ภาวะเศรษฐกิจการเงินภาคเหนือเดือนมิถุนายน 2550 ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนส่วนหนึ่งได้รับแรงกระตุ้นจากการเบิกจ่ายงบประมาณของภาครัฐที่เร่งตัวขึ้น โดยด้านอุปสงค์ การลงทุนภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อน ส่วนการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนยังคงชะลอตัวตามการใช้จ่ายอย่างระมัดระวังของผู้บริโภค ขณะที่การส่งออกและนำเข้าลดลง ด้านอุปทาน รายได้ของเกษตรกรขยายตัวจากทั้งด้านผลผลิตและราคาพืชหลัก ส่วนการผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลงตามการผลิตเพื่อการส่งออกและความต้องการบริโภคในประเทศที่ชะลอลง ขณะที่ภาคบริการลดลงตามฤดูกาล ดัชนีราคาผู้บริโภคเร่งตัวจากเดือนก่อน ขณะที่เงินฝากเร่งตัว ส่วนสินเชื่อขยายตัวอยู่ในระดับเดียวกับเดือนก่อน
ครึ่งแรกปี 2550 ภาวะเศรษฐกิจการเงินภาคเหนือ ขยายตัวในอัตราชะลอลงจากระยะเดียวกันปีก่อน แต่ปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้นช่วงไตรมาสที่ 2 เนื่องจากมีแรงกระตุ้นจากการเบิกจ่ายงบประมาณของภาครัฐที่เร่งตัวขึ้น โดยด้านอุปสงค์ การลงทุนภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้นจากภาคก่อสร้างในช่วงไตรมาสที่ 2 สำหรับการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนอยู่ในเกณฑ์ชะลอตัวตามการชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจโดยรวม ขณะที่การส่งออกและนำเข้าลดลง ด้านอุปทาน รายได้ของเกษตรกรเร่งตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนตามผลผลิตที่เพิ่มขึ้น ส่วนการผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลงตามการผลิตเพื่อการส่งออกและการชะลอการบริโภคในประเทศเป็นสำคัญ ขณะที่ภาคบริการทรงตัวในระดับเดียวกันปีก่อน ดัชนีราคาผู้บริโภคชะลอลง
รายละเอียดของแต่ละภาคเศรษฐกิจ มีดังนี้
1. ภาคเกษตร เดือนมิถุนายน 2550 รายได้ของเกษตรกรในภาคเหนือเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 16.7 ใกล้เคียงกับเดือนก่อน จากการเพิ่มขึ้นของผลผลิตพืชหลักที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.9 ได้แก่ ข้าวนาปรังเพิ่มขึ้นมากจากระยะเดียวกันปีก่อน เป็นผลจากการขยายพื้นที่เพาะปลูก ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.6 ส่วนผลผลิตลิ้นจี่ลดลงเล็กน้อยร้อยละ 1.4 เนื่องจากสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวย และสับปะรดลดลงร้อยละ 5.8 เนื่องจากราคาปีก่อนไม่จูงใจ ด้านราคาพืชสำคัญเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 ปรับตัวขึ้นจากเดือนก่อน โดยราคาลิ้นจี่สูงขึ้นร้อยละ 5.0 ตามปริมาณผลผลิตที่ลดลงประกอบกับการกระจายสินค้าออกนอกแหล่งผลิตในช่วงที่ผลผลิตออกมาก และการจัดกิจกรรมส่งเสริมการจำหน่าย ราคาข้าวโพดเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.7 ตามอุปสงค์ของอุตสาหกรรมเลี้ยงสัตว์ ขณะที่ราคาสับปะรดโรงงานเพิ่มขึ้นกว่า 3.3 เท่าตัว เนื่องจากปริมาณผลผลิตลดลง ส่วนราคาข้าวนาปรังลดลงร้อยละ 4.3 เนื่องจากเกษตรกรเร่งจำหน่ายประกอบกับข้าวมีความชื้นสูง
ครึ่งแรก ปี 2550 รายได้ของเกษตรกรในภาคเหนือเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.9 เร่งตัวขึ้นเทียบกับ ร้อยละ 17.3 ระยะเดียวกันปีก่อน โดยผลผลิตพืชสำคัญ เร่งตัวขึ้นร้อยละ 17.7 จากการเพิ่มขึ้นของผลผลิตข้าวนาปรัง เนื่องจากการขยายพื้นที่เพาะปลูกเป็นสำคัญ ส่วนอ้อยโรงงาน ผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 39.3 เป็นผลจากสภาพอากาศเอื้ออำนวยและราคาในปีก่อนที่อยู่ในเกณฑ์ดีจูงใจให้เกษตรกรขยายพื้นที่เพาะปลูก และมันสำปะหลังเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.2 จากการปลูกเพื่อทดแทนพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ส่วนกระเทียมลดลงร้อยละ 8.7 ตามมาตรการลดพื้นที่เพาะปลูกของภาครัฐในช่วงที่ผ่านมา สำหรับผลผลิตข้าวนาปีลดลงร้อยละ 4.0 เนื่องจากแหล่งเพาะปลูกสำคัญประสบปัญหาน้ำท่วม ทางด้านราคาพืชหลักเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 ตามราคาอ้อยโรงงานที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 เนื่องจากผลผลิตมีคุณภาพสูงขึ้นโดยค่าเฉลี่ยความหวานสูงขึ้น ราคาข้าวเปลือกเหนียวนาปี กระเทียม และถั่วเหลือง เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 58.6 ร้อยละ 37.1 และร้อยละ 1.6 ตามลำดับ เนื่องจากอุปสงค์เพิ่มขึ้นขณะที่ผลผลิตลดลง ส่วนราคาข้าวเปลือกเจ้านาปรังเฉลี่ยลดลงร้อยละ 4.9
2. ภาคอุตสาหกรรม เดือนมิถุนายน 2550 การผลิตภาคอุตสาหกรรมในภาคเหนือลดลง โดยอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อส่งออกในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 11.2 เหลือ 158.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยสินค้าสำคัญที่ลดลงได้แก่ ส่วนประกอบ Hard disk drive และเลนส์สำหรับกล้องถ่ายรูป โดยลดลงร้อยละ 34.3 และร้อยละ 13.7 ตามลำดับ ส่วนการผลิตวัสดุก่อสร้างเพิ่มขึ้นหลังจากลดลงมาตลอด 5 เดือนที่ผ่านมา ตามความต้องการใช้ในโครงการของภาครัฐที่เป็นโครงการต่อเนื่อง โดยเฉพาะในจังหวัดเชียงใหม่ ทางด้านปริมาณการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มหมวดอุตสาหกรรมของภาคเหนือลดลงร้อยละ 17.6 เหลือ 178.5 ล้านบาท
ครึ่งแรกปี 2550 การผลิตภาคอุตสาหกรรมในภาคเหนือลดลง โดยอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อส่งออกในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.4 เหลือ 936.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสที่ 2 เนื่องจากการผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ประเภทส่วนประกอบ Hard disk drive ลดลงจากการปรับเปลี่ยนการผลิตสินค้าให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีใหม่ และการผลิตแผงสัญญาณทำด้วยผลึกเหลว (LCD) ลดลงตามการชะลอตัวของความต้องการในตลาดโลก ส่วนการผลิตวัสดุก่อสร้างลดลงจากภาวะการลงทุนภาคก่อสร้างที่ชะลอลงทั้งการก่อสร้างภาครัฐและเอกชน อย่างไรก็ดี การผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงปลายไตรมาสที่ 2 เนื่องจากมีความต้องการใช้เพิ่มขึ้นทั้งในประเทศและส่งออกผ่านด่านชายแดน ในส่วนของการผลิตน้ำตาลมีผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 36.9 เป็น 1,808.8 พันเมตริกตัน ตามผลผลิตอ้อยที่ขยายตัวในเกณฑ์ดี และการผลิตเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 19.0ทางด้านปริมาณการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มหมวดอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 14.7 เป็น 1,433.1 ล้านบาท
