สรุปการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ
วันอังคารที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๕๐
การประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ ๒๓/๒๕๕๐ วันอังคารที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๕๐ เริ่มขึ้นเมื่อเวลา ๐๙.๓๐ นาฬิกา โดยมีนายนรนิติ เศรษฐบุตร ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ เป็นประธานการประชุม เมื่อครบองค์ประชุม ประธานฯ ได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเรื่องตามระเบียบวาระ ดังต่อไปนี้
๑. เรื่องที่ประธานจะแจ้งต่อที่ประชุม ไม่มี
๒. รับรองรายงานการประชุม ไม่มี
๓. เรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว
- ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช …. ซึ่งคณะกรรมาธิการ
ยกร่างรัฐธรรมนูญจัดทำเสร็จแล้ว (เป็นการพิจารณาต่อจากการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญครั้งที่แล้ว)
ส่วนที่ ๓ สิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคล
ในมาตรา ๓๒ วรรคสาม ได้มีสมาชิกขอแปรญัตติที่บัญญัติไว้ว่า “จับ คุมขัง ตรวจค้นตัวบุคคลหรือกระทำใดอันกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพตามวรรคหนึ่ง จะกระทำมิได้ เว้นแต่มีคำสั่งหรือหมายของศาลหรือมีเหตุอย่างอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ “ทั้งนี้” เสนอให้ตัดเงื่อนไขการขอหมายศาล ก่อนการตรวจค้นบุคคลออกไป ให้บัญญัติเพียงว่า “การจับหรือคุมขังบุคคลโดยมิได้มีคำสั่งหรือหมายของศาล การตรวจค้นตัวบุคคลหรือการกระทำใดอันกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้ เว้นแต่อาศัยอำนาจตามที่กฎหมายบัญญัติ “พร้อมให้เหตุผลว่า การที่บัญญัติไว้ว่าการตรวจค้นตัวต้องขอหมายศาล เช่นเดียวกับการจับคุมขังนั้น ทำให้เจ้าพนักงานทำงานลำบาก เช่น หากมีข่าวว่าจะมีการวางระเบิด ต้องตั้งด่านตรวจค้นอย่างเร่งด่วน ถ้าต้องขอหมายศาลอาจไม่ทันการณ์ ด่านตำรวจจะระเบิดก่อนก็ได้ ดังนั้น การเขียนโดยเหมารวมการจับ คุมขังกับการตรวจค้นตัวบุคคลเข้าด้วยกัน จึงทำให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติและยังเปิดทางสะดวกให้เกิดเหตุการณ์ร้ายกับประชาชนเอง
ด้านกรรมาธิการยกร่างฯ ชี้แจงว่า ถ้าตัดข้อความว่า การตรวจค้นบุคคลต้องใช้คำสั่งหรือหมายศาลจะทำให้หลักการคุ้มครองสิทธิประชาชนด้อยกว่ารัฐธรรมนูญ ปี ๔๐ เพราะจะเปิดทางให้เจ้าหน้าที่สามารถดำเนินการใด ๆ ที่ไปกระทบสิทธิเสรีภาพของประชาชนยิ่งขึ้นไปอีก
ซึ่งในมาตราดังกล่าวมีการอภิปรายอย่างกว้างขวาง ประธานจึงให้ที่ประชุมโหวตลงมติระหว่างร่างรัฐธรรมนูญของกรรมาธิการยกร่างฯ และร่างรัฐธรรมนูญที่สมาชิกขอแปรญัตติที่ประชุม เห็นชอบด้วยตามการแก้ไขของสมาชิกผู้ขอแปรญัตติ ด้วยคะแนน ๔๒ ต่อ ๓๙ เสียง งดออกเสียง ๒ เสียง
จากนั้นที่ประชุมได้พิจารณามาตรา ๓๓ - มาตรา ๓๘ และเห็นชอบโดยไม่มีการอภิปราย เนื่องจากบางมาตราคณะกรรมาธิการฯ ได้แก้ไขตามคำแปรญัตติของกรรมาธิการฯ ตั้งแต่แรก
ส่วนที่ ๔ สิทธิในกระบวนการยุติธรรม
มาตรา ๓๙ สมาชิกฯ ขอแปรญัตติเพิ่มข้อความวรรคสี่ว่า “บุคคลจะถูกศาลสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในคดีล้มละลายต่อเมื่อศาลเห็นว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัว หรือเป็นบุคคลที่กระทำการเข้าข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัว” ซึ่งการเพิ่มข้อความดังกล่าวได้เกี่ยวโยงกับมาตรา ๙๖ ในเรื่องบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่ประชุมเห็นพ้องกันให้แขวนเรื่องดังกล่าวไว้และนำมาพิจารณารวมกันในตอนพิจารณามาตรา ๙๖ อีกครั้ง
