ภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในเดือนกรกฎาคม 2550 ด้านอุปทาน ผลผลิตพืชผลหลักยังขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี แต่ราคาที่ชะลอลงส่งผลให้รายได้เกษตรกรชะลอลงเล็กน้อย ขณะที่ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวได้ดีเช่นกัน อย่างไรก็ตาม การท่องเที่ยวชะลอตัวเนื่องจากยังมีเหตุการณ์ประท้วงทางการเมืองและความไม่สงบในภาคใต้ ในด้านอุปสงค์ เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้น เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ขณะที่การบริโภคภาคเอกชนชะลอลงเล็กน้อย เช่นเดียวกับการส่งออกและการนำเข้าที่ชะลอลง ทำให้ดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลลดลง ทั้งนี้ เสถียรภาพเศรษฐกิจยังอยู่ในเกณฑ์ดีต่อเนื่อง โดยเงินสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูงและอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ
รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจในเดือนกรกฎาคม 2550 มีดังนี้
1. ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (เบื้องต้น) ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.2 เร่งขึ้นจากเดือนก่อน โดยหมวดอิเล็กทรอนิกส์และหมวดยานยนต์ยังคงขยายตัวได้ต่อเนื่อง ตามอุปสงค์จากต่างประเทศใน Hard Disk Drive และอุปสงค์ของรถยนต์นั่งจากทั้งในและต่างประเทศ จากการออกรถยนต์รุ่นใหม่ นอกจากนี้ ยังมีผลของปัจจัยชั่วคราวในหมวดยาสูบที่เร่งผลิตเพื่อชดเชยสต็อกที่ลดลงมาก ขณะที่หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กและหมวดเครื่องใช้ไฟฟ้าขยายตัวสูงขึ้นจากผลของฐานต่ำ อย่างไรก็ดี หมวดที่การผลิตหดตัว ได้แก่ หมวดเครื่องดื่ม การผลิตเบียร์ลดลงเนื่องจากสต็อกสูงในช่วงก่อนหน้า หมวดอาหาร การผลิตอาหารทะเลกระป๋อง และสับปะรดกระป๋อง ลดลงเนื่องจากประสบปัญหาวัตถุดิบขาดแคลน หมวดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม จากการปิดซ่อมบำรุงโรงงานบางส่วน และหมวดสิ่งทอ ตามการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่สูญเสียความสามารถในการแข่งขันกับประเทศคู่แข่ง
สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรมในเดือนนี้อยู่ที่ร้อยละ 75.0 ลดลงจากเดือนก่อนตามการผลิตในหมวดเครื่องหนัง เครื่องใช้ไฟฟ้า อาหาร และเครื่องดื่ม ทั้งนี้ อัตราการใช้กำลังการผลิตที่ปรับฤดูกาลแล้วอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับเดือนก่อน
2. ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ขยายตัวร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อน โดยเครื่องชี้ที่ชะลอลง ได้แก่ ปริมาณการใช้ไฟฟ้าสำหรับที่อยู่อาศัย ปริมาณการใช้น้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล์ มูลค่าการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค ณ ราคาคงที่ รวมทั้งปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ซึ่งหดตัวค่อนข้างมาก อย่างไรก็ตาม เครื่องชี้ที่ปรับตัวดีขึ้น ได้แก่ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งที่กลับมาขยายตัวในเดือนนี้ เนื่องจากมีการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ เช่นเดียวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ที่ขยายตัว สำหรับดัชนีการลงทุนภาคเอกชน (เบื้องต้น) หดตัวร้อยละ 3.0 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน แต่หากเปรียบเทียบกับ เดือนก่อนดัชนีการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 1.0 โดยเครื่องชี้ที่ปรับตัวดีขึ้น ได้แก่ ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ การนำเข้าสินค้าทุน ณ ราคาคงที่ และปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ
3. ภาคการคลัง ในเดือนกรกฎาคม 2550 รัฐบาลมีรายได้จัดเก็บ 111.0 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 9.6 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของรายได้ที่มิใช่ภาษี ซึ่งขยายตัวจากรายได้นำส่งของรัฐวิสาหกิจซึ่งฐานต่ำในปีก่อน ส่วนรายได้ภาษีเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 ตามภาษีจากฐานรายได้ ซึ่งเพิ่มขึ้นทั้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่เพิ่มขึ้นตามการจัดเก็บภาษีเงินได้จากเงินเดือนและดอกเบี้ย และภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มขึ้นจากค่าบริการ ค่าจำหน่ายกำไร และภาษีหัก ณ ที่จ่ายภาคเอกชน สำหรับภาษีฐานการบริโภคเพิ่มขึ้นเล็กน้อยตามภาษีมูลค่าเพิ่มที่กลับมาขยายตัวในเดือนนี้จากภาษีที่เก็บจากการบริโภคภายในประเทศที่สูงขึ้นเป็นสำคัญ ขณะที่ภาษีสรรพสามิตยังคงหดตัว จากภาษีน้ำมันและภาษีเบียร์ ดุลเงินสด รัฐบาลขาดดุล 54.1 พันล้านบาท เงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนกรกฎาคมลดลง 51.3 พันล้านบาท อยู่ที่ 57.9 พันล้านบาท
4. ภาคต่างประเทศ ดุลการค้า เกินดุล 41 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนก่อนตามการส่งออกที่ชะลอตัว โดยการส่งออกขยายร้อยละ 6.2 คิดเป็นมูลค่า 11,725 ล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งเป็นการชะลอลงทุกหมวดสินค้า โดยเฉพาะหมวดเกษตรลดลงร้อยละ 7.5 ตามการส่งออกข้าวและมันสำปะหลัง เนื่องจากฐานสูงในปีก่อนและมีการเร่งส่งออกไปก่อนหน้า รวมทั้งการส่งออกปิโตรเลียมที่ลดลงจากการปิดซ่อมโรงกลั่นน้ำมัน ด้านการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 3.7 คิดเป็นมูลค่า 11,684 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยการนำเข้าวัตถุดิบ อาทิ โลหะ เคมีภัณฑ์ สิ่งทอและอิเล็กทรอนิกส์ ชะลอตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 หลังจากที่ขยายตัวสูงในช่วง 5 เดือนแรกของปี ขณะที่ การนำเข้าสินค้าทุนลดลงตามการนำเข้าหมวดเครื่องจักร และหมวดเชื้อเพลิงและผลิตภัณฑ์น้ำมันลดลงต่อเนื่องตามปริมาณนำเข้าน้ำมันดิบเป็นสำคัญ ดุลบริการ รายได้ และเงินโอน เกินดุล 325 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามดุลการท่องเที่ยวที่ยังคงเกินดุลต่อเนื่อง และ การส่งกลับกำไรและเงินปันผลภาคเอกชนลดลงจากเดือนก่อน ทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัด เกินดุล 367 ล้านดอลลาร์ สรอ. ดุลการชำระเงินเกินดุล 245 ล้านดอลลาร์ สรอ. เงินสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2550 อยู่ที่ระดับ 74.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยมียอดคงค้างการซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าสุทธิ จำนวน 12.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
5. อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนกรกฎาคม 2550 อยู่ที่ร้อยละ 1.7 ลดลงจากเดือนก่อน เนื่องจากการชะลอตัวของราคาสินค้า ในหมวดอาหารสดจากราคาผักและผลไม้ และราคาสินค้าในหมวดพลังงานตามการปรับลดราคาน้ำมันเบนซินรวม 3 ครั้งในเดือนนี้ และการปรับลดค่ากระแสไฟฟ้า FT ในเดือนมิถุนายน ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 0.8 สูงขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อน จากการปรับขึ้นราคาหนังสือพิมพ์รายวันทุกฉบับจากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ส่วนดัชนีราคาผู้ผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 ลดลงจาก เดือนก่อนซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 จากการชะลอตัวของราคาในหมวดเกษตรกรรมเป็นสำคัญ โดยเฉพาะราคายางพารา ราคาปาล์มน้ำมัน และราคาพืชผัก กอปรกับราคาในหมวดผลิตภัณฑ์จากเหมืองและหมวดอุตสาหกรรมที่ยังคงปรับตัวลดลงต่อเนื่อง
6. ภาวะการเงิน ในเดือนกรกฎาคม 2550 เงินฝากของสถาบันรับฝากเงิน* (Depository Corporations) ในเดือนกรกฎาคม 2550 ขยายตัวร้อยละ 4.8 จากระยะเดียวกันปีก่อน โดยยังอยู่ในแนวโน้มชะลอตัวเมื่อเทียบกับช่วงต้นปี อย่างไรก็ดี เงินฝากเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายนเนื่องจากมีการไหลกลับของเงินฝากจากการที่ธนาคารพาณิชย์ต้องการลดฐานเงินฝากเพื่อลดภาระเงินนำส่งกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ในเดือนมิถุนายน ส่วนสินเชื่อภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 2.7 จากระยะเดียวกันปีก่อน ชะลอลงตาม การลดลงของสินเชื่อภาคธุรกิจเป็นสำคัญ
