ถึงเวลาปรับใหญ่ ครม. แล้ว
โดย บัญญัติ บรรทัดฐาน
แม้จะมีปัญหารุมเร้ารัฐบาลและคมช.มาโดยตลอด แต่ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา กล่าวได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่มีปัญหารุมเร้ามากกว่าในช่วงเวลาที่ผ่านมาเป็นอย่างมาก และพอที่จะเรียกได้ว่า เป็นปัญหาที่ท้าทายรัฐบาลและคมช. โดยแท้เพราะในขณะที่ปัญหาค้างคาเก่ายังชำระสะสางกันไม่เสร็จ ก็มีปัญหาใหม่เพิ่มขึ้นมาอีกมากมาย
ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการข่าวเรื่องการก่อวินาศกรรมซึ่งอาจจะมีมากขึ้น และอาจจะลุกลามเข้ามาถึงในกรุงเทพฯ ได้จนสถานทูตบางแห่งเริ่มส่งข่าวเตือนคนชาติของตนให้พึงระมัดระวังตนเอง ซึ่งรัฐมนตรีกลาโหม ก็ยอมรับว่าเป็นเรื่องที่อาจเกิดขึ้นได้ เพราะมีการเมืองภายในอยุ่เบื้องหลัง
และที่เป็นเรื่องการเมืองจริง ๆ ก็คือ การเคลื่อนไหวทางการเมืองของผู้ทำหน้าที่หัวหน้าพรรคไทยรักไทยและคณะที่เคลื่อนไหวออกไปพบปะกับผู้คนในต่างจังหวัด ซึ่งคมช.ได้สรุปเป็นข้อยุติแล้วว่าเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนประกาศคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินฉบับที่ 15 และ ที่ 27 ซึ่งห้ามพรรคการเมืองประชุมหรือดำเนินกิจการทางการเมืองอย่างแน่นอน ปัญหาก็คือว่าแล้วจะทำอย่างไรกันต่อไป
ความพยายามในการจัดตั้งทีวีช่องใหม่คือ พีทีวี โดยพลพรรคพรรคไทยรักไทยก็เป็นเรื่องใหญ่อีกเรื่องหนึ่ง ที่กำลังท้าทายการแก้ไขปัญหาอยู่ในขณะนี้
และอาจจะด้วยปัญหาที่รุมเร้ารัฐบาลและคมช.มาโดยตลอด และมีเพิ่มมากขึ้นนี่เอง คะแนนนิยมในตัวนายกรัฐมนตรี พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ จากการทำโพลล์ของบางสำนักจึงได้คำตอบว่าลดลงไปทุกทีด้วยเหมือนกัน และสุดท้ายจริง ๆ ที่นับเป็นปัญหารุมเร้ารัฐบาลและคมช.ด้วยเหมือนกันก็คือข้อวิพากษ์วิจารณ์ของนายธีรยุทธ บุญมี ซึ่งได้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลอย่างรุนแรงพอสมควร ถึงขนาดให้ฉายารัฐบาลว่าเป็นฤาษีเลี้ยงเต่า คือเป็นรัฐบาลที่ต้วมเตี้ยมไปคนละทิศคนละทาง แต่ที่น่าแปลกใจก็คืออุตส่าห์ไปลากเอารัฐบาลชุดนายกชวนในอดีตมาเปรียบเทียบว่า ช้าแบบรัฐบาลชวนเสียอีกด้วย ซึ่งเรื่องของอดีตนายกชวนที่บอกว่าเชื่องช้านั้น เป็นเรื่องที่คู่แข่งในทางการเมืองได้หยิบยกขึ้นมาพูดกันอยู่บ่อยครั้งแต่ทุกครั้งที่ถูกถามว่า ช้าเรื่องอะไรก็ยังไม่เคยได้ยินคนพูดให้คำตอบที่ชัดเจนได้แต่ประการใด
