(สรุปผลการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสกระทรวงการคลังและธนาคารกลางอาเซียน+3
ASEAN+3 Finance and Central Bank Deputies’ Meeting: AFDM+3)
นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2550 ได้มีการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสกระทรวงการคลังและธนาคารกลางอาเซียน+3 ณ Kyoto International Conference Center เมืองเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น โดยปลัดกระทรวงการคลังของประเทศไทย และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังสาธารณรัฐประชาชนจีน ทำหน้าที่ประธานร่วมในการประชุม
เจ้าหน้าที่อาวุโสกระทรวงการคลังและธนาคารกลางของอาเซียน 10 ประเทศ และสาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี ได้ร่วมกันพิจารณามาตรการริเริ่มต่างๆ ภายใต้กรอบความร่วมมือทางการเงินระหว่างประเทศในภูมิภาคอาเซียน+3 โดยมีสาระสำคัญ สรุปได้ดังนี้
1. มาตรการริเริ่มพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย (Asian Bond Markets Initiative: ABMI) ที่ประชุมรับทราบความคืบหน้าในการพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชียทั้งในด้าน การเพิ่ม อุปทานด้วยการพัฒนาตราสารหนี้ประเภทใหม่ และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านต่างๆ อาทิ การพัฒนากลไกการค้ำประกันความน่าเชื่อถือและการลงทุน และการเชื่อมโยงการปฏิบัติของหน่วยงานจัดอันดับความน่าเชื่อถือตราสารหนี้ภายในภูมิภาคอาเซียน+3 เพื่อเอื้ออำนวยต่อ การพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย รวมทั้งการส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในตลาดพันธบัตรเอเชียมากขึ้น นอกจากนี้ ที่ประชุมได้ให้ความเห็นชอบแผนการดำเนินงานของคณะทำงานด้านต่างๆ ภายใต้มาตรการ ABMI พร้อมทั้งเสนอแนะให้คณะทำงานต่าง ๆ ประเมินผลการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งทบทวนเป้าหมาย แนวทางและขอบเขตการดำเนินงานของตน เพื่อให้การพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชียในระยะต่อไปมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
2. มาตรการริเริ่มเชียงใหม่ (Chiang Mai Initiative: CMI) ที่ประชุมได้เห็นชอบแนวทางการพัฒนามาตรการริเริ่มเชียงใหม่จากความตกลงว่าด้วยการแลกเปลี่ยนเงินตราแบบ ทวิภาคี (Bilateral Swap Agreement: BSA) ที่มีอยู่ในปัจจุบันไปสู่ความตกลงที่มีลักษณะพหุภาคี (CMI Multilateralisation) เพื่อเสริมสร้างกลไกการเสริมสภาพคล่องทางการเงินระยะสั้นระหว่างสมาชิกอาเซียน+3 ให้มีความเข้มแข็งมาก
ยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ที่ประชุมได้เห็นชอบรูปแบบและสถานะทางกฎหมายของการจัดทำ CMI Multilateralisation ที่เหมาะสม โดยในเบื้องต้น จะจัดทำในรูปแบบ Self-managed reserve pooling และมีสถานะทางกฎหมายในรูปแบบของความตกลง (Contractual agreement) ทั้งนี้ หากที่ประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน+3 เห็นชอบรูปแบบการจัดทำ CMI Multilateralisation ดังกล่าว คณะทำงานจะได้ดำเนินการศึกษาในรายละเอียดต่อไป
3. ASEAN+3 Research Group ที่ประชุมเห็นชอบหัวข้อการศึกษาสำหรับปี 2550-2551 ได้แก่ เรื่อง Development of Database on Corporate Credit Information และเรื่อง Development of Capital Market to Widen and Diversify SME Financing in the East Asian Region นอกจากนี้ ที่ประชุมเห็นควรให้มีการต่อยอดการศึกษาที่นำเสนอผลการศึกษาไปแล้ว ในเรื่อง Toward Greater Financial Stability in the Asian Region: Measures for Possible Use of RMU for Surveillance and Transaction
