สรุปการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ
วันพฤหัสบดีที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๕๐
การประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ ๒๕/๒๕๕๐ วันพฤหัสบดีที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๕๐ เริ่มขึ้นเมื่อเวลา ๐๙.๕๐ นาฬิกา โดยมีนายนรนิติ เศรษฐบุตร ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ เป็นประธานการประชุม เมื่อสมาชิกครบองค์ประชุมแล้ว ประธานการประชุมได้ดำเนินการประชุม ตามระเบียบวาระต่าง ๆ ดังนี้
๑. เรื่องที่ประธานจะแจ้งต่อที่ประชุม (ไม่มี)
๒. รับรองรายงานการประชุม (ไม่มี)
๓. เรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว
ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช... ซึ่งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจัดทำเสร็จแล้ว (เป็นการพิจารณาต่อจากการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งที่แล้ว)
ก่อนที่ที่ประชุมจะพิจารณา ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญได้หารือที่ประชุม เรื่อง กำหนดเวลาการอภิปราย โดยขอให้ผู้สงวนคำแปรญัติอภิปรายท่านละ ๑๐ นาที และผู้รับรอง คำแปรญัตติอภิปรายท่านละ ๑๐ นาที
ที่ประชุมเห็นชอบ
จากนั้นที่ประชุมได้พิจารณาร่างฯ เรียงตามลำดับมาตราดังนี้
มาตรา ๔๘ ร่างฯ ที่คณะกรรมาธิการฯ จัดทำเสร็จแล้ววางหลักไว้ว่า
บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก ต้องได้รับการสนับสนุนจากรัฐเพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่น
การจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพหรือเอกชน การศึกษาทางเลือกของประชาชน การเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้ตลอดชีวิต ย่อมได้รับความคุ้มครองและส่งเสริมที่เหมาะสมจากรัฐ
สมาชิกได้อภิปรายเกี่ยวกับมาตราดังกล่าวอย่างกว้างขว้างและกรรมาธิการได้ตอบชี้แจงพอสมควรแล้วที่ประชุมเห็นชอบให้ปรับแก้ไขโดยวางหลักไว้ดังนี้
บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการเลือกรับการศึกษาตั้งแต่ระดับปฐมวัยหรือระดับประถมไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
นอกจากสิทธิที่จะได้รับตามวรรคหนึ่ง ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ หรือ ผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก ต้องได้รับการสนับสนุนจากรัฐเพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่น
การจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพหรือเอกชน การศึกษาทางเลือกของประชาชน การเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้ตลอดชีวิต ย่อมได้รับความคุ้มครองและส่งเสริมที่เหมาะสมจากรัฐ
มาตรา ๔๙ ร่างฯ ที่คณะกรรมาธิการฯ จัดทำเสร็จแล้ววางหลักไว้ว่า
บุคคลย่อมมีเสรีภาพในทางวิชาการ
การศึกษาอบรม การเรียน การสอน การวิจัย และการเผยแพร่งานวิจัยตามหลัก วิชาการ ย่อมได้รับความคุ้มครอง ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่ของพลเมืองหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
ที่ประชุมเห็นชอบ
ส่วนที่ ๙ สิทธิในการได้รับบริการสาธารณสุขและสวัสดิการของรัฐ
ที่ประชุมเห็นชอบ
มาตรา ๕๐ ร่างฯ ที่คณะกรรมาธิการฯ จัดทำเสร็จแล้ววางหลักไว้ว่า
บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับบริการทางสาธารณสุขที่เหมาะสมและได้ มาตรฐาน และผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐโดยไม่เสีย ค่าใช้จ่าย
บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการบริการสาธารณสุขจากรัฐซึ่งต้องเป็นไปอย่างทั่วถึงและ มีประสิทธิภาพ
บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการปกป้องและขจัดโรคติดต่ออันตรายจากรัฐอย่างเหมาะสม โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายและทันต่อเหตุการณ์
ที่ประชุมเห็นชอบ
มาตรา ๕๑ ร่างฯ ที่คณะกรรมาธิการฯ จัดทำเสร็จแล้ววางหลักไว้ว่า
เด็กและเยาวชนมีสิทธิในการอยู่รอดและได้รับการพัฒนาด้านร่างกาย จิตใจ และ สติปัญญา ตามศักยภาพในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมโดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชนเป็นสำคัญ
เด็ก เยาวชน สตรี และบุคคลในครอบครัว มีสิทธิได้รับความคุ้มครองจากรัฐจากการใช้ความรุนแรงและการปฏิบัติอันไม่เป็นธรรม
การแทรกแซงและการจำกัดสิทธิของเด็ก เยาวชน และบุคคลในครอบครัวจะกระทำ มิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อสงวนและรักษาไว้ ซึ่งสถานะของครอบครัวหรือประโยชน์สูงสุดของบุคคลนั้น
