แท็ก
คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
พรรคประชาธิปัตย์
โรงแรมคอนราด
รัฐธรรมนูญ
ยุบพรรค
พรรคประชาธิปัตย์กับอนาคตประเทศไทย
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
๒๙ เมษายน ๒๕๕๐
www.abhisit.org
ในระยะหลัง ความสนใจของสื่อสารมวลชนที่ต้องการความเห็นจากนักการเมือง และพรรคการเมืองต่างๆ จะวนเวียนอยู่ที่เรื่อง รัฐธรรมนูญ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) กับรัฐบาล และปัญหาการยุบพรรค เนื่องจากว่าเป็นประเด็น “ร้อน” และอยู่ในความสนใจของประชาชน ในฐานะหัวหน้าพรรคการเมือง ผมก็ให้ความคิดเห็นในเรื่องเหล่านี้อยู่เป็นระยะๆ รวมทั้งบทความในเว็บนี้ ก็มีหลายบทความที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเหล่านี้ (ดูบทความใน www.abhisit.org เรื่อง ครึ่งปีที่เหลือของรัฐบาล- คมช. เมื่อวันที่ ๑๕ เมษายน ๒๕๕๐ หรือ บทความเรื่อง ก้าวสู่ปีที่ ๖๒ ของพรรคประชาธิปัตย์: เราเป็นนักการเมือง ไม่ใช่นักเลือกตั้ง เมื่อวันที่ ๘ เมษายน ๒๕๕๐ เป็นต้น)
ใครที่สนใจเรื่องคดียุบพรรค ผมเพิ่งเขียนคำปรารภสำหรับการตีพิมพ์ คำแถลงปิดคดี ที่จะเผยแพร่ให้พี่น้องประชาชนทั่วไป ส่วนเรื่องรัฐธรรมนูญนั้น ผมก็จะยังให้ความเห็นต่อสาธารณะผ่านคำอภิปราย และสื่อสารมวลชนอยู่เป็นระยะๆ
(ดูบทสัมภาษณ์ล่าสุดของผมได้ในไทยโพสต์ ฉบับวันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๕๐
-รัฐธรรมนูญแห่งความ 'หวาดระแวง'
- มองความจริง-ชนะใจตัวเอง
- จุดยืนพรรคการเมือง )
แต่วันนี้ สิ่งที่น่าห่วงคือ อนาคตระยะกลาง ระยะยาวของประเทศ
เพราะในระยะเฉพาะหน้านั้น ดูจะมีความรู้สึกร่วมในคนหมู่มากว่า การกลับคืนสู่ความปกติ และความเป็นประชาธิปไตยเท่านั้น ที่จะทำให้เกิดความเชื่อมั่นเพื่อจะแก้ปัญหาของประชาชนได้
ทั้งการแก้ปัญหาปากท้อง ปัญหาเศรษฐกิจ
ทั้งการแก้ปัญหาความไม่สงบ ความรุนแรงทั้งหลาย ใน ๓ จังหวัดภาคใต้ และ ทั่วประเทศ
ต้องย้ำว่าการคืนสู่ความปกติ กับความเป็นประชาธิปไตยนั้น คือ หลัก และเป้าหมาย
โดยการเลือกตั้งเป็นเพียงวิธีการ กระบวนการ
ลำพังการมีการเลือกตั้งนั้น ไม่ใช่คำตอบ
โดยเฉพาะถ้าการเลือกตั้งไม่เป็นประชาธิปไตย หรือไม่สุจริต เที่ยงธรรม การเลือกตั้งก็เพียงแต่นำไปสู่วิกฤติรอบต่อไป
นี่คือสิ่งที่ สภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ( คมช.) รัฐบาล และผู้เกี่ยวข้องพึงตระหนัก
ขณะเดียวกันนักการเมือง พรรคการเมืองก็ต้องเป็นที่พึ่งของประชาชน
