ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. สศค.เตรียมประเมินภาพรวมเศรษฐกิจไทยปี 50 ในเดือน พ.ค.นี้ รายงานข่าวจาก ก.คลัง เปิดเผยว่า สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.)
อยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูลเศรษฐกิจทุกด้านเพื่อนำมาประเมินภาพรวมภาวะเศรษฐกิจไทยทั้งปี ในเดือน พ.ค.นี้ โดยข้อมูลเศรษฐกิจหลักที่ถือเป็นแรงขับเคลื่อน
เศรษฐกิจไทย เช่น การส่งออก การลงทุน การบริโภค และการใช้จ่ายเงินของภาครัฐ ยังไม่สะท้อนให้เห็นว่า ภาพรวมเศรษฐกิจไทยจะสามารถขยายตัวได้
ในระดับที่ประมาณการไว้เดิมคือ 4-5% และเท่าที่ประเมินเบื้องต้นเศรษฐกิจไทยในปีนี้จะขยายตัวในระดับต่ำกว่า 4% อย่างแน่นอน แต่จะต่ำกว่ามากน้อยแค่ไหน
จะต้องรอดูตัวเลขทั้งหมดอีกครั้ง ทั้งนี้ การประกาศตัวเลขเศรษฐกิจของ สศค.จะเปลี่ยนแปลงเป็นการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนหรือประกาศเป็นตัวเลขเพียง
ตัวเลขเดียวจากเดิมที่จะมีการประกาศเป็นช่วงของอัตราการเติบโต เพื่อให้ภาคเอกชนได้รับทราบทิศทางการประเมินเศรษฐกิจของทางการที่ชัดเจน และนำไป
ประเมินทิศทางการดำเนินธุรกิจในอนาคตและสามารถปรับตัวได้ทัน (กรุงเทพธุรกิจ, มติชน)
2. ปัญหาเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอาจส่งผลกระทบต่อภาพรวมการส่งออก นายอรนุช โอสถานนท์ รมช.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ปัญหาเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นเรื่อยๆ
ในขณะนี้อาจส่งผลกระทบต่อภาพรวมการส่งออก โดยหากค่าเงินบาทเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ประมาณ 35 บาท/ดอลลาร์ สรอ. เชื่อว่าปีนี้จะสามารถส่งออกได้ตามเป้าหมายคือ
เติบโตประมาณ 12.5% แต่หากค่าเงินบาทผันผวนและแข็งค่ามากกว่า 35 บาท/ดอลลาร์ สรอ. เป็นไปได้ที่เป้าหมายส่งออก 12.5% จะคลาดเคลื่อน จึงอยากให้
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูแลอัตราแลกเปลี่ยนไม่ให้มีผลกระทบต่อการส่งออก ซึ่งเชื่อว่า ธปท.และ ก.คลังจะดูแลได้ (ข่าวสด, กรุงเทพธุรกิจ)
3. ธ.กรุงไทยปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝากลง 0.50% ขณะที่ ธ.นครหลวงไทยปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากลง 0.50% รายงานข่าว
จาก ธ.กรุงไทย เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 20 เม.ย.นี้เป็นต้นไป ธนาคารจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลง 0.25-0.50% โดยปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้า
รายใหญ่ชั้นดี (เอ็มแอลอาร์) ลง 0.50% ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยเอ็มแอลอาร์ลดลงจาก 7.50% ต่อปีเหลือ 7.00% ต่อปี ส่วนอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าเบิก
เกินบัญชี(เอ็มโออาร์) และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายย่อยชั้นดี (เอ็มอาร์อาร์) ปรับลดลง 0.25% ต่อปี โดยลดลงเหลือ 7.50% ต่อปี และ 7.75% ต่อปี
ตามลำดับ ทำให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารอยู่ในระดับต่ำกว่าระบบ ธพ.ในขณะนี้ นอกจากนี้ ธนาคารได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำลง 0.50%
ด้านประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธ.นครหลวงไทย กล่าวว่า ธนาคารได้ปรับลดดอกเบี้ยเงินฝากประจำประเภท 24 เดือนและ 36 เดือน