ฐานเงิน ณ สิ้นเดือนกรกฎาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 จากระยะเดียวกันปีก่อน ขณะที่ปริมาณเงินตามความหมายกว้าง (Broad Money) ขยายตัวร้อยละ 4.0 ตามการเพิ่มขึ้นของเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์
สำหรับอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงิน ทั้งอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันและอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารระยะ 1 วันลดลงในเดือนกรกฎาคมตามการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยเฉลี่ยทั้งเดือนเท่ากันอยู่ที่ร้อยละ 3.39 ต่อปี
7. ค่าเงินบาทและดัชนีค่าเงินบาท ในเดือนกรกฎาคม 2550 ค่าเงินบาทเฉลี่ยอยู่ที่ 33.71 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วจากเดือนมิถุนายนที่ระดับ 34.58 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. โดยเฉพาะในช่วงต้นเดือนจากการไหลเข้าของเงินทุนที่เข้ามาลงทุน ในตลาดหลักทรัพย์เป็นจำนวนมากและความกังวลของผู้ส่งออกทำให้มีการเร่งขายดอลลาร์ล่วงหน้า สำหรับดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในเดือนกรกฎาคมอยู่ที่ระดับ 80.4 ปรับสูงขึ้นจากระดับ 79.1 ในเดือนก่อน จากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลหลักและสกุลเงินในภูมิภาค
สำหรับช่วงวันที่ 1-28 สิงหาคม 2550 ภาวะการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ในภูมิภาคซบเซาลงจากปัญหาสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยสำหรับผู้กู้ที่มีความน่าเชื่อถือต่ำ (Subprime) ในสหรัฐฯ ที่ขยายวงกว้างขึ้น ทำให้นักลงทุนต่างชาติเริ่มมีความกังวลและลดความเสี่ยง ในการลงทุนโดยถอนเงินลงทุนในหลักทรัพย์ในภูมิภาคและหันกลับไปซื้อดอลลาร์ สรอ. ส่งผลให้เงินบาทอ่อนค่าลงมาเฉลี่ยอยู่ที่ 34.18 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.
* สถาบันรับฝากเงิน หมายถึง สถาบันรับฝากเงินทุกประเภท ยกเว้น ธนาคารแห่งประเทศไทย
ข้อมูลเพิ่มเติม: พรรณพิลาส เรืองวิสุทธิ์ โทร. 0-2283-5648, 0-2283-5639 e-mail: punpilay@bot.or.th หรือ http://www.bot.or.th/BOTHomepage/DataBank/Econcond/pressrel/monthly/index_th_i.asp
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจในเดือนกรกฎาคม 2550 มีดังนี้
1. ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (เบื้องต้น) ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.2 เร่งขึ้นจากเดือนก่อน โดยหมวดอิเล็กทรอนิกส์และหมวดยานยนต์ยังคงขยายตัวได้ต่อเนื่อง ตามอุปสงค์จากต่างประเทศใน Hard Disk Drive และอุปสงค์ของรถยนต์นั่งจากทั้งในและต่างประเทศ จากการออกรถยนต์รุ่นใหม่ นอกจากนี้ ยังมีผลของปัจจัยชั่วคราวในหมวดยาสูบที่เร่งผลิตเพื่อชดเชยสต็อกที่ลดลงมาก ขณะที่หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กและหมวดเครื่องใช้ไฟฟ้าขยายตัวสูงขึ้นจากผลของฐานต่ำ อย่างไรก็ดี หมวดที่การผลิตหดตัว ได้แก่ หมวดเครื่องดื่ม การผลิตเบียร์ลดลงเนื่องจากสต็อกสูงในช่วงก่อนหน้า หมวดอาหาร การผลิตอาหารทะเลกระป๋อง และสับปะรดกระป๋อง ลดลงเนื่องจากประสบปัญหาวัตถุดิบขาดแคลน หมวดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม จากการปิดซ่อมบำรุงโรงงานบางส่วน และหมวดสิ่งทอ ตามการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่สูญเสียความสามารถในการแข่งขันกับประเทศคู่แข่ง
สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรมในเดือนนี้อยู่ที่ร้อยละ 75.0 ลดลงจากเดือนก่อนตามการผลิตในหมวดเครื่องหนัง เครื่องใช้ไฟฟ้า อาหาร และเครื่องดื่ม ทั้งนี้ อัตราการใช้กำลังการผลิตที่ปรับฤดูกาลแล้วอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับเดือนก่อน
2. ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ขยายตัวร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อน โดยเครื่องชี้ที่ชะลอลง ได้แก่ ปริมาณการใช้ไฟฟ้าสำหรับที่อยู่อาศัย ปริมาณการใช้น้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล์ มูลค่าการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค ณ ราคาคงที่ รวมทั้งปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ซึ่งหดตัวค่อนข้างมาก อย่างไรก็ตาม เครื่องชี้ที่ปรับตัวดีขึ้น ได้แก่ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งที่กลับมาขยายตัวในเดือนนี้ เนื่องจากมีการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ เช่นเดียวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ที่ขยายตัว สำหรับดัชนีการลงทุนภาคเอกชน (เบื้องต้น) หดตัวร้อยละ 3.0 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน แต่หากเปรียบเทียบกับ เดือนก่อนดัชนีการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 1.0 โดยเครื่องชี้ที่ปรับตัวดีขึ้น ได้แก่ ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ การนำเข้าสินค้าทุน ณ ราคาคงที่ และปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ
3. ภาคการคลัง ในเดือนกรกฎาคม 2550 รัฐบาลมีรายได้จัดเก็บ 111.0 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 9.6 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของรายได้ที่มิใช่ภาษี ซึ่งขยายตัวจากรายได้นำส่งของรัฐวิสาหกิจซึ่งฐานต่ำในปีก่อน ส่วนรายได้ภาษีเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 ตามภาษีจากฐานรายได้ ซึ่งเพิ่มขึ้นทั้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่เพิ่มขึ้นตามการจัดเก็บภาษีเงินได้จากเงินเดือนและดอกเบี้ย และภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มขึ้นจากค่าบริการ ค่าจำหน่ายกำไร และภาษีหัก ณ ที่จ่ายภาคเอกชน สำหรับภาษีฐานการบริโภคเพิ่มขึ้นเล็กน้อยตามภาษีมูลค่าเพิ่มที่กลับมาขยายตัวในเดือนนี้จากภาษีที่เก็บจากการบริโภคภายในประเทศที่สูงขึ้นเป็นสำคัญ ขณะที่ภาษีสรรพสามิตยังคงหดตัว จากภาษีน้ำมันและภาษีเบียร์ ดุลเงินสด รัฐบาลขาดดุล 54.1 พันล้านบาท เงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนกรกฎาคมลดลง 51.3 พันล้านบาท อยู่ที่ 57.9 พันล้านบาท
4. ภาคต่างประเทศ ดุลการค้า เกินดุล 41 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนก่อนตามการส่งออกที่ชะลอตัว โดยการส่งออกขยายร้อยละ 6.2 คิดเป็นมูลค่า 11,725 ล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งเป็นการชะลอลงทุกหมวดสินค้า โดยเฉพาะหมวดเกษตรลดลงร้อยละ 7.5 ตามการส่งออกข้าวและมันสำปะหลัง เนื่องจากฐานสูงในปีก่อนและมีการเร่งส่งออกไปก่อนหน้า รวมทั้งการส่งออกปิโตรเลียมที่ลดลงจากการปิดซ่อมโรงกลั่นน้ำมัน ด้านการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 3.7 คิดเป็นมูลค่า 11,684 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยการนำเข้าวัตถุดิบ อาทิ โลหะ เคมีภัณฑ์ สิ่งทอและอิเล็กทรอนิกส์ ชะลอตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 หลังจากที่ขยายตัวสูงในช่วง 5 เดือนแรกของปี ขณะที่ การนำเข้าสินค้าทุนลดลงตามการนำเข้าหมวดเครื่องจักร และหมวดเชื้อเพลิงและผลิตภัณฑ์น้ำมันลดลงต่อเนื่องตามปริมาณนำเข้าน้ำมันดิบเป็นสำคัญ ดุลบริการ รายได้ และเงินโอน เกินดุล 325 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามดุลการท่องเที่ยวที่ยังคงเกินดุลต่อเนื่อง และ การส่งกลับกำไรและเงินปันผลภาคเอกชนลดลงจากเดือนก่อน ทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัด เกินดุล 367 ล้านดอลลาร์ สรอ. ดุลการชำระเงินเกินดุล 245 ล้านดอลลาร์ สรอ. เงินสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2550 อยู่ที่ระดับ 74.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยมียอดคงค้างการซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าสุทธิ จำนวน 12.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
5. อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนกรกฎาคม 2550 อยู่ที่ร้อยละ 1.7 ลดลงจากเดือนก่อน เนื่องจากการชะลอตัวของราคาสินค้า ในหมวดอาหารสดจากราคาผักและผลไม้ และราคาสินค้าในหมวดพลังงานตามการปรับลดราคาน้ำมันเบนซินรวม 3 ครั้งในเดือนนี้ และการปรับลดค่ากระแสไฟฟ้า FT ในเดือนมิถุนายน ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 0.8 สูงขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อน จากการปรับขึ้นราคาหนังสือพิมพ์รายวันทุกฉบับจากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ส่วนดัชนีราคาผู้ผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 ลดลงจาก เดือนก่อนซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 จากการชะลอตัวของราคาในหมวดเกษตรกรรมเป็นสำคัญ โดยเฉพาะราคายางพารา ราคาปาล์มน้ำมัน และราคาพืชผัก กอปรกับราคาในหมวดผลิตภัณฑ์จากเหมืองและหมวดอุตสาหกรรมที่ยังคงปรับตัวลดลงต่อเนื่อง
6. ภาวะการเงิน ในเดือนกรกฎาคม 2550 เงินฝากของสถาบันรับฝากเงิน* (Depository Corporations) ในเดือนกรกฎาคม 2550 ขยายตัวร้อยละ 4.8 จากระยะเดียวกันปีก่อน โดยยังอยู่ในแนวโน้มชะลอตัวเมื่อเทียบกับช่วงต้นปี อย่างไรก็ดี เงินฝากเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายนเนื่องจากมีการไหลกลับของเงินฝากจากการที่ธนาคารพาณิชย์ต้องการลดฐานเงินฝากเพื่อลดภาระเงินนำส่งกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ในเดือนมิถุนายน ส่วนสินเชื่อภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 2.7 จากระยะเดียวกันปีก่อน ชะลอลงตาม การลดลงของสินเชื่อภาคธุรกิจเป็นสำคัญ
ฐานเงิน ณ สิ้นเดือนกรกฎาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 จากระยะเดียวกันปีก่อน ขณะที่ปริมาณเงินตามความหมายกว้าง (Broad Money) ขยายตัวร้อยละ 4.0 ตามการเพิ่มขึ้นของเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์
สำหรับอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงิน ทั้งอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันและอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารระยะ 1 วันลดลงในเดือนกรกฎาคมตามการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยเฉลี่ยทั้งเดือนเท่ากันอยู่ที่ร้อยละ 3.39 ต่อปี
7. ค่าเงินบาทและดัชนีค่าเงินบาท ในเดือนกรกฎาคม 2550 ค่าเงินบาทเฉลี่ยอยู่ที่ 33.71 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วจากเดือนมิถุนายนที่ระดับ 34.58 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. โดยเฉพาะในช่วงต้นเดือนจากการไหลเข้าของเงินทุนที่เข้ามาลงทุน ในตลาดหลักทรัพย์เป็นจำนวนมากและความกังวลของผู้ส่งออกทำให้มีการเร่งขายดอลลาร์ล่วงหน้า สำหรับดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในเดือนกรกฎาคมอยู่ที่ระดับ 80.4 ปรับสูงขึ้นจากระดับ 79.1 ในเดือนก่อน จากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลหลักและสกุลเงินในภูมิภาค
สำหรับช่วงวันที่ 1-28 สิงหาคม 2550 ภาวะการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ในภูมิภาคซบเซาลงจากปัญหาสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยสำหรับผู้กู้ที่มีความน่าเชื่อถือต่ำ (Subprime) ในสหรัฐฯ ที่ขยายวงกว้างขึ้น ทำให้นักลงทุนต่างชาติเริ่มมีความกังวลและลดความเสี่ยง ในการลงทุนโดยถอนเงินลงทุนในหลักทรัพย์ในภูมิภาคและหันกลับไปซื้อดอลลาร์ สรอ. ส่งผลให้เงินบาทอ่อนค่าลงมาเฉลี่ยอยู่ที่ 34.18 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.
* สถาบันรับฝากเงิน หมายถึง สถาบันรับฝากเงินทุกประเภท ยกเว้น ธนาคารแห่งประเทศไทย
ข้อมูลเพิ่มเติม: พรรณพิลาส เรืองวิสุทธิ์ โทร. 0-2283-5648, 0-2283-5639 e-mail: punpilay@bot.or.th หรือ http://www.bot.or.th/BOTHomepage/DataBank/Econcond/pressrel/monthly/index_th_i.asp
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--