นายชำนิ ศักดิเศรษฐ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ในฐานะรองประธานคณะทำงานด้านการเมืองการปกครองของพรรคประชาธิปัตย์ ได้แถลงต่อผู้สื่อข่าวถึงแนวทางในการจัดตั้งมหานครแห่งใหม่ว่า คณะทำงานด้านการเมืองการปกครองขอสนับสนุนการจัดตั้งมหานครแห่งใหม่ ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
1. มหานครแห่งใหม่ ถือเป็นนวตกรรมทางการปกครองหลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ปี 40
2. การจัดตั้งมหานครสมุทรปราการ ซึ่งเป็น 1 ใน 6 มหานครแห่งใหม่ที่ปชป. ประกาศเป็นนโยบายกระจายอำนาจครั้งสำคัญ เมื่อคราวรณรงค์เลือกตั้งเมื่อ 6 กพ. 48
3. ฯพณฯท่านนายกรัฐมนตรีประกาศที่จะรับฟังความเห็นในการจัดตั้งมหานครแห่งใหม่ในครั้งนี้
นายชำนิ กล่าวว่า ก่อนที่จะแถลงข้อเสนอขอตั้งข้อสังเกตในประเด็นหลักของการจัดตั้งมหานครรวมทั้งมุมมองที่อาจจะนำมาซึ่งความขัดแย้งระหว่างพื้นที่กรุงเทพมหานครกับสมุทรปราการ ว่า1. ต้องเข้าใจเสียก่อนว่า สนามบินสุวรรณภูมิ เป็นหนึ่งในกิจกรรมของมหานคร ไม่ใช่มหานครเป็นหนึ่งในกิจกรรมของสนามบินสุวรรณภูมิ 2. การจัดตั้งมหานครแห่งใหม่ควรใช้พื้นที่ทั้งจังหวัดสมุทรปราการ เป็นมหานคร 3. พื้นที่ใดเป็นของกรุงเทพมหานครก็ควรเป็นเช่นเดิม เพราะเขตลาดกระบังและเขตประเวศ เป็นพื้นที่ที่รองรับกิจกรรมของกรุงเทพมหานครตามสภาพความเป็นจริงของทุกเมืองที่จะต้องมี สองเขตนี้ได้กำหนดให้เป็นเขตอุตสาหกรรมบริการและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมอยู่แล้ว จึงไม่ควรที่จะไปผนวกกับมหานครใหม่
“กรณีที่ท่านนายกฯ เปรียบเทียบมหานครแห่งใหม่กับสิงคโปร์ และกล่าวว่ามีลักษณะพื้นที่ที่ใกล้เคียงกัน สิงคโปร์ใหญ่กว่าเล็กน้อย ซึ่งเข้าใจว่าท่านนายกฯ พูดด้วยความ “เห่อ” สนามบินสุวรรณภูมิเสียมากกว่าจะพัฒนาพื้นที่ให้เป็นมหานคร ถ้าเราจะสร้างมหานครแห่งใหม่ทั้งที ทำไมต้องทำให้ใกล้เคียงหรือเล็กกว่า เราควรทำให้ ใหญ่กว่า เพราะพื้นที่เดิมของสมุทรปราการมีศักยภาพในการพัฒนาและสร้างให้เป็นมหานครที่ใหญ่กว่าสิงคโปร์ ได้อยู่แล้ว” นายชำนิ
การจัดตั้งมหานครแห่งใหม่
ข้อเสนอ
1. จัดตั้งมหานครเต็มพื้นที่ทั้งจังหวัดสมุทรปราการ (จะใช้ชื่อใดให้ประชาชนชาวสมุทรปราการกำหนด)
2. กำหนดให้มหานครประกอบขึ้นจากหลายศูนย์ชุมชน ซึ่งเป็นเมืองกิจกรรมอยู่แล้ว เช่น
2.1 ศูนย์ชุมชนอุตสาหกรรม
2.2 ศูนย์ชุมชนการขนส่งทางน้ำ
2.3 ศูนย์ชุมชนอนุรักษ์ธรรมชาติ และแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม
2.4 ศูนย์ชุมชุนพาณิชยกรรมและการขนส่งทางบก
2.5 ศูนย์ชุมชนเกษตรกรรมชานเมือง และ
2.6 ศูนย์ชุมชนสนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งเป็นธงนำและกิจกรรมใหม่ของมหานคร
3. กำหนดให้มหานครแห่งใหม่เป็นมหานครแห่งที่สองของประเทศ เป็นมหานครคู่แฝดกับกรุงเทพมหานคร ที่ให้การบริการซึ่งกันและกันเชื่อมโยงด้วยสายสะดือเดียวกัน คือ สนามบินสุวรรณภูมิ ศูนย์กลางการบินแห่งใหม่ของเอเชียมหานครแห่งใหม่ จะทำหน้าที่เชื่อมโยงกับเมือง 3 สมุทร เมืองชายฝั่งทะเลตะวันออก และเมืองจากภาคใต้
4. โครงสร้างการบริหาร
1. นายกมหานคร และสภามหานคร มาจากการเลือกตั้งของประชาชนทั้งมหานคร
2. การให้บริการโครงสร้างพื้นฐาน อย่างพร้อมเพรียงทุกกิจกรรมของแต่ละชุมชนเมือง ให้การพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมและ
3. ทุกกิจกรรม ทุกพื้นที่ ทุกการก่อสร้างจะต้องอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ของผังเมืองและโยธาธิการอย่างเคร่งครัด
ในฐานะที่ทุกพื้นที่มีเขตการปกครองและมีการให้บริการที่แน่ชัดอยู่แล้ว ก็ควรให้อยู่คงเดิมแต่ในฐานะที่กรุงเทพมหานคร และมหานครเป็นเมืองคู่แฝดจะต้องสร้างรอยต่อเพื่อเอื้อในการให้บริการแก่กันและกันรวมทั้งแข่งขันกันพัฒนาเพื่อประโยชน์ร่วมกันของมหานครคู่แฝด
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 19 ต.ค. 2548--จบ--
1. มหานครแห่งใหม่ ถือเป็นนวตกรรมทางการปกครองหลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ปี 40
2. การจัดตั้งมหานครสมุทรปราการ ซึ่งเป็น 1 ใน 6 มหานครแห่งใหม่ที่ปชป. ประกาศเป็นนโยบายกระจายอำนาจครั้งสำคัญ เมื่อคราวรณรงค์เลือกตั้งเมื่อ 6 กพ. 48
3. ฯพณฯท่านนายกรัฐมนตรีประกาศที่จะรับฟังความเห็นในการจัดตั้งมหานครแห่งใหม่ในครั้งนี้
นายชำนิ กล่าวว่า ก่อนที่จะแถลงข้อเสนอขอตั้งข้อสังเกตในประเด็นหลักของการจัดตั้งมหานครรวมทั้งมุมมองที่อาจจะนำมาซึ่งความขัดแย้งระหว่างพื้นที่กรุงเทพมหานครกับสมุทรปราการ ว่า1. ต้องเข้าใจเสียก่อนว่า สนามบินสุวรรณภูมิ เป็นหนึ่งในกิจกรรมของมหานคร ไม่ใช่มหานครเป็นหนึ่งในกิจกรรมของสนามบินสุวรรณภูมิ 2. การจัดตั้งมหานครแห่งใหม่ควรใช้พื้นที่ทั้งจังหวัดสมุทรปราการ เป็นมหานคร 3. พื้นที่ใดเป็นของกรุงเทพมหานครก็ควรเป็นเช่นเดิม เพราะเขตลาดกระบังและเขตประเวศ เป็นพื้นที่ที่รองรับกิจกรรมของกรุงเทพมหานครตามสภาพความเป็นจริงของทุกเมืองที่จะต้องมี สองเขตนี้ได้กำหนดให้เป็นเขตอุตสาหกรรมบริการและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมอยู่แล้ว จึงไม่ควรที่จะไปผนวกกับมหานครใหม่
