อุตสาหกรรมยาเป็นอุตสาหกรรมที่ผลิตปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับชีวิตและสุขภาพของมนุษย์ จึงนับว่าเป็นอุตสาหกรรมที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมโดยรวม ทั้งด้านคุณภาพ ประสิทธิภาพ และความปลอดภัยในการบริโภค นโยบายสำคัญที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยาในปี 2547 คือ
1. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้ปรับกระบวนการ ขึ้นทะเบียนตำรับยาให้มีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น กล่าวคือ เดิมการขึ้นทะเบียนยาสามัญใหม่ (New generic drugs) ใช้เวลาดำเนินการขึ้นทะเบียนสูงสุด 110 วันทำการ และยาใหม่ (New drugs) ใช้เวลาดำเนินการ 230 วันทำการ ปรับเปลี่ยนเป็น การขึ้นทะเบียนตำรับยาสามัญใหม่สำหรับกลุ่มยาจำเป็นเร่งด่วน เหลือระยะเวลาเพียงไม่เกิน 70 วันทำการ สำหรับกลุ่มยาจำเป็นเร่งด่วนที่เป็นยาใหม่ ผู้ประกอบการที่ยื่นเอกสารครบถ้วน จะลดเวลาดำเนินการเหลือเพียง 100 วันทำการ ส่วนกรณีขอผ่อนผันการยื่นข้อมูลบางประการ จะใช้ระยะเวลาดำเนินการเพียง 130 วันทำการ การลดเวลาขึ้นทะเบียนตำรับยานี้มีประโยชน์ทั้งกับประชาชนและผู้ประกอบการ กล่าวคือ ในส่วนของประชาชนจะได้ใช้ยาที่มีความจำเป็นเร่งด่วน หรือยาที่ใช้รักษาโรคร้ายแรงที่เป็นอันตรายต่อชีวิต ได้แก่ ยารักษาโรคเอดส์ และโรคมะเร็ง ได้รวดเร็วขึ้น สำหรับผู้ประกอบการยาในประเทศสามารถผลิตยาเพื่อจำหน่ายในประเทศและส่งออกได้สะดวกขึ้น เพราะไม่ถูกจำกัดจากระยะเวลาการขึ้นทะเบียนตำรับยา
2. คณะกรรมการแห่งชาติด้านยา ได้มีประกาศคณะกรรมการแห่งชาติด้านยา ที่ 2/2547 เรื่อง บัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ.2547 เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2547 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 27 ธันวาคม 2547 บัญชียาหลักแห่งชาติฉบับใหม่นี้ได้มีการปรับปรุงรายการยาให้เหมาะสมกับสถานการณ์ทางการแพทย์และสาธารณสุขในปัจจุบัน โดยคัดเลือกยาที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพและปลอดภัยต่อการรักษา ครอบคลุมตัวยาที่มีความจำเป็นต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโรคที่ เป็นปัญหาพื้นฐาน หรือโรคร้ายแรง เช่น โรคหอบหืด เบาหวาน หัวใจและหลอดเลือด ระบบทางเดินอาหาร ผิวหนัง มะเร็ง รวมถึงโรคเอดส์ บัญชียาหลักแห่งชาติฉบับใหม่นี้จะช่วยส่งเสริมให้เกิดการใช้ยาอย่างถูกต้อง นอกจากนี้ยังช่วยให้ประชาชนมีความเท่าเทียมกันในการเข้าถึงยา และได้ใช้ยาที่มีคุณภาพดี ปลอดภัย ถูกต้องตรงกับปัญหาความเจ็บป่วย
1. การผลิตในประเทศ
ปริมาณการผลิตยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในปี 2547 มีประมาณ 23,253.6 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 3.6 โดยยาผง ยาเม็ด ยาแคปซูล และยาฉีด มีการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.8 14.7 12.2 และ 8.7 ตามลำดับ (ตารางที่ 1 และ 2) ปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้ประกอบการได้ทำการปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องจักรให้ดีขึ้น และผลิตยาเพิ่มขึ้นตามคำสั่งซื้อจากโรงพยาบาลซึ่งเป็นตลาดสำคัญของ ผู้ประกอบการ โดยยาที่ผลิตส่วนใหญ่เป็นยาสามัญ (Generic Drugs) และมีราคาไม่สูงมากนัก
2. การจำหน่ายในประเทศ
ปริมาณการจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในปี 2547 มีประมาณ 21,255.4 ตัน ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 6.4 โดยยาทุกประเภทมีการจำหน่ายเพิ่มขึ้น (ตารางที่ 1 และ 3) การขยายตัวของปริมาณการจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรม เนื่องจากผู้ประกอบการได้รับคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น จากการประมูลการจัดซื้อยาจากโรงพยาบาล และสามารถหาลูกค้ารายใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้า ทำให้สถานพยาบาลโดยเฉพาะโรงพยาบาลของรัฐ มีความต้องการยาที่ผลิตจากภายในประเทศเพิ่มมากขึ้น และผู้ประกอบการต้องผลิตยาให้ได้คุณภาพตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตยา (Good Manufacturing Practice : GMP) เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคในประเทศ อย่างไร ก็ตามแม้ปริมาณการผลิตและจำหน่ายยาจะเพิ่มขึ้น แต่ผู้ประกอบการต้องเผชิญกับการแข่งขันสูงด้านราคา เนื่องจากโรงพยาบาลของรัฐ ซึ่งเป็นผู้ซื้อรายใหญ่ใช้วิธีการประมูลในการจัดซื้อยา ทำให้ผู้ประกอบการแข่งขันกันลดราคา เพื่อให้ประมูลงานได้
3. การนำเข้า
การนำเข้าผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์ ในปี 2547 มีมูลค่าประมาณ 22,183.4 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อน ร้อยละ 6.7 (ตารางที่ 4) โดยตลาดนำเข้าผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์ที่สำคัญ ในปีนี้ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส เยอรมนี สหราชอาณาจักร และสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งการนำเข้าจากประเทศดังกล่าวมี มูลค่าประมาณร้อยละ 55 ของมูลค่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์ทั้งหมด การขยายตัวของการนำเข้าผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์ มีปัจจัยสำคัญมาจากมีการนำเข้ายารักษาโรคที่เป็นยาสำเร็จรูป (HS 3004) เพิ่มขึ้น โดยยาที่นำเข้า คือ ยาต้นตำรับ และยาที่มีสิทธิบัตร ซึ่งราคาแพง ไม่สามารถผลิตได้ในประเทศ ยาที่มี สิทธิบัตรมักเป็นยาสำหรับโรคที่ต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง เช่น โรคความดัน เบาหวาน หัวใจ และไขมันในเส้นเลือด เป็นต้น
4. การส่งออก
การส่งออกผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์ในปี 2547 มีมูลค่าประมาณ 4,949.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 2.4 (ตารางที่ 4) สำหรับตลาดส่งออกผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์ที่สำคัญในปีนี้ ได้แก่ เวียดนาม กัมพูชา พม่า มาเลเซีย และฮ่องกง โดยการส่งออกไปประเทศดังกล่าวมีมูลค่าประมาณร้อยละ 50 ของ มูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์ทั้งหมด การส่งออกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น สาเหตุสำคัญมาจากมีการ ส่งออกยารักษาโรคที่เป็นยาสำเร็จรูป (HS 3004) เพิ่มขึ้น โดยยาที่ส่งออกเป็นยาสามัญ เช่น ยาแก้ไข้ แก้หวัด แก้ปวด เป็นต้น
5. สรุป
ในปี 2547 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้ปรับกระบวนการขึ้นทะเบียนตำรับยาสามัญใหม่และยาใหม่สำหรับกลุ่มยาจำเป็นเร่งด่วน ให้มีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ซึ่งประชาชนจะได้ใช้ยาที่มีความจำเป็นเร่งด่วน หรือยาที่ใช้รักษาโรคร้ายแรงที่เป็นอันตรายต่อชีวิตได้รวดเร็วขึ้น และผู้ประกอบการยาในประเทศสามารถผลิตยาเพื่อจำหน่ายในประเทศและส่งออกได้สะดวกขึ้น เนื่องจากไม่ถูกจำกัดจากระยะเวลาการขึ้นทะเบียนตำรับยาอีกต่อไป นอกจากนี้บัญชียาหลักแห่งชาติฉบับใหม่ ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 27 ธันวาคม 2547 จะช่วยให้ประชาชนมีความเท่าเทียมกันในการเข้าถึงยา และได้ใช้ยาที่มีคุณภาพดี ถูกต้องตรงกับปัญหาความเจ็บป่วย
ปริมาณการผลิตยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในประเทศ ในปี 2547 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากผู้ประกอบการได้ทำการปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องจักรให้ดีขึ้น และผลิตยาเพิ่มขึ้นตามคำสั่งซื้อจากโรงพยาบาล โดยยาที่ผลิตส่วนใหญ่เป็นยาสามัญและมีราคาไม่สูงมากนัก สำหรับปริมาณการจำหน่ายขยายตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน เนื่องจากผู้ประกอบการได้รับคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น จากการประมูลการจัดซื้อยาจากโรงพยาบาลได้ และสามารถหาลูกค้ารายใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นด้วย นอกจากนี้โครงการประกัน สุขภาพถ้วนหน้า ยังเป็นสาเหตุให้ปริมาณการผลิตและจำหน่ายในประเทศเพิ่มขึ้นด้วย อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการต้องเผชิญกับการแข่งขันสูงด้านราคา เนื่องจากสถานพยาบาลภาครัฐ ใช้วิธีการประมูลในการจัดซื้อยา ด้านการนำเข้ามีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่ยังเป็นการนำเข้ายาสำเร็จรูปราคาแพงที่ไม่สามารถผลิตได้ในประเทศและยาต้นตำรับ สำหรับการส่งออกผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมมีมูลค่าเพิ่มขึ้น โดยมีปัจจัยสำคัญจากการส่งออกยารักษาโรคที่เป็นยาสามัญ
สำหรับในปี 2548 คาดว่าการผลิตและการจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์ในประเทศ จะขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อน เนื่องจากความต้องการในประเทศยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง สำหรับการส่งออกคาดว่าจะขยายตัวดีขึ้นเช่นกัน เนื่องจากผู้ประกอบการพยายามหาตลาดใหม่ ๆ มากขึ้น และพัฒนาสินค้าให้ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับ โดยตลาดหลักยังคงเป็นตลาดอาเซียน ส่วนการนำเข้าคาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยยังเป็นการนำเข้ายาที่มีสิทธิบัตรและยาต้นตำรับ
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
1. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้ปรับกระบวนการ ขึ้นทะเบียนตำรับยาให้มีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น กล่าวคือ เดิมการขึ้นทะเบียนยาสามัญใหม่ (New generic drugs) ใช้เวลาดำเนินการขึ้นทะเบียนสูงสุด 110 วันทำการ และยาใหม่ (New drugs) ใช้เวลาดำเนินการ 230 วันทำการ ปรับเปลี่ยนเป็น การขึ้นทะเบียนตำรับยาสามัญใหม่สำหรับกลุ่มยาจำเป็นเร่งด่วน เหลือระยะเวลาเพียงไม่เกิน 70 วันทำการ สำหรับกลุ่มยาจำเป็นเร่งด่วนที่เป็นยาใหม่ ผู้ประกอบการที่ยื่นเอกสารครบถ้วน จะลดเวลาดำเนินการเหลือเพียง 100 วันทำการ ส่วนกรณีขอผ่อนผันการยื่นข้อมูลบางประการ จะใช้ระยะเวลาดำเนินการเพียง 130 วันทำการ การลดเวลาขึ้นทะเบียนตำรับยานี้มีประโยชน์ทั้งกับประชาชนและผู้ประกอบการ กล่าวคือ ในส่วนของประชาชนจะได้ใช้ยาที่มีความจำเป็นเร่งด่วน หรือยาที่ใช้รักษาโรคร้ายแรงที่เป็นอันตรายต่อชีวิต ได้แก่ ยารักษาโรคเอดส์ และโรคมะเร็ง ได้รวดเร็วขึ้น สำหรับผู้ประกอบการยาในประเทศสามารถผลิตยาเพื่อจำหน่ายในประเทศและส่งออกได้สะดวกขึ้น เพราะไม่ถูกจำกัดจากระยะเวลาการขึ้นทะเบียนตำรับยา