ที่ผมเรียกร้องให้ยกเลิกคำสั่งคณะปฏิรูปฯ ฉบับที่ ๑๕ และ ๒๗ มาโดยตลอดนั้นเพราะต้องการทำกิจกรรมที่ผมเห็นว่าจำเป็นในการเป็นพรรคการเมืองที่ดี
ไม่ได้คิดเรื่องการหาเสียง แต่อยากสานต่อ งานสมัชชาประชาชน เพื่อระดมความคิดเห็น ผู้คนในพื้นที่ต่างๆ เกี่ยวกับปัญหาของประชาชน และทางออก
มาบัดนี้หลังจากที่ได้สอบถามผู้เกี่ยวข้องค่อนข้างชัดว่า จะไม่มีการเปิดโอกาสให้ผมและพรรคทำอย่างนั้น ที่ผ่านมา ผมจึงพยายาม หาเวลาไปร่วมงานสัมมนาที่หน่วยงานต่างๆจัดขึ้น (เช่น เรื่อง สื่อสาธารณะ การจัดตั้งกองทุนพัฒนาสังคม การปฏิรูประบบโทรคมนาคม) และ พบปะกับผู้รู้ในเรื่องต่างๆ
ผมได้ปรึกษาหารือกับบุคลากรของพรรค เพื่อทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุด ทุกคนก็สรุปตรงกันว่า
สภาพปัญหาของประเทศในทุกด้าน มีแต่จะหนักหน่วงขึ้น เมื่อ คมช. และรัฐบาลพ้นจากอำนาจประมาณปลายปีนี้
หน้าที่สำคัญที่สุดของเรา คือ เตรียมความพร้อมในการแก้ปัญหา หากทุกฝ่ายยังหมกมุ่นกับประเด็นเฉพาะหน้า ประเทศจะสูญเสียโอกาสต่อไป ผมจะเดินหน้าจัดการประชุม สัมมนา โดยเชิญ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้รู้ ผู้สนใจ ในเรื่องสำคัญๆ มาแลกเปลี่ยนความเห็นกันทุกสัปดาห์ เริ่มต้นเดือนพฤษภาคมนี้ โดยได้ตั้งโจทย์ของประเทศ เป็น ๗ ข้อใหญ่ไว้ดังนี้
๑. การพัฒนาคน ผมยังคงยืนยันว่า ประเทศจะก้าวหน้าแค่ไหนเพียงไร อยู่ที่คุณภาพคน คนของเรา ต้องฉลาด แข็งแรง และมีคุณธรรม บ้านเมืองจึงจะพัฒนาได้ ขณะนี้ วิกฤติที่หลายฝ่ายไม่ได้พูดถึง คือ วิกฤติคน ที่เริ่มต้นตั้งแต่ สภาพครอบครัวที่แตกแยก เด็กเล็กไม่ได้รับการดูแล อย่างเต็มที่จนไอคิวเฉลี่ยมีปัญหาตั้งแต่ ๖ ขวบ เด็กแย่งกันเรียน คุณภาพการศึกษา และ บริการสาธารณสุขที่ มีปัญหา ฯลฯ การแก้ไขเรื่องเหล่านี้ต้องใช้เวลานาน จึงยิ่งต้องเริ่มต้นเร็ว
๒. ความสงบสุข เราจะปล่อยให้คนของเราเสียชีวิตทุกวันในภาคใต้ต่อไปไม่ได้ เราจะปล่อยให้ความแตกแยกขยายตัวต่อไปในทุกวงการไม่ได้ การแก้ปัญหาที่ยึดความถูกต้อง การใช้เหตุผล และความเข้าใจ การเคารพสิทธิของเพื่อนร่วมชาติทุกคน เป็นทางออกทางเดียวที่ต้องมีการเริ่มต้นจากการกระตุ้นความคิดของคนในทางนี้โดยเร็วที่สุด
๓. การมีหลักประกันและสวัสดิการของคนยากจนและผู้ด้อยโอกาส เพื่อสร้างความเป็นธรรม และคุ้มครองประชาชนในโลกทุนนิยม แทนการมองการแก้ปัญหาความยากจนด้วยการ “สงเคราะห์” หรือ การ “เอาเงินต่อเงิน” ที่ไม่ยั่งยืนและทำให้คนต้องพึ่งรัฐ หรือ นักการเมืองมากขึ้น เป็นเรื่องที่เราต้องเร่งสร้าง
