สรุปภาวะเศรษฐกิจและการส่งออกของประเทศไทยปี 2550 (ม.ค.-มิ.ย.)

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday August 1, 2007 12:11 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. ภาวะเศรษฐกิจของไทยไตรมาสแรกปี 2550 ขยายตัวร้อยละ 4.3 ทรงตัวจากช่วงปลายปี 2549 โดยการส่งออกสินค้า
และบริการเป็นตัวสนับสนุนการขยายตัวที่สำคัญและชดเชยการใช้จ่ายและ การลงทุนภาคเอกชนที่จะชะลอตัวลงมาก ภาพรวม
เศรษฐกิจยังคงมีเสถียรภาพ และคาดว่าเศรษฐกิจไทยปี 2550 จะขยายตัวประมาณร้อยละ 4.0-4.5 โดยที่การใช้จ่ายและ
การลงทุนภาคเอกชนจะปรับตัวดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลังของปี การส่งออกจะยังขยายตัวได้ในเกณฑ์ดี แม้จะเริ่มชะลอตัวลงบ้าง
ในครึ่งปีหลังของปีก็ตาม สำหรับปัจจัยสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปี 2550 ประกอบด้วย อัตรา
ดอกเบี้ยและอัตราเงินเฟ้อที่ต่ำลง การเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณรัฐบาลและงบลงทุนรัฐวิสาหกิจและการส่งออก
2. ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกสำคัญอันดับ 23 ของโลกในปี 2549 มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 1.15 ของมูลค่าการส่งออกใน
ตลาดโลก และเป็นประเทศผู้นำเข้าสำคัญอันดับที่ 22 ของโลก สัดส่วนร้อยละ 1.1 ของมูลค่าการนำเข้าในตลาดโลก
3. การค้าของไทยในช่วงม.ค-มิ.ย 2550 มีมูลค่า 137,693.70 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.02 ในจำนวนนี้
แยกเป็นการส่งออก71,599.80 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.63 การนำเข้ามูลค่า 66,093.90 ล้านเหรียญสหรัฐ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.63 ดุลการค้าไทยได้เปรียบดุลการค้าเป็นมูลค่า 5,505.91 ล้านเหรียญสหรัฐ
4. การส่งออกสินค้าไทยในระยะ 5 ปี ที่ผ่านมามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็นอันดับ โดยในปี 2545 มีมูลค่าการส่งออก
68,156.30 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นเป็น 129,744.12 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2549 และในช่วงม.ค-มิ.ย 2550
มีมูลค่า 71,599.80 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.63 หรือร้อยละ 49.05 ของเป้าหมายการส่งออกจึงคาดว่า
ทั้งปีจะสามารถส่งออกได้ตามเป้าหมายที่มูลค่า 145,962 ล้านเหรียญสหรัฐ เนื่องจากสามารถขยายการส่งออกได้เพิ่มขึ้น
ในตลาดหลักและตลาดใหม่ที่มีศักยภาพ โดยเฉพาะตะวันออกกลาง ลาตินอเมริกา ยุโรปตะวันออก เอเซียใต้ อินเดีย
และจีน เป็นต้น
4.1 ตลาดส่งออก
ตลาดส่งออกสำคัญ 25 อันดับแรกครอบคลุมร้อยละ 84.33 ของมูลค่าการส่งออก มีข้อสังเกตดังนี้
- ตลาดที่มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างโดดเด่น คือ ตลาดอินเดีย ซึ่งเป็นตลาดใหม่ที่ไทยได้ลงนาม ใน
กรอบความตกลงว่าด้วยการจัดตั้งเขตการค้าเสรี (FTA) ไทย อินเดีย เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2546 มีผลให้มูลค่าการค้า
ระหว่างกันเพิ่มขึ้นเป็นอันดับ การส่งออกสินค้าไทยไปตลาดนี้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นในลักษณะก้าวกระโดดจากมูลค่าการส่งออก
638.59 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2546 เพิ่มขึ้นเป็น 1,803.58 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2549 และในปี 2550 ในช่วง
ม.ค-มิ.ย ส่งออกสินค้าไทยไปตลาดนี้ 1,232.87 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 63.07 สินค้าที่ไทยสามารถ
ส่งออกไปอินเดียได้เพิ่มขึ้นเป็นมูลค่าสูง ได้แก่ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เม็ดพลาสติก ยางพารา อัญมณีและ