3. ภาคบริการ เดือนมิถุนายน 2550 ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนและเดือนก่อนตามฤดูกาล โดยกลุ่มนักท่องเที่ยวในประเทศและกลุ่มประชุมสัมมนาลดลง ประกอบกับเป็นช่วงฤดูฝนรวมทั้งประชาชนยังคงระมัดระวังการใช้จ่าย อย่างไรก็ดี เครื่องชี้ภาคบริการที่สำคัญ ได้แก่ จำนวนผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยานกลับเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.3 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 1.1 เดือนก่อน เป็นผลจากการส่งเสริมการขายของสายการบินในประเทศ โดยปรับลดราคาค่าโดยสารส่งผลให้ผู้เดินทางส่วนหนึ่งปรับเปลี่ยนมาใช้บริการเครื่องบินเพิ่มขึ้น อัตราการเข้าพักของโรงแรมอยู่ที่ระดับร้อยละ 38.3 ใกล้เคียงกับระยะเดียวกันปีก่อน แต่เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 37.5 เดือนก่อน สำหรับราคาห้องพักเฉลี่ย 841.6 บาทต่อห้องต่อวัน ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.8 ทางด้านปริมาณการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มหมวดโรงแรมและภัตตาคารเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 19.2
ครึ่งแรกปี 2550 ภาวะเศรษฐกิจภาคบริการทรงตัวจากระยะเดียวกันปีก่อน โดยในช่วงต้นปีได้รับผลดีจากการจัดงานพืชสวนโลก “ราชพฤกษ์ 2549” ส่งผลให้นักท่องเที่ยวชาวไทยเดินทางเข้ามาในพื้นที่ภาคเหนือมากขึ้น ขณะที่นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศประสบปัญหาไม่สามารถจองบัตรโดยสารเครื่องบินและห้องพักได้ ทำให้บางส่วนเลื่อนการเดินทางหรือเปลี่ยนเส้นทางการท่องเที่ยว ภาคบริการชะลอลงในช่วงไตรมาสที่ 2 ตามฤดูกาลประกอบกับได้รับผลกระทบจากปัญหาหมอกควันในช่วงต้นไตรมาสที่ 2 และการอิ่มตัวของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางเข้าชมงานพืชสวนโลกในช่วงต้นปี อย่างไรก็ดี เครื่องชี้ภาคบริการที่สำคัญโดยรวมยังอยู่ในเกณฑ์ดี ได้แก่ ปริมาณการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มหมวดโรงแรมและภัตตาคารเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.3 อัตราการเข้าพักของโรงแรมคิดเป็นร้อยละ 53.1 ใกล้เคียงกับระยะเดียวกันปีก่อน ขณะที่ราคาห้องพักเฉลี่ย 984.7 บาทต่อห้องต่อวัน เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนเล็กน้อยเพียงร้อยละ 1.9 ส่วนจำนวนผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยานเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.5
4. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน เดือนมิถุนายน 2550 การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนของภาคเหนือ ชะลอตัวจากเดือนก่อน พิจารณาจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญได้แก่ ปริมาณการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.9 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 เดือนก่อน ตามการลดลงลงของภาษีมูลค่าเพิ่มหมวดอุตสาหกรรม และค้าส่งค้าปลีก ทางด้านปริมาณการจดทะเบียนรถยนต์โดยรวมลดลงร้อยละ 9.9 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 13.5 เดือนก่อน ซึ่งเป็นการลดลงตามปริมาณการจดทะเบียนรถยนต์เชิงพาณิชย์ที่ลดลงร้อยละ 21.7 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 12.2 เดือนก่อน เป็นสำคัญ อย่างไรก็ตาม ปริมาณการจดทะเบียนรถยนต์นั่งส่วนบุคคลปรับตัวดีขึ้นโดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.3 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 15.4 เดือนก่อน ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการจัดส่งเสริมการขาย สำหรับปริมาณการจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ลดลงร้อยละ 24.2 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 29.9 เดือนก่อน
ครึ่งแรกปี 2550 การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนในภาคเหนือ ชะลอตัวลงตามการใช้จ่ายอย่างระมัดระวังของประชาชนซึ่งเป็นผลจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ลดลง โดยปริมาณการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.1 ชะลอลงจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.4 ระยะเดียวกันปีก่อน สำหรับกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญอื่นๆ ได้แก่ ปริมาณการจดทะเบียนรถยนต์ลดลงร้อยละ 8.5 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 ระยะเดียวกันปีก่อน ส่วนการจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ลดลงร้อยละ 21.1 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 ระยะเดียวกันปีก่อน
5. การลงทุนภาคเอกชน เดือนมิถุนายน 2550 การลงทุนภาคเอกชนของภาคเหนือปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อน สะท้อนจากการขยายตัวของเครื่องชี้สำคัญ ได้แก่ พื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลภาคเหนือที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อนร้อยละ 5.5 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.1 เดือนก่อน โดยเฉพาะการก่อสร้างที่อยู่อาศัย และหอพัก การจัดเก็บค่าธรรมเนียมที่ดินที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 4.6 เดือนก่อน เป็นผลจากมีการซื้อที่ดินเพื่อลงทุนของธุรกิจค้าส่งค้าปลีกขนาดใหญ่ สำหรับการลงทุนของกิจการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนมีมูลค่าเงินลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 57.4 โดยเป็นการลงทุนในหมวดเกษตรกรรมและผลิตผลการเกษตร หมวดบริการและสาธารณูปโภค และหมวดผลิตภัณฑ์กระดาษ และพลาสติก