อย่างไรก็ตามเรื่องปัญหารุมเร้ารัฐบาลและคมช. ซึ่งมีเพิ่มมากขึ้นทุกที เข้าทำนองความวัวยังไม่ทันหาย ความควายก็เข้ามาแทรก ซึ่งเป็นเหตุให้คะแนนนิยมในตัวนายกรัฐมนตรีพลเอกสุรยุทธ์ต้องมีอันลดลงไปอยู่เรื่อย ๆ นั้นในทางการเมือง ไม่ใช่เรื่องดีอย่างแน่นอนโดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับรัฐบาลที่นับแต่จะมีเวลาเหลือน้อยลงทุกที อย่างเช่นรัฐบาลนี้ ซึ่งความจริงเรื่องปัญหาท้าทายรัฐบาลและคมช. ที่นับวันแต่จะมีเพิ่มมากยิ่งขึ้นนี้ ผมได้เคยวิเคราะห์เอาไว้แล้วตั้งแต่เมื่อต้นเดือนธันวาคมของปีที่แล้วที่บอกว่า 10 ธันวาไม่มีปัญหาแต่ปีหน้าอันตราย ปีหน้าก็คือปีนี้ ปี 2550 ซึ่งบัดนี้ของจริงก็เริ่มปรากฎให้เห็นแล้ว
นอกจากจะได้วิเคราะห์ให้เห็นว่าปัญหาที่ท้าทายจะมีเพิ่มมากขึ้นแล้ว ผมยังได้ให้ความเห็นเสนอแนะรัฐบาลและคมช. ให้เตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับปัญหาถึง 3 ครั้ง 3 หนในบทความ “ปรับครม. — เพิ่มประสิทธิภาพความมั่นคง ปลอดภัย” “ปรับครม. — สร้างความเชื่อมั่น — สร้างทีมใหม่ เพื่อแก้ไขปัญหาชาติ” และ “รัฐบาลกับความพร้อมที่ควรมีมากกว่าเดิม” ก็ไม่ได้มีความห่วงใยรัฐบาลหรือคมช. เป็นพิเศษแต่อย่างใดดอก เพราะผมไม่ได้มีส่วนได้เสียอะไรกับเขาด้วย แต่ด้วยความห่วงใยอนาคตของบ้านเมือง ซึ่งใช้ต้นทุนมากแล้วคือถึงกับต้องเปลี่ยนแปลงด้วยการยึดอำนาจกันมาจึงอยากเห็นทุกอย่างเป็นไปด้วยดี ไม่ต้องสูญเสียมากกว่าเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือไม่ควรให้ต้องมีวิกฤตซ้ำซ้อนขึ้นมาอีก แต่ก็ไม่เห็นว่ารัฐบาลโดยเฉพาะอย่างยิ่งนายกรัฐมนตรี พลเอกสุรยุทธ์ท่านมีความเคลื่อนไหวอะไรด้วย มีการแต่งตั้งรัฐมนตรีเพิ่มบ้างก็เพียงคนสองคนเท่านั้น คล้าย ๆ กับว่าก็ไม่เห็นมีปัญหาอะไรมากมาย ในขณะที่ปัญหาก็ก่อตัวเพิ่มขึ้นเรื่อยมา
แล้วอยู่ ๆ ท่านก็มีคำสั่งแต่งตั้งนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เป็นประธานคณะกรรมการประสานงานและกระชับความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศให้ทำหน้าที่ชี้แจงแนวนโยบายเศรษฐกิจพอเพียงต่อสายตาต่างประเทศเพราะเห็นว่ามีความจำเป็นแต่เมื่อมีการรวมตัวกันคัดค้านเป็นการใหญ่และปัญหาก็จบลงด้วยการลาออกของนายสมคิดเอง ท่านก็บอกว่าตำแหน่งนี้คงไม่จำเป็นที่จะต้องแต่งตั้งอีกแล้ว ทุกคนก็เลยเกิดอาการมึนงงไปกับท่านด้วยเพราะไม่รู้ว่าอะไรจำเป็นหรือไม่จำเป็นกันแน่