เครื่องประดับ เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์อลูมิเนียม เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รั
กษาผิว เครื่องคอมเพรสเซอร์ เครื่องทำความเย็น และแผงวงจรไฟฟ้า เป็นต้น
- ตลาดที่มีมูลค่าการส่งออกได้เพิ่มขึ้นสูงกว่าร้อยละ 40 มี 2 ตลาด คือ อิโดนีเซียและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
อินโดนีเซีย เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับ 8 มีสัดส่วนร้อยละ 3.09 ของมูลค่าการส่งออกรวม หรือมูลค่า
2,215.28 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 43.78 สินค้าไทยที่สามารถส่งออกไปตลาดนี้ได้เพิ่มขึ้นเป็นมูลค่าสูงมากกว่า
ร้อยละ 100 มีหลายรายการ เช่น น้ำตาล-ทราย เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล ข้าว เครื่องตัดต่อ
และป้องกัน วงจรไฟฟ้า ก๊อก วาวล์และส่วนประกอบ และผักสดแช่เย็นแช่แข็ง เป็นต้น
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เป็นตลาดสำคัญในตะวันออกกลาง ไทยส่งออกไปตลาดนี้อันดับที่ 18 สัดส่วนร้อยละ
1.33 มูลค่า 954.69 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 42.60 สินค้าไทยที่สามารถส่งออกได้เพิ่มสูงขึ้นในสหรัฐอาหรับ
เอมิเรตส์มีหลายรายการ เช่น เครื่องรับ-วิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ อัญมณีและเครื่อง
ประดับ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล เม็ดพลาสติก สายไฟฟ้า สายเคเบิ้ล เคมีภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์ยาง
เป็นต้น
- ตลาดที่มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นสูงกว่าร้อยละ 30 มี 2 ตลาด คือ ออสเตรเลียและอิตาลี
ออสเตรเลีย เป็นตลาดใหม่ซึ่งสำคัญอันดับที่ 7 มีสัดส่วนร้อยละ 3.74 ของมูลค่าการส่งออกรวม ตลาดนี้
ไทยได้มีการลงนามความตกลงว่าด้วยการจัดตั้งเขตการค้าเสรี FTA ไทย-ออสเตรเลียเมื่อ 13 พฤษภาคม 2547 มีผล
บังคับใช้ตั้งแต่ 1 มกราคม 2548 ทำให้ มูลค่าการค้าระหว่างกันเพิ่มขึ้นเป็นอันดับ และการส่งออกไปตลาดนี้เพิ่มขึ้นใน
ระดับที่สูงขึ้นจากมูลค่า 3,174.64 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2548 เพิ่มขึ้นเป็น 4,351.45 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2549
หรือเพิ่มขึ้นในร้อยละ 37.07 และในช่วงม.ค-มิ.ย 2550 มีมูลค่าการส่งออกไปออสเตรเลีย 2,674.95 ล้านเหรียญสหรัฐ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.76 สินค้าไทยที่สามารถส่งออกไปตลาดนี้เพิ่มขึ้นในระดับสูงมากกว่าร้อยละ 40 มีหลายรายการ เช่น
เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว
ส่วนประกอบอากาศยานและอุปกรณ์การบิน เป็นต้น
อิตาลี เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 17 มีสัดส่วนร้อยละ 1.40 ของมูลค่าการส่งออกรวมหรือมูลค่า
1,000.72 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.54 สินค้าไทยส่งออกไปอิตาลีได้เป็นมูลค่าเพิ่มขึ้นสูงมากกว่าร้อยละ 100
ได้แก่ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์เคมีภัณฑ์ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล ทองแดงและของที่ทำด้วย
ทองแดง ปลาสดแช่เย็นแช่แข็ง เส้นใยประดิษฐ์ ตู้เย็นตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ เป็นต้น สินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ
50 ก็มีหลายรายการ เช่น เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ รถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติก เฟอร์นิเจอร์
