วันนี้ (17 มิ.ย. 50) นายกรณ์ จาติกวณิช รองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ แถลงข่าวที่พรรคประชาธิปัตย์ ถึงการอายัดทรัพย์ และการโยกย้ายถ่ายเททรัพย์สินของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ว่าขั้นตอนการทำงานของ คตส. เป็นไปตามกฎกติกา และกฎหมายที่มีอยู่เดิม และเห็นว่าคตส. ได้ใช้เวลาเกือบ 8 เดือน ในการพิจารณาเรื่องการอายัดทรัพย์ เพราะมีความจำเป็นต้องหาหลักฐานข้อมูล เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการต่อสู้ชั้นศาลได้
ทั้งนี้นายกรณ์ ได้สรุปว่า เหตุที่มาของการอายัดทรัพย์สินนั้นมาจากการทุจริตในเชิงนโยบาย ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์มีความพยายามชี้ให้เห็นว่าในช่วง 4 — 5 ปีที่ผ่านมาเกิดการทุจริตในเชิงนโยบายมาโดยตลอด โดยการทุจริตในเชิงนโยบายที่เกี่ยวข้องกับชินคอร์ปมีหลายกรณี เช่นการปรับค่าสัมปทานธุรกิจมือถือ พรีเพด จาก 30 เปอร์เซนต์ลดเหลือ 20 เปอร์เซนต์ ตลอดอายุสัมปทาน, การผลักภาระภาษีสรรพสามิตจากบริษัท แอดว๊านซ์ฯ ไปเป็นภาระขององค์การโทรศัพท์ เป็นต้น ซึ่งการทุจริตทั้งหมดสามารถคำนวนเป็นเม็ดเงินการสูญเสียของรัฐ และทำให้รัฐเกิดความเสียหายได้
นายกรณ์ กล่าวว่า การจะอายัดทรัพย์สินของ พ.ต.ท.ทักษิณได้นั้น ต้องสามารถพิสูจน์ให้ได้ว่า นโยบายที่มีการทุจริตทั้งหมดเป็นการเพิ่มความร่ำรวยให้กับพ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวคือหุ้นชินคอร์ปที่ได้ขายให้กับเทมาเสกเมื่อต้นปีนั้นยังเป็นของพ.ต.ท.ทักษิณอยู่ ซึ่งประเด็นนี้พ.ต.ท.ทักษิณได้ปฏิเสธมาโดยตลอดว่าได้โอนให้ลูกไปแล้ว และขายให้คนอื่นไปแล้ว แต่จากเอกสารของ คตส. ที่ทำการสืบค้นและพิสูจน์มาพบว่าการโอนหุ้นทั้งหมดเป็นนิติกรรมอำพราง กล่าวคือหุ้นในแอมเพิลริช หรือหุ้นในส่วนอื่น ๆ ไม่ได้มีการทำการขายจริง
สำหรับสาเหตุที่ต้องมีการอายัดทรัพย์สินของ พ.ต.ท.ทักษิณ นั้น นายกรณ์กล่าวว่า เพราะมีความเคลื่อนไหวในหลักทรัพย์ และทรัพย์สินที่อยู่ในบัญชีดังกล่าวอย่างชัดเจน และคตส. เกรงว่าหากไม่มีการอายัดเกิดขึ้นแล้ว และหากมีการพิสูจน์ในชั้นศาลเกิดขึ้น อาจทำให้ไม่มีทรัพย์สินเหลือพอที่จะให้รัฐสามารถยึดตามกระบวนการของกฎหมายได้ หรือยึดทรัพย์เพื่อนำมาใช้หักล้างความเสียหายที่ได้ก่อแก่รัฐได้
