การจดทะเบียนพรรคฯ ต้องไม่ช้าเกินกว่าเหตุ
โดย บัญญัติ บรรทัดฐาน
7 มิถุนายน 2550
ควันหลงจากกรณี ตุลาการรัฐธรรมนูญ สั่งยุบพรรคการเมือง เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม ที่ผ่านมาดูจะยังเป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจ และเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันอยู่มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ก็คือประเด็นของการมีคำสั่งให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคฯ ตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองฯ ฉบับที่ 27 ซึ่งตุลาการรัฐธรรมนุญโดยเสียงข้างมาก วินิจฉัยว่าสามารถทำได้โดยชอบ และก็ได้มีการให้เหตุผลประกอบคำวินิจฉัยไว้อย่างละเอียด
การวิพากษ์วิจารณ์คงจะมีอยู่ต่อไป แต่อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ที่สืบเนื่องจากการยุบพรรคการเมือง ก็ดีกว่าที่หลายฝ่ายได้คาดคิดเอาไว้มาก ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ด้วยเดชะพระบารมีของพระเจ้าอยู่หัวของเรา ที่ได้ทรงมีพระกระแสรับสั่งแสดงให้เห็นถึงความกังวลในพระราชหฤทัยในปัญหาที่จะเกิดขึ้นตามมาไม่ว่าคณะตุลาการรัฐธรรมนูญจะมีคำสั่งไปในทางใด ซึ่งเป็นผลให้ทุกฝ่ายได้มีความระมัดระวังมากยิ่งขึ้น ทั้งผู้คนที่จะมาชุมนุมก็มีจำนวนน้อยลงกว่าที่คาด นี่เป็นประการสำคัญมากประการหนึ่ง กับอีกประการหนึ่งก็คือ การที่คณะตุลาการรัฐธรรมนูญได้จัดทำคำวินิจฉัยที่มีรายละเอียดอย่างครบถ้วนในทุกประเด็น ทั้งที่เป็นเหตุและผลของคำวินิจฉัย ซึ่งช่วยให้เป็นที่เข้าใจได้เป็นอย่างดี
การวิพากษ์วิจารณ์ที่มีอยู่ จึงคงเป็นได้เพียงข้อสังเกตที่คงจะเป็นประโยชน์ในทางวิชาการและในการจัดทำหรือแก้ไขเพิ่มเติม กฎหมายพรรคการเมืองในโอกาสต่อไป ส่วนผลทางคดีก็ต้องเป็นไปตามที่รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวปี 2549 บัญญัติไว้คือ ให้เป็นอำนาจของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ซึ่งถ้าจะเทียบเคียงกับอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 แล้ว ต้องถือว่าเป็นเด็ดขาดมีผลผูกพัน รัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และองค์กรอื่นของรัฐเลยทีเดียว
ปัญหาในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพรรคการเมืองในขณะนี้จึงควรจะมีแต่เพียงว่า ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจะช่วยกันดึงให้เข้ามาอยู่ในระบบ เพื่อให้สามารถที่จะก้าวไปข้างหน้าให้เร็วที่สุดได้อย่างไร ซึ่งก็เป็นการสมควรอย่างยิ่ง เพราะในขณะที่ปัญหารัฐธรรมนูญก็ดูจะยังมีปัญหาที่ไม่ค่อยจะลงตัวกันอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะนี้ปัญหาของการจัดทำประชามติที่ยังรออยู่ข้างหน้า การปล่อยให้ปัญหาพรรคการเมืองยังคาราคาซังล่าช้าต่อไปอีก ก็จะเข้าทำนอง “ความวัวยังไม่ทันหาย ความควายก็เข้ามาแทรก” อันจะเป็นการซ้ำเติมสถานการณ์ทางการเมืองที่มีทีท่าว่าจะผ่านไปได้ให้ต้องมีอันเลวร้ายลงไปอีก ซึ่งไม่ควรจะปล่อยให้เป็นเช่นนั้น