๔. การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสร้างโอกาส ประเด็นของการทำโครงการขนาดใหญ่ ไม่ได้อยู่ที่การกระตุ้นเศรษฐกิจ หรือ แก้ปัญหาเฉพาะหน้า เท่ากับการลงทุนเพื่อขยายโอกาสให้คน หลายปีที่ผ่านมา รัฐละเลยเรื่องนี้เพราะทุ่มไปกับการเอาเงินไปให้คนกู้ วันนี้ การทำให้ประชาชนทุกแห่งทั่วไทย มีระบบขนส่ง และการสื่อสารที่ดี เชื่อมโยงกัน จะเป็นการลงทุนที่สำคัญที่สุด เพื่อเชื่อมคนทั้งประเทศ และเชื่อมประเทศกับสังคมโลก ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
๕. สร้างเศรษฐกิจที่มีประสิทธิภาพ เศรษฐกิจไทยจะต้องมีการปรับปรุงประสิทธิภาพในทุกด้าน และทุกภาคการผลิต ทั้งภาคการเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ ทั้งการใช้แรงงาน ทรัพยากรธรรมชาติ และ ทุน เพื่อให้เศรษฐกิจขยายตัวได้ดี โดยไม่สร้างต้นทุนด้านอื่นๆ ความยั่งยืนของการเติบโตจะต้องมาจากการปฏิรูป ระบบเศรษฐกิจ ไม่ใช่โดยการอุ้มชู ปกป้องจากภาครัฐ การใช้แรงงานถูก หรือการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างสิ้นเปลือง
๖. จัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน วิกฤติโลกร้อน สภาวะอากาศที่แปรปรวน จะทำให้สังคมต้องเผชิญกับปัญหาภัยธรรมชาติ และภัยพิบัติถี่ขึ้น ซึ่งคนไทยทุกคนมีหน้าที่ในการช่วยป้องกัน บรรเทา และรัฐต้องจัดระบบการบริหารทรัพยากรธรรมชาติใหม่ เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อคนรุ่นหลัง
๗. สร้างธรรมาภิบาลในทุกภาคส่วน ปัญหาของระบบการเมือง ภาคธุรกิจ และความสัมพันธ์ระหว่างภาคส่วนต่างๆ เกิดจากการขาดธรรมาภิบาล ประเทศไทย จะไม่สามารถก้าวเดินต่อไปได้ในสังคมอนาคต หากไม่มีการยกมาตรฐานในเรื่องนี้
การแก้โจทย์ทั้ง ๗ ข้อนี้ ถือเป็นภารกิจสำคัญที่สุดของพรรคการเมืองอย่างพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อให้ได้ วาระประชาชน สำหรับอนาคตอันใกล้ แก้ไขความว้าเหว่ และ การขาดที่พึ่งของประชาชน ซึ่งผมตั้งใจจะทำภายใต้ข้อจำกัดต่างๆของสถานการณ์ แต่จะยึดหลักการมีส่วนร่วมเท่าที่จะทำได้ และนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแสงสว่างนำทางประเทศไทยให้รุ่งเรือง และเป็นส่วนหนึ่งของสังคมโลกอนาคต
แม้บ้านเมืองเรามีเรื่องเก่าๆจากอดีตที่ต้องสะสาง และ เรียนรู้ แต่เราจะต้องไม่จมปลักอยู่กับอดีต
แม้เราจะมีปัญหาเฉพาะหน้าในปัจจุบัน แต่เราจะหมกมุ่นอยู่กับปัจจุบันไม่ได้
ทุกคน ทุกฝ่ายต้องมองไปข้างหน้า คิดถึงอนาคต
นี่คือ เป้าหมายและงานหลักของพรรค ที่เราพร้อมจะก้าวย่างต่อไป ไม่ว่าภาวการณ์ปัจจุบันจะมีความสับสนวุ่นวายเพียงไร
