ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท. มีนโยบายสนับสนุนการลงทุนจากต่างประเทศ นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อความ
ท้าทายของภาวะการเงินและเศรษฐกิจโลกต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยว่า นโยบายการเงินของ ธปท. ยังคงสนับสนุนการลงทุนจาก
ต่างประเทศ เนื่องจากเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดการขยายตัวของเศรษฐกิจ ซึ่งในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจไทยสามารถเติบโตได้ส่วนหนึ่ง
มาจากเม็ดเงินของต่างชาติที่ไหลเข้ามา แต่ในช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมาไทยเปิดเสรีทางการเงินเร็วเกินไปทำให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อปี 40
การลงทุนจากต่างประเทศถือเป็นสิ่งสำคัญและที่ผ่านมา ธปท. ได้สนับสนุนการเข้ามาลงทุนโดยตรงของต่างชาติอย่างต่อเนื่องและอนาคตก็ยัง
จะสนับสนุนต่อไป ปัจจุบันยังมีเงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศมากกว่าเงินที่ไหลออก เพราะต่างชาติยังพอใจที่จะลงทุนอยู่ในไทยต่อไป ขณะที่
คนไทยยังไม่นิยมนำเงินออกไปต่างประเทศมากนัก แม้ว่า ธปท. จะสนับสนุนก็ตาม ด้านค่าเงินบาทขณะนี้ยังเคลื่อนไหวอย่างมีเสถียรภาพ
สอดคล้องกับภูมิภาค ส่วนมาตรการสำรองเงินทุนนำเข้าร้อยละ 30 ยังไม่ถึงเวลาเหมาะสมในการยกเลิก แต่ในทางปฏิบัติไม่กระทบต่อการ
เข้ามาลงทุนในไทย เพราะสามารถใช้การทำประกันความเสี่ยง 100% ได้อยู่แล้ว สำหรับภาพรวมเศรษฐกิจยังได้รับผลกระทบจากสถานการณ์
ทางการเมือง แต่จีดีพีปีนี้จะยังขยายตัวร้อยละ 3.8 — 4.2 และจะเร่งตัวขึ้นในปี 51 จากการส่งออกที่เพิ่มขึ้นและจะเป็นปัจจัยสำคัญในการ
ผลักดันเศรษฐกิจทั้งปีนี้และปีหน้า ขณะที่ดุลบัญชีเดินสะพัดยังมีเสถียรภาพและอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ (โลกวันนี้, ผู้จัดการรายวัน)
2. การขยายตัวของสินเชื่อบัตรเครดิตในไทยไม่น่าเป็นห่วง นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวถึงกรณีที่ ธ.เพื่อการ
ชำระหนี้ระหว่างประเทศ แสดงความเป็นห่วงต่อการขยายตัวของสินเชื่อบัตรเครดิตที่เร่งตัวมากในประเทศแถบเอเชียว่า การขยายตัวของ
สินเชื่อบัตรเครดิตในไทยไม่น่าเป็นห่วง และ ธปท. คงไม่ออกมาตรการควบคุมสินเชื่อบัตรเครดิตเพิ่มเติม เนื่องจากในช่วงหลังสินเชื่อคงค้าง
บัตรเครดิตขยายตัวประมาณร้อยละ 10 ไม่ได้สะท้อนว่าจะเกิดปัญหา นอกจากนี้ สินเชื่อบัตรเครดิตยังมีสัดส่วนเพียงร้อยละ 2 — 3 ของสินเชื่อ
รวมทั้งระบบเท่านั้น ซึ่งที่ผ่านมา ธปท. ค่อนข้างระมัดระวังการขยายตัวของสินเชื่อบัตรเครดิตมาโดยตลอดและมีการแก้ไขหลักเกณฑ์เพื่อดูแล
ไม่ให้สินเชื่อประเภทนี้ขยายตัวมากเกินไป โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ถือบัตรที่มีรายได้ไม่มากนัก ทั้งนี้ ในเดือน เม.ย.50 ผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิต
ทุกประเภทได้ออกบัตรให้กับผู้บริโภคทั้งสิ้น 11,126,649 บัตร เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 886,261 บัตร หรือร้อยละ 8.64 ขณะที่
มียอดสินเชื่อบัตรเครดิตคงค้าง 169,746 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 22,425 ล้านบาท หรือร้อยละ 15.22 ส่วนปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต
มีทั้งสิ้น 68,349 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 11,043 ล้านบาท หรือร้อยละ 19.17 (มติชน, กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
3. ร่างแก้ไข พรบ. ธปท. ยังอยู่ที่คณะกรรมการกฤษฎีกา นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธปท. ชี้แจงเกี่ยวกับการแก้ไขกฎหมาย
ธปท. ว่า ร่าง พรบ.ฉบับดังกล่าวขณะนี้อยู่ที่คณะกรรมการกฤษฎีกา มีสาระสำคัญ 2 เรื่อง ได้แก่ ความสามารถในการทำนโยบายต้องมีเครื่องไม้
เครื่องมือครบ จึงจะมีการแก้ไขกฎหมายให้ ธปท. ให้ดอกเบี้ยเงินฝากแก่ ธ.พาณิชย์ได้ หาก ธปท. ต้องการดูดซับสภาพคล่องจากระบบก็เสนอ
ดอกเบี้ยในอัตราสูง ในทางกลับกันหากต้องการอัดฉีดสภาพคล่องเข้าระบบก็ลดดอกเบี้ยลงมา ทำให้ ธปท. ทันสมัยและคล่องตัวในการบริหาร
การเงิน ส่วนอีกประเด็นคือ ความเป็นอิสระในการทำงานของ ธปท. เพราะ ธปท. มีเป้าหมายหลักในการดูแลเสถียรภาพ ขณะที่รัฐบาล
อาจจะอยากกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อเน้นการเติบโต ซึ่งเป็นสิ่งที่เห็นผลช่วงสั้นแต่อาจส่งผลเสียระยะยาวได้ ดังนั้น ความเห็นของ ธปท. และ
รัฐบาลอาจจะแตกต่างกัน นอกจากนี้ การถอดถอนผู้ว่าการ ธปท. จะทำได้ยากขึ้น เพราะร่างใหม่ รมว.คลังจะต้องแสดงเหตุผลที่ชัดเจนต่อ ครม.
ในการเสนอถอดถอนผู้ว่าการ ธปท. ซึ่งแตกต่างจากกฎหมายเดิมที่ไม่จำเป็นต้องแสดงเหตุผล (โพสต์ทูเดย์)
4. รัฐควรเร่งเบิกจ่าย งปม.รายจ่ายปี 50 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช ผอ.ศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ
ม.หอการค้าไทย กล่าวว่า บรรยากาศเศรษฐกิจที่ชะลอตัวในขณะนี้มาจากปัจจัยทางการเมือง ทำให้ประชาชนและนักลงทุนไม่มั่นใจ ส่งผลให้
การบริโภคลดลง เนื่องมาจากการเบิกจ่าย งปม. ของภาครัฐถึงฐานรากช้ากว่าปกติ ขณะเดียวกันอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ ธปท. ปรับลดลง
ยังไม่สามารถจูงใจให้เกิดการบริโภคหรือกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ได้มากนัก จึงคาดว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจปีนี้จะอยู่ที่ร้อยละ
3.8 — 4.3 สำหรับสิ่งสำคัญที่รัฐบาลจะสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงนี้ได้คือการเร่งรัดเบิกจ่าย งปม.รายจ่ายประจำปี 50 ให้แล้วเสร็จ
ในเดือน มิ.ย.นี้ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการลงทุนและการก่อสร้าง ซึ่งเมื่อมีการก่อสร้างแล้วประชาชนที่อยู่ในภาคแรงงานก็จะมีเงินมาใช้จ่าย
ซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคและส่งผลให้เศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้น (กรุงเทพธุรกิจ, ไทยรัฐ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. สหภาพยุโรปเตือนจีนว่าจะจำกัดโควตาการนำเข้าสินค้าจากจีน รายงานจากบรัสเซล เมื่อวันที่ 11 มิ.ย. 50 นาย Mandelson
โฆษกกรรมาธิการการค้าของยุโรป กล่าวเตือนจีนในเรื่องที่สหภาพยุโรปจะนำมาตรการทางการค้าใหม่มาใช้กับจีนเพื่อชะลอขยายตัวของการ
ส่งออกสินค้าของจีนมายังสหภาพยุโรป (EU) ก่อนที่จะถึงกำหนดการพบปะกันกับนาย Bo Xilai รมว.การค้าของจีนในวันอังคารนี้ นอกจากนั้น
สหภาพยุโรปยังคงไม่เลิกที่จะใช้เครื่องมือกีดกันทางการค้าหรือโดยอาศัยองค์การการค้าโลก (WTO) เพื่อปกป้องผู้ประกอบการอุตสาหกรรม
ทั้งนี้สหภาพยุโรปมีความวิตกอย่างมากเกี่ยวกับการส่งออกผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าจากจีน และการเพิ่มสูงมากของการส่งออกสิ่งทอของจีนเมื่อโควต