ทั้งนี้ จะมีการนำผลการประชุม AFDM+3 ครั้งนี้เสนอต่อที่ประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน+3 ซึ่งจะมีขึ้นในวันพรุ่งนี้ (5 พฤษภาคม 2550) เพื่อพิจารณาต่อไป
นอกจากนี้ ปลัดกระทรวงการคลังได้เปิดเผยว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของไทยมีกำหนดการประชุมหารือทวิภาคีกับรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสาธารณรัฐเกาหลี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประเทศญี่ปุ่นและสาธารณรัฐประชาชนจีน เกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจของภูมิภาค และความร่วมมือทางการเงินระหว่างไทยและประเทศ +3 ในช่วงบ่ายของวันนี้
กระทรวงการคลังและสถาบันการเงินเฉพาะกิจออกมาตรการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก
Source - Ministry of Finance (Th/Eng)
Thursday, May 03, 2007 08:25
12588 XTHAI XECON XGOV V%GOVL P%MOF
วันที่ 2 พฤษภาคม 2550 นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า รัฐบาลเห็นความสำคัญในการสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจระดับฐานราก โดยการเปิดโอกาสให้ประชาชนในระดับฐานรากสามารถเข้าถึงแหล่งทุนเพื่อประกอบอาชีพ เพิ่มรายได้ และยกระดับคุณภาพชีวิต เป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะสร้างความเข้มแข็งและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับประชาชนระดับฐานราก จึงได้หารือกับสถาบันการเงินเฉพาะกิจ 4 แห่ง ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.)และธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เพื่อร่วมกันจัดทำโครงการพิเศษเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจระดับฐานราก และผลการประชุมในวันนี้สรุปได้ว่า สถาบันการเงินเฉพาะกิจทั้ง 4 แห่ง มีโครงการเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจระดับฐานราก ดังนี้
1. ธนาคารออมสิน
โครงการสินเชื่อใหม่ 3 โครงการ เริ่มโครงการตั้งแต่พฤษภาคม ถึง ธันวาคม 2550 วงเงิน 5,000 ล้านบาท ประกอบด้วยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้ประจำตั้งแต่ 15,000 บาทขึ้นไป สินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคและบรรเทาความเดือดร้อนในการดำรงชีวิต และสินเชื่อเพื่อพัฒนาชนบทสำหรับวิสาหกิจชุมชน นอกจากนี้ ธนาคารออมสินได้ขยายเป้าหมายโครงการที่มีอยู่เดิม 2 โครงการ วงเงิน 10,700 ล้านบาท ได้แก่ สินเชื่อธนาคารประชาชน และโครงการสินเชื่อเพื่อพัฒนากลุ่มอาชีพ
อนึ่ง ธนาคารอยู่ระหว่างศึกษาการให้สินเชื่ออย่างสร้างสรรค์แก่คนพิการที่มีการรวมกลุ่มแลได้รับการพัฒนาจนสามารถประกอบอาชีพได้ โดยร่วมมือกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ คนพิการที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนดสามารถใช้สินเชื่อตามโครงการข้างต้นได้เช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป
2. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
สินเชื่อใหม่เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและการสร้างงานในชนบท 4 โครงการ วงเงิน 26,000 ล้านบาท ดำเนินการตั้งแต่ 1 เมษายน 2550 ถึง 31 มีนาคม 2551 (ปี 2550 จำนวน 18,844 ล้านบาท มกราคม ถึง มีนาคม 2551 จำนวน 7,156 ล้านบาท ) โดยเป็นสินเชื่อเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มด้านการเกษตร สนับสนุนผู้ประกอบการรายย่อยในชนบท สนับสนุนวิสาหกิจชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งเพื่อการ
พัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ ซึ่งคาดว่าเกษตรกรจำนวนไม่น้อยกว่า 550,000 ราย และองค์กรชุมชนไม่น้อยกว่า 14,000 แห่ง จะได้รับประโยชน์จากมาตรการนี้
3. ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.)