ครึ่งแรกปี 2550 ภาวะการลงทุนของภาคเอกชนในภาคเหนือปรับตัวดีขึ้นโดยเฉพาะในช่วงไตรมาสที่ 2 โดยผู้ประกอบการที่มีตลาดเฉพาะหรือมีช่องทางการขายเริ่มลงทุนในโครงการขนาดใหญ่โดยเฉพาะโครงการที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ อาคารพักอาศัย อพาร์ทเมนท์ และบ้านจัดสรร โดยเครื่องชี้ภาวะการลงทุนที่สำคัญ ได้แก่ พื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลภาคเหนือเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 18.9 ระยะเดียวกันปีก่อน โดยขยายตัวตามความต้องการสร้างที่อยู่อาศัยและอาคารพาณิชย์ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.5 และร้อยละ 8.5 ตามลำดับ และเพิ่มขึ้นในจังหวัดที่เป็นศูนย์กลางการค้าของภาค ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดพิษณุโลก ทางด้านการจัดเก็บค่าธรรมเนียมที่ดินลดลงร้อยละ 3.2 ต่ำกว่าที่ลดลงร้อยละ 12.2 ระยะเดียวกันปีก่อน สำหรับมูลค่าเงินลงทุนของของกิจการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 61.9 สูงกว่าที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 48.0 ระยะเดียวกันปีก่อน โดยมีการลงทุนมากในหมวดเกษตรกรรมและผลิตผลการเกษตร หมวดอุตสาหกรรมเบา และหมวดบริการและสาธารณูปโภค ส่วนใหญ่เป็นกิจการที่ตั้งอยู่ในจังหวัดลำพูน เชียงใหม่ และพิษณุโลก
6. การค้าต่างประเทศ เดือนมิถุนายน 2550 การส่งออก ผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือมีมูลค่าลดลงโดยต่อเนื่องโดยลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 17.9 เหลือ 188.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 7.6 เดือนก่อน เป็นผลจากการทำพิธีการศุลกากรผ่านระบบ Paperless อีกทั้งมีการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์บางชนิดลดลง ทั้งนี้มูลค่าส่งออกผ่านด่านศุลกากรลำพูนลดลงร้อยละ 28.0 เหลือ 128.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยสินค้าส่งออกสำคัญที่ลดลง ได้แก่ ส่วนประกอบ Hard Disk Drive และเลนส์สำหรับกล้องถ่ายรูป ด้านมูลค่าการส่งออกผ่านด่านท่าอากาศยานเชียงใหม่เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.7 เป็น13.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการส่งออกสินค้าประเภทแก้วและเครื่องแก้วเป็นสำคัญ ส่วนการส่งสินค้าออกผ่านด่านชายแดนมีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.4 เป็น 46.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยมูลค่าการส่งออกไปพม่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 38.8 เป็น 38.3 ล้านดอลลาร์ สรอ.ส่วนมูลค่าการส่งออกไปจีน (ตอนใต้) และลาวลดลงร้อยละ 26.5 และ ร้อยละ 54.0 ตามลำดับ
การนำเข้า ผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือมีมูลค่าลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 18.2 เหลือ 121.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 21.3 เดือนก่อน ตามการนำเข้าผ่านด่านศุลกากรลำพูน ที่ลดลงร้อยละ 22.9 เหลือ 121.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยมีสินค้านำเข้าลดลง ได้แก่ ส่วนประกอบอุปกรณ์ไฟฟ้า และแผงวงจรรวม โดยลดลงร้อยละ 11.1 และร้อยละ 29.2 ตามลำดับ ส่วนการนำเข้าผ่านด่านท่าอากาศยานเชียงใหม่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 41.2 เป็น 5.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 15.0 เดือนก่อน สินค้านำเข้าสำคัญได้แก่ แก้ว เครื่องใช้ไฟฟ้า และเครื่องจักร ทางด้านมูลค่าการนำเข้าผ่านด่านชายแดนเพิ่มขึ้นร้อยละ 34.3 เป็น 10.1 ล้านดอลลาร์ สรอ.โดยมูลค่าการนำเข้าจากพม่าและจีน (ตอนใต้) เพิ่มขึ้นร้อยละ 64.5 และร้อยละ 1.8 ตามลำดับ ขณะที่มูลค่าการนำเข้าจากลาวลดลงร้อยละ 4.0
สำหรับดุลการค้าในเดือนมิถุนายน 2550 เกินดุล 67.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนและเดือนก่อนที่เกินดุล 81.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. และ 102.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามลำดับ
ครึ่งแรกปี 2550 มูลค่าการค้าผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 9.2 เหลือ 1,976.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. ทำให้ดุลการค้าผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือเกินดุล 494.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. สูงกว่าที่เกินดุล 490.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. ระยะเดียวกันปีก่อน การส่งออก ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.4 เหลือ 1,235.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. เป็นผลจากการย้ายการทำพิธีการศุลกากร และ ผู้ส่งออกบางส่วนใช้ระบบ Paperless Customs ในการทำพิธีทางศุลกากร รวมทั้งการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์บางประเภทลดลง ส่งผลให้การส่งออกผ่านด่านศุลกากรลำพูนและด่านท่าอากาศยานเชียงใหม่ลดลงร้อยละ 10.7เหลือ 856.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. และลดลงร้อยละ 18.0 เหลือ 81.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามลำดับ สินค้าสำคัญ ที่ลดลงได้แก่ เครื่องตัดต่อวงจรไฟฟ้า ส่วนประกอบ Hard disk drive หม้อแปลงไฟฟ้าและมอเตอร์ ส่วนการส่งออกชายแดนมีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.1 เป็น 296.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการส่งออกไปพม่าและจีน(ตอนใต้)ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.0 และร้อยละ 16.4 ตามลำดับ ส่วนการส่งออกไปลาวลดลงร้อยละ 8.6
การนำเข้า ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 12.1 เหลือ 740.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. เป็นผลจากการย้ายการทำพิธีการศุลกากร และการลดการนำเข้าวัตถุดิบของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เป็นสำคัญ อีกทั้งระยะเดียวกันปีก่อนมีการนำเข้าวัตถุดิบและเครื่องจักรเพิ่มขึ้นในเกณฑ์สูงเพื่อรองรับการขยายการผลิตของอุตสาหกรรมบางประเภทในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ ส่งผลให้มูลค่าการนำเข้าผ่านด่านศุลกากรลำพูนและด่านท่าอากาศยานเชียงใหม่ลดลงร้อยละ 13.6 เหลือ 655.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. และร้อยละ 2.5 เหลือ 35.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามลำดับ ด้านมูลค่าการนำเข้าผ่านด่านชายแดนเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.0 เป็น 50.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการนำเข้าจากลาวและจีน(ตอนใต้)ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.4 และร้อยละ 19.8 ตามลำดับ ส่วนการนำเข้าจากพม่าลดลงร้อยละ 1.9 เหลือ 27.3 ล้านดอลลาร์ สรอ.