************************************************
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 29 เม.ย. 2550--จบ--
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
๒๙ เมษายน ๒๕๕๐
www.abhisit.org
ในระยะหลัง ความสนใจของสื่อสารมวลชนที่ต้องการความเห็นจากนักการเมือง และพรรคการเมืองต่างๆ จะวนเวียนอยู่ที่เรื่อง รัฐธรรมนูญ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) กับรัฐบาล และปัญหาการยุบพรรค เนื่องจากว่าเป็นประเด็น “ร้อน” และอยู่ในความสนใจของประชาชน ในฐานะหัวหน้าพรรคการเมือง ผมก็ให้ความคิดเห็นในเรื่องเหล่านี้อยู่เป็นระยะๆ รวมทั้งบทความในเว็บนี้ ก็มีหลายบทความที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเหล่านี้ (ดูบทความใน www.abhisit.org เรื่อง ครึ่งปีที่เหลือของรัฐบาล- คมช. เมื่อวันที่ ๑๕ เมษายน ๒๕๕๐ หรือ บทความเรื่อง ก้าวสู่ปีที่ ๖๒ ของพรรคประชาธิปัตย์: เราเป็นนักการเมือง ไม่ใช่นักเลือกตั้ง เมื่อวันที่ ๘ เมษายน ๒๕๕๐ เป็นต้น)
ใครที่สนใจเรื่องคดียุบพรรค ผมเพิ่งเขียนคำปรารภสำหรับการตีพิมพ์ คำแถลงปิดคดี ที่จะเผยแพร่ให้พี่น้องประชาชนทั่วไป ส่วนเรื่องรัฐธรรมนูญนั้น ผมก็จะยังให้ความเห็นต่อสาธารณะผ่านคำอภิปราย และสื่อสารมวลชนอยู่เป็นระยะๆ
(ดูบทสัมภาษณ์ล่าสุดของผมได้ในไทยโพสต์ ฉบับวันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๕๐
-รัฐธรรมนูญแห่งความ 'หวาดระแวง'
- มองความจริง-ชนะใจตัวเอง
- จุดยืนพรรคการเมือง )
แต่วันนี้ สิ่งที่น่าห่วงคือ อนาคตระยะกลาง ระยะยาวของประเทศ
เพราะในระยะเฉพาะหน้านั้น ดูจะมีความรู้สึกร่วมในคนหมู่มากว่า การกลับคืนสู่ความปกติ และความเป็นประชาธิปไตยเท่านั้น ที่จะทำให้เกิดความเชื่อมั่นเพื่อจะแก้ปัญหาของประชาชนได้
ทั้งการแก้ปัญหาปากท้อง ปัญหาเศรษฐกิจ
ทั้งการแก้ปัญหาความไม่สงบ ความรุนแรงทั้งหลาย ใน ๓ จังหวัดภาคใต้ และ ทั่วประเทศ
ต้องย้ำว่าการคืนสู่ความปกติ กับความเป็นประชาธิปไตยนั้น คือ หลัก และเป้าหมาย
โดยการเลือกตั้งเป็นเพียงวิธีการ กระบวนการ
ลำพังการมีการเลือกตั้งนั้น ไม่ใช่คำตอบ
โดยเฉพาะถ้าการเลือกตั้งไม่เป็นประชาธิปไตย หรือไม่สุจริต เที่ยงธรรม การเลือกตั้งก็เพียงแต่นำไปสู่วิกฤติรอบต่อไป
นี่คือสิ่งที่ สภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ( คมช.) รัฐบาล และผู้เกี่ยวข้องพึงตระหนัก
ขณะเดียวกันนักการเมือง พรรคการเมืองก็ต้องเป็นที่พึ่งของประชาชน
ที่ผมเรียกร้องให้ยกเลิกคำสั่งคณะปฏิรูปฯ ฉบับที่ ๑๕ และ ๒๗ มาโดยตลอดนั้นเพราะต้องการทำกิจกรรมที่ผมเห็นว่าจำเป็นในการเป็นพรรคการเมืองที่ดี
