1. การผลิตในประเทศ
ปัจจุบันบริษัทผู้ผลิตยาชั้นนำของโลก ต้องพัฒนาและคิดค้นยาใหม่ ๆ ออกสู่ตลาดอยู่ตลอดเวลา เป็นการสร้างภาระค่าใช้จ่ายให้กับบริษัทผู้
ผลิตยาอย่างต่อเนื่อง การควบรวมกิจการจึงเป็นแนวทางหนึ่งที่ช่วยลดต้นทุนและเพิ่มมูลค่าการตลาดของบริษัทด้วย ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาได้มีการควบรวม
กิจการของบริษัทชั้นนำในยุโรป เช่น การควบกิจการระหว่างบริษัท Merck กับบริษัท Serono และการควบกิจการระหว่างบริษัท Bayer กับ บริษัท
Schering เป็นต้น ในขณะที่การผลิตยาในประเทศ เป็นเพียงยาในกลุ่มที่หมดสิทธิบัตรแล้ว หรือยาสามัญ (Generic Drugs) เท่านั้น ยังไม่มีการ
พัฒนาเพื่อการวิจัยยาใหม่
การผลิตยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรม ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2549 มีปริมาณ 7,275.8 ตัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ
11.5 และเพิ่มจากไตรมาสก่อนร้อยละ 17.3 สำหรับการผลิตใน 9 เดือนของปี 2549 มีปริมาณการผลิต 19,802.2 ตัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของ
ปีก่อนร้อยละ 2.3
ประเภทผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยาเม็ด ยาน้ำ ยาครีม ยาแดงทิงเจอร์ไอโอดีน และยาผง เนื่องจากมีคำสั่งซื้อจากโรง
พยาบาล ร้านขายยา รวมทั้งลูกค้าที่จ้างผลิตมากขึ้น สำหรับยาผงมีคำสั่งซื้อจากต่างประเทศ เพื่อนำไปเป็นวัตถุดิบตัวยา ทำให้การผลิตเพิ่มขึ้น
2. การจำหน่ายในประเทศ
ปริมาณการจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในไตรมาสที่ 3 ของปี 2549 มีปริมาณ 6,345 ตัน ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
เล็กน้อยร้อยละ 0.7 โดยประเภทของยาที่จำหน่ายลดลงได้แก่ ยาแคปซูล ยาครีม ยาฉีด และยาผง สำหรับการจำหน่ายใน 9 เดือนของปี 2549 มี
ปริมาณ 17,903.3 ตัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 2.3
ปริมาณการจำหน่ายที่ลดลง ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ ที่ระดับราคาน้ำมัน อัตราเงินเฟ้อ และอัตราดอกเบี้ยอยู่ใน
ระดับสูง เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทำให้ประชาชนระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น ประกอบกับตลาดยาในประเทศมีการแข่งขันสูง ทำให้ผู้ผลิต
จำหน่ายสินค้าได้น้อยลง
อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ปริมาณการจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.7 เนื่องจากผู้สั่งซื้อมักจะสั่งซื้อมากในช่วงไตรมาสนี้ เพื่อ
บริหารสินค้าคงคลังไม่ให้เหลือสูงมากในไตรมาสสุดท้ายของปี นอกจากนี้ผู้ประกอบการยังสามารถหาลูกค้าใหม่ ๆ ได้เพิ่มขึ้นด้วย
3. การนำเข้า
การนำเข้าผลิตภัณฑ์เภสัชกรรม ไตรมาสที่ 3 ของปี 2549 มีมูลค่า 8,235.1 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ร้อยละ 14.9 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนร้อยละ 3.6 โดยตลาดนำเข้าผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมที่สำคัญ ในไตรมาสนี้ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส
เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ และอิตาลี ซึ่งการนำเข้าจากประเทศดังกล่าวมีมูลค่ารวม 5,246.1 ล้านบาท หรือร้อยละ 63.7 ของมูลค่าการนำเข้า
ผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมทั้งหมด
สำหรับใน 9 เดือนของปี 2549 การนำเข้าผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมมีมูลค่า 24,073 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อย