บัดนี้มีการลาออกกันอีกและก็เป็นการลาออกที่จะไม่แต่งตั้งแทนคงไม่ได้ก็คือ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ยื่นใบลาออกเป็นที่เรียบร้อยแล้วด้วยเหตุผลที่พอสรุปได้ว่า ไม่ต้องการทำงานในสภาวะที่มีการปิดบังอำพรางและไม่ต้องการทำงานในภาวะที่ดูเหมือนว่ารัฐบาลอยู่ภายใต้อิทธิพลของคนบางกลุ่มและสื่อมวลชนบางราย รวมทั้งไม่เห็นด้วยกับการที่บุคคลในรัฐบาลชุดก่อนเข้ามาช่วยงานด้านเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นข้ออ้างที่ไม่สมจริงและมีจุดประสงค์ที่ปิดบังอำพราง และการถอนตัวออกไปก็ไม่ใช่การถอนตัวอย่างแท้จริง เพราะสายสัมพันธ์ยังคงอยู่ เนื่องจากยังมีตัวเชื่อมอยู่ในรัฐบาลซึ่งการลาออกโดยทิ้งทุ่นระเบิดไว้อย่างนี้ก็คงจะส่งผลให้คะแนนนิยมของนายกรัฐมนตรีพลเอกสุรยุทธ์ลดลงอีกก็เป็นได้
เพราะฉะนั้นเมื่อมาถึงตอนนี้ แน่นอน นายกรัฐมนตรีพลเอกสุรยุทธ์ คงต้องเคลื่อนไหวมากขึ้นแล้ว คงจะทำเป็นใจเย็นเหมือนเมื่อเดือน สองเดือนก่อนไม่ได้แล้ว และถ้าจะพูดกันด้วยถ้อยคำสำนวนที่ชอบใช้กันอยู่บ่อย ๆ ว่า “ต้องใช้วิกฤตเป็นโอกาส” ครั้งนี้ก็ต้องถือว่าเป็นโอกาสครั้งสำคัญจริง ๆ สำหรับรัฐบาลและคมช. ในการจัดทีมใหญ่เพื่อแก้ไขปัญหาชาติ ก่อนที่จะเกิดวิกฤตซ้ำซ้อนขึ้นมาใหม่
ในฐานะของนักการเมืองที่เฝ้าดูการแก้ไขปัญหาชาติของรัฐบาล คมช. และผู้เกี่ยวข้อง ดูการเคลื่อนไหวของกลุ่มการเมืองต่าง ๆ พร้อมทั้งดูปัญหาชาติที่เพิ่มขึ้นทั้งที่เกิดมีขึ้นตามธรรมชาติและที่เกิดมีขึ้นเพื่อกดดันรัฐบาลและคมช. มาโดยตลอดพอที่จะวิเคราะห์ได้ว่า หากรัฐบาล คมช. และผู้เกี่ยวข้องยังทำงานแบบเดิม ๆ ด้วยทีมงานเดิม ๆ แล้วละก็เห็นทีจะไปไม่รอด ผมจึงเห็นว่าถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลและคมช. ต้องร่วมกันตัดสินใจปรับใหญ่ครม. โดยควรจะได้ดำเนินการดังต่อไปนี้
1. นายกรัฐมนตรีและแกนนำหลัก ๆ ของคมช. ในฐานะของผู้ร่วมชะตากรรมเดียวกันคือ มีภารกิจร่วมกันในการชำระล้างความเลวร้ายและความเสื่อมโทรมของประเทศเพื่อที่จะเร่งฟื้นฟูขึ้นมาใหม่จะต้องร่วมปรึกษาหารือกันถึงอุปสรรคข้อขัดข้องในการดำเนินการที่ผ่านมาด้วยการเปิดใจวิพากษ์วิจารณ์ซึ่งกันและกันอย่างตรงไปตรงมาเพื่อกำหนดบทบาทกันใหม่
2. ร่วมกันพิจารณาปรับใหญ่ ครม. ด้วยการเฟ้นหาบุคคลที่มีความเหมาะสม มีความเข้าใจในภารกิจที่แท้จริงของรัฐบาลในภาวะการณ์เช่นนี้ ซึ่งก็คือการทำหน้าที่ชำระล้างความเลวร้ายและความเสื่อมโทรมของประเทศเพื่อที่จะเร่งฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ และมีความมุ่งมั่นโดยไม่หวั่นเกรงผลกระทบต่อส่วนบุคคล อันอาจจะเกิดขึ้นจากการทำหน้าที่และหากใครไม่มีความพร้อมเช่นว่านี้ก็ต้องถือว่าขาดคุณสมบัติไม่ว่าจะเป็นรัฐมนตรีที่เข้ามาใหม่ หรือรัฐมนตรีเก่าที่เป็นอยู่เดิม รวมทั้งต้องไม่มีเรื่องของความเป็นเครือญาติ เพื่อนร่วมรุ่น หรือแม้แต่จะเป็นเด็กฝากของใครเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