ส่วนประเด็นที่เป็นห่วงว่าหลังจากการอายัดไปแล้ว เม็ดเงินที่จะนำไปสู่กระบวนการของศาลควรมีจำนวนเท่าใดนั้น พ.ต.ท.ทักษิณอ้างว่าตนเองมีฐานะร่ำรวยมาก่อนดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และเงินจำนวน 73,000 ล้านที่ได้จากการขายหุ้นกับสิงคโปร์นั้นเป็นราคาที่สูงขึ้นตามกลไกตลาดหลักทรัพย์ ฯ นายกรณ์กล่าวว่า จากเอกสารหลักฐานที่คำนวนโดยทีมงานพรรคประชาธิปัตย์ สามารถพิสูจน์ให้เห็นว่า เมื่อเทียบกับราคาที่ควรจะเป็นแล้ว หุ้นดังกล่าวมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเพราะการทุจริตในเชิงนโยบายถึง 40,000 ล้าน กล่าวคือหากมีการขายหุ้นตามปกติแล้วควรมีมูลค่าไม่เกิน 33,000 ล้าน
นายกรณ์ขยายความว่า หากศาลเห็นด้วย จากการอายัดทรัพย์ 50,000 กว่าล้านไปแล้ว ส่วนที่จะนำไปสู่การยึดทรัพย์ในฐานะร่ำรวยผิดปกติ ก็คือ ส่วนของการขายหุ้นมูลค่า 40,000 ล้านบาทดังกล่าว ซึ่งได้รวมทุจริตในกรณีที่เกี่ยวข้องกับภาษีสรรพสามิต ทุจริตในกรณีที่เกี่ยวข้องกับการปรับสัญญาสัมปทานส่วนแบ่งรายได้ที่ต้องมอบให้องค์การโทรศัพท์ฯ ทุจริตที่เกี่ยวข้องกับการให้สิทธิพิเศษทางภาษีให้กับชินแซท ทุจริตที่เกี่ยวข้องกับการแก้สัมปทานไอทีวี และรวมถึงเงินปันผลที่ครอบครัวชินวัตรได้รับไปแล้วในระหว่างปี 2546 — 2549 ซึ่งเงินปันผลดังกล่าวได้ถูกจ่ายออกมาจากกำไรของบริษัท และเป็นกำไรส่วนที่สูงเกินควรเนื่องมาจากการทุจริตในเชิงนโยบาย
สำหรับข้อสงสัยต่อการโอนหุ้นให้ลูกแล้วหรือไม่นั้น นายกรณ์ กล่าวว่าเรื่องนี้มีสัญญาณที่ชัดเจนมาแล้วตั้งแต่ต้นปี อาทิ หุ้นแอมเพิลริช ที่อ้างว่าได้โอนให้กับนายพานทองแท้ แล้วนั้น สุดท้ายไม่ได้มีการโอนจริง และนอกจากนั้นยังมีหุ้นอยู่ในบัญชีที่ไม่เคยรายงานต่อ ปปช. ตามสถาบันการเงินต่าง ๆ โดยเฉพาะสถาบันการเงินที่ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งเงินปันผลจากหุ้นแม้จะนายพานทองแท้ได้รับ แต่สุดท้ายเงินปันผลนั้นก็มีเส้นทางกลับเข้าสู่บัญชีของคุณหญิงพจมาน ซึ่งเรื่องนี้พิสูจน์ให้เห็นว่า นายพานทองแท้ถือหุ้นในฐานะเป็นนอมินีให้กับบิดามารดานั่นเอง
นายกรณ์ยังพบข้อพิรุธจากคำกล่าวของ พ.ต.ท.ทักษิณ ในวีซีดีที่เปิดให้กลุ่มผู้ชุมนุมท้องสนามหลวงเมื่อวันศุกร์ (15 มิย.) ที่ผ่านมาว่า พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวด้วยตัวเอง เพื่อแสดงให้เห็นถึงความเป็นเจ้าของหุ้น จากคำกล่าวที่ว่า “และคตส. ก็บอกว่าเงินผมที่ขายหุ้น 7 หมื่นกว่าล้านบาท เหลือ 5 หมื่นกว่าล้านบาท มีการยักย้ายถ่ายเท” ตรงนี้คือการยืนยันด้วยคำพูดว่าเงิน 7 หมื่นกว่าล้านนั้นเป็นเงินของตน ทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้านี้มีการปฏิเสธจำนวนเงินดังกล่าวมาโดยตลอด นอกจากนี้พ.ต.ท.ทักษิณ ยังกล่าวว่า “รังแกผมยังไม่เป็นไร รังแกเมียผม ลูกผม ซึ่งเขาไม่รู้เรื่องเลย” นายกรณ์ชี้ว่าคำกล่าวนี้ก็ยืนยันว่า พฤติกรรมทั้งหมดที่เกี่ยวกับการขายหุ้นที่เคยอ้างว่าลูกเป็นผู้ตัดสินใจนั้นไม่เป็นความจริง สุดท้ายแล้วไม่มีใครรู้เรื่องเลย มีแต่ พ.ต.ท.ทักษิณเท่านั้นที่รับรู้เรื่องนี้มาโดยตลอด
