นายกรัฐมนตรีต้องกล้าหาญให้ครบวงจร
โดย บัญญัติ บรรทัดฐาน
5 เมษายน 2550
เมื่อวันที่ 27 มีนาคม ที่ผ่านมา กล่าวได้ว่านายกรัฐมนตรี พลเอกสุรยุทธ์ ได้แถลงในเรื่องสำคัญที่มีความหมายทางการเมือง ทั้งต่อตัวนายกรัฐมนตรีเองและต่อการเมือง โดยส่วนรวมของประเทศมากที่สุดครั้งหนึ่ง นับตั้งแต่เป็นนายกรัฐมนตรีมาจนถึงทุกวันนี้
นั่นก็คือ การแถลงว่า ยังไม่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อใช้อำนาจตาม พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน เพราะสถานการณ์ที่เป็นอยู่ยังไม่เข้าข่ายตามกฎหมาย พร้อม ๆ กับมีการแถลงถึงวันเลือกตั้ง ส.ส. อันเป็นการเลือกตั้งทั่วไปว่า ถ้าไม่เป็นวันที่ 16 ธันวาคม ก็จะเป็นวันที่ 23 ธันวาคม 2550 ซึ่งในทางการเมืองต้องถือว่าเป็นการแสดงจุดยืนอันแน่วแน่ ควรแก่การชื่นชม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการไม่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินนั้นได้แสดงให้เห็นถึงความเข้าใจในสถานการณ์ และมีความทันเกมทางการเมือง ซึ่งดูจะได้รับความชื่นชมจากคอการเมืองทั้งหลายไม่น้อยเลยทีเดียว
แต่อย่างไรก็ตามที่ผมค่อนข้างจะรู้สึกประหลาดใจอยู่มากก็คือ การประกาศกำหนดวันเลือกตั้งที่ชัดเจนแน่นอน ซึ่งโดยปกติแล้วควรจะได้รับการขานรับจากทุกวงการ ด้วยความยินดีที่จะได้เห็นบรรยากาศของความเป็นประชาธิปไตยในประเทศกลับคืนมา แต่พอเอาเข้าจริงก็เฉย ๆ เสียเป็นส่วนใหญ่และที่กลับไม่ค่อยแน่ใจเสียอีกก็มี
เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น ผมเข้าใจว่าน่าจะเป็นด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ
1. มีข่าวลือ ข่าวปล่อย เกี่ยวกับความไม่แน่นอนของสถานการณ์มาโดยตลอด รวมทั้งมีคลื่นการเมืองทั้งบนน้ำและใต้น้ำ เพิ่มกระแสการเคลื่อนไหวอย่างไม่หยุดยั้ง
2. ภาพรวมของความเป็นเอกภาพระหว่างรัฐบาลและคมช. ยังไม่มีความชัดเจนพอที่จะทำให้ประชาชนเกิดความเชื่อมั่นได้ว่าจะไม่ขัดแย้งกันเองและจะสามารถควบคุมสถานการณ์ได้จริง
3. ความเชื่อมั่นที่มีต่อรัฐบาลลดลง เพราะรัฐบาลขาดความแน่วแน่ และไม่ได้ดำเนินงานอย่างมียุทธศาสตร์ที่สอดคล้องกับปัญหาและสถานการณ์
4. การที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติไม่ให้ความเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.วิชาชีพสาธารณสุขที่รัฐบาลเสนอเมื่อสัปดาห์ก่อนก็เป็นเหตุซ้ำเติมให้เกิดความไม่มั่นใจในรัฐบาล และความไม่แน่ใจในสถานการณ์เพิ่มขึ้น
5. ประชาชนประสบปัญหาเพิ่มมากขึ้นมีความรู้สึกผิดหวังในการแก้ไขปัญหาของรัฐบาล จึงเกิดความเฉื่อยชาทางการเมืองไม่ค่อยยินดียินร้ายกับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่จะมีขึ้น
ผมเชื่อว่าเหตุผลที่ประมวลมานี้ล้วนประกอบกันเป็นปัจจัยที่ได้ก่อให้เกิดความสับสน และไม่มั่นใจได้ด้วยกันทั้งสิ้น ก็ถึงขนาดที่คณะรัฐมนตรีด้วยกันเองต้องมีการประชุมลับ เพื่อพิจารณาถึงเหตุแห่งความสับสนของสถานการณ์ เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา แล้วจะไม่ให้ประชาชนต้องสับสนและมั่นใจได้อย่างไร
