ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ยอดคงค้างเอ็นพีแอลในระบบสถาบันการเงิน ณ สิ้นเดือน พ.ค.50 มีจำนวน 2.4 แสนล้านบาท รายงานข่าวจาก ธปท. แจ้งว่า
ยอดคงค้างเอ็นพีแอลในระบบสถาบันการเงิน ณ สิ้นเดือน พ.ค.50 มีจำนวนทั้งสิ้น 240,318 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 4.18 ของสินเชื่อรวม
เพิ่มขึ้นเกือบ 400 ล้านบาท จากไตรมาสแรกของปีนี้ โดยแยกเป็นของ ธ.พาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ 235,209 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 4.57
ของสินเชื่อรวม สาขาธนาคารต่างชาติ 2,962 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.52 บง. 1,851 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 5.18 และ บค.
295 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 67.65 ของสินเชื่อรวม สำหรับ ธ.พาณิชย์ที่มีเอ็นพีแอลรวมสูงสุดคือ ธ.กรุงไทย 64,241 ล้านบาท คิดเป็น
ร้อยละ 6.88 ของสินเชื่อรวม รองลงมาคือ ธ.กรุงเทพ 40,420 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 4.4 ธ.ทหารไทย 30,890 ล้านบาท คิดเป็น
ร้อยละ 6.08 ธ.กรุงศรีอยุธยา 28,044 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 6.3 ธ.ไทยพาณิชย์ 23,428 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 3.42 ธ.กสิกรไทย
21,998 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 3.31 และ ธ.ยูโอบี 6,660 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 4.36 ของสินเชื่อรวม ส่วนธนาคารที่มีเอ็นพีแอลต่ำสุด
คือ ธ.ไทยเครดิตเพื่อรายย่อย มีเอ็นพีแอล 27 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 6.07 ของสินเชื่อรวม รองลงมาคือ ธ.เมกะสากลพาณิชย์ 138 ล้านบาท
คิดเป็นร้อยละ 1.43 และ ธ.แลนด์แอนด์เฮ้าส์ 304 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 1.69 ของสินเชื่อรวม ทั้งนี้ ปริมาณหนี้เอ็นพีแอลในระบบสถาบัน
การเงินเพิ่มขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว (ผู้จัดการรายวัน)
2. การใช้บริการธนาคารทางอินเตอร์เน็ตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ธปท. ได้เผยแพร่รายงานระบบการชำระเงินประจำปี 49 ระบุว่า
ในปีที่ผ่านมารายได้ของ ธ.พาณิชย์จากบริการด้านการชำระเงินมีจำนวน 3.92 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มีจำนวน 3.44 หมื่นล้านบาท
เพิ่มขึ้นร้อยละ 14 โดยส่วนใหญ่มาจากการโอนเงินและเรียกเก็บเงิน บัตรเอทีเอ็มและบริการธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ และบัตรเครดิต โดยมี
สัดส่วนร้อยละ 32, 27 และ 27 ตามลำดับ ขณะที่รายได้ของสาขาธนาคารต่างชาติส่วนใหญ่มาจากบัตรเครดิต การโอนเงินและเรียกเก็บเงิน
และการดูแลและเก็บรักษาหลักทรัพย์ของลูกค้า โดยมีสัดส่วนร้อยละ 30, 26 และ 25 ตามลำดับ สำหรับการใช้บริการธนาคารทางอินเตอร์เน็ต
มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทั้งในส่วนจำนวนผู้ใช้ที่มีจำนวนสูงถึง 2,139,325 ราย เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มีจำนวน 1,852,007 ราย หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 16
ส่วนจำนวนมูลค่าการใช้บริการมีจำนวน 3.58 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มีจำนวน 2.72 ล้านล้านบาท หรือร้อยละ 32 สะท้อนให้เห็นถึง
ความนิยมที่เพิ่มมากขึ้นของบริการดังกล่าวเนื่องจากความไว้วางใจในเรื่องระบบความปลอดภัยที่น่าเชื่อถือมากขึ้น โดยสัดส่วนปริมาณการใช้บริการ
ธ.พาณิชย์แยกเป็นการชำระค่าสินค้าและบริการร้อยละ 32 การโอนเงินธนาคารเดียวกันร้อยละ 31 การจ่ายเงินเดือนและค่าจ้างร้อยละ 24
อย่างไรก็ตาม องค์กรที่ไม่ใช่สถาบันการเงินยังคงเป็นคู่แข่งสำคัญในธุรกิจบริการชำระเงิน โดยเฉพาะการโอนและการชำระเงินตามใบแจ้งหนี้
ประเภทต่าง ๆ ผ่านระบบไปรษณีย์ยังขยายตัวสูงทั้งปริมาณและมูลค่า โดยมีจำนวน 34.7 ล้านรายการ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มีจำนวน
30.7 ล้านรายการ หรือร้อยละ 13 ขณะที่มูลค่ามีจำนวน 1.07 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มีจำนวน 8.1 หมื่นบ้านบาท หรือร้อยละ 32
(มติชน, เดลินิวส์)
3. คาดว่า ธ.กลาง สรอ. จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิมร้อยละ 5.25 นายมนตรี โสคติยานุรักษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้าน
เศรษฐกิจการเงินการคลัง สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ คาดว่า การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของ ธ.กลาง สรอ. ในวันที่ 27 มิ.ย.
