ภาพรวมอุตสาหกรรม
ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2549 พบว่าดุลการค้าของประเทศไทยมีการขาดดุลสำหรับอุตสาหกรรมนี้อยู่ประมาณ 74.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
หรือประมาณ 2,726.42 ล้านบาท ซึ่งประเทศไทยยังคงมีการขาดดุลในอุตสาหกรรมนี้อยู่ (อัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ย 36.65บาท/US$ คำนวณจากอัตรา
แลกเปลี่ยนเฉลี่ยประจำเดือน ต.ค.—ธ.ค.49)
ยอดขายในประเทศของผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2549 ลดลงเนื่องจากกำลังซื้อที่ลดลงและมีการชะลอการบริโภค ทั้งนี้
ปัจจัยที่ทำให้ค่าใช้จ่ายแพงขึ้น เช่น ราคาน้ำมัน ราคาสินค้า และความไม่มั่นใจต่อภาวะการเมืองของไทยที่ส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจประเทศ
อุตสาหกรรมพลาสติกส่วนใหญ่จึงต้องชะลอการลงทุนเพื่อประเมินสถานการณ์อีกครั้ง
การส่งออกของภาคอุตสาหกรรมนับว่าได้รับผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทที่แข็งค่าเพิ่มขึ้นในช่วงที่ผ่านมาและทำให้ความได้เปรียบ
ด้านการแข่งขันของไทยลดลง ซึ่งผลิตภัณฑ์พลาสติกนับเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากการที่เงินบาทแข็งค่ามากที่สุดในระยะนี้ นอกจากนี้
ปัจจัยวัตถุดิบของอุตสาหกรรมพลาสติกได้แก่ เม็ดพลาสติกที่ได้ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงสิ้นปี 2549 สวนทางจากในอดีตที่ราคาเม็ดพลาสติกจะอ่อนตัวลงใน
ช่วงปลายปี เนื่องจากจีนได้มีการลดภาษีนำเข้าเม็ดพลาสติกลงจากร้อยละ 9 เหลือร้อยละ 6 ทำให้มีการส่งออกเม็ดพลาสติกไปจีนจำนวนมาก ทำให้ผู้
ประกอบการของไทยบางรายที่ไม่ได้สำรองวัตถุดิบไว้ต้องซื้อเม็ดพลาสติกในราคาแพงขึ้นในขณะที่ปริมาณเม็ดพลาสติกตึงตัว
การตลาด
การส่งออก
ไตรมาสที่ 4 ปี 2549 ผลิตภัณฑ์พลาสติกมีมูลค่าการส่งออกรวมทั้งสิ้น 466.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 10.19 เมื่อเทียบ
กับไตรมาสที่แล้ว และลดลงร้อยละ 2.53 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร
กลุ่มประเทศในอาเซียน ออสเตรเลีย และ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นเมื่อเทียบกับค่าเงินของกลุ่มประเทศหลักที่ไทยส่งออกได้ส่งผล
กระทบต่อการส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกของไทยสำหรับไตรมาสที่ 4 ของปี 2549 ทำให้ปริมาณการสั่งซื้อและการส่งออกของ บางกลุ่มผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้น
เพียงเล็กน้อยหรือเพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่ผ่านมา
สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าส่งออกสูงสุด คือ แผ่นฟิมล์ฟอยล์และแถบ มีมูลค่าการส่งออก 128.0 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 12.45
เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และลดลงร้อยละ 7.71 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน รองลงมาได้แก่ ถุงและกระสอบพลาสติก มีมูลค่าส่ง
ออก 124.4 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 10.50 เทียบกับไตรมาสที่แล้ว และลดลงร้อยละ 6.82 เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ประเภทผลิตภัณฑ์ มูลค่าส่งออก (ล้านเหรียญสหรัฐฯ) Q4/2549 เทียบกับ Q4/2549 เทียบกับ
2548 2549 Q3/2548 Q4/2548 Q3/2549 Q4/2549 Q3/2549 Q4/2548
(ร้อยละ) (ร้อยละ)
ถุงและกระสอบพลาสติก 518.8 530.4 159 133.5 139 124.4 -10.5 -6.82
แผ่นฟิล์ม ฟอยล์และแถบ 536.7 558.7 146 138.7 146.2 128 -12.45 -7.71
เครื่องแต่งกายและของใช้ประกอบฯ 22.6 17.9 6.2 5.1 4.6 3.9 -15.22 -23.53
กล่องหีบที่ทำด้วยพลาสติก 30.9 30 6.8 8.3 8.3 5.4 -34.94 -34.94
เครื่องใช้สำนักงานทำด้วยพลาสติก 22.6 20.2 6.3 5.3 5 4.4 -12 -16.98