7. การเบิกจ่ายเงินงบประมาณผ่านคลังจังหวัดในภาคเหนือ เดือนมิถุนายน 2550 มีการเบิกจ่ายทั้งสิ้นจำนวน 14,084.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 30.9 ชะลอลงจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 70.7 เดือนก่อน จำแนกเป็นรายจ่ายประจำ 8,305.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.2 เทียบกับเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 เดือนก่อน ส่วนรายจ่ายเพื่อการลงทุนมีจำนวน 5,778.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว แต่ชะลอลงจากที่เพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าตัวเดือนก่อน โดยการเบิกจ่ายเงินมีมากที่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงรายและพิษณุโลก
ครึ่งแรกปี 2550 ภาคเหนือมีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณจำนวน 84,661.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 25.0 จำแนกเป็นรายจ่ายประจำ 49,955.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.9 ส่วนรายจ่ายเพื่อการลงทุนมีทั้งสิ้น 34,706.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 53.5 โดยการใช้จ่ายเพื่อการลงทุนในภาคเหนือเร่งตัวมากในช่วงไตรมาสที่ 2 โดยเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 74.5 เทียบกับเพิ่มขึ้นร้อยละ 35.6 ไตรมาสที่ 1 ปี 2550
8. ระดับราคา เดือนมิถุนายน 2550 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปในภาคเหนือเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.2 เร่งตัวขึ้นจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 เดือนก่อน ตามการสูงขึ้นของราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 6.1 จากการปรับเพิ่มขึ้นของราคาข้าว ผักและผลไม้ โดยเฉพาะข้าวเหนียวที่ปรับเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนถึงร้อยละ 51.2 ส่วนหมวดอื่นๆไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มลดลงร้อยละ 0.2 ตามการลดลงของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง และค่ากระแสไฟฟ้า เป็นสำคัญ
สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.4
ครึ่งแรกปี 2550 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 ชะลอลงเทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0 ระยะเดียวกันปีก่อน ตามราคาสินค้าหมวดอื่นๆไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.4 จากการปรับลดลงของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ลดลงร้อยละ 1.9 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.6 ระยะเดียวกันปีก่อน ส่วนค่าโดยสารสาธารณะเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.7 ต่ำกว่าที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.9 ระยะเดียวกันปีก่อน ทางด้านหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 ตามการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าประเภทผัก ผลไม้ และข้าวเหนียว เป็นสำคัญ
ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 ต่ำกว่าที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 ระยะเดียวกันปีก่อน
9. การจ้างงาน เดือนพฤษภาคม 2550 ภาคเหนือมีกำลังแรงงานรวม 6.55 ล้านคน เป็นผู้มีงานทำ 6.37 ล้านคน ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.4 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 เดือนก่อน ตามการลดลงของการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่ลดลงร้อยละ 5.2 ตามการลดลงของการจ้างงานในสาขาการก่อสร้างร้อยละ 21.4 การค้าส่งค้าปลีกร้อยละ 5.6 และการผลิตร้อยละ 4.1 ส่วนแรงงานในภาคเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 ทางด้านอัตราการว่างงานของภาคเหนืออยู่ที่ ร้อยละ 1.9 ต่ำกว่าร้อยละ 2.2 เดือนก่อน แต่สูงกว่าร้อยละ 1.2 ระยะเดียวกันปีก่อน
สำหรับผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมตามมาตรา 33 ในเดือนมิถุนายน 2550 มีจำนวน 0.60 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนและระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.7 และร้อยละ 2.6 ตามลำดับ
10. การเงิน เดือนพฤษภาคม 2550 ยอดคงค้างเงินฝากที่สาขาธนาคารพาณิชย์ในภาคเหนือ ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2550 มียอดคงค้างทั้งสิ้น 344,956 ล้านบาท ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.1 สูงกว่าอัตราเพิ่มร้อยละ 4.4 เดือนก่อน ส่วนใหญ่เป็นเงินฝากของส่วนราชการ โดยเพิ่มขึ้นมากที่จังหวัดเชียงราย ลำปาง พิษณุโลกและนครสวรรค์ ส่วนเงินให้สินเชื่อ มียอดคงค้าง 277,295 ล้านบาท ขยายตัวเท่ากับเดือนก่อน โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.1 สินเชื่อเพิ่มขึ้นตามความต้องการของธุรกิจจำหน่ายอุปกรณ์ไฟฟ้า โรงแรม เฟอร์นิเจอร์ไม้ โรงสีและสหกรณ์ออมทรัพย์ครู โดยเพิ่มขึ้นมากที่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงรายและเพชรบูรณ์ อย่างไรก็ตาม มีการชำระสินเชื่อของธุรกิจค้าพืชไร่และสหกรณ์ออมทรัพย์ครู ส่งผลให้สินเชื่อลดลงมากที่จังหวัดกำแพงเพชรและพิจิตร รวมทั้งยังมีการโอนย้ายสินเชื่อระหว่างธนาคารพาณิชย์ในธุรกิจโรงสีที่จังหวัดนครสวรรค์
สัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากอยู่ที่ร้อยละ 80.4 สูงขึ้นกว่าร้อยละ 79.0 ระยะเดียวกันปีก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