นี้ ธ.กลาง สรอ. จะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระเดิมร้อยละ 5.25 เนื่องจากยังไม่เห็นภาพทิศทางการชะลอตัวของเศรษฐกิจ สรอ.
อย่างชัดเจน ทำให้ ธ.กลาง สรอ. ไม่ได้เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตั้งแต่ช่วงปลายปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน โดยการพิจารณาของ ธ.กลาง สรอ.
จะดูจากตัวเลขหลักเพียง 2 ตัว คือ อัตราการว่างงานและอัตราเงินเฟ้อ ขณะที่ภาวะซบเซาของภาคอสังหาริมทรัพย์ก็ไม่ชะลอลงมากนัก จึงเชื่อว่า
ธ.กลาง สรอ. จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเดิม สำหรับผลกระทบต่อไทยนั้น หาก ธ.กลาง สรอ. คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเดิมก็จะทำให้เกิด
ส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยกับ สรอ. ร้อยละ 1.75 ซึ่งจะเป็นผลดีต่อค่าเงินบาท โดยจะทำให้เม็ดเงินที่ไหลเข้ามาหาผล
ตอบแทนในระดับสูงจากอัตราดอกเบี้ยของไทยลดลง ด้าน นางรัตนา เล็งศิริวัฒน์ ผอ.ฝ่ายวิจัย ธ.ทหารไทย กล่าวว่า ธ.กลาง สรอ. น่าจะ
ยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 5.25 เนื่องจากราคาน้ำมันยังอยู่ในระดับที่ทรงตัว ประกอบกับอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับที่ไม่สูงมากนัก
แม้ว่าตัวเลขเศรษฐกิจในไตรมาสแรกที่ผ่านมาจะขยายตัวเพียงร้อยละ 1.9 แต่ในส่วนของภาคการผลิตในเดือน พ.ค. มีการปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 55
ขณะที่ภาคบริการปรับตัวมาอยู่ที่ร้อยละ 59.7 ซึ่งบ่งบอกถึงทิศทางเศรษฐกิจของ สรอ. ว่าน่าจะมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น (ผู้จัดการรายวัน)
4. การบริโภคภาคเอกชนปีนี้จะขยายตัวเพียงร้อยละ 1.8 — 2.8 สนง.เศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ออกบทวิเคราะห์เศรษฐกิจ
เรื่องสถานการณ์การบริโภคภาคเอกชนของไทยและแนวโน้มในอนาคต ระบุว่าปัจจัยลบหลายประการตั้งแต่ปี 49 มีส่วนผลักดันให้การบริโภคภาค
เอกชนโดยรวมของไทยลดต่ำลงมาตลอด โดยคาดว่าปีนี้การบริโภครวมภาคเอกชนจะขยายตัวร้อยละ 1.8 — 2.8 ชะลอลงจากร้อยละ 3.1
ในปี 49 และหันมาบริโภคในส่วนที่เกี่ยวข้องกับภาคบริการเพิ่มขึ้น ส่วนโครงสร้างประชากรของไทยในอนาคตก็จะเปลี่ยนแปลงไป การเพิ่มขึ้น
ของเพศหญิงจะมากกว่าเพศชาย มีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น สัดส่วนผู้อาศัยในเขตเมืองทั่วประเทศจะเพิ่มขึ้น และในระยะยาวสังคมไทยอาจกลายเป็น
สังคมผู้สูงอายุได้ สิ่งเหล่านี้จะทำให้ความต้องการในสินค้าสำหรับสตรีมีมากขึ้น การใช้จ่ายเกี่ยวกับการซื้อสินค้าหรือการบริการเพื่อสุขภาพ
ตลอดจนการใช้จ่ายด้านการท่องเที่ยวและการพักผ่อนจะเพิ่มมากขึ้น (โพสต์ทูเดย์, ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. BIS กล่าวว่า ธ.กลางทั่วโลกควรที่จะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อควบคุมภาวะเงินเฟ้อ รายงานจาก Basel,
Switzerland เมื่อวันที่ 24 มิ.ย. 50 นาย Malcolm Knight ผู้จัดการทั่วไป Bank for International Settlements — BIS
กล่าวภายหลังการประชุม ผวก. ธ.กลาง 250 ประเทศทั่วโลก ว่า ธ.กลางของประเทศต่างๆทั่วโลกควรที่จะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
