สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ได้รับรายงานจากสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติเรื่อง การจัดทำและเก็บรักษาข้อมูลภายใต้กฎหมายป้องกันการก่อการร้ายทางชีวภาพของสหรัฐอเมริกา ซึ่งระบุในส่วนของ foreign persons ซึ่งมีความหมายหนึ่งครอบคลุม persons who place food directly in contacts with its finish containers นั้น มีความหมายเฉพาะผู้ที่บรรจุสินค้าเข้าตู้เทนเนอร์โดยตรงหรือไม่นั้น สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ ขอเรียนชี้แจงว่า หมายถึง persons ซึ่งทำหน้าที่เป็น packer บรรจุอาหารลงภาชนะคนสุดท้าย อาจเป็นที่ประเทศไทยหรือเป็นผู้นำเข้าที่เป็นชาวต่างประเทศนำอาหารมาบรรจุใหม่ โดยมีรายละเอียดดังนี้
ความเป็นมา
หลังจากที่สหรัฐอเมริกาได้ออกกฎหมายป้องกันการก่อการร้ายทางชีวภาพ หรือที่รู้จักกันว่า Bioterrorism act เมื่อ 2-3 ปีมาแล้ว USFDA ได้ทยอยออกกฎระเบียบย่อยที่เกี่ยวข้องภายใต้กฎหมายป้องกันการก่อการร้ายทางชีวภาพ 4 ฉบับ โดยในปลายปี 2546 ได้ออกระเบียบสุดท้ายชั่วคราว 2 ฉบับ ได้แก่ การจดทะเบียนสถานประกอบการ การแจ้งล่วงหน้าก่อนนำเข้า และกลางปี 2547 ได้ออกระเบียบสุดท้ายการกักกันโดยฝ่ายบริหาร ซึ่งทั้ง 3 ระเบียบย่อย มีผลบังคับใช้แล้ว
เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2547 USFDA ได้ออกประกาศระเบียบสุดท้ายเรื่องการจัดทำและเก็บรักษาข้อมูล (Establishment and Maintenance records) จึงนับได้ว่าขณะนี้สหรัฐอเมริกาได้ออกประกาศระเบียบย่อยภายใต้กฎหมายป้องกันการก่อการร้ายทางชีวภาพทั้ง 4 ฉบับครบแล้ว
สาระสำคัญของระเบียบย่อยการจัดทำและเก็บรักษาข้อมูล
- ขอบเขตของผู้ที่ต้องจัดทำและเก็บรักษา
ในระเบียบย่อยฉบับนี้ระบุคำว่า persons หมายถึง บุคคลทั้งที่เป็นส่วนบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทสมาคม
ผู้จัดเก็บและรักษาข้อมูลเอกสารตามระเบียบย่อยระบุไว้ว่า
1. เป็น persons ภายในประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งทำการผลิต แปรรูป บรรจุ ขนส่ง กระจายสินค้า รับสินค้า ถือครองสินค้า หรือนำเข้าสินค้าอาหาร
2. เป็น persons ต่างประเทศที่ทำหน้าที่ในการขนส่งสินค้าในสหรัฐอเมริกา
3. เป็น persons ซึ่งทำหน้าที่เป็น packer บรรจุอาหารลงภาชนะคนสุดท้าย
อาจเป็นที่ต่างประเทศ (เช่น ประเทศไทย) หรือผู้นำเข้าที่เป็นชาวต่างประเทศที่นำอาหารมาบรรจุใหม่จะต้องจัดทำและเก็บเอกสาร ส่วน persons อื่นๆ ประเภทผู้แปรรูป ผู้บรรจุ ผู้ขนส่ง ผู้กระจาย ผู้รับ ผู้ถือครองสินค้า ผู้นำเข้าสินค้าซึ่งเป็น finish container (contact food หรือสินค้าผ่านมือโดยตรง) แล้วได้รับการยกเว้นบางส่วนจากระเบียบย่อยฉบับนี้ กล่าวคือ ไม่ต้องจัดทำและเก็บรักษาข้อมูล แต่ยังต้องปฏิบัติตาม sec 1.361 และ 1.363 (record access) กล่าวคือต้องสามารถให้เข้าถึง ข้อมูลที่มีอยู่แล้วได้
อาหาร หมายถึง สินค้าที่ใช้เป็นอาหารและเครื่องดื่มของมนุษย์หรือสัตว์ หมากฝรั่งหรือของขบเคี้ยว
-ยกเว้น
ผู้ได้รับการยกเว้นอย่างสมบูรณ์ไม่ต้องจัดทำและเก็บรักษาข้อมูลจากระเบียบย่อยฉบับนี้เลย (exclude entirely) ได้แก่ เกษตรกร ร้านอาหาร ผู้ผลิตสินค้าที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา (ผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์และไข่) ผู้ดำเนินการเกี่ยวกับอาหาร (ผู้ผลิต แปรรูป บรรจุ ขนส่ง กระจายสินค้า รับสินค้า ถือครองสินค้า หรือนำเข้าสินค้าอาหาร) เพื่อการบริโภคของตนเอง บุคคลต่างชาติอื่นๆ ที่ไม่ผู้ขนส่งสินค้าในสหรัฐ
ข้อมูลที่ต้องจัดทำและจัดเก็บ