ครึ่งแรกปี 2550 ภาวะเศรษฐกิจการเงินภาคเหนือ ขยายตัวในอัตราชะลอลงจากระยะเดียวกันปีก่อน แต่ปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้นช่วงไตรมาสที่ 2 เนื่องจากมีแรงกระตุ้นจากการเบิกจ่ายงบประมาณของภาครัฐที่เร่งตัวขึ้น โดยด้านอุปสงค์ การลงทุนภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้นจากภาคก่อสร้างในช่วงไตรมาสที่ 2 สำหรับการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนอยู่ในเกณฑ์ชะลอตัวตามการชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจโดยรวม ขณะที่การส่งออกและนำเข้าลดลง ด้านอุปทาน รายได้ของเกษตรกรเร่งตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนตามผลผลิตที่เพิ่มขึ้น ส่วนการผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลงตามการผลิตเพื่อการส่งออกและการชะลอการบริโภคในประเทศเป็นสำคัญ ขณะที่ภาคบริการทรงตัวในระดับเดียวกันปีก่อน ดัชนีราคาผู้บริโภคชะลอลง
รายละเอียดของแต่ละภาคเศรษฐกิจ มีดังนี้
1. ภาคเกษตร เดือนมิถุนายน 2550 รายได้ของเกษตรกรในภาคเหนือเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 16.7 ใกล้เคียงกับเดือนก่อน จากการเพิ่มขึ้นของผลผลิตพืชหลักที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.9 ได้แก่ ข้าวนาปรังเพิ่มขึ้นมากจากระยะเดียวกันปีก่อน เป็นผลจากการขยายพื้นที่เพาะปลูก ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.6 ส่วนผลผลิตลิ้นจี่ลดลงเล็กน้อยร้อยละ 1.4 เนื่องจากสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวย และสับปะรดลดลงร้อยละ 5.8 เนื่องจากราคาปีก่อนไม่จูงใจ ด้านราคาพืชสำคัญเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 ปรับตัวขึ้นจากเดือนก่อน โดยราคาลิ้นจี่สูงขึ้นร้อยละ 5.0 ตามปริมาณผลผลิตที่ลดลงประกอบกับการกระจายสินค้าออกนอกแหล่งผลิตในช่วงที่ผลผลิตออกมาก และการจัดกิจกรรมส่งเสริมการจำหน่าย ราคาข้าวโพดเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.7 ตามอุปสงค์ของอุตสาหกรรมเลี้ยงสัตว์ ขณะที่ราคาสับปะรดโรงงานเพิ่มขึ้นกว่า 3.3 เท่าตัว เนื่องจากปริมาณผลผลิตลดลง ส่วนราคาข้าวนาปรังลดลงร้อยละ 4.3 เนื่องจากเกษตรกรเร่งจำหน่ายประกอบกับข้าวมีความชื้นสูง
ครึ่งแรก ปี 2550 รายได้ของเกษตรกรในภาคเหนือเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.9 เร่งตัวขึ้นเทียบกับ ร้อยละ 17.3 ระยะเดียวกันปีก่อน โดยผลผลิตพืชสำคัญ เร่งตัวขึ้นร้อยละ 17.7 จากการเพิ่มขึ้นของผลผลิตข้าวนาปรัง เนื่องจากการขยายพื้นที่เพาะปลูกเป็นสำคัญ ส่วนอ้อยโรงงาน ผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 39.3 เป็นผลจากสภาพอากาศเอื้ออำนวยและราคาในปีก่อนที่อยู่ในเกณฑ์ดีจูงใจให้เกษตรกรขยายพื้นที่เพาะปลูก และมันสำปะหลังเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.2 จากการปลูกเพื่อทดแทนพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ส่วนกระเทียมลดลงร้อยละ 8.7 ตามมาตรการลดพื้นที่เพาะปลูกของภาครัฐในช่วงที่ผ่านมา สำหรับผลผลิตข้าวนาปีลดลงร้อยละ 4.0 เนื่องจากแหล่งเพาะปลูกสำคัญประสบปัญหาน้ำท่วม ทางด้านราคาพืชหลักเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 ตามราคาอ้อยโรงงานที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 เนื่องจากผลผลิตมีคุณภาพสูงขึ้นโดยค่าเฉลี่ยความหวานสูงขึ้น ราคาข้าวเปลือกเหนียวนาปี กระเทียม และถั่วเหลือง เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 58.6 ร้อยละ 37.1 และร้อยละ 1.6 ตามลำดับ เนื่องจากอุปสงค์เพิ่มขึ้นขณะที่ผลผลิตลดลง ส่วนราคาข้าวเปลือกเจ้านาปรังเฉลี่ยลดลงร้อยละ 4.9
2. ภาคอุตสาหกรรม เดือนมิถุนายน 2550 การผลิตภาคอุตสาหกรรมในภาคเหนือลดลง โดยอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อส่งออกในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 11.2 เหลือ 158.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยสินค้าสำคัญที่ลดลงได้แก่ ส่วนประกอบ Hard disk drive และเลนส์สำหรับกล้องถ่ายรูป โดยลดลงร้อยละ 34.3 และร้อยละ 13.7 ตามลำดับ ส่วนการผลิตวัสดุก่อสร้างเพิ่มขึ้นหลังจากลดลงมาตลอด 5 เดือนที่ผ่านมา ตามความต้องการใช้ในโครงการของภาครัฐที่เป็นโครงการต่อเนื่อง โดยเฉพาะในจังหวัดเชียงใหม่ ทางด้านปริมาณการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มหมวดอุตสาหกรรมของภาคเหนือลดลงร้อยละ 17.6 เหลือ 178.5 ล้านบาท
ครึ่งแรกปี 2550 การผลิตภาคอุตสาหกรรมในภาคเหนือลดลง โดยอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อส่งออกในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.4 เหลือ 936.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสที่ 2 เนื่องจากการผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ประเภทส่วนประกอบ Hard disk drive ลดลงจากการปรับเปลี่ยนการผลิตสินค้าให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีใหม่ และการผลิตแผงสัญญาณทำด้วยผลึกเหลว (LCD) ลดลงตามการชะลอตัวของความต้องการในตลาดโลก ส่วนการผลิตวัสดุก่อสร้างลดลงจากภาวะการลงทุนภาคก่อสร้างที่ชะลอลงทั้งการก่อสร้างภาครัฐและเอกชน อย่างไรก็ดี การผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงปลายไตรมาสที่ 2 เนื่องจากมีความต้องการใช้เพิ่มขึ้นทั้งในประเทศและส่งออกผ่านด่านชายแดน ในส่วนของการผลิตน้ำตาลมีผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 36.9 เป็น 1,808.8 พันเมตริกตัน ตามผลผลิตอ้อยที่ขยายตัวในเกณฑ์ดี และการผลิตเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 19.0ทางด้านปริมาณการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มหมวดอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 14.7 เป็น 1,433.1 ล้านบาท
