ทั้งนี้ ผม และ ดร.คุณหญิง กัลยา โสภณพนิช รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ได้ร่วมกันแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนทุกแขนงเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๕ ส.ค.ที่ผ่านมาว่า ประเทศไทยกำลังเผชิญหน้ากับปัญหาการพัฒนาประเทศครั้งใหญ่ในระดับโครงสร้างพื้นฐานสำคัญนั่นคือความอ่อนแอทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหลังจากสถาบันจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขัน (National Competitiveness)ระดับโลก ๒ สถาบันได้แก่ ไอเอ็มดี.(International Institute for Management Development : IMD) และ ดับเบิลยูอีเอฟ.(World Economic Forum : WEF)จัดลำดับความสามารถของประเทศไทยในปี ๒๕๕๐ ลดลง ด้วยเหตุนี้พรรคประชาธิปัตย์โดยวิสัยทัศน์ของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคจึงมีนโยบายให้พลิกวิกฤติเป็นโอกาสด้วยการกำหนดแนวทางการปฏิรูปวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นธงนำของยุทธศาสตร์ในการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศเพื่อปรับรากฐานระดับโครงสร้างของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศครั้งใหญ่โดยจะมีการระดมความเห็นของนักวิทยาศาสตร์ระดับแนวหน้าของประเทศอาทิ ศ.ดร. ไพรัช ธัชยพงษ์ รศ.ดร.ศักรินทร์ ภูมิรัตน ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ศ.ดร.มรกต ตันติเจริญ รศ.ดร.ปริทรรศน์ พันธุบรรยงก์ ดร.พันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ ศ.ดร. วิวัฒน์ ตัณฑะพานิชกุล ดร.ศุภชัย หล่อโลหการ ดร.เกรียงศักดิ์ ศิริพงษาโรจน์ ดร.ภาวดี อังค์วัฒนะ และดร.รุ่งเรือง ลิ้ม ชูปฏิภาณ์ ผู้เขียนหนังสือ “ การสร้างศักยภาพการแข่งขันของประเทศไทย”ร่วมเสวนาเชิงนโยบาย ในวันจันทร์ที่ ๖ สิงหาคมนี้ เวลา ๑๓.๐๐ น.ที่พรรคประชาธิปัตย์เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยก้าวสู่สังคมฐานความรู้ (Knowledge-based society)
ผมคิดว่า ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ เราได้เห็นการฟื้นตัวอย่างรวดเร็วของประเทศผู้พ่ายแพ้สงครามอย่างเยอรมันและญี่ปุ่นที่บ้านเมืองพังพินาศอย่างยับเยินเพราะภัยสงครามสามารถกลับมายืนผงาดเป็นประเทศชั้นนำของโลกระดับแนวหน้าภายในเวลาไม่กี่สิบปี หรือประเทศคอมมิวนิสต์อย่างประเทศจีนที่เพิ่งเปิดประเทศได้ ๑๐ กว่าปีก็สามารถพัฒนาประเทศแบบก้าวกระโดดจนมีอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจสูงที่สุดในโลกต่อเนื่องหลายปีติดต่อกัน เช่นเดียวกับ ประเทศเกาหลีที่พ้นจากสงครามคาบสมุทรเกาหลีได้ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศขับเคลื่อนประเทศชาติสู่ความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจจนบริษัทชั้นนำของเกาหลี สามารถยึดท็อปเทนของโลกธุรกิจได้อย่างน่าประหลาดใจหลายบริษัทเช่นซัมซุงเป็นต้น แม้แต่ประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มอาเซียนอย่าง สิงคโปร์ และมาเลเซียก็อาศัยการวิจัยและพัฒนา(R&D)สร้างรายได้ต่อหัวให้กับประชากร(per capita)เหนือกว่าประชาชนคนไทยไปไกลมาก
หากเราไม่ตื่นจากหลับหรือขยับตัวเดินแบบก้าวกระโดด ประเทศไทยจะตกขบวนรถไฟแห่ง การแข่งขันในเวทีโลกและเหลือทิ้งไว้แต่ความล้าหลังของประเทศและความยากจนของประชาชนตลอดไป
วันนี้ประเทศไทยจะต้องแก้จุดอ่อนสร้างจุดแข็งและเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีครั้งใหญ่บนความร่วมมือ ๓ ประสานระหว่างภาครัฐภาคเอกชนและภาควิชาการ โดยเฉพาะการเพิ่มงบสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา (R&D) การทุ่มเทสร้างนักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รุ่นใหม่ และการต่อยอดงานวิจัยและนวัตกรรมใหม่สู่ตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ
การจัดตั้งอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Science & Technology Park)หรือ S&T Park เพื่อเป็นศูนย์กลางการวิจัยและพัฒนาในทุกจังหวัดด้วยการผนึกกำลัง ๓ ประสานโดยให้สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาในแต่ละจังหวัดเป็นพื้นที่ดำเนินการจับคู่กับบริษัทเอกชนโดยมีรัฐบาลสนับสนุนด้านนโยบายและงบประมาณอาร์แอนด์ดีจะเป็นสูตรใหม่ในการขับเคลื่อนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโฉมใหม่ของประเทศไทยภายใต้แนวทางของพรรคประชาธิปัตย์พร้อมกับการขยายโครงข่ายไอซีที.(ICT) เช่นอินเตอร์เน็ทความเร็วสูงให้ครอบคลุมอย่างทั่วถึงและการส่งเสริมการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างจริงจังเพื่อสร้างคนไทยพันธุ์ใหม่ที่มีความรู้ความคิดแบบริเริ่มสร้างสรรค์ (Creative & Innovative Thinking) ก็เป็นส่วนหนึ่งในแผนกลยุทธ์ของประเทศไทยในยุคสมัยที่ท้าทายนี้
โลกในยุคโลกาภิวัตน์ (Globalisation) ที่แข่งขันกันด้วยฐานความรู้(knowledge based)ความเร็ว(Speed)และประสิทธิภาพการบริหารจัดการ (Management efficiency)ภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศ (National competitiveness)เป็นสภาพแวดล้อมที่ประเทศไทยจะต้องปฏิรูปตัวเองเพื่อความอยู่รอดและความเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืน
วาระแห่งชาติทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีถือเป็นแนวรบใหม่ที่พรรคประชาธิปัตย์ ภายใต้การนำของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะพร้อมขับเคลื่อนเชิงยุทธศาสตร์(Strategic movement) ผลักดันประเทศสู่จุดเปลี่ยนของประเทศไทยเพื่ออนาคตที่ดีขึ้นสำหรับคนไทยทุกคน.
