แท็ก
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
สภาธุรกิจตลาดทุนไทย
กระทรวงการคลัง
ครม. อภิสิทธิ์
นายกรัฐมนตรี
โรงแรมคอนราด
จะกอบกู้ศรัทธาอย่าปรับแค่ครม.
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
๔ มีนาคม ๒๕๕๐
www.abhisit.org
การปรับคณะรัฐมนตรีกำลังจะเกิดขึ้นสืบเนื่องจากการลาออกของ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ที่ส่งผลกระเทือนในทางการเมือง เพราะ ม.ร.ว.ปรีดิยาธรฯ ถือเป็นหัวหน้าทีมเศรษฐกิจ ยิ่งไปกว่านั้นเหตุผลที่ม.ร.ว.ปรีดิยาธรฯ ให้ในการลาออกทั้งเรื่องคุณสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ สื่อที่มีอิทธิพล หรือ การที่มีรัฐมนตรีที่หมิ่นเหม่ต่อการทำผิดกฎหมาย ล้วนแล้วแต่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นศรัทธาในรัฐบาลทั้งสิ้น
หากมองตามความเป็นจริงแล้ว แม้ม.ร.ว.ปรีดิยาธรฯจะไม่ลาออก สถานภาพของรัฐบาลภายใต้การนำของพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ก็มีปัญหาอยู่แล้ว ผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนทุกสำนักชี้ว่า ความนิยม และความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อรัฐบาลลดลงอย่างต่อเนื่อง การวิพากษ์วิจารณ์จากนักวิชาการก็หนักหน่วงขึ้น ทั้งหมดนี้น่าจะมีสาเหตุหลัก ๔ ประการคือ
๑. ความห่างเหินระหว่างรัฐบาลกับประชาชน ซึ่งเป็นที่คาดหมายได้เพราะรัฐบาลนี้ไม่ได้มา
จากการเลือกตั้ง ไม่มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่จะเป็นตัวเชื่อมระหว่างรัฐบาลกับประชาชนยิ่งไปกว่านั้น ประชาชนส่วนใหญ่ในชนบทมีความรู้สึกว่า ปัญหาความเดือดร้อนต่างๆของเขาไม่ได้รับการแก้ไขอย่างชัดเจน
๒. ปัญหาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เหตุการณ์ความรุนแรงอย่างต่อเนื่องใน ๓ จังหวัด
ชายแดนภาคใต้ก็ดี ปัญหาการวางระเบิดในกรุงเทพมหานครก่อนปีใหม่ก็ดี ยังไม่ได้รับการสะสาง คลี่คลาย ความหวาดวิตก ตลอดจนข่าวลือต่างๆยังมีอยู่มาก สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นที่มีต่อรัฐบาลและคมช.
๓. ปัญหาเศรษฐกิจ ที่มีการชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง ทั้งการบริโภค การลงทุน ความล่าช้าในการเบิกจ่ายงบประมาณ มาตรการหลายมาตรการของรัฐบาลได้สร้างความสับสนในหมู่นักลงทุน ทั้งหมดนี้ส่งผลกระทบต่อปัญหาปากท้องของประชาชนทั้งสิ้น
๔. ลักษณะการทำงานของรัฐบาลโดยรวม ที่ถูกมองว่าขาดเอกภาพหรือทิศทางที่ชัดเจน ไม่
สามารถกระตุ้น หรือขับเคลื่อน กลไกราชการให้ทำงานอย่างกระตือรือร้นเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน
สภาพปัญหาทั้งหมดนี้ จึงทำให้เกิดความไม่มั่นใจว่า การนำพาสังคมกลับสู่ภาวะปกติ และการคืน
ประชาธิปไตยจะเป็นไปโดยราบรื่น ความสำเร็จในการ “ปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” ดูจะอยู่ห่างไกลออกไปทุกที
การแก้ปัญหาวันนี้จึงไม่ใช่เรื่อง การปรับคณะรัฐมนตรีเพียงอย่างเดียว ไม่ว่าจะมีการเปลี่ยนกี่ตำแหน่งก็ตาม แต่หมายถึงการปรับเปลี่ยนครั้งใหญ่ในวิธีการทำงาน การสื่อสารภายในและภายนอก โดยอาศัยการปรับเปลี่ยนคณะรัฐมนตรีครั้งนี้ ซึ่งอาจเป็นโอกาสเดียวที่เหลืออยู่ในการทำสิ่งนี้