มาตรา ๔๐ เกี่ยวกับสิทธิของบุคคลในกระบวนการยุติธรรม ซึ่งในร่างรัฐธรรมนูญฉบับแสดงความคิดเห็นมีทั้งสิ้น ๖ อนุมาตรา แต่ในการพิจารณาของกรรมาธิการจนได้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับเสนอสภาร่างรัฐธรรมนูญนั้น ได้นำมาตรา ๔๐ (๓) ที่ระบุให้บุคคลย่อมมีสิทธิที่จะให้คดีของตนได้รับการพิจารณาอย่างยุติธรรมภายในระยะเวลาอันสมควรไปรวมกับมาตรา ๔๐ (๑) และให้เพิ่มมาตรา ๔๐ (๗) ที่กำหนดให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยมีสิทธิได้รับการสอบสวนหรือการพิจารณาคดีที่รวดเร็วเป็นธรรม ได้รับความช่วยเหลือในทางคดีจากทนายความและการได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ขอเปลี่ยนในชั้นสอบสวนให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยมีสิทธิได้รับทราบพยานหลักฐาน “ตามสมควร” ซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่เห็นด้วยในถ้อยคำที่เสนอ และมาตรา ๔๐ (๘) การให้บุคคลมีสิทธิได้รับความช่วยเหลือทางกฎหมายในคดีแพ่งอย่างเหมาะสมจากรัฐ ในส่วนมาตรา ๔๐ (๕) กรรมาธิการ ยกร่างฯ เขียนไว้ว่า “ผู้เสียหายจำเลยและพยานในคดี มีสิทธิได้รับความคุ้มครอง ความช่วยเหลือ ค่าตอบแทน ค่าทดแทน และค่าใช้จ่ายที่จำเป็นและสมควรจากรัฐ” ทางสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ได้หารือร่วมกับกรรมาธิการยกร่างฯ เสนอแก้ไขข้อความดังกล่าวต่อที่ประชุมเป็น “ผู้เสียหาย จำเลย และพยานในคดี มีสิทธิได้รับความคุ้มครอง ความช่วยเหลือ ตามสมควรจากรัฐ สำหรับค่าตอบแทน
ค่าทดแทน และค่าใช้จ่ายที่จำเป็นนั้น ให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติไว้” โดยที่ประชุมไม่ขัดข้องในถ้อยคำที่เสนอ
ส่วนที่ ๕ สิทธิในทรัพย์สิน
มาตรา ๔๑ สมาชิกฯ ขอแปรญัตติเพิ่มความเป็นวรรคสี่ดังนี้ “ห้ามไม่ให้ขายทอดตลอดทรัพย์สินของจำเลยหรือลูกหนี้ ในราคาต่ำกว่าร้อยละแปดสิบของราคาที่ประเมินในขณะที่มีการขายทอดตลาด โดยหน่วยงานราชการหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง” ประธานขอมติ ที่ประชุม ที่ประชุมไม่เห็นด้วยในการเพิ่มความขอแปรญัตติด้วยคะแนน ๑๒ ต่อ ๔๔ เสียง งดออกเสียง ๑ เสียง
มาตรา ๔๒ สมาชิกฯ ได้ขอแปรญัตติในการเวนคืนที่ดิน เพื่อการใช้ประโยชน์ในกิจการของรัฐ โดยผู้เวนคืนต้องได้รับค่าทดแทนตามมูลค่าที่แท้จริง ทั้งนี้ภายหลังหากที่ดินที่ถูกเวนคืนไม่ได้ใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ให้คืนที่ดินที่ถูกเวนคืนกลับไปให้เจ้าของเดิม
โดยกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้ชี้แจงว่า การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ของรัฐจะทำไม่ได้ เว้นแต่การตีความกฎหมาย ประธานจึงขอมติจากที่ประชุม ที่ประชุมลงมติเห็นด้วยตามที่ผู้เสนอขอแปรญัตติเป็นผู้แก้ไข
ส่วนที่ ๖ สิทธิและเสรีภาพในการประกอบอาชีพ
มาตรา ๔๓ ไม่มีการแก้ไข
มาตรา ๔๔ เกี่ยวกับสวัสดิการแรงงาน โดยสมาชิกฯ ขอแปรญัตติขอให้มีหลักประกันรายได้และสวัสดิการในการทำงานและสวัสดิการสังคม โดยเฉพาะเรื่องหลักประกันรายได้ จึงขอให้เพิ่มเติมข้อความว่า “ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ” เพื่อให้มีการออกกฎหมายในอนาคต
ประธานขอมติที่ประชุม ที่ประชุมเห็นชอบ
ปิดประชุมเวลา ๒๒.๑๐ นาฬิกา
