1. การผลิต
ภาวะการผลิตเยื่อกระดาษและกระดาษ ในไตรมาสที่ 4 ปี 2549 มีปริมาณการผลิต 256,090.9 และ 910,368.5 ตัน ตามลำดับ
เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8 และ 1.9 ตามลำดับ เนื่องจากมีการขยายการผลิตเพื่อรองรับความต้องการภายในประเทศและต่าง
ประเทศ ช่วงเทศกาล คริสมาสต์และปีใหม่ ในการจัดทำปฏิทิน สมุดบันทึก กระดาษห่อของขวัญ และการ์ดต่าง ๆ ประกอบกับการจัดพิมพ์รายงาน
ประจำปีของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน รวมทั้งหนังสืองานพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี
ตารางที่ 1 ปริมาณการผลิตเยื่อกระดาษ และกระดาษ
หน่วย : ตัน
ปริมาณการผลิต การเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
ไตรมาส
Apr-48 Mar-49 Apr-49 เมื่อเทียบกับ เมื่อเทียบกับไตรมาส
ไตรมาสก่อน เดียวกันของปีก่อน
เยื่อกระดาษ 226,391.20 237,528.30 256,090.90 7.8 13.1
กระดาษ 853,053.10 893,240.20 910,368.50 1.9 6.7
กระดาษพิมพ์เขียน 244,290.20 244,311.50 250,852.20 2.7 2.7
กระดาษแข็ง 50,466.80 53,906.80 48,173.10 -10.6 -4.5
กระดาษคราฟท์/ลูกฟูก 532,686.60 567,476.70 583,503.30 2.8 9.5
อื่นๆ1/ 25,609.50 27,545.20 27,839.90 1.1 8.7
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : จากการสำรวจโรงงานอุตสาหกรรมกระดาษ จำนวน 85 โรงงาน
1/ อื่นๆ ได้แก่ กระดาษอนามัย กระดาษเช็ดหน้า กระดาษต่อเนื่อง กระดาษไหว้เจ้า
2. การนำเข้าและการส่งออก
2.1 การนำเข้า
ภาวะการนำเข้าเยื่อกระดาษและเศษกระดาษ และสิ่งพิมพ์ ในไตรมาสที่ 4 ปี 2549 มีมูลค่า 113.3 และ 36.3 ล้านเหรียญสหรัฐ ตาม
ลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 และ 11.0 ตามลำดับ เนื่องจากต้องนำเข้าเยื่อใยยาวที่ไม่สามารถผลิตภายในประเทศได้ และ
นำเข้าเศษกระดาษ คุณภาพดี(ผลิตจากเยื่อใยยาว) เพื่อนำมาผลิตเยื่อและกระดาษ อีกทั้งความต้องการสิ่งพิมพ์ในประเทศ เพิ่มขึ้น เพื่อใช้เทศกาล
คริสมาสต์ ปีใหม่ และการจัดทำรายงานประจำปีของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน โดยตลาดนำเข้าหลักเยื่อกระดาษและเศษกระดาษจากสหรัฐ
อเมริกา แคนาดาและสวีเดน และตลาดนำเข้าหลักสิ่งพิมพ์จากสหรัฐอเมริกา อังกฤษและญี่ปุ่น
ส่วนภาวะการนำเข้ากระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ ในไตรมาสที่ 4 ปี 2549 มีมูลค่า 254.4 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับไตรมาส
ก่อนลดลงร้อยละ 8.1 เนื่องจากผู้ผลิตภายในประเทศสามารถผลิต สินค้าออกมาตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้เพิ่มขึ้นประกอบกับไตรมาสก่อน
มีการนำเข้ากระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษสูงเพื่อรองรับเทศกาลคริสมาสต์และปีใหม่ ตลาดนำเข้าหลักจากญี่ปุ่น สิงคโปร์และจีน
ตารางที่ 2 มูลค่าการนำเข้าเยื่อกระดาษและเศษกระดาษ กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษสิ่งพิมพ์
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ
ผลิตภัณฑ์ ไตรมาส อัตราการขยายตัว (ร้อยละ)
Apr-48 Mar-49 Apr-49 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
เยื่อกระดาษและเศษกระดาษ 84.5 112.4 113.3 0.8 34.1
กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ 221.5 276.8 254.4 -8.1 14.8
สิ่งพิมพ์ 33.9 32.7 36.3 11 7.1
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
2.2 การส่งออก
ภาวะการส่งออกเยื่อกระดาษ ในไตรมาสที่ 4 ปี 2549 มีมูลค่า 21.7 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกัน
ของปีก่อนลดลงร้อยละ 47.4 และ 14.6 ตามลำดับ เนื่องจากความต้องการใช้เยื่อกระดาษในประเทศสูงขึ้น เพื่อนำไปผลิตกระดาษสำหรับจัดพิมพ์จัด
ทำปฏิทิน สมุดบันทึก กระดาษห่อของขวัญ การ์ดต่าง ๆ หนังสือเกี่ยวกับพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี และรายงานประจำปีของ หน่วยงาน
ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
ภาวะการส่งออกกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ ในไตรมาสที่ 4 ปี 2549 มีมูลค่า 291.7 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและ
ไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นต่อเนื่องร้อยละ 6.2 และ 28.0 ตามลำดับ เนื่องจากประเทศคู่ค้ามีความต้องการใช้กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ
เพื่อรองรับเทศกาล คริสมาสต์และปีใหม่ต่อเนื่องไตรมาสก่อน ตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ มาเลเซีย เวียดนาม และจีน
ภาวะการส่งออกหนังสือและสิ่งพิมพ์ ในไตรมาสที่ 4 ปี 2549 มีมูลค่า 20.1 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาส
เดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 51.3 และ 12.6 ตามลำดับ เนื่องจากประเทศคู่ค้าต่อรองราคา จึงไม่สามารถเจรจาตกลง กันได้ ประกอบกับการ
ผลิตหนังสือและสิ่งพิมพ์ในประเทศมีปริมาณงานมากและราคาดีกว่าต่างประเทศ อีกทั้งไตรมาสก่อนมีการส่งออกหนังสือและสิ่งพิมพ์ไปยังประเทศคู่ค้า
ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษและออสเตรเลีย เป็นจำนวนมากเพื่อรองรับเทศกาลคริสมาสต์และปีใหม่
ตารางที่ 3 มูลค่าการส่งออกเยื่อกระดาษ กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ หนังสือและสิ่งพิมพ์
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ
ผลิตภัณฑ์
ไตรมาส อัตราการขยายตัว (ร้อยละ)
Apr-48 Mar-49 Apr-49 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
เยื่อกระดาษ 25.4 41.3 21.7 -47.4 -14.6
กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ 227.9 274.7 291.7 6.2 28
หนังสือและสิ่งพิมพ์ 23 41.3 20.1 -51.3 -12.6
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
3. สรุป
ภาวะการผลิต การนำเข้า และการส่งออกของอุตสาหกรรมเยื่อ กระดาษและสิ่งพิมพ์ในไตรมาสนี้ส่วนใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากรองรับ
เทศกาลคริสมาสต์และปีใหม่ ส่งผลต่อความต้องการใช้เยื่อ กระดาษและสิ่งพิมพ์เพิ่มขึ้น เพื่อจัดพิมพ์สมุดบันทึก ปฏิทิน กระดาษห่อของขวัญและการ์ดต่าง
ๆ อีกทั้งในช่วงสิ้นปีหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนจัดพิมพ์รายงานประจำปี ประกอบกับความต้องการหนังสือเกี่ยวกับพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติ
ครบ 60 ปี ซึ่งเหตุผลประเด็นหลังมีส่วนทำให้การส่งออกเยื่อและสิ่งพิมพ์ในไตรมาสนี้ลดลง เพื่อรองรับความต้องการภายในประเทศด้วยกระแสความ
ต้องการหนังสือเกี่ยวกับพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี
4. แนวโน้มไตรมาสที่ 1 ปี 2550
แนวโน้มของภาวะอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ ในไตรมาสหน้าคาดว่าจะขยายตัวสูงขึ้นกว่าไตรมาสก่อน เนื่องจาก
1) ภาครัฐและภาคเอกชน รณรงค์ ผลักดันให้เกิดการบริโภคกระดาษในประเทศเพิ่มขึ้นจากการอ่านหนังสือ เพื่อทำให้สังคมไทยเป็นสังคม
แห่งการเรียนรู้
2) การจัดทำประชามติเพื่อผ่านร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ซึ่งต้องมีการจัดพิมพ์ร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวให้กับคนไทยทั้งประเทศ
ร่วมออกเสียง
3) ราคาน้ำมันและค่าเงินบาทมีเสถียรภาพมากขึ้น