ไม่ได้คิดเรื่องการหาเสียง แต่อยากสานต่อ งานสมัชชาประชาชน เพื่อระดมความคิดเห็น ผู้คนในพื้นที่ต่างๆ เกี่ยวกับปัญหาของประชาชน และทางออก
มาบัดนี้หลังจากที่ได้สอบถามผู้เกี่ยวข้องค่อนข้างชัดว่า จะไม่มีการเปิดโอกาสให้ผมและพรรคทำอย่างนั้น ที่ผ่านมา ผมจึงพยายาม หาเวลาไปร่วมงานสัมมนาที่หน่วยงานต่างๆจัดขึ้น (เช่น เรื่อง สื่อสาธารณะ การจัดตั้งกองทุนพัฒนาสังคม การปฏิรูประบบโทรคมนาคม) และ พบปะกับผู้รู้ในเรื่องต่างๆ
ผมได้ปรึกษาหารือกับบุคลากรของพรรค เพื่อทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุด ทุกคนก็สรุปตรงกันว่า
สภาพปัญหาของประเทศในทุกด้าน มีแต่จะหนักหน่วงขึ้น เมื่อ คมช. และรัฐบาลพ้นจากอำนาจประมาณปลายปีนี้
หน้าที่สำคัญที่สุดของเรา คือ เตรียมความพร้อมในการแก้ปัญหา หากทุกฝ่ายยังหมกมุ่นกับประเด็นเฉพาะหน้า ประเทศจะสูญเสียโอกาสต่อไป ผมจะเดินหน้าจัดการประชุม สัมมนา โดยเชิญ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้รู้ ผู้สนใจ ในเรื่องสำคัญๆ มาแลกเปลี่ยนความเห็นกันทุกสัปดาห์ เริ่มต้นเดือนพฤษภาคมนี้ โดยได้ตั้งโจทย์ของประเทศ เป็น ๗ ข้อใหญ่ไว้ดังนี้
๑. การพัฒนาคน ผมยังคงยืนยันว่า ประเทศจะก้าวหน้าแค่ไหนเพียงไร อยู่ที่คุณภาพคน คนของเรา ต้องฉลาด แข็งแรง และมีคุณธรรม บ้านเมืองจึงจะพัฒนาได้ ขณะนี้ วิกฤติที่หลายฝ่ายไม่ได้พูดถึง คือ วิกฤติคน ที่เริ่มต้นตั้งแต่ สภาพครอบครัวที่แตกแยก เด็กเล็กไม่ได้รับการดูแล อย่างเต็มที่จนไอคิวเฉลี่ยมีปัญหาตั้งแต่ ๖ ขวบ เด็กแย่งกันเรียน คุณภาพการศึกษา และ บริการสาธารณสุขที่ มีปัญหา ฯลฯ การแก้ไขเรื่องเหล่านี้ต้องใช้เวลานาน จึงยิ่งต้องเริ่มต้นเร็ว
๒. ความสงบสุข เราจะปล่อยให้คนของเราเสียชีวิตทุกวันในภาคใต้ต่อไปไม่ได้ เราจะปล่อยให้ความแตกแยกขยายตัวต่อไปในทุกวงการไม่ได้ การแก้ปัญหาที่ยึดความถูกต้อง การใช้เหตุผล และความเข้าใจ การเคารพสิทธิของเพื่อนร่วมชาติทุกคน เป็นทางออกทางเดียวที่ต้องมีการเริ่มต้นจากการกระตุ้นความคิดของคนในทางนี้โดยเร็วที่สุด
๓. การมีหลักประกันและสวัสดิการของคนยากจนและผู้ด้อยโอกาส เพื่อสร้างความเป็นธรรม และคุ้มครองประชาชนในโลกทุนนิยม แทนการมองการแก้ปัญหาความยากจนด้วยการ “สงเคราะห์” หรือ การ “เอาเงินต่อเงิน” ที่ไม่ยั่งยืนและทำให้คนต้องพึ่งรัฐ หรือ นักการเมืองมากขึ้น เป็นเรื่องที่เราต้องเร่งสร้าง