สินเชื่อใหม่ 2 โครงการ ดำเนินการระหว่างเดือนเมษายน ถึง เดือนธันวาคม 2550 วงเงิน 4,000 ล้านบาท เพื่อเป็นเงินทุนสำหรับ SMEs ในการฟื้นฟูธุรกิจ ขยายกิจการ และเสริมสภาพคล่อง พัฒนาเครื่องจักร กระบวนการผลิต และบริการ รวมทั้งสินเชื่อเพื่อสร้างความคล่องตัวในการรับจ้างทำงานให้แก่ภาครัฐบาล
4. ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.)
สินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยและผู้ด้อยโอกาสให้มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง ก่อให้เกิดการสร้างงาน และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ประกอบด้วยโครงการสินเชื่อใหม่ 2 โครงการ ได้แก่โครงการ สินเชื่อที่อยู่อาศัย ธอส.-อปท. (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) วงเงิน 1,000 ล้านบาท สำหรับปี 2550 และโครงการเร่งรัดสินเชื่อรายย่อยไม่เกินรายละ 300,000 บาท จำนวน 4,500 ล้านบาท รวมวงเงินสินเชื่อโครงการใหม่ทั้งสิ้น 5,500 ล้านบาท
รวมเป้าหมายสินเชื่อภายใต้มาตรการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากครั้งนี้ สำหรับปี 2550 เป็นเงินจำนวน 44,044 ล้านบาท (หากรวมโครงการของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรที่จะดำเนินการในช่วง มกราคม-มีนาคม 2551 อีก 7,156 ล้านบาท จะเป็นจำนวนเงินรวม 51,200 ล้านบาท) และเมื่อรวมกับสินเชื่อตามเป้าหมายเดิมอีก 422,000 ล้านบาท จะเป็นสินเชื่อสำหรับปี 2550 ทั้งสิ้น 466,044 ล้านบาท
อนึ่ง กระทรวงการคลังและสถาบันการเงินเฉพาะกิจทั้ง 4 แห่ง จะกำกับดูแลให้การปล่อยสินเชื่อใหม่ข้างต้นและการขยายสินเชื่อเดิม เป็นไปอย่างมีคุณภาพ มีความโปร่งใส เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่มี ความต้องการอย่างแท้จริง ในขณะเดียวกันยังคงไว้ซึ่งความมั่นคงทางการเงินของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 35/2550 4 พฤษภาคม 50--
ASEAN+3 Finance and Central Bank Deputies’ Meeting: AFDM+3)
นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2550 ได้มีการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสกระทรวงการคลังและธนาคารกลางอาเซียน+3 ณ Kyoto International Conference Center เมืองเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น โดยปลัดกระทรวงการคลังของประเทศไทย และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังสาธารณรัฐประชาชนจีน ทำหน้าที่ประธานร่วมในการประชุม
เจ้าหน้าที่อาวุโสกระทรวงการคลังและธนาคารกลางของอาเซียน 10 ประเทศ และสาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี ได้ร่วมกันพิจารณามาตรการริเริ่มต่างๆ ภายใต้กรอบความร่วมมือทางการเงินระหว่างประเทศในภูมิภาคอาเซียน+3 โดยมีสาระสำคัญ สรุปได้ดังนี้
1. มาตรการริเริ่มพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย (Asian Bond Markets Initiative: ABMI) ที่ประชุมรับทราบความคืบหน้าในการพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชียทั้งในด้าน การเพิ่ม อุปทานด้วยการพัฒนาตราสารหนี้ประเภทใหม่ และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านต่างๆ อาทิ การพัฒนากลไกการค้ำประกันความน่าเชื่อถือและการลงทุน และการเชื่อมโยงการปฏิบัติของหน่วยงานจัดอันดับความน่าเชื่อถือตราสารหนี้ภายในภูมิภาคอาเซียน+3 เพื่อเอื้ออำนวยต่อ การพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย รวมทั้งการส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในตลาดพันธบัตรเอเชียมากขึ้น นอกจากนี้ ที่ประชุมได้ให้ความเห็นชอบแผนการดำเนินงานของคณะทำงานด้านต่างๆ ภายใต้มาตรการ ABMI พร้อมทั้งเสนอแนะให้คณะทำงานต่าง ๆ ประเมินผลการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งทบทวนเป้าหมาย แนวทางและขอบเขตการดำเนินงานของตน เพื่อให้การพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชียในระยะต่อไปมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