เพื่อเป็นการดึงเอาปัญหาพรรคการเมืองให้เข้ามาอยู่ในระบบ และเพื่อให้สามารถก้าวไปข้างหน้าได้ รวมทั้งเพื่อป้องกันมิให้สถานการณ์เลวร้ายลง ผมมีความเห็นว่า
1. การที่รัฐบาลและคมช. มีความเห็นร่วมกันในการเปิดโอกาสให้พรรคการเมืองสามารถดำเนินการประชุม หรือดำเนินกินการใด ๆ ในทางการเมืองได้ โดยมีมติ ครม. ยกเลิกข้อห้ามในเรื่องดังกล่าวตามประกาศ คปค. ฉบับที่ 15 และ 27 นั้น นับเป็นการกระทำที่ถูกต้องเหมาะสมแล้ว
2. เพื่อป้องกันมิให้เกิดความเสียเปรียบทางการเมือง สำหรับพรรคฯ ที่ถูกยุบไปโดยคำสั่งคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ รวมทั้งพรรคฯ ที่จะมีการจัดตั้งขึ้นมาใหม่ รัฐบาลควรจะได้ดำเนินการเสนอร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม ประกาศ คปค. ฉบับที่ 15 ต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยเร็ว เพื่อแก้ไขให้การดำเนินเพื่อการจัดตั้งหรือจดทะเบียนพรรคการเมืองสามารถกระทำได้โดยไม่ชักช้า และสภานิติบัญญัติแห่งชาติก็ควรจะเร่งพิจารณาโดยด่วนต่อไปด้วย
3. ประธาน กกต. ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง ควรจะได้ดำเนินการรับจดแจ้งการจัดตั้งหรือรับจดทะเบียนพรรคการเมืองในทันทีที่มีกฎหมายให้ดำเนินการได้
4. นายทะเบียนพรรคการเมือง ต้องไม่ด่วนตีความกฎหมายเสียเองให้เป็นการจำกัดสิทธิของผู้ขอจดแจ้งจัดตั้งพรรคการเมืองใหม่ เช่น ตีความว่า พรรคที่ถูกยุบ จะขอใช้ชื่อเดิมไม่ได้ หรือจะขอใช้ชื่อเดิมได้ก็ต่อเมื่อ สตง. ชำระบัญชีเสร็จสิ้นแล้ว ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาถึง 6 เดือน หรืออาจนานกว่า 6 เดือน
การตีความกฎหมายเสียเองเช่นนี้มีปัญหาแน่ เพราะความยุติธรรมที่ล่าช้า ก็คือความไม่ยุติธรรมที่สำคัญก็คือว่า การตีความกฎหมายที่อาจจะก่อให้เกิดการจำกัดสิทธิเช่นนี้ ควรจะได้ตีความโดยเคร่งครัด ด้วยความระมัดระวังมิให้เกิดการจำกัดสิทธิเท่าที่สามารถจะตีความได้
5. เพื่อความระมัดระวัง รอบคอบ และเพื่อป้องกันปัญหาการโต้งแย้งสิทธิ ที่อาจจะกลายเป็นปัญหาการเมืองขึ้นมาอีกได้ นายทะเบียนพรรคการเมืองจึงน่าจะได้หารือประเด็นปัญหาการตีความดังกล่าวไปยังองค์กรที่มีหน้าที่และมีความชำนาญการในการตีความกฎหมาย เพื่อให้ได้คำตอบอันเป็นที่ยอมรับกันเสียก่อน ก่อนที่จะมีปัญหาเกิดขึ้นตามมา
ผมมีความเห็นว่า หากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจะได้ร่วมมือกัน ดำเนินการดังกล่าวมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดำเนินการให้มีการรับจดแจ้งการจัดตั้งหรือรับจดทะเบียนพรรคการเมืองได้โดยไม่ชักช้าแล้ว ผลที่เกิดขึ้นตามมา นอกเหนือจากจะเป็นการดึงเอาปัญหาพรรคการเมืองเข้ามาอยู่ในระบบแล้ว ก็คือการลดความตึงเครียดทางการเมืองลงได้ในอีกระดับหนึ่งอย่างแน่นอน ประโยชน์ทางการเมืองที่จะเกิดขึ้น อย่างเห็นได้ชัดก็คือ