อย่างต่อเนื่องเพื่อควบคุมภาวะเงินเฟ้อ ทั้งนี้ที่ผ่านมาเศรษฐกิจโลกขยายตัวอย่างต่อเนื่องสูงกว่าร้อยละ 4.0 ติดต่อกันเป็นปีที่ 5 แล้วอย่างไร
ก็ตามปัจจุบันมีความเสี่ยงจากภาวะการเงินที่เกิดขึ้น และเห็นว่าการดำเนินนโยบายการเงินอย่างเข้มงวดจะเป็นผลดีต่อตลาดการเงินที่ยังคง
มีความเสี่ยงสูงที่เกิดจากสินทรัพย์และค่าเงินตราสกุลต่างๆ รวมทั้งสภาพคล่องส่วนเกินและต้นทุนการกู้ยืมที่ยังคงอยู่ในระดับต่ำเป็นประวัติการณ์
อย่างไรก็ตามการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดยังคงมีความจำเป็นต้องเนื่องจากมีแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ โดยบรรดานายธนาคารกลาง
หลายคนต่างวิตกเกี่ยวกับสภาพคล่องส่วนเกินที่ขยายตัวอย่างมาก ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการกู้ยืมทั่วโลก ทั้งนี้คาดว่า ธ.กลางของประเทศต่างๆ
อาทิ อังกฤษ ญี่ปุ่น และ ธ.กลางยุโรปจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก ส่วน สรอ. ตลาดคาดหวังว่า ธ.กลางจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย
นโยบาย (รอยเตอร์)
2. รอยเตอร์คาดว่าความเชื่อมั่นของผู้ผลิตรายใหญ่ในญี่ปุ่นในไตรมาสที่ 2 ปี 50 ยังคงอยู่ในระดับสูงเท่ากับไตรมาสก่อน รายงาน
จากโตเกียว เมื่อ 22 มิ.ย.50 ผลสำรวจความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์โดยรอยเตอร์คาดว่าดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของผู้ผลิตรายใหญ่ในญี่ปุ่น
สำหรับไตรมาสที่ 2 ปี 50 จากผลสำรวจโดย ธ.กลางญี่ปุ่นหรือที่เรียกว่า BOJ Tankan ซึ่งมีความหมายว่าแนวโน้มเศรษฐกิจระยะสั้นและ
มีกำหนดจะรายงานอย่างเป็นทางการในวันที่ 2 ก.ค.50 นี้จะยังคงที่อยู่ที่ระดับ +23 เท่ากับไตรมาสก่อน เทียบกับ Reuters Tankan เมื่อ
เร็ว ๆ นี้ซึ่งเป็นผลสำรวจรายเดือนโดยรอยเตอร์และใช้ชี้แนวโน้มของ BOJ Tankan ที่เพิ่มขึ้นมาอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 5 เดือนที่ +31
ในเดือน มิ.ย.50 เพิ่มขึ้น 3 จุดจากเดือน มี.ค.50 ดัชนีดังกล่าวได้จากการนำร้อยละของผู้ผลิตที่ตอบว่าสถานการณ์ธุรกิจของตนไม่ดีมา
ลบออกจากร้อยละของผู้ที่ตอบว่าดี ดังนั้นหากดัชนีมีค่าเป็นบวกก็แสดงว่าผู้ที่ตอบว่าดีมีมากกว่าที่ตอบว่าไม่ดี ทั้งนี้เป็นผลจากความต้องการใน
ประเทศที่เพิ่มสูงขึ้นจากการลงทุนเพิ่มของผู้ประกอบการทั้งที่อยู่ในภาคการผลิตและภาคบริการ ในขณะที่การใช้จ่ายภาคครัวเรือนก็เพิ่มขึ้นจาก
การฟื้นตัวของตลาดแรงงานและการส่งออกยังคงขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี โดยคำสั่งซื้อจากประเทศในเอเชียและยุโรปสามารถชดเชยกับความ
ต้องการที่ลดลงจาก สรอ. นักเศรษฐศาสตร์จึงคาดว่า ธ.กลางญี่ปุ่นจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงไตรมาสที่ 3 ปีนี้โดยมีความเป็นไปได้
มากที่จะเป็นในเดือน ส.ค.50 นี้ (รอยเตอร์)
3. คาดว่าในปีนี้อัตราเงินเฟ้อของจีนจะประมาณร้อยละ 3.0 รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 24 มิ.ย. 50 นาย Yi Gang
ผช.ผวก ธ.กลางจีน เปิดเผยว่าในปีนี้คาดว่าอัตราเงินเฟ้อของจีนจะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 3.0 และรัฐบาลจีนเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง
ยังคงเป็นบวกซึ่งทางการจีนได้เฝ้าจับตามองอย่างใกล้ชิดเกี่ยวกับภาวะเงินเฟ้อที่ทำสถิติสูงสุดในรอบ 27 เดือนที่ร้อยละ 3.4 เมื่อเดือน พ.ค.
