สรุปการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ
วันศุกร์ที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๕๐
การประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ ๒๖/๒๕๕๐ วันศุกร์ที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๕๐ เริ่มขึ้นเมื่อเวลา ๐๙.๕๖ นาฬิกา โดยมีนายนรนิติ เศรษฐบุตร ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ เป็นประธานการประชุม เมื่อครบองค์ประชุมประธานฯ ได้ดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระ ดังนี้
๑. เรื่องที่ประธานแจ้งต่อที่ประชุม ไม่มี
๒. รับรองรายงานการประชุม ไม่มี
๓. เรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว
- ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ….
ซึ่งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจัดทำเสร็จแล้ว
โดยเป็นการพิจารณาต่อจากการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญครั้งที่แล้ว และก่อน การประชุมประธานฯ ได้หารือถึงเวลาในการอภิปรายที่ผ่านมา ๔ วัน ว่าล่าช้ามาก ซึ่งอาจเสร็จไม่ทันตามกำหนดเวลา จึงขอให้ใช้เวลาอภิปรายเป็นรายกลุ่ม กลุ่มละ ๑๐ นาที ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบตามที่ประธานเสนอ
จากนั้นที่ประชุมได้พิจารณาต่อในส่วนที่ ๑๐ สิทธิในข้อมูลข่าวสารและการร้องเรียน ไม่มีการแก้ไข
มาตรา ๕๕ มีการแก้ไข โดยมีสมาชิกฯ ขอสงวนความเห็นในเรื่องข้อยกเว้นเรื่องที่ประชาชนจะไม่ได้รับทราบข้อมูลข่าวสารในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หรือข้อมูลส่วนบุคคล โดยขอให้ตัดข้อความในเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และข้อมูลส่วนบุคคลออก ซึ่งกรรมาธิการได้ชี้แจงถึงข้อยกเว้นในการเปิดเผยข้อมูลที่จะกระทบต่อความมั่นคงของรัฐและ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เนื่องจากทั้งสองเรื่องนั้นเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกันและมีความสำคัญ เป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตามสมาชิกฯ ได้อภิปรายว่า หากเพิ่มคำว่า “ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ” จะทำให้เกิดความสับสน เพราะเดิมก็มีการกำหนดว่า “เว้นแต่การเปิดเผยข้อมูลหรือข่าวสารนั้นจะกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ” อยู่แล้ว และหากไม่แก้ไขอาจทำให้การลงทุนระหว่างประเทศของไทยกับ ประเทศอื่นไม่สามารถเปิดเผยอะไรได้เลย เพราะทุกอย่างเป็นเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสิ้น ทั้งนี้กรรมาธิการได้ตกลงตัดคำว่า “ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ” ออกจากมาตรา ๕๕ แต่ยืนยันที่จะกำหนดว่า “หรือเป็นข้อมูลส่วนบุคคล” ไว้ โดยชี้แจงว่าเรื่องข้อมูลส่วนตัวนั้นเป็นเรื่องสำคัญ อีกทั้ง ขณะนี้ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเป็นไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้นหากเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลทุกอย่างอาจเกิดผลเสียได้ ซึ่งเห็นว่าควรกำหนดไว้ เพื่อต้องการปกป้องสิทธิของประชาชน ทั้งนี้กรรมาธิการ