เด็กและเยาวชนซึ่งไม่มีผู้ดูแลมีสิทธิได้รับการเลี้ยงดูและการศึกษาอบรมที่เหมาะสมจากรัฐ
สมาชิกได้อภิปรายเกี่ยวกับมาตราดังกล่าวอย่างกว้างขว้างและกรรมาธิการได้ตอบชี้แจงพอสมควรแล้วที่ประชุมเห็นชอบให้ปรับแก้ไขโดยวางหลักไว้ดังนี้
เด็กและเยาวชนมีสิทธิในการอยู่รอดและได้รับการพัฒนาด้านร่างกาย จิตใจ และ สติปัญญา ตามศักยภาพในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมโดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชนเป็นสำคัญ
เด็ก เยาวชน สตรี และบุคคลในครอบครัว มีสิทธิได้รับความคุ้มครองและฟื้นฟูจากรัฐให้ปราศจากการใช้ความรุนแรงและการปฏิบัติอันไม่เป็นธรรม
การแทรกแซงและการจำกัดสิทธิของเด็ก เยาวชน และบุคคลในครอบครัวจะกระทำ มิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อสงวนและรักษาไว้ ซึ่งสถานะของครอบครัวหรือประโยชน์สูงสุดของบุคคลนั้น
เด็กและเยาวชนซึ่งไม่มีผู้ดูแลมีสิทธิได้รับการเลี้ยงดูและการศึกษาอบรมที่เหมาะสมจากรัฐ
มาตรา ๕๒ ร่างฯ ที่คณะกรรมาธิการฯ จัดทำเสร็จแล้ววางหลักไว้ว่า
บุคคลซึ่งมีอายุเกินหกสิบปีบริบูรณ์และไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ มีสิทธิได้รับความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐ
ที่ประชุมเห็นชอบ
มาตรา ๕๓ ร่างฯ ที่คณะกรรมาธิการฯ จัดทำเสร็จแล้ววางหลักไว้ว่า
บุคคลซึ่งพิการหรือทุพพลภาพ มีสิทธิเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากสวัสดิการ สิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะ และความช่วยเหลืออื่นที่เหมาะสมจากรัฐ
บุคคลวิกลจริตย่อมได้รับความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐ
ที่ประชุมเห็นชอบ
มาตรา ๕๔ ร่างฯ ที่คณะกรรมาธิการฯ จัดทำเสร็จแล้ววางหลักไว้ว่า
บุคคลซึ่งไร้ที่อยู่อาศัยและไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพย่อมมีสิทธิได้รับความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐ
ที่ประชุมเห็นชอบ
๔. เรื่องที่ค้างพิจารณา (ไม่มี)
๕. เรื่องที่เสนอใหม่ (ไม่มี)
๖. เรื่องอื่น ๆ (ไม่มี)
ปิดประชุมเวลา ๒๑.๐๑ นาฬิกา
---------------------------------------------
วันพฤหัสบดีที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๕๐
การประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ ๒๕/๒๕๕๐ วันพฤหัสบดีที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๕๐ เริ่มขึ้นเมื่อเวลา ๐๙.๕๐ นาฬิกา โดยมีนายนรนิติ เศรษฐบุตร ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ เป็นประธานการประชุม เมื่อสมาชิกครบองค์ประชุมแล้ว ประธานการประชุมได้ดำเนินการประชุม ตามระเบียบวาระต่าง ๆ ดังนี้
๑. เรื่องที่ประธานจะแจ้งต่อที่ประชุม (ไม่มี)
๒. รับรองรายงานการประชุม (ไม่มี)
๓. เรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว
ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช... ซึ่งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจัดทำเสร็จแล้ว (เป็นการพิจารณาต่อจากการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งที่แล้ว)
ก่อนที่ที่ประชุมจะพิจารณา ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญได้หารือที่ประชุม เรื่อง กำหนดเวลาการอภิปราย โดยขอให้ผู้สงวนคำแปรญัติอภิปรายท่านละ ๑๐ นาที และผู้รับรอง คำแปรญัตติอภิปรายท่านละ ๑๐ นาที
ที่ประชุมเห็นชอบ
จากนั้นที่ประชุมได้พิจารณาร่างฯ เรียงตามลำดับมาตราดังนี้
มาตรา ๔๘ ร่างฯ ที่คณะกรรมาธิการฯ จัดทำเสร็จแล้ววางหลักไว้ว่า
บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก ต้องได้รับการสนับสนุนจากรัฐเพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่น
การจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพหรือเอกชน การศึกษาทางเลือกของประชาชน การเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้ตลอดชีวิต ย่อมได้รับความคุ้มครองและส่งเสริมที่เหมาะสมจากรัฐ
สมาชิกได้อภิปรายเกี่ยวกับมาตราดังกล่าวอย่างกว้างขว้างและกรรมาธิการได้ตอบชี้แจงพอสมควรแล้วที่ประชุมเห็นชอบให้ปรับแก้ไขโดยวางหลักไว้ดังนี้
บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการเลือกรับการศึกษาตั้งแต่ระดับปฐมวัยหรือระดับประถมไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