ที่ผ่านมา เนื่องจากราคาอาหาร อาทิ เนื้อหมูสูงขึ้น ซึ่งทางการจีนมีความตื่นตัวที่จะดูแลอัตราเงินเฟ้อตลอดทั้งปีนี้ให้อยู่ที่ร้อยละ 3.0 ซึ่ง
นาย Zhou Xiaachuan กล่าวกับรอยเตอร์ว่า อัตราเงินเฟ้ออาจจะยังคงเพิ่มขึ้นแม้ว่าทางการจะได้ดำเนินนโยบายทางการเงินอย่างเข้มงวด
แล้วก็ตาม จึงไม่อาจที่จะหลีกเลี่ยงการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายได้ โดยเขามิได้เปิดเผยว่าจะมีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเมื่อใด แต่ที่
สำคัญที่สุดคือต้องพยายามรักษาอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงให้เป็นบวก เนื่องจากหากอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงติดลบเป็นระยะเวลานานจะไม่เป็นผลดี
ต่อเศรษฐกิจของจีน (รอยเตอร์)
4. ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคชาวเกาหลีใต้ในไตรมาสที่ 2 ปี 50 เพิ่มขึ้นมาอยู่ในระดับสูงสุดในรอบกว่า 1 ปี รายงานจากโซล
เมื่อ 25 มิ.ย.50 ธ.กลางเกาหลีใต้รายงานผลสำรวจความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 108 ในไตรมาสที่ 2 ปี 50 อยู่ในระดับ
สูงสุดนับตั้งแต่อยู่ที่ระดับ 109 ในไตรมาสแรกปี 49 โดยความเชื่อมั่นของผู้บริโภคดีขึ้นอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ปี 49 เป็นต้นมาจาก
ระดับ 98 ในไตรมาสสุดท้ายปี 49 และ 103 ในไตรมาสแรกปี 50 ตามลำดับ ทั้งนี้ตัวเลขดัชนีที่สูงกว่า 100 มีความหมายว่าผู้บริโภคส่วนใหญ่
คาดว่าเศรษฐกิจและภาวะการครองชีพในช่วง 6 เดือนข้างหน้าจะดีขึ้น แต่อย่างไรก็ดี ธ.กลางเกาหลีใต้คาดว่าเศรษฐกิจในปีนี้จะขยายตัว
ร้อยละ 4.4 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 5.0 และร้อยละ 4.2 ต่อปีในปี 49 และปี 48 ตามลำดับ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 25 มิ.ย. 50 22 มิ.ย. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 34.610 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 34.3992/34.7303 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.67594 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 772.05/19.59 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,650/10,750 10,650/10,750 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 66.61 65.45 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 29.99*/25.34** 29.99*/25.34** 26.49/23.34 ปตท
* ปรับเลดเมื่อ 2 มิ.ย. 50 , ** ปรับเพิ่มเมื่อ 26 เม.ย. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ยอดคงค้างเอ็นพีแอลในระบบสถาบันการเงิน ณ สิ้นเดือน พ.ค.50 มีจำนวน 2.4 แสนล้านบาท รายงานข่าวจาก ธปท. แจ้งว่า
ยอดคงค้างเอ็นพีแอลในระบบสถาบันการเงิน ณ สิ้นเดือน พ.ค.50 มีจำนวนทั้งสิ้น 240,318 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 4.18 ของสินเชื่อรวม
เพิ่มขึ้นเกือบ 400 ล้านบาท จากไตรมาสแรกของปีนี้ โดยแยกเป็นของ ธ.พาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ 235,209 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 4.57
ของสินเชื่อรวม สาขาธนาคารต่างชาติ 2,962 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.52 บง. 1,851 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 5.18 และ บค.