2. คณะกรรมการแห่งชาติด้านยา ได้มีประกาศคณะกรรมการแห่งชาติด้านยา ที่ 2/2547 เรื่อง บัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ.2547 เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2547 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 27 ธันวาคม 2547 บัญชียาหลักแห่งชาติฉบับใหม่นี้ได้มีการปรับปรุงรายการยาให้เหมาะสมกับสถานการณ์ทางการแพทย์และสาธารณสุขในปัจจุบัน โดยคัดเลือกยาที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพและปลอดภัยต่อการรักษา ครอบคลุมตัวยาที่มีความจำเป็นต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโรคที่ เป็นปัญหาพื้นฐาน หรือโรคร้ายแรง เช่น โรคหอบหืด เบาหวาน หัวใจและหลอดเลือด ระบบทางเดินอาหาร ผิวหนัง มะเร็ง รวมถึงโรคเอดส์ บัญชียาหลักแห่งชาติฉบับใหม่นี้จะช่วยส่งเสริมให้เกิดการใช้ยาอย่างถูกต้อง นอกจากนี้ยังช่วยให้ประชาชนมีความเท่าเทียมกันในการเข้าถึงยา และได้ใช้ยาที่มีคุณภาพดี ปลอดภัย ถูกต้องตรงกับปัญหาความเจ็บป่วย
1. การผลิตในประเทศ
ปริมาณการผลิตยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในปี 2547 มีประมาณ 23,253.6 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 3.6 โดยยาผง ยาเม็ด ยาแคปซูล และยาฉีด มีการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.8 14.7 12.2 และ 8.7 ตามลำดับ (ตารางที่ 1 และ 2) ปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้ประกอบการได้ทำการปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องจักรให้ดีขึ้น และผลิตยาเพิ่มขึ้นตามคำสั่งซื้อจากโรงพยาบาลซึ่งเป็นตลาดสำคัญของ ผู้ประกอบการ โดยยาที่ผลิตส่วนใหญ่เป็นยาสามัญ (Generic Drugs) และมีราคาไม่สูงมากนัก
2. การจำหน่ายในประเทศ
ปริมาณการจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในปี 2547 มีประมาณ 21,255.4 ตัน ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 6.4 โดยยาทุกประเภทมีการจำหน่ายเพิ่มขึ้น (ตารางที่ 1 และ 3) การขยายตัวของปริมาณการจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรม เนื่องจากผู้ประกอบการได้รับคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น จากการประมูลการจัดซื้อยาจากโรงพยาบาล และสามารถหาลูกค้ารายใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้า ทำให้สถานพยาบาลโดยเฉพาะโรงพยาบาลของรัฐ มีความต้องการยาที่ผลิตจากภายในประเทศเพิ่มมากขึ้น และผู้ประกอบการต้องผลิตยาให้ได้คุณภาพตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตยา (Good Manufacturing Practice : GMP) เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคในประเทศ อย่างไร ก็ตามแม้ปริมาณการผลิตและจำหน่ายยาจะเพิ่มขึ้น แต่ผู้ประกอบการต้องเผชิญกับการแข่งขันสูงด้านราคา เนื่องจากโรงพยาบาลของรัฐ ซึ่งเป็นผู้ซื้อรายใหญ่ใช้วิธีการประมูลในการจัดซื้อยา ทำให้ผู้ประกอบการแข่งขันกันลดราคา เพื่อให้ประมูลงานได้
3. การนำเข้า
การนำเข้าผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์ ในปี 2547 มีมูลค่าประมาณ 22,183.4 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อน ร้อยละ 6.7 (ตารางที่ 4) โดยตลาดนำเข้าผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์ที่สำคัญ ในปีนี้ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส เยอรมนี สหราชอาณาจักร และสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งการนำเข้าจากประเทศดังกล่าวมี มูลค่าประมาณร้อยละ 55 ของมูลค่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์ทั้งหมด การขยายตัวของการนำเข้าผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์ มีปัจจัยสำคัญมาจากมีการนำเข้ายารักษาโรคที่เป็นยาสำเร็จรูป (HS 3004) เพิ่มขึ้น โดยยาที่นำเข้า คือ ยาต้นตำรับ และยาที่มีสิทธิบัตร ซึ่งราคาแพง ไม่สามารถผลิตได้ในประเทศ ยาที่มี สิทธิบัตรมักเป็นยาสำหรับโรคที่ต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง เช่น โรคความดัน เบาหวาน หัวใจ และไขมันในเส้นเลือด เป็นต้น
4. การส่งออก