แนวทางที่นายกรัฐมนตรีอาจพิจารณาดำเนินการ น่าจะมีดังต่อไปนี้
๑. การปรับคณะรัฐมนตรี และการกำหนดภารกิจเฉพาะให้รัฐมนตรี หรือ รองนายกรัฐมนตรีบาง
ตำแหน่ง
๑.๑. กำหนดให้มีรองนายกรัฐมนตรี/รัฐมนตรี รับผิดชอบปัญหา ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นการ
เฉพาะ เพื่อเป็นฝ่ายนโยบายที่จะขับเคลื่อนการแก้ปัญหา เชื่อมกับทั้ง ศ.อบต. และ คมช. เป็นผู้รับผิดชอบโดยตรงที่จะเร่งรัดนโยบายที่เกี่ยวข้อง เช่น การทำเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ การจัดตั้งสภาชุมชน การกำหนดจุดยืนให้เป็นเอกภาพในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง และสามารถลงพื้นที่เพื่อเป็นขวัญกำลังใจ และกระตุ้นเจ้าหน้าที่ในกระทรวง ทบวง กรม ต่างๆ ให้เป็นที่พึ่งของประชาชนในพื้นที่ได้
๑.๒. กำหนดให้มีรองนายกรัฐมนตรี/รัฐมนตรี ทำงานด้านมวลชนสัมพันธ์ รวมทั้งการรับผิดชอบ
ปัญหา เช่น ภัยแล้ง โดยทำหน้าที่ประสานงานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มาร่วมขับเคลื่อน การแก้ปัญหาของรัฐบาล เพื่อลดช่องว่าง ระหว่างรัฐบาลกับประชาชนทดแทนสภาพที่ไม่มีผู้แทนราษฎรเท่าที่จะทำได้
๑.๓. กำหนดให้มีรองนายกรัฐมนตรี/รัฐมนตรีสนับสนุนการปฏิรูปการเมือง เพราะการปฏิรูปการเมืองจะรอการร่างรัฐธรรมนูญไม่ได้ ภารกิจที่สำคัญส่วนนี้ คือ การปฏิรูปสื่อ ปฏิรูปตำรวจ และการคืนระบบคุณธรรมให้ระบบราชการ
๑.๔ กำหนดให้มีรองนายกรัฐมนตรี/รัฐมนตรี สนับสนุนงานของคตส. เพื่อให้หน่วยราชการต่างๆร่วมมือในกระบวนการตรวจสอบอย่างเต็มที่ ตลอดจนเป็นศูนย์กลางการแก้ปัญหาที่สืบเนื่องจากการตรวจสอบ เช่น ปัญหากุหลาบแก้ว ปัญหาดาวเทียม ฯลฯ
สำหรับงานด้านเศรษฐกิจนั้น ควรเสริมทีมด้วยบุคลากรที่มีความหลากหลายในภูมิหลังมากขึ้น เพราะรัฐบาลนี้จะมีบุคลากรที่มีประสบการณ์จากแวดวงราชการเป็นส่วนใหญ่ ที่สำคัญทีมเศรษฐกิจชุดใหม่ต้องทบทวนและประกาศจุดยืนทางด้านนโยบายทันที เช่น ยกเลิกมาตรการของธนาคารแห่งประเทศไทย ทบทวนการแก้กฎหมายการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว เป็นต้น ทั้งนี้ เพราะที่ผ่านมา ความสับสนเกี่ยวกับนโยบายของรัฐบาล เกิดจากมาตรการเหล่านี้ ไม่ใช่จากการขาดคนชี้แจง หรือ การอ่อนประชาสัมพันธ์
๒. ปรับวิธีการ/ภาพลักษณ์การทำงาน โดยจุดเริ่มต้นที่ดี อาจจะเป็นการเรียกประชุมคณะรัฐมนตรีเป็นกรณีพิเศษ เป็นการประชุมโดยไม่มีเจ้าหน้าที่ฝ่ายประจำ ไม่มีระเบียบวาระที่กำหนดไว้ล่วงหน้า เพื่อซักซ้อมทำความเข้าใจ และกำหนดจุดยืนร่วมกัน ถึงภารกิจของรัฐบาลที่มีเวลาเหลืออยู่เพียงประมาณครึ่งปี ว่าจะทำอะไร หรือ ไม่ทำอะไรบ้าง รวมทั้งกำหนดหลักการการแก้ปัญหาในเรื่องต่างๆให้สอดคล้องกัน เช่น กรณี ITV กรณีดาวเทียม เป็นต้น จากนั้นก็เปิดแถลงต่อสาธารณชน หรือ แม้แต่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกันในสังคมในทิศทางของการบริหารประเทศ และหากเป็นไปได้เสนอแผนนิติบัญญัติต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติด้วย