ต่อกรณีเรื่องการยักย้ายถ่ายเทเงินจำนวน 20,000 กว่าล้านที่หายไปจากบัญชีนั้น นายกรณ์อยากเรียกร้องให้ธปท. เร่งรัดในการติดตามทิศทางเส้นทางของจำนวนเงินดังกล่าวที่หายไปจากบัญชีของ พ.ต.ท.ทักษิณ และภรรยา และการที่ธปท.ออกมายืนยันว่าจำนวนเงินดังกล่าวน่าจะยังอยู่ในประเทศไทยนั้น นายกรณ์แสดงความเห็นว่า คิดเพียงเท่านั้นยังไม่พอ เพราะว่าธปท. คงต้องทราบดีว่ามีวิธีมากมายในการนำเงินออกนอกประเทศ โดยไม่ต้องขออนุญาตธปท. กล่าวคือจากการที่ได้พูดคุยกับธนาคารพาณิชย์ต้นสังกัดพบว่า ลูกค้าที่มีเงินฝากสามารถถอนเงินออกไปได้ไม่เกินครั้งละ 50 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยไม่ต้องขออนุญาต ธปท. เลย ดังนั้นตนจึงไม่แน่ใจว่า ธปท. มีข้อมูลอะไรในการยืนยันว่าเงินทั้งหมดยังอยู่ในประเทศ
นายกรณ์ขยายความเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า การที่เจ้าของบัญชีจะถอนและโอนเงินไปบัญชีต่างประเทศได้นั้น ทุก ๆ 2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จะต้องขออนุมัติจากทางธปท. แต่มีช่องให้ทางลูกค้าสามารถโอนเงินไปต่างประเทศได้ไม่เกิน 50 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่ว่าต้องมีหลักฐานในแง่ของธุรกรรมมารองรับ โดยที่ไม่ต้องแจ้งธปท.และเท่าที่ทราบมามีการโอนในลักษณะนี้แล้วอย่างน้อย 1 ครั้งอีกด้วย
สำหรับข้อกล่าวอ้างของ นายนพดล ปัทมะ ที่ปรึกษากฎหมายของพ.ต.ท.ทักษิณ ว่าเงินอีกประมาณ 20,000 ล้านบาทนั้นเอาไปลงทุนในบรษัทต่าง ๆ ดังรายละเอียดที่ได้เปิดเผยไปก่อนหน้านี้ นายกรณ์กล่าวว่า ตนไม่เชื่อว่าทั้งหมดเป็นการลงทุนจริง หุ้นทั้งหมดที่คุณนพดลพูดถึง ที่บอกว่า น.ส.พินทองทา นายพานทองแท้ และนายบรรณพจน์ได้ถอนเงิน 20,000 กว่าล้านไปซื้อหุ้นเหล่านั้น เป็นหุ้นของครอบครัวชินวัตรอยู่แล้ว ดังนั้นการที่อยู่ดี ๆ จะนำเงินไปซื้อหุ้นจากตัวเองเป็นสิ่งที่ไม่สมเหตุสมผล นอกจากนั้นบริษัทเหล่านั้นมีทุนจดทะเบียนเพียงน้อยนิด บางบริษัทมีทุนจดทะเบียนเพียง 160 ล้าน แต่บอกว่านายพานทองแท้ซื้อหุ้นเพิ่มเป็น 1,000 ล้านบาท ซึ่งไม่สมเหตุสมผล นอกจากนั้นบริษัททั้งหมดได้เคยแจ้งกับตลาดหลักทรัพย์ฯ ไว้แล้วว่าจะอาสาที่จะแช่แข็งธุรกิจตัวเองเพื่อไม่ให้มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับบริษัทครอบครัวที่ชื่อ เอสซีแอสเซท ที่ได้ขอจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ไปแล้ว