1. ก่อให้เกิดความรู้สึกเท่าเทียมกันในโอกาสระหว่างพรรคการเมืองที่มีอยู่แล้ว รวมทั้งพรรคการเมืองที่จะจัดตั้งขึ้นมาใหม่ อันจะเป็นการลดแรงกดดันในการชุมนุมเรียกร้องให้ลดลงได้ในระดับหนึ่ง
2. การดำเนินกิจการของพรรคการเมืองต่าง ๆ ที่มุ่งสู่การเลือกตั้ง ด้วยการนำเสนอนโยบายเพื่อเป็นทางเลือกต่อประชาชนจะทำให้ภาพของการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในตอนปลายปี 2550 ตามที่นายกรัฐมนตรีได้ประกาศไว้ มีความชัดเจนแน่นอนมากยิ่งขึ้น อันจะส่งผลต่อความมั่นใจของประชาชนโดยทั่วไปในทิศทางการเมืองของประเทศและต่อความมั่นใจ ของนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งจะก่อให้เกิดผลดีในทางเศรษฐกิจอีกด้วย
3. การเปิดตัว เปิดแนวคิดในการแก้ปัญหาและพัฒนาประเทศของพรรคการเมืองทั้งที่มีอยุ่เดิมและที่จะได้จัดตั้งขึ้นใหม่ ซึ่งในขณะนี้เป็นพรรคบ้าง เป็นกลุ่มบ้าง ก็จะได้มีความชัดเจนแน่นอนและมีเวลาเพียงพอแก่การที่ประชาชนจะตัดสินใจเลือกเป็นทางเลือกได้ ข้อนี้ก็จะเป็นประโยชน์สำหรับการเลือกตั้งที่จะมีขึ้น
4. เป็นการลดแรงเสียดทานต่อปัญหาการจัดทำประชามติรัฐธรรมนูญใหม่ลงได้ในระดับหนึ่งด้วยเช่นเดียวกัน เพราะจะไม่เกิดปัญหา “ความวัวยังไม่ทันหาย ความควายก็เข้ามาแทรก” ดังกล่าวไว้ข้างต้น
ปัญหาจึงมีอยู่ว่า ผู้เกี่ยวข้องจะมองเห็นสถานการณ์อันตรายมากน้อยเพียงใด และพร้อมที่จะดำเนินการเพื่อป้องกันสถานการณ์แห่งปัญหานั้นหรือไม่เท่านั้นเอง.
**********************************************
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 7 มิ.ย. 2550--จบ--
โดย บัญญัติ บรรทัดฐาน
7 มิถุนายน 2550
ควันหลงจากกรณี ตุลาการรัฐธรรมนูญ สั่งยุบพรรคการเมือง เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม ที่ผ่านมาดูจะยังเป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจ และเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันอยู่มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ก็คือประเด็นของการมีคำสั่งให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคฯ ตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองฯ ฉบับที่ 27 ซึ่งตุลาการรัฐธรรมนุญโดยเสียงข้างมาก วินิจฉัยว่าสามารถทำได้โดยชอบ และก็ได้มีการให้เหตุผลประกอบคำวินิจฉัยไว้อย่างละเอียด
การวิพากษ์วิจารณ์คงจะมีอยู่ต่อไป แต่อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ที่สืบเนื่องจากการยุบพรรคการเมือง ก็ดีกว่าที่หลายฝ่ายได้คาดคิดเอาไว้มาก ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ด้วยเดชะพระบารมีของพระเจ้าอยู่หัวของเรา ที่ได้ทรงมีพระกระแสรับสั่งแสดงให้เห็นถึงความกังวลในพระราชหฤทัยในปัญหาที่จะเกิดขึ้นตามมาไม่ว่าคณะตุลาการรัฐธรรมนูญจะมีคำสั่งไปในทางใด ซึ่งเป็นผลให้ทุกฝ่ายได้มีความระมัดระวังมากยิ่งขึ้น ทั้งผู้คนที่จะมาชุมนุมก็มีจำนวนน้อยลงกว่าที่คาด นี่เป็นประการสำคัญมากประการหนึ่ง กับอีกประการหนึ่งก็คือ การที่คณะตุลาการรัฐธรรมนูญได้จัดทำคำวินิจฉัยที่มีรายละเอียดอย่างครบถ้วนในทุกประเด็น ทั้งที่เป็นเหตุและผลของคำวินิจฉัย ซึ่งช่วยให้เป็นที่เข้าใจได้เป็นอย่างดี