ละ 18.6 โดยตลาดนำเข้าผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ และ สหราชอาณาจักร ซึ่งการนำเข้า
จากประเทศดังกล่าวมีมูลค่ารวม 11,596.8 ล้านบาท หรือร้อยละ 48.2 ของมูลค่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมทั้งหมด
การนำเข้ายารักษาโรคที่เป็นยาสำเร็จรูป ทั้งยาต้นตำรับ และยาที่มีสิทธิบัตรซึ่งไม่สามารถผลิตได้ในประเทศ ยังคงเป็นสินค้าที่มีมูลค่าการ
นำเข้าสูงสุด โดยยารักษาโรคเหล่านี้นำเข้าจากประเทศที่เป็นผู้ผลิตเวชภัณฑ์ชั้นนำของโลก เช่น สหรัฐอเมริกา และยุโรป การนำเข้ายารักษาโรคมี
มูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งเนื่องมาจากธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนยังคงมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ความต้องการยาที่
เป็นที่ยอมรับจากต่างประเทศของผู้ป่วยที่มีรายได้สูงมีเพิ่มขึ้น นอกจากนี้บริษัทผู้นำเข้าได้ให้ความสำคัญกับกิจกรรมส่งเสริมการตลาด เช่น การประชา
สัมพันธ์ให้ตระหนักถึงการรักษาสุขภาพ การพัฒนาสินค้าใหม่ ๆ การขยายช่องทางการตลาด ตลอดจนการสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับสุขภาพ
เป็นต้น
4. การส่งออก
การส่งออกผลิตภัณฑ์เภสัชกรรม ไตรมาสที่ 3 ของปี 2549 มีมูลค่า 1,923.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ
10.0 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนร้อยละ 21.8 สำหรับตลาดส่งออกผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมที่สำคัญในไตรมาสนี้ ได้แก่ เวียดนาม กัมพูชา เมียนมาร์
เบลเยียม และฟิลิปปินส์ โดยการส่งออกไปประเทศดังกล่าวมีมูลค่ารวม 1,337.2 ล้านบาท หรือร้อยละ 69.5 ของมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์
เภสัชกรรมทั้งหมด
สำหรับใน 9 เดือนของปี 2549 การส่งออกผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมมีมูลค่า 5,069.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ
11.6 สำหรับตลาดส่งออกผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมที่สำคัญใน 9 เดือนแรกของปีนี้ ได้แก่ เวียดนาม กัมพูชา เมียนมาร์ เบลเยียม และมาเลเซีย โดยการ
ส่งออกไปประเทศดังกล่าวมีมูลค่ารวม 2,682.1 ล้านบาท หรือร้อยละ 52.9 ของมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมทั้งหมด
ผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุด คือ ยารักษาโรคที่เป็นยาสำเร็จรูป ประเภทยาสามัญ ซึ่งเป็นยาในกลุ่มที่หมดสิทธิบัตรแล้ว
แต่มูลค่าการส่งออกยาสำเร็จรูปในไตรมาสที่ 3 ของปี 2549 และใน 9 เดือนของปี 2549 กลับหดตัวลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้เนื่อง
จากมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย เข้ามาเป็นคู่แข่งในตลาดส่งออกหลักของไทยมากขึ้น นอกจากนี้การส่งออกยาของไทยยังมีข้อจำกัดด้าน
มาตรฐานการผลิต ทำให้ตลาดส่งออกส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มประเทศอาเซียน สำหรับตลาดอื่น เช่น ตะวันออกกลาง และสหภาพยุโรป ผู้สั่งซื้อต้องการ
มาตรฐานการผลิตสูงมาก หากตรวจพบว่าโรงงานของผู้ผลิตไม่ผ่านมาตรฐาน ก็จะหยุดสั่งซื้อ
5. สรุป
ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในไตรมาสที่ 3 ของปี 2549 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจาก
มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นมากทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ สำหรับปริมาณการจำหน่ายปรับตัวลดลง เนื่องจากประชาชนระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น