“กรณีที่ท่านนายกฯ เปรียบเทียบมหานครแห่งใหม่กับสิงคโปร์ และกล่าวว่ามีลักษณะพื้นที่ที่ใกล้เคียงกัน สิงคโปร์ใหญ่กว่าเล็กน้อย ซึ่งเข้าใจว่าท่านนายกฯ พูดด้วยความ “เห่อ” สนามบินสุวรรณภูมิเสียมากกว่าจะพัฒนาพื้นที่ให้เป็นมหานคร ถ้าเราจะสร้างมหานครแห่งใหม่ทั้งที ทำไมต้องทำให้ใกล้เคียงหรือเล็กกว่า เราควรทำให้ ใหญ่กว่า เพราะพื้นที่เดิมของสมุทรปราการมีศักยภาพในการพัฒนาและสร้างให้เป็นมหานครที่ใหญ่กว่าสิงคโปร์ ได้อยู่แล้ว” นายชำนิ
การจัดตั้งมหานครแห่งใหม่
ข้อเสนอ
1. จัดตั้งมหานครเต็มพื้นที่ทั้งจังหวัดสมุทรปราการ (จะใช้ชื่อใดให้ประชาชนชาวสมุทรปราการกำหนด)
2. กำหนดให้มหานครประกอบขึ้นจากหลายศูนย์ชุมชน ซึ่งเป็นเมืองกิจกรรมอยู่แล้ว เช่น
2.1 ศูนย์ชุมชนอุตสาหกรรม
2.2 ศูนย์ชุมชนการขนส่งทางน้ำ
2.3 ศูนย์ชุมชนอนุรักษ์ธรรมชาติ และแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม
2.4 ศูนย์ชุมชุนพาณิชยกรรมและการขนส่งทางบก
2.5 ศูนย์ชุมชนเกษตรกรรมชานเมือง และ
2.6 ศูนย์ชุมชนสนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งเป็นธงนำและกิจกรรมใหม่ของมหานคร
3. กำหนดให้มหานครแห่งใหม่เป็นมหานครแห่งที่สองของประเทศ เป็นมหานครคู่แฝดกับกรุงเทพมหานคร ที่ให้การบริการซึ่งกันและกันเชื่อมโยงด้วยสายสะดือเดียวกัน คือ สนามบินสุวรรณภูมิ ศูนย์กลางการบินแห่งใหม่ของเอเชียมหานครแห่งใหม่ จะทำหน้าที่เชื่อมโยงกับเมือง 3 สมุทร เมืองชายฝั่งทะเลตะวันออก และเมืองจากภาคใต้
4. โครงสร้างการบริหาร
1. นายกมหานคร และสภามหานคร มาจากการเลือกตั้งของประชาชนทั้งมหานคร
2. การให้บริการโครงสร้างพื้นฐาน อย่างพร้อมเพรียงทุกกิจกรรมของแต่ละชุมชนเมือง ให้การพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมและ
3. ทุกกิจกรรม ทุกพื้นที่ ทุกการก่อสร้างจะต้องอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ของผังเมืองและโยธาธิการอย่างเคร่งครัด
ในฐานะที่ทุกพื้นที่มีเขตการปกครองและมีการให้บริการที่แน่ชัดอยู่แล้ว ก็ควรให้อยู่คงเดิมแต่ในฐานะที่กรุงเทพมหานคร และมหานครเป็นเมืองคู่แฝดจะต้องสร้างรอยต่อเพื่อเอื้อในการให้บริการแก่กันและกันรวมทั้งแข่งขันกันพัฒนาเพื่อประโยชน์ร่วมกันของมหานครคู่แฝด
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 19 ต.ค. 2548--จบ--