1. บุคคลหรือสถานประกอบการที่ไม่ใช่ผู้ขนส่งอาหาร
จัดเก็บข้อมูลแหล่งที่รับสินค้าก่อนหน้า 1 ขั้นและแหล่งที่จัดส่งสินค้าไป 1 ขั้น โดยระบุชื่อสถานประกอบการพร้อมที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ และถ้าสามารถระบุเบอร์โทรสารและ e-mail ได้ก็ให้ระบุ ชนิดอาหาร (รวมชื่อการค้าและชื่อเฉพาะ) ปริมาณและขนาดบรรจุ วันที่ได้รับสินค้า ผู้ขนส่งสินค้าก่อนหน้าและผู้ที่จะขนส่งสินค้าต่อไป และในกรณีของบุคคลที่ผลิต แปรรูปหรือ pack อาหารต้องระบุ หมายเลข lot หรือ code ด้วยหรือข้อมูลอื่นๆที่สามารถระบุแทนได้ (other identifier) ถ้าข้อมูลที่มีอยู่ดำเนินการได้
2. บุคคลหรือสถานประกอบการที่เป็นผู้ขนส่งอาหาร
จัดเก็บข้อมูลชื่อของผู้ขนส่งที่ส่งสินค้ามาและผู้ขนส่งที่รับสินค้าไป จุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของการขนส่ง วันที่ได้รับสินค้า และวันที่จะขนส่งสินค้าต่อไป จำนวนบรรจุภัณฑ์ วิธีการและเส้นทางขนส่งและจุดที่มีการขนถ่ายสินค้าระหว่างทาง (ถ้ามี)
ข้อมูลที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจัดเก็บ ได้แก่ ข้อมูลทางการเงิน ราคาข้อมูลวิจัย ข้อมูลการขาย และสูตรอาหาร (ในการจัดทำและเก็บรักษาข้อมูลจะระบุเฉพาะส่วนผสมอาหาร ไม่ต้องระบุปริมาณของส่วนผสมแต่ละชนิดในสูตรอาหารและคำแนะนำที่จำเป็นต่อการผลิตอาหารชนิดนั้นๆ)
วิธีการและสถานที่จัดเก็บข้อมูล
จัดเก็บข้อมูลในรูปแบบใดก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นเอกสาร อิเลคทรอนิคส์ หรืออื่นๆ หรือใช้ข้อมูลที่มีอยู่เดิมแต่ให้ครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในระเบียบ โดยจัดเก็บที่สถานประกอบการนั้น ไม่ต้องจัดส่งให้ USFDA ผู้จัดเก็บข้อมูลจะจัดส่งข้อมูลให้ USFDA ก็ต่อเมื่อ USFDA ร้องขอสืบเนื่องจากมีข้อมูลที่เชื่อถือได้ว่าสินค้าอาหารนั้นได้มีการปนเปื้อนโดยเจตนาอันเป็นอันตรายหรืออันตรายถึงชีวิตมนุษย์และสัตว์ ทั้งนี้ต้องจัดส่งให้ภายใน 24 ชั่วโมง
ทั้งนี้ USFDA จะร้องขอข้อมูลโดยยื่น Notice อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร (FDA 482) แก่เจ้าของ ผู้ดำเนินการ หรือ US Agent และอาจมีการขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ภายหลังโดยเจ้าหน้าที่ USFDA ที่ได้รับมอบหมายรายเดิมนั้นได้
-การเก็บรักษาความลับ
USFDA จะต้องดำเนินการตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายของสหรัฐอเมริกาที่เกี่ยวข้อง 3 ฉบับ ได้แก่ กฎหมายความลับทางการค้า กฎหมายอาหาร ยาและเครื่องสำอาง และกฎหมายเสรีภาพของข้อมูลข่าวสาร ซึ่งจะต้องมีความคุ้มครองไม่ให้มีการเปิดเผย(หากไม่ได้รับมอบหมาย) ข้อมูลที่ไม่ใช่ข้อมูลสาธารณะ เช่น ความลับทางการค้า หรือข้อมูลเชิงพาณิชย์ที่ไม่เปิดเผย
-ระยะเวลาในการเก็บรักษาข้อมูล
ระยะเวลาในการเก็บรักษาข้อมูลไม่เกินกว่า 2 ปีขึ้นอยู่กับประเภทของอาหาร
(ผู้ไม่ใช่ผู้ขนส่ง) (ผู้ขนส่ง)
สินค้าเน่าเสียภายใน 60 วัน 6 เดือน 6 เดือน
สินค้าเน่าเสียหลัง 60 วันแต่ไม่เกิน 180 วัน 1 ปี 1 ปี
สินค้าเน่าเสียหลัง 180 วัน 2 ปี 1 ปี
อาหารสัตว์และสัตว์เลี้ยง 1 ปี 1 ปี
-การบังคับใช้
มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคม 2548
ยกเว้น
- ธุรกิจขนาดเล็ก (มีการจ้างแรงงานเต็มเวลามากกว่า 11 คน แต่ไม่เกิน 499 คน) จะขยายระยะเวลาบังคับใช้ให้อีก 6 เดือน
- ธุรกิจขนาดเล็กมาก (มีการจ้างแรงงานเต็มเวลาไม่เกิน 10 คน) จะขยายระยะเวลาบังคับใช้ให้อีก 1 ปี
หมายเหตุ : แรงงานเต็มเวลาหมายถึง แรงงานที่มีชั่วโมงการทำงาน 2,080 ชั่วโมงใน 1 ปี
ที่มา: หอการค้าไทย ศูนย์ข้อมูลธุรกิจ www.thaiechamber.com
-ดท-