แท็ก
สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ร่างพระราชบัญญัติ
กระทรวงการคลัง
โรงแรมคอนราด
ตราสารหนี้
นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ แถลงว่า ในวันนี้คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลังเสนอซึ่งมีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
ด้านการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศ
1) ให้อำนาจกระทรวงการคลังสามารถกู้เงินเพื่อพัฒนาตลาดตราสารหนี้ได้ในกรณีมีความจำเป็นต้องสร้างอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงแม้ไม่ขาดดุลงบประมาณ โดยให้กู้ได้ไม่เกินวงเงินที่คณะรัฐมนตรีกำหนดเป็นคราวๆ ตามความจำเป็น ทั้งนี้ เมื่อรวมกับการกู้เงินเพื่อชดเชยขาดดุลงบประมาณแล้วไม่เกินวงเงินร้อยละยี่สิบของงบประมาณรายจ่ายประจำปี และร้อยละแปดสิบของงบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้สำหรับชำระคืนเงินต้น และให้นำส่งเงินเข้ากองทุนเพื่อพัฒนาตลาดตราสารหนี้
2) ให้อำนาจกระทรวงการคลังสามารถกู้เงินบาทเพื่อให้กู้ต่อได้ จากเดิมที่กำหนดให้กู้เงินเพื่อให้กู้ต่อได้เฉพาะเงินตราต่างประเทศเท่านั้น ซึ่งการกู้เงินดังกล่าวให้นับรวมกับวงเงินค้ำประกัน ซึ่งมีเพดานไม่เกินร้อยละ 20 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี
3) การจำนำตราสารหนี้ในระบบไร้ใบตราสาร (Scripless pledging) ให้สามารถจำนำตราสารหนี้ที่ออกในระบบไร้ใบตราสารหรือจำนำตราสารหนี้ที่ฝากไว้กับธนาคารแห่งประเทศไทยหรือตลาดหลักทรัพย์ มีผลสมบูรณ์เป็นการจำนำตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
4) กำหนดให้จัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาตลาดตราสารหนี้เพื่อบริหารเงินที่ได้รับจากการกู้เงินเพื่อพัฒนาตลาดตราสารหนี้โดย ให้นำเงินไปลงทุนในตราสารหนี้ที่มีความมั่นคงทั้งในและต่างประเทศ ได้แก่
- กรณีการลงทุนในประเทศให้ลงทุนในตราสารหนี้ของรัฐบาลที่ออกโดยกระทรวงการคลังหรือที่ออกโดยรัฐวิสาหกิจ หรือตราสารหนี้ที่ค้ำประกันโดยรัฐบาล หรือตราสารหนี้ที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือสูงสุด (AAA) จากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ
- กรณีการลงทุนในต่างประเทศให้ลงทุนในตราสารหนี้ที่ออกโดยรัฐบาลต่างประเทศ สถาบันการเงินของรัฐบาลต่างประเทศ สถาบันการเงินระหว่างประเทศ หรือตราสารหนี้ที่ค้ำประกันโดยรัฐบาลต่างประเทศ สถาบันการเงินของรัฐบาลต่างประเทศ หรือสถาบันการเงินระหว่างประเทศ ทั้งนี้ ตราสารหนี้ดังกล่าวจะต้องได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือสูงสุด (AAA) จากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล
ด้านการบริหารและจัดการหนี้สาธารณะของประเทศ
1) ให้อำนาจกระทรวงการคลังในการปรับเปลี่ยนระยะเวลาการชำระหนี้ และให้อำนาจกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ก่อนหนี้เดิมครบกำหนดชำระได้ และหากเงินที่ได้รับจากการปรับโครงสร้างหนี้ยังไม่ได้นำไปใช้ชำระหนี้ในทันที ให้นำเงินดังกล่าวส่งเข้ากองทุนเพื่อปรับโครงสร้างหนี้
2) กำหนดให้จัดตั้งกองทุนเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ซึ่งมีฐานะเป็นนิติบุคคลในกระทรวงการคลังเพื่อทำหน้าที่บริหารเงินที่ได้รับจากการปรับโครงสร้างหนี้ดังกล่าวโดยให้นำเงินไปลงทุนในตราสารหนี้ของรัฐบาลที่ออกโดยกระทรวงการคลัง หรือที่ออกโดยรัฐวิสาหกิจ หรือทำธุรกรรมซื้อคืน