ลงอีก 0.50% ต่อปี และเงินฝากทวีค่ามีการปรับลดลงอีก 0.50% ต่อปี ทั้งนี้ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 17 เม.ย.50 เป็นต้นไป (กรุงเทพธุรกิจ, โลกวันนี้,
ไทยโพสต์, โพสต์ทูเดย์)
4. ธปท.เตือน ธพ.ตรวจสอบการแลกธนบัตรชำรุดที่เข้าข่ายปลอมแปลง ผู้ช่วยผู้ว่าการสายออกบัตรธนาคาร ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
เปิดเผยว่า หลังจากที่ ธปท.ปิดให้บริการแลกเปลี่ยนธนบัตรชำรุดอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 2 มี.ค.ที่ผ่านมาพบว่า มีลูกค้าจงใจนำธนบัตรที่ชำรุดจากคนละใบ
มาต่อกัน เพื่อนำมาแลกเป็นธนบัตรใบใหม่กับสาขาของ ธพ. ซึ่งเข้าข่ายการปลอมแปลงธนบัตรอย่างชัดเจน จึงขอให้ ธพ.ตรวจสอบรายละเอียดก่อนรับแลก
เพราะหากมีธนบัตรปลอมแปลงนำส่งเข้ามาในระบบของ ธปท. ธพ.ต้องรับผิดชอบความเสียหายเอง (ข่าวสด)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. เดือน ก.พ. ยูโรโซนขาดดุลการค้าลดลงมากกว่าที่คาดไว้ รายงานจากบรัสเซล เมื่อวันที่ 17 เม.ย. 50 สำนักงานสถิติแห่งชาติสหภาพยุโรป
เปิดเผยว่า ในเดือน ก.พ.ยูโรโซนขาดดุลการค้า 1.7 พัน ล. ยูโร (2.3 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ.) ตัวเลขก่อนปรับฤดูกาล ลดลงจากที่ขาดดุลการค้า
7 พันล.ยูโรในเดือน ม.ค.(ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) ซึ่งตัวเลขก่อนปรับขาดดุลการค้าอยู่ที่ 7.8 พัน ล.ยูโร และน้อยกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ไว้
ก่อนหน้านั้นว่าจะขาดดุลการค้า 5 พัน ล. ยูโร โดยนาย Dominique Barbet นักเศรษฐศาสตร์จาก BNP Paribas กล่าวว่าการที่ยูโรโซนขาดดุลการค้า
ลดลงเช่นนี้บ่งชี้ว่าการแข็งค่าของเงินยูโรมิได้กระทบต่อการส่งออกในขณะนี้ ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ที่ ธ.กลางยุโรปจะผลักดันให้มีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย
นโยบายในเดือน มิ.ย. นี้ ทั้งนี้ในสัปดาห์นี้เงินยูโรเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าทำสถิติสูงสุดในรอบ 2 ปี และแข็งค่าทำสถิติสูงสุดเมื่อเทียบกับเงินเยน
ทำให้ตลาดคาดการณ์ว่า ธ.กลางยุโรปจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากร้อยละ 3.75 เป็นร้อยละ 4.0 เพื่อลดแรงกดดันด้านเงินเฟ้อจากการที่เศรษฐกิจ
ขยายตัวอย่างรวดเร็วเนื่องจากตลาดแรงงาน และสินเชื่อที่ขยายตัวอย่างมาก ขณะที่การส่งออกในเดือน ก.พ. ขยายตัวจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 10 ส่วน
การนำเข้าเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 8 (รอยเตอร์)
2. ความเชื่อมั่นของนักลงทุนในเยอรมนีในเดือน เม.ย.50 เพิ่มขึ้นมาอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 10 เดือน รายงานจากเมนเฮล์ม เมื่อ 17 เม.ย.50
ดัชนีชี้วัดความคาดหวังทางเศรษฐกิจจากผลสำรวจความเห็นของนักวิเคราะห์และนักลงทุนสถาบันจำนวน 320 คนโดย ZEW เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 16.5 ในเดือน
เม.ย.50 จากระดับ 5.8 ในเดือน มี.ค.50 เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกัน และอยู่ในระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือน มิ.ย.49 ในขณะที่ผลสำรวจรอยเตอร์
คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 10.0 จากดัชนีดังกล่าวทำให้คาดกันว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวเร็วขึ้นในอีก 6 เดือนข้างหน้า ทั้งนี้เป็นผลจากการขยายตัวดีขึ้นของตลาดแรงงาน
โดยอัตราว่างงานในเดือน มี.ค.50 อยู่ที่ร้อยละ 9.2 ต่ำสุดในรอบเกือบ 6 ปี ซึ่งมีส่วนทำให้การบริโภคและการลงทุนในประเทศขยายตัวสูงขึ้น นักวิเคราะห์
คาดว่าเศรษฐกิจในปี 50 จะขยายตัวในอัตราที่ใกล้เคียงกับปี 49 ซึ่งเศรษฐกิจขยายตัวถึงร้อยละ 2.7 สูงสุดในรอบ 6 ปี แต่อย่างไรก็ดี คาดว่าเศรษฐกิจใน
ปี 50 จะขยายตัวในอัตราที่ต่ำกว่าปี 49 จากปัจจัยลบต่าง ๆ เช่น การชะลอตัวของเศรษฐกิจ สรอ. ค่าเงินยูโรที่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ.และอัตรา
ดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มสูงขึ้น (รอยเตอร์)
3. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของญี่ปุ่นในรอบ 3 เดือนสิ้นสุดเดือน มี.ค.50 ลดลงอยู่ที่ระดับ 46.7 รายงานจากโตเกียว เมื่อ 17 เม.ย.50
The Cabinet Office เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคญี่ปุ่น (ซึ่งแสดงถึงความเชื่อมั่นของผู้บริโภคภาคครัวเรือนและมุมมองของผู้บริโภคทั้งด้านรายได้
และการงาน) ในรอบ 3 เดือนสิ้นสุดเดือน มี.ค.50 อยู่ที่ระดับ 46.7 (ตัวเลขหลังปรับปัจจัยทางฤดูกาล) ลดลงจากระดับ 47.0 ในรอบ 3 เดือนก่อนหน้า
สิ้นสุดเดือน ธ.ค.49 ขณะที่ตัวเลขก่อนปรับปัจจัยทางฤดูกาลในเดือน มี.ค.50 อยู่ที่ระดับ 46.8 ลดลงจากระดับ 48.4 ในเดือน ก.พ. 50 ทั้งนี้ ตัวเลข
ดัชนีดังกล่าวต่ำกว่าระดับ 50 ซึ่งเป็นเส้นแบ่งของมุมมองผู้บริโภคระหว่างด้านบวกและลบ โดยหากสูงกว่าระดับ 50 แสดงถึงว่าผู้บริโภคมีมุมมองด้านบวก
แต่หากต่ำกว่าระดับ 50 แสดงว่ามีมุมมองด้านลบ อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์และรัฐบาลญี่ปุ่นกล่าวเตือนถึงการเปรียบเทียบตัวเลขดังกล่าวเป็นรายเดือน
เนื่องจากการสำรวจที่ผ่านมาพบว่า ตัวเลขในเดือน มี.ค. มิ.ย. ก.ย. และ ธ.ค. จะเป็นตัวเลขที่อยู่ในระดับต่ำกว่าเดือนอื่น ๆ สาเหตุจากในเดือนดังกล่าว
เป็นการสำรวจแบบเผชิญหน้า ขณะที่ในเดือนอื่น ๆ ที่เหลือเป็นการสำรวจทางโทรศัพท์ (รอยเตอร์)
4. ยอดส่งออกสินค้าที่ไม่ใช่น้ำมันของสิงคโปร์เดือน มี.ค.50 เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบกว่า 4 ปี รายงานจากประเทศสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 17 เม.ย.50
ข้อมูลจากทางการสิงคโปร์ เปิดเผยว่า ยอดการส่งออกสินค้าที่ไม่ใช่น้ำมันของสิงคโปร์ในเดือน มี.ค.50 มีมูลค่า 15.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.0
เป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่เดือน ม.ค.46 เทียบกับเดือน ก.พ.50 ที่ลดลงร้อยละ 11.1 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 เมื่อเทียบกับปีก่อน ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์
ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.4 และกล่าวว่าการเพิ่มขึ้นครั้งนี้อาจจะมาจากสินค้าเวชภัณฑ์ที่ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 72.3 จากปีก่อน ส่วนสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นภาค
การส่งออกที่สำคัญยังคงไม่ฟื้นตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่เศรษฐกิจของประเทศคู่แข่งในการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์อย่างไต้หวันและเกาหลีใต้เริ่มปรับตัวดีขึ้น
โดยยอดการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ปรับตัวเลขแล้วในเดือน มี.ค.50 ลดลงร้อยละ 6.3 เพิ่มขึ้นอีกจากระดับร้อยละ 3.5 ในเดือนก่อนหน้า ด้านรัฐบาลสิงคโปร์
คาดว่าสินค้าคงคลังของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์จะยังอยู่ในระดับสูงในไตรมาส 2 แต่คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ โดยรัฐบาลกำลังปรับเปลี่ยนสินค้า
อิเล็กทรอนิสก์เพื่อการส่งออกให้มีความหลากหลายมากขึ้น ทั้งนี้ หลังจากที่เศรษฐกิจสิงคโปร์ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 7.9 ในปีก่อน คาดว่าในปีนี้จะขยายตัวลดลง
เหลือประมาณร้อยละ 4.5 — 6.5 ซึ่งเป็นผลกระทบจากการที่เศรษฐกิจของ สรอ. ชะลอตัวลง แต่นักวิเคราะห์บางคนกล่าวว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจของ
ประเทศในภูมิภาคจะช่วยชดเชยผลกระทบดังกล่าวได้ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 18 เม.ย. 50 17 เม.ย. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 34.869 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 34.6881/35.0129 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.17422 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 695.03/9.64 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 11,250/11,350 11,300/11,400 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 62.23 63.45 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 28.79*/24.94* 28.79*/24.94* 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 11 เม.ย. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. สศค.เตรียมประเมินภาพรวมเศรษฐกิจไทยปี 50 ในเดือน พ.ค.นี้ รายงานข่าวจาก ก.คลัง เปิดเผยว่า สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.)
อยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูลเศรษฐกิจทุกด้านเพื่อนำมาประเมินภาพรวมภาวะเศรษฐกิจไทยทั้งปี ในเดือน พ.ค.นี้ โดยข้อมูลเศรษฐกิจหลักที่ถือเป็นแรงขับเคลื่อน
เศรษฐกิจไทย เช่น การส่งออก การลงทุน การบริโภค และการใช้จ่ายเงินของภาครัฐ ยังไม่สะท้อนให้เห็นว่า ภาพรวมเศรษฐกิจไทยจะสามารถขยายตัวได้
ในระดับที่ประมาณการไว้เดิมคือ 4-5% และเท่าที่ประเมินเบื้องต้นเศรษฐกิจไทยในปีนี้จะขยายตัวในระดับต่ำกว่า 4% อย่างแน่นอน แต่จะต่ำกว่ามากน้อยแค่ไหน
จะต้องรอดูตัวเลขทั้งหมดอีกครั้ง ทั้งนี้ การประกาศตัวเลขเศรษฐกิจของ สศค.จะเปลี่ยนแปลงเป็นการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนหรือประกาศเป็นตัวเลขเพียง
ตัวเลขเดียวจากเดิมที่จะมีการประกาศเป็นช่วงของอัตราการเติบโต เพื่อให้ภาคเอกชนได้รับทราบทิศทางการประเมินเศรษฐกิจของทางการที่ชัดเจน และนำไป
ประเมินทิศทางการดำเนินธุรกิจในอนาคตและสามารถปรับตัวได้ทัน (กรุงเทพธุรกิจ, มติชน)
2. ปัญหาเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอาจส่งผลกระทบต่อภาพรวมการส่งออก นายอรนุช โอสถานนท์ รมช.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ปัญหาเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นเรื่อยๆ
ในขณะนี้อาจส่งผลกระทบต่อภาพรวมการส่งออก โดยหากค่าเงินบาทเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ประมาณ 35 บาท/ดอลลาร์ สรอ. เชื่อว่าปีนี้จะสามารถส่งออกได้ตามเป้าหมายคือ