หลอดและท่อพลาสติก 41.5 46 10.1 13.3 13.8 8.5 -38.41 -36.09
พลาสติกปูพื้นและผนัง 50.6 59.1 15 13.9 17.4 8.7 -50 -37.41
เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารพลาสติก 84 98.9 22.3 21 24.8 28.6 15.32 36.19
ผลิตภัณฑ์พลาสติกอื่นๆ 551.1 624.2 142.6 139.4 160.2 154.5 -3.56 10.83
รวมทั้งสิ้น 1,858.80 1,985.40 514.3 478.5 519.3 466.4 -10.19 -2.53
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
การนำเข้า
ไตรมาสที่ 4 ปี 2549 ผลิตภัณฑ์พลาสติกมีมูลค่าการนำเข้ารวมทั้งสิ้น 540.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 6.74 เมื่อเทียบกับ
ไตรมาสที่แล้ว แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.28 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา จีน เยอรมนี และ
กลุ่มประเทศอาเซียน สำหรับแผ่นฟิมล์ ฟลอย์และแถบพลาสติก มีสัดส่วนการนำเข้าลดลงร้อยละ 4.49 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้วและมีมูลค่าการนำ
เข้าลดลงร้อยละ 2.71 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน หลอดและท่อพลาสติก มีมูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 9.09 เมื่อเทียบกับไตรมาส
ที่แล้ว แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.81 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ประเภทผลิตภัณฑ์ มูลค่านำเข้า (ล้านเหรียญสหรัฐฯ) Q4/2549 เทียบกับ Q4/2549 เทียบกับ
2548 2549 Q3/2548 Q4/2548 Q3/2549 Q4/2549 Q3/2549 Q4/2548
(ร้อยละ) (ร้อยละ)
หลอดและท่อพลาสติก 79.7 88.2 18.7 19.3 23.1 21 -9.09 8.81
แผ่นฟิล์ม ฟอยล์และแถบพลาสติก 742.4 767.5 190.2 188.2 191.7 183.1 -4.49 -2.71
ผลิตภัณฑ์พลาสติกอื่นๆ 1,224.00 1,366.90 310.1 316.2 365.1 336.7 -7.78 6.48
รวมทั้งสิ้น 2,046.10 2,222.60 519 523.6 579.9 540.8 -6.74 3.28
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
แนวโน้ม
จากการที่อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทได้แข็งค่าเพิ่มขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ความได้เปรียบด้านการแข่งขันของอุตสาหกรรมพลาสติกไทยลด
ลงและคาดว่าจะส่งผลต่อการส่งออกของอุตสาหกรรมนี้ต่อไป นอกจากนี้ปัจจัยวัตถุดิบของอุตสาหกรรมพลาสติกได้แก่ เม็ดพลาสติกที่ได้ปรับตัวสูงขึ้นใน
ช่วงสิ้นปี 2549 เนื่องจากจีนได้มีการลดภาษีนำเข้าเม็ดพลาสติกลง ทำให้มีการส่งออกเม็ดพลาสติกไปจีนจำนวนมาก และทำให้ผู้ประกอบการของไทย
บางรายที่ไม่ได้สำรองวัตถุดิบไว้ต้องซื้อเม็ดพลาสติกในราคาแพงขึ้น
นอกจากนี้การเปิดเขตเสรีทางการค้ายังส่งผลให้เกิดการแข่งขันมากยิ่งขึ้น โดยในการส่งออกยังคงมีปัจจัยภายนอกที่ส่งผลกระทบสูงต่อยอด
การส่งออก เช่น มาตรการ Anti-Dumping(การตอบโต้การทุ่มตลาด ) หรือ การตัดสิทธ์จีเอสพี ทำให้บริษัทต่างชาติบางแห่งได้ย้ายฐานการผลิต
ไปประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เวียดนามเพื่อหนีการตอบโต้การทุ่มตลาด และส่งผลให้กำลังการผลิตโดยรวมลดลงประมาณ 3-4 พันตันต่อเดือน
การจำหน่ายในประเทศคาดว่าจะทรงตัวตามภาวะเศรษฐกิจโดยรวม ทั้งนี้ในส่วนของบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารแช่แข็ง
คาดว่าจะสามารถขยายตัวได้ดีตามภาวะของอุตสาหกรรมนั้นๆ
นอกจากนี้ภาครัฐ เช่น กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้เริ่มสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมพลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ ภาย
ใต้การยกร่างแผนที่นำทางแห่งชาติ ซึ่งจะส่งผลดีต่อการพัฒนานวัตกรรมของภาคอุตสาหกรรมนี้ที่ควรให้การสนับสนุนเพราะสามารถตอบสนองอุปสงค์ใน
ตลาดต่างประเทศที่ได้เริ่มรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อมแล้วอย่างต่อเนื่อง