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ภาวะการผลิตเยื่อกระดาษและกระดาษ ในไตรมาสที่ 4 ปี 2549 มีปริมาณการผลิต 256,090.9 และ 910,368.5 ตัน ตามลำดับ
เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8 และ 1.9 ตามลำดับ เนื่องจากมีการขยายการผลิตเพื่อรองรับความต้องการภายในประเทศและต่าง
ประเทศ ช่วงเทศกาล คริสมาสต์และปีใหม่ ในการจัดทำปฏิทิน สมุดบันทึก กระดาษห่อของขวัญ และการ์ดต่าง ๆ ประกอบกับการจัดพิมพ์รายงาน
ประจำปีของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน รวมทั้งหนังสืองานพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี
ตารางที่ 1 ปริมาณการผลิตเยื่อกระดาษ และกระดาษ
หน่วย : ตัน
ปริมาณการผลิต การเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
ไตรมาส
Apr-48 Mar-49 Apr-49 เมื่อเทียบกับ เมื่อเทียบกับไตรมาส
ไตรมาสก่อน เดียวกันของปีก่อน
เยื่อกระดาษ 226,391.20 237,528.30 256,090.90 7.8 13.1
กระดาษ 853,053.10 893,240.20 910,368.50 1.9 6.7
กระดาษพิมพ์เขียน 244,290.20 244,311.50 250,852.20 2.7 2.7
กระดาษแข็ง 50,466.80 53,906.80 48,173.10 -10.6 -4.5
กระดาษคราฟท์/ลูกฟูก 532,686.60 567,476.70 583,503.30 2.8 9.5
อื่นๆ1/ 25,609.50 27,545.20 27,839.90 1.1 8.7
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : จากการสำรวจโรงงานอุตสาหกรรมกระดาษ จำนวน 85 โรงงาน
1/ อื่นๆ ได้แก่ กระดาษอนามัย กระดาษเช็ดหน้า กระดาษต่อเนื่อง กระดาษไหว้เจ้า
2. การนำเข้าและการส่งออก
2.1 การนำเข้า
ภาวะการนำเข้าเยื่อกระดาษและเศษกระดาษ และสิ่งพิมพ์ ในไตรมาสที่ 4 ปี 2549 มีมูลค่า 113.3 และ 36.3 ล้านเหรียญสหรัฐ ตาม
ลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 และ 11.0 ตามลำดับ เนื่องจากต้องนำเข้าเยื่อใยยาวที่ไม่สามารถผลิตภายในประเทศได้ และ
นำเข้าเศษกระดาษ คุณภาพดี(ผลิตจากเยื่อใยยาว) เพื่อนำมาผลิตเยื่อและกระดาษ อีกทั้งความต้องการสิ่งพิมพ์ในประเทศ เพิ่มขึ้น เพื่อใช้เทศกาล
คริสมาสต์ ปีใหม่ และการจัดทำรายงานประจำปีของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน โดยตลาดนำเข้าหลักเยื่อกระดาษและเศษกระดาษจากสหรัฐ
อเมริกา แคนาดาและสวีเดน และตลาดนำเข้าหลักสิ่งพิมพ์จากสหรัฐอเมริกา อังกฤษและญี่ปุ่น
ส่วนภาวะการนำเข้ากระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ ในไตรมาสที่ 4 ปี 2549 มีมูลค่า 254.4 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับไตรมาส
ก่อนลดลงร้อยละ 8.1 เนื่องจากผู้ผลิตภายในประเทศสามารถผลิต สินค้าออกมาตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้เพิ่มขึ้นประกอบกับไตรมาสก่อน
มีการนำเข้ากระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษสูงเพื่อรองรับเทศกาลคริสมาสต์และปีใหม่ ตลาดนำเข้าหลักจากญี่ปุ่น สิงคโปร์และจีน
ตารางที่ 2 มูลค่าการนำเข้าเยื่อกระดาษและเศษกระดาษ กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษสิ่งพิมพ์
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ
ผลิตภัณฑ์ ไตรมาส อัตราการขยายตัว (ร้อยละ)
Apr-48 Mar-49 Apr-49 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
เยื่อกระดาษและเศษกระดาษ 84.5 112.4 113.3 0.8 34.1
กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ 221.5 276.8 254.4 -8.1 14.8
สิ่งพิมพ์ 33.9 32.7 36.3 11 7.1
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
2.2 การส่งออก
ภาวะการส่งออกเยื่อกระดาษ ในไตรมาสที่ 4 ปี 2549 มีมูลค่า 21.7 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกัน
ของปีก่อนลดลงร้อยละ 47.4 และ 14.6 ตามลำดับ เนื่องจากความต้องการใช้เยื่อกระดาษในประเทศสูงขึ้น เพื่อนำไปผลิตกระดาษสำหรับจัดพิมพ์จัด
ทำปฏิทิน สมุดบันทึก กระดาษห่อของขวัญ การ์ดต่าง ๆ หนังสือเกี่ยวกับพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี และรายงานประจำปีของ หน่วยงาน
ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
ภาวะการส่งออกกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ ในไตรมาสที่ 4 ปี 2549 มีมูลค่า 291.7 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและ
ไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นต่อเนื่องร้อยละ 6.2 และ 28.0 ตามลำดับ เนื่องจากประเทศคู่ค้ามีความต้องการใช้กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ
เพื่อรองรับเทศกาล คริสมาสต์และปีใหม่ต่อเนื่องไตรมาสก่อน ตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ มาเลเซีย เวียดนาม และจีน
ภาวะการส่งออกหนังสือและสิ่งพิมพ์ ในไตรมาสที่ 4 ปี 2549 มีมูลค่า 20.1 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาส
เดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 51.3 และ 12.6 ตามลำดับ เนื่องจากประเทศคู่ค้าต่อรองราคา จึงไม่สามารถเจรจาตกลง กันได้ ประกอบกับการ
ผลิตหนังสือและสิ่งพิมพ์ในประเทศมีปริมาณงานมากและราคาดีกว่าต่างประเทศ อีกทั้งไตรมาสก่อนมีการส่งออกหนังสือและสิ่งพิมพ์ไปยังประเทศคู่ค้า
ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษและออสเตรเลีย เป็นจำนวนมากเพื่อรองรับเทศกาลคริสมาสต์และปีใหม่
ตารางที่ 3 มูลค่าการส่งออกเยื่อกระดาษ กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ หนังสือและสิ่งพิมพ์
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ
ผลิตภัณฑ์
ไตรมาส อัตราการขยายตัว (ร้อยละ)
Apr-48 Mar-49 Apr-49 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
เยื่อกระดาษ 25.4 41.3 21.7 -47.4 -14.6
กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ 227.9 274.7 291.7 6.2 28
หนังสือและสิ่งพิมพ์ 23 41.3 20.1 -51.3 -12.6
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
3. สรุป
ภาวะการผลิต การนำเข้า และการส่งออกของอุตสาหกรรมเยื่อ กระดาษและสิ่งพิมพ์ในไตรมาสนี้ส่วนใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากรองรับ
เทศกาลคริสมาสต์และปีใหม่ ส่งผลต่อความต้องการใช้เยื่อ กระดาษและสิ่งพิมพ์เพิ่มขึ้น เพื่อจัดพิมพ์สมุดบันทึก ปฏิทิน กระดาษห่อของขวัญและการ์ดต่าง
ๆ อีกทั้งในช่วงสิ้นปีหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนจัดพิมพ์รายงานประจำปี ประกอบกับความต้องการหนังสือเกี่ยวกับพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติ
ครบ 60 ปี ซึ่งเหตุผลประเด็นหลังมีส่วนทำให้การส่งออกเยื่อและสิ่งพิมพ์ในไตรมาสนี้ลดลง เพื่อรองรับความต้องการภายในประเทศด้วยกระแสความ
ต้องการหนังสือเกี่ยวกับพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี
4. แนวโน้มไตรมาสที่ 1 ปี 2550
แนวโน้มของภาวะอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ ในไตรมาสหน้าคาดว่าจะขยายตัวสูงขึ้นกว่าไตรมาสก่อน เนื่องจาก
1) ภาครัฐและภาคเอกชน รณรงค์ ผลักดันให้เกิดการบริโภคกระดาษในประเทศเพิ่มขึ้นจากการอ่านหนังสือ เพื่อทำให้สังคมไทยเป็นสังคม
แห่งการเรียนรู้
2) การจัดทำประชามติเพื่อผ่านร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ซึ่งต้องมีการจัดพิมพ์ร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวให้กับคนไทยทั้งประเทศ
ร่วมออกเสียง
3) ราคาน้ำมันและค่าเงินบาทมีเสถียรภาพมากขึ้น
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-