เติบโตประมาณ 12.5% แต่หากค่าเงินบาทผันผวนและแข็งค่ามากกว่า 35 บาท/ดอลลาร์ สรอ. เป็นไปได้ที่เป้าหมายส่งออก 12.5% จะคลาดเคลื่อน จึงอยากให้
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูแลอัตราแลกเปลี่ยนไม่ให้มีผลกระทบต่อการส่งออก ซึ่งเชื่อว่า ธปท.และ ก.คลังจะดูแลได้ (ข่าวสด, กรุงเทพธุรกิจ)
3. ธ.กรุงไทยปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝากลง 0.50% ขณะที่ ธ.นครหลวงไทยปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากลง 0.50% รายงานข่าว
จาก ธ.กรุงไทย เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 20 เม.ย.นี้เป็นต้นไป ธนาคารจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลง 0.25-0.50% โดยปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้า
รายใหญ่ชั้นดี (เอ็มแอลอาร์) ลง 0.50% ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยเอ็มแอลอาร์ลดลงจาก 7.50% ต่อปีเหลือ 7.00% ต่อปี ส่วนอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าเบิก
เกินบัญชี(เอ็มโออาร์) และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายย่อยชั้นดี (เอ็มอาร์อาร์) ปรับลดลง 0.25% ต่อปี โดยลดลงเหลือ 7.50% ต่อปี และ 7.75% ต่อปี
ตามลำดับ ทำให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารอยู่ในระดับต่ำกว่าระบบ ธพ.ในขณะนี้ นอกจากนี้ ธนาคารได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำลง 0.50%
ด้านประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธ.นครหลวงไทย กล่าวว่า ธนาคารได้ปรับลดดอกเบี้ยเงินฝากประจำประเภท 24 เดือนและ 36 เดือน
ลงอีก 0.50% ต่อปี และเงินฝากทวีค่ามีการปรับลดลงอีก 0.50% ต่อปี ทั้งนี้ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 17 เม.ย.50 เป็นต้นไป (กรุงเทพธุรกิจ, โลกวันนี้,
ไทยโพสต์, โพสต์ทูเดย์)
4. ธปท.เตือน ธพ.ตรวจสอบการแลกธนบัตรชำรุดที่เข้าข่ายปลอมแปลง ผู้ช่วยผู้ว่าการสายออกบัตรธนาคาร ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
เปิดเผยว่า หลังจากที่ ธปท.ปิดให้บริการแลกเปลี่ยนธนบัตรชำรุดอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 2 มี.ค.ที่ผ่านมาพบว่า มีลูกค้าจงใจนำธนบัตรที่ชำรุดจากคนละใบ
มาต่อกัน เพื่อนำมาแลกเป็นธนบัตรใบใหม่กับสาขาของ ธพ. ซึ่งเข้าข่ายการปลอมแปลงธนบัตรอย่างชัดเจน จึงขอให้ ธพ.ตรวจสอบรายละเอียดก่อนรับแลก
เพราะหากมีธนบัตรปลอมแปลงนำส่งเข้ามาในระบบของ ธปท. ธพ.ต้องรับผิดชอบความเสียหายเอง (ข่าวสด)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. เดือน ก.พ. ยูโรโซนขาดดุลการค้าลดลงมากกว่าที่คาดไว้ รายงานจากบรัสเซล เมื่อวันที่ 17 เม.ย. 50 สำนักงานสถิติแห่งชาติสหภาพยุโรป
เปิดเผยว่า ในเดือน ก.พ.ยูโรโซนขาดดุลการค้า 1.7 พัน ล. ยูโร (2.3 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ.) ตัวเลขก่อนปรับฤดูกาล ลดลงจากที่ขาดดุลการค้า
7 พันล.ยูโรในเดือน ม.ค.(ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) ซึ่งตัวเลขก่อนปรับขาดดุลการค้าอยู่ที่ 7.8 พัน ล.ยูโร และน้อยกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ไว้
ก่อนหน้านั้นว่าจะขาดดุลการค้า 5 พัน ล. ยูโร โดยนาย Dominique Barbet นักเศรษฐศาสตร์จาก BNP Paribas กล่าวว่าการที่ยูโรโซนขาดดุลการค้า
