สรุปภาวะการค้าไทย-ออสเตรเลียปี 2550 (ม.ค.-มิ.ย.)

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday August 14, 2007 11:40 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. ออสเตรเลียเป็นตลาดนำเข้าสำคัญอันดับ 20 ของโลก ในปี 2549 มีสัดส่วนการนำเข้าจากตลาดโลก
ประมาณร้อยละ 1.18 ของการนำเข้าในตลาดโลก หรือมูลค่า 132,778.362 ล้านเหรียญสหรัฐ
2. การค้าระหว่างประเทศของออสเตรเลียในช่วง ม.ค-มิ.ย 2550 มีมูลค่า 139,227.848 ล้านเหรียญสหรัฐ
ในจำนวนนี้มีมูลค่าการส่งออก 66,672.750 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.18 นำเข้ามีมูลค่า 72,555.098
ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.87
แหล่งผลิตสำคัญที่ออสเตรเลียนำเข้า ได้แก่
1. จีน ร้อยละ 14.20 มูลค่า 8,530.35 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.80
2. สหรัฐฯ ร้อยละ 10.80 มูลค่า 8,189.90 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.80
3. ญี่ปุ่น ร้อยละ 9.75 มูลค่า 5,807.02 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.21
6. ไทย ร้อยละ 4.27 มูลค่า 2,542.52 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 49.03
ดุลการค้า (ม.ค-มิ.ย 2550) ออสเตรเลียเสียเปรียบดุลการค้าโลกมูลค่า 5,882.348 ล้านเหรียญสหรัฐ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.43 โดยเสียเปรียบดุลการค้ากับสหรัฐฯ เป็นอันดับ 1 มูลค่า 6,011.835 ล้านเหรียญสหรัฐ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.60
3. สถาบันเวสต์แพ็ก-เมลเบิร์น คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจออสเตรเลียปี 2550 มีแนวโน้มจะขยายตัวเพิ่มขึ้น 5.7% ซึ่ง
สูงกว่าตัวเลขที่คาดการณ์ไว้เดิมที่ 4.1% โดยมีปัจจัยเกื้อหนุนมาจากภาคการส่งออก และภาวะซื้อขายในธุรกิจที่พัก
อาศัยที่เริ่มฟื้นตัว หลังจากที่อยู่ในภาวะซบเซามาหลายปี
4. การค้าระหว่างไทย-ออสเตรเลียในช่วงม.ค-มิ.ย 2550 มีมูลค่า 4,468.70 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ
23.39 ในจำนวนนี้แยกเป็นการนำเข้าจากออสเตรเลียมูลค่า 1,793.75 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.04
ด้านการส่งออกไปออสเตรเลียมีมูลค่า 2,674.95 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.76 ดุลการค้า ไทยได้เปรียบ
ดุลการค้ากับออสเตรเลียเป็นมูลค่า 881.20 ล้านเหรียญสหรัฐ จากสถิติการส่งออกสินค้าไทยไปออสเตรเลียมีอัตราการ
ขยายตัวสูงขึ้นมากกว่าร้อยละ 20 นับตั้งแต่ 2545 เป็นต้นมา
โครงสร้างสินค้าไทยส่งออกไปออสเตรเลีย ประกอบด้วย
สินค้าเกษตรกรรมร้อยละ 2.33 สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรร้อยละ 5.34 สินค้าอุตสาหกรรมร้อยละ
89.21 สินค้าแร่และเชื้อเพลิงร้อยละ 2.83 สินค้าอื่นๆ ร้อยละ 0.28 โดยมีสถิติ ดังนี้
โครงสร้างสินค้าออกของไทยกับประเทศออสเตรเลีย
มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐ
%เปลี่ยนแปลง สัดส่วน (%)
รายการ 2549 2549 2550 2549 2550 2549 2550
(ม.ค-มิ.ย) (ม.ค-มิ.ย) (ม.ค-มิ.ย) (ม.ค-มิ.ย)
1.สินค้าออกสำคัญทั้งสิ้น 4,351.45 1,913.91 2,674.95 37.07 39.76 100.00 100.00
2.สินค้าเกษตรกรรม 124.61 55.92 62.41 6.24 11.61 2.86 2.33
3.สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร 297.64 132.62 142.97 12.30 7.81 6.84 5.34
4.สินค้าอุตสาหกรรม 3,700.38 1,638.55 2,386.28 37.46 45.63 85.04 89.21
5.สินค้าแร่และเชื้อเพลิง 216.55 82.15 75.73 146.47 -7.82 4.98 2.83
6.สินค้าอื่นๆ 12.27 4.67 7.56 -2.12 61.96 0.28 0.28
ที่มา : สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์
4.1 การส่งออกสินค้าเกษตรกรรม ไปออสเตรเลียในช่วงม.ค-มิ.ย 2550 มีมูลค่า 62.41 ล้านเหรียญสหรัฐ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.61 สินค้าเกษตรกรรมสำคัญ 5 อันดับแรกไปตลาดออสเตรเลีย ได้แก่ ข้าว กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง
ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ยางพารา และปลาหมึกสดแช่เย็น แช่แข็ง ทั้ง 5 รายการนี้มีสถิติเพิ่มขึ้น 4 รายการ
ลดลง 1 รายการ ได้แก่ ปลาหมึกสด แช่เย็นแช่แข็ง ลดลงร้อยละ 11.46 ส่วนสินค้าอื่นที่สำคัญ รองลงไป ได้แก่
เนื้อปลาสดแช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง และกล้วยไม้ เป็นต้น
4.2 การส่งออกสินค้าเกษตรอุตสาหกรรม ไปออสเตรเลียมีมูลค่า 142.97 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.81
สินค้าเกษตรอุตสาหกรรมสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป อาหารสัตว์เลี้ยง ผลไม้กระป๋อง
และแปรรูป สิ่งปรุงรสอาหาร ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่นๆ ทั้ง 5 รายการนี้มีสถิติลดลง 1 รายการ คือ
ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่นๆ ลดลงร้อยละ 8.63 ส่วนสินค้าที่มีความสำคัญรองลงไป คือ ผักกระป๋อง
และแปรรูป ผลิตภัณฑ์ข้าว เครื่องดื่ม ไขมันจาก พืช และสัตว์ เป็นต้น
4.3 สินค้าอุตสาหกรรมสำคัญส่งออกไปออสเตรเลีย 5 อันดับแรก ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ อัญมณีและ
เครื่องประดับ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วน
ประกอบ ทั้ง 5 รายการนี้มีสถิติลดลง 2 รายการ คือ อัญมณีและเครื่องประดับ ลดลงร้อยละ 19.53 เหล็ก เหล็กกล้า
และผลิตภัณฑ์ ลดลงร้อยละ 7.32 ส่วนสินค้าอื่นที่สำคัญรองลงไป คือ ผลิตภัณฑ์ยาง เม็ดพลาสติก ผลิตภัณฑ์พลาสติก
เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์
รักษาผิว เป็นต้น
5. การแข่งขันสถานภาพของไทยในตลาดออสเตรเลียต้องแข่งขันกับหลายประเทศ หากพิจารณาเฉพาะประเทศใน
กลุ่มอาเซียนพบว่า ในช่วงม.ค-มิ.ย 2550 พบว่า สิงคโปร์มีสัดส่วนในตลาดนำเข้าอันดับ 4 ส่วนไทยอันดับ 6
มาเลเซียอันดับ 8 อินโดนีเซียอันดับ 10 เวียดนามอยู่ที่อันดับ 13 เมื่อเปรียบเทียบอัตราการขยายตัวแล้วพบว่า