295 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 67.65 ของสินเชื่อรวม สำหรับ ธ.พาณิชย์ที่มีเอ็นพีแอลรวมสูงสุดคือ ธ.กรุงไทย 64,241 ล้านบาท คิดเป็น
ร้อยละ 6.88 ของสินเชื่อรวม รองลงมาคือ ธ.กรุงเทพ 40,420 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 4.4 ธ.ทหารไทย 30,890 ล้านบาท คิดเป็น
ร้อยละ 6.08 ธ.กรุงศรีอยุธยา 28,044 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 6.3 ธ.ไทยพาณิชย์ 23,428 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 3.42 ธ.กสิกรไทย
21,998 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 3.31 และ ธ.ยูโอบี 6,660 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 4.36 ของสินเชื่อรวม ส่วนธนาคารที่มีเอ็นพีแอลต่ำสุด
คือ ธ.ไทยเครดิตเพื่อรายย่อย มีเอ็นพีแอล 27 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 6.07 ของสินเชื่อรวม รองลงมาคือ ธ.เมกะสากลพาณิชย์ 138 ล้านบาท
คิดเป็นร้อยละ 1.43 และ ธ.แลนด์แอนด์เฮ้าส์ 304 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 1.69 ของสินเชื่อรวม ทั้งนี้ ปริมาณหนี้เอ็นพีแอลในระบบสถาบัน
การเงินเพิ่มขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว (ผู้จัดการรายวัน)
2. การใช้บริการธนาคารทางอินเตอร์เน็ตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ธปท. ได้เผยแพร่รายงานระบบการชำระเงินประจำปี 49 ระบุว่า
ในปีที่ผ่านมารายได้ของ ธ.พาณิชย์จากบริการด้านการชำระเงินมีจำนวน 3.92 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มีจำนวน 3.44 หมื่นล้านบาท
เพิ่มขึ้นร้อยละ 14 โดยส่วนใหญ่มาจากการโอนเงินและเรียกเก็บเงิน บัตรเอทีเอ็มและบริการธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ และบัตรเครดิต โดยมี
สัดส่วนร้อยละ 32, 27 และ 27 ตามลำดับ ขณะที่รายได้ของสาขาธนาคารต่างชาติส่วนใหญ่มาจากบัตรเครดิต การโอนเงินและเรียกเก็บเงิน
และการดูแลและเก็บรักษาหลักทรัพย์ของลูกค้า โดยมีสัดส่วนร้อยละ 30, 26 และ 25 ตามลำดับ สำหรับการใช้บริการธนาคารทางอินเตอร์เน็ต
มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทั้งในส่วนจำนวนผู้ใช้ที่มีจำนวนสูงถึง 2,139,325 ราย เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มีจำนวน 1,852,007 ราย หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 16
ส่วนจำนวนมูลค่าการใช้บริการมีจำนวน 3.58 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มีจำนวน 2.72 ล้านล้านบาท หรือร้อยละ 32 สะท้อนให้เห็นถึง
ความนิยมที่เพิ่มมากขึ้นของบริการดังกล่าวเนื่องจากความไว้วางใจในเรื่องระบบความปลอดภัยที่น่าเชื่อถือมากขึ้น โดยสัดส่วนปริมาณการใช้บริการ
ธ.พาณิชย์แยกเป็นการชำระค่าสินค้าและบริการร้อยละ 32 การโอนเงินธนาคารเดียวกันร้อยละ 31 การจ่ายเงินเดือนและค่าจ้างร้อยละ 24
อย่างไรก็ตาม องค์กรที่ไม่ใช่สถาบันการเงินยังคงเป็นคู่แข่งสำคัญในธุรกิจบริการชำระเงิน โดยเฉพาะการโอนและการชำระเงินตามใบแจ้งหนี้
ประเภทต่าง ๆ ผ่านระบบไปรษณีย์ยังขยายตัวสูงทั้งปริมาณและมูลค่า โดยมีจำนวน 34.7 ล้านรายการ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มีจำนวน
30.7 ล้านรายการ หรือร้อยละ 13 ขณะที่มูลค่ามีจำนวน 1.07 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มีจำนวน 8.1 หมื่นบ้านบาท หรือร้อยละ 32
(มติชน, เดลินิวส์)
3. คาดว่า ธ.กลาง สรอ. จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิมร้อยละ 5.25 นายมนตรี โสคติยานุรักษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้าน
เศรษฐกิจการเงินการคลัง สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ คาดว่า การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของ ธ.กลาง สรอ. ในวันที่ 27 มิ.ย.