3) กำหนดให้หน่วยงานของรัฐ หน่วยงานในกำกับดูแลของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ และสถาบันการเงินภาครัฐที่ดำเนินการก่อภาระผูกพันที่จะต้องชำระจากงบประมาณแผ่นดินมีหน้าที่ต้องรายงานการก่อภาระผูกพันดังกล่าวต่อกระทรวงการคลัง และให้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะศึกษา วิเคราะห์ภาระผูกพันดังกล่าวเพื่อรายงานต่อคณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ
ประโยชน์ที่คาดว่าได้รับ
- ทำให้การพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศเป็นไปอย่างกว้างขวาง มั่นคง และต่อเนื่องเพื่อให้ตลาดตราสารหนี้เป็นหนึ่งในสามเสาหลักของตลาดการเงินของประเทศและเป็นแหล่งระดมทุนในระดับภูมิภาค
- ทำให้การบริหารและจัดการหนี้สาธารณะของประเทศมีประสิทธิภาพ มีความคล่องตัว
- เพิ่มช่องทางในการให้กู้ต่อในรูปเงินบาทแก่หน่วยงานของรัฐ หน่วยงานในกำกับดูแลของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ หรือสถาบันการเงินภาครัฐ ที่จะดำเนินโครงการลงทุนอันเป็นโครงสร้างพื้นฐานตามนโยบายของรัฐ ซึ่งจะช่วยให้มีต้นทุนที่ต่ำ ไม่มีความเสี่ยงในอัตราแลกเปลี่ยน และยังมีส่วนช่วยในการส่งเสริมการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศอีกทางหนึ่งด้วย
- ทำให้การติดตามและกำกับดูแลการก่อภาระผูกพันตลอดจนความเสี่ยงทางการคลังที่จะต้องชำระจากงบประมาณแผ่นดินให้เป็นไปอย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพ
ส่วนพัฒนาตราสารหนี้ สำนักนโยบายและแผน
สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ โทรศัพท์ 0-2265-8050 ต่อ 5220
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 42/2550 15 พฤษภาคม 50--
ด้านการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศ
1) ให้อำนาจกระทรวงการคลังสามารถกู้เงินเพื่อพัฒนาตลาดตราสารหนี้ได้ในกรณีมีความจำเป็นต้องสร้างอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงแม้ไม่ขาดดุลงบประมาณ โดยให้กู้ได้ไม่เกินวงเงินที่คณะรัฐมนตรีกำหนดเป็นคราวๆ ตามความจำเป็น ทั้งนี้ เมื่อรวมกับการกู้เงินเพื่อชดเชยขาดดุลงบประมาณแล้วไม่เกินวงเงินร้อยละยี่สิบของงบประมาณรายจ่ายประจำปี และร้อยละแปดสิบของงบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้สำหรับชำระคืนเงินต้น และให้นำส่งเงินเข้ากองทุนเพื่อพัฒนาตลาดตราสารหนี้
2) ให้อำนาจกระทรวงการคลังสามารถกู้เงินบาทเพื่อให้กู้ต่อได้ จากเดิมที่กำหนดให้กู้เงินเพื่อให้กู้ต่อได้เฉพาะเงินตราต่างประเทศเท่านั้น ซึ่งการกู้เงินดังกล่าวให้นับรวมกับวงเงินค้ำประกัน ซึ่งมีเพดานไม่เกินร้อยละ 20 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี
3) การจำนำตราสารหนี้ในระบบไร้ใบตราสาร (Scripless pledging) ให้สามารถจำนำตราสารหนี้ที่ออกในระบบไร้ใบตราสารหรือจำนำตราสารหนี้ที่ฝากไว้กับธนาคารแห่งประเทศไทยหรือตลาดหลักทรัพย์ มีผลสมบูรณ์เป็นการจำนำตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
4) กำหนดให้จัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาตลาดตราสารหนี้เพื่อบริหารเงินที่ได้รับจากการกู้เงินเพื่อพัฒนาตลาดตราสารหนี้โดย ให้นำเงินไปลงทุนในตราสารหนี้ที่มีความมั่นคงทั้งในและต่างประเทศ ได้แก่