3. ภาคบริการ เดือนมิถุนายน 2550 ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนและเดือนก่อนตามฤดูกาล โดยกลุ่มนักท่องเที่ยวในประเทศและกลุ่มประชุมสัมมนาลดลง ประกอบกับเป็นช่วงฤดูฝนรวมทั้งประชาชนยังคงระมัดระวังการใช้จ่าย อย่างไรก็ดี เครื่องชี้ภาคบริการที่สำคัญ ได้แก่ จำนวนผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยานกลับเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.3 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 1.1 เดือนก่อน เป็นผลจากการส่งเสริมการขายของสายการบินในประเทศ โดยปรับลดราคาค่าโดยสารส่งผลให้ผู้เดินทางส่วนหนึ่งปรับเปลี่ยนมาใช้บริการเครื่องบินเพิ่มขึ้น อัตราการเข้าพักของโรงแรมอยู่ที่ระดับร้อยละ 38.3 ใกล้เคียงกับระยะเดียวกันปีก่อน แต่เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 37.5 เดือนก่อน สำหรับราคาห้องพักเฉลี่ย 841.6 บาทต่อห้องต่อวัน ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.8 ทางด้านปริมาณการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มหมวดโรงแรมและภัตตาคารเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 19.2
ครึ่งแรกปี 2550 ภาวะเศรษฐกิจภาคบริการทรงตัวจากระยะเดียวกันปีก่อน โดยในช่วงต้นปีได้รับผลดีจากการจัดงานพืชสวนโลก “ราชพฤกษ์ 2549” ส่งผลให้นักท่องเที่ยวชาวไทยเดินทางเข้ามาในพื้นที่ภาคเหนือมากขึ้น ขณะที่นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศประสบปัญหาไม่สามารถจองบัตรโดยสารเครื่องบินและห้องพักได้ ทำให้บางส่วนเลื่อนการเดินทางหรือเปลี่ยนเส้นทางการท่องเที่ยว ภาคบริการชะลอลงในช่วงไตรมาสที่ 2 ตามฤดูกาลประกอบกับได้รับผลกระทบจากปัญหาหมอกควันในช่วงต้นไตรมาสที่ 2 และการอิ่มตัวของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางเข้าชมงานพืชสวนโลกในช่วงต้นปี อย่างไรก็ดี เครื่องชี้ภาคบริการที่สำคัญโดยรวมยังอยู่ในเกณฑ์ดี ได้แก่ ปริมาณการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มหมวดโรงแรมและภัตตาคารเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.3 อัตราการเข้าพักของโรงแรมคิดเป็นร้อยละ 53.1 ใกล้เคียงกับระยะเดียวกันปีก่อน ขณะที่ราคาห้องพักเฉลี่ย 984.7 บาทต่อห้องต่อวัน เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนเล็กน้อยเพียงร้อยละ 1.9 ส่วนจำนวนผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยานเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.5
4. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน เดือนมิถุนายน 2550 การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนของภาคเหนือ ชะลอตัวจากเดือนก่อน พิจารณาจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญได้แก่ ปริมาณการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.9 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 เดือนก่อน ตามการลดลงลงของภาษีมูลค่าเพิ่มหมวดอุตสาหกรรม และค้าส่งค้าปลีก ทางด้านปริมาณการจดทะเบียนรถยนต์โดยรวมลดลงร้อยละ 9.9 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 13.5 เดือนก่อน ซึ่งเป็นการลดลงตามปริมาณการจดทะเบียนรถยนต์เชิงพาณิชย์ที่ลดลงร้อยละ 21.7 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 12.2 เดือนก่อน เป็นสำคัญ อย่างไรก็ตาม ปริมาณการจดทะเบียนรถยนต์นั่งส่วนบุคคลปรับตัวดีขึ้นโดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.3 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 15.4 เดือนก่อน ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการจัดส่งเสริมการขาย สำหรับปริมาณการจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ลดลงร้อยละ 24.2 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 29.9 เดือนก่อน
ครึ่งแรกปี 2550 การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนในภาคเหนือ ชะลอตัวลงตามการใช้จ่ายอย่างระมัดระวังของประชาชนซึ่งเป็นผลจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ลดลง โดยปริมาณการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.1 ชะลอลงจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.4 ระยะเดียวกันปีก่อน สำหรับกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญอื่นๆ ได้แก่ ปริมาณการจดทะเบียนรถยนต์ลดลงร้อยละ 8.5 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 ระยะเดียวกันปีก่อน ส่วนการจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ลดลงร้อยละ 21.1 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 ระยะเดียวกันปีก่อน
5. การลงทุนภาคเอกชน เดือนมิถุนายน 2550 การลงทุนภาคเอกชนของภาคเหนือปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อน สะท้อนจากการขยายตัวของเครื่องชี้สำคัญ ได้แก่ พื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลภาคเหนือที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อนร้อยละ 5.5 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.1 เดือนก่อน โดยเฉพาะการก่อสร้างที่อยู่อาศัย และหอพัก การจัดเก็บค่าธรรมเนียมที่ดินที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 4.6 เดือนก่อน เป็นผลจากมีการซื้อที่ดินเพื่อลงทุนของธุรกิจค้าส่งค้าปลีกขนาดใหญ่ สำหรับการลงทุนของกิจการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนมีมูลค่าเงินลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 57.4 โดยเป็นการลงทุนในหมวดเกษตรกรรมและผลิตผลการเกษตร หมวดบริการและสาธารณูปโภค และหมวดผลิตภัณฑ์กระดาษ และพลาสติก
ครึ่งแรกปี 2550 ภาวะการลงทุนของภาคเอกชนในภาคเหนือปรับตัวดีขึ้นโดยเฉพาะในช่วงไตรมาสที่ 2 โดยผู้ประกอบการที่มีตลาดเฉพาะหรือมีช่องทางการขายเริ่มลงทุนในโครงการขนาดใหญ่โดยเฉพาะโครงการที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ อาคารพักอาศัย อพาร์ทเมนท์ และบ้านจัดสรร โดยเครื่องชี้ภาวะการลงทุนที่สำคัญ ได้แก่ พื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลภาคเหนือเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 18.9 ระยะเดียวกันปีก่อน โดยขยายตัวตามความต้องการสร้างที่อยู่อาศัยและอาคารพาณิชย์ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.5 และร้อยละ 8.5 ตามลำดับ และเพิ่มขึ้นในจังหวัดที่เป็นศูนย์กลางการค้าของภาค ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดพิษณุโลก ทางด้านการจัดเก็บค่าธรรมเนียมที่ดินลดลงร้อยละ 3.2 ต่ำกว่าที่ลดลงร้อยละ 12.2 ระยะเดียวกันปีก่อน สำหรับมูลค่าเงินลงทุนของของกิจการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 61.9 สูงกว่าที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 48.0 ระยะเดียวกันปีก่อน โดยมีการลงทุนมากในหมวดเกษตรกรรมและผลิตผลการเกษตร หมวดอุตสาหกรรมเบา และหมวดบริการและสาธารณูปโภค ส่วนใหญ่เป็นกิจการที่ตั้งอยู่ในจังหวัดลำพูน เชียงใหม่ และพิษณุโลก