นอกจากสิทธิที่จะได้รับตามวรรคหนึ่ง ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ หรือ ผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก ต้องได้รับการสนับสนุนจากรัฐเพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่น
การจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพหรือเอกชน การศึกษาทางเลือกของประชาชน การเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้ตลอดชีวิต ย่อมได้รับความคุ้มครองและส่งเสริมที่เหมาะสมจากรัฐ
มาตรา ๔๙ ร่างฯ ที่คณะกรรมาธิการฯ จัดทำเสร็จแล้ววางหลักไว้ว่า
บุคคลย่อมมีเสรีภาพในทางวิชาการ
การศึกษาอบรม การเรียน การสอน การวิจัย และการเผยแพร่งานวิจัยตามหลัก วิชาการ ย่อมได้รับความคุ้มครอง ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่ของพลเมืองหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
ที่ประชุมเห็นชอบ
ส่วนที่ ๙ สิทธิในการได้รับบริการสาธารณสุขและสวัสดิการของรัฐ
ที่ประชุมเห็นชอบ
มาตรา ๕๐ ร่างฯ ที่คณะกรรมาธิการฯ จัดทำเสร็จแล้ววางหลักไว้ว่า
บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับบริการทางสาธารณสุขที่เหมาะสมและได้ มาตรฐาน และผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐโดยไม่เสีย ค่าใช้จ่าย
บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการบริการสาธารณสุขจากรัฐซึ่งต้องเป็นไปอย่างทั่วถึงและ มีประสิทธิภาพ
บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการปกป้องและขจัดโรคติดต่ออันตรายจากรัฐอย่างเหมาะสม โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายและทันต่อเหตุการณ์
ที่ประชุมเห็นชอบ
มาตรา ๕๑ ร่างฯ ที่คณะกรรมาธิการฯ จัดทำเสร็จแล้ววางหลักไว้ว่า
เด็กและเยาวชนมีสิทธิในการอยู่รอดและได้รับการพัฒนาด้านร่างกาย จิตใจ และ สติปัญญา ตามศักยภาพในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมโดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชนเป็นสำคัญ
เด็ก เยาวชน สตรี และบุคคลในครอบครัว มีสิทธิได้รับความคุ้มครองจากรัฐจากการใช้ความรุนแรงและการปฏิบัติอันไม่เป็นธรรม
การแทรกแซงและการจำกัดสิทธิของเด็ก เยาวชน และบุคคลในครอบครัวจะกระทำ มิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อสงวนและรักษาไว้ ซึ่งสถานะของครอบครัวหรือประโยชน์สูงสุดของบุคคลนั้น
เด็กและเยาวชนซึ่งไม่มีผู้ดูแลมีสิทธิได้รับการเลี้ยงดูและการศึกษาอบรมที่เหมาะสมจากรัฐ
สมาชิกได้อภิปรายเกี่ยวกับมาตราดังกล่าวอย่างกว้างขว้างและกรรมาธิการได้ตอบชี้แจงพอสมควรแล้วที่ประชุมเห็นชอบให้ปรับแก้ไขโดยวางหลักไว้ดังนี้
เด็กและเยาวชนมีสิทธิในการอยู่รอดและได้รับการพัฒนาด้านร่างกาย จิตใจ และ สติปัญญา ตามศักยภาพในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมโดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชนเป็นสำคัญ
เด็ก เยาวชน สตรี และบุคคลในครอบครัว มีสิทธิได้รับความคุ้มครองและฟื้นฟูจากรัฐให้ปราศจากการใช้ความรุนแรงและการปฏิบัติอันไม่เป็นธรรม
การแทรกแซงและการจำกัดสิทธิของเด็ก เยาวชน และบุคคลในครอบครัวจะกระทำ มิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อสงวนและรักษาไว้ ซึ่งสถานะของครอบครัวหรือประโยชน์สูงสุดของบุคคลนั้น
เด็กและเยาวชนซึ่งไม่มีผู้ดูแลมีสิทธิได้รับการเลี้ยงดูและการศึกษาอบรมที่เหมาะสมจากรัฐ
มาตรา ๕๒ ร่างฯ ที่คณะกรรมาธิการฯ จัดทำเสร็จแล้ววางหลักไว้ว่า
บุคคลซึ่งมีอายุเกินหกสิบปีบริบูรณ์และไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ มีสิทธิได้รับความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐ
ที่ประชุมเห็นชอบ
มาตรา ๕๓ ร่างฯ ที่คณะกรรมาธิการฯ จัดทำเสร็จแล้ววางหลักไว้ว่า
บุคคลซึ่งพิการหรือทุพพลภาพ มีสิทธิเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากสวัสดิการ สิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะ และความช่วยเหลืออื่นที่เหมาะสมจากรัฐ
บุคคลวิกลจริตย่อมได้รับความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐ
ที่ประชุมเห็นชอบ
มาตรา ๕๔ ร่างฯ ที่คณะกรรมาธิการฯ จัดทำเสร็จแล้ววางหลักไว้ว่า
บุคคลซึ่งไร้ที่อยู่อาศัยและไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพย่อมมีสิทธิได้รับความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐ
ที่ประชุมเห็นชอบ
๔. เรื่องที่ค้างพิจารณา (ไม่มี)
๕. เรื่องที่เสนอใหม่ (ไม่มี)
๖. เรื่องอื่น ๆ (ไม่มี)
ปิดประชุมเวลา ๒๑.๐๑ นาฬิกา
---------------------------------------------