การส่งออกหมดอายุในตอนสิ้นปีนี้ ทั้งนี้คาดว่าในปีนี้ EU จะขาดดุลการค้ากับจีนสูงถึง 170 พัน ล.ยูโร (227 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ.) เพิ่มขึ้น
จาก 128 พัน ล. ยูโร เมื่อปีที่แล้ว จึงเป็นการไม่เหมาะสมที่จีนส่งสินค้าออกมายัง EU มากเกินไป ซึ่งในการพบปะกันนาย Mandelson
เตรียมจะแจ้งแก่จีนว่าจีนมิได้เข้มงวดในการดำเนินการเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์ และยังจำกัดการลงทุนจากต่างประเทศด้วย ทั้งนี้ EU ได้กดดัน
จีนน้อยกว่า สรอ. ที่กดดันจีนโดยใช้เวที WTO ในการดำเนินการกับจีน อย่างไรก็ตามสมาชิกของ EU รวมทั้งฝรั่งเศสต่างต้องการให้ EU
ปกป้องตลาดแรงงานซึ่งผู้ประกอบการอุตสาหกรรมบางคนกล่าวตำหนิ EU ว่าดำเนินการเพียงเล็กน้อยในเรื่องการตอบโต้การทุ่มตลาดสินค้า
จากจีน (รอยเตอร์)
2. คาดว่าอัตราเงินเฟ้อของอังกฤษในเดือน พ.ค.50 จะขยายตัวชะลอลง รายงานจาก ลอนดอนเมื่อ 11 มิ.ย.50 รอยเตอร์
เปิดเผยผลการสำรวจความคิดเห็นของบรรดานักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่า อัตราเงินเฟ้อของอังกฤษในเดือน พ.ค.50 จะขยายตัวชะลอลงที่ระดับ
ร้อยละ 2.6 จากระดับร้อยละ 2.8 ในเดือนก่อนหน้า หลังจากที่ในเดือน มี.ค.50 เพิ่มขึ้นที่ระดับร้อยละ 3.1 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบกว่า 10 ปี
และส่งผลให้ ธ.กลางอังกฤษต้องให้คำอธิบายต่อรัฐบาล เกี่ยวกับเหตุผลที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อขยายตัวเพิ่มขึ้นเหนือเป้าหมายที่กำหนดไว้ที่ระดับ
ร้อยละ 2.0 ทั้งนี้ ธ.กลางอังกฤษได้ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายจำนวน 4 ครั้งขึ้นมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 5.5 นับตั้งแต่เดือน ส.ค.49
เป็นต้นมา โดยคาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อจะชะลอลงในปีนี้ อย่างไรก็ตาม การที่อัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับสูง ส่งผลให้ ธ.กลางอังกฤษ
คาดการณ์ว่า อาจปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้งเพื่อควบคุมผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อ สอดคล้องกับความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์
บางส่วนที่คาดว่า ธ.กลางอังกฤษอาจปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้งในเดือน ส.ค.นี้ อนึ่ง แม้ว่าการลดลงของราคาพลังงานและค่าใช้จ่าย
ด้านสาธารณูปโภคจะช่วยให้อัตราเงินเฟ้อของอังกฤษในเดือน พ.ค.ลดลงจากระดับสูงสุดในเดือน มี.ค.ก็ตาม แต่ยังคงมีปัจจัยอื่นๆ ที่อาจก่อให้
เกิดภาวะเงินเฟ้อ ได้แก่ ต้นทุนราคาสินค้า เห็นได้จากดัชนีราคาผู้ผลิตในเดือน พ.ค. ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 สาเหตุจากต้นทุนราคาอาหารสด
เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 และเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้บรรดานักวิเคราะห์เห็นว่าอาจส่งผลต่อการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (รอยเตอร์)
3. ราคาสินค้าค้าส่งของญี่ปุ่นในเดือน พ.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 เทียบต่อปี รายงานจากโตเกียว เมื่อ 12 มิ.ย.50
ธ.กลางญี่ปุ่นรายงานดัชนีราคาสินค้าของภาคธุรกิจซึ่งใช้ติดตามแนวโน้มราคาสินค้าค้าส่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 เทียบต่อปีในเดือน พ.ค.50 สูงกว่า