และชิ้นส่วน รถจักรยานและส่วนประกอบ ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ เป็นต้น
- ตลาดส่งออกสินค้าไทยสำคัญที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นน้อยกว่าร้อยละ 5 ได้แก่ สหรัฐฯ และสิงคโปร์
สหรัฐฯ เป็นตลาดส่งออกสินค้าไทยสำคัญอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 12.97 ของมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น มูลค่า
9,288.76 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.24 ในช่วงม.ค-มิ.ย 2550 การที่มูลค่าการส่งออกไปตลาดนี้เพิ่มขึ้นเพียง
เล็กน้อยเนื่องจาก มีสินค้าส่งออกไปตลาดนี้ลดลงหลายรายการ เช่น เสื้อผ้าสำเร็จรูป อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป
อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ
ของเครื่องจักรกล รองเท้าและชิ้นส่วน เม็ดพลาสติก เป็นต้น ทั้งนี้ เนื่องจากผู้ผลิตผู้ส่งออกประสบปัญหาอุปสรรคจากการ
ที่สหรัฐฯ ตัดสิทธิพิเศษภาษีศุลกากร GSP สินค้าเครื่องประดับทำจากโลหะมีค่า เครื่องรับโทรทัศน์สี และเม็ดพลาสติก รวมทั้ง
ปัญหาค่าเงินบาทและการแข่งขันค่อนข้างสูง เป็นต้น อย่างไรก็ตามยังมีสินค้าที่สามารถขยายตัวได้ในระดับสูง เช่น เลนซ์
รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ เครื่องมือแพทย์ อาหารสัตว์เลี้ยงและผลิตภัณฑ์อลูมิเนียม เป็นต้น
สิงคโปร์ เป็นตลาดส่งออกสินค้าไทยสำคัญอันดับ 4 มีสัดส่วนร้อยละ 5.59 ของมูลค่าการส่งออกรวมมูลค่า
4,000.04 ล้านเหรียญสหรัฐ ในช่วงม.ค-มิ.ย 2550 เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.15 ทั้งนี้เพราะมีสินค้าไทยส่งออกไปตลาดนี้
ลดลงหลายรายการ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ น้ำมันสำเร็จรูป รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ
ยางพารา มอเตอร์และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า อัญมณีและเครื่องประดับ เป็นต้น อย่างไรก็ตามยังมีสินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกไป
สิงคโปร์เพิ่มขึ้นสูงหลายรายการ เช่น ส่วนประกอบอากาศยานและอุปกรณ์การบิน เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่อง
จักรกล เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ ข้าวและน้ำตาลทราย เป็นต้น ส่วนตลาดอื่นโดยทั่วไปขยายตัวในระดับปกติ สำหรับ
ตลาดใหม่โดยเฉพาะตลาดใหม่ที่มีศักยภาพระดับมูลค่าการส่งออกสินค้าไทย มากกว่า 100 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นในระดับ
สูงมากกว่าร้อยละ 30 ดังนี้
มูลค่าการส่งออก : ล้านเหรียญสหรัฐ
ประเทศ ม.ค-มิย 2549 ม.ค-มิย 2550 %เปลี่ยนแปลง
ซีเรีย 50.45 342.08 578.01
เบนิน 41.20 129.53 214.39
เซเนกัล 59.52 133.96 125.06
อิหร่าน 202.51 391.04 93.10
โปร์แลนด์ 106.54 192.39 80.56
ชิลี 115.20 192.53 67.12
สาธารณรัฐเช็ค 151.79 232.56 53.21
รัสเซีย 174.28 262.44 50.50
ฟินแลนด์ 162.10 243.09 49.96
กรีซ 119.65 176.64 47.63
เม็กซิโก 281.18 412.95 46.86
ออสเตรีย 134.21 185.66 38.48
ฮังการี 130.10 176.73 35.04
บราซิล 277.80 372.81 34.20
ตุรกี 341.61 452.58 32.48
นอกจากนี้ยังมีตลาดระดับรองลงไป และมูลค่าการส่งออกเพิ่มสูงขึ้นอีกหลายประเทศ เช่น อัฟกานิสถาน
กานา แอลจีเรีย ลิเบีย เลบานอน จอร์แดน โคลัมเบีย ปานามา เป็นต้น
4.2 สินค้าไทยส่งออกมีสถิติโครงสร้าง ดังนี้
มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐ
2548 2549 2549 2550 ขยายตัว (ร้อยละ) สัดส่วน(ร้อยละ)
รายการ 2549 2550 2549 2550
(ม.ค.-มิ.ย.) (ม.ค.-มิ.ย.) (ม.ค.-มิ.ย.) (ม.ค.-มิ.ย.)
