สุกร
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรในสัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายสูงขึ้นเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณสุกรที่ออกสู่ตลาดลดลงและใกล้เคียงกับความต้องการบริโภค แนวโน้มคาดว่าราคาจะสูงขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 36.92 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 36.56 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 0.98 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 35.24 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 37.41 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 37.27 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 38.27 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,000 (บวกลบ 39 บาท) สูงขึ้นจากตัวละ 850 (บวกลบ 39 บาท) ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 17.65
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 40.70 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 1.97 และราคาขายส่งสุกรชำแหละเฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 49.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 2.02
ไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา ภาวะตลาดค่อนข้างคึกคัก เนื่องจากความต้องการบริโภคไก่เนื้อยังคงมีอย่างต่อเนื่อง แนวโน้มคาดว่าราคาจะสูงขึ้น
กรมปศุสัตว์ได้เอกซเรย์พื้นที่เลี้ยงสัตว์ปีกรอบ 3 เมื่อวันที่ 17 มิ.ย. พร้อมกันทั่วประเทศ โดยสั่งให้เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ในพื้นที่เดินสำรวจทุกบ้านและให้เก็บตัวอย่างทั้งสัตว์ปีกที่ตายและปกติมาตรวจหาเชื้อโรคไข้หวัดนก โดยเฉพาะพื้นที่เลี้ยงสัตว์ปีกใน 31 จังหวัด ที่มีปัญหาไข้หวัดนกซ้ำซากและพื้นที่ใกล้เคียง รวมทั้งให้คุมเข้มเป็นพิเศษในจังหวัดที่มีพื้นที่ติดกับแนวชายแดน เพราะช่วงนี้สภาพอากาศเปลี่ยนแปลง บางพื้นที่ฝนตกหนักสลับกับอากาศร้อนจัด ซึ่งเหมาะสมที่เชื้อโรคไข้หวัดนกจะกลับมาระบาดได้อีก นอกจากนี้ยังขอความร่วมมือเกษตรกรให้แจ้งสัตว์ปีกป่วยและตายไม่ว่าจะกรณีใดๆ ให้แก่เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ทราบ เพื่อป้องกันไม่ให้มีปัญหาไข้หวัดนกระบาดได้ทันท่วงที
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 33.77 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 33.49บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 0.84 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 33.85 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 31.73 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 36.28 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ตัวละ 12.50 สูงขึ้นจากตัวละ 11.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 8.70
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายในเฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 31.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 6.35 และราคาขายส่งไก่สดกิโลกรัมละ 43.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 43.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 1.16
ไข่ไก่
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
สถานการณ์ไข่ไก่ในสัปดาห์นี้ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณผลผลิตเริ่มสมดุลกับความต้องการบริโภค เพราะผลจากการดำเนินการแก้ไขปัญหาราคาไข่ไก่ตกต่ำของคณะกรรมการนโยบายพัฒนาไก่ไข่และผลิตภัณฑ์ (Egg Board) ในช่วงที่ผ่านมาโดยการปลดแม่ไก่ไข่ยืนกรง ผลักดันการส่งออก ส่วนราคาลูกไก่ไข่ได้ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แสดงว่าความต้องการเลี้ยงยังมีอยู่มาก เพราะผลของการปรับลดปริมาณการผลิตลูกไก่ไข่ (Layer) ลงร้อยละ 10 ของปริมาณการผลิตทั้งหมด ทำให้ผู้เลี้ยงรายย่อยหาซื้อลูกไก่เข้าเลี้ยงไม่ได้ ซึ่งมติที่ประชุม Egg Board ให้งดกิจกรรมปรับลดการผลิตลูกไก่ไข่ไว้ชั่วคราว เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกร แนวโน้มคาดว่าราคาไข่ไก่จะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ เฉลี่ยร้อยฟองละ 209 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 218 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 213 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 200 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 230 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี.ตัวละ 20.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน (เฉลี่ย เบอร์ 0-4) ร้อยฟองละ 231 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ ร้อยฟองละ 245 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 202 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 252 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 265 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 224 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 300 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 49.52 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 49.11 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.83 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 44.09 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 54.89 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 43.94 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 50.75 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 38.29 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 37.79 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 1.32 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 38.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 37.17 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 48.33 บาท ส่วนภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 18-24 มิ.ย. 2550--