ออสเตรเลียได้ขยายการนำเข้าจากไทยเพิ่มขึ้นสูงถึงร้อยละ 49 สูงกว่าประเทศคู่แข่งในกลุ่มอาเซียนดังสถิติเปรียบ
เทียบ ดังนี้
สถิติเปรียบเทียบระหว่างไทยกับสิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และเวียดนาม ในตลาดออสเตรเลีย
ม.ค.-มิ.ย. 2548-2550
ที่ ประเทศ มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วน (%) % เปลี่ยนแปลง
2548 2549 2550 2549 2550 50/49
4 สิงคโปร์ 2,339.03 3,407.44 3,430.79 6.55 5.76 0.69
6 ไทย 1,399.64 1,706.06 2,542.52 3.28 4.27 49.03
8 มาเลเซีย 1,838.33 2,249.73 2,263.04 4.33 3.80 0.59
11 อินโดนีเซีย 1,105.10 1,493.36 1,722.99 2.87 2.89 15.38
13 เวียดนาม 1,019.47 1,354.49 1,286.69 2.60 2.16 -5.01
แหล่งข้อมูล :Australian Bureau of Statistics
จากสถิติเปรียบเทียบข้างต้นพบว่า แม้สิงคโปร์จะมีสัดส่วนการครองตลาดมากกว่าไทย แต่ออสเตรเลีย
ขยายการนำเข้าจากไทยเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 49.03 ในช่วงม.ค-เม.ย 2550 ซึ่งสูงกว่าประเทศอื่นในกลุ่มอาเซียนนี้
ทั้งหมด เนื่องจาก
- ไทย — ออสเตรเลีย มีข้อตกการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย (TAFTA : Thailand-Australia Free
Trade Agreement) ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2548 ส่งผลให้สามารถขยายการค้าระหว่างกันได้มากขึ้น
- ไทยได้พัฒนาคุณภาพสินค้าไทยให้มีคุณภาพมาตรฐาน สามารถเข้าสู่ตลาดออสเตรเลียมากขึ้น
- ออสเตรเลียเข้ามาลงทุนในประเทศไทยมากขึ้น เป็นต้น
ข้อมูลเพิ่มเติม
หน่วยงานด้านความปลอดภัยทางชีวภาพของออสเตรเลีย (Biosecurity Australia) ได้ออกร่าง
รายงานการวิเคราะห์ความเสี่ยงสำหรับกุ้งและผลิตภัณฑ์กุ้ง พร้อมกับเสนอมาตรการนำเข้ากุ้งและผลิตภัณฑ์กุ้งเพิ่มเติม
จากเดิมที่ต้องขออนุญาตนำเข้า ต้องมีใบรับรองสุขอนามัย มีการสุ่มตรวจ ณ ด่านนำเข้า และหากมีการพบเชื้อ สินค้าจะ
ถูกส่งกลับหรือทำลาย ทั้งนี้มาตรการใหม่ที่กำหนดเพิ่มเติมคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 30 กันยายน 2550 โดยสรุป
เนื้อหาได้ ดังนี้
สินค้ากุ้งที่ยังปรุงไม่สุก : ต้องมาจากประเทศหรือพื้นที่เพาะเลี้ยงที่ปลอดโรค และต้องระบุที่บรรจุภัณฑ์ว่า
“เพื่อการบริโภคเท่านั้น และห้ามใช้เป็นเหยื่อหรืออาหารสำหรับสัตว์น้ำ” นอกจากนี้สินค้ากุ้งต้องผ่านกรรมวิธีการแปรรูป
ขั้นสูง รวมทั้งต้องอยู่ในบรรจุภัณฑ์ที่สามารถเห็นสินค้าได้ชัดเจน
สินค้ากุ้งที่ผ่านการปรุงสุก : ต้องผ่านการปรุงสุกที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส จากมาตรการข้างต้นที่
ออสเตรเลียกำหนดขึ้น ถือว่าเป็นข้อกำหนดที่กีดกันทางการค้าและส่งผลกระทบ ต่อการส่งออกกุ้งของไทยในภาพรวม
เนื่องจากมาตรการเดิมที่ใช้อยู่ก็ค่อนข้างเข้มงวดอยู่แล้ว ทั้งนี้ภาครัฐและเอกชนของไทยจึงอยู่ระหว่างการดำเนินการ
เจรจาต่อรองในข้อกำหนดข้างต้น
ที่มา: http://www.depthai.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