ได้ยอมแก้ไขโดยเพิ่มเติมคำว่า “ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ” หลังคำว่า “หรือเป็นข้อมูลส่วนบุคคล” พร้อมทั้งได้นำวรรคสองที่ระบุว่า “บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับความคุ้มครองจากการแสวงหาประโยชน์โดย มิชอบจากข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตน” ย้ายไปอยู่ในมาตรา ๓๕ วรรคสาม เพื่อทำให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบด้วยกับกรรมาธิการ
มาตรา ๕๖ ไม่มีการแก้ไข และมีสมาชิกฯ ขอสงวนคำแปรญัตติ โดยเพิ่มข้อความในวรรคสอง บรรทัดที่ ๓ คำว่า “นำเสนอข้อมูลข่าวสารต่อสังคมก่อนอย่างน้อยสิบห้าวันแล้วจึง” และ คำว่า “โครงการใด ๆ“ เนื่องจากต้องการให้ประชาชนได้รับทราบข้อมูลข่าวสารอย่างเพียงพอล่วงหน้าก่อน ซึ่งกรรมาธิการได้ชี้แจงว่า ในเรื่องของกระบวนการรับฟังความเห็นนั้นเป็นไปตามระเบียบอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ จึงขอคงไว้ตามร่างเดิม ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบด้วยกับร่างของกรรมาธิการด้วยคะแนน ๔๑ เสียง
มาตรา ๕๗ ไม่มีการแก้ไข
พักการประชุม
ต่อมาที่ประชุมได้พิจารณาต่อในมาตรา ๕๘ โดยมีสมาชิกฯ ได้ขอแปรญัตติแก้ความในเรื่องขององค์กรที่รับเรื่องราวร้องทุกข์ และระยะเวลาในการเสนอเรื่องราวร้องทุกข์ ซึ่งกรรมาธิการได้ ชี้แจงว่า ประเด็นที่ขอแก้ไขนั้นในส่วนขององค์กรที่รับเรื่องราวร้องทุกข์นั้นไม่จำเป็นต้องกำหนดไว้ เพราะผู้ได้รับความเดือดร้อนสามารถร้องทุกข์กับหน่วยงานต่าง ๆ ได้อยู่แล้ว ซึ่งหากระบุหน่วยงานลงไปอาจจะไม่ครอบคลุม สำหรับเรื่องระยะเวลานั้นหากมีการกำหนดเวลาอาจเกิดความไม่สะดวก เพราะ บางครั้งอาจดำเนินการได้เร็วกว่าที่กำหนดไว้ และที่กำหนดไว้ว่า “รวดเร็ว” นั้น เหมาะสมแล้ว จึงคงไว้ตามร่างเดิม ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบด้วยตามที่คณะกรรมาธิการเสนอ
มาตรา ๕๙ ไม่มีการแก้ไข
มาตรา ๖๐ สมาชิกฯ ได้ขอสงวนคำแปรญัตติ ซึ่งคณะกรรมาธิการได้แก้ไขแล้ว และได้ชี้แจงว่า ได้เพิ่มข้อความว่า องค์กรอิสระเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค โดยเน้นให้เห็นชัดว่าเป็นองค์กร ที่เป็นอิสระจากหน่วยงานของรัฐ ซึ่งกำหนดให้รัฐต้องสนับสนุนงบประมาณให้แก่องค์กรอิสระด้วย
มาตรา ๖๑ สมาชิกฯ ได้ขอสงวนคำแปรญัตติ โดยขอกำหนดผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ซึ่งเป็นองค์กรของรัฐที่จะเข้ามารับผิดชอบอย่างชัดเจนในการรองรับการใช้สิทธิของประชาชนที่เกี่ยวกับการติดตาม การร้องขอตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และ เจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งกรรมาธิการชี้แจงว่า สิทธิในการติดตามร้องขอนั้นมีหลายองค์กรที่เกี่ยวข้องไม่เพียงแต่ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาเท่านั้น จึงไม่ได้กำหนดองค์กรไว้ในมาตรานี้