ดังนั้นข้ออ้างดังกล่าว ควรจะได้มีการขอเอกสารหลักฐานเพิ่มเติม โดยตนเชื่อว่าเป็นเพียงแค่การหลบหลีกเพื่อไม่ให้เงิน 20,000 ล้านนั้นถูกอายัดไปด้วย และคิดว่าคตส. คงต้องมีการดำเนินการตามไปอายัดเงินที่อยู่ในบริษัทเหล่านี้หากมีการไปซื้อหุ้นจริง เพราะถือว่าเป็นการยักย้ายถ่ายเถในลักษณะที่ไม่สมเหตุสมผล และส่อพิรุธต่อความพยายามหนีการอายัดเงินที่เหลืออยู่นั่นเอง
กล่าวคือ หุ้นที่มีการนำเงิน20 ,000 ล้านไปลงทุนนั้น นายกรณ์ขยายความว่า ก็คือหุ้นที่พ.ต.ท.ทักษิณ เคยขายให้กับบริษัทวินมาร์ค และบริษัทวินมาร์ค ขายกลับมาให้ น.ส.พิณทองทา บริษัทดังกล่าวเป็นบริษัทที่ไม่ได้ดำเนินธุรกิจ ตามกฎของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อปี 2546 ในขณะที่จะนำบริษัทเอสซีแอสเซทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ บริษัทเหล่านี้ต้องให้คำมั่นกับตลาดหลักทรัพย์ว่าจะไม่ทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์หรือทำธุรกิจที่คล้ายคลึงกับธุรกิจของบริษัทเอสซี แอสเซท เพื่อให้นักลงทุนสามารถที่จะมั่นใจได้ว่าไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนระหว่างบริษัทที่นักลงทุนถืออยู่กับบริษัทที่เอาเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ ดังนั้นการเพิ่มทุนให้กับ 4 — 5 บริษัทเหล่านี้จึงไม่มีเหตุผล และไม่เชื่อว่ามีการเพิ่มทุนจริง นอกจากนี้หากเป็นการซื้อหุ้นเดิมก็ไม่เป็นการสมเหตุสมผลเพราะครอบครัวชินวัตรเป็นเจ้าของหุ้นอยู่แล้ว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 17 มิ.ย. 2550--จบ--
ทั้งนี้นายกรณ์ ได้สรุปว่า เหตุที่มาของการอายัดทรัพย์สินนั้นมาจากการทุจริตในเชิงนโยบาย ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์มีความพยายามชี้ให้เห็นว่าในช่วง 4 — 5 ปีที่ผ่านมาเกิดการทุจริตในเชิงนโยบายมาโดยตลอด โดยการทุจริตในเชิงนโยบายที่เกี่ยวข้องกับชินคอร์ปมีหลายกรณี เช่นการปรับค่าสัมปทานธุรกิจมือถือ พรีเพด จาก 30 เปอร์เซนต์ลดเหลือ 20 เปอร์เซนต์ ตลอดอายุสัมปทาน, การผลักภาระภาษีสรรพสามิตจากบริษัท แอดว๊านซ์ฯ ไปเป็นภาระขององค์การโทรศัพท์ เป็นต้น ซึ่งการทุจริตทั้งหมดสามารถคำนวนเป็นเม็ดเงินการสูญเสียของรัฐ และทำให้รัฐเกิดความเสียหายได้
นายกรณ์ กล่าวว่า การจะอายัดทรัพย์สินของ พ.ต.ท.ทักษิณได้นั้น ต้องสามารถพิสูจน์ให้ได้ว่า นโยบายที่มีการทุจริตทั้งหมดเป็นการเพิ่มความร่ำรวยให้กับพ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวคือหุ้นชินคอร์ปที่ได้ขายให้กับเทมาเสกเมื่อต้นปีนั้นยังเป็นของพ.ต.ท.ทักษิณอยู่ ซึ่งประเด็นนี้พ.ต.ท.ทักษิณได้ปฏิเสธมาโดยตลอดว่าได้โอนให้ลูกไปแล้ว และขายให้คนอื่นไปแล้ว แต่จากเอกสารของ คตส. ที่ทำการสืบค้นและพิสูจน์มาพบว่าการโอนหุ้นทั้งหมดเป็นนิติกรรมอำพราง กล่าวคือหุ้นในแอมเพิลริช หรือหุ้นในส่วนอื่น ๆ ไม่ได้มีการทำการขายจริง