เมื่อมาถึงขณะนี้และเมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนี้ผมจึงเห็นว่ารัฐบาลโดยเฉพาะอย่างยิ่งนายกรัฐมนตรี พลเอกสุรยุทธ์ ก็ไม่อาจที่จะนิ่งนอนใจต่อไปได้แล้ว ก่อนที่ภาวะกว่าถั่วจะสุก งาก็ไหม้ จะเกิดขึ้น เพราะฉะนั้นเมื่อนายกรัฐมนตรี พลเอกสุรยุทธ์ ได้แสดงความกล้าหาญด้วยการประกาศกำหนดวันเลือกตั้งไว้ล่วงหน้าแล้วเช่นนี้ ก็ต้องแสดงความกล้าหาญต่อไปอีกด้วยการดำเนินการเพื่อลดความสับสน และสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นให้ได้ ซึ่งก็ควรจะได้ดำเนินการดังต่อไปนี้ กล่าวคือ
1. รัฐบาลต้องเป็นศูนย์กลาง ในการดำเนินการอย่างมียุทธศาสตร์ร่วมกันระหว่าง รัฐบาล คมช. และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. เพื่อแก้ไขปัญหาชาติ ทั้งที่เป็นเหตุอ้างของการยึดอำนาจทั้ง 4 ข้อและรวมทั้งปัญหาอื่น ๆ อย่างจริงจัง
2. รัฐบาลต้องควบคุมบังคับปัญชาให้ทุกกระทรวง ทบวง กรม ให้ความร่วมมือกับ คตส. อย่างเต็มที่และควรจะจัดให้มีมติ ครม. ที่คตส. ต้องการคือ มติครม.ที่กำหนดให้ข้าราชการและพนักงานของรัฐต้องถือเป็นหน้าที่ในการให้ความร่วมมือกับ คตส. โดยไม่ชักช้า มิฉะนั้นอาจถือได้ว่าเป็นการทำผิดวินัยและผิดกฎหมายว่าด้วยการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ทั้งนี้เพื่อให้งานของ คตส. ได้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี และเพื่อลบล้างความรู้สึกในทางที่ไม่ดีต่อรัฐบาล ว่าขาดความแน่วแน่และเป็นพวกใส่เกียร์ว่างเสียเอง
3. รัฐบาลต้องจัดดำเนินการให้มีการใช้สื่อของรัฐในการเสริมสร้างบรรยากาศของการจัดทำรัฐธรรมนูญอย่างเต็มที่เพื่อสร้างความมีส่วนร่วมอย่างมีความเข้าใจในรัฐธรรมนูญ พร้อม ๆ กับการเสริมสร้างบรรยากาศของการเตรียมการเลือกตั้งไปในเวลาเดียวกันด้วย
4. รัฐบาลต้องเร่งพิจารณากำหนดวันเวลาที่เหมาะสมในการยกเลิก ประกาศ คปค. ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการห้ามพรรคการเมืองทำกิจกรรมทางการเมือง ซึ่งไม่ควรจะล่าช้าจนเกินไป เพราะไม่เพียงแต่จะสอดรับกับการเตรียมการเลือกตั้งใหม่ตามวันเวลาที่ได้ประกาศไว้แล้วเท่านั้น หากแต่ยังจะได้ช่วยให้ประชาชนได้เข้าใจการเมืองและพรรคการเมืองมากยิ่งขึ้น
5. รัฐบาลต้องมีความกล้าหาญที่จะกำหนดให้การจัดการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ยุติธรรม เป็นวาระแห่งชาติ พร้อม ๆ กับการสนับสนุนส่งเสริมให้ กกต. และองค์กรเกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชน ทุกองค์กรมีความพร้อมในการร่วมกันทำภารกิจอันเป็นวาระแห่งชาติดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพ
เมื่อนายกรัฐมนตรี พลเอกสุรยุทธ์ เริ่มตั้งหลักได้ และเริ่มมีความกล้าหาญมากขึ้นแล้ว ถ้าจะได้มีความกล้าหาญเพิ่มมากขึ้นอีกตามที่กล่าวมาแล้วคือ กล้าหาญในการดำรงความมุ่งหมายของการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ซึ่งทำให้ตนเองได้ก้าวขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรี กล้าหาญในการยกเลิกประกาศ คปค. ให้พรรคการเมืองเข้ามาทำกิจกรรมได้ในเวลาที่ไม่ช้าจนเกินไป และกล้าหาญในการประกาศให้การเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ ยุติธรรม เป็นวาระแห่งชาติ และทำให้เป็นจริงให้ได้ ถ้ากล้าหาญที่จะทำให้ได้เช่นนี้แล้ว ก็จะสามารถเรียกคืนความเชื่อมั่นจากประชาชนได้และจะเป็นคุณูปการอย่างใหญ่หลวงทั้งต่อการปฏิรูปการเมืองของชาติและทั้งต่อเกียรติประวัติของ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เองในเวลาเดียวกัน.