ที่คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 ต่อปี และเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยเป็นผลจากราคาวัตถุดิบเช่นน้ำมัน เคมีภัณฑ์ เหล็กกล้า
และแร่อโลหะที่สูงขึ้นในตลาดโลก ทั้งนี้ดัชนีดังกล่าวเคยเพิ่มขึ้นสูงสุดเป็นประวัติการณ์ถึงร้อยละ 3.6 ต่อปีในช่วงเดือน ส.ค.และ ก.ย.49 จาก
ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นในขณะนั้น หลังจากนั้นดัชนีได้ชะลอตัวลงจากราคาน้ำมันที่เริ่มมีเสถียรภาพ ในขณะเดียวกันสินค้าสำเร็จรูปสำหรับผู้บริโภคก็มี
ราคาสูงขึ้นร้อยละ 1.1 ต่อปี เป็นสัญญาณว่าผู้ผลิตได้เริ่มผลักภาระต้นทุนที่สูงขึ้นไปให้ผู้บริโภคแล้ว แม้ว่าราคาสินค้าค้าส่งจะสูงขึ้นแต่ดัชนีราคา
ผู้บริโภคกลับลดลงเล็กน้อยในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา แต่ ธ.กลางญี่ปุ่นคาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคจะเพิ่มสูงขึ้นในระยะยาวจากการฟื้นตัวทาง
เศรษฐกิจ โดยในไตรมาสแรกปี 50 ที่ผ่านมาเศรษฐกิจญี่ปุ่นขยายตัวถึงร้อยละ 3.3 ต่อปี จากการขยายตัวของการบริโภคและการส่งออก
ทั้งนี้ตลาดการเงินคาดว่า ธ.กลางญี่ปุ่นจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 เป็นร้อยละ 0.75 ต่อปีในช่วงเดือน ส.ค.50
ที่จะถึงนี้ (รอยเตอร์)
4. จีนเกินดุลการค้าในเดือน พ.ค.50 จำนวน 22.45 พันล้านดอลลาร์ สรอ. รายงานจากปักกิ่ง เมื่อ 11 มิ.ย.50 สำนักงาน
ข่าวซินหัวรายงานโดยอ้างอิงข้อมูลกรมศุลกากรจีนว่า ในเดือน พ.ค.50 จีนเกินดุลการค้าจำนวน 22.45 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบต่อเดือน
เพิ่มขึ้นจากเดือน เม.ย.50 ที่เกินดุล 16.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ. และเทียบกับเดือน พ.ค.49 ที่เกินดุลจำนวน 13.0 พันล้านดอลลาร์
สรอ. ขณะที่ผลสำรวจนักวิเคราะห์โดยรอยเตอร์คาดการณ์ว่าจีนจะเกินดุลจำนวน 18.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยคาดว่าการส่งออกเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 26.2 และนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.0 และหากเทียบต่อปีแล้ว จีนเกินดุลทั้งสิ้นจำนวน 216.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจาก
เดือน เม.ย.50 ที่เกินดุลจำนวน 207.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ทั้งนี้ สำนักข่าวซินหัวไม่ได้รายงานตัวเลขการเติบโตของการส่งออกและ
นำเข้าในเดือน พ.ค.50 อย่างไรก็ตาม ตัวเลขดุลการค้าดังกล่าวสอดคล้องกับที่ ก.พาณิชย์จีนเปิดเผยเมื่อปลายสัปดาห์ก่อน (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 12 มิ.ย. 50 11 มิ.ย. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 34.643 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 34.4161/34.7520 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.66969 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 754.15/15.05 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,700/10,800 10,650/10,750 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 64.53 63.35 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 29.99*/25.34** 29.99*/25.34** 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเลดเมื่อ 2 มิ.ย. 50 , ** ปรับเพิ่มเมื่อ 26 เม.ย. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท. มีนโยบายสนับสนุนการลงทุนจากต่างประเทศ นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อความ