สำหรับสาเหตุที่ต้องมีการอายัดทรัพย์สินของ พ.ต.ท.ทักษิณ นั้น นายกรณ์กล่าวว่า เพราะมีความเคลื่อนไหวในหลักทรัพย์ และทรัพย์สินที่อยู่ในบัญชีดังกล่าวอย่างชัดเจน และคตส. เกรงว่าหากไม่มีการอายัดเกิดขึ้นแล้ว และหากมีการพิสูจน์ในชั้นศาลเกิดขึ้น อาจทำให้ไม่มีทรัพย์สินเหลือพอที่จะให้รัฐสามารถยึดตามกระบวนการของกฎหมายได้ หรือยึดทรัพย์เพื่อนำมาใช้หักล้างความเสียหายที่ได้ก่อแก่รัฐได้
ส่วนประเด็นที่เป็นห่วงว่าหลังจากการอายัดไปแล้ว เม็ดเงินที่จะนำไปสู่กระบวนการของศาลควรมีจำนวนเท่าใดนั้น พ.ต.ท.ทักษิณอ้างว่าตนเองมีฐานะร่ำรวยมาก่อนดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และเงินจำนวน 73,000 ล้านที่ได้จากการขายหุ้นกับสิงคโปร์นั้นเป็นราคาที่สูงขึ้นตามกลไกตลาดหลักทรัพย์ ฯ นายกรณ์กล่าวว่า จากเอกสารหลักฐานที่คำนวนโดยทีมงานพรรคประชาธิปัตย์ สามารถพิสูจน์ให้เห็นว่า เมื่อเทียบกับราคาที่ควรจะเป็นแล้ว หุ้นดังกล่าวมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเพราะการทุจริตในเชิงนโยบายถึง 40,000 ล้าน กล่าวคือหากมีการขายหุ้นตามปกติแล้วควรมีมูลค่าไม่เกิน 33,000 ล้าน
นายกรณ์ขยายความว่า หากศาลเห็นด้วย จากการอายัดทรัพย์ 50,000 กว่าล้านไปแล้ว ส่วนที่จะนำไปสู่การยึดทรัพย์ในฐานะร่ำรวยผิดปกติ ก็คือ ส่วนของการขายหุ้นมูลค่า 40,000 ล้านบาทดังกล่าว ซึ่งได้รวมทุจริตในกรณีที่เกี่ยวข้องกับภาษีสรรพสามิต ทุจริตในกรณีที่เกี่ยวข้องกับการปรับสัญญาสัมปทานส่วนแบ่งรายได้ที่ต้องมอบให้องค์การโทรศัพท์ฯ ทุจริตที่เกี่ยวข้องกับการให้สิทธิพิเศษทางภาษีให้กับชินแซท ทุจริตที่เกี่ยวข้องกับการแก้สัมปทานไอทีวี และรวมถึงเงินปันผลที่ครอบครัวชินวัตรได้รับไปแล้วในระหว่างปี 2546 — 2549 ซึ่งเงินปันผลดังกล่าวได้ถูกจ่ายออกมาจากกำไรของบริษัท และเป็นกำไรส่วนที่สูงเกินควรเนื่องมาจากการทุจริตในเชิงนโยบาย
สำหรับข้อสงสัยต่อการโอนหุ้นให้ลูกแล้วหรือไม่นั้น นายกรณ์ กล่าวว่าเรื่องนี้มีสัญญาณที่ชัดเจนมาแล้วตั้งแต่ต้นปี อาทิ หุ้นแอมเพิลริช ที่อ้างว่าได้โอนให้กับนายพานทองแท้ แล้วนั้น สุดท้ายไม่ได้มีการโอนจริง และนอกจากนั้นยังมีหุ้นอยู่ในบัญชีที่ไม่เคยรายงานต่อ ปปช. ตามสถาบันการเงินต่าง ๆ โดยเฉพาะสถาบันการเงินที่ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งเงินปันผลจากหุ้นแม้จะนายพานทองแท้ได้รับ แต่สุดท้ายเงินปันผลนั้นก็มีเส้นทางกลับเข้าสู่บัญชีของคุณหญิงพจมาน ซึ่งเรื่องนี้พิสูจน์ให้เห็นว่า นายพานทองแท้ถือหุ้นในฐานะเป็นนอมินีให้กับบิดามารดานั่นเอง