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 5 ส.ค. 2550--จบ--
ผมคิดว่า ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ เราได้เห็นการฟื้นตัวอย่างรวดเร็วของประเทศผู้พ่ายแพ้สงครามอย่างเยอรมันและญี่ปุ่นที่บ้านเมืองพังพินาศอย่างยับเยินเพราะภัยสงครามสามารถกลับมายืนผงาดเป็นประเทศชั้นนำของโลกระดับแนวหน้าภายในเวลาไม่กี่สิบปี หรือประเทศคอมมิวนิสต์อย่างประเทศจีนที่เพิ่งเปิดประเทศได้ ๑๐ กว่าปีก็สามารถพัฒนาประเทศแบบก้าวกระโดดจนมีอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจสูงที่สุดในโลกต่อเนื่องหลายปีติดต่อกัน เช่นเดียวกับ ประเทศเกาหลีที่พ้นจากสงครามคาบสมุทรเกาหลีได้ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศขับเคลื่อนประเทศชาติสู่ความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจจนบริษัทชั้นนำของเกาหลี สามารถยึดท็อปเทนของโลกธุรกิจได้อย่างน่าประหลาดใจหลายบริษัทเช่นซัมซุงเป็นต้น แม้แต่ประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มอาเซียนอย่าง สิงคโปร์ และมาเลเซียก็อาศัยการวิจัยและพัฒนา(R&D)สร้างรายได้ต่อหัวให้กับประชากร(per capita)เหนือกว่าประชาชนคนไทยไปไกลมาก
หากเราไม่ตื่นจากหลับหรือขยับตัวเดินแบบก้าวกระโดด ประเทศไทยจะตกขบวนรถไฟแห่ง การแข่งขันในเวทีโลกและเหลือทิ้งไว้แต่ความล้าหลังของประเทศและความยากจนของประชาชนตลอดไป
วันนี้ประเทศไทยจะต้องแก้จุดอ่อนสร้างจุดแข็งและเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีครั้งใหญ่บนความร่วมมือ ๓ ประสานระหว่างภาครัฐภาคเอกชนและภาควิชาการ โดยเฉพาะการเพิ่มงบสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา (R&D) การทุ่มเทสร้างนักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รุ่นใหม่ และการต่อยอดงานวิจัยและนวัตกรรมใหม่สู่ตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ
การจัดตั้งอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Science & Technology Park)หรือ S&T Park เพื่อเป็นศูนย์กลางการวิจัยและพัฒนาในทุกจังหวัดด้วยการผนึกกำลัง ๓ ประสานโดยให้สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาในแต่ละจังหวัดเป็นพื้นที่ดำเนินการจับคู่กับบริษัทเอกชนโดยมีรัฐบาลสนับสนุนด้านนโยบายและงบประมาณอาร์แอนด์ดีจะเป็นสูตรใหม่ในการขับเคลื่อนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโฉมใหม่ของประเทศไทยภายใต้แนวทางของพรรคประชาธิปัตย์พร้อมกับการขยายโครงข่ายไอซีที.(ICT) เช่นอินเตอร์เน็ทความเร็วสูงให้ครอบคลุมอย่างทั่วถึงและการส่งเสริมการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างจริงจังเพื่อสร้างคนไทยพันธุ์ใหม่ที่มีความรู้ความคิดแบบริเริ่มสร้างสรรค์ (Creative & Innovative Thinking) ก็เป็นส่วนหนึ่งในแผนกลยุทธ์ของประเทศไทยในยุคสมัยที่ท้าทายนี้
โลกในยุคโลกาภิวัตน์ (Globalisation) ที่แข่งขันกันด้วยฐานความรู้(knowledge based)ความเร็ว(Speed)และประสิทธิภาพการบริหารจัดการ (Management efficiency)ภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศ (National competitiveness)เป็นสภาพแวดล้อมที่ประเทศไทยจะต้องปฏิรูปตัวเองเพื่อความอยู่รอดและความเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืน
วาระแห่งชาติทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีถือเป็นแนวรบใหม่ที่พรรคประชาธิปัตย์ ภายใต้การนำของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะพร้อมขับเคลื่อนเชิงยุทธศาสตร์(Strategic movement) ผลักดันประเทศสู่จุดเปลี่ยนของประเทศไทยเพื่ออนาคตที่ดีขึ้นสำหรับคนไทยทุกคน.
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 5 ส.ค. 2550--จบ--