ประกอบกับตลาดยาในประเทศมีการแข่งขันสูง ทำให้ผู้ผลิตจำหน่ายสินค้าได้น้อยลง ด้านมูลค่าการนำเข้าและการส่งออกมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยส่วน
ใหญ่เป็นการนำเข้ายาต้นตำรับและยาที่มีสิทธิบัตร และส่งออกยาสามัญซึ่งเป็นยาที่หมดสิทธิบัตรแล้ว
สำหรับไตรมาสสุดท้ายของปี 2549 คาดว่าการผลิตและการจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์ เภสัชกรรมในประเทศ จะขยายตัวเพิ่มขึ้นจาก
ไตรมาสที่ 3 เนื่องจากประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลรักษาตัวเอง มีการปรึกษาแพทย์ และเข้าโรงพยาบาลเพื่อรักษาสุขภาพมากกว่าใน
อดีต ทำให้ตลาดยาในประเทศยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง สำหรับมูลค่าการส่งออกคาดว่าจะขยายตัวดีขึ้นเช่นกัน เนื่องจากผู้ผลิตรวมถึงภาครัฐบาลพยายาม
ขยายตลาดใหม่ ๆ มากขึ้น แต่ทั้งนี้แนวโน้มการส่งออกของไทยขึ้นอยู่กับมาตรฐานของยาที่ผลิตได้ ดังนั้นผู้ผลิตในประเทศจำเป็นต้องผลิตสินค้าให้ได้
มาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ส่วนมูลค่าการนำเข้าคาดว่าจะลดลง เนื่องจากผู้นำเข้าได้นำสินค้าเข้ามามากตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 และลดการนำ
เข้าลงในไตรมาสสุดท้ายของปี เพื่อบริหารสินค้าคงคลัง
ตารางที่ 1 ปริมาณการผลิตยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในประเทศแยกตามรายผลิตภัณฑ์
หน่วย : ตัน
ประเภท ไตรมาส 2548 2549
3/2548 2/2549 3/2549 (ม.ค.—ก.ย.) (ม.ค.—ก.ย.)
ยาเม็ด 1,174.80 1,265.10 1,490.50 3,512.90 4,142.00
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 17.8
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 26.9 17.9
ยาน้ำ 3,324.60 3,079.70 3,789.30 10,289.70 10,070.20
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 23
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 14 -2.1
ยาแคปซูล 260.9 146.6 163.6 535.8 441.6
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 11.6
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -37.3 -17.6
ยาฉีด 112.8 105.3 104.4 326.8 329.1
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -0.9
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -7.4 0.7
ยาแดงทิงเจอร์ไอโอดีน 34.1 27.8 34.6 98.9 88.4
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 24.5
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 1.5 -10.6
ยาครีม 549.6 474.4 583.1 1,597.20 1,474.00
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 22.9
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 6.1 -7.7
ยาผง 1,068.60 1,103.80 1,110.30 3,001.60 3,256.90
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 0.6
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 3.9 8.5
รวม 6,525.40 6,202.70 7,275.80 19,362.90 19,802.20
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 17.3
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 11.5 2.3
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : จำนวนโรงงานที่สำรวจรวมทั้งสิ้น 34 โรงงาน (ยาเม็ด 30 โรงงาน, ยาน้ำ 29 โรงงาน, ยาแคปซูล 26 โรงงาน,
ยาฉีด 9 โรงงาน, ยาแดงทิงเจอร์ไอโอดีน 4 โรงงาน, ยาครีม 17 โรงงาน และยาผง 17 โรงงาน)
ตารางที่ 2 ปริมาณการจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในประเทศแยกตามรายผลิตภัณฑ์
หน่วย : ตัน
ประเภท ไตรมาส 2548 2549
3/2548 2/2549 3/2549 (ม.ค.—ก.ย.) (ม.ค.—ก.ย.)