นายกรณ์ยังพบข้อพิรุธจากคำกล่าวของ พ.ต.ท.ทักษิณ ในวีซีดีที่เปิดให้กลุ่มผู้ชุมนุมท้องสนามหลวงเมื่อวันศุกร์ (15 มิย.) ที่ผ่านมาว่า พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวด้วยตัวเอง เพื่อแสดงให้เห็นถึงความเป็นเจ้าของหุ้น จากคำกล่าวที่ว่า “และคตส. ก็บอกว่าเงินผมที่ขายหุ้น 7 หมื่นกว่าล้านบาท เหลือ 5 หมื่นกว่าล้านบาท มีการยักย้ายถ่ายเท” ตรงนี้คือการยืนยันด้วยคำพูดว่าเงิน 7 หมื่นกว่าล้านนั้นเป็นเงินของตน ทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้านี้มีการปฏิเสธจำนวนเงินดังกล่าวมาโดยตลอด นอกจากนี้พ.ต.ท.ทักษิณ ยังกล่าวว่า “รังแกผมยังไม่เป็นไร รังแกเมียผม ลูกผม ซึ่งเขาไม่รู้เรื่องเลย” นายกรณ์ชี้ว่าคำกล่าวนี้ก็ยืนยันว่า พฤติกรรมทั้งหมดที่เกี่ยวกับการขายหุ้นที่เคยอ้างว่าลูกเป็นผู้ตัดสินใจนั้นไม่เป็นความจริง สุดท้ายแล้วไม่มีใครรู้เรื่องเลย มีแต่ พ.ต.ท.ทักษิณเท่านั้นที่รับรู้เรื่องนี้มาโดยตลอด
ต่อกรณีเรื่องการยักย้ายถ่ายเทเงินจำนวน 20,000 กว่าล้านที่หายไปจากบัญชีนั้น นายกรณ์อยากเรียกร้องให้ธปท. เร่งรัดในการติดตามทิศทางเส้นทางของจำนวนเงินดังกล่าวที่หายไปจากบัญชีของ พ.ต.ท.ทักษิณ และภรรยา และการที่ธปท.ออกมายืนยันว่าจำนวนเงินดังกล่าวน่าจะยังอยู่ในประเทศไทยนั้น นายกรณ์แสดงความเห็นว่า คิดเพียงเท่านั้นยังไม่พอ เพราะว่าธปท. คงต้องทราบดีว่ามีวิธีมากมายในการนำเงินออกนอกประเทศ โดยไม่ต้องขออนุญาตธปท. กล่าวคือจากการที่ได้พูดคุยกับธนาคารพาณิชย์ต้นสังกัดพบว่า ลูกค้าที่มีเงินฝากสามารถถอนเงินออกไปได้ไม่เกินครั้งละ 50 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยไม่ต้องขออนุญาต ธปท. เลย ดังนั้นตนจึงไม่แน่ใจว่า ธปท. มีข้อมูลอะไรในการยืนยันว่าเงินทั้งหมดยังอยู่ในประเทศ
นายกรณ์ขยายความเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า การที่เจ้าของบัญชีจะถอนและโอนเงินไปบัญชีต่างประเทศได้นั้น ทุก ๆ 2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จะต้องขออนุมัติจากทางธปท. แต่มีช่องให้ทางลูกค้าสามารถโอนเงินไปต่างประเทศได้ไม่เกิน 50 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่ว่าต้องมีหลักฐานในแง่ของธุรกรรมมารองรับ โดยที่ไม่ต้องแจ้งธปท.และเท่าที่ทราบมามีการโอนในลักษณะนี้แล้วอย่างน้อย 1 ครั้งอีกด้วย