๓. หารือกับคมช.เพื่อกำหนดจุดยืนทางการเมือง ปมปัญหาที่เป็นความละเอียดอ่อน กระทบต่อความเชื่อมั่นที่สำคัญ คือ ปัญหาการเมือง โดยเฉพาะความหวาดระแวงเรื่อง การสืบทอดอำนาจ การเผชิญหน้ากับกลุ่มพลังทางการเมืองต่างๆ ส่วนหนึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นตามปกติทุกครั้งหลังการรัฐประหาร แต่อีกส่วนหนึ่งเกิดจากความอึมครึมที่รัฐบาลกับคมช.สร้างขึ้นเอง
หากจะคลี่คลายในส่วนนี้ ก็ทำได้ไม่ยาก เพียงคมช.กับรัฐบาลประกาศจุดยืนเรื่องรัฐธรรมนูญ ว่า หากจะต้องใช้อำนาจของตนตามรัฐธรรมนูญชั่วคราว จะหยิบยกรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตย เช่น ฉบับปี พ.ศ.๒๕๔๐ หรือ ฉบับปี พ.ศ.๒๕๑๗ เท่านั้น และจะปรับปรุงแก้ไขเฉพาะในส่วนใดบ้าง เพียงเท่านี้ก็จะทำให้หลุดพ้นจากข้อครหาเรื่อง การสืบทอดอำนาจ และทำให้การลงประชามติไม่มีปัญหาการขาดความชอบธรรม
เช่นเดียวกัน การทบทวนคำสั่ง คปค.ฉบับที่ ๑๕ และ ๒๗ โดยกำหนดห้ามการดำเนินการเฉพาะบางกิจกรรม จะช่วยแยกแยะกลุ่มอำนาจเก่าออกจากกลุ่มพลังประชาธิปไตย แยกแยะพรรคการเมืองที่มีเจตนาแอบแฝงออกจากพรรคการเมืองอื่นๆได้
ข้อเสนอทั้งหมดนี้ ทำขึ้นด้วยความห่วงใยว่า หากรัฐบาลภายใต้การนำของพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ล้มเหลว ผลกระทบที่ตามมา ที่จะเกิดขึ้นกับประทศชาติ และประชาชนไทย จะยิ่งใหญ่กว่าสภาพวิกฤติที่เราประสบมาเป็นเวลากว่าปีแล้ว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 5 มี.ค. 2550--จบ--
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
๔ มีนาคม ๒๕๕๐
www.abhisit.org
การปรับคณะรัฐมนตรีกำลังจะเกิดขึ้นสืบเนื่องจากการลาออกของ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ที่ส่งผลกระเทือนในทางการเมือง เพราะ ม.ร.ว.ปรีดิยาธรฯ ถือเป็นหัวหน้าทีมเศรษฐกิจ ยิ่งไปกว่านั้นเหตุผลที่ม.ร.ว.ปรีดิยาธรฯ ให้ในการลาออกทั้งเรื่องคุณสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ สื่อที่มีอิทธิพล หรือ การที่มีรัฐมนตรีที่หมิ่นเหม่ต่อการทำผิดกฎหมาย ล้วนแล้วแต่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นศรัทธาในรัฐบาลทั้งสิ้น
หากมองตามความเป็นจริงแล้ว แม้ม.ร.ว.ปรีดิยาธรฯจะไม่ลาออก สถานภาพของรัฐบาลภายใต้การนำของพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ก็มีปัญหาอยู่แล้ว ผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนทุกสำนักชี้ว่า ความนิยม และความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อรัฐบาลลดลงอย่างต่อเนื่อง การวิพากษ์วิจารณ์จากนักวิชาการก็หนักหน่วงขึ้น ทั้งหมดนี้น่าจะมีสาเหตุหลัก ๔ ประการคือ
๑. ความห่างเหินระหว่างรัฐบาลกับประชาชน ซึ่งเป็นที่คาดหมายได้เพราะรัฐบาลนี้ไม่ได้มา
จากการเลือกตั้ง ไม่มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่จะเป็นตัวเชื่อมระหว่างรัฐบาลกับประชาชนยิ่งไปกว่านั้น ประชาชนส่วนใหญ่ในชนบทมีความรู้สึกว่า ปัญหาความเดือดร้อนต่างๆของเขาไม่ได้รับการแก้ไขอย่างชัดเจน
๒. ปัญหาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เหตุการณ์ความรุนแรงอย่างต่อเนื่องใน ๓ จังหวัด
ชายแดนภาคใต้ก็ดี ปัญหาการวางระเบิดในกรุงเทพมหานครก่อนปีใหม่ก็ดี ยังไม่ได้รับการสะสาง คลี่คลาย ความหวาดวิตก ตลอดจนข่าวลือต่างๆยังมีอยู่มาก สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นที่มีต่อรัฐบาลและคมช.