2. มาตรการริเริ่มเชียงใหม่ (Chiang Mai Initiative: CMI) ที่ประชุมได้เห็นชอบแนวทางการพัฒนามาตรการริเริ่มเชียงใหม่จากความตกลงว่าด้วยการแลกเปลี่ยนเงินตราแบบ ทวิภาคี (Bilateral Swap Agreement: BSA) ที่มีอยู่ในปัจจุบันไปสู่ความตกลงที่มีลักษณะพหุภาคี (CMI Multilateralisation) เพื่อเสริมสร้างกลไกการเสริมสภาพคล่องทางการเงินระยะสั้นระหว่างสมาชิกอาเซียน+3 ให้มีความเข้มแข็งมาก
ยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ที่ประชุมได้เห็นชอบรูปแบบและสถานะทางกฎหมายของการจัดทำ CMI Multilateralisation ที่เหมาะสม โดยในเบื้องต้น จะจัดทำในรูปแบบ Self-managed reserve pooling และมีสถานะทางกฎหมายในรูปแบบของความตกลง (Contractual agreement) ทั้งนี้ หากที่ประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน+3 เห็นชอบรูปแบบการจัดทำ CMI Multilateralisation ดังกล่าว คณะทำงานจะได้ดำเนินการศึกษาในรายละเอียดต่อไป
3. ASEAN+3 Research Group ที่ประชุมเห็นชอบหัวข้อการศึกษาสำหรับปี 2550-2551 ได้แก่ เรื่อง Development of Database on Corporate Credit Information และเรื่อง Development of Capital Market to Widen and Diversify SME Financing in the East Asian Region นอกจากนี้ ที่ประชุมเห็นควรให้มีการต่อยอดการศึกษาที่นำเสนอผลการศึกษาไปแล้ว ในเรื่อง Toward Greater Financial Stability in the Asian Region: Measures for Possible Use of RMU for Surveillance and Transaction
ทั้งนี้ จะมีการนำผลการประชุม AFDM+3 ครั้งนี้เสนอต่อที่ประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน+3 ซึ่งจะมีขึ้นในวันพรุ่งนี้ (5 พฤษภาคม 2550) เพื่อพิจารณาต่อไป
นอกจากนี้ ปลัดกระทรวงการคลังได้เปิดเผยว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของไทยมีกำหนดการประชุมหารือทวิภาคีกับรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสาธารณรัฐเกาหลี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประเทศญี่ปุ่นและสาธารณรัฐประชาชนจีน เกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจของภูมิภาค และความร่วมมือทางการเงินระหว่างไทยและประเทศ +3 ในช่วงบ่ายของวันนี้
กระทรวงการคลังและสถาบันการเงินเฉพาะกิจออกมาตรการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก
Source - Ministry of Finance (Th/Eng)
Thursday, May 03, 2007 08:25
12588 XTHAI XECON XGOV V%GOVL P%MOF
วันที่ 2 พฤษภาคม 2550 นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า รัฐบาลเห็นความสำคัญในการสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจระดับฐานราก โดยการเปิดโอกาสให้ประชาชนในระดับฐานรากสามารถเข้าถึงแหล่งทุนเพื่อประกอบอาชีพ เพิ่มรายได้ และยกระดับคุณภาพชีวิต เป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะสร้างความเข้มแข็งและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับประชาชนระดับฐานราก จึงได้หารือกับสถาบันการเงินเฉพาะกิจ 4 แห่ง ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.)และธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เพื่อร่วมกันจัดทำโครงการพิเศษเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจระดับฐานราก และผลการประชุมในวันนี้สรุปได้ว่า สถาบันการเงินเฉพาะกิจทั้ง 4 แห่ง มีโครงการเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจระดับฐานราก ดังนี้
1. ธนาคารออมสิน