จากนั้นที่ประชุมพิจารณาในส่วนที่ ๑๑ เสรีภาพในการชุมนุมและการสมาคม โดยในมาตรา ๖๒ สมาชิกฯ ได้ขอสงวนคำแปรญัตติ โดยขอเพิ่มเติมคำว่า “และได้รับความคุ้มครองจากรัฐ” ซึ่งกรรมาธิการได้ชี้แจงว่า สิทธิและเสรีภาพในที่นี่ย่อมได้รับความคุ้มครองตามมาตรา ๒๗ อยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องบัญญัติรองรับไว้อีก ส่วนประเด็นในเรื่องที่กรรมาธิการเพิ่มเติมในวรรคสอง เรื่องการรบนั้นเป็นไปตามมาตราอื่น ๆ ซึ่งมีในเรื่องของภาวะสงคราม การรบ การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน และการใช้กฎอัยการศึกอยู่แล้ว สำหรับประเด็นการชุมนุมนั้นหากการชุมนุมอยู่ในกติกาของกฎหมาย ก็จะได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ยังมีสมาชิกฯ ติดใจในความหมายของคำว่า “การรบ” กับ “สงคราม” ซึ่งกรรมาธิการได้ชี้แจงว่า คำว่า สงครามนั้นเป็นการรบขนาดใหญ่ที่มีคนจำนวนมาก แต่การรบนั้นอาจมีขนาดเล็กกว่า และไม่มีการประกาศสงคราม อย่างไรก็ตามทั้งสองคำนี้ก็อาจจะใช้ได้ในเจตนารมณ์ที่ต้องการความร่วมมือร่วมใจในการรักษาความสงบของบ้านเมืองที่ไม่แตกต่างกัน
มาตรา ๖๓ สมาชิกฯ ได้ขอสงวนคำแปรญัตติ โดยขอให้เพิ่ม “สภาเกษตรกร แห่งชาติ” เพื่อให้ความสำคัญในการส่งเสริมการเกษตรกรรมในภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งประเทศ ซึ่งกรรมาธิการได้ชี้แจงว่า ในวรรคแรกนั้นกรรมาธิการได้เพิ่มเติมคำว่า “องค์การพัฒนาเอกชน” เพื่อให้เกิดความชัดเจนยิ่งขึ้น และได้มีสมาชิกฯ ขอให้ตัดวรรคสองออกทั้งหมด เพราะจะทำให้เกิดความสับสนกับข้าราชการ และการกำหนดให้ข้าราชการสามารถรวมตัวกันตามวรรคหนึ่งจะทำให้เกิดปัญหาต่อการบริหารราชการแผ่นดินได้ อีกทั้งขอให้บุคคลได้รับการคุ้มครองไม่ให้ผู้กระทำการดังกล่าวถูกกลั่นแกล้ง ถูกคุกคาม หรือถูกแทรกแซงในการรวมตัว และรัฐต้องส่งเสริมความเข้มแข็งขององค์กรจากการรวมตัวดังกล่าว ทั้งนี้กรรมาธิการได้ชี้แจงว่า การรวมกันเป็นสมาคม สหภาพ สหพันธ์ สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร องค์กร เอกชน หรือหมู่คณะอื่นนั้น เป็นการกำหนดอย่างกว้าง ๆ ซึ่งจะครอบคลุมกลุ่มต่าง ๆ ด้วย สำหรับ การรวมกันของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐนั้นส่วนใหญ่เกิดจากสหภาพแรงงาน ซึ่งก็ได้รับการยอมรับในระดับสากล นอกจากนั้นได้มีการกำหนดไว้ในอนุสัญญาหลักขององค์การแรงงานระหว่างประเทศด้วย ทั้งนี้ที่ประชุมเห็นชอบตามร่างของกรรมาธิการ
มาตรา ๖๔ สมาชิกฯ ได้ขอสงวนคำแปรญัตติ โดยขอให้เพิ่มเติมสิทธิเสรีภาพ ในการเป็นสมาชิกพรรคการเมือง ซึ่งกรรมาธิการได้ชี้แจงว่า หากเพิ่มเติมข้อความดังกล่าวอาจเกิดปัญหาด้านการตีความกฎหมายในกรณีที่ศาลและสมาชิกวุฒิสภาห้ามเป็นสมาชิกพรรคการเมือง ทั้งนี้ ที่ประชุมเห็นชอบตามร่างของกรรมาธิการ
ส่วนที่ ๑๒ สิทธิชุมชน ไม่มีการแก้ไข
มาตรา ๖๕ สมาชิกฯ ขอสงวนคำแปรญัตติ โดยขอเพิ่มความที่เกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพ และขอให้การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต้องสอดคล้องกับการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศด้วย ซึ่งกรรมาธิการได้ตอบชี้แจงและขอยืนยันตามร่างเดิม โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบด้วยกับร่างของคณะกรรมาธิการด้วยคะแนน ๕๗ เสียง