********************************************
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 5 เม.ย. 2550--จบ--
โดย บัญญัติ บรรทัดฐาน
5 เมษายน 2550
เมื่อวันที่ 27 มีนาคม ที่ผ่านมา กล่าวได้ว่านายกรัฐมนตรี พลเอกสุรยุทธ์ ได้แถลงในเรื่องสำคัญที่มีความหมายทางการเมือง ทั้งต่อตัวนายกรัฐมนตรีเองและต่อการเมือง โดยส่วนรวมของประเทศมากที่สุดครั้งหนึ่ง นับตั้งแต่เป็นนายกรัฐมนตรีมาจนถึงทุกวันนี้
นั่นก็คือ การแถลงว่า ยังไม่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อใช้อำนาจตาม พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน เพราะสถานการณ์ที่เป็นอยู่ยังไม่เข้าข่ายตามกฎหมาย พร้อม ๆ กับมีการแถลงถึงวันเลือกตั้ง ส.ส. อันเป็นการเลือกตั้งทั่วไปว่า ถ้าไม่เป็นวันที่ 16 ธันวาคม ก็จะเป็นวันที่ 23 ธันวาคม 2550 ซึ่งในทางการเมืองต้องถือว่าเป็นการแสดงจุดยืนอันแน่วแน่ ควรแก่การชื่นชม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการไม่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินนั้นได้แสดงให้เห็นถึงความเข้าใจในสถานการณ์ และมีความทันเกมทางการเมือง ซึ่งดูจะได้รับความชื่นชมจากคอการเมืองทั้งหลายไม่น้อยเลยทีเดียว
แต่อย่างไรก็ตามที่ผมค่อนข้างจะรู้สึกประหลาดใจอยู่มากก็คือ การประกาศกำหนดวันเลือกตั้งที่ชัดเจนแน่นอน ซึ่งโดยปกติแล้วควรจะได้รับการขานรับจากทุกวงการ ด้วยความยินดีที่จะได้เห็นบรรยากาศของความเป็นประชาธิปไตยในประเทศกลับคืนมา แต่พอเอาเข้าจริงก็เฉย ๆ เสียเป็นส่วนใหญ่และที่กลับไม่ค่อยแน่ใจเสียอีกก็มี
เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น ผมเข้าใจว่าน่าจะเป็นด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ
1. มีข่าวลือ ข่าวปล่อย เกี่ยวกับความไม่แน่นอนของสถานการณ์มาโดยตลอด รวมทั้งมีคลื่นการเมืองทั้งบนน้ำและใต้น้ำ เพิ่มกระแสการเคลื่อนไหวอย่างไม่หยุดยั้ง
2. ภาพรวมของความเป็นเอกภาพระหว่างรัฐบาลและคมช. ยังไม่มีความชัดเจนพอที่จะทำให้ประชาชนเกิดความเชื่อมั่นได้ว่าจะไม่ขัดแย้งกันเองและจะสามารถควบคุมสถานการณ์ได้จริง
3. ความเชื่อมั่นที่มีต่อรัฐบาลลดลง เพราะรัฐบาลขาดความแน่วแน่ และไม่ได้ดำเนินงานอย่างมียุทธศาสตร์ที่สอดคล้องกับปัญหาและสถานการณ์
4. การที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติไม่ให้ความเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.วิชาชีพสาธารณสุขที่รัฐบาลเสนอเมื่อสัปดาห์ก่อนก็เป็นเหตุซ้ำเติมให้เกิดความไม่มั่นใจในรัฐบาล และความไม่แน่ใจในสถานการณ์เพิ่มขึ้น
5. ประชาชนประสบปัญหาเพิ่มมากขึ้นมีความรู้สึกผิดหวังในการแก้ไขปัญหาของรัฐบาล จึงเกิดความเฉื่อยชาทางการเมืองไม่ค่อยยินดียินร้ายกับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่จะมีขึ้น
ผมเชื่อว่าเหตุผลที่ประมวลมานี้ล้วนประกอบกันเป็นปัจจัยที่ได้ก่อให้เกิดความสับสน และไม่มั่นใจได้ด้วยกันทั้งสิ้น ก็ถึงขนาดที่คณะรัฐมนตรีด้วยกันเองต้องมีการประชุมลับ เพื่อพิจารณาถึงเหตุแห่งความสับสนของสถานการณ์ เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา แล้วจะไม่ให้ประชาชนต้องสับสนและมั่นใจได้อย่างไร
