฐ พ้นจากอิทธิพลของนายทุนเจ้าของกิจการ หรือผู้ลงโฆษณา เพื่อให้คนทำงานมีเสรีภาพอย่างเต็มที่ บนพื้นฐานของการยึดมั่นในมาตรฐานทางวิชาชีพและความรับผิดชอบต่อสังคม ถ้าองค์ประกอบทั้งหลายที่กล่าวมาไม่เป็นจริง ทีวีเพื่อสาธารณะก็เกิดขึ้นไม่ได้ ” นายอภิชาต กล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 16 มี.ค. 2550--จบ--
นายอภิชาต กล่าวว่า สิ่งที่อยากให้สังคมถกเถียงกันต่อจากนี้ก็คือ ทำอย่างไรที่จะผลักดันให้ทีไอทีวีเป็นทีวีสาธารณะ ซึ่งคงไม่ใช่เรื่องที่จะเกิดขึ้นแบบฉับพลันทันที แต่ต้องมีระยะผ่านที่แน่นอน ภายใต้นโยบายของรัฐที่แน่วแน่มั่นคงด้วย ดังนั้นภาคประชาชนในฐานะผู้บริโภคจะต้องแสดงบทบาทเรียกร้องอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
นายอภิชาตกล่าวว่า โดยหลักการแล้วทีวีสาธารณะต้องมีความหลากหลายในมิติต่างๆ เช่น รูปแบบการนำเสนอ ที่มีทั้งรายการ ข่าว สารคดี เพลง เกมโชว์ สนทนา ละคร ภายใต้สัดส่วนที่เหมาะสม สนองตอบความหลากหลายของกลุ่มเป้าหมาย เช่น ความแตกต่างด้านศาสนา วัฒนธรรม เชื้อชาติ เพศ ความรู้ อุดมการณ์ทางการเมือง รายได้ สภาพพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ ฯลฯ มีเนื้อหาที่มีคุณภาพ มีสาระส่งเสริมการพัฒนาประเทศในทุกด้าน และสื่อถึงคนทุกระดับ ต้องปรับเนื้อหาให้หลากหลาย สอดคล้องกับรสนิยมและความสนใจของคนทุกกลุ่ม นำเสนอรายการอย่างเป็นกลาง ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ต้องให้ความสำคัญกับกลุ่มคนที่ถูกละเลยจากสื่อเชิงพาณิชย์ทั่วไป เช่น เด็ก ผู้สูงอายุ ผู้มีรายได้ ผู้พิการ เป็นพิเศษ รวมทั้งต้องมีบทบาทในการสนับสนุนการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
“หลักการสำคัญสูงสุดของทีวีสาธารณะก็คือ ต้องปลอดจากการควบคุม เซ็นเซอร์ จากรัฐ พ้นจากอิทธิพลของนายทุนเจ้าของกิจการ หรือผู้ลงโฆษณา เพื่อให้คนทำงานมีเสรีภาพอย่างเต็มที่ บนพื้นฐานของการยึดมั่นในมาตรฐานทางวิชาชีพและความรับผิดชอบต่อสังคม ถ้าองค์ประกอบทั้งหลายที่กล่าวมาไม่เป็นจริง ทีวีเพื่อสาธารณะก็เกิดขึ้นไม่ได้ ” นายอภิชาต กล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 16 มี.ค. 2550--จบ--