ลดลงเช่นนี้บ่งชี้ว่าการแข็งค่าของเงินยูโรมิได้กระทบต่อการส่งออกในขณะนี้ ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ที่ ธ.กลางยุโรปจะผลักดันให้มีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย
นโยบายในเดือน มิ.ย. นี้ ทั้งนี้ในสัปดาห์นี้เงินยูโรเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าทำสถิติสูงสุดในรอบ 2 ปี และแข็งค่าทำสถิติสูงสุดเมื่อเทียบกับเงินเยน
ทำให้ตลาดคาดการณ์ว่า ธ.กลางยุโรปจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากร้อยละ 3.75 เป็นร้อยละ 4.0 เพื่อลดแรงกดดันด้านเงินเฟ้อจากการที่เศรษฐกิจ
ขยายตัวอย่างรวดเร็วเนื่องจากตลาดแรงงาน และสินเชื่อที่ขยายตัวอย่างมาก ขณะที่การส่งออกในเดือน ก.พ. ขยายตัวจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 10 ส่วน
การนำเข้าเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 8 (รอยเตอร์)
2. ความเชื่อมั่นของนักลงทุนในเยอรมนีในเดือน เม.ย.50 เพิ่มขึ้นมาอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 10 เดือน รายงานจากเมนเฮล์ม เมื่อ 17 เม.ย.50
ดัชนีชี้วัดความคาดหวังทางเศรษฐกิจจากผลสำรวจความเห็นของนักวิเคราะห์และนักลงทุนสถาบันจำนวน 320 คนโดย ZEW เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 16.5 ในเดือน
เม.ย.50 จากระดับ 5.8 ในเดือน มี.ค.50 เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกัน และอยู่ในระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือน มิ.ย.49 ในขณะที่ผลสำรวจรอยเตอร์
คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 10.0 จากดัชนีดังกล่าวทำให้คาดกันว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวเร็วขึ้นในอีก 6 เดือนข้างหน้า ทั้งนี้เป็นผลจากการขยายตัวดีขึ้นของตลาดแรงงาน
โดยอัตราว่างงานในเดือน มี.ค.50 อยู่ที่ร้อยละ 9.2 ต่ำสุดในรอบเกือบ 6 ปี ซึ่งมีส่วนทำให้การบริโภคและการลงทุนในประเทศขยายตัวสูงขึ้น นักวิเคราะห์
คาดว่าเศรษฐกิจในปี 50 จะขยายตัวในอัตราที่ใกล้เคียงกับปี 49 ซึ่งเศรษฐกิจขยายตัวถึงร้อยละ 2.7 สูงสุดในรอบ 6 ปี แต่อย่างไรก็ดี คาดว่าเศรษฐกิจใน
ปี 50 จะขยายตัวในอัตราที่ต่ำกว่าปี 49 จากปัจจัยลบต่าง ๆ เช่น การชะลอตัวของเศรษฐกิจ สรอ. ค่าเงินยูโรที่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ.และอัตรา
ดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มสูงขึ้น (รอยเตอร์)
3. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของญี่ปุ่นในรอบ 3 เดือนสิ้นสุดเดือน มี.ค.50 ลดลงอยู่ที่ระดับ 46.7 รายงานจากโตเกียว เมื่อ 17 เม.ย.50
The Cabinet Office เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคญี่ปุ่น (ซึ่งแสดงถึงความเชื่อมั่นของผู้บริโภคภาคครัวเรือนและมุมมองของผู้บริโภคทั้งด้านรายได้
และการงาน) ในรอบ 3 เดือนสิ้นสุดเดือน มี.ค.50 อยู่ที่ระดับ 46.7 (ตัวเลขหลังปรับปัจจัยทางฤดูกาล) ลดลงจากระดับ 47.0 ในรอบ 3 เดือนก่อนหน้า
สิ้นสุดเดือน ธ.ค.49 ขณะที่ตัวเลขก่อนปรับปัจจัยทางฤดูกาลในเดือน มี.ค.50 อยู่ที่ระดับ 46.8 ลดลงจากระดับ 48.4 ในเดือน ก.พ. 50 ทั้งนี้ ตัวเลข
ดัชนีดังกล่าวต่ำกว่าระดับ 50 ซึ่งเป็นเส้นแบ่งของมุมมองผู้บริโภคระหว่างด้านบวกและลบ โดยหากสูงกว่าระดับ 50 แสดงถึงว่าผู้บริโภคมีมุมมองด้านบวก