3. ไม่ควรมีบุคคลที่เคยร่วมงานกับรัฐบาลชุดก่อนเพิ่มเติมเข้ามาเป็นรัฐมนตรีให้เป็นที่คัดค้านและเป็นปัญหาต่อไปอีก
4. โดยที่ปัญหาเศรษฐกิจและปัญหาความมั่นคงปลอดภัย เป็นปัญหาใหญ่ที่เผชิญหน้าอยุ่ ทั้งงานสร้างความเข้าใจเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงภายในประเทศก็ยังไม่มีความก้าวหน้าเท่าที่ควร ทีมงานรัฐมนตรีในส่วนนี้จึงต้องเป็นทีมใหญ่ที่ได้รับความเชื่อถือในศักยภาพและมีความเป็นเอกภาพในการทำงาน
5. รัฐมนตรีต้องมีสมรรถภาพในการควบคุมบังคับบัญชาข้าราชการและพนักงานของรัฐในการให้ความร่วมมือกับ คตส. และหน่วยงานตรวจสอบอื่น รวมทั้งปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาลได้เป็นอย่างดี ไม่มีภาวะเกียร์ว่าง และถ้าหากมีก็ต้องถือว่ารัฐมนตรีผู้บังคับบัญชาขาดคุณสมบัติอันพึงประสงค์
เพียงเท่านี้ก็น่าจะช่วยให้การเผชิญปัญหาอยู่ในสภาพที่มีความพร้อมมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ คนดูอย่างเรา ๆ ท่าน ๆ จะได้ไม่ต้องใจหายใจคว่ำอยู่บ่อย ๆ ด้วยความห่วงใยอนาคตของประเทศ.
....................................................................................................................................
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 1 มี.ค. 2550--จบ--
โดย บัญญัติ บรรทัดฐาน
แม้จะมีปัญหารุมเร้ารัฐบาลและคมช.มาโดยตลอด แต่ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา กล่าวได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่มีปัญหารุมเร้ามากกว่าในช่วงเวลาที่ผ่านมาเป็นอย่างมาก และพอที่จะเรียกได้ว่า เป็นปัญหาที่ท้าทายรัฐบาลและคมช. โดยแท้เพราะในขณะที่ปัญหาค้างคาเก่ายังชำระสะสางกันไม่เสร็จ ก็มีปัญหาใหม่เพิ่มขึ้นมาอีกมากมาย
ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการข่าวเรื่องการก่อวินาศกรรมซึ่งอาจจะมีมากขึ้น และอาจจะลุกลามเข้ามาถึงในกรุงเทพฯ ได้จนสถานทูตบางแห่งเริ่มส่งข่าวเตือนคนชาติของตนให้พึงระมัดระวังตนเอง ซึ่งรัฐมนตรีกลาโหม ก็ยอมรับว่าเป็นเรื่องที่อาจเกิดขึ้นได้ เพราะมีการเมืองภายในอยุ่เบื้องหลัง
และที่เป็นเรื่องการเมืองจริง ๆ ก็คือ การเคลื่อนไหวทางการเมืองของผู้ทำหน้าที่หัวหน้าพรรคไทยรักไทยและคณะที่เคลื่อนไหวออกไปพบปะกับผู้คนในต่างจังหวัด ซึ่งคมช.ได้สรุปเป็นข้อยุติแล้วว่าเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนประกาศคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินฉบับที่ 15 และ ที่ 27 ซึ่งห้ามพรรคการเมืองประชุมหรือดำเนินกิจการทางการเมืองอย่างแน่นอน ปัญหาก็คือว่าแล้วจะทำอย่างไรกันต่อไป