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2549 พบว่าดุลการค้าของประเทศไทยมีการขาดดุลสำหรับอุตสาหกรรมนี้อยู่ประมาณ 74.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
หรือประมาณ 2,726.42 ล้านบาท ซึ่งประเทศไทยยังคงมีการขาดดุลในอุตสาหกรรมนี้อยู่ (อัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ย 36.65บาท/US$ คำนวณจากอัตรา
แลกเปลี่ยนเฉลี่ยประจำเดือน ต.ค.—ธ.ค.49)
ยอดขายในประเทศของผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2549 ลดลงเนื่องจากกำลังซื้อที่ลดลงและมีการชะลอการบริโภค ทั้งนี้
ปัจจัยที่ทำให้ค่าใช้จ่ายแพงขึ้น เช่น ราคาน้ำมัน ราคาสินค้า และความไม่มั่นใจต่อภาวะการเมืองของไทยที่ส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจประเทศ
อุตสาหกรรมพลาสติกส่วนใหญ่จึงต้องชะลอการลงทุนเพื่อประเมินสถานการณ์อีกครั้ง
การส่งออกของภาคอุตสาหกรรมนับว่าได้รับผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทที่แข็งค่าเพิ่มขึ้นในช่วงที่ผ่านมาและทำให้ความได้เปรียบ
ด้านการแข่งขันของไทยลดลง ซึ่งผลิตภัณฑ์พลาสติกนับเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากการที่เงินบาทแข็งค่ามากที่สุดในระยะนี้ นอกจากนี้
ปัจจัยวัตถุดิบของอุตสาหกรรมพลาสติกได้แก่ เม็ดพลาสติกที่ได้ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงสิ้นปี 2549 สวนทางจากในอดีตที่ราคาเม็ดพลาสติกจะอ่อนตัวลงใน
ช่วงปลายปี เนื่องจากจีนได้มีการลดภาษีนำเข้าเม็ดพลาสติกลงจากร้อยละ 9 เหลือร้อยละ 6 ทำให้มีการส่งออกเม็ดพลาสติกไปจีนจำนวนมาก ทำให้ผู้
ประกอบการของไทยบางรายที่ไม่ได้สำรองวัตถุดิบไว้ต้องซื้อเม็ดพลาสติกในราคาแพงขึ้นในขณะที่ปริมาณเม็ดพลาสติกตึงตัว
การตลาด
การส่งออก
ไตรมาสที่ 4 ปี 2549 ผลิตภัณฑ์พลาสติกมีมูลค่าการส่งออกรวมทั้งสิ้น 466.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 10.19 เมื่อเทียบ
กับไตรมาสที่แล้ว และลดลงร้อยละ 2.53 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร
กลุ่มประเทศในอาเซียน ออสเตรเลีย และ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นเมื่อเทียบกับค่าเงินของกลุ่มประเทศหลักที่ไทยส่งออกได้ส่งผล
กระทบต่อการส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกของไทยสำหรับไตรมาสที่ 4 ของปี 2549 ทำให้ปริมาณการสั่งซื้อและการส่งออกของ บางกลุ่มผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้น
เพียงเล็กน้อยหรือเพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่ผ่านมา
สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าส่งออกสูงสุด คือ แผ่นฟิมล์ฟอยล์และแถบ มีมูลค่าการส่งออก 128.0 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 12.45
เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และลดลงร้อยละ 7.71 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน รองลงมาได้แก่ ถุงและกระสอบพลาสติก มีมูลค่าส่ง
ออก 124.4 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 10.50 เทียบกับไตรมาสที่แล้ว และลดลงร้อยละ 6.82 เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ประเภทผลิตภัณฑ์ มูลค่าส่งออก (ล้านเหรียญสหรัฐฯ) Q4/2549 เทียบกับ Q4/2549 เทียบกับ
2548 2549 Q3/2548 Q4/2548 Q3/2549 Q4/2549 Q3/2549 Q4/2548
(ร้อยละ) (ร้อยละ)
ถุงและกระสอบพลาสติก 518.8 530.4 159 133.5 139 124.4 -10.5 -6.82
แผ่นฟิล์ม ฟอยล์และแถบ 536.7 558.7 146 138.7 146.2 128 -12.45 -7.71
เครื่องแต่งกายและของใช้ประกอบฯ 22.6 17.9 6.2 5.1 4.6 3.9 -15.22 -23.53
กล่องหีบที่ทำด้วยพลาสติก 30.9 30 6.8 8.3 8.3 5.4 -34.94 -34.94
เครื่องใช้สำนักงานทำด้วยพลาสติก 22.6 20.2 6.3 5.3 5 4.4 -12 -16.98
หลอดและท่อพลาสติก 41.5 46 10.1 13.3 13.8 8.5 -38.41 -36.09