ยาเม็ด 1,341.00 1,215.20 1,402.30 3,667.30 3,981.10
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 15.4
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 4.6 8.6
ยาน้ำ 3,960.20 3,540.10 4,025.00 11,785.80 11,059.30
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 13.7
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 1.6 -6.2
ยาแคปซูล 215.6 182.2 169.1 525.2 514
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -7.2
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -21.6 -2.1
ยาฉีด 83.2 84.4 82.9 251.9 261.2
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -1.8
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -0.4 3.7
ยาแดงทิงเจอร์ไอโอดีน 32.4 27.6 35.7 95 88.6
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 29.3
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 10.2 -6.7
ยาครีม 555.6 475.5 473 1,509.70 1,429.10
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -0.5
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -14.9 -5.3
ยาผง 201.1 258.4 157 483.6 570
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -39.2
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -21.9 17.9
รวม 6,389.10 5,783.40 6,345 18,318.50 17,903.30
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 9.7
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -0.7 -2.3
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : จำนวนโรงงานที่สำรวจรวมทั้งสิ้น 34 โรงงาน (ยาเม็ด 30 โรงงาน, ยาน้ำ 29 โรงงาน, ยาแคปซูล 26 โรงงาน,
ยาฉีด 9 โรงงาน, ยาแดงทิงเจอร์ไอโอดีน 4 โรงงาน, ยาครีม 17 โรงงาน และยาผง 17 โรงงาน)
: ปริมาณการจำหน่ายยาผงในประเทศน้อยกว่าปริมาณการผลิตมาก เนื่องจากมีผู้ประกอบการที่ทำการสำรวจ ผลิตเพื่อการส่ง
ออกมากกว่าการจำหน่ายในประเทศ
ตารางที่ 3 มูลค่าการนำเข้า — ส่งออกผลิตภัณฑ์เภสัชกรรม
มูลค่า (ล้านบาท) ไตรมาส 2548 2549
3/2548 2/2549 3/2549 (ม.ค.—ก.ย.) (ม.ค.—ก.ย.)
มูลค่าการนำเข้า 7,164.20 7,946.80 8,235.10 20,293.20 24,073.00
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 3.6
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 14.9 18.6
มูลค่าการส่งออก 1,748.30 1,578.80 1,923.20 4,543.90 5,069.40
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 21.8
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 10 11.6
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
หมายเหตุ : ปี 2549 เป็นตัวเลขเบื้องต้น
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ปัจจุบันบริษัทผู้ผลิตยาชั้นนำของโลก ต้องพัฒนาและคิดค้นยาใหม่ ๆ ออกสู่ตลาดอยู่ตลอดเวลา เป็นการสร้างภาระค่าใช้จ่ายให้กับบริษัทผู้
ผลิตยาอย่างต่อเนื่อง การควบรวมกิจการจึงเป็นแนวทางหนึ่งที่ช่วยลดต้นทุนและเพิ่มมูลค่าการตลาดของบริษัทด้วย ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาได้มีการควบรวม
กิจการของบริษัทชั้นนำในยุโรป เช่น การควบกิจการระหว่างบริษัท Merck กับบริษัท Serono และการควบกิจการระหว่างบริษัท Bayer กับ บริษัท
Schering เป็นต้น ในขณะที่การผลิตยาในประเทศ เป็นเพียงยาในกลุ่มที่หมดสิทธิบัตรแล้ว หรือยาสามัญ (Generic Drugs) เท่านั้น ยังไม่มีการ
พัฒนาเพื่อการวิจัยยาใหม่
การผลิตยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรม ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2549 มีปริมาณ 7,275.8 ตัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ
11.5 และเพิ่มจากไตรมาสก่อนร้อยละ 17.3 สำหรับการผลิตใน 9 เดือนของปี 2549 มีปริมาณการผลิต 19,802.2 ตัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของ
ปีก่อนร้อยละ 2.3
ประเภทผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยาเม็ด ยาน้ำ ยาครีม ยาแดงทิงเจอร์ไอโอดีน และยาผง เนื่องจากมีคำสั่งซื้อจากโรง
พยาบาล ร้านขายยา รวมทั้งลูกค้าที่จ้างผลิตมากขึ้น สำหรับยาผงมีคำสั่งซื้อจากต่างประเทศ เพื่อนำไปเป็นวัตถุดิบตัวยา ทำให้การผลิตเพิ่มขึ้น
2. การจำหน่ายในประเทศ
ปริมาณการจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในไตรมาสที่ 3 ของปี 2549 มีปริมาณ 6,345 ตัน ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
เล็กน้อยร้อยละ 0.7 โดยประเภทของยาที่จำหน่ายลดลงได้แก่ ยาแคปซูล ยาครีม ยาฉีด และยาผง สำหรับการจำหน่ายใน 9 เดือนของปี 2549 มี
ปริมาณ 17,903.3 ตัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 2.3
ปริมาณการจำหน่ายที่ลดลง ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ ที่ระดับราคาน้ำมัน อัตราเงินเฟ้อ และอัตราดอกเบี้ยอยู่ใน
ระดับสูง เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทำให้ประชาชนระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น ประกอบกับตลาดยาในประเทศมีการแข่งขันสูง ทำให้ผู้ผลิต
จำหน่ายสินค้าได้น้อยลง
อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ปริมาณการจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.7 เนื่องจากผู้สั่งซื้อมักจะสั่งซื้อมากในช่วงไตรมาสนี้ เพื่อ
บริหารสินค้าคงคลังไม่ให้เหลือสูงมากในไตรมาสสุดท้ายของปี นอกจากนี้ผู้ประกอบการยังสามารถหาลูกค้าใหม่ ๆ ได้เพิ่มขึ้นด้วย
3. การนำเข้า
การนำเข้าผลิตภัณฑ์เภสัชกรรม ไตรมาสที่ 3 ของปี 2549 มีมูลค่า 8,235.1 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ร้อยละ 14.9 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนร้อยละ 3.6 โดยตลาดนำเข้าผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมที่สำคัญ ในไตรมาสนี้ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส
เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ และอิตาลี ซึ่งการนำเข้าจากประเทศดังกล่าวมีมูลค่ารวม 5,246.1 ล้านบาท หรือร้อยละ 63.7 ของมูลค่าการนำเข้า
ผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมทั้งหมด
สำหรับใน 9 เดือนของปี 2549 การนำเข้าผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมมีมูลค่า 24,073 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อย
ละ 18.6 โดยตลาดนำเข้าผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ และ สหราชอาณาจักร ซึ่งการนำเข้า
จากประเทศดังกล่าวมีมูลค่ารวม 11,596.8 ล้านบาท หรือร้อยละ 48.2 ของมูลค่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมทั้งหมด
การนำเข้ายารักษาโรคที่เป็นยาสำเร็จรูป ทั้งยาต้นตำรับ และยาที่มีสิทธิบัตรซึ่งไม่สามารถผลิตได้ในประเทศ ยังคงเป็นสินค้าที่มีมูลค่าการ
นำเข้าสูงสุด โดยยารักษาโรคเหล่านี้นำเข้าจากประเทศที่เป็นผู้ผลิตเวชภัณฑ์ชั้นนำของโลก เช่น สหรัฐอเมริกา และยุโรป การนำเข้ายารักษาโรคมี
มูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งเนื่องมาจากธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนยังคงมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ความต้องการยาที่
เป็นที่ยอมรับจากต่างประเทศของผู้ป่วยที่มีรายได้สูงมีเพิ่มขึ้น นอกจากนี้บริษัทผู้นำเข้าได้ให้ความสำคัญกับกิจกรรมส่งเสริมการตลาด เช่น การประชา
สัมพันธ์ให้ตระหนักถึงการรักษาสุขภาพ การพัฒนาสินค้าใหม่ ๆ การขยายช่องทางการตลาด ตลอดจนการสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับสุขภาพ
เป็นต้น
4. การส่งออก
การส่งออกผลิตภัณฑ์เภสัชกรรม ไตรมาสที่ 3 ของปี 2549 มีมูลค่า 1,923.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ
10.0 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนร้อยละ 21.8 สำหรับตลาดส่งออกผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมที่สำคัญในไตรมาสนี้ ได้แก่ เวียดนาม กัมพูชา เมียนมาร์
เบลเยียม และฟิลิปปินส์ โดยการส่งออกไปประเทศดังกล่าวมีมูลค่ารวม 1,337.2 ล้านบาท หรือร้อยละ 69.5 ของมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์
เภสัชกรรมทั้งหมด
สำหรับใน 9 เดือนของปี 2549 การส่งออกผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมมีมูลค่า 5,069.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ
11.6 สำหรับตลาดส่งออกผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมที่สำคัญใน 9 เดือนแรกของปีนี้ ได้แก่ เวียดนาม กัมพูชา เมียนมาร์ เบลเยียม และมาเลเซีย โดยการ
ส่งออกไปประเทศดังกล่าวมีมูลค่ารวม 2,682.1 ล้านบาท หรือร้อยละ 52.9 ของมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมทั้งหมด
ผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุด คือ ยารักษาโรคที่เป็นยาสำเร็จรูป ประเภทยาสามัญ ซึ่งเป็นยาในกลุ่มที่หมดสิทธิบัตรแล้ว
แต่มูลค่าการส่งออกยาสำเร็จรูปในไตรมาสที่ 3 ของปี 2549 และใน 9 เดือนของปี 2549 กลับหดตัวลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้เนื่อง
จากมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย เข้ามาเป็นคู่แข่งในตลาดส่งออกหลักของไทยมากขึ้น นอกจากนี้การส่งออกยาของไทยยังมีข้อจำกัดด้าน
มาตรฐานการผลิต ทำให้ตลาดส่งออกส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มประเทศอาเซียน สำหรับตลาดอื่น เช่น ตะวันออกกลาง และสหภาพยุโรป ผู้สั่งซื้อต้องการ
มาตรฐานการผลิตสูงมาก หากตรวจพบว่าโรงงานของผู้ผลิตไม่ผ่านมาตรฐาน ก็จะหยุดสั่งซื้อ
5. สรุป
ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในไตรมาสที่ 3 ของปี 2549 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจาก
มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นมากทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ สำหรับปริมาณการจำหน่ายปรับตัวลดลง เนื่องจากประชาชนระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น
ประกอบกับตลาดยาในประเทศมีการแข่งขันสูง ทำให้ผู้ผลิตจำหน่ายสินค้าได้น้อยลง ด้านมูลค่าการนำเข้าและการส่งออกมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยส่วน
ใหญ่เป็นการนำเข้ายาต้นตำรับและยาที่มีสิทธิบัตร และส่งออกยาสามัญซึ่งเป็นยาที่หมดสิทธิบัตรแล้ว
สำหรับไตรมาสสุดท้ายของปี 2549 คาดว่าการผลิตและการจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์ เภสัชกรรมในประเทศ จะขยายตัวเพิ่มขึ้นจาก
ไตรมาสที่ 3 เนื่องจากประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลรักษาตัวเอง มีการปรึกษาแพทย์ และเข้าโรงพยาบาลเพื่อรักษาสุขภาพมากกว่าใน
อดีต ทำให้ตลาดยาในประเทศยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง สำหรับมูลค่าการส่งออกคาดว่าจะขยายตัวดีขึ้นเช่นกัน เนื่องจากผู้ผลิตรวมถึงภาครัฐบาลพยายาม
ขยายตลาดใหม่ ๆ มากขึ้น แต่ทั้งนี้แนวโน้มการส่งออกของไทยขึ้นอยู่กับมาตรฐานของยาที่ผลิตได้ ดังนั้นผู้ผลิตในประเทศจำเป็นต้องผลิตสินค้าให้ได้
มาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ส่วนมูลค่าการนำเข้าคาดว่าจะลดลง เนื่องจากผู้นำเข้าได้นำสินค้าเข้ามามากตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 และลดการนำ
เข้าลงในไตรมาสสุดท้ายของปี เพื่อบริหารสินค้าคงคลัง
ตารางที่ 1 ปริมาณการผลิตยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในประเทศแยกตามรายผลิตภัณฑ์
หน่วย : ตัน
ประเภท ไตรมาส 2548 2549
3/2548 2/2549 3/2549 (ม.ค.—ก.ย.) (ม.ค.—ก.ย.)