แต่หากต่ำกว่าระดับ 50 แสดงว่ามีมุมมองด้านลบ อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์และรัฐบาลญี่ปุ่นกล่าวเตือนถึงการเปรียบเทียบตัวเลขดังกล่าวเป็นรายเดือน
เนื่องจากการสำรวจที่ผ่านมาพบว่า ตัวเลขในเดือน มี.ค. มิ.ย. ก.ย. และ ธ.ค. จะเป็นตัวเลขที่อยู่ในระดับต่ำกว่าเดือนอื่น ๆ สาเหตุจากในเดือนดังกล่าว
เป็นการสำรวจแบบเผชิญหน้า ขณะที่ในเดือนอื่น ๆ ที่เหลือเป็นการสำรวจทางโทรศัพท์ (รอยเตอร์)
4. ยอดส่งออกสินค้าที่ไม่ใช่น้ำมันของสิงคโปร์เดือน มี.ค.50 เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบกว่า 4 ปี รายงานจากประเทศสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 17 เม.ย.50
ข้อมูลจากทางการสิงคโปร์ เปิดเผยว่า ยอดการส่งออกสินค้าที่ไม่ใช่น้ำมันของสิงคโปร์ในเดือน มี.ค.50 มีมูลค่า 15.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.0
เป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่เดือน ม.ค.46 เทียบกับเดือน ก.พ.50 ที่ลดลงร้อยละ 11.1 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 เมื่อเทียบกับปีก่อน ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์
ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.4 และกล่าวว่าการเพิ่มขึ้นครั้งนี้อาจจะมาจากสินค้าเวชภัณฑ์ที่ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 72.3 จากปีก่อน ส่วนสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นภาค
การส่งออกที่สำคัญยังคงไม่ฟื้นตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่เศรษฐกิจของประเทศคู่แข่งในการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์อย่างไต้หวันและเกาหลีใต้เริ่มปรับตัวดีขึ้น
โดยยอดการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ปรับตัวเลขแล้วในเดือน มี.ค.50 ลดลงร้อยละ 6.3 เพิ่มขึ้นอีกจากระดับร้อยละ 3.5 ในเดือนก่อนหน้า ด้านรัฐบาลสิงคโปร์
คาดว่าสินค้าคงคลังของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์จะยังอยู่ในระดับสูงในไตรมาส 2 แต่คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ โดยรัฐบาลกำลังปรับเปลี่ยนสินค้า
อิเล็กทรอนิสก์เพื่อการส่งออกให้มีความหลากหลายมากขึ้น ทั้งนี้ หลังจากที่เศรษฐกิจสิงคโปร์ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 7.9 ในปีก่อน คาดว่าในปีนี้จะขยายตัวลดลง
เหลือประมาณร้อยละ 4.5 — 6.5 ซึ่งเป็นผลกระทบจากการที่เศรษฐกิจของ สรอ. ชะลอตัวลง แต่นักวิเคราะห์บางคนกล่าวว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจของ
ประเทศในภูมิภาคจะช่วยชดเชยผลกระทบดังกล่าวได้ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 18 เม.ย. 50 17 เม.ย. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 34.869 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 34.6881/35.0129 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.17422 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 695.03/9.64 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 11,250/11,350 11,300/11,400 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 62.23 63.45 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 28.79*/24.94* 28.79*/24.94* 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 11 เม.ย. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--