ความพยายามในการจัดตั้งทีวีช่องใหม่คือ พีทีวี โดยพลพรรคพรรคไทยรักไทยก็เป็นเรื่องใหญ่อีกเรื่องหนึ่ง ที่กำลังท้าทายการแก้ไขปัญหาอยู่ในขณะนี้
และอาจจะด้วยปัญหาที่รุมเร้ารัฐบาลและคมช.มาโดยตลอด และมีเพิ่มมากขึ้นนี่เอง คะแนนนิยมในตัวนายกรัฐมนตรี พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ จากการทำโพลล์ของบางสำนักจึงได้คำตอบว่าลดลงไปทุกทีด้วยเหมือนกัน และสุดท้ายจริง ๆ ที่นับเป็นปัญหารุมเร้ารัฐบาลและคมช.ด้วยเหมือนกันก็คือข้อวิพากษ์วิจารณ์ของนายธีรยุทธ บุญมี ซึ่งได้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลอย่างรุนแรงพอสมควร ถึงขนาดให้ฉายารัฐบาลว่าเป็นฤาษีเลี้ยงเต่า คือเป็นรัฐบาลที่ต้วมเตี้ยมไปคนละทิศคนละทาง แต่ที่น่าแปลกใจก็คืออุตส่าห์ไปลากเอารัฐบาลชุดนายกชวนในอดีตมาเปรียบเทียบว่า ช้าแบบรัฐบาลชวนเสียอีกด้วย ซึ่งเรื่องของอดีตนายกชวนที่บอกว่าเชื่องช้านั้น เป็นเรื่องที่คู่แข่งในทางการเมืองได้หยิบยกขึ้นมาพูดกันอยู่บ่อยครั้งแต่ทุกครั้งที่ถูกถามว่า ช้าเรื่องอะไรก็ยังไม่เคยได้ยินคนพูดให้คำตอบที่ชัดเจนได้แต่ประการใด
อย่างไรก็ตามเรื่องปัญหารุมเร้ารัฐบาลและคมช. ซึ่งมีเพิ่มมากขึ้นทุกที เข้าทำนองความวัวยังไม่ทันหาย ความควายก็เข้ามาแทรก ซึ่งเป็นเหตุให้คะแนนนิยมในตัวนายกรัฐมนตรีพลเอกสุรยุทธ์ต้องมีอันลดลงไปอยู่เรื่อย ๆ นั้นในทางการเมือง ไม่ใช่เรื่องดีอย่างแน่นอนโดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับรัฐบาลที่นับแต่จะมีเวลาเหลือน้อยลงทุกที อย่างเช่นรัฐบาลนี้ ซึ่งความจริงเรื่องปัญหาท้าทายรัฐบาลและคมช. ที่นับวันแต่จะมีเพิ่มมากยิ่งขึ้นนี้ ผมได้เคยวิเคราะห์เอาไว้แล้วตั้งแต่เมื่อต้นเดือนธันวาคมของปีที่แล้วที่บอกว่า 10 ธันวาไม่มีปัญหาแต่ปีหน้าอันตราย ปีหน้าก็คือปีนี้ ปี 2550 ซึ่งบัดนี้ของจริงก็เริ่มปรากฎให้เห็นแล้ว
นอกจากจะได้วิเคราะห์ให้เห็นว่าปัญหาที่ท้าทายจะมีเพิ่มมากขึ้นแล้ว ผมยังได้ให้ความเห็นเสนอแนะรัฐบาลและคมช. ให้เตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับปัญหาถึง 3 ครั้ง 3 หนในบทความ “ปรับครม. — เพิ่มประสิทธิภาพความมั่นคง ปลอดภัย” “ปรับครม. — สร้างความเชื่อมั่น — สร้างทีมใหม่ เพื่อแก้ไขปัญหาชาติ” และ “รัฐบาลกับความพร้อมที่ควรมีมากกว่าเดิม” ก็ไม่ได้มีความห่วงใยรัฐบาลหรือคมช. เป็นพิเศษแต่อย่างใดดอก เพราะผมไม่ได้มีส่วนได้เสียอะไรกับเขาด้วย แต่ด้วยความห่วงใยอนาคตของบ้านเมือง ซึ่งใช้ต้นทุนมากแล้วคือถึงกับต้องเปลี่ยนแปลงด้วยการยึดอำนาจกันมาจึงอยากเห็นทุกอย่างเป็นไปด้วยดี ไม่ต้องสูญเสียมากกว่าเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือไม่ควรให้ต้องมีวิกฤตซ้ำซ้อนขึ้นมาอีก แต่ก็ไม่เห็นว่ารัฐบาลโดยเฉพาะอย่างยิ่งนายกรัฐมนตรี พลเอกสุรยุทธ์ท่านมีความเคลื่อนไหวอะไรด้วย มีการแต่งตั้งรัฐมนตรีเพิ่มบ้างก็เพียงคนสองคนเท่านั้น คล้าย ๆ กับว่าก็ไม่เห็นมีปัญหาอะไรมากมาย ในขณะที่ปัญหาก็ก่อตัวเพิ่มขึ้นเรื่อยมา