มาตรา ๖๖ ไม่มีการแก้ไข แต่สมาชิกฯ ได้ขอสงวนคำแปรญัตติ โดยขอเพิ่ม ความว่า “ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ” ในวรรคที่หนึ่ง ซึ่งกรรมาธิการขอเพิ่มความต่อท้ายว่า …ย่อมได้รับความคุ้มครอง “ตามความเหมาะสม” ทั้งนี้ที่ประชุมมีมติเห็นชอบตามที่คณะกรรมาธิการแก้ไขด้วยคะแนน ๓๒ เสียง สำหรับในวรรคสองนั้นสมาชิกฯ ได้อภิปรายว่าวรรคสองกล่าวถึงผลกระทบจากโครงการกิจกรรมคุณภาพสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติเท่านั้น ไม่ได้กล่าวถึงผลกระทบต่อสุขภาพด้วย ดังนั้นจึงขอแปรญัตติโดยเห็นว่า โครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงต่อ คุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ วิถีชีวิต วัฒนธรรม และสุขภาพนั้น จะกระทำไม่ได้ เว้นแต่จะได้มีการศึกษาและประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ อีกทั้งได้มีสมาชิกฯ ขอสงวนคำแปรญัตติโดยขอเพิ่มความว่า “ชุมชน” “คุณภาพชีวิต” และ “สุขภาพ”
ทั้งนี้ ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์เห็นชอบด้วยกับร่างของคณะกรรมาธิการ ส่วนใน วรรคสามนั้น สมาชิกฯ ได้ขอสงวนคำแปรญัตติ โดยขอเพิ่มความที่เกี่ยวกับสิทธิชุมชนที่จะฟ้องร้อง โดยใช้คำว่า “ประชาชน” แทน ซึ่งกรรมาธิการได้ชี้แจงว่า ความในวรรคสามเขียนขึ้นเพื่อรองรับสิทธิของชุมชน ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มของชุมชนที่จะมีสิทธิดูแลการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ หากแก้ไขอย่างที่มีการแปรญัตติ ความหมายก็จะเปลี่ยนไป จึงขอคงไว้ตามร่างของกรรมาธิการ
ส่วนที่ ๑๓ สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ ไม่มีการแก้ไข
มาตรา ๖๗ มีการแก้ไข สมาชิกฯ ขอสงวนคำแปรญัตติ ซึ่งผู้ขอแปรญัตติเห็นว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ ต้องใช้เวลาพิจารณานาน จึงขอเลื่อนการพิจารณาไปในคราวต่อไป
ที่ประชุมเห็นชอบ
ปิดประชุมเวลา ๑๖.๔๖ นาฬิกา
--------------------------------------------------
วันศุกร์ที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๕๐
การประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ ๒๖/๒๕๕๐ วันศุกร์ที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๕๐ เริ่มขึ้นเมื่อเวลา ๐๙.๕๖ นาฬิกา โดยมีนายนรนิติ เศรษฐบุตร ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ เป็นประธานการประชุม เมื่อครบองค์ประชุมประธานฯ ได้ดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระ ดังนี้
๑. เรื่องที่ประธานแจ้งต่อที่ประชุม ไม่มี
๒. รับรองรายงานการประชุม ไม่มี
๓. เรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว
- ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ….
ซึ่งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจัดทำเสร็จแล้ว
โดยเป็นการพิจารณาต่อจากการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญครั้งที่แล้ว และก่อน การประชุมประธานฯ ได้หารือถึงเวลาในการอภิปรายที่ผ่านมา ๔ วัน ว่าล่าช้ามาก ซึ่งอาจเสร็จไม่ทันตามกำหนดเวลา จึงขอให้ใช้เวลาอภิปรายเป็นรายกลุ่ม กลุ่มละ ๑๐ นาที ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบตามที่ประธานเสนอ
จากนั้นที่ประชุมได้พิจารณาต่อในส่วนที่ ๑๐ สิทธิในข้อมูลข่าวสารและการร้องเรียน ไม่มีการแก้ไข