การวิพากษ์วิจารณ์ที่มีอยู่ จึงคงเป็นได้เพียงข้อสังเกตที่คงจะเป็นประโยชน์ในทางวิชาการและในการจัดทำหรือแก้ไขเพิ่มเติม กฎหมายพรรคการเมืองในโอกาสต่อไป ส่วนผลทางคดีก็ต้องเป็นไปตามที่รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวปี 2549 บัญญัติไว้คือ ให้เป็นอำนาจของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ซึ่งถ้าจะเทียบเคียงกับอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 แล้ว ต้องถือว่าเป็นเด็ดขาดมีผลผูกพัน รัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และองค์กรอื่นของรัฐเลยทีเดียว
ปัญหาในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพรรคการเมืองในขณะนี้จึงควรจะมีแต่เพียงว่า ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจะช่วยกันดึงให้เข้ามาอยู่ในระบบ เพื่อให้สามารถที่จะก้าวไปข้างหน้าให้เร็วที่สุดได้อย่างไร ซึ่งก็เป็นการสมควรอย่างยิ่ง เพราะในขณะที่ปัญหารัฐธรรมนูญก็ดูจะยังมีปัญหาที่ไม่ค่อยจะลงตัวกันอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะนี้ปัญหาของการจัดทำประชามติที่ยังรออยู่ข้างหน้า การปล่อยให้ปัญหาพรรคการเมืองยังคาราคาซังล่าช้าต่อไปอีก ก็จะเข้าทำนอง “ความวัวยังไม่ทันหาย ความควายก็เข้ามาแทรก” อันจะเป็นการซ้ำเติมสถานการณ์ทางการเมืองที่มีทีท่าว่าจะผ่านไปได้ให้ต้องมีอันเลวร้ายลงไปอีก ซึ่งไม่ควรจะปล่อยให้เป็นเช่นนั้น
เพื่อเป็นการดึงเอาปัญหาพรรคการเมืองให้เข้ามาอยู่ในระบบ และเพื่อให้สามารถก้าวไปข้างหน้าได้ รวมทั้งเพื่อป้องกันมิให้สถานการณ์เลวร้ายลง ผมมีความเห็นว่า
1. การที่รัฐบาลและคมช. มีความเห็นร่วมกันในการเปิดโอกาสให้พรรคการเมืองสามารถดำเนินการประชุม หรือดำเนินกินการใด ๆ ในทางการเมืองได้ โดยมีมติ ครม. ยกเลิกข้อห้ามในเรื่องดังกล่าวตามประกาศ คปค. ฉบับที่ 15 และ 27 นั้น นับเป็นการกระทำที่ถูกต้องเหมาะสมแล้ว
2. เพื่อป้องกันมิให้เกิดความเสียเปรียบทางการเมือง สำหรับพรรคฯ ที่ถูกยุบไปโดยคำสั่งคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ รวมทั้งพรรคฯ ที่จะมีการจัดตั้งขึ้นมาใหม่ รัฐบาลควรจะได้ดำเนินการเสนอร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม ประกาศ คปค. ฉบับที่ 15 ต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยเร็ว เพื่อแก้ไขให้การดำเนินเพื่อการจัดตั้งหรือจดทะเบียนพรรคการเมืองสามารถกระทำได้โดยไม่ชักช้า และสภานิติบัญญัติแห่งชาติก็ควรจะเร่งพิจารณาโดยด่วนต่อไปด้วย
3. ประธาน กกต. ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง ควรจะได้ดำเนินการรับจดแจ้งการจัดตั้งหรือรับจดทะเบียนพรรคการเมืองในทันทีที่มีกฎหมายให้ดำเนินการได้
4. นายทะเบียนพรรคการเมือง ต้องไม่ด่วนตีความกฎหมายเสียเองให้เป็นการจำกัดสิทธิของผู้ขอจดแจ้งจัดตั้งพรรคการเมืองใหม่ เช่น ตีความว่า พรรคที่ถูกยุบ จะขอใช้ชื่อเดิมไม่ได้ หรือจะขอใช้ชื่อเดิมได้ก็ต่อเมื่อ สตง. ชำระบัญชีเสร็จสิ้นแล้ว ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาถึง 6 เดือน หรืออาจนานกว่า 6 เดือน