นี้ ธ.กลาง สรอ. จะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระเดิมร้อยละ 5.25 เนื่องจากยังไม่เห็นภาพทิศทางการชะลอตัวของเศรษฐกิจ สรอ.
อย่างชัดเจน ทำให้ ธ.กลาง สรอ. ไม่ได้เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตั้งแต่ช่วงปลายปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน โดยการพิจารณาของ ธ.กลาง สรอ.
จะดูจากตัวเลขหลักเพียง 2 ตัว คือ อัตราการว่างงานและอัตราเงินเฟ้อ ขณะที่ภาวะซบเซาของภาคอสังหาริมทรัพย์ก็ไม่ชะลอลงมากนัก จึงเชื่อว่า
ธ.กลาง สรอ. จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเดิม สำหรับผลกระทบต่อไทยนั้น หาก ธ.กลาง สรอ. คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเดิมก็จะทำให้เกิด
ส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยกับ สรอ. ร้อยละ 1.75 ซึ่งจะเป็นผลดีต่อค่าเงินบาท โดยจะทำให้เม็ดเงินที่ไหลเข้ามาหาผล
ตอบแทนในระดับสูงจากอัตราดอกเบี้ยของไทยลดลง ด้าน นางรัตนา เล็งศิริวัฒน์ ผอ.ฝ่ายวิจัย ธ.ทหารไทย กล่าวว่า ธ.กลาง สรอ. น่าจะ
ยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 5.25 เนื่องจากราคาน้ำมันยังอยู่ในระดับที่ทรงตัว ประกอบกับอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับที่ไม่สูงมากนัก
แม้ว่าตัวเลขเศรษฐกิจในไตรมาสแรกที่ผ่านมาจะขยายตัวเพียงร้อยละ 1.9 แต่ในส่วนของภาคการผลิตในเดือน พ.ค. มีการปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 55
ขณะที่ภาคบริการปรับตัวมาอยู่ที่ร้อยละ 59.7 ซึ่งบ่งบอกถึงทิศทางเศรษฐกิจของ สรอ. ว่าน่าจะมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น (ผู้จัดการรายวัน)
4. การบริโภคภาคเอกชนปีนี้จะขยายตัวเพียงร้อยละ 1.8 — 2.8 สนง.เศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ออกบทวิเคราะห์เศรษฐกิจ
เรื่องสถานการณ์การบริโภคภาคเอกชนของไทยและแนวโน้มในอนาคต ระบุว่าปัจจัยลบหลายประการตั้งแต่ปี 49 มีส่วนผลักดันให้การบริโภคภาค
เอกชนโดยรวมของไทยลดต่ำลงมาตลอด โดยคาดว่าปีนี้การบริโภครวมภาคเอกชนจะขยายตัวร้อยละ 1.8 — 2.8 ชะลอลงจากร้อยละ 3.1
ในปี 49 และหันมาบริโภคในส่วนที่เกี่ยวข้องกับภาคบริการเพิ่มขึ้น ส่วนโครงสร้างประชากรของไทยในอนาคตก็จะเปลี่ยนแปลงไป การเพิ่มขึ้น
ของเพศหญิงจะมากกว่าเพศชาย มีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น สัดส่วนผู้อาศัยในเขตเมืองทั่วประเทศจะเพิ่มขึ้น และในระยะยาวสังคมไทยอาจกลายเป็น
สังคมผู้สูงอายุได้ สิ่งเหล่านี้จะทำให้ความต้องการในสินค้าสำหรับสตรีมีมากขึ้น การใช้จ่ายเกี่ยวกับการซื้อสินค้าหรือการบริการเพื่อสุขภาพ
ตลอดจนการใช้จ่ายด้านการท่องเที่ยวและการพักผ่อนจะเพิ่มมากขึ้น (โพสต์ทูเดย์, ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. BIS กล่าวว่า ธ.กลางทั่วโลกควรที่จะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อควบคุมภาวะเงินเฟ้อ รายงานจาก Basel,
Switzerland เมื่อวันที่ 24 มิ.ย. 50 นาย Malcolm Knight ผู้จัดการทั่วไป Bank for International Settlements — BIS