การส่งออกผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์ในปี 2547 มีมูลค่าประมาณ 4,949.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 2.4 (ตารางที่ 4) สำหรับตลาดส่งออกผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์ที่สำคัญในปีนี้ ได้แก่ เวียดนาม กัมพูชา พม่า มาเลเซีย และฮ่องกง โดยการส่งออกไปประเทศดังกล่าวมีมูลค่าประมาณร้อยละ 50 ของ มูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์ทั้งหมด การส่งออกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น สาเหตุสำคัญมาจากมีการ ส่งออกยารักษาโรคที่เป็นยาสำเร็จรูป (HS 3004) เพิ่มขึ้น โดยยาที่ส่งออกเป็นยาสามัญ เช่น ยาแก้ไข้ แก้หวัด แก้ปวด เป็นต้น
5. สรุป
ในปี 2547 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้ปรับกระบวนการขึ้นทะเบียนตำรับยาสามัญใหม่และยาใหม่สำหรับกลุ่มยาจำเป็นเร่งด่วน ให้มีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ซึ่งประชาชนจะได้ใช้ยาที่มีความจำเป็นเร่งด่วน หรือยาที่ใช้รักษาโรคร้ายแรงที่เป็นอันตรายต่อชีวิตได้รวดเร็วขึ้น และผู้ประกอบการยาในประเทศสามารถผลิตยาเพื่อจำหน่ายในประเทศและส่งออกได้สะดวกขึ้น เนื่องจากไม่ถูกจำกัดจากระยะเวลาการขึ้นทะเบียนตำรับยาอีกต่อไป นอกจากนี้บัญชียาหลักแห่งชาติฉบับใหม่ ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 27 ธันวาคม 2547 จะช่วยให้ประชาชนมีความเท่าเทียมกันในการเข้าถึงยา และได้ใช้ยาที่มีคุณภาพดี ถูกต้องตรงกับปัญหาความเจ็บป่วย
ปริมาณการผลิตยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในประเทศ ในปี 2547 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากผู้ประกอบการได้ทำการปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องจักรให้ดีขึ้น และผลิตยาเพิ่มขึ้นตามคำสั่งซื้อจากโรงพยาบาล โดยยาที่ผลิตส่วนใหญ่เป็นยาสามัญและมีราคาไม่สูงมากนัก สำหรับปริมาณการจำหน่ายขยายตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน เนื่องจากผู้ประกอบการได้รับคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น จากการประมูลการจัดซื้อยาจากโรงพยาบาลได้ และสามารถหาลูกค้ารายใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นด้วย นอกจากนี้โครงการประกัน สุขภาพถ้วนหน้า ยังเป็นสาเหตุให้ปริมาณการผลิตและจำหน่ายในประเทศเพิ่มขึ้นด้วย อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการต้องเผชิญกับการแข่งขันสูงด้านราคา เนื่องจากสถานพยาบาลภาครัฐ ใช้วิธีการประมูลในการจัดซื้อยา ด้านการนำเข้ามีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่ยังเป็นการนำเข้ายาสำเร็จรูปราคาแพงที่ไม่สามารถผลิตได้ในประเทศและยาต้นตำรับ สำหรับการส่งออกผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมมีมูลค่าเพิ่มขึ้น โดยมีปัจจัยสำคัญจากการส่งออกยารักษาโรคที่เป็นยาสามัญ
สำหรับในปี 2548 คาดว่าการผลิตและการจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์ในประเทศ จะขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อน เนื่องจากความต้องการในประเทศยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง สำหรับการส่งออกคาดว่าจะขยายตัวดีขึ้นเช่นกัน เนื่องจากผู้ประกอบการพยายามหาตลาดใหม่ ๆ มากขึ้น และพัฒนาสินค้าให้ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับ โดยตลาดหลักยังคงเป็นตลาดอาเซียน ส่วนการนำเข้าคาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยยังเป็นการนำเข้ายาที่มีสิทธิบัตรและยาต้นตำรับ
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-