6. การค้าต่างประเทศ เดือนมิถุนายน 2550 การส่งออก ผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือมีมูลค่าลดลงโดยต่อเนื่องโดยลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 17.9 เหลือ 188.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 7.6 เดือนก่อน เป็นผลจากการทำพิธีการศุลกากรผ่านระบบ Paperless อีกทั้งมีการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์บางชนิดลดลง ทั้งนี้มูลค่าส่งออกผ่านด่านศุลกากรลำพูนลดลงร้อยละ 28.0 เหลือ 128.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยสินค้าส่งออกสำคัญที่ลดลง ได้แก่ ส่วนประกอบ Hard Disk Drive และเลนส์สำหรับกล้องถ่ายรูป ด้านมูลค่าการส่งออกผ่านด่านท่าอากาศยานเชียงใหม่เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.7 เป็น13.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการส่งออกสินค้าประเภทแก้วและเครื่องแก้วเป็นสำคัญ ส่วนการส่งสินค้าออกผ่านด่านชายแดนมีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.4 เป็น 46.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยมูลค่าการส่งออกไปพม่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 38.8 เป็น 38.3 ล้านดอลลาร์ สรอ.ส่วนมูลค่าการส่งออกไปจีน (ตอนใต้) และลาวลดลงร้อยละ 26.5 และ ร้อยละ 54.0 ตามลำดับ
การนำเข้า ผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือมีมูลค่าลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 18.2 เหลือ 121.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 21.3 เดือนก่อน ตามการนำเข้าผ่านด่านศุลกากรลำพูน ที่ลดลงร้อยละ 22.9 เหลือ 121.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยมีสินค้านำเข้าลดลง ได้แก่ ส่วนประกอบอุปกรณ์ไฟฟ้า และแผงวงจรรวม โดยลดลงร้อยละ 11.1 และร้อยละ 29.2 ตามลำดับ ส่วนการนำเข้าผ่านด่านท่าอากาศยานเชียงใหม่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 41.2 เป็น 5.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 15.0 เดือนก่อน สินค้านำเข้าสำคัญได้แก่ แก้ว เครื่องใช้ไฟฟ้า และเครื่องจักร ทางด้านมูลค่าการนำเข้าผ่านด่านชายแดนเพิ่มขึ้นร้อยละ 34.3 เป็น 10.1 ล้านดอลลาร์ สรอ.โดยมูลค่าการนำเข้าจากพม่าและจีน (ตอนใต้) เพิ่มขึ้นร้อยละ 64.5 และร้อยละ 1.8 ตามลำดับ ขณะที่มูลค่าการนำเข้าจากลาวลดลงร้อยละ 4.0
สำหรับดุลการค้าในเดือนมิถุนายน 2550 เกินดุล 67.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนและเดือนก่อนที่เกินดุล 81.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. และ 102.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามลำดับ
ครึ่งแรกปี 2550 มูลค่าการค้าผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 9.2 เหลือ 1,976.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. ทำให้ดุลการค้าผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือเกินดุล 494.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. สูงกว่าที่เกินดุล 490.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. ระยะเดียวกันปีก่อน การส่งออก ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.4 เหลือ 1,235.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. เป็นผลจากการย้ายการทำพิธีการศุลกากร และ ผู้ส่งออกบางส่วนใช้ระบบ Paperless Customs ในการทำพิธีทางศุลกากร รวมทั้งการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์บางประเภทลดลง ส่งผลให้การส่งออกผ่านด่านศุลกากรลำพูนและด่านท่าอากาศยานเชียงใหม่ลดลงร้อยละ 10.7เหลือ 856.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. และลดลงร้อยละ 18.0 เหลือ 81.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามลำดับ สินค้าสำคัญ ที่ลดลงได้แก่ เครื่องตัดต่อวงจรไฟฟ้า ส่วนประกอบ Hard disk drive หม้อแปลงไฟฟ้าและมอเตอร์ ส่วนการส่งออกชายแดนมีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.1 เป็น 296.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการส่งออกไปพม่าและจีน(ตอนใต้)ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.0 และร้อยละ 16.4 ตามลำดับ ส่วนการส่งออกไปลาวลดลงร้อยละ 8.6
การนำเข้า ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 12.1 เหลือ 740.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. เป็นผลจากการย้ายการทำพิธีการศุลกากร และการลดการนำเข้าวัตถุดิบของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เป็นสำคัญ อีกทั้งระยะเดียวกันปีก่อนมีการนำเข้าวัตถุดิบและเครื่องจักรเพิ่มขึ้นในเกณฑ์สูงเพื่อรองรับการขยายการผลิตของอุตสาหกรรมบางประเภทในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ ส่งผลให้มูลค่าการนำเข้าผ่านด่านศุลกากรลำพูนและด่านท่าอากาศยานเชียงใหม่ลดลงร้อยละ 13.6 เหลือ 655.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. และร้อยละ 2.5 เหลือ 35.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามลำดับ ด้านมูลค่าการนำเข้าผ่านด่านชายแดนเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.0 เป็น 50.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการนำเข้าจากลาวและจีน(ตอนใต้)ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.4 และร้อยละ 19.8 ตามลำดับ ส่วนการนำเข้าจากพม่าลดลงร้อยละ 1.9 เหลือ 27.3 ล้านดอลลาร์ สรอ.