พลาสติกปูพื้นและผนัง 50.6 59.1 15 13.9 17.4 8.7 -50 -37.41
เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารพลาสติก 84 98.9 22.3 21 24.8 28.6 15.32 36.19
ผลิตภัณฑ์พลาสติกอื่นๆ 551.1 624.2 142.6 139.4 160.2 154.5 -3.56 10.83
รวมทั้งสิ้น 1,858.80 1,985.40 514.3 478.5 519.3 466.4 -10.19 -2.53
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
การนำเข้า
ไตรมาสที่ 4 ปี 2549 ผลิตภัณฑ์พลาสติกมีมูลค่าการนำเข้ารวมทั้งสิ้น 540.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 6.74 เมื่อเทียบกับ
ไตรมาสที่แล้ว แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.28 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา จีน เยอรมนี และ
กลุ่มประเทศอาเซียน สำหรับแผ่นฟิมล์ ฟลอย์และแถบพลาสติก มีสัดส่วนการนำเข้าลดลงร้อยละ 4.49 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้วและมีมูลค่าการนำ
เข้าลดลงร้อยละ 2.71 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน หลอดและท่อพลาสติก มีมูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 9.09 เมื่อเทียบกับไตรมาส
ที่แล้ว แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.81 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ประเภทผลิตภัณฑ์ มูลค่านำเข้า (ล้านเหรียญสหรัฐฯ) Q4/2549 เทียบกับ Q4/2549 เทียบกับ
2548 2549 Q3/2548 Q4/2548 Q3/2549 Q4/2549 Q3/2549 Q4/2548
(ร้อยละ) (ร้อยละ)
หลอดและท่อพลาสติก 79.7 88.2 18.7 19.3 23.1 21 -9.09 8.81
แผ่นฟิล์ม ฟอยล์และแถบพลาสติก 742.4 767.5 190.2 188.2 191.7 183.1 -4.49 -2.71
ผลิตภัณฑ์พลาสติกอื่นๆ 1,224.00 1,366.90 310.1 316.2 365.1 336.7 -7.78 6.48
รวมทั้งสิ้น 2,046.10 2,222.60 519 523.6 579.9 540.8 -6.74 3.28
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
แนวโน้ม
จากการที่อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทได้แข็งค่าเพิ่มขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ความได้เปรียบด้านการแข่งขันของอุตสาหกรรมพลาสติกไทยลด
ลงและคาดว่าจะส่งผลต่อการส่งออกของอุตสาหกรรมนี้ต่อไป นอกจากนี้ปัจจัยวัตถุดิบของอุตสาหกรรมพลาสติกได้แก่ เม็ดพลาสติกที่ได้ปรับตัวสูงขึ้นใน
ช่วงสิ้นปี 2549 เนื่องจากจีนได้มีการลดภาษีนำเข้าเม็ดพลาสติกลง ทำให้มีการส่งออกเม็ดพลาสติกไปจีนจำนวนมาก และทำให้ผู้ประกอบการของไทย
บางรายที่ไม่ได้สำรองวัตถุดิบไว้ต้องซื้อเม็ดพลาสติกในราคาแพงขึ้น
นอกจากนี้การเปิดเขตเสรีทางการค้ายังส่งผลให้เกิดการแข่งขันมากยิ่งขึ้น โดยในการส่งออกยังคงมีปัจจัยภายนอกที่ส่งผลกระทบสูงต่อยอด
การส่งออก เช่น มาตรการ Anti-Dumping(การตอบโต้การทุ่มตลาด ) หรือ การตัดสิทธ์จีเอสพี ทำให้บริษัทต่างชาติบางแห่งได้ย้ายฐานการผลิต
ไปประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เวียดนามเพื่อหนีการตอบโต้การทุ่มตลาด และส่งผลให้กำลังการผลิตโดยรวมลดลงประมาณ 3-4 พันตันต่อเดือน
การจำหน่ายในประเทศคาดว่าจะทรงตัวตามภาวะเศรษฐกิจโดยรวม ทั้งนี้ในส่วนของบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารแช่แข็ง
คาดว่าจะสามารถขยายตัวได้ดีตามภาวะของอุตสาหกรรมนั้นๆ
นอกจากนี้ภาครัฐ เช่น กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้เริ่มสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมพลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ ภาย
ใต้การยกร่างแผนที่นำทางแห่งชาติ ซึ่งจะส่งผลดีต่อการพัฒนานวัตกรรมของภาคอุตสาหกรรมนี้ที่ควรให้การสนับสนุนเพราะสามารถตอบสนองอุปสงค์ใน
ตลาดต่างประเทศที่ได้เริ่มรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อมแล้วอย่างต่อเนื่อง
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-