กล่าวภายหลังการประชุม ผวก. ธ.กลาง 250 ประเทศทั่วโลก ว่า ธ.กลางของประเทศต่างๆทั่วโลกควรที่จะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
อย่างต่อเนื่องเพื่อควบคุมภาวะเงินเฟ้อ ทั้งนี้ที่ผ่านมาเศรษฐกิจโลกขยายตัวอย่างต่อเนื่องสูงกว่าร้อยละ 4.0 ติดต่อกันเป็นปีที่ 5 แล้วอย่างไร
ก็ตามปัจจุบันมีความเสี่ยงจากภาวะการเงินที่เกิดขึ้น และเห็นว่าการดำเนินนโยบายการเงินอย่างเข้มงวดจะเป็นผลดีต่อตลาดการเงินที่ยังคง
มีความเสี่ยงสูงที่เกิดจากสินทรัพย์และค่าเงินตราสกุลต่างๆ รวมทั้งสภาพคล่องส่วนเกินและต้นทุนการกู้ยืมที่ยังคงอยู่ในระดับต่ำเป็นประวัติการณ์
อย่างไรก็ตามการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดยังคงมีความจำเป็นต้องเนื่องจากมีแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ โดยบรรดานายธนาคารกลาง
หลายคนต่างวิตกเกี่ยวกับสภาพคล่องส่วนเกินที่ขยายตัวอย่างมาก ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการกู้ยืมทั่วโลก ทั้งนี้คาดว่า ธ.กลางของประเทศต่างๆ
อาทิ อังกฤษ ญี่ปุ่น และ ธ.กลางยุโรปจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก ส่วน สรอ. ตลาดคาดหวังว่า ธ.กลางจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย
นโยบาย (รอยเตอร์)
2. รอยเตอร์คาดว่าความเชื่อมั่นของผู้ผลิตรายใหญ่ในญี่ปุ่นในไตรมาสที่ 2 ปี 50 ยังคงอยู่ในระดับสูงเท่ากับไตรมาสก่อน รายงาน
จากโตเกียว เมื่อ 22 มิ.ย.50 ผลสำรวจความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์โดยรอยเตอร์คาดว่าดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของผู้ผลิตรายใหญ่ในญี่ปุ่น
สำหรับไตรมาสที่ 2 ปี 50 จากผลสำรวจโดย ธ.กลางญี่ปุ่นหรือที่เรียกว่า BOJ Tankan ซึ่งมีความหมายว่าแนวโน้มเศรษฐกิจระยะสั้นและ
มีกำหนดจะรายงานอย่างเป็นทางการในวันที่ 2 ก.ค.50 นี้จะยังคงที่อยู่ที่ระดับ +23 เท่ากับไตรมาสก่อน เทียบกับ Reuters Tankan เมื่อ
เร็ว ๆ นี้ซึ่งเป็นผลสำรวจรายเดือนโดยรอยเตอร์และใช้ชี้แนวโน้มของ BOJ Tankan ที่เพิ่มขึ้นมาอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 5 เดือนที่ +31
ในเดือน มิ.ย.50 เพิ่มขึ้น 3 จุดจากเดือน มี.ค.50 ดัชนีดังกล่าวได้จากการนำร้อยละของผู้ผลิตที่ตอบว่าสถานการณ์ธุรกิจของตนไม่ดีมา
ลบออกจากร้อยละของผู้ที่ตอบว่าดี ดังนั้นหากดัชนีมีค่าเป็นบวกก็แสดงว่าผู้ที่ตอบว่าดีมีมากกว่าที่ตอบว่าไม่ดี ทั้งนี้เป็นผลจากความต้องการใน
ประเทศที่เพิ่มสูงขึ้นจากการลงทุนเพิ่มของผู้ประกอบการทั้งที่อยู่ในภาคการผลิตและภาคบริการ ในขณะที่การใช้จ่ายภาคครัวเรือนก็เพิ่มขึ้นจาก
การฟื้นตัวของตลาดแรงงานและการส่งออกยังคงขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี โดยคำสั่งซื้อจากประเทศในเอเชียและยุโรปสามารถชดเชยกับความ
ต้องการที่ลดลงจาก สรอ. นักเศรษฐศาสตร์จึงคาดว่า ธ.กลางญี่ปุ่นจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงไตรมาสที่ 3 ปีนี้โดยมีความเป็นไปได้
มากที่จะเป็นในเดือน ส.ค.50 นี้ (รอยเตอร์)