๓. ปัญหาเศรษฐกิจ ที่มีการชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง ทั้งการบริโภค การลงทุน ความล่าช้าในการเบิกจ่ายงบประมาณ มาตรการหลายมาตรการของรัฐบาลได้สร้างความสับสนในหมู่นักลงทุน ทั้งหมดนี้ส่งผลกระทบต่อปัญหาปากท้องของประชาชนทั้งสิ้น
๔. ลักษณะการทำงานของรัฐบาลโดยรวม ที่ถูกมองว่าขาดเอกภาพหรือทิศทางที่ชัดเจน ไม่
สามารถกระตุ้น หรือขับเคลื่อน กลไกราชการให้ทำงานอย่างกระตือรือร้นเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน
สภาพปัญหาทั้งหมดนี้ จึงทำให้เกิดความไม่มั่นใจว่า การนำพาสังคมกลับสู่ภาวะปกติ และการคืน
ประชาธิปไตยจะเป็นไปโดยราบรื่น ความสำเร็จในการ “ปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” ดูจะอยู่ห่างไกลออกไปทุกที
การแก้ปัญหาวันนี้จึงไม่ใช่เรื่อง การปรับคณะรัฐมนตรีเพียงอย่างเดียว ไม่ว่าจะมีการเปลี่ยนกี่ตำแหน่งก็ตาม แต่หมายถึงการปรับเปลี่ยนครั้งใหญ่ในวิธีการทำงาน การสื่อสารภายในและภายนอก โดยอาศัยการปรับเปลี่ยนคณะรัฐมนตรีครั้งนี้ ซึ่งอาจเป็นโอกาสเดียวที่เหลืออยู่ในการทำสิ่งนี้
แนวทางที่นายกรัฐมนตรีอาจพิจารณาดำเนินการ น่าจะมีดังต่อไปนี้
๑. การปรับคณะรัฐมนตรี และการกำหนดภารกิจเฉพาะให้รัฐมนตรี หรือ รองนายกรัฐมนตรีบาง
ตำแหน่ง
๑.๑. กำหนดให้มีรองนายกรัฐมนตรี/รัฐมนตรี รับผิดชอบปัญหา ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นการ
เฉพาะ เพื่อเป็นฝ่ายนโยบายที่จะขับเคลื่อนการแก้ปัญหา เชื่อมกับทั้ง ศ.อบต. และ คมช. เป็นผู้รับผิดชอบโดยตรงที่จะเร่งรัดนโยบายที่เกี่ยวข้อง เช่น การทำเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ การจัดตั้งสภาชุมชน การกำหนดจุดยืนให้เป็นเอกภาพในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง และสามารถลงพื้นที่เพื่อเป็นขวัญกำลังใจ และกระตุ้นเจ้าหน้าที่ในกระทรวง ทบวง กรม ต่างๆ ให้เป็นที่พึ่งของประชาชนในพื้นที่ได้
๑.๒. กำหนดให้มีรองนายกรัฐมนตรี/รัฐมนตรี ทำงานด้านมวลชนสัมพันธ์ รวมทั้งการรับผิดชอบ
ปัญหา เช่น ภัยแล้ง โดยทำหน้าที่ประสานงานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มาร่วมขับเคลื่อน การแก้ปัญหาของรัฐบาล เพื่อลดช่องว่าง ระหว่างรัฐบาลกับประชาชนทดแทนสภาพที่ไม่มีผู้แทนราษฎรเท่าที่จะทำได้
๑.๓. กำหนดให้มีรองนายกรัฐมนตรี/รัฐมนตรีสนับสนุนการปฏิรูปการเมือง เพราะการปฏิรูปการเมืองจะรอการร่างรัฐธรรมนูญไม่ได้ ภารกิจที่สำคัญส่วนนี้ คือ การปฏิรูปสื่อ ปฏิรูปตำรวจ และการคืนระบบคุณธรรมให้ระบบราชการ
๑.๔ กำหนดให้มีรองนายกรัฐมนตรี/รัฐมนตรี สนับสนุนงานของคตส. เพื่อให้หน่วยราชการต่างๆร่วมมือในกระบวนการตรวจสอบอย่างเต็มที่ ตลอดจนเป็นศูนย์กลางการแก้ปัญหาที่สืบเนื่องจากการตรวจสอบ เช่น ปัญหากุหลาบแก้ว ปัญหาดาวเทียม ฯลฯ