- กรณีการลงทุนในประเทศให้ลงทุนในตราสารหนี้ของรัฐบาลที่ออกโดยกระทรวงการคลังหรือที่ออกโดยรัฐวิสาหกิจ หรือตราสารหนี้ที่ค้ำประกันโดยรัฐบาล หรือตราสารหนี้ที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือสูงสุด (AAA) จากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ
- กรณีการลงทุนในต่างประเทศให้ลงทุนในตราสารหนี้ที่ออกโดยรัฐบาลต่างประเทศ สถาบันการเงินของรัฐบาลต่างประเทศ สถาบันการเงินระหว่างประเทศ หรือตราสารหนี้ที่ค้ำประกันโดยรัฐบาลต่างประเทศ สถาบันการเงินของรัฐบาลต่างประเทศ หรือสถาบันการเงินระหว่างประเทศ ทั้งนี้ ตราสารหนี้ดังกล่าวจะต้องได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือสูงสุด (AAA) จากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล
ด้านการบริหารและจัดการหนี้สาธารณะของประเทศ
1) ให้อำนาจกระทรวงการคลังในการปรับเปลี่ยนระยะเวลาการชำระหนี้ และให้อำนาจกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ก่อนหนี้เดิมครบกำหนดชำระได้ และหากเงินที่ได้รับจากการปรับโครงสร้างหนี้ยังไม่ได้นำไปใช้ชำระหนี้ในทันที ให้นำเงินดังกล่าวส่งเข้ากองทุนเพื่อปรับโครงสร้างหนี้
2) กำหนดให้จัดตั้งกองทุนเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ซึ่งมีฐานะเป็นนิติบุคคลในกระทรวงการคลังเพื่อทำหน้าที่บริหารเงินที่ได้รับจากการปรับโครงสร้างหนี้ดังกล่าวโดยให้นำเงินไปลงทุนในตราสารหนี้ของรัฐบาลที่ออกโดยกระทรวงการคลัง หรือที่ออกโดยรัฐวิสาหกิจ หรือทำธุรกรรมซื้อคืน
3) กำหนดให้หน่วยงานของรัฐ หน่วยงานในกำกับดูแลของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ และสถาบันการเงินภาครัฐที่ดำเนินการก่อภาระผูกพันที่จะต้องชำระจากงบประมาณแผ่นดินมีหน้าที่ต้องรายงานการก่อภาระผูกพันดังกล่าวต่อกระทรวงการคลัง และให้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะศึกษา วิเคราะห์ภาระผูกพันดังกล่าวเพื่อรายงานต่อคณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ
ประโยชน์ที่คาดว่าได้รับ
- ทำให้การพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศเป็นไปอย่างกว้างขวาง มั่นคง และต่อเนื่องเพื่อให้ตลาดตราสารหนี้เป็นหนึ่งในสามเสาหลักของตลาดการเงินของประเทศและเป็นแหล่งระดมทุนในระดับภูมิภาค
- ทำให้การบริหารและจัดการหนี้สาธารณะของประเทศมีประสิทธิภาพ มีความคล่องตัว
- เพิ่มช่องทางในการให้กู้ต่อในรูปเงินบาทแก่หน่วยงานของรัฐ หน่วยงานในกำกับดูแลของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ หรือสถาบันการเงินภาครัฐ ที่จะดำเนินโครงการลงทุนอันเป็นโครงสร้างพื้นฐานตามนโยบายของรัฐ ซึ่งจะช่วยให้มีต้นทุนที่ต่ำ ไม่มีความเสี่ยงในอัตราแลกเปลี่ยน และยังมีส่วนช่วยในการส่งเสริมการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศอีกทางหนึ่งด้วย
- ทำให้การติดตามและกำกับดูแลการก่อภาระผูกพันตลอดจนความเสี่ยงทางการคลังที่จะต้องชำระจากงบประมาณแผ่นดินให้เป็นไปอย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพ
ส่วนพัฒนาตราสารหนี้ สำนักนโยบายและแผน
สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ โทรศัพท์ 0-2265-8050 ต่อ 5220
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 42/2550 15 พฤษภาคม 50--