สำหรับข้อกล่าวอ้างของ นายนพดล ปัทมะ ที่ปรึกษากฎหมายของพ.ต.ท.ทักษิณ ว่าเงินอีกประมาณ 20,000 ล้านบาทนั้นเอาไปลงทุนในบรษัทต่าง ๆ ดังรายละเอียดที่ได้เปิดเผยไปก่อนหน้านี้ นายกรณ์กล่าวว่า ตนไม่เชื่อว่าทั้งหมดเป็นการลงทุนจริง หุ้นทั้งหมดที่คุณนพดลพูดถึง ที่บอกว่า น.ส.พินทองทา นายพานทองแท้ และนายบรรณพจน์ได้ถอนเงิน 20,000 กว่าล้านไปซื้อหุ้นเหล่านั้น เป็นหุ้นของครอบครัวชินวัตรอยู่แล้ว ดังนั้นการที่อยู่ดี ๆ จะนำเงินไปซื้อหุ้นจากตัวเองเป็นสิ่งที่ไม่สมเหตุสมผล นอกจากนั้นบริษัทเหล่านั้นมีทุนจดทะเบียนเพียงน้อยนิด บางบริษัทมีทุนจดทะเบียนเพียง 160 ล้าน แต่บอกว่านายพานทองแท้ซื้อหุ้นเพิ่มเป็น 1,000 ล้านบาท ซึ่งไม่สมเหตุสมผล นอกจากนั้นบริษัททั้งหมดได้เคยแจ้งกับตลาดหลักทรัพย์ฯ ไว้แล้วว่าจะอาสาที่จะแช่แข็งธุรกิจตัวเองเพื่อไม่ให้มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับบริษัทครอบครัวที่ชื่อ เอสซีแอสเซท ที่ได้ขอจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ไปแล้ว ดังนั้นข้ออ้างดังกล่าว ควรจะได้มีการขอเอกสารหลักฐานเพิ่มเติม โดยตนเชื่อว่าเป็นเพียงแค่การหลบหลีกเพื่อไม่ให้เงิน 20,000 ล้านนั้นถูกอายัดไปด้วย และคิดว่าคตส. คงต้องมีการดำเนินการตามไปอายัดเงินที่อยู่ในบริษัทเหล่านี้หากมีการไปซื้อหุ้นจริง เพราะถือว่าเป็นการยักย้ายถ่ายเถในลักษณะที่ไม่สมเหตุสมผล และส่อพิรุธต่อความพยายามหนีการอายัดเงินที่เหลืออยู่นั่นเอง
กล่าวคือ หุ้นที่มีการนำเงิน20 ,000 ล้านไปลงทุนนั้น นายกรณ์ขยายความว่า ก็คือหุ้นที่พ.ต.ท.ทักษิณ เคยขายให้กับบริษัทวินมาร์ค และบริษัทวินมาร์ค ขายกลับมาให้ น.ส.พิณทองทา บริษัทดังกล่าวเป็นบริษัทที่ไม่ได้ดำเนินธุรกิจ ตามกฎของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อปี 2546 ในขณะที่จะนำบริษัทเอสซีแอสเซทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ บริษัทเหล่านี้ต้องให้คำมั่นกับตลาดหลักทรัพย์ว่าจะไม่ทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์หรือทำธุรกิจที่คล้ายคลึงกับธุรกิจของบริษัทเอสซี แอสเซท เพื่อให้นักลงทุนสามารถที่จะมั่นใจได้ว่าไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนระหว่างบริษัทที่นักลงทุนถืออยู่กับบริษัทที่เอาเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ ดังนั้นการเพิ่มทุนให้กับ 4 — 5 บริษัทเหล่านี้จึงไม่มีเหตุผล และไม่เชื่อว่ามีการเพิ่มทุนจริง นอกจากนี้หากเป็นการซื้อหุ้นเดิมก็ไม่เป็นการสมเหตุสมผลเพราะครอบครัวชินวัตรเป็นเจ้าของหุ้นอยู่แล้ว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 17 มิ.ย. 2550--จบ--