ท้าทายของภาวะการเงินและเศรษฐกิจโลกต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยว่า นโยบายการเงินของ ธปท. ยังคงสนับสนุนการลงทุนจาก
ต่างประเทศ เนื่องจากเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดการขยายตัวของเศรษฐกิจ ซึ่งในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจไทยสามารถเติบโตได้ส่วนหนึ่ง
มาจากเม็ดเงินของต่างชาติที่ไหลเข้ามา แต่ในช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมาไทยเปิดเสรีทางการเงินเร็วเกินไปทำให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อปี 40
การลงทุนจากต่างประเทศถือเป็นสิ่งสำคัญและที่ผ่านมา ธปท. ได้สนับสนุนการเข้ามาลงทุนโดยตรงของต่างชาติอย่างต่อเนื่องและอนาคตก็ยัง
จะสนับสนุนต่อไป ปัจจุบันยังมีเงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศมากกว่าเงินที่ไหลออก เพราะต่างชาติยังพอใจที่จะลงทุนอยู่ในไทยต่อไป ขณะที่
คนไทยยังไม่นิยมนำเงินออกไปต่างประเทศมากนัก แม้ว่า ธปท. จะสนับสนุนก็ตาม ด้านค่าเงินบาทขณะนี้ยังเคลื่อนไหวอย่างมีเสถียรภาพ
สอดคล้องกับภูมิภาค ส่วนมาตรการสำรองเงินทุนนำเข้าร้อยละ 30 ยังไม่ถึงเวลาเหมาะสมในการยกเลิก แต่ในทางปฏิบัติไม่กระทบต่อการ
เข้ามาลงทุนในไทย เพราะสามารถใช้การทำประกันความเสี่ยง 100% ได้อยู่แล้ว สำหรับภาพรวมเศรษฐกิจยังได้รับผลกระทบจากสถานการณ์
ทางการเมือง แต่จีดีพีปีนี้จะยังขยายตัวร้อยละ 3.8 — 4.2 และจะเร่งตัวขึ้นในปี 51 จากการส่งออกที่เพิ่มขึ้นและจะเป็นปัจจัยสำคัญในการ
ผลักดันเศรษฐกิจทั้งปีนี้และปีหน้า ขณะที่ดุลบัญชีเดินสะพัดยังมีเสถียรภาพและอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ (โลกวันนี้, ผู้จัดการรายวัน)
2. การขยายตัวของสินเชื่อบัตรเครดิตในไทยไม่น่าเป็นห่วง นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวถึงกรณีที่ ธ.เพื่อการ
ชำระหนี้ระหว่างประเทศ แสดงความเป็นห่วงต่อการขยายตัวของสินเชื่อบัตรเครดิตที่เร่งตัวมากในประเทศแถบเอเชียว่า การขยายตัวของ
สินเชื่อบัตรเครดิตในไทยไม่น่าเป็นห่วง และ ธปท. คงไม่ออกมาตรการควบคุมสินเชื่อบัตรเครดิตเพิ่มเติม เนื่องจากในช่วงหลังสินเชื่อคงค้าง
บัตรเครดิตขยายตัวประมาณร้อยละ 10 ไม่ได้สะท้อนว่าจะเกิดปัญหา นอกจากนี้ สินเชื่อบัตรเครดิตยังมีสัดส่วนเพียงร้อยละ 2 — 3 ของสินเชื่อ
รวมทั้งระบบเท่านั้น ซึ่งที่ผ่านมา ธปท. ค่อนข้างระมัดระวังการขยายตัวของสินเชื่อบัตรเครดิตมาโดยตลอดและมีการแก้ไขหลักเกณฑ์เพื่อดูแล
ไม่ให้สินเชื่อประเภทนี้ขยายตัวมากเกินไป โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ถือบัตรที่มีรายได้ไม่มากนัก ทั้งนี้ ในเดือน เม.ย.50 ผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิต
ทุกประเภทได้ออกบัตรให้กับผู้บริโภคทั้งสิ้น 11,126,649 บัตร เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 886,261 บัตร หรือร้อยละ 8.64 ขณะที่
มียอดสินเชื่อบัตรเครดิตคงค้าง 169,746 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 22,425 ล้านบาท หรือร้อยละ 15.22 ส่วนปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต
มีทั้งสิ้น 68,349 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 11,043 ล้านบาท หรือร้อยละ 19.17 (มติชน, กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