------------------------------------------
วันอังคารที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๕๐
การประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ ๒๓/๒๕๕๐ วันอังคารที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๕๐ เริ่มขึ้นเมื่อเวลา ๐๙.๓๐ นาฬิกา โดยมีนายนรนิติ เศรษฐบุตร ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ เป็นประธานการประชุม เมื่อครบองค์ประชุม ประธานฯ ได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเรื่องตามระเบียบวาระ ดังต่อไปนี้
๑. เรื่องที่ประธานจะแจ้งต่อที่ประชุม ไม่มี
๒. รับรองรายงานการประชุม ไม่มี
๓. เรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว
- ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช …. ซึ่งคณะกรรมาธิการ
ยกร่างรัฐธรรมนูญจัดทำเสร็จแล้ว (เป็นการพิจารณาต่อจากการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญครั้งที่แล้ว)
ส่วนที่ ๓ สิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคล
ในมาตรา ๓๒ วรรคสาม ได้มีสมาชิกขอแปรญัตติที่บัญญัติไว้ว่า “จับ คุมขัง ตรวจค้นตัวบุคคลหรือกระทำใดอันกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพตามวรรคหนึ่ง จะกระทำมิได้ เว้นแต่มีคำสั่งหรือหมายของศาลหรือมีเหตุอย่างอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ “ทั้งนี้” เสนอให้ตัดเงื่อนไขการขอหมายศาล ก่อนการตรวจค้นบุคคลออกไป ให้บัญญัติเพียงว่า “การจับหรือคุมขังบุคคลโดยมิได้มีคำสั่งหรือหมายของศาล การตรวจค้นตัวบุคคลหรือการกระทำใดอันกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้ เว้นแต่อาศัยอำนาจตามที่กฎหมายบัญญัติ “พร้อมให้เหตุผลว่า การที่บัญญัติไว้ว่าการตรวจค้นตัวต้องขอหมายศาล เช่นเดียวกับการจับคุมขังนั้น ทำให้เจ้าพนักงานทำงานลำบาก เช่น หากมีข่าวว่าจะมีการวางระเบิด ต้องตั้งด่านตรวจค้นอย่างเร่งด่วน ถ้าต้องขอหมายศาลอาจไม่ทันการณ์ ด่านตำรวจจะระเบิดก่อนก็ได้ ดังนั้น การเขียนโดยเหมารวมการจับ คุมขังกับการตรวจค้นตัวบุคคลเข้าด้วยกัน จึงทำให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติและยังเปิดทางสะดวกให้เกิดเหตุการณ์ร้ายกับประชาชนเอง
ด้านกรรมาธิการยกร่างฯ ชี้แจงว่า ถ้าตัดข้อความว่า การตรวจค้นบุคคลต้องใช้คำสั่งหรือหมายศาลจะทำให้หลักการคุ้มครองสิทธิประชาชนด้อยกว่ารัฐธรรมนูญ ปี ๔๐ เพราะจะเปิดทางให้เจ้าหน้าที่สามารถดำเนินการใด ๆ ที่ไปกระทบสิทธิเสรีภาพของประชาชนยิ่งขึ้นไปอีก
ซึ่งในมาตราดังกล่าวมีการอภิปรายอย่างกว้างขวาง ประธานจึงให้ที่ประชุมโหวตลงมติระหว่างร่างรัฐธรรมนูญของกรรมาธิการยกร่างฯ และร่างรัฐธรรมนูญที่สมาชิกขอแปรญัตติที่ประชุม เห็นชอบด้วยตามการแก้ไขของสมาชิกผู้ขอแปรญัตติ ด้วยคะแนน ๔๒ ต่อ ๓๙ เสียง งดออกเสียง ๒ เสียง
จากนั้นที่ประชุมได้พิจารณามาตรา ๓๓ - มาตรา ๓๘ และเห็นชอบโดยไม่มีการอภิปราย เนื่องจากบางมาตราคณะกรรมาธิการฯ ได้แก้ไขตามคำแปรญัตติของกรรมาธิการฯ ตั้งแต่แรก
ส่วนที่ ๔ สิทธิในกระบวนการยุติธรรม
มาตรา ๓๙ สมาชิกฯ ขอแปรญัตติเพิ่มข้อความวรรคสี่ว่า “บุคคลจะถูกศาลสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในคดีล้มละลายต่อเมื่อศาลเห็นว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัว หรือเป็นบุคคลที่กระทำการเข้าข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัว” ซึ่งการเพิ่มข้อความดังกล่าวได้เกี่ยวโยงกับมาตรา ๙๖ ในเรื่องบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่ประชุมเห็นพ้องกันให้แขวนเรื่องดังกล่าวไว้และนำมาพิจารณารวมกันในตอนพิจารณามาตรา ๙๖ อีกครั้ง