3. คาดว่าในปีนี้อัตราเงินเฟ้อของจีนจะประมาณร้อยละ 3.0 รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 24 มิ.ย. 50 นาย Yi Gang
ผช.ผวก ธ.กลางจีน เปิดเผยว่าในปีนี้คาดว่าอัตราเงินเฟ้อของจีนจะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 3.0 และรัฐบาลจีนเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง
ยังคงเป็นบวกซึ่งทางการจีนได้เฝ้าจับตามองอย่างใกล้ชิดเกี่ยวกับภาวะเงินเฟ้อที่ทำสถิติสูงสุดในรอบ 27 เดือนที่ร้อยละ 3.4 เมื่อเดือน พ.ค.
ที่ผ่านมา เนื่องจากราคาอาหาร อาทิ เนื้อหมูสูงขึ้น ซึ่งทางการจีนมีความตื่นตัวที่จะดูแลอัตราเงินเฟ้อตลอดทั้งปีนี้ให้อยู่ที่ร้อยละ 3.0 ซึ่ง
นาย Zhou Xiaachuan กล่าวกับรอยเตอร์ว่า อัตราเงินเฟ้ออาจจะยังคงเพิ่มขึ้นแม้ว่าทางการจะได้ดำเนินนโยบายทางการเงินอย่างเข้มงวด
แล้วก็ตาม จึงไม่อาจที่จะหลีกเลี่ยงการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายได้ โดยเขามิได้เปิดเผยว่าจะมีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเมื่อใด แต่ที่
สำคัญที่สุดคือต้องพยายามรักษาอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงให้เป็นบวก เนื่องจากหากอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงติดลบเป็นระยะเวลานานจะไม่เป็นผลดี
ต่อเศรษฐกิจของจีน (รอยเตอร์)
4. ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคชาวเกาหลีใต้ในไตรมาสที่ 2 ปี 50 เพิ่มขึ้นมาอยู่ในระดับสูงสุดในรอบกว่า 1 ปี รายงานจากโซล
เมื่อ 25 มิ.ย.50 ธ.กลางเกาหลีใต้รายงานผลสำรวจความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 108 ในไตรมาสที่ 2 ปี 50 อยู่ในระดับ
สูงสุดนับตั้งแต่อยู่ที่ระดับ 109 ในไตรมาสแรกปี 49 โดยความเชื่อมั่นของผู้บริโภคดีขึ้นอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ปี 49 เป็นต้นมาจาก
ระดับ 98 ในไตรมาสสุดท้ายปี 49 และ 103 ในไตรมาสแรกปี 50 ตามลำดับ ทั้งนี้ตัวเลขดัชนีที่สูงกว่า 100 มีความหมายว่าผู้บริโภคส่วนใหญ่
คาดว่าเศรษฐกิจและภาวะการครองชีพในช่วง 6 เดือนข้างหน้าจะดีขึ้น แต่อย่างไรก็ดี ธ.กลางเกาหลีใต้คาดว่าเศรษฐกิจในปีนี้จะขยายตัว
ร้อยละ 4.4 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 5.0 และร้อยละ 4.2 ต่อปีในปี 49 และปี 48 ตามลำดับ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 25 มิ.ย. 50 22 มิ.ย. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 34.610 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 34.3992/34.7303 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.67594 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 772.05/19.59 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,650/10,750 10,650/10,750 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 66.61 65.45 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 29.99*/25.34** 29.99*/25.34** 26.49/23.34 ปตท
* ปรับเลดเมื่อ 2 มิ.ย. 50 , ** ปรับเพิ่มเมื่อ 26 เม.ย. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--