1. รวมทั้งสิ้น 110,953.34 129,744.12 60,353.71 71,599.80 16.94 18.63 100.00 100.00
2. สินค้าเกษตรกรรม (กสิกรรม,ปศุสัตว์,ประมง) 10,447.73 13,112.28 5,914.98 6,849.01 25.50 15.79 10.11 9.57
3. สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร 7,009.97 7,982.99 3,604.39 4,692.27 13.88 30.18 6.15 6.55
4. สินค้าอุตสาหกรรม 86,778.97 100,136.36 46,925.24 55,941.03 15.39 19.21 77.18 78.13
5. สินค้าแร่และเชื้อเพลิง 5,127.96 6,863.47 3,050.19 3,223.38 33.84 5.68 5.29 4.50
6. สินค้าอื่น ๆ 1,588.71 1,649.02 858.90 894.12 3.80 4.10 1.27 1.25
การส่งออกสินค้าไทยในครึ่งปีแรกเพิ่มขึ้นทุกหมวด ในระดับที่แตกต่างกัน ทั้งนี้เพราะสามารถขยายการส่งออก
ได้เพิ่มขึ้น ทั้งในตลาดหลักและตลาดใหม่ที่มีศักยภาพ
ข้อคิดเห็น
1. เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันมากที่สุดเกี่ยวกับมูลค่าการส่งออกของไทยที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 18.63 ในรูปมูลค่า
เหรียญสหรัฐ แต่เมื่อหันมาดูมูลค่าการส่งออกในรูปเงินบาทจะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 7.07 ทั้งนี้เนื่องจากมูลค่าเงินบาทแข็ง
ค่าขึ้น ซึ่งเริ่มมาเป็นระยะหนึ่งแล้ว ซึ่งจะเห็นได้จากการเปรียบเทียบอัตราการขยายตัวของการส่งออกในรูปเงินบาทและ
เงินเหรียญสหรัฐ ดังนี้
การที่ค่าเงินบาทแข็งค่าในระยะที่ผ่านมา ได้ส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมการส่งออกของไทยให้ต้องรับ
ภาระการขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน มีผลให้ไทยต้องเสียเปรียบคู่แข่งขันต่อเนื่อง ตั้งแต่ต้นปี 2549 การผันผวนของอัตรา
แลกเปลี่ยน ทำให้ผู้ผลิตในอุตสาหกรรมส่งออกโดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่ต้องพึ่งพาวัตถุดิบภายในประเทศเป็นส่วนใหญ่ใน
การผลิตเพื่อการส่งออก เช่น อุตสาหกรรมอาหาร รองเท้า สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เป็นต้น
ขณะนี้ภาครัฐบาลโดยธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออก 6 มาตรการ เพื่อเป็นการเพิ่มความคล่องตัวในการ
บริหารจัดการทรัพย์สินของภาคธุรกิจ ซึ่งจะนำไปสู่การลดต้นทุน และเพื่อเพิ่มช่องทางที่จะให้กระแสเงินไหลออกแทนที่จะมี
เพียงเงินที่ไหลเข้ามาเพียงอย่างเดียว ทั้งนี้ 6 มาตรการดังกล่าวประกอบด้วย