เมื่อมาถึงขณะนี้และเมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนี้ผมจึงเห็นว่ารัฐบาลโดยเฉพาะอย่างยิ่งนายกรัฐมนตรี พลเอกสุรยุทธ์ ก็ไม่อาจที่จะนิ่งนอนใจต่อไปได้แล้ว ก่อนที่ภาวะกว่าถั่วจะสุก งาก็ไหม้ จะเกิดขึ้น เพราะฉะนั้นเมื่อนายกรัฐมนตรี พลเอกสุรยุทธ์ ได้แสดงความกล้าหาญด้วยการประกาศกำหนดวันเลือกตั้งไว้ล่วงหน้าแล้วเช่นนี้ ก็ต้องแสดงความกล้าหาญต่อไปอีกด้วยการดำเนินการเพื่อลดความสับสน และสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นให้ได้ ซึ่งก็ควรจะได้ดำเนินการดังต่อไปนี้ กล่าวคือ
1. รัฐบาลต้องเป็นศูนย์กลาง ในการดำเนินการอย่างมียุทธศาสตร์ร่วมกันระหว่าง รัฐบาล คมช. และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. เพื่อแก้ไขปัญหาชาติ ทั้งที่เป็นเหตุอ้างของการยึดอำนาจทั้ง 4 ข้อและรวมทั้งปัญหาอื่น ๆ อย่างจริงจัง
2. รัฐบาลต้องควบคุมบังคับปัญชาให้ทุกกระทรวง ทบวง กรม ให้ความร่วมมือกับ คตส. อย่างเต็มที่และควรจะจัดให้มีมติ ครม. ที่คตส. ต้องการคือ มติครม.ที่กำหนดให้ข้าราชการและพนักงานของรัฐต้องถือเป็นหน้าที่ในการให้ความร่วมมือกับ คตส. โดยไม่ชักช้า มิฉะนั้นอาจถือได้ว่าเป็นการทำผิดวินัยและผิดกฎหมายว่าด้วยการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ทั้งนี้เพื่อให้งานของ คตส. ได้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี และเพื่อลบล้างความรู้สึกในทางที่ไม่ดีต่อรัฐบาล ว่าขาดความแน่วแน่และเป็นพวกใส่เกียร์ว่างเสียเอง
3. รัฐบาลต้องจัดดำเนินการให้มีการใช้สื่อของรัฐในการเสริมสร้างบรรยากาศของการจัดทำรัฐธรรมนูญอย่างเต็มที่เพื่อสร้างความมีส่วนร่วมอย่างมีความเข้าใจในรัฐธรรมนูญ พร้อม ๆ กับการเสริมสร้างบรรยากาศของการเตรียมการเลือกตั้งไปในเวลาเดียวกันด้วย
4. รัฐบาลต้องเร่งพิจารณากำหนดวันเวลาที่เหมาะสมในการยกเลิก ประกาศ คปค. ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการห้ามพรรคการเมืองทำกิจกรรมทางการเมือง ซึ่งไม่ควรจะล่าช้าจนเกินไป เพราะไม่เพียงแต่จะสอดรับกับการเตรียมการเลือกตั้งใหม่ตามวันเวลาที่ได้ประกาศไว้แล้วเท่านั้น หากแต่ยังจะได้ช่วยให้ประชาชนได้เข้าใจการเมืองและพรรคการเมืองมากยิ่งขึ้น
5. รัฐบาลต้องมีความกล้าหาญที่จะกำหนดให้การจัดการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ยุติธรรม เป็นวาระแห่งชาติ พร้อม ๆ กับการสนับสนุนส่งเสริมให้ กกต. และองค์กรเกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชน ทุกองค์กรมีความพร้อมในการร่วมกันทำภารกิจอันเป็นวาระแห่งชาติดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพ
เมื่อนายกรัฐมนตรี พลเอกสุรยุทธ์ เริ่มตั้งหลักได้ และเริ่มมีความกล้าหาญมากขึ้นแล้ว ถ้าจะได้มีความกล้าหาญเพิ่มมากขึ้นอีกตามที่กล่าวมาแล้วคือ กล้าหาญในการดำรงความมุ่งหมายของการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ซึ่งทำให้ตนเองได้ก้าวขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรี กล้าหาญในการยกเลิกประกาศ คปค. ให้พรรคการเมืองเข้ามาทำกิจกรรมได้ในเวลาที่ไม่ช้าจนเกินไป และกล้าหาญในการประกาศให้การเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ ยุติธรรม เป็นวาระแห่งชาติ และทำให้เป็นจริงให้ได้ ถ้ากล้าหาญที่จะทำให้ได้เช่นนี้แล้ว ก็จะสามารถเรียกคืนความเชื่อมั่นจากประชาชนได้และจะเป็นคุณูปการอย่างใหญ่หลวงทั้งต่อการปฏิรูปการเมืองของชาติและทั้งต่อเกียรติประวัติของ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เองในเวลาเดียวกัน.
********************************************
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 5 เม.ย. 2550--จบ--