๔. การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสร้างโอกาส ประเด็นของการทำโครงการขนาดใหญ่ ไม่ได้อยู่ที่การกระตุ้นเศรษฐกิจ หรือ แก้ปัญหาเฉพาะหน้า เท่ากับการลงทุนเพื่อขยายโอกาสให้คน หลายปีที่ผ่านมา รัฐละเลยเรื่องนี้เพราะทุ่มไปกับการเอาเงินไปให้คนกู้ วันนี้ การทำให้ประชาชนทุกแห่งทั่วไทย มีระบบขนส่ง และการสื่อสารที่ดี เชื่อมโยงกัน จะเป็นการลงทุนที่สำคัญที่สุด เพื่อเชื่อมคนทั้งประเทศ และเชื่อมประเทศกับสังคมโลก ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
๕. สร้างเศรษฐกิจที่มีประสิทธิภาพ เศรษฐกิจไทยจะต้องมีการปรับปรุงประสิทธิภาพในทุกด้าน และทุกภาคการผลิต ทั้งภาคการเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ ทั้งการใช้แรงงาน ทรัพยากรธรรมชาติ และ ทุน เพื่อให้เศรษฐกิจขยายตัวได้ดี โดยไม่สร้างต้นทุนด้านอื่นๆ ความยั่งยืนของการเติบโตจะต้องมาจากการปฏิรูป ระบบเศรษฐกิจ ไม่ใช่โดยการอุ้มชู ปกป้องจากภาครัฐ การใช้แรงงานถูก หรือการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างสิ้นเปลือง
๖. จัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน วิกฤติโลกร้อน สภาวะอากาศที่แปรปรวน จะทำให้สังคมต้องเผชิญกับปัญหาภัยธรรมชาติ และภัยพิบัติถี่ขึ้น ซึ่งคนไทยทุกคนมีหน้าที่ในการช่วยป้องกัน บรรเทา และรัฐต้องจัดระบบการบริหารทรัพยากรธรรมชาติใหม่ เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อคนรุ่นหลัง
๗. สร้างธรรมาภิบาลในทุกภาคส่วน ปัญหาของระบบการเมือง ภาคธุรกิจ และความสัมพันธ์ระหว่างภาคส่วนต่างๆ เกิดจากการขาดธรรมาภิบาล ประเทศไทย จะไม่สามารถก้าวเดินต่อไปได้ในสังคมอนาคต หากไม่มีการยกมาตรฐานในเรื่องนี้
การแก้โจทย์ทั้ง ๗ ข้อนี้ ถือเป็นภารกิจสำคัญที่สุดของพรรคการเมืองอย่างพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อให้ได้ วาระประชาชน สำหรับอนาคตอันใกล้ แก้ไขความว้าเหว่ และ การขาดที่พึ่งของประชาชน ซึ่งผมตั้งใจจะทำภายใต้ข้อจำกัดต่างๆของสถานการณ์ แต่จะยึดหลักการมีส่วนร่วมเท่าที่จะทำได้ และนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแสงสว่างนำทางประเทศไทยให้รุ่งเรือง และเป็นส่วนหนึ่งของสังคมโลกอนาคต
แม้บ้านเมืองเรามีเรื่องเก่าๆจากอดีตที่ต้องสะสาง และ เรียนรู้ แต่เราจะต้องไม่จมปลักอยู่กับอดีต
แม้เราจะมีปัญหาเฉพาะหน้าในปัจจุบัน แต่เราจะหมกมุ่นอยู่กับปัจจุบันไม่ได้
ทุกคน ทุกฝ่ายต้องมองไปข้างหน้า คิดถึงอนาคต
นี่คือ เป้าหมายและงานหลักของพรรค ที่เราพร้อมจะก้าวย่างต่อไป ไม่ว่าภาวการณ์ปัจจุบันจะมีความสับสนวุ่นวายเพียงไร
************************************************
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 29 เม.ย. 2550--จบ--