มาตรา ๕๕ มีการแก้ไข โดยมีสมาชิกฯ ขอสงวนความเห็นในเรื่องข้อยกเว้นเรื่องที่ประชาชนจะไม่ได้รับทราบข้อมูลข่าวสารในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หรือข้อมูลส่วนบุคคล โดยขอให้ตัดข้อความในเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และข้อมูลส่วนบุคคลออก ซึ่งกรรมาธิการได้ชี้แจงถึงข้อยกเว้นในการเปิดเผยข้อมูลที่จะกระทบต่อความมั่นคงของรัฐและ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เนื่องจากทั้งสองเรื่องนั้นเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกันและมีความสำคัญ เป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตามสมาชิกฯ ได้อภิปรายว่า หากเพิ่มคำว่า “ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ” จะทำให้เกิดความสับสน เพราะเดิมก็มีการกำหนดว่า “เว้นแต่การเปิดเผยข้อมูลหรือข่าวสารนั้นจะกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ” อยู่แล้ว และหากไม่แก้ไขอาจทำให้การลงทุนระหว่างประเทศของไทยกับ ประเทศอื่นไม่สามารถเปิดเผยอะไรได้เลย เพราะทุกอย่างเป็นเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสิ้น ทั้งนี้กรรมาธิการได้ตกลงตัดคำว่า “ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ” ออกจากมาตรา ๕๕ แต่ยืนยันที่จะกำหนดว่า “หรือเป็นข้อมูลส่วนบุคคล” ไว้ โดยชี้แจงว่าเรื่องข้อมูลส่วนตัวนั้นเป็นเรื่องสำคัญ อีกทั้ง ขณะนี้ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเป็นไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้นหากเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลทุกอย่างอาจเกิดผลเสียได้ ซึ่งเห็นว่าควรกำหนดไว้ เพื่อต้องการปกป้องสิทธิของประชาชน ทั้งนี้กรรมาธิการ
ได้ยอมแก้ไขโดยเพิ่มเติมคำว่า “ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ” หลังคำว่า “หรือเป็นข้อมูลส่วนบุคคล” พร้อมทั้งได้นำวรรคสองที่ระบุว่า “บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับความคุ้มครองจากการแสวงหาประโยชน์โดย มิชอบจากข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตน” ย้ายไปอยู่ในมาตรา ๓๕ วรรคสาม เพื่อทำให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบด้วยกับกรรมาธิการ
มาตรา ๕๖ ไม่มีการแก้ไข และมีสมาชิกฯ ขอสงวนคำแปรญัตติ โดยเพิ่มข้อความในวรรคสอง บรรทัดที่ ๓ คำว่า “นำเสนอข้อมูลข่าวสารต่อสังคมก่อนอย่างน้อยสิบห้าวันแล้วจึง” และ คำว่า “โครงการใด ๆ“ เนื่องจากต้องการให้ประชาชนได้รับทราบข้อมูลข่าวสารอย่างเพียงพอล่วงหน้าก่อน ซึ่งกรรมาธิการได้ชี้แจงว่า ในเรื่องของกระบวนการรับฟังความเห็นนั้นเป็นไปตามระเบียบอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ จึงขอคงไว้ตามร่างเดิม ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบด้วยกับร่างของกรรมาธิการด้วยคะแนน ๔๑ เสียง
มาตรา ๕๗ ไม่มีการแก้ไข
พักการประชุม
ต่อมาที่ประชุมได้พิจารณาต่อในมาตรา ๕๘ โดยมีสมาชิกฯ ได้ขอแปรญัตติแก้ความในเรื่องขององค์กรที่รับเรื่องราวร้องทุกข์ และระยะเวลาในการเสนอเรื่องราวร้องทุกข์ ซึ่งกรรมาธิการได้ ชี้แจงว่า ประเด็นที่ขอแก้ไขนั้นในส่วนขององค์กรที่รับเรื่องราวร้องทุกข์นั้นไม่จำเป็นต้องกำหนดไว้ เพราะผู้ได้รับความเดือดร้อนสามารถร้องทุกข์กับหน่วยงานต่าง ๆ ได้อยู่แล้ว ซึ่งหากระบุหน่วยงานลงไปอาจจะไม่ครอบคลุม สำหรับเรื่องระยะเวลานั้นหากมีการกำหนดเวลาอาจเกิดความไม่สะดวก เพราะ บางครั้งอาจดำเนินการได้เร็วกว่าที่กำหนดไว้ และที่กำหนดไว้ว่า “รวดเร็ว” นั้น เหมาะสมแล้ว จึงคงไว้ตามร่างเดิม ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบด้วยตามที่คณะกรรมาธิการเสนอ