แล้วอยู่ ๆ ท่านก็มีคำสั่งแต่งตั้งนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เป็นประธานคณะกรรมการประสานงานและกระชับความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศให้ทำหน้าที่ชี้แจงแนวนโยบายเศรษฐกิจพอเพียงต่อสายตาต่างประเทศเพราะเห็นว่ามีความจำเป็นแต่เมื่อมีการรวมตัวกันคัดค้านเป็นการใหญ่และปัญหาก็จบลงด้วยการลาออกของนายสมคิดเอง ท่านก็บอกว่าตำแหน่งนี้คงไม่จำเป็นที่จะต้องแต่งตั้งอีกแล้ว ทุกคนก็เลยเกิดอาการมึนงงไปกับท่านด้วยเพราะไม่รู้ว่าอะไรจำเป็นหรือไม่จำเป็นกันแน่
บัดนี้มีการลาออกกันอีกและก็เป็นการลาออกที่จะไม่แต่งตั้งแทนคงไม่ได้ก็คือ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ยื่นใบลาออกเป็นที่เรียบร้อยแล้วด้วยเหตุผลที่พอสรุปได้ว่า ไม่ต้องการทำงานในสภาวะที่มีการปิดบังอำพรางและไม่ต้องการทำงานในภาวะที่ดูเหมือนว่ารัฐบาลอยู่ภายใต้อิทธิพลของคนบางกลุ่มและสื่อมวลชนบางราย รวมทั้งไม่เห็นด้วยกับการที่บุคคลในรัฐบาลชุดก่อนเข้ามาช่วยงานด้านเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นข้ออ้างที่ไม่สมจริงและมีจุดประสงค์ที่ปิดบังอำพราง และการถอนตัวออกไปก็ไม่ใช่การถอนตัวอย่างแท้จริง เพราะสายสัมพันธ์ยังคงอยู่ เนื่องจากยังมีตัวเชื่อมอยู่ในรัฐบาลซึ่งการลาออกโดยทิ้งทุ่นระเบิดไว้อย่างนี้ก็คงจะส่งผลให้คะแนนนิยมของนายกรัฐมนตรีพลเอกสุรยุทธ์ลดลงอีกก็เป็นได้
เพราะฉะนั้นเมื่อมาถึงตอนนี้ แน่นอน นายกรัฐมนตรีพลเอกสุรยุทธ์ คงต้องเคลื่อนไหวมากขึ้นแล้ว คงจะทำเป็นใจเย็นเหมือนเมื่อเดือน สองเดือนก่อนไม่ได้แล้ว และถ้าจะพูดกันด้วยถ้อยคำสำนวนที่ชอบใช้กันอยู่บ่อย ๆ ว่า “ต้องใช้วิกฤตเป็นโอกาส” ครั้งนี้ก็ต้องถือว่าเป็นโอกาสครั้งสำคัญจริง ๆ สำหรับรัฐบาลและคมช. ในการจัดทีมใหญ่เพื่อแก้ไขปัญหาชาติ ก่อนที่จะเกิดวิกฤตซ้ำซ้อนขึ้นมาใหม่
ในฐานะของนักการเมืองที่เฝ้าดูการแก้ไขปัญหาชาติของรัฐบาล คมช. และผู้เกี่ยวข้อง ดูการเคลื่อนไหวของกลุ่มการเมืองต่าง ๆ พร้อมทั้งดูปัญหาชาติที่เพิ่มขึ้นทั้งที่เกิดมีขึ้นตามธรรมชาติและที่เกิดมีขึ้นเพื่อกดดันรัฐบาลและคมช. มาโดยตลอดพอที่จะวิเคราะห์ได้ว่า หากรัฐบาล คมช. และผู้เกี่ยวข้องยังทำงานแบบเดิม ๆ ด้วยทีมงานเดิม ๆ แล้วละก็เห็นทีจะไปไม่รอด ผมจึงเห็นว่าถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลและคมช. ต้องร่วมกันตัดสินใจปรับใหญ่ครม. โดยควรจะได้ดำเนินการดังต่อไปนี้