สำหรับงานด้านเศรษฐกิจนั้น ควรเสริมทีมด้วยบุคลากรที่มีความหลากหลายในภูมิหลังมากขึ้น เพราะรัฐบาลนี้จะมีบุคลากรที่มีประสบการณ์จากแวดวงราชการเป็นส่วนใหญ่ ที่สำคัญทีมเศรษฐกิจชุดใหม่ต้องทบทวนและประกาศจุดยืนทางด้านนโยบายทันที เช่น ยกเลิกมาตรการของธนาคารแห่งประเทศไทย ทบทวนการแก้กฎหมายการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว เป็นต้น ทั้งนี้ เพราะที่ผ่านมา ความสับสนเกี่ยวกับนโยบายของรัฐบาล เกิดจากมาตรการเหล่านี้ ไม่ใช่จากการขาดคนชี้แจง หรือ การอ่อนประชาสัมพันธ์
๒. ปรับวิธีการ/ภาพลักษณ์การทำงาน โดยจุดเริ่มต้นที่ดี อาจจะเป็นการเรียกประชุมคณะรัฐมนตรีเป็นกรณีพิเศษ เป็นการประชุมโดยไม่มีเจ้าหน้าที่ฝ่ายประจำ ไม่มีระเบียบวาระที่กำหนดไว้ล่วงหน้า เพื่อซักซ้อมทำความเข้าใจ และกำหนดจุดยืนร่วมกัน ถึงภารกิจของรัฐบาลที่มีเวลาเหลืออยู่เพียงประมาณครึ่งปี ว่าจะทำอะไร หรือ ไม่ทำอะไรบ้าง รวมทั้งกำหนดหลักการการแก้ปัญหาในเรื่องต่างๆให้สอดคล้องกัน เช่น กรณี ITV กรณีดาวเทียม เป็นต้น จากนั้นก็เปิดแถลงต่อสาธารณชน หรือ แม้แต่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกันในสังคมในทิศทางของการบริหารประเทศ และหากเป็นไปได้เสนอแผนนิติบัญญัติต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติด้วย
๓. หารือกับคมช.เพื่อกำหนดจุดยืนทางการเมือง ปมปัญหาที่เป็นความละเอียดอ่อน กระทบต่อความเชื่อมั่นที่สำคัญ คือ ปัญหาการเมือง โดยเฉพาะความหวาดระแวงเรื่อง การสืบทอดอำนาจ การเผชิญหน้ากับกลุ่มพลังทางการเมืองต่างๆ ส่วนหนึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นตามปกติทุกครั้งหลังการรัฐประหาร แต่อีกส่วนหนึ่งเกิดจากความอึมครึมที่รัฐบาลกับคมช.สร้างขึ้นเอง
หากจะคลี่คลายในส่วนนี้ ก็ทำได้ไม่ยาก เพียงคมช.กับรัฐบาลประกาศจุดยืนเรื่องรัฐธรรมนูญ ว่า หากจะต้องใช้อำนาจของตนตามรัฐธรรมนูญชั่วคราว จะหยิบยกรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตย เช่น ฉบับปี พ.ศ.๒๕๔๐ หรือ ฉบับปี พ.ศ.๒๕๑๗ เท่านั้น และจะปรับปรุงแก้ไขเฉพาะในส่วนใดบ้าง เพียงเท่านี้ก็จะทำให้หลุดพ้นจากข้อครหาเรื่อง การสืบทอดอำนาจ และทำให้การลงประชามติไม่มีปัญหาการขาดความชอบธรรม
เช่นเดียวกัน การทบทวนคำสั่ง คปค.ฉบับที่ ๑๕ และ ๒๗ โดยกำหนดห้ามการดำเนินการเฉพาะบางกิจกรรม จะช่วยแยกแยะกลุ่มอำนาจเก่าออกจากกลุ่มพลังประชาธิปไตย แยกแยะพรรคการเมืองที่มีเจตนาแอบแฝงออกจากพรรคการเมืองอื่นๆได้
ข้อเสนอทั้งหมดนี้ ทำขึ้นด้วยความห่วงใยว่า หากรัฐบาลภายใต้การนำของพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ล้มเหลว ผลกระทบที่ตามมา ที่จะเกิดขึ้นกับประทศชาติ และประชาชนไทย จะยิ่งใหญ่กว่าสภาพวิกฤติที่เราประสบมาเป็นเวลากว่าปีแล้ว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 5 มี.ค. 2550--จบ--