มาตรา ๕๙ ไม่มีการแก้ไข
มาตรา ๖๐ สมาชิกฯ ได้ขอสงวนคำแปรญัตติ ซึ่งคณะกรรมาธิการได้แก้ไขแล้ว และได้ชี้แจงว่า ได้เพิ่มข้อความว่า องค์กรอิสระเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค โดยเน้นให้เห็นชัดว่าเป็นองค์กร ที่เป็นอิสระจากหน่วยงานของรัฐ ซึ่งกำหนดให้รัฐต้องสนับสนุนงบประมาณให้แก่องค์กรอิสระด้วย
มาตรา ๖๑ สมาชิกฯ ได้ขอสงวนคำแปรญัตติ โดยขอกำหนดผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ซึ่งเป็นองค์กรของรัฐที่จะเข้ามารับผิดชอบอย่างชัดเจนในการรองรับการใช้สิทธิของประชาชนที่เกี่ยวกับการติดตาม การร้องขอตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และ เจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งกรรมาธิการชี้แจงว่า สิทธิในการติดตามร้องขอนั้นมีหลายองค์กรที่เกี่ยวข้องไม่เพียงแต่ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาเท่านั้น จึงไม่ได้กำหนดองค์กรไว้ในมาตรานี้
จากนั้นที่ประชุมพิจารณาในส่วนที่ ๑๑ เสรีภาพในการชุมนุมและการสมาคม โดยในมาตรา ๖๒ สมาชิกฯ ได้ขอสงวนคำแปรญัตติ โดยขอเพิ่มเติมคำว่า “และได้รับความคุ้มครองจากรัฐ” ซึ่งกรรมาธิการได้ชี้แจงว่า สิทธิและเสรีภาพในที่นี่ย่อมได้รับความคุ้มครองตามมาตรา ๒๗ อยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องบัญญัติรองรับไว้อีก ส่วนประเด็นในเรื่องที่กรรมาธิการเพิ่มเติมในวรรคสอง เรื่องการรบนั้นเป็นไปตามมาตราอื่น ๆ ซึ่งมีในเรื่องของภาวะสงคราม การรบ การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน และการใช้กฎอัยการศึกอยู่แล้ว สำหรับประเด็นการชุมนุมนั้นหากการชุมนุมอยู่ในกติกาของกฎหมาย ก็จะได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ยังมีสมาชิกฯ ติดใจในความหมายของคำว่า “การรบ” กับ “สงคราม” ซึ่งกรรมาธิการได้ชี้แจงว่า คำว่า สงครามนั้นเป็นการรบขนาดใหญ่ที่มีคนจำนวนมาก แต่การรบนั้นอาจมีขนาดเล็กกว่า และไม่มีการประกาศสงคราม อย่างไรก็ตามทั้งสองคำนี้ก็อาจจะใช้ได้ในเจตนารมณ์ที่ต้องการความร่วมมือร่วมใจในการรักษาความสงบของบ้านเมืองที่ไม่แตกต่างกัน
มาตรา ๖๓ สมาชิกฯ ได้ขอสงวนคำแปรญัตติ โดยขอให้เพิ่ม “สภาเกษตรกร แห่งชาติ” เพื่อให้ความสำคัญในการส่งเสริมการเกษตรกรรมในภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งประเทศ ซึ่งกรรมาธิการได้ชี้แจงว่า ในวรรคแรกนั้นกรรมาธิการได้เพิ่มเติมคำว่า “องค์การพัฒนาเอกชน” เพื่อให้เกิดความชัดเจนยิ่งขึ้น และได้มีสมาชิกฯ ขอให้ตัดวรรคสองออกทั้งหมด เพราะจะทำให้เกิดความสับสนกับข้าราชการ และการกำหนดให้ข้าราชการสามารถรวมตัวกันตามวรรคหนึ่งจะทำให้เกิดปัญหาต่อการบริหารราชการแผ่นดินได้ อีกทั้งขอให้บุคคลได้รับการคุ้มครองไม่ให้ผู้กระทำการดังกล่าวถูกกลั่นแกล้ง ถูกคุกคาม หรือถูกแทรกแซงในการรวมตัว และรัฐต้องส่งเสริมความเข้มแข็งขององค์กรจากการรวมตัวดังกล่าว ทั้งนี้กรรมาธิการได้ชี้แจงว่า การรวมกันเป็นสมาคม สหภาพ สหพันธ์ สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร องค์กร เอกชน หรือหมู่คณะอื่นนั้น เป็นการกำหนดอย่างกว้าง ๆ ซึ่งจะครอบคลุมกลุ่มต่าง ๆ ด้วย สำหรับ การรวมกันของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐนั้นส่วนใหญ่เกิดจากสหภาพแรงงาน ซึ่งก็ได้รับการยอมรับในระดับสากล นอกจากนั้นได้มีการกำหนดไว้ในอนุสัญญาหลักขององค์การแรงงานระหว่างประเทศด้วย ทั้งนี้ที่ประชุมเห็นชอบตามร่างของกรรมาธิการ