7. การเบิกจ่ายเงินงบประมาณผ่านคลังจังหวัดในภาคเหนือ เดือนมิถุนายน 2550 มีการเบิกจ่ายทั้งสิ้นจำนวน 14,084.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 30.9 ชะลอลงจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 70.7 เดือนก่อน จำแนกเป็นรายจ่ายประจำ 8,305.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.2 เทียบกับเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 เดือนก่อน ส่วนรายจ่ายเพื่อการลงทุนมีจำนวน 5,778.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว แต่ชะลอลงจากที่เพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าตัวเดือนก่อน โดยการเบิกจ่ายเงินมีมากที่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงรายและพิษณุโลก
ครึ่งแรกปี 2550 ภาคเหนือมีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณจำนวน 84,661.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 25.0 จำแนกเป็นรายจ่ายประจำ 49,955.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.9 ส่วนรายจ่ายเพื่อการลงทุนมีทั้งสิ้น 34,706.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 53.5 โดยการใช้จ่ายเพื่อการลงทุนในภาคเหนือเร่งตัวมากในช่วงไตรมาสที่ 2 โดยเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 74.5 เทียบกับเพิ่มขึ้นร้อยละ 35.6 ไตรมาสที่ 1 ปี 2550
8. ระดับราคา เดือนมิถุนายน 2550 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปในภาคเหนือเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.2 เร่งตัวขึ้นจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 เดือนก่อน ตามการสูงขึ้นของราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 6.1 จากการปรับเพิ่มขึ้นของราคาข้าว ผักและผลไม้ โดยเฉพาะข้าวเหนียวที่ปรับเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนถึงร้อยละ 51.2 ส่วนหมวดอื่นๆไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มลดลงร้อยละ 0.2 ตามการลดลงของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง และค่ากระแสไฟฟ้า เป็นสำคัญ
สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.4
ครึ่งแรกปี 2550 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 ชะลอลงเทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0 ระยะเดียวกันปีก่อน ตามราคาสินค้าหมวดอื่นๆไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.4 จากการปรับลดลงของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ลดลงร้อยละ 1.9 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.6 ระยะเดียวกันปีก่อน ส่วนค่าโดยสารสาธารณะเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.7 ต่ำกว่าที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.9 ระยะเดียวกันปีก่อน ทางด้านหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 ตามการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าประเภทผัก ผลไม้ และข้าวเหนียว เป็นสำคัญ
ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 ต่ำกว่าที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 ระยะเดียวกันปีก่อน
9. การจ้างงาน เดือนพฤษภาคม 2550 ภาคเหนือมีกำลังแรงงานรวม 6.55 ล้านคน เป็นผู้มีงานทำ 6.37 ล้านคน ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.4 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 เดือนก่อน ตามการลดลงของการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่ลดลงร้อยละ 5.2 ตามการลดลงของการจ้างงานในสาขาการก่อสร้างร้อยละ 21.4 การค้าส่งค้าปลีกร้อยละ 5.6 และการผลิตร้อยละ 4.1 ส่วนแรงงานในภาคเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 ทางด้านอัตราการว่างงานของภาคเหนืออยู่ที่ ร้อยละ 1.9 ต่ำกว่าร้อยละ 2.2 เดือนก่อน แต่สูงกว่าร้อยละ 1.2 ระยะเดียวกันปีก่อน
สำหรับผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมตามมาตรา 33 ในเดือนมิถุนายน 2550 มีจำนวน 0.60 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนและระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.7 และร้อยละ 2.6 ตามลำดับ
10. การเงิน เดือนพฤษภาคม 2550 ยอดคงค้างเงินฝากที่สาขาธนาคารพาณิชย์ในภาคเหนือ ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2550 มียอดคงค้างทั้งสิ้น 344,956 ล้านบาท ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.1 สูงกว่าอัตราเพิ่มร้อยละ 4.4 เดือนก่อน ส่วนใหญ่เป็นเงินฝากของส่วนราชการ โดยเพิ่มขึ้นมากที่จังหวัดเชียงราย ลำปาง พิษณุโลกและนครสวรรค์ ส่วนเงินให้สินเชื่อ มียอดคงค้าง 277,295 ล้านบาท ขยายตัวเท่ากับเดือนก่อน โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.1 สินเชื่อเพิ่มขึ้นตามความต้องการของธุรกิจจำหน่ายอุปกรณ์ไฟฟ้า โรงแรม เฟอร์นิเจอร์ไม้ โรงสีและสหกรณ์ออมทรัพย์ครู โดยเพิ่มขึ้นมากที่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงรายและเพชรบูรณ์ อย่างไรก็ตาม มีการชำระสินเชื่อของธุรกิจค้าพืชไร่และสหกรณ์ออมทรัพย์ครู ส่งผลให้สินเชื่อลดลงมากที่จังหวัดกำแพงเพชรและพิจิตร รวมทั้งยังมีการโอนย้ายสินเชื่อระหว่างธนาคารพาณิชย์ในธุรกิจโรงสีที่จังหวัดนครสวรรค์
สัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากอยู่ที่ร้อยละ 80.4 สูงขึ้นกว่าร้อยละ 79.0 ระยะเดียวกันปีก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--