3. ร่างแก้ไข พรบ. ธปท. ยังอยู่ที่คณะกรรมการกฤษฎีกา นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธปท. ชี้แจงเกี่ยวกับการแก้ไขกฎหมาย
ธปท. ว่า ร่าง พรบ.ฉบับดังกล่าวขณะนี้อยู่ที่คณะกรรมการกฤษฎีกา มีสาระสำคัญ 2 เรื่อง ได้แก่ ความสามารถในการทำนโยบายต้องมีเครื่องไม้
เครื่องมือครบ จึงจะมีการแก้ไขกฎหมายให้ ธปท. ให้ดอกเบี้ยเงินฝากแก่ ธ.พาณิชย์ได้ หาก ธปท. ต้องการดูดซับสภาพคล่องจากระบบก็เสนอ
ดอกเบี้ยในอัตราสูง ในทางกลับกันหากต้องการอัดฉีดสภาพคล่องเข้าระบบก็ลดดอกเบี้ยลงมา ทำให้ ธปท. ทันสมัยและคล่องตัวในการบริหาร
การเงิน ส่วนอีกประเด็นคือ ความเป็นอิสระในการทำงานของ ธปท. เพราะ ธปท. มีเป้าหมายหลักในการดูแลเสถียรภาพ ขณะที่รัฐบาล
อาจจะอยากกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อเน้นการเติบโต ซึ่งเป็นสิ่งที่เห็นผลช่วงสั้นแต่อาจส่งผลเสียระยะยาวได้ ดังนั้น ความเห็นของ ธปท. และ
รัฐบาลอาจจะแตกต่างกัน นอกจากนี้ การถอดถอนผู้ว่าการ ธปท. จะทำได้ยากขึ้น เพราะร่างใหม่ รมว.คลังจะต้องแสดงเหตุผลที่ชัดเจนต่อ ครม.
ในการเสนอถอดถอนผู้ว่าการ ธปท. ซึ่งแตกต่างจากกฎหมายเดิมที่ไม่จำเป็นต้องแสดงเหตุผล (โพสต์ทูเดย์)
4. รัฐควรเร่งเบิกจ่าย งปม.รายจ่ายปี 50 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช ผอ.ศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ
ม.หอการค้าไทย กล่าวว่า บรรยากาศเศรษฐกิจที่ชะลอตัวในขณะนี้มาจากปัจจัยทางการเมือง ทำให้ประชาชนและนักลงทุนไม่มั่นใจ ส่งผลให้
การบริโภคลดลง เนื่องมาจากการเบิกจ่าย งปม. ของภาครัฐถึงฐานรากช้ากว่าปกติ ขณะเดียวกันอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ ธปท. ปรับลดลง
ยังไม่สามารถจูงใจให้เกิดการบริโภคหรือกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ได้มากนัก จึงคาดว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจปีนี้จะอยู่ที่ร้อยละ
3.8 — 4.3 สำหรับสิ่งสำคัญที่รัฐบาลจะสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงนี้ได้คือการเร่งรัดเบิกจ่าย งปม.รายจ่ายประจำปี 50 ให้แล้วเสร็จ
ในเดือน มิ.ย.นี้ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการลงทุนและการก่อสร้าง ซึ่งเมื่อมีการก่อสร้างแล้วประชาชนที่อยู่ในภาคแรงงานก็จะมีเงินมาใช้จ่าย
ซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคและส่งผลให้เศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้น (กรุงเทพธุรกิจ, ไทยรัฐ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. สหภาพยุโรปเตือนจีนว่าจะจำกัดโควตาการนำเข้าสินค้าจากจีน รายงานจากบรัสเซล เมื่อวันที่ 11 มิ.ย. 50 นาย Mandelson
โฆษกกรรมาธิการการค้าของยุโรป กล่าวเตือนจีนในเรื่องที่สหภาพยุโรปจะนำมาตรการทางการค้าใหม่มาใช้กับจีนเพื่อชะลอขยายตัวของการ
ส่งออกสินค้าของจีนมายังสหภาพยุโรป (EU) ก่อนที่จะถึงกำหนดการพบปะกันกับนาย Bo Xilai รมว.การค้าของจีนในวันอังคารนี้ นอกจากนั้น
สหภาพยุโรปยังคงไม่เลิกที่จะใช้เครื่องมือกีดกันทางการค้าหรือโดยอาศัยองค์การการค้าโลก (WTO) เพื่อปกป้องผู้ประกอบการอุตสาหกรรม
ทั้งนี้สหภาพยุโรปมีความวิตกอย่างมากเกี่ยวกับการส่งออกผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าจากจีน และการเพิ่มสูงมากของการส่งออกสิ่งทอของจีนเมื่อโควต