โครงการสินเชื่อใหม่ 3 โครงการ เริ่มโครงการตั้งแต่พฤษภาคม ถึง ธันวาคม 2550 วงเงิน 5,000 ล้านบาท ประกอบด้วยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้ประจำตั้งแต่ 15,000 บาทขึ้นไป สินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคและบรรเทาความเดือดร้อนในการดำรงชีวิต และสินเชื่อเพื่อพัฒนาชนบทสำหรับวิสาหกิจชุมชน นอกจากนี้ ธนาคารออมสินได้ขยายเป้าหมายโครงการที่มีอยู่เดิม 2 โครงการ วงเงิน 10,700 ล้านบาท ได้แก่ สินเชื่อธนาคารประชาชน และโครงการสินเชื่อเพื่อพัฒนากลุ่มอาชีพ
อนึ่ง ธนาคารอยู่ระหว่างศึกษาการให้สินเชื่ออย่างสร้างสรรค์แก่คนพิการที่มีการรวมกลุ่มแลได้รับการพัฒนาจนสามารถประกอบอาชีพได้ โดยร่วมมือกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ คนพิการที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนดสามารถใช้สินเชื่อตามโครงการข้างต้นได้เช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป
2. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
สินเชื่อใหม่เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและการสร้างงานในชนบท 4 โครงการ วงเงิน 26,000 ล้านบาท ดำเนินการตั้งแต่ 1 เมษายน 2550 ถึง 31 มีนาคม 2551 (ปี 2550 จำนวน 18,844 ล้านบาท มกราคม ถึง มีนาคม 2551 จำนวน 7,156 ล้านบาท ) โดยเป็นสินเชื่อเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มด้านการเกษตร สนับสนุนผู้ประกอบการรายย่อยในชนบท สนับสนุนวิสาหกิจชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งเพื่อการ
พัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ ซึ่งคาดว่าเกษตรกรจำนวนไม่น้อยกว่า 550,000 ราย และองค์กรชุมชนไม่น้อยกว่า 14,000 แห่ง จะได้รับประโยชน์จากมาตรการนี้
3. ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.)
สินเชื่อใหม่ 2 โครงการ ดำเนินการระหว่างเดือนเมษายน ถึง เดือนธันวาคม 2550 วงเงิน 4,000 ล้านบาท เพื่อเป็นเงินทุนสำหรับ SMEs ในการฟื้นฟูธุรกิจ ขยายกิจการ และเสริมสภาพคล่อง พัฒนาเครื่องจักร กระบวนการผลิต และบริการ รวมทั้งสินเชื่อเพื่อสร้างความคล่องตัวในการรับจ้างทำงานให้แก่ภาครัฐบาล
4. ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.)
สินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยและผู้ด้อยโอกาสให้มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง ก่อให้เกิดการสร้างงาน และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ประกอบด้วยโครงการสินเชื่อใหม่ 2 โครงการ ได้แก่โครงการ สินเชื่อที่อยู่อาศัย ธอส.-อปท. (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) วงเงิน 1,000 ล้านบาท สำหรับปี 2550 และโครงการเร่งรัดสินเชื่อรายย่อยไม่เกินรายละ 300,000 บาท จำนวน 4,500 ล้านบาท รวมวงเงินสินเชื่อโครงการใหม่ทั้งสิ้น 5,500 ล้านบาท
รวมเป้าหมายสินเชื่อภายใต้มาตรการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากครั้งนี้ สำหรับปี 2550 เป็นเงินจำนวน 44,044 ล้านบาท (หากรวมโครงการของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรที่จะดำเนินการในช่วง มกราคม-มีนาคม 2551 อีก 7,156 ล้านบาท จะเป็นจำนวนเงินรวม 51,200 ล้านบาท) และเมื่อรวมกับสินเชื่อตามเป้าหมายเดิมอีก 422,000 ล้านบาท จะเป็นสินเชื่อสำหรับปี 2550 ทั้งสิ้น 466,044 ล้านบาท
อนึ่ง กระทรวงการคลังและสถาบันการเงินเฉพาะกิจทั้ง 4 แห่ง จะกำกับดูแลให้การปล่อยสินเชื่อใหม่ข้างต้นและการขยายสินเชื่อเดิม เป็นไปอย่างมีคุณภาพ มีความโปร่งใส เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่มี ความต้องการอย่างแท้จริง ในขณะเดียวกันยังคงไว้ซึ่งความมั่นคงทางการเงินของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 35/2550 4 พฤษภาคม 50--