-พห-
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรในสัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายสูงขึ้นเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณสุกรที่ออกสู่ตลาดลดลงและใกล้เคียงกับความต้องการบริโภค แนวโน้มคาดว่าราคาจะสูงขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 36.92 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 36.56 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 0.98 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 35.24 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 37.41 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 37.27 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 38.27 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,000 (บวกลบ 39 บาท) สูงขึ้นจากตัวละ 850 (บวกลบ 39 บาท) ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 17.65
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 40.70 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 1.97 และราคาขายส่งสุกรชำแหละเฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 49.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 2.02
ไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา ภาวะตลาดค่อนข้างคึกคัก เนื่องจากความต้องการบริโภคไก่เนื้อยังคงมีอย่างต่อเนื่อง แนวโน้มคาดว่าราคาจะสูงขึ้น
กรมปศุสัตว์ได้เอกซเรย์พื้นที่เลี้ยงสัตว์ปีกรอบ 3 เมื่อวันที่ 17 มิ.ย. พร้อมกันทั่วประเทศ โดยสั่งให้เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ในพื้นที่เดินสำรวจทุกบ้านและให้เก็บตัวอย่างทั้งสัตว์ปีกที่ตายและปกติมาตรวจหาเชื้อโรคไข้หวัดนก โดยเฉพาะพื้นที่เลี้ยงสัตว์ปีกใน 31 จังหวัด ที่มีปัญหาไข้หวัดนกซ้ำซากและพื้นที่ใกล้เคียง รวมทั้งให้คุมเข้มเป็นพิเศษในจังหวัดที่มีพื้นที่ติดกับแนวชายแดน เพราะช่วงนี้สภาพอากาศเปลี่ยนแปลง บางพื้นที่ฝนตกหนักสลับกับอากาศร้อนจัด ซึ่งเหมาะสมที่เชื้อโรคไข้หวัดนกจะกลับมาระบาดได้อีก นอกจากนี้ยังขอความร่วมมือเกษตรกรให้แจ้งสัตว์ปีกป่วยและตายไม่ว่าจะกรณีใดๆ ให้แก่เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ทราบ เพื่อป้องกันไม่ให้มีปัญหาไข้หวัดนกระบาดได้ทันท่วงที
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 33.77 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 33.49บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 0.84 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 33.85 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 31.73 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 36.28 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ตัวละ 12.50 สูงขึ้นจากตัวละ 11.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 8.70
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายในเฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 31.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 6.35 และราคาขายส่งไก่สดกิโลกรัมละ 43.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 43.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 1.16
ไข่ไก่
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
สถานการณ์ไข่ไก่ในสัปดาห์นี้ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณผลผลิตเริ่มสมดุลกับความต้องการบริโภค เพราะผลจากการดำเนินการแก้ไขปัญหาราคาไข่ไก่ตกต่ำของคณะกรรมการนโยบายพัฒนาไก่ไข่และผลิตภัณฑ์ (Egg Board) ในช่วงที่ผ่านมาโดยการปลดแม่ไก่ไข่ยืนกรง ผลักดันการส่งออก ส่วนราคาลูกไก่ไข่ได้ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แสดงว่าความต้องการเลี้ยงยังมีอยู่มาก เพราะผลของการปรับลดปริมาณการผลิตลูกไก่ไข่ (Layer) ลงร้อยละ 10 ของปริมาณการผลิตทั้งหมด ทำให้ผู้เลี้ยงรายย่อยหาซื้อลูกไก่เข้าเลี้ยงไม่ได้ ซึ่งมติที่ประชุม Egg Board ให้งดกิจกรรมปรับลดการผลิตลูกไก่ไข่ไว้ชั่วคราว เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกร แนวโน้มคาดว่าราคาไข่ไก่จะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ เฉลี่ยร้อยฟองละ 209 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 218 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 213 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 200 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 230 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี.ตัวละ 20.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน (เฉลี่ย เบอร์ 0-4) ร้อยฟองละ 231 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ ร้อยฟองละ 245 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 202 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 252 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 265 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 224 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 300 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 49.52 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 49.11 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.83 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 44.09 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 54.89 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 43.94 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 50.75 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 38.29 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 37.79 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 1.32 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 38.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 37.17 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 48.33 บาท ส่วนภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 18-24 มิ.ย. 2550--
-พห-