การส่งออกหมดอายุในตอนสิ้นปีนี้ ทั้งนี้คาดว่าในปีนี้ EU จะขาดดุลการค้ากับจีนสูงถึง 170 พัน ล.ยูโร (227 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ.) เพิ่มขึ้น
จาก 128 พัน ล. ยูโร เมื่อปีที่แล้ว จึงเป็นการไม่เหมาะสมที่จีนส่งสินค้าออกมายัง EU มากเกินไป ซึ่งในการพบปะกันนาย Mandelson
เตรียมจะแจ้งแก่จีนว่าจีนมิได้เข้มงวดในการดำเนินการเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์ และยังจำกัดการลงทุนจากต่างประเทศด้วย ทั้งนี้ EU ได้กดดัน
จีนน้อยกว่า สรอ. ที่กดดันจีนโดยใช้เวที WTO ในการดำเนินการกับจีน อย่างไรก็ตามสมาชิกของ EU รวมทั้งฝรั่งเศสต่างต้องการให้ EU
ปกป้องตลาดแรงงานซึ่งผู้ประกอบการอุตสาหกรรมบางคนกล่าวตำหนิ EU ว่าดำเนินการเพียงเล็กน้อยในเรื่องการตอบโต้การทุ่มตลาดสินค้า
จากจีน (รอยเตอร์)
2. คาดว่าอัตราเงินเฟ้อของอังกฤษในเดือน พ.ค.50 จะขยายตัวชะลอลง รายงานจาก ลอนดอนเมื่อ 11 มิ.ย.50 รอยเตอร์
เปิดเผยผลการสำรวจความคิดเห็นของบรรดานักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่า อัตราเงินเฟ้อของอังกฤษในเดือน พ.ค.50 จะขยายตัวชะลอลงที่ระดับ
ร้อยละ 2.6 จากระดับร้อยละ 2.8 ในเดือนก่อนหน้า หลังจากที่ในเดือน มี.ค.50 เพิ่มขึ้นที่ระดับร้อยละ 3.1 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบกว่า 10 ปี
และส่งผลให้ ธ.กลางอังกฤษต้องให้คำอธิบายต่อรัฐบาล เกี่ยวกับเหตุผลที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อขยายตัวเพิ่มขึ้นเหนือเป้าหมายที่กำหนดไว้ที่ระดับ
ร้อยละ 2.0 ทั้งนี้ ธ.กลางอังกฤษได้ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายจำนวน 4 ครั้งขึ้นมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 5.5 นับตั้งแต่เดือน ส.ค.49
เป็นต้นมา โดยคาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อจะชะลอลงในปีนี้ อย่างไรก็ตาม การที่อัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับสูง ส่งผลให้ ธ.กลางอังกฤษ
คาดการณ์ว่า อาจปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้งเพื่อควบคุมผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อ สอดคล้องกับความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์
บางส่วนที่คาดว่า ธ.กลางอังกฤษอาจปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้งในเดือน ส.ค.นี้ อนึ่ง แม้ว่าการลดลงของราคาพลังงานและค่าใช้จ่าย
ด้านสาธารณูปโภคจะช่วยให้อัตราเงินเฟ้อของอังกฤษในเดือน พ.ค.ลดลงจากระดับสูงสุดในเดือน มี.ค.ก็ตาม แต่ยังคงมีปัจจัยอื่นๆ ที่อาจก่อให้
เกิดภาวะเงินเฟ้อ ได้แก่ ต้นทุนราคาสินค้า เห็นได้จากดัชนีราคาผู้ผลิตในเดือน พ.ค. ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 สาเหตุจากต้นทุนราคาอาหารสด
เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 และเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้บรรดานักวิเคราะห์เห็นว่าอาจส่งผลต่อการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (รอยเตอร์)
3. ราคาสินค้าค้าส่งของญี่ปุ่นในเดือน พ.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 เทียบต่อปี รายงานจากโตเกียว เมื่อ 12 มิ.ย.50
ธ.กลางญี่ปุ่นรายงานดัชนีราคาสินค้าของภาคธุรกิจซึ่งใช้ติดตามแนวโน้มราคาสินค้าค้าส่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 เทียบต่อปีในเดือน พ.ค.50 สูงกว่า