1. ขยายเวลากรณีคนไทยขายสินค้าในต่างประเทศ ต้องนำเงินเข้าไทยจากภายใน 120 วันเพิ่มเป็น 360 วัน
2. ภาคธุรกิจเมื่อนำเงินต่างประเทศที่เกิดจากการค้าเข้ามา สามารถถือครองได้ไม่จำกัดเวลา จากเดิม
ถือครองไม่เกิน 15 วัน
3. อนุญาตให้ฝากเงินสกุลต่างประเทศ ในสถาบันการเงินในประเทศได้
4. บริษัทจดทะเบียนที่มีศักยภาพในการลงทุน สามารถลงทุนโดยตรงในต่างประเทศได้ไม่เกิน 100 ล้าน
ดอลลาร์สหรัฐ ต่อปี อย่างไรก็ตามบริษัทจดทะเบียนดังกล่าวต้องไม่อยู่ในกลุ่มเข้าข่ายเพิกถอน
5. อนุญาตโอนเงินให้ญาติหรือบริจาคหรือซื้ออสังหาริมทรัพย์ในต่างประเทศได้ 1 ล้านดอลลาร์ต่อคนต่อปี
6. ผ่อนปรนกฎระเบียบการลงทุนในรูปเงินฝากของนักลงทุนสถาบันประเภทสถาบันไทยในต่างประเทศ โดย
มิต้องขออนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย
ทั้ง 6 มาตรการนี้ภาคเอกชนมีความเห็นว่าจะช่วยให้ค่าเงินบาทอ่อนตัวลงระยะหนึ่ง และหากเงินเหรียญดอลลาร์
สหรัฐ มีแนวโน้มอ่อนตัวลงไปอีก ก็จะเป็นตัวแปรที่สำคัญที่จะทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นมาอีก และเมื่อถึงเวลานั้นธนาคารแห่ง
ประเทศไทยก็จะต้องมีมาตรการผ่อนคลายออกมาอีก
2. แนวโน้มการส่งออกสินค้าไทยครึ่งปีหลังคาดว่า จะขยายตัวน้อยลงกว่าครึ่งปีแรก เนื่องจากยังไม่สามารถ
ประกันได้ว่าค่าเงินบาทจะไม่ผันผวนอีก หลายอุตสาหกรรมประสบภาวะกระทบกระเทือนจากภาวะค่าเงินบาทแข็งและขีดความ
สามารถในการแข่งขันลดลง และประการสำคัญผู้ส่งออกขาดความมั่นใจในการรับคำสั่งซื้อระยะยาว เพราะกลัวความเสี่ยงที่
ไม่คาดคิด จะเกิดขึ้นโดยเฉพาะการผันผวนของค่าเงินบาท
3. อย่างไรก็ตามการเจาะขยายตลาดไปยังตลาดใหม่ๆ ยังคงเดินหน้าต่อไป เพราะจะทำให้ผู้ผลิต ผู้ส่งออก
สามารถกระจายตลาดได้มากขึ้น และสามารถรับคำสั่งซื้อในราคาที่ดีกว่าในตลาดหลัก แม้ปริมาณการสั่งซื้อแต่ละครั้งจะมี
ปริมาณน้อยกว่าก็ตาม จึงคาดว่าการส่งออกของไทยจะสามารถขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง
ตลาดใหม่ที่มีศักยภาพในการขยายการส่งออกสินค้าไทย ที่มีแนวโน้มดีซึ่งมีอัตราการขยายตัวมากกว่า ร้อยละ 50
ยังมีหลายตลาดด้วยกัน เช่น เอเซียใต้ ตะวันออกกลาง ยุโรปตะวันออก อเมริกาใต้ และทวีปแอฟริกา เป็นต้น
ที่มา: http://www.depthai.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