ยาเม็ด 1,174.80 1,265.10 1,490.50 3,512.90 4,142.00
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 17.8
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 26.9 17.9
ยาน้ำ 3,324.60 3,079.70 3,789.30 10,289.70 10,070.20
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 23
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 14 -2.1
ยาแคปซูล 260.9 146.6 163.6 535.8 441.6
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 11.6
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -37.3 -17.6
ยาฉีด 112.8 105.3 104.4 326.8 329.1
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -0.9
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -7.4 0.7
ยาแดงทิงเจอร์ไอโอดีน 34.1 27.8 34.6 98.9 88.4
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 24.5
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 1.5 -10.6
ยาครีม 549.6 474.4 583.1 1,597.20 1,474.00
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 22.9
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 6.1 -7.7
ยาผง 1,068.60 1,103.80 1,110.30 3,001.60 3,256.90
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 0.6
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 3.9 8.5
รวม 6,525.40 6,202.70 7,275.80 19,362.90 19,802.20
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 17.3
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 11.5 2.3
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : จำนวนโรงงานที่สำรวจรวมทั้งสิ้น 34 โรงงาน (ยาเม็ด 30 โรงงาน, ยาน้ำ 29 โรงงาน, ยาแคปซูล 26 โรงงาน,
ยาฉีด 9 โรงงาน, ยาแดงทิงเจอร์ไอโอดีน 4 โรงงาน, ยาครีม 17 โรงงาน และยาผง 17 โรงงาน)
ตารางที่ 2 ปริมาณการจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในประเทศแยกตามรายผลิตภัณฑ์
หน่วย : ตัน
ประเภท ไตรมาส 2548 2549
3/2548 2/2549 3/2549 (ม.ค.—ก.ย.) (ม.ค.—ก.ย.)
ยาเม็ด 1,341.00 1,215.20 1,402.30 3,667.30 3,981.10
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 15.4
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 4.6 8.6
ยาน้ำ 3,960.20 3,540.10 4,025.00 11,785.80 11,059.30
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 13.7
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 1.6 -6.2
ยาแคปซูล 215.6 182.2 169.1 525.2 514
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -7.2
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -21.6 -2.1
ยาฉีด 83.2 84.4 82.9 251.9 261.2
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -1.8
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -0.4 3.7
ยาแดงทิงเจอร์ไอโอดีน 32.4 27.6 35.7 95 88.6
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 29.3
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 10.2 -6.7
ยาครีม 555.6 475.5 473 1,509.70 1,429.10
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -0.5
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -14.9 -5.3
ยาผง 201.1 258.4 157 483.6 570
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -39.2
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -21.9 17.9
รวม 6,389.10 5,783.40 6,345 18,318.50 17,903.30
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 9.7
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -0.7 -2.3
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : จำนวนโรงงานที่สำรวจรวมทั้งสิ้น 34 โรงงาน (ยาเม็ด 30 โรงงาน, ยาน้ำ 29 โรงงาน, ยาแคปซูล 26 โรงงาน,
ยาฉีด 9 โรงงาน, ยาแดงทิงเจอร์ไอโอดีน 4 โรงงาน, ยาครีม 17 โรงงาน และยาผง 17 โรงงาน)
: ปริมาณการจำหน่ายยาผงในประเทศน้อยกว่าปริมาณการผลิตมาก เนื่องจากมีผู้ประกอบการที่ทำการสำรวจ ผลิตเพื่อการส่ง
ออกมากกว่าการจำหน่ายในประเทศ
ตารางที่ 3 มูลค่าการนำเข้า — ส่งออกผลิตภัณฑ์เภสัชกรรม
มูลค่า (ล้านบาท) ไตรมาส 2548 2549
3/2548 2/2549 3/2549 (ม.ค.—ก.ย.) (ม.ค.—ก.ย.)
มูลค่าการนำเข้า 7,164.20 7,946.80 8,235.10 20,293.20 24,073.00
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 3.6
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 14.9 18.6
มูลค่าการส่งออก 1,748.30 1,578.80 1,923.20 4,543.90 5,069.40
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 21.8
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 10 11.6
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
หมายเหตุ : ปี 2549 เป็นตัวเลขเบื้องต้น
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-