ที่คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 ต่อปี และเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยเป็นผลจากราคาวัตถุดิบเช่นน้ำมัน เคมีภัณฑ์ เหล็กกล้า
และแร่อโลหะที่สูงขึ้นในตลาดโลก ทั้งนี้ดัชนีดังกล่าวเคยเพิ่มขึ้นสูงสุดเป็นประวัติการณ์ถึงร้อยละ 3.6 ต่อปีในช่วงเดือน ส.ค.และ ก.ย.49 จาก
ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นในขณะนั้น หลังจากนั้นดัชนีได้ชะลอตัวลงจากราคาน้ำมันที่เริ่มมีเสถียรภาพ ในขณะเดียวกันสินค้าสำเร็จรูปสำหรับผู้บริโภคก็มี
ราคาสูงขึ้นร้อยละ 1.1 ต่อปี เป็นสัญญาณว่าผู้ผลิตได้เริ่มผลักภาระต้นทุนที่สูงขึ้นไปให้ผู้บริโภคแล้ว แม้ว่าราคาสินค้าค้าส่งจะสูงขึ้นแต่ดัชนีราคา
ผู้บริโภคกลับลดลงเล็กน้อยในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา แต่ ธ.กลางญี่ปุ่นคาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคจะเพิ่มสูงขึ้นในระยะยาวจากการฟื้นตัวทาง
เศรษฐกิจ โดยในไตรมาสแรกปี 50 ที่ผ่านมาเศรษฐกิจญี่ปุ่นขยายตัวถึงร้อยละ 3.3 ต่อปี จากการขยายตัวของการบริโภคและการส่งออก
ทั้งนี้ตลาดการเงินคาดว่า ธ.กลางญี่ปุ่นจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 เป็นร้อยละ 0.75 ต่อปีในช่วงเดือน ส.ค.50
ที่จะถึงนี้ (รอยเตอร์)
4. จีนเกินดุลการค้าในเดือน พ.ค.50 จำนวน 22.45 พันล้านดอลลาร์ สรอ. รายงานจากปักกิ่ง เมื่อ 11 มิ.ย.50 สำนักงาน
ข่าวซินหัวรายงานโดยอ้างอิงข้อมูลกรมศุลกากรจีนว่า ในเดือน พ.ค.50 จีนเกินดุลการค้าจำนวน 22.45 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบต่อเดือน
เพิ่มขึ้นจากเดือน เม.ย.50 ที่เกินดุล 16.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ. และเทียบกับเดือน พ.ค.49 ที่เกินดุลจำนวน 13.0 พันล้านดอลลาร์
สรอ. ขณะที่ผลสำรวจนักวิเคราะห์โดยรอยเตอร์คาดการณ์ว่าจีนจะเกินดุลจำนวน 18.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยคาดว่าการส่งออกเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 26.2 และนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.0 และหากเทียบต่อปีแล้ว จีนเกินดุลทั้งสิ้นจำนวน 216.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจาก
เดือน เม.ย.50 ที่เกินดุลจำนวน 207.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ทั้งนี้ สำนักข่าวซินหัวไม่ได้รายงานตัวเลขการเติบโตของการส่งออกและ
นำเข้าในเดือน พ.ค.50 อย่างไรก็ตาม ตัวเลขดุลการค้าดังกล่าวสอดคล้องกับที่ ก.พาณิชย์จีนเปิดเผยเมื่อปลายสัปดาห์ก่อน (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 12 มิ.ย. 50 11 มิ.ย. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 34.643 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 34.4161/34.7520 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.66969 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 754.15/15.05 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,700/10,800 10,650/10,750 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 64.53 63.35 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 29.99*/25.34** 29.99*/25.34** 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเลดเมื่อ 2 มิ.ย. 50 , ** ปรับเพิ่มเมื่อ 26 เม.ย. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--