1. นายกรัฐมนตรีและแกนนำหลัก ๆ ของคมช. ในฐานะของผู้ร่วมชะตากรรมเดียวกันคือ มีภารกิจร่วมกันในการชำระล้างความเลวร้ายและความเสื่อมโทรมของประเทศเพื่อที่จะเร่งฟื้นฟูขึ้นมาใหม่จะต้องร่วมปรึกษาหารือกันถึงอุปสรรคข้อขัดข้องในการดำเนินการที่ผ่านมาด้วยการเปิดใจวิพากษ์วิจารณ์ซึ่งกันและกันอย่างตรงไปตรงมาเพื่อกำหนดบทบาทกันใหม่
2. ร่วมกันพิจารณาปรับใหญ่ ครม. ด้วยการเฟ้นหาบุคคลที่มีความเหมาะสม มีความเข้าใจในภารกิจที่แท้จริงของรัฐบาลในภาวะการณ์เช่นนี้ ซึ่งก็คือการทำหน้าที่ชำระล้างความเลวร้ายและความเสื่อมโทรมของประเทศเพื่อที่จะเร่งฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ และมีความมุ่งมั่นโดยไม่หวั่นเกรงผลกระทบต่อส่วนบุคคล อันอาจจะเกิดขึ้นจากการทำหน้าที่และหากใครไม่มีความพร้อมเช่นว่านี้ก็ต้องถือว่าขาดคุณสมบัติไม่ว่าจะเป็นรัฐมนตรีที่เข้ามาใหม่ หรือรัฐมนตรีเก่าที่เป็นอยู่เดิม รวมทั้งต้องไม่มีเรื่องของความเป็นเครือญาติ เพื่อนร่วมรุ่น หรือแม้แต่จะเป็นเด็กฝากของใครเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
3. ไม่ควรมีบุคคลที่เคยร่วมงานกับรัฐบาลชุดก่อนเพิ่มเติมเข้ามาเป็นรัฐมนตรีให้เป็นที่คัดค้านและเป็นปัญหาต่อไปอีก
4. โดยที่ปัญหาเศรษฐกิจและปัญหาความมั่นคงปลอดภัย เป็นปัญหาใหญ่ที่เผชิญหน้าอยุ่ ทั้งงานสร้างความเข้าใจเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงภายในประเทศก็ยังไม่มีความก้าวหน้าเท่าที่ควร ทีมงานรัฐมนตรีในส่วนนี้จึงต้องเป็นทีมใหญ่ที่ได้รับความเชื่อถือในศักยภาพและมีความเป็นเอกภาพในการทำงาน
5. รัฐมนตรีต้องมีสมรรถภาพในการควบคุมบังคับบัญชาข้าราชการและพนักงานของรัฐในการให้ความร่วมมือกับ คตส. และหน่วยงานตรวจสอบอื่น รวมทั้งปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาลได้เป็นอย่างดี ไม่มีภาวะเกียร์ว่าง และถ้าหากมีก็ต้องถือว่ารัฐมนตรีผู้บังคับบัญชาขาดคุณสมบัติอันพึงประสงค์
เพียงเท่านี้ก็น่าจะช่วยให้การเผชิญปัญหาอยู่ในสภาพที่มีความพร้อมมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ คนดูอย่างเรา ๆ ท่าน ๆ จะได้ไม่ต้องใจหายใจคว่ำอยู่บ่อย ๆ ด้วยความห่วงใยอนาคตของประเทศ.
....................................................................................................................................
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 1 มี.ค. 2550--จบ--