มาตรา ๖๔ สมาชิกฯ ได้ขอสงวนคำแปรญัตติ โดยขอให้เพิ่มเติมสิทธิเสรีภาพ ในการเป็นสมาชิกพรรคการเมือง ซึ่งกรรมาธิการได้ชี้แจงว่า หากเพิ่มเติมข้อความดังกล่าวอาจเกิดปัญหาด้านการตีความกฎหมายในกรณีที่ศาลและสมาชิกวุฒิสภาห้ามเป็นสมาชิกพรรคการเมือง ทั้งนี้ ที่ประชุมเห็นชอบตามร่างของกรรมาธิการ
ส่วนที่ ๑๒ สิทธิชุมชน ไม่มีการแก้ไข
มาตรา ๖๕ สมาชิกฯ ขอสงวนคำแปรญัตติ โดยขอเพิ่มความที่เกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพ และขอให้การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต้องสอดคล้องกับการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศด้วย ซึ่งกรรมาธิการได้ตอบชี้แจงและขอยืนยันตามร่างเดิม โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบด้วยกับร่างของคณะกรรมาธิการด้วยคะแนน ๕๗ เสียง
มาตรา ๖๖ ไม่มีการแก้ไข แต่สมาชิกฯ ได้ขอสงวนคำแปรญัตติ โดยขอเพิ่ม ความว่า “ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ” ในวรรคที่หนึ่ง ซึ่งกรรมาธิการขอเพิ่มความต่อท้ายว่า …ย่อมได้รับความคุ้มครอง “ตามความเหมาะสม” ทั้งนี้ที่ประชุมมีมติเห็นชอบตามที่คณะกรรมาธิการแก้ไขด้วยคะแนน ๓๒ เสียง สำหรับในวรรคสองนั้นสมาชิกฯ ได้อภิปรายว่าวรรคสองกล่าวถึงผลกระทบจากโครงการกิจกรรมคุณภาพสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติเท่านั้น ไม่ได้กล่าวถึงผลกระทบต่อสุขภาพด้วย ดังนั้นจึงขอแปรญัตติโดยเห็นว่า โครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงต่อ คุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ วิถีชีวิต วัฒนธรรม และสุขภาพนั้น จะกระทำไม่ได้ เว้นแต่จะได้มีการศึกษาและประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ อีกทั้งได้มีสมาชิกฯ ขอสงวนคำแปรญัตติโดยขอเพิ่มความว่า “ชุมชน” “คุณภาพชีวิต” และ “สุขภาพ”
ทั้งนี้ ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์เห็นชอบด้วยกับร่างของคณะกรรมาธิการ ส่วนใน วรรคสามนั้น สมาชิกฯ ได้ขอสงวนคำแปรญัตติ โดยขอเพิ่มความที่เกี่ยวกับสิทธิชุมชนที่จะฟ้องร้อง โดยใช้คำว่า “ประชาชน” แทน ซึ่งกรรมาธิการได้ชี้แจงว่า ความในวรรคสามเขียนขึ้นเพื่อรองรับสิทธิของชุมชน ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มของชุมชนที่จะมีสิทธิดูแลการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ หากแก้ไขอย่างที่มีการแปรญัตติ ความหมายก็จะเปลี่ยนไป จึงขอคงไว้ตามร่างของกรรมาธิการ
ส่วนที่ ๑๓ สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ ไม่มีการแก้ไข
มาตรา ๖๗ มีการแก้ไข สมาชิกฯ ขอสงวนคำแปรญัตติ ซึ่งผู้ขอแปรญัตติเห็นว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ ต้องใช้เวลาพิจารณานาน จึงขอเลื่อนการพิจารณาไปในคราวต่อไป
ที่ประชุมเห็นชอบ
ปิดประชุมเวลา ๑๖.๔๖ นาฬิกา
--------------------------------------------------