มาตรา ๔๐ เกี่ยวกับสิทธิของบุคคลในกระบวนการยุติธรรม ซึ่งในร่างรัฐธรรมนูญฉบับแสดงความคิดเห็นมีทั้งสิ้น ๖ อนุมาตรา แต่ในการพิจารณาของกรรมาธิการจนได้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับเสนอสภาร่างรัฐธรรมนูญนั้น ได้นำมาตรา ๔๐ (๓) ที่ระบุให้บุคคลย่อมมีสิทธิที่จะให้คดีของตนได้รับการพิจารณาอย่างยุติธรรมภายในระยะเวลาอันสมควรไปรวมกับมาตรา ๔๐ (๑) และให้เพิ่มมาตรา ๔๐ (๗) ที่กำหนดให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยมีสิทธิได้รับการสอบสวนหรือการพิจารณาคดีที่รวดเร็วเป็นธรรม ได้รับความช่วยเหลือในทางคดีจากทนายความและการได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ขอเปลี่ยนในชั้นสอบสวนให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยมีสิทธิได้รับทราบพยานหลักฐาน “ตามสมควร” ซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่เห็นด้วยในถ้อยคำที่เสนอ และมาตรา ๔๐ (๘) การให้บุคคลมีสิทธิได้รับความช่วยเหลือทางกฎหมายในคดีแพ่งอย่างเหมาะสมจากรัฐ ในส่วนมาตรา ๔๐ (๕) กรรมาธิการ ยกร่างฯ เขียนไว้ว่า “ผู้เสียหายจำเลยและพยานในคดี มีสิทธิได้รับความคุ้มครอง ความช่วยเหลือ ค่าตอบแทน ค่าทดแทน และค่าใช้จ่ายที่จำเป็นและสมควรจากรัฐ” ทางสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ได้หารือร่วมกับกรรมาธิการยกร่างฯ เสนอแก้ไขข้อความดังกล่าวต่อที่ประชุมเป็น “ผู้เสียหาย จำเลย และพยานในคดี มีสิทธิได้รับความคุ้มครอง ความช่วยเหลือ ตามสมควรจากรัฐ สำหรับค่าตอบแทน
ค่าทดแทน และค่าใช้จ่ายที่จำเป็นนั้น ให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติไว้” โดยที่ประชุมไม่ขัดข้องในถ้อยคำที่เสนอ
ส่วนที่ ๕ สิทธิในทรัพย์สิน
มาตรา ๔๑ สมาชิกฯ ขอแปรญัตติเพิ่มความเป็นวรรคสี่ดังนี้ “ห้ามไม่ให้ขายทอดตลอดทรัพย์สินของจำเลยหรือลูกหนี้ ในราคาต่ำกว่าร้อยละแปดสิบของราคาที่ประเมินในขณะที่มีการขายทอดตลาด โดยหน่วยงานราชการหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง” ประธานขอมติ ที่ประชุม ที่ประชุมไม่เห็นด้วยในการเพิ่มความขอแปรญัตติด้วยคะแนน ๑๒ ต่อ ๔๔ เสียง งดออกเสียง ๑ เสียง
มาตรา ๔๒ สมาชิกฯ ได้ขอแปรญัตติในการเวนคืนที่ดิน เพื่อการใช้ประโยชน์ในกิจการของรัฐ โดยผู้เวนคืนต้องได้รับค่าทดแทนตามมูลค่าที่แท้จริง ทั้งนี้ภายหลังหากที่ดินที่ถูกเวนคืนไม่ได้ใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ให้คืนที่ดินที่ถูกเวนคืนกลับไปให้เจ้าของเดิม
โดยกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้ชี้แจงว่า การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ของรัฐจะทำไม่ได้ เว้นแต่การตีความกฎหมาย ประธานจึงขอมติจากที่ประชุม ที่ประชุมลงมติเห็นด้วยตามที่ผู้เสนอขอแปรญัตติเป็นผู้แก้ไข
ส่วนที่ ๖ สิทธิและเสรีภาพในการประกอบอาชีพ
มาตรา ๔๓ ไม่มีการแก้ไข
มาตรา ๔๔ เกี่ยวกับสวัสดิการแรงงาน โดยสมาชิกฯ ขอแปรญัตติขอให้มีหลักประกันรายได้และสวัสดิการในการทำงานและสวัสดิการสังคม โดยเฉพาะเรื่องหลักประกันรายได้ จึงขอให้เพิ่มเติมข้อความว่า “ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ” เพื่อให้มีการออกกฎหมายในอนาคต
ประธานขอมติที่ประชุม ที่ประชุมเห็นชอบ
ปิดประชุมเวลา ๒๒.๑๐ นาฬิกา
------------------------------------------