การตีความกฎหมายเสียเองเช่นนี้มีปัญหาแน่ เพราะความยุติธรรมที่ล่าช้า ก็คือความไม่ยุติธรรมที่สำคัญก็คือว่า การตีความกฎหมายที่อาจจะก่อให้เกิดการจำกัดสิทธิเช่นนี้ ควรจะได้ตีความโดยเคร่งครัด ด้วยความระมัดระวังมิให้เกิดการจำกัดสิทธิเท่าที่สามารถจะตีความได้
5. เพื่อความระมัดระวัง รอบคอบ และเพื่อป้องกันปัญหาการโต้งแย้งสิทธิ ที่อาจจะกลายเป็นปัญหาการเมืองขึ้นมาอีกได้ นายทะเบียนพรรคการเมืองจึงน่าจะได้หารือประเด็นปัญหาการตีความดังกล่าวไปยังองค์กรที่มีหน้าที่และมีความชำนาญการในการตีความกฎหมาย เพื่อให้ได้คำตอบอันเป็นที่ยอมรับกันเสียก่อน ก่อนที่จะมีปัญหาเกิดขึ้นตามมา
ผมมีความเห็นว่า หากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจะได้ร่วมมือกัน ดำเนินการดังกล่าวมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดำเนินการให้มีการรับจดแจ้งการจัดตั้งหรือรับจดทะเบียนพรรคการเมืองได้โดยไม่ชักช้าแล้ว ผลที่เกิดขึ้นตามมา นอกเหนือจากจะเป็นการดึงเอาปัญหาพรรคการเมืองเข้ามาอยู่ในระบบแล้ว ก็คือการลดความตึงเครียดทางการเมืองลงได้ในอีกระดับหนึ่งอย่างแน่นอน ประโยชน์ทางการเมืองที่จะเกิดขึ้น อย่างเห็นได้ชัดก็คือ
1. ก่อให้เกิดความรู้สึกเท่าเทียมกันในโอกาสระหว่างพรรคการเมืองที่มีอยู่แล้ว รวมทั้งพรรคการเมืองที่จะจัดตั้งขึ้นมาใหม่ อันจะเป็นการลดแรงกดดันในการชุมนุมเรียกร้องให้ลดลงได้ในระดับหนึ่ง
2. การดำเนินกิจการของพรรคการเมืองต่าง ๆ ที่มุ่งสู่การเลือกตั้ง ด้วยการนำเสนอนโยบายเพื่อเป็นทางเลือกต่อประชาชนจะทำให้ภาพของการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในตอนปลายปี 2550 ตามที่นายกรัฐมนตรีได้ประกาศไว้ มีความชัดเจนแน่นอนมากยิ่งขึ้น อันจะส่งผลต่อความมั่นใจของประชาชนโดยทั่วไปในทิศทางการเมืองของประเทศและต่อความมั่นใจ ของนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งจะก่อให้เกิดผลดีในทางเศรษฐกิจอีกด้วย
3. การเปิดตัว เปิดแนวคิดในการแก้ปัญหาและพัฒนาประเทศของพรรคการเมืองทั้งที่มีอยุ่เดิมและที่จะได้จัดตั้งขึ้นใหม่ ซึ่งในขณะนี้เป็นพรรคบ้าง เป็นกลุ่มบ้าง ก็จะได้มีความชัดเจนแน่นอนและมีเวลาเพียงพอแก่การที่ประชาชนจะตัดสินใจเลือกเป็นทางเลือกได้ ข้อนี้ก็จะเป็นประโยชน์สำหรับการเลือกตั้งที่จะมีขึ้น
4. เป็นการลดแรงเสียดทานต่อปัญหาการจัดทำประชามติรัฐธรรมนูญใหม่ลงได้ในระดับหนึ่งด้วยเช่นเดียวกัน เพราะจะไม่เกิดปัญหา “ความวัวยังไม่ทันหาย ความควายก็เข้ามาแทรก” ดังกล่าวไว้ข้างต้น
ปัญหาจึงมีอยู่ว่า ผู้เกี่ยวข้องจะมองเห็นสถานการณ์อันตรายมากน้อยเพียงใด และพร้อมที่จะดำเนินการเพื่อป้องกันสถานการณ์แห่งปัญหานั้นหรือไม่เท่านั้นเอง.
**********************************************
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 7 มิ.ย. 2550--จบ--