แท็ก
มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
จังหวัดเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยบูรพา
กระทรวงการคลัง
โรงแรมคอนราด
ผลการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสกระทรวงการคลังและธนาคารกลางอาเซียน
(ASEAN Finance and Central Bank Deputies’ Meetings)
นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2550 ได้มีการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสจากกระทรวงการคลังและธนาคารกลางของอาเซียน ณ จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อหารือกันเกี่ยวกับการสร้างความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ การเงินและการคลังในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งการประชุมวันนี้เป็นการเตรียมการสำหรับการประชุมระดับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียนในระหว่างวันที่ 4-5 เมษายน 2550
ปลัดกระทรวงการคลังในฐานะประธานการประชุมได้เปิดเผยถึงประเด็นสำคัญ ดังนี้
1. แผนการไปสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ที่ประชุมได้หารือกันเกี่ยวกับแผนการด้านการเงินการคลังเพื่อสนับสนุนเป้าหมายการรวมกลุ่มในอาเซียนไปสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ที่ผู้นำอาเซียนได้ตกลงที่จะเร่งรัดเป้าหมายให้เร็วขึ้นจากเดิมในปี 2563 (ค.ศ. 2020) เป็นปี 2558 (ค.ศ. 2015) ที่ประชุมได้มีการประสานความก้าวหน้าในด้านต่างๆโดยเฉพาะการเปิดเสรีบริการด้านการเงิน การพัฒนาตลาดทุนโดยสร้างความเชื่อมโยงของตลาดหลักทรัพย์ในภูมิภาคให้เป็นหนึ่งเดียว โดยเฉพาะเป็นการร่วมมือด้านข้อมูลในตลาดตราสารหนี้ รวมทั้งการสนับสนุนให้มีการเคลื่อนย้ายเงินทุนไหลเวียนกันภายในอาเซียนมากขึ้น ที่ประชุมยังได้พิจารณาพิมพ์เขียว (Blueprint) ในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งจะได้กำหนดแนวทางความร่วมมือที่ชัดเจนยิ่งขึ้น และเป็นการแสดงเจตจำนงของอาเซียนที่จะร่วมมือเป็นหนึ่งเดียวพร้อมกับจะเดินหน้าต่อไป
2. การจัดตั้งกลไกทางการเงินเพื่อสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในอาเซียน
ที่ประชุมได้ตระหนักถึงปัญหาความไม่สมดุลของโลก (global imbalance) เนื่องจากมีเงินทุนที่ไหลเข้ามายังภูมิภาคอาเซียนมากกว่าภูมิภาคอื่นในโลก ทำให้อาเซียนมีระดับเงินออมอยู่ในเกณฑ์สูงมาก ดังนั้น แนวทางในจัดการกับเงินออมดังกล่าวแนวทางหนึ่งได้แก่การนำเงินไปลงทุนโดยตั้งเป็นกองทุนที่มีวัตถุประสง์เพื่อสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ในประเทศอาเซียนซึ่งที่ประชุมได้มอบหมายให้คณะทำงานระดับเทคนิคพิจารณาหาโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นประโยชน์แก่ภูมิภาคอาเซียนต่อไป
3. สร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้แก่ธุรกิจและดึงดูดการลงทุนในอาเซียนด้วยความร่วมมือทางภาษี
ประเทศไทยได้เสนอให้มีการสร้างความร่วมมือด้านภาษีอากรในอาเซียน โดยเร่งรัดให้มีการจัดทำความตกลงทวิภาคีเพื่อเว้นภาษีซ้อนในอาเซียนให้ครบทุกประเทศ ตลอดจนสร้างความร่วมมือกันด้านภาษีระหว่างประเทศอื่นๆ เพื่อสนับสนุนการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้แก่ภาคธุรกิจและดึงดูดการลงทุนในอาเซียนให้มากขึ้น
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้รับทราบความคืบหน้าในด้านต่างๆ ที่ได้มีความร่วมมือกันมาอย่างต่อเนื่อง อาทิเช่น ความร่วมมือด้านประกันภัย ความร่วมมือด้านศุลกากร การต่อต้านการฟอกเงินและการก่อการร้าย เป็นต้น และได้รับทราบว่าสภาวะการพัฒนาเศรษฐกิจในภูมิภาคยังมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องและมีเสถียรภาพ โดยการส่งออกยังเป็นตัวขับเคลื่อนหลักในการสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจ
ทั้งนี้ ผลการประชุมทั้งหมดจะได้มีการนำเสนอต่อที่ประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียนเพื่อหารือกันในระดับนโยบาย โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของไทยจะเป็นประธานในการประชุมครั้งนี้
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 23/2550 2 เมษายน 50--
(ASEAN Finance and Central Bank Deputies’ Meetings)
นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2550 ได้มีการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสจากกระทรวงการคลังและธนาคารกลางของอาเซียน ณ จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อหารือกันเกี่ยวกับการสร้างความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ การเงินและการคลังในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งการประชุมวันนี้เป็นการเตรียมการสำหรับการประชุมระดับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียนในระหว่างวันที่ 4-5 เมษายน 2550
ปลัดกระทรวงการคลังในฐานะประธานการประชุมได้เปิดเผยถึงประเด็นสำคัญ ดังนี้
1. แผนการไปสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ที่ประชุมได้หารือกันเกี่ยวกับแผนการด้านการเงินการคลังเพื่อสนับสนุนเป้าหมายการรวมกลุ่มในอาเซียนไปสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ที่ผู้นำอาเซียนได้ตกลงที่จะเร่งรัดเป้าหมายให้เร็วขึ้นจากเดิมในปี 2563 (ค.ศ. 2020) เป็นปี 2558 (ค.ศ. 2015) ที่ประชุมได้มีการประสานความก้าวหน้าในด้านต่างๆโดยเฉพาะการเปิดเสรีบริการด้านการเงิน การพัฒนาตลาดทุนโดยสร้างความเชื่อมโยงของตลาดหลักทรัพย์ในภูมิภาคให้เป็นหนึ่งเดียว โดยเฉพาะเป็นการร่วมมือด้านข้อมูลในตลาดตราสารหนี้ รวมทั้งการสนับสนุนให้มีการเคลื่อนย้ายเงินทุนไหลเวียนกันภายในอาเซียนมากขึ้น ที่ประชุมยังได้พิจารณาพิมพ์เขียว (Blueprint) ในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งจะได้กำหนดแนวทางความร่วมมือที่ชัดเจนยิ่งขึ้น และเป็นการแสดงเจตจำนงของอาเซียนที่จะร่วมมือเป็นหนึ่งเดียวพร้อมกับจะเดินหน้าต่อไป
2. การจัดตั้งกลไกทางการเงินเพื่อสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในอาเซียน
ที่ประชุมได้ตระหนักถึงปัญหาความไม่สมดุลของโลก (global imbalance) เนื่องจากมีเงินทุนที่ไหลเข้ามายังภูมิภาคอาเซียนมากกว่าภูมิภาคอื่นในโลก ทำให้อาเซียนมีระดับเงินออมอยู่ในเกณฑ์สูงมาก ดังนั้น แนวทางในจัดการกับเงินออมดังกล่าวแนวทางหนึ่งได้แก่การนำเงินไปลงทุนโดยตั้งเป็นกองทุนที่มีวัตถุประสง์เพื่อสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ในประเทศอาเซียนซึ่งที่ประชุมได้มอบหมายให้คณะทำงานระดับเทคนิคพิจารณาหาโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นประโยชน์แก่ภูมิภาคอาเซียนต่อไป
3. สร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้แก่ธุรกิจและดึงดูดการลงทุนในอาเซียนด้วยความร่วมมือทางภาษี
ประเทศไทยได้เสนอให้มีการสร้างความร่วมมือด้านภาษีอากรในอาเซียน โดยเร่งรัดให้มีการจัดทำความตกลงทวิภาคีเพื่อเว้นภาษีซ้อนในอาเซียนให้ครบทุกประเทศ ตลอดจนสร้างความร่วมมือกันด้านภาษีระหว่างประเทศอื่นๆ เพื่อสนับสนุนการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้แก่ภาคธุรกิจและดึงดูดการลงทุนในอาเซียนให้มากขึ้น
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้รับทราบความคืบหน้าในด้านต่างๆ ที่ได้มีความร่วมมือกันมาอย่างต่อเนื่อง อาทิเช่น ความร่วมมือด้านประกันภัย ความร่วมมือด้านศุลกากร การต่อต้านการฟอกเงินและการก่อการร้าย เป็นต้น และได้รับทราบว่าสภาวะการพัฒนาเศรษฐกิจในภูมิภาคยังมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องและมีเสถียรภาพ โดยการส่งออกยังเป็นตัวขับเคลื่อนหลักในการสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจ
ทั้งนี้ ผลการประชุมทั้งหมดจะได้มีการนำเสนอต่อที่ประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียนเพื่อหารือกันในระดับนโยบาย โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของไทยจะเป็นประธานในการประชุมครั